ผู้เขียน หัวข้อ: ดูเดือน  (อ่าน 3231 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ริฎวาน

  • บุคคลทั่วไป
ดูเดือน
« เมื่อ: ก.ย. 04, 2007, 04:05 PM »
0

มีบางกล่มถือศิลอดไม่ดูเดือน คือถือตามคำนวน ไม่ทราบว่ามีหลักฐานให้ทำได้ไหมครับ อยากให้บังอัชอารี ช่วยตอบข้อสงสัยด้วยครับเอาแบบหลักฐานแน่น ๆ ครับ  วัสลาม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: ดูเดือน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.ย. 04, 2007, 04:57 PM »
0
بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

ดาราศาสตร์กับการดูเดือน

อิสลามไม่คัดค้านวิชาความรู้และยังฝ่าฟันความยากลำบากในวิธีทางของมัน ยิ่งกว่านั้น อิสลามกลับส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ ใช้ความคิดและพิจารณาใคร่ครวญเกี่ยวกับจักรวาล และคัดสรรทฤษฏีต่าง ๆ ของจักรวาลที่เป็นคุณประโยชน์แก่มวลมนุษย์

อัลเลาะฮ์ ตะอาลา ทรงตรัสว่า

قُلِ انظُرُواْ مَاذَا فِي السَّمَاوَاتِ وَالأَرْضِ

"จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) พวกเจ้าจงพิจารณาสิ่งที่อยู่ในบรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" ยูนูส 101

قُلْ سِيرُوا فِي الْأَرْضِ فَانظُرُوا كَيْفَ بَدَأَ الْخَلْقَ

"จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) จงท่องเที่ยวไปตามแผ่นดินแล้วพิจารณาดูว่าพระองค์ทรงให้บังเกิดอย่างไร" อัลอังกะบูต 12

วิชาดาราศาสตร์(ฟะลัก) เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่อัลกุรอานได้เรียกร้องให้ทำการรู้จักและศึกษา เพื่อทำการวิจัยเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของจักรวาลและรู้ถึงความเร้นลับต่าง ๆ ของมัน ดังกล่าว อัลเลาะฮ์ ตะอาลา ทรงตรัสว่า

وَجَعَلْنَا اللَّيْلَ وَالنَّهَارَ آيَتَيْنِ فَمَحَوْنَا آيَةَ اللَّيْلِ وَجَعَلْنَا آيَةَ النَّهَارِ مُبْصِرَةً لِتَبْتَغُواْ فَضْلاً مِّن رَّبِّكُمْ وَلِتَعْلَمُواْ عَدَدَ السِّنِينَ وَالْحِسَابَ وَكُلَّ شَيْءٍ فَصَّلْنَاهُ تَفْصِيلاً

"และเราได้ทำให้กลางคืนและกลางวันเป็นสองสัญญาณ ดังนั้น เราทำให้สัญญาณของกลางคืนมืดมน และเราได้ทำให้สัญญาณของกลางวันมีแสงสว่าง เพื่อพวกเจ้าจะได้แสวงหาความโปรดปรานจากพระเจ้าของพวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะได้รู้จำนวนปีทั้งหลายและการคำนวณและทุกๆสิ่งเราได้แจกแจงมันอย่างละเอียดแล้ว" อัลอิสรออฺ 12
และพระองค์ทรงตรัสว่า

وَالشَّمْسُ تَجْرِي لِمُسْتَقَرٍّ لَّهَا ذَلِكَ تَقْدِيرُ الْعَزِيزِ الْعَلِيمِ

"และดวงอาทิตย์โคจรตามวิถีของมัน นั่นคือ การกำหนดของพระผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงรอบรู้"

وَالْقَمَرَ قَدَّرْنَاهُ مَنَازِلَ حَتَّى عَادَ كَالْعُرْجُونِ الْقَدِيمِ

"และดวงจันทร์นั้น เราได้กำหนดให้มันโคจรตามตำแหน่ง จนกระทั่งมันได้กลายมาเป็นเช่นกิ่งอินทผลัม"

لَا الشَّمْسُ يَنبَغِي لَهَا أَن تُدْرِكَ الْقَمَرَ وَلَا اللَّيْلُ سَابِقُ النَّهَارِ وَكُلٌّ فِي فَلَكٍ يَسْبَحُونَ

"ดวงอาทิตย์ก็ไม่สมควร (อนุมัติ) แก่มันที่จะไล่ตามใกล้ดวงจันทร์ และกลางคืนก็จะไม่ล้ำหน้ากลางวัน และทั้งหมดนั้นจะเวียนว่ายอยู่ในจักรราศี" ยาซีน 38 - 40

บรรดานักปราชญ์มุสลิมต่างรอบรู้ในวิชาดาราศาสตร์เป็นอย่างดี และมีความสามารถในการคำนวนส่วนต่าง ๆ ของหลักวิชาดาราศาสตร์ โดยนำมาปฏิบัติการเพื่อรับใช้ศาสนาอิสลามของพวกเขา ดังนั้น พวกเขาจึงทำการคำนวนเวลาของแสงอรุณขึ้น ดวงอาทิตย์ขึ้น เวลาละหมาดซุฮริ ละหมาดอัสริ ละหมาดมัฆริบ และละหมาดอีชาอ์ จนกระทั่งมุอัซซินทำการอะซานด้วยการดูปฏิทินที่ระบุเวลาละหมาดโดยปฏิบัติตามการคำนวนของดาราศาสตร์ ในขณะเดียวกันบรรดามุสลิมได้ละทิ้งการชี้แนะวิธีการวัดไม้กับพื้นดินเพื่อดูเงาของมัน และบางครั้งผู้คนต้องการเอาไม้มาวัดและดูไปยังเงาของมันในช่วงที่ไม่มีนาฬิกาและไม่รู้เวลาต่าง ๆ ของละหมาด ดังนั้น หลักการของศาสนา ได้นำมาซึ่งความง่ายดายและอำนวยความสะดวกแก่มัคโลคทั้งหลาย เนื่องจากอิสลามเป็นศาสนาระดับโลกและเป็นศาสนาของพระเจ้าแห่งสากลโลก และกรณีนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่า การกำหนดเวลาต่าง ๆ ของละหมาดและการถือศีลอดด้วยวิธีคำนวนตามหลักดาราศาสตร์นั้น เป็นการขัดแย้งกับแนวทางของท่านนบี และเป็นเรื่องน่าแปลก ที่เราไม่พบว่ามีการขัดแย้งในกรณีของการละหมาด แต่เราจะพบว่าการขัดแย้งได้เกิดความรุนแรงในกรณีของการถือศีลอด ทั้งที่การละหมาดมีความสำคัญกว่าการถือศีลอด

สำหรับสิ่งที่มาเจาะจงการถือศีลอดในเดือนร่อมะฏอนนั้น คือการเห็นจันทร์เสี้ยวด้วยตา ซึ่งเป็นรากฐานเดิมในการยืนยันวันเริ่มต้นของเดือนอาหรับทั้งหมด ซึ่งส่วนหนึ่งนั้นคือ เดือนรอมะฏอน เนื่องจากพระองค์ทรงตรัสว่า

فَمَن شَهِدَ مِنكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ

"ดังนั้นผู้ใดในหมูพวกเจ้าได้ประจักษ์ชัดเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น"

และท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

"พวกท่านจงถือศีลอดด้วยการเห็นเดือนเสี้ยวและจงออกร่อมะฏอนด้วยการเห็นเดือนเสี้ยว" รายงานโดย มุสลิม

นอกเหนือจากกรณีที่สามารถยืนยันการเห็นเดือนด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์โดยมติแล้ว จึงไม่เป็นที่สงสัยว่า เดือนเสี้ยวนั้น เป็นปรากฏการณ์แห่งจักรวาลที่ได้รับการยืนยันแน่นอน โดยไม่มีข้อขัดแย้งใด ๆ ว่าสามารถเห็นด้วยตาเปล่าเมื่อเงื่อนไขต่าง ๆ ของการดูด้วยตาเปล่านั้นมีครบสมบูรณ์ และดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นสิ่งที่รู้กันตามทัศนะของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ และบรรดามุสลิมและอื่นจากพวกเขาก็ทราบดี เพราะว่าการเกิดจันทร์เสี้ยวนั้น เป็นข้อเท็จจริงตามหลักวิทยาศาสตร์ที่มั่นใจด้วยมติของนักปราชญ์ดาราศาสตร์และการคำนวน ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่คาดคะเน(ซ๊อนนีย์)

ท่านชัยคุลอิสลาม อัศซุบกีย์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) ได้ถูกถามเกี่ยวกับผู้ที่เห็นเดือนเสี้ยวโดยมีพยานยืนยันเพียงเขาคนเดียวเท่านั้น และการคำนวน(ทางดาราศาสตร์) ได้ยืนยันความโกหกของเขา ดังนั้น ท่าน ชัยคุลอิสลาม อัศซุบกีย์ ตอบด้วยการอธิบายอย่างยืดยาว ส่วนหนึ่งคือ " ประเด็นนี้ มีอีกรูปแบบหนึ่ง คือการคำนวนที่ชี้ถึงว่าไม่สามารถเห็นเดือนได้และสิ่งดังกล่าวสามารถรับรู้ด้วยหลักการที่เด็ดขาดและในลักษณะที่เดือนเสี้ยวก็อยู่ใกล้กับดวงทิตย์มากที่สุดด้วย(คือเมื่อจันทร์เสี้ยวอยู่ระดับใกล้ดวงทิตย์ แสงของดวงอาทิตย์จะทำให้ไม่เห็นจันทร์เสี้ยว) เพราะฉะนั้น ในลักษณะนี้ จึงไม่สามารถกำหนดการเห็นเดือนของเราตามนัยที่เห็นด้วยตาได้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่เป็นไม่ได้(ที่จะเห็น) ดังนั้น หากมีผู้บอกเล่าคนหนึ่งหรือมากกว่านั้น ซึ่งผู้ที่สามารถคาดการได้ว่าการบอกของเขานั้นอาจความเท็จหรือผิดพลาดก็ได้  ทำการบอกกับเราว่าเห็นเดือน ดังนั้น หนทางที่มีน้ำหนัก ก็คือ ไม่รับคำบอกเล่าดังกล่าว และให้คาดการว่าการบอกเล่านั้นอาจจะเป็นเท็จหรือผิดพลาด และหากมีพยานยืนยันเห็นเดือนสองคน ก็ไม่รับการยืนยันจากเขาทั้งสอง เนื่องจากการคำนวนนั้น เด็ดขาดกว่า และการเป็นพยานยืนยันและการบอกเล่า ย่อมเป็นเพียงการคาดคะเน (ซ๊อนนีย์) และนอกเหนือจากการที่ความเด็ดขาดย่อมอยู่ก่อนการคาดคะเนแล้ว การคาดคะเนก็ไม่สามารถมาคัดค้านกับความเด็ดขาดได้ และหลักชี้แจงยืนยันนั้น เงื่อนไขของมันก็คือ สิ่งที่ได้เป็นพยานยืนยันนั้น สามารถรู้ได้ด้วยหลักการสัมผัส(เห็น)ได้ด้วยหลักสติปัญญาและหลักการของศาสนา ดังนั้น เมื่อการคำนวนได้กำหนดอย่างเด็ดขาดแล้วว่า ไม่สามารถเห็นเดือนได้ แน่นอน ก็ไม่สามารถรับข่าวยืนยันการเห็นเดือนได้ตามหลักศาสนา เนื่องจากไม่สามารถเห็นเดือนได้ และศาสนาย่อมไม่นำมาซึ่งบรรดาสิ่งที่เป็นไปไม่ได้" ดู ฟะตาวา อัศซุบกีย์ ของท่าน ชัยคุลอิสลาม ตะกียุดดีน อัศซุบกีย์ เล่ม 1 หน้า 209

ด้วยเหตุนี้ เราจะเห็นว่า ที่ดีกว่าคือยึดหลักคำนวนทางดาราศาสตร์ โดยที่หลักคำนวนดาราศาสตร์นั้น ได้รับการทดสอบที่เด็ดขาดแล้ว จากสิ่งที่สามารถนำมายึดหลักการนี้ได้ สามารถให้ผลที่เด็ดขาดได้ตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น สำหรับการเห็นเดือนด้วยตาเปล่า มีตัวบทระบุ แต่การเห็นอาจจะเป็นการคาดคะเน เนื่องจากอาจจะสิ่งกีดขวางต่าง ๆ มากั้นขวางการเห็นเดือนด้วยตา ซึ่งการยึดหลักการคำนวนตามหลักดาราศาสตร์ย่อมอยู่ก่อนในขณะที่มีการค้านกัน วัลลอฮุอะลัมวะอะลัม

-----------------
อ้างอิงจากหนังสือ อัลบะบาน ลิมายัชฆ่อลุ อัลอัซฮาน หน้า 297 - 299 ของท่าน มุฟตีประเทศอียิปต์ ศาสตราจารย์ ดร. อลี ญุมอะฮ์

والله أعلى وأعلم
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged