ฟิตนะฮฺแรกที่เกิดขึ้นในกรุงแบกแดด ระหว่างกลุ่มอัล-หะนาบิละฮฺ อัล-มุญัสสิมะฮฺ กับ บรรดาปวงปราชญ์และผู้คนทั่วไปในกรุงแบกแดด ประเทศอิรัก !!!!!
ฟิตนะฮฺแรกที่เกิดขึ้นในกรุงแบกแดด ระหว่างกลุ่มหะนาบิละฮฺ สายมุญัสสิมะฮฺ(พวกที่อธิบายว่าอัลลอฮฺมีรูปร่าง) กับปวงปราชญ์ทั่วไปในเมืองอิรัก(ที่เชื่อมั่นว่าอัลลอฮฺไม่มีรูปร่าง) สาเหตุอันเนื่องมาจากการตัจญซีม(การทำให้อัลลอฮฺมีรูปร่าง)
ท่านหาฟิซ อิบนุ อัล-อะษีร ได้บันทึกเอาไว้ในตำรา “อัล-กามิล” ของท่าน เล่มที่ 8 หน้าที่ 93 ว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี ฮ.ศ.317
وفيها وقعت فتنة عظيمة ببغداد بين أصحاب أبي بكر المروزي الحنبلي وبين غيرهم من العامة ، ودخل كثير من الجند فيها ، وسبب ذلك أنّ أصحاب المروزي قالوا في تفسير قوله تعالى : ( عسى أنْ يبعثك ربك مقاماً محموداً ) هو أنّ الله سبحانه يقعد النبي (صلى الله عليه وآله وسلم) معه على العرش وقالت الطائفة الأخرى : إنما هو الشفاعة ، فوقعت الفتنة ، فقتل بينهم قتلى كثيرة .
ในกรุงแบกแดดได้เกิดฟิตนะฮฺความวุ่นวายอย่างใหญ่หลวงขึ้น ระหว่างนักวิชาการจากกลุ่มของท่านอะบี บักรฺ อัล-มัรวะซีย์ อัล-หัมบะลีย์ กับกลุ่มของปวงปราชญ์และประชาชนทั่วไปในกรุงแบกแดด ซึ่งในกลุ่มของปวงปราชญ์และประชาชนทั่วไปนี้มีมากมายหลายคนที่เป็นนายทหาร และสาเหตุที่เกิดฟิตนะฮฺความวุ่นวายขึ้น อันเนื่องมาจากนักวิชาการจากกลุ่มของท่านอะบี บักรฺ อัล-มัรวะซีย์ อัล-หัมบะลีย์ ได้ทำการอรรถาธิบายโองการที่ว่า “หวังว่าพระเจ้าของเจ้าจะทรงให้เจ้าได้รับตำแหน่งที่ถูกสรรเสริญ” (ซูเราะฮฺ อัล-อิสรออฺ : 79)
โดยนักวิชาการจากกลุ่มของท่านอะบี บักรฺ อัล-มัรวะซีย์ อัล-หัมบะลีย์ ได้อธิบายโองการนี้ว่า “แท้จริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ให้ท่านนบี(ซ.ล.) นั่งอยู่บนอะรัชพร้อมกับพระองค์”
แต่ปวงปราชญ์และประชาชนทั่วไปในกรุงแบกแดด อธิบายโองการนี้ว่า “แท้จริงมัน คือ การชะฟาอะฮฺจากท่านนบี (คือ อัลลอฮฺ ตะอาลา จะมอบเกียรติให้แก่ท่านนบีในวันแห่งการพิพากษา โดยอนุญาตให้ท่านนบีสามารถช่วยเหลือใครก็ได้ ที่ท่านประสงค์จะขอให้รอดพ้นจากการลงโทษของอัลลอฮฺ)”
เมื่อต่างฝ่ายต่างอธิบายโองการนี้กันไปคนละทางและไม่อาจปรับทัศนคติให้เข้ากันได้ จึงก่อให้เกิดฟิตนะฮฺความวุ่นวายอย่างใหญ่หลวง มีการเข่นฆ่านองเลือดกันเกิดขึ้นและมีผู้เสียชีวิตมากมายในเหตุการณ์ครั้งนั้น
และท่านอิมาม อิบนุ กะษีร ก็ได้บันทึกเหตุการณ์นี้เอาไว้เช่นกันในตำรา อัล-บิดายะฮฺ วัลนิฮายะฮฺ เล่มที่ 22 หน้าที่ 207 โดยหลังจากที่ท่านได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้เสร็จ ท่านก็ได้อ้างหลักฐานจากตำราเศาะเฮี๊ยะฮฺ อัล-บุคอรีย์ และอธิบายให้ความหมายของโองการนี้ว่า “คือ ชะฟาอะตุลอุซมา” เป็นการที่ท่านนบีได้รับเกียรติจากอัลลอฮฺให้ตัดสินช่วยเหลือประชาชาติมุสลิมในวันกิยามะฮฺ.
ดู ตำรา บะรออะฮฺ อัล-อัชอะรียีน เขียนโดย เชค มุหัมมัด อัล-อะรอบีย์ บิน อัล-ติบบานีย์ อัล-มักกีย์ หรือที่รู้จักกันในนาม “อะบู หามิด บิน มัรซูก” เล่มที่ 1 หน้าที่ 18.
ที่มา : https://www.facebook.com/kay.linnurisahin/posts/3348955518500416