ผู้เขียน หัวข้อ: ฮิจญ์ติฮาด  (อ่าน 2364 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ philosophy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ฮิจญ์ติฮาด
« เมื่อ: ส.ค. 25, 2007, 02:11 PM »
0

السلام عليكم
มาอีกแว้วควับท่าน...
                                                                                                                          ฮิจญ์ติฮาด

    ความหมายของอิจญ์ติฮาด
   อิจญ์ติฮาดทางภาษา  คือ  การใช้ความพยายามและความสามารถ (มิสบาฮุล  มุนีร , เล่ม 1 หน้า  112)
   อิจญ์ติฮาดทางวิชาการ คือ การใช้ความพยายามเกี่ยวกับหลักฐานของชะรออฺเพื่อวิเคราะห์และวินิจฉัยหุกมชะรออฺ (อัล  ฟากีฮ  วัล  มุตะฟักกีฮฺ เล่ม  1  หน้า  178)

     ความหมายนี้ครอบคลุมถึง 
   1. การอิจญ์ติฮาด  คือ  การใช้ความพยายามในการพิจารณาหลักฐาน  ดังนั้น  อิจญ์ติฮาดจะครอบคลุมกว่ากิยาส  เพราะกิยาสนั้นเป็นการเปรียบเทียบหุกมย่อยกับหุกมเดิม
   2. การอิจญ์ติฮาด ไม่อนุญาตให้กระทำนอกจากนักกฎหมายอิสลามที่รู้หลักฐาน  และวิธีการวิเคราะห์หุกม
   3. การอิจญ์ติฮาดนั้นบางครั้งจะได้มา  ซึ่งหุกมที่เด็ดขาดและบางครั้งจะได้มา  ซึ่งหุกมที่ไม่เด็ดขาด (القطع او الظن)
   4. การอิจญ์ติฮาด คือ ความเห็นและความพยายามของมุจญ์ตะฮิด  ไม่ใช่เป็นการบัญญัติหุกมที่เด็ดขาด (تشريع)
ฝากว้ายแค่นี้ก่อนคร้าบ....
وَتَعَاوَنُواْ عَلَى الْبرِّ وَالتَّقْوَى وَلاَ تَعَاوَنُواْ عَلَى الإِثْمِ وَالْعُدْوَانِ
และพวกเจ้าจงช่วยเหลือกันในสิ่งที่เป็นคุณธรรม และความยำเกรง และจงอย่าช่วยกันในสิ่งที่เป็นบาป และเป็นศัตรูกัน
 والسلام


ออฟไลน์ philosophy

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ฮิจญ์ติฮาด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ส.ค. 29, 2007, 03:31 PM »
0
السلام عليكم
มาแว้ว...
ประเภทของอิจญ์ติฮาด
   อิจญ์ติฮาดแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามมุมมองที่แตกต่างกัน
   1. ประเภทของอิจญ์ติฮาดทางด้านผู้ทำการอิจญ์ติฮาดมุจญตะฮิด (อิอฺลามุลมุวักกีน  เล่ม 4  หน้า 212)
   1.1  มุจญ์ตะฮิด مطلق
   คือ ผู้ที่รู้เกี่ยวกับอัลกุรอาน  หะดีษ  และคำพูดของเศาะฮาบะฮฺเขาสามารถใช้ความพยายาม  เพื่อกำหนดหุกมของปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับหลักฐานของชะรออฺ
   ดังนั้น  มุจญตะฮิดประเภทนี้อนุญาตให้ฟัตวาและอนุญาตให้คนอื่นขอฟัตวาจากเขา  พวกเขาคือผู้ฟื้นฟูศาสนา (مجدد)
   1.2 มุจญตะฮิด مقيد في مذهب من ائتم به
   คือ มุจญตะฮิดที่มีความผูกพันกับมัซฮับอิมามของเขา เขาคือมุจญตะฮิดที่รู้ฟัตวา ความเห็นแหล่งที่มาและหลักฐานของอิมาม  มีความรู้และสามารถนำหลักฐาน (تخريج) ในเรื่องดังกล่าวโดยที่เขาไม่ตักลีดอิมามของเขาเกี่ยวกับหุกมและหลักฐาน  แต่เขาได้ตามวิธีการ  ของอิมามในการอิจญ์ติฮาดและการฟัตวาและเขาได้เชิญชวญสู่มัซฮับของอิมาม  ดังนั้น  เขาเป็นมุจญตะฮิดที่มีเป้าหมายและวิธีการที่เหมือนกับอิมามของเขา
   1.3  มุจญตะฮิด مقيد في مذهب من انتسب اليه
   คือ  มุจญตะฮิดที่ผูกพันกับมัซฮับที่เขาสังกัด  เขายอมรับมัซฮับด้วยหลักฐาน  เขารู้ฟัตวาของมัซฮับเขาจะไม่มีความเห็นที่แตกต่างหรือขัดแย้งกับความเห็นหรือฟัตวาของมัซฮับและเมื่อเขาพบตัวบทอิมามของเขาเขาจะไม่พิจารณาความเห็นของคนอื่นโดยเด็ดขาด
   สำหรับมุจตะฮิดประเภทนี้ตัวบทของอิมามก็เหมือนตัวบทชะรออฺ  เขามีความพอเพียงกับความยากลำบากของอิมามในการสร้างตัวบท  และในการกำหนดหุกมจากตัวบทของชะรออฺ
   เป็นสิ่งที่แปลกสำหรับพวกเขาทำไมอิจญ์ติฮาดของเขาทำให้เขารู้ว่าอิมามของเขารู้มากกว่าคนอื่น  มัซฮับของเขาเป็นมัซฮับที่มีน้ำหนัก (راجح) ความถูกต้องทั้งหมดต้องเป็นของมัซฮับ  และการอิจญ์ติฮาดของเขาจะไม่พิจารณาคำตรัสของอัลลอฮฺและคำพูดของท่านรสุลและจะไม่กำหนดหุกมจากทั้งสองนั้นและจะไม่เลือก (ترجيح) ตามที่มีหลักฐานจากตัวบท
   1.4  มุจญตะฮิด في مذهب من انتسب اليه
   คือ  มุจญตะฮิดในมัซฮับที่เขาสังกัด  ดังนั้น  เขาจะท่องฟัตวาของอิมาม  และขายอมรับว่าเขาตักลีดอิมามของเขาในทุกๆ วิธีทาง  การพูดถึงอัลกุรอานและสุนนะฮฺสำหรับพวกเขาเป็นเพียงเพื่อจะได้รับความดีและศิริมงคล  ไม่ใช่เพื่อเป็นหลักฐานในการกำหนดหุกมและเพื่อปฏิบัติตามยิ่งกว่านั้น  ถ้าหากเขาพบหะดีษที่ถูกต้องที่ขัดแย้งกับความเห็นของอิมามของเขาเขาจะยึดตามความเห็นของอิมามและทิ้งหะดีษ  ดังนั้น  สำหรับพวกเขาไม่มีอย่างอื่นนอกจากตักลีดที่ถูกตำหนิ
ไว้มาต่อใหม่คร้าบ...
والسلام
 :o :o :o

 

GoogleTagged