ท่านบุคอรีได้รายงานไว้ในบทเรื่อง การละหมาดกิยามุลลัยล์(ตะฮัจยุด) ในเดือนรอมะดอนและอื่นจากรอมะดอน จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ความว่า
مَا كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَزِيدُ فِي رَمَضَانَ وَلَا فِي غَيْرِهِ عَلَى إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً يُصَلِّي أَرْبَعًا فَلَا تَسَلْ عَنْ حُسْنِهِنَّ وَطُولِهِنَّ ثُمَّ يُصَلِّي أَرْبَعًا فَلَا تَسَلْ عَنْ حُسْنِهِنَّ وَطُولِهِنَّ ثُمَّ يُصَلِّي ثَلَاثًا
"ท่านรอซูลศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละหมาดในหรือนอกรอมฎอนเกินกว่า 11 ร๊อกอะฮ์ ท่านละหมาด 4 ร๊อกอะฮ์ ซึ่งท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วท่านก็ละหมาดอีก 4 ซึ่งท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วหลังจากนั้นท่านก็ละหมาดอีก 3 ...."
ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อธิบายว่า
وفي الحديث دلالة على أن صلاته كانت متساوية في جميع السنة، وفيه كراهة النوم قبل الوتر
"ในหะดิษบ่งชี้ว่า การละหมาดของท่านนบีนั้นเท่าเทียมกันตลอดทั้งปี(ไม่ว่ารอมาดอนหรือไม่ใช่รอมาดอน) และในหะดิษบ่งชี้ว่า มักโระฮ์ในการนอนก่อนละหมาดวิติร"
กล่าวคือเมื่อละหมาดในยามค่ำคืนแล้วให้ทำการวิติรต่อจากนั้นเลย ดังนั้น หะดิษละหมาด 11 รอกาอัตนี้ คือละหมาดกิยามุลลัยล์ปกติทั่วไปที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ได้ทำเป็นประจำทั้งในเดือนรอมาดอนและอื่นจากรอมาดอน ฉะนั้น หากว่ากิยามุลลัยล์คือละหมาดตะฮัจยุด จึงเป็นไปได้หรือที่การละหมาดตะฮัจญุดในเดือนรอมาดอนเขาเรียกว่า ละหมาดตะรอวิห์ ??
ท่านบุคอรีได้กล่าวรายงานไว้ในบทที่ว่า "ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ละหมาดอย่างไร และเท่าไหร่ที่ท่านได้ละหมาดในยามค่ำคืน" จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ความว่า
سَبْعٌ وَتِسْعٌ وَإِحْدَى عَشْرَةَ سِوَى رَكْعَتِي الْفَجْرِ
" 7 รอกะอัต และ 9 รอกะอัต และ 11 รอกะอัต นอกจากสองรอกะอัต(ก่อนละหมาด)ซุบฮิ"
ท่านอัลกอซิม บิน มุฮัมมัด (หลานท่านหญิงอาอิชะฮ์) ได้ถามท่านหญิงอาอิชะฮ์ ท่านนางตอบว่า
كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يُصَلِّي مِنْ اللَّيْلِ ثَلَاثَ عَشْرَةَ رَكْعَةً، مِنْهَا الْوِتْرُ وَرَكْعَتَا الْفَجْرِ
"ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาดยามค่ำคืน 13 รอกะอัต ส่วนหนึ่งจากมันนั้นคือละหมาดวิติรและละหมาดสองรอะกัต(ก่อน)ละหมาดซุบฮิ)"
ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้อธิบายว่า ส่วนมากแล้วท่านนบี ละหมาด 11 รอกะอัต แต่ที่เพิ่มมา 13 นั้น เพราะว่านับละหมาดสุนัตอีชาอ์สองรอกะอัตเข้าไปด้วย เพราะหะดิษมุสลิมได้รายงานจากสะอัด บิน ฮิชาม จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ว่า "ท่านนบีได้เริ่มการละหมาดด้วยสองรอกะอัตแบบเร็ว ๆ (คือละหมาดสุนัตรอวาติบหลังอีชาอ์)"
ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร อธิบาย ต่อไปว่า
ويؤيده ما وقع عند أحمد وأبي داود، من رواية عبد الله بن أبي قيس، عن عائشة، بلفظ " كان يوتر بأربع وثلاث، وست وثلاث، وثمان وثلاث، وعشر وثلاث، ولم يكن يوتر بأكثر من ثلاث عشرة ولا أنقص من سبع " وهذا أصح ما وقفت عليه من ذلك، وبه يجمع بين ما اختلف عن عائشة من ذلك والله أعلم
"และมาสนับสนุนกับ(ความแตกต่างเรื่องรอกะอัตละหมาด)โดยหะดิษจากท่านอะห์มัดและอบูดาวูด ได้รายงานจากอับดุลลอฮ์ บิน อบีกัยซ์ จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ด้วยถ้อยคำที่ว่า "ท่านนบีได้ทำละหมาดวิติร 4 รอกะอัตและอีก 3 (รวมเป็น 7) , และแบบ 6 รอกะอัตและอีก 3 (รวมเป็น 9) , และแบบ 8 รอกะอัตและอีก 3 (รวมเป็น 11) , และแบบ 10 รอกะอัตและอีก 3 (รวมเป็น 13) โดยไม่น้อยไปกว่า 7 รอกาอัต" และนี้คือสิ่งที่ชัดเจนที่สุดเท่าที่ฉันทราบมาจากสิ่งเรื่องดังกล่าว และหะดิษดังกล่าวนั้น สามารถรวมบรรดาหะดิษที่รายงานแตกต่างกันจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ในเรื่องละหมาดดังกล่าว วัลลอฮุอะลัม"
ท่านอัลฮาฟิซฺ กล่าวอธิบายว่าต่อไปว่า
قال القرطبي: أشكلت روايات عائشة على كثير من أهل العلم حتى نسب بعضهم حديثها إلى الاضطراب، وهذا إنما يتم لو كان الراوي عنها واحداً أو أخبرت عن وقت واحد: والصواب أن كل شيء ذكرته من ذلك محمول على أوقات متعددة وأحوال مختلفة بحسب النشاط وبيان الجواز والله أعلم
"ท่านอัลกุรตุบีย์กล่าวว่า สายรายงานต่าง ๆ ของท่านหญิงอาอิชะฮ์นี้ทำให้เกิดความคลุมเครือต่อนักวิชาการส่วนมาก จนกระทั่งบางส่วนพาดพิงหะดิษนี้เป็นหะดิษสับสน(อิฏฏิร๊อบ) และหะดิษนี้จะสมบูรณ์ได้หากว่าผู้รายงานมีคนเดียวและท่านนางได้บอกในเวลาเดียวกัน และที่ถูกต้องนั้นคือทุกสิ่งที่ท่านหญิงอาอิชะฮ์ได้กล่าวมา ถูกตีความว่า ได้กล่าวตามช่วงเวลาต่าง ๆ และสภาพที่แตกต่างกันโดยพิจารณาความกระปี้กระเป่าและอธิบายถึงอนุญาต(ให้กระทำได้) วัลลอฮุอะลัม"
และท่านอัลฮาฟิซฺอธิบายต่อไปอีกว่า
وظهر لي أن الحكمة في عدم الزيادة على إحدى عشرة أن التهجد والوتر مختص بصلاة الليل، وفرائض النهار - الظهر وهي أربع والعصر وهي أربع والمغرب وهي ثلاث وتر النهار - فناسب أن تكون صلاة الليل كصلاة النهار في العدد جملة وتفصيلا
"ได้ปรากฏแก่ฉันว่า แท้จริงเคล็ดลับในการไม่เพิ่มมากไปกว่า 11 ร่อกะอัตนั้น คือการละหมาดตะฮัจยุดและวิติร ถูกเจาะจงด้วยการละหมาดในยามค่ำคืน และบรรดาละหมาดฟัรดูช่วงกลางวันนั้น - คือซุฮ์ริ 4 รอกะอัต , อัสริ 4 รอกะอัต , มัฆริบ 3 รอกะอัต ซึ่งถือว่าเป็นวิติรในช่วงกลางวัน - ดังนั้น จึงเหมาะสมที่ละหมาดยามค่ำคืนได้เหมือนกับละหมาดกลางวันในด้านของจำนวน ไม่ว่าจะแบบสรุปหรือว่าแบบรายละเอียด"
สิ่งที่ผมได้นำเสนอมานั้น แสดงว่าการละหมาดค่ำคืนไม่ว่ารอมะดอนหรือไม่ใช่รอมาดอนของท่านนบี 11 รอกะอัตนั้น คือละหมาดวิติรหรือส่วนหนึ่งเป็นละหมาดตะฮัจญุดด้วยครับ
แต่ประเด็นที่น่าสนใจคือ หะดิษดังกล่าวที่ท่านบุคอรีได้นำเสนอในบทกิยามุลลัยล์ (ตะฮัจญุด) และวิติร นั้น
ท่านบุคอรีได้ทำการอิจญาด(วินิจฉัย)โดยนำหะดิษดังกล่าวมาไว้ในบทการละหมาดตะรอวิห์ด้วย ทั้งบรรดานักหะดิษท่านอื่น ๆ ไม่ได้นำมาเสนอไว้ในบทเรื่อง กิยามรอมาดอนหรือละหมาดตะรอวิห์เลย
ท่านมุสลิม : ท่านอิมามมุสลิมได้นำเสนอหะดิษท่านนบี ละหมาด 11 รอกะอัตนั้น ไว้อยู่ในบทที่ว่าด้วยเรื่อง
باب صَلاَةِ اللَّيْلِ وَعَدَدِ رَكَعَاتِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم فِي اللَّيْلِ وَأَنَّ الْوِتْرَ رَكْعَةٌ وَأَنَّ الرَّكْعَةَ صَلاَةٌ صَحِيحَةٌ
"บทการละหมาดยามค่ำคืนและบรรดาจำนวนรอกะอัตต่าง ๆ ที่ท่านนบีได้ละหมาดในยามค่ำคืน และทำละหมาดวิติรหนึ่งรอกะอัตและหนึ่งรอกะอัตเป็นการละหมาดที่ใช้ได้"
حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ يَحْيَى، قَالَ قَرَأْتُ عَلَى مَالِكٍ عَنِ ابْنِ شِهَابٍ، عَنْ عُرْوَةَ، عَنْ عَائِشَةَ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم كَانَ يُصَلِّي بِاللَّيْلِ إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً يُوتِرُ مِنْهَا بِوَاحِدَةٍ فَإِذَا فَرَغَ مِنْهَا اضْطَجَعَ عَلَى شِقِّهِ الأَيْمَنِ حَتَّى يَأْتِيَهُ الْمُؤَذِّنُ فَيُصَلِّي رَكْعَتَيْنِ خَفِيفَتَيْنِ
จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ว่า "ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาดตามค่ำคืน 11 รอกะอัต และทำการวิติร 1 รอกะอัต จาก 11 รอกะอัตนั้น ดังนั้น เมื่อท่านได้เสร็จสิ้นจากการละหมาดดังกล่าว ท่านจึงนอนตะแคงขวา จนกระทั่งมุอัซซินได้มา(อะซาน) แล้วท่านนบีก็ทำการละหมาด 2 รอกะอัตแบบเร็ว ๆ " รายงานโดยมุสลิม (1751)
وَحَدَّثَنِي حَرْمَلَةُ بْنُ يَحْيَى، حَدَّثَنَا ابْنُ وَهْبٍ، أَخْبَرَنِي عَمْرُو بْنُ الْحَارِثِ، عَنِ ابْنِ شِهَابٍ، عَنْ عُرْوَةَ بْنِ الزُّبَيْرِ، عَنْ عَائِشَةَ، زَوْجِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم قَالَتْ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يُصَلِّي فِيمَا بَيْنَ أَنْ يَفْرُغَ مِنْ صَلاَةِ الْعِشَاءِ - وَهِيَ الَّتِي يَدْعُو النَّاسُ الْعَتَمَةَ - إِلَى الْفَجْرِ إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً يُسَلِّمُ بَيْنَ كُلِّ رَكْعَتَيْنِ وَيُوتِرُ بِوَاحِدَةٍ فَإِذَا سَكَتَ الْمُؤَذِّنُ مِنْ صَلاَةِ الْفَجْرِ وَتَبَيَّنَ لَهُ الْفَجْرُ وَجَاءَهُ الْمُؤَذِّنُ قَامَ فَرَكَعَ رَكْعَتَيْنِ خَفِيفَتَيْنِ ثُمَّ اضْطَجَعَ عَلَى شِقِّهِ الأَيْمَنِ حَتَّى يَأْتِيَهُ الْمُؤَذِّنُ لِلإِقَامَةِ
จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ภริยานบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ทำการละหมาดระหว่างเสร็จสิ้นจากละหมาดอีชาอ์ - ซึ่งบรรดาผู้คนเขาเรียกว่าอัลอะตะมะฮ์ - จนแสงอรุณขึ้น 11 รอกะอัต ท่านได้ทำการให้สลามทุก ๆ 2 รอกะอัต และทำวิติร 1 รอกะอัต ดังนั้น เมื่อมุอัซซินเสร็จจาก(อะซาน)ละหมาดซุบฮิ โดยปรากฏว่ามีแสงอรุณ มุอัซซินก็มาที่ท่านนบี แล้วท่านนบีก็ละหมาด 2 รอกะอัตแบบเร็ว ๆ หลังจากนั้นท่านได้นอนตะแคงข้างขวา จนกระทั้งมุอัซซินทำการอิกอมะฮ์" (1752)
ท่านอบูดาวูด :ท่านอบูดาวูดได้นำเสนอไว้ในบท
باب فِي صَلاَةِ اللَّيْلِ
"บทในเรื่องการละหมาดยามค่ำคืน"
حَدَّثَنَا الْقَعْنَبِيُّ، عَنْ مَالِكٍ، عَنِ ابْنِ شِهَابٍ، عَنْ عُرْوَةَ بْنِ الزُّبَيْرِ، عَنْ عَائِشَةَ، زَوْجِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم : أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم كَانَ يُصَلِّي مِنَ اللَّيْلِ إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً، يُوتِرُ مِنْهَا بِوَاحِدَةٍ، فَإِذَا فَرَغَ مِنْهَا اضْطَجَعَ عَلَى شِقِّهِ الأَيْمَنِ
จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ภริยาของท่านร่อซูลุลลอฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า "ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาดในยามค่ำคืน 11 รอกะอัต และทำการละหมาดวิติรหนึ่งรอกะอัต และเมื่อท่านเสร็จจากละหมาดดังกล่าว ท่านจงนอนตะแคงข้างขวา" รายงานโดยอบูดาวูด (1337)
حَدَّثَنَا عَبْدُ الرَّحْمَنِ بْنُ إِبْرَاهِيمَ، وَنَصْرُ بْنُ عَاصِمٍ، - وَهَذَا لَفْظُهُ - قَالاَ حَدَّثَنَا الْوَلِيدُ، حَدَّثَنَا الأَوْزَاعِيُّ، - وَقَالَ نَصْرٌ : عَنِ ابْنِ أَبِي ذِئْبٍ، وَالأَوْزَاعِيِّ، - عَنِ الزُّهْرِيِّ، عَنْ عُرْوَةَ، عَنْ عَائِشَةَ، - رضى الله عنها - قَالَتْ : كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يُصَلِّي فِيمَا بَيْنَ أَنْ يَفْرُغَ مِنْ صَلاَةِ الْعِشَاءِ إِلَى أَنْ يَنْصَدِعَ الْفَجْرُ إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً، يُسَلِّمُ مِنْ كُلِّ ثِنْتَيْنِ وَيُوتِرُ بِوَاحِدَةٍ، وَيَمْكُثُ فِي سُجُودِهِ قَدْرَ مَا يَقْرَأُ أَحَدُكُمْ خَمْسِينَ آيَةً قَبْلَ أَنْ يَرْفَعَ رَأْسَهُ، فَإِذَا سَكَتَ الْمُؤَذِّنُ بِالأُولَى مِنْ صَلاَةِ الْفَجْرِ قَامَ فَرَكَعَ رَكْعَتَيْنِ خَفِيفَتَيْنِ، ثُمَّ اضْطَجَعَ عَلَى شِقِّهِ الأَيْمَنِ حَتَّى يَأْتِيَهُ الْمُؤَذِّنُ
จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ภริยาของท่านร่อซูลุลลอฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า "ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั้น ในขณะที่ท่านละหมาดอีชาอ์เสร็จจนแสงอรุณขึ้น ท่านได้ละหมาด 11 รอกะอัต ซึ่งท่านได้ให้สลามในทุก ๆ 2 รอกะอัต และทำการวิติรหนึ่งรอกะอัต และท่านได้สงบนิ่งในขณะสุยูดขนาดของบุคคลหนึ่งอ่าน 50 อายะฮ์ก่อนที่ท่านจะเงยศีรษะขึ้นมา ดังนั้น เมื่อมุอัซซินได้อะซานละหมาดซุบฮิครั้งแรกเสร็จ ท่านจงละหมาด(สุนัต)สองรองกะอัตแบบเร็ว หลังจากนั้น ท่านได้นอนตะแคงข้างขวา จนกระทั้งมุอัซซินมา(ทำการอิกอมะฮ์)" รายงานโดยอบูดาวูด (1338)
حَدَّثَنَا الْقَعْنَبِيُّ، عَنْ مَالِكٍ، عَنْ سَعِيدِ بْنِ أَبِي سَعِيدٍ الْمَقْبُرِيِّ، عَنْ أَبِي سَلَمَةَ بْنِ عَبْدِ الرَّحْمَنِ، أَنَّهُ أَخْبَرَهُ : أَنَّهُ، سَأَلَ عَائِشَةَ زَوْجَ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم كَيْفَ كَانَتْ صَلاَةُ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم فِي رَمَضَانَ فَقَالَتْ : مَا كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَزِيدُ فِي رَمَضَانَ وَلاَ فِي غَيْرِهِ عَلَى إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً : يُصَلِّي أَرْبَعًا فَلاَ تَسْأَلْ عَنْ حُسْنِهِنَّ وَطُولِهِنَّ، ثُمَّ يُصَلِّي أَرْبَعًا فَلاَ تَسْأَلْ عَنْ حُسْنِهِنَّ وَطُولِهِنَّ، ثُمَّ يُصَلِّي ثَلاَثًا، قَالَتْ عَائِشَةُ - رضى الله عنها - فَقُلْتُ : يَا رَسُولَ اللَّهِ أَتَنَامُ قَبْلَ أَنْ تُوتِرَ قَالَ : " يَا عَائِشَةُ إِنَّ عَيْنَىَّ تَنَامَانِ وَلاَ يَنَامُ قَلْبِي
จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ท่านานรอซูลศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละหมาดในหรือนอกรอมฎอนเกินกว่า 11 ร๊อกอะฮ์ ท่านละหมาด 4 ร๊อกอะฮ์ ซึ่งท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วท่านก็ละหมาดอีก 4 ซึ่งท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วหลังจากนั้นท่านก็ละหมาดอีก 3 ท่านหญิงอาอิชะฮ์เล่าว่า ฉันได้กล่าวว่า โอ้ร่อซูลุลเลาะฮ์ ท่านจะนอนก่อนละหมาดวิติรกระนั้นหรือ? ท่านนบีกล่าวว่า โอ้อาอิชะฮ์ แท้จริงสองดวงตาของฉันนั้นหลับแต่จิตใจของฉันไม่หลับ" รายงานโดยอบูดาวูด (1343)
ท่านอัตติรมีซีย์ :باب مَا جَاءَ فِي وَصْفِ صَلاَةِ النَّبِيِّ صلى الله عليه وسلم بِاللَّيْلِ
"บทว่าด้วยเรื่องการบอกถึงลักษณะการละหมาดของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในยามค่ำคืน"
حَدَّثَنَا إِسْحَاقُ بْنُ مُوسَى الأَنْصَارِيُّ، حَدَّثَنَا مَعْنٌ، حَدَّثَنَا مَالِكٌ، عَنْ سَعِيدِ بْنِ أَبِي سَعِيدٍ الْمَقْبُرِيِّ، عَنْ أَبِي سَلَمَةَ، أَنَّهُ أَخْبَرَهُ أَنَّهُ، سَأَلَ عَائِشَةَ كَيْفَ كَانَتْ صَلاَةُ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم بِاللَّيْلِ فِي رَمَضَانَ فَقَالَتْ مَا كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم يَزِيدُ فِي رَمَضَانَ وَلاَ فِي غَيْرِهِ عَلَى إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً يُصَلِّي أَرْبَعًا فَلاَ تَسْأَلْ عَنْ حُسْنِهِنَّ وَطُولِهِنَّ ثُمَّ يُصَلِّي أَرْبَعًا فَلاَ تَسْأَلْ عَنْ حُسْنِهِنَّ وَطُولِهِنَّ ثُمَّ يُصَلِّي ثَلاَثًا . فَقَالَتْ عَائِشَةُ فَقُلْتُ يَا رَسُولَ اللَّهِ أَتَنَامُ قَبْلَ أَنْ تُوتِرَ فَقَالَ " يَا عَائِشَةُ إِنَّ عَيْنَىَّ تَنَامَانِ وَلاَ يَنَامُ قَلْبِي " . قَالَ أَبُو عِيسَى هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ صَحِيحٌ
จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ท่านานรอซูลศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยละหมาดในหรือนอกรอมฎอนเกินกว่า 11 ร๊อกอะฮ์ ท่านละหมาด 4 ร๊อกอะฮ์ ซึ่งท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วท่านก็ละหมาดอีก 4 ซึ่งท่านไม่ต้องถามถึงว่ามันสวยงามและยาวนานแค่ไหน แล้วหลังจากนั้นท่านก็ละหมาดอีก 3 ท่านหญิงอาอิชะฮ์เล่าว่า ฉันได้กล่าวว่า โอ้ร่อซูลุลเลาะฮ์ ท่านจะนอนก่อนละหมาดวิติรกระนั้นหรือ? ท่านนบีกล่าวว่า โอ้อาอิชะฮ์ แท้จริงสองดวงตาของฉันนั้นหลับแต่จิตใจของฉันไม่หลับ" รายงานโดยอัตติรมีซี (441) ท่านกล่าวว่า เป็นหะดิษหะซันซอฮิห์
حَدَّثَنَا إِسْحَاقُ بْنُ مُوسَى الأَنْصَارِيُّ، حَدَّثَنَا مَعْنُ بْنُ عِيسَى، حَدَّثَنَا مَالِكٌ، عَنِ ابْنِ شِهَابٍ، عَنْ عُرْوَةَ، عَنْ عَائِشَةَ، أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم كَانَ يُصَلِّي مِنَ اللَّيْلِ إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً يُوتِرُ مِنْهَا بِوَاحِدَةٍ فَإِذَا فَرَغَ مِنْهَا اضْطَجَعَ عَلَى شِقِّهِ الأَيْمَنِ
จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า "ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาดในยามค่ำคืน 11 รอกะอัต โดยทำการละหมาดวิติรอีกหนึ่งรอกะอัตจากมัน( 11 รอกาอัตนั้น) ดังนั้น เมื่อท่านร่อซูลุลเลาะฮ์เสร็จสิ้นจากการละหมาด ท่านได้นอนตระแคงข้างขวา" รายงานโดยอัตติรมีซี (442)
ท่านอันนะซาอีย์ :ท่านอันนะซาอีย์ ได้กล่าวไว้ในบทที่ว่าด้วยเรื่อง
باب قِيَامِ اللَّيْلِ
"บทการละหมาดยามค่ำคืน"
أَخْبَرَنَا مُحَمَّدُ بْنُ بَشَّارٍ، قَالَ حَدَّثَنَا يَحْيَى بْنُ سَعِيدٍ، عَنْ سَعِيدٍ، عَنْ قَتَادَةَ، عَنْ زُرَارَةَ، عَنْ سَعْدِ بْنِ هِشَامٍ، أَنَّهُ لَقِيَ ابْنَ عَبَّاسٍ فَسَأَلَهُ عَنِ الْوَتْرِ، فَقَالَ أَلاَ أُنَبِّئُكَ بِأَعْلَمِ أَهْلِ الأَرْضِ بِوِتْرِ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم قَالَ نَعَمْ . قَالَ عَائِشَةُ
فَقُلْتُ يَا أُمَّ الْمُؤْمِنِينَ أَنْبِئِينِي عَنْ وِتْرِ رَسُولِ اللَّهِ صلى الله عليه وسلم . قَالَتْ كُنَّا نُعِدُّ لَهُ سِوَاكَهُ وَطَهُورَهُ فَيَبْعَثُهُ اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ لِمَا شَاءَ أَنْ يَبْعَثَهُ مِنَ اللَّيْلِ فَيَتَسَوَّكُ وَيَتَوَضَّأُ وَيُصَلِّي ثَمَانِيَ رَكَعَاتٍ لاَ يَجْلِسُ فِيهِنَّ إِلاَّ عِنْدَ الثَّامِنَةِ يَجْلِسُ فَيَذْكُرُ اللَّهَ عَزَّ وَجَلَّ وَيَدْعُو ثُمَّ يُسَلِّمُ تَسْلِيمًا يُسْمِعُنَا ثُمَّ يُصَلِّي رَكْعَتَيْنِ وَهُوَ جَالِسٌ بَعْدَ مَا يُسَلِّمُ ثُمَّ يُصَلِّي رَكْعَةً فَتِلْكَ إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً
สะอัด บุตร ฮิชาม ได้พบกับท่านอิบนุอับบาส แล้วถามเรื่องละหมาดวิติร ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า พึงทราบเถิด ฉันจะบอกให้ท่านทราบถึงบุคคลที่รู้ยิ่งในผืนแผ่นดินนี้ในเรื่องการละหมาดวิติรของท่านนบีเอาใหม? เขาตอบว่า ครับ ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า เขาคือ อาอิชะฮ์ ดังนั้น ฉัน(คือสะอัด บุตร ฮิชาม) กล่าวถามว่า โอ้มารดาแห่งศรัทธาชน ท่านโปรดบอกเล่าฉันเกี่ยวกับการละหมาดวิติรของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมด้วยเถิด ท่านนางกล่าวว่า เราได้ตระเตรียมไม้ซีถูฟันซิว๊ากให้แก่ท่านนบีและน้ำเพื่อทำการอาบน้ำละหมาด แล้วอัลเลาะฮ์ก็ทรงให้ท่านนบีได้ตื่นตามที่พระองค์ทรงประสงค์ให้ตื่นขึ้นมาในยามค่ำคืน ดังนั้น ท่านนบีจึงทำการถูฟันด้วยไม้ซิว๊ากและทำการอาบน้ำละหมาด และท่านได้ทำการละหมาด 8 รอกะอัต โดยไม่นั่ง(พัก)ในระหว่างนั้นเลย นอกจากรอกะอัตที่ 8 ท่านได้นั่งทำการซิกรุลลอฮ์และทำการขอดุอาอ์ หลังจากนั้นท่านได้ให้สลามหนึ่งครั้งซึ่งทำให้เราได้ยิน หลังจากให้สลามนั้นท่านได้ละหมาดอีก 2 รอกะอัต โดยท่านั่ง และหลังจากนั้นท่านได้ทำการละหมาดอีก 1 รอกะอัต ดังนั้น สิ่งดังกล่าวก็เป็น 11 รอกะอัต" รายงานโดยอันนะซาอีย์ (1612)
ท่านอิบนุมาญะฮ์ :ท่านได้นำเสนอไว้ในบทที่ว่าด้วยเรื่อง
باب مَا جَاءَ فِي كَمْ يُصَلِّي بِاللَّيْلِ
"บทเกี่ยวจำนวนละหมาดของท่านนบีในยามค่ำคืน"
حَدَّثَنَا أَبُو بَكْرِ بْنُ أَبِي شَيْبَةَ، حَدَّثَنَا شَبَابَةُ، عَنِ ابْنِ أَبِي ذِئْبٍ، عَنِ الزُّهْرِيِّ، عَنْ عُرْوَةَ، عَنْ عَائِشَةَ، ح وَحَدَّثَنَا عَبْدُ الرَّحْمَنِ بْنُ إِبْرَاهِيمَ الدِّمَشْقِيُّ، حَدَّثَنَا الْوَلِيدُ، حَدَّثَنَا الأَوْزَاعِيُّ، عَنِ الزُّهْرِيِّ، عَنْ عُرْوَةَ، عَنْ عَائِشَةَ، - وَهَذَا حَدِيثُ أَبِي بَكْرٍ - قَالَتْ كَانَ النَّبِيُّ ـ صلى الله عليه وسلم ـ يُصَلِّي مَا بَيْنَ أَنْ يَفْرُغَ مِنْ صَلاَةِ الْعِشَاءِ إِلَى الْفَجْرِ إِحْدَى عَشْرَةَ رَكْعَةً يُسَلِّمُ فِي كُلِّ اثْنَتَيْنِ وَيُوتِرُ بِوَاحِدَةٍ وَيَسْجُدُ فِيهِنَّ سَجْدَةً بِقَدْرِ مَا يَقْرَأُ أَحَدُكُمْ خَمْسِينَ آيَةً قَبْلَ أَنْ يَرْفَعَ رَأْسَهُ فَإِذَا سَكَتَ الْمُؤَذِّنُ مِنَ الأَذَانِ الأَوَّلِ مِنْ صَلاَةِ الصُّبْحِ قَامَ فَرَكَعَ رَكْعَتَيْنِ خَفِيفَتَيْنِ
จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ภริยาของท่านร่อซูลุลลอฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า "ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั้น ในขณะที่ท่านละหมาดอีชาอ์เสร็จจนแสงอรุณขึ้น ท่านได้ละหมาด 11 รอกะอัต ซึ่งท่านได้ให้สลามในทุก ๆ 2 รอกะอัต และทำการวิติรหนึ่งรอกะอัต และท่านได้สงบนิ่งในขณะสุยูดขนาดของบุคคลหนึ่งอ่าน 50 อายะฮ์ก่อนที่ท่านจะเงยศีรษะขึ้นมา ดังนั้น เมื่อมุอัซซินได้อะซานละหมาดซุบฮิครั้งแรกเสร็จ ท่านจงละหมาด(สุนัต)สองรองกะอัตแบบเร็ว" รายงานโดยอิบนุมาญะฮ์ (1420)