จริงๆ ผมเข้าใจมุมมอง ของ คุณ papaah สำหรับปัญหา เรื่อง การใช้กฏหมายของไทย
กับ การใช้กฏหมายของอิสลามแท้ๆ มันแตกต่างกันและ อาจคัดค้านกับหลักการของเรา
ซึ่งมันก็มีส่วนจริง และทำให้เรา ไปมองรวมที่ คำว่า การปกครองระบอบ ประชาธิปไตย เข้าไปด้วย
แต่ ที่ผม พยายามอธิบาย นั้น เพราะ คำว่า ประชาธิปไตย โดยความหมาย ก็อย่างที่ซัยยิดดีน ได้เน้นอีกที
ซึ่งหากเราใช้รัฐธรรมนูญของอิสลาม แน่แท้ ว่า คงไม่มีปัญหาเช่นนี้
แต่ บ้านเรา ก็อย่างที่เข้าใจครับ เราไม่ได้ใช้รัฐธรรมนูญแห่งอิสลาม
การใช้การแบ่งมรดก ให้เท่าๆ กัน นั้นเค้าถือว่าเป็นความชอบธรรมที่ทุกคนควรได้รับ ตามสายตาของมนุษย์
ตอนแรก อ่าน ๆ หนูก้อ งงๆ ว่า และเข้าใจว่า บังเห็นดีงาม กับ การแบ่งมรดกตาม กม. ของไทย
ซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นแค่การตีความ จากมุมมองของต่างศาสนิก ใช่มั้ยคะ?

หมายถึง ต่างศาสนิกนั้น มีมุมมองว่า การให้สิทธิเสรี ต้องเท่าเทียมกัน โดยลืมนึกถึง หลักความเป็นจริง
ที่ศาสนาของเรานั้น ออกแบบมาได้ถี่ถ้วน และยุติธรรมกว่า ด้วยกับเหตุผลอย่างที่ คุณ อัล-อัซฮารี่ ได้อธิบายไว้ได้ชัดเจน
ปัญหาต่าง ๆ ที่มาจากการ ลงมติ จากต่างศาสนิก ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ
ซึ่งหากดูให้ลึกจริง ๆ แล้วมันมีทางเลือกให้เราเลี่ยงได้ และเราเองก็สามารถใช้สิทธิในการปกป้องหลักการของเราได้
มันขึ้นอยู่กับว่า เราจะทำ หรือ ไม่เท่านั้นเองค่ะ