ผู้เขียน หัวข้อ: หาหมอ  (อ่าน 2900 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
หาหมอ
« เมื่อ: ก.ย. 10, 2007, 03:07 AM »
0

อัสลามบังอัซฮะรี่ครับ
พอดีมีคนถามผมว่า ถ้าผู้หญิงไปหาหมอเพื่อรักษาตัวแล้วหมอเป็นชายจะได้ไหมค่ะ
แล้วผมก็ตอบว้าต้องมีมุฮฺริมหนึ้งคน หรือผู้หญิงเป็นเพื่อน
จะได้ไม่คอลวะฮฺ

พอกลับบ้านมา
กลับไม่มั่นใจในคำตอบ
(ปรกติมั่นใจตลอด)
เพราะบางทีเรื่องของหมออาจเป็นเรื่องที่ยกเว้นก็ได้

บังช้วยทีนะครับ
ถ้าจากทางไหนบอกด้วยก็จะยิ้งดีครับ
ช้วยทีนะครับ
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: หาหมอ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.ย. 10, 2007, 04:17 AM »
0
بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

ท่านอิมามคอฏีบอัชชัรบีนีย์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ มุฆนีอัลมั๊วะห์ตาจญ์ของท่านว่า

وأعلم أن ما تقدم من حرمة النظر والمسّ هو حيث لا حاجة إليهما ، وأما عند الحاجة فالنظر والمس مباحان لفصد وحجامة وعلاج ، ولو فى فرج للحاجة الملجئة إلى ذلك ، لأن فى التحريم حينئذ حرجا ، فللرجل مداواة المرأة وعكسه وليكن ذلك بحضرة محرم أو زوج أو إمرأة ثقة إن جوّزنا خلوة أجنبي بإمرأتين وهو الراجح

"ท่านจงรู้เถิดว่า  แท้จริงสิ่งที่ได้อธิบายผ่านมาแล้ว  จากเรื่องการห้ามมองและสัมผัสโดยไม่มีความจำเป็นใด ๆ  แต่สำหรับกรณีที่มีความจำเป็นนั้น  การมองหรือสัมผัสย่อมเป็นสิ่งที่อนุญาตให้กระทำได้ (เช่น) การเจาะเลือด  การกรอกเลือด  และการเยียวยารักษา  ถึงแม้นว่าจะอยู่ในกรณี(รักษา)อวัยวะเพศก็ตาม เพราะว่ามีความจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นยังไปสิ่งดังกล่าว  เพราะการฮะรอม(ต้องห้าม)ในขณะ(ที่มีความจำเป็น)นั้นจึงเป็นความลำบาก  ดังนั้น  จึงอนุญาตให้ผู้ชายทำการเยียวยารักษาผู้หญิงได้และในทางตรงกันข้ามกัน  แต่สิ่งดังกล่าวต้องมีมะห์รอมร่วมอยู่ด้วย หรือมีสามี หรือมีผู้หญิงคนหนึ่งที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ร่วมอยู่ด้วย (ซึ่งกรณีนี้) หากเรามีทัศนะว่าอนุญาตให้ผู้ชายอื่นหนึ่งคนอยู่ตามลำพังกับผู้หญิงสองคนได้ ซึ่งเป็นทัศนะที่มีน้ำหนัก"  มุฆนิลมั๊วะตาจญ์ 3/133

หลังจากนั้นท่านอิมามอัลคอฏีบ ได้กล่าวถึงเงื่อนไขเล็กน้อยว่า  ต้องมีเงื่อนไขว่า ผู้หญิงไม่มีความสามารถที่จะหาแพทย์ที่เป็นหญิงด้วยกันเองได้  เพราะหากหาแพทย์ที่เป็นหญิงได้  ถือว่าห้าม(หะรอม)ที่จะเลือกรักษากับแพทย์ชาย  เป็นต้น

والله أعلى وأعلم
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged