เพราะเหตุใดมุสลิมถึงเลือกใช้ปฏิทินจันทรคติ
ปฏิทินเป็นสิ่งจำเป็นต่อสังคมที่มีอารยะธรรมในทุก ๆ ด้านของการดำรงชีวิตทั้งในอดีตและปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการทำการเกษตร การอุตสาหกรรม การค้า หรือการทำงานอื่น ๆ แน่นอนมนุษย์จึงมีความต้องการในการใช้ปฏิทินมาตั้งแต่เริ่มประวัติศาสตร์แล้ว และความต้องการนี้ยังคงมีเรื่อยมา และยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่เราไม่สามารถขาดมันได้
หนึ่งจากความกรุณาปราณีที่อัลลอฮฺทรงให้แก่มนุษย์ก็คือ การที่พระองค์ทรงให้พระอาทิตย์และดวงจันทร์เป็นเครื่องหมายให้รู้ถึงปีและฤดูกาลต่าง ๆ และอัลลอฮฺได้ทรงชี้นำให้มนุษย์มองไปยังฟากฟ้า โดยเฉพาะให้มองไปยังดวงจันทร์ เพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของมันในด้านของการคำนวณเวลา และให้รู้ถึงปีกาลต่าง ๆ เพราะอัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า
﴿هُوَ الَّذِى جَعَلَ الشَّمْسَ ضِيَاءً وَالْقَمَرَ نُوْراً
وَقَدَّرَهُ مَنَازِلَ لِتَعْلَمُوْا عَدَدَ السِّنِيْنَ وَالْحِسَابَ﴾
ความว่า: ?พระองค์ทรงทำให้ดวงอาทิตย์มีแสงจ้าและดวงจันทร์มีแสงนวล และทรงกำหนดให้มันมีทางโคจร เพื่อพวกท่านจะได้รู้จำนวนปีและการคำนวณ?
ปฏิทิน คือ ระเบียบวิธีที่แสดงระบบการจัดแบ่งช่วงเวลาเป็น วัน เดือน ปี ขึ้นเป็นแบบแผน โดยอาศัยวิชาดาราศาสตร์เป็นหลักการ ในการจัดทำเพื่อประโยชน์สำหรับดู วัน เดือน ปี ในการกำหนดนับอายุ กำหนดพิธีการต่าง ๆ และใช้สำหรับระบุในการบันทึกเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ดังนั้นวันหนึ่งจะเกิดขึ้น ด้วยการโคจรของพระอาทิตย์ เดือนหนึ่งจะเกิดขึ้นด้วยการโคจรของดวงจันทร์ และปีจะเกิดขึ้นด้วยการคำนวนจำนวนของวันและเดือน และในเครื่องหมายนี้เองเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงการที่อัลลอฮฺ (ซุบฮาฯ) ทรงเตรียมสาเหตุของการรู้วิชาปฏิทินให้แก่มนุษย์ก่อนที่พระองค์จะทรงสร้างมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์ให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตของพวกเขา
สำหรับทุก ๆ ประชาชาติจะมีปฏิทินใช้เฉพาะกลุ่ม
แต่ละประชาชาติมนุษย์จะมีปฏิทินใช้กันเฉพาะกลุ่มพวกเขา ซึ่งพวกเขามีความภาคภูมิใจในการมีปฏิทินใช้เฉพาะกลุ่มของพวกเขา และด้วยกับปฏิทินนี้เอง พวกเขาได้ใช้สำหรับเป็นหน่วยอายุ กำหนดพิธีการต่าง ๆ และบันทึกเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กับชีวิตประจำวันของมนุษย์ ดังนั้นปฏิทินก็คือประวัติศาสตร์ ศาสนา และอารยะธรรมของแต่ละประชาชาติ ปฏิทินคือเครื่องบันทึกความจำ คือกล่องแห่งความทรงจำ คือสมุดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ และเป็นกระจกแห่งวัฒนธรรมของแต่ละประชาชาติ เพราะดังกล่าวนี้เอง เราจึงพบว่า ชาวอียิปต์ เปอร์เซีย โรมัน อินเดีย ยิว จีน ไทย และประชาชาติอื่น ๆ ต่างก็มีปฏิทินใช้เฉพาะกลุ่มของพวกเขา ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะประชาชาติหนึ่งจะใช้ปฏิทินของอีกประชาชาติหนึ่ง และเป็นไปไม่ได้ที่นักการศาสนาหนึ่งจะบันทึกเรื่องราวศาสนาของพวกเขาด้วยกับปฏิทินของอีกศาสนาหนึ่ง ในสภาพที่นักการศาสนาของแต่ละประชาชาติต่างก็บัญญัติปฏิทินเพื่อใช้ในศาสนาของพวกเขา ด้วยการใช้ในการกำหนดการเริ่มเดือนต่าง ๆ ระยะเวลาของแต่ละเดือน และอื่น ดังนั้นเราจึงพบว่า พระโรมันเป็นผู้เป็นผู้คิดคุ้นหรือบัญญัติปฏิทินของพวกเขาขึ้นมา พระของชาวมาญูซีย์ (ลัทธิบูชาไฟ) เป็นผู้มีหน้าที่กำหนดปฏิทิน พระยิวระดับหัวหน้าได้กำหนดปฏิทินเฉพาะกลุ่มของพวกเขา และสันตะปาปาคารีโครีย์ที่ 13 เป็นหัวหน้าคณะกรรมาธิการตรวจสอบความถูกต้องของปฏิทินชาวคริสเตียน
และเราได้พบว่า ท่านอุมัรบุตรค๊อตต๊อบ (ร.ด.) ได้ศึกษาปฏิทินของประชาชาติใกล้เคียง จากประชาชาติยิว เปอร์เซีย อียิปต์โบราณ และโรมัน และได้วางปฏิทินอิสลามให้กับประชาชาติอิสลาม โดยเป็นปฏิทินแบบจันทรคติ ซึ่งมันจะสอดคล้องกับพิธีการต่าง ๆ ของมุสลิม โดยที่ชาวมุสลิมก็ได้ยึดเอาปฏิทินแบบจันทรคตินี้เพื่อใช้ในการประกอบศาสนกิจ และด้วยกับสาเหตุการนำเอาปฏิทินมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา สภาพปฏิทินของแต่ละชาติ แต่ละศาสนา จึงได้นำเอาชื่อของพระเจ้าของพวกเขามาตั้งชื่อวันและเดือน ดังนั้นเราจึงพบว่าเดือนมกราคม (January) เดือนนี้เป็นการตั้งชื่อเพื่อเป็นการให้เกียรติกับเทพเจ้า Janus ซึ่งเป็นเทพที่ปกปักรักษาประตูและทางเข้าออกของโรมัน เดือนกุมภาพันธ์ (February) ตั้งชื่อตามเทพเจ้า Frebruus เทพโรมันแห่งความบริสุทธิ์
สำหรับเดือนมีนาคม (March) ตั้งชื่อตามเทพ Martius เทพแห่งสงครามของโรมัน ซึ่งการตั้งชื่อของเทพองค์นี้ เพื่อถือเคล็ดให้โชคดี เมื่อเริ่มทำสงคราม ส่วนที่มาที่ไปของชื่อเดือนเมษายน (April) ยังไม่เป็นที่ชัดเจนนัก แต่คาดกันว่าตั้งตามศัพท์ละติน aperire ที่มีความหมายว่า เปิด อันหมายถึงฤดูกาลที่ดอกไม้เริ่มผลิบาน
เดือนพฤษภาคม (May) ตั้งชื่อตามเทพีกรีก Maia เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์ ต่อไปที่เดือนมิถุนายน (June) ตั้งชื่อตามเทพีโรมัน Juno ภรรยาของเทพจูปิเตอร์ ส่วนเดือนกรกฎาคม (July) ตั้งชื่อเป็นเกียรติให้กับจักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์ ที่เกิดในเดือนนี้
สำหรับเดือนสิงหาคม (August) ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ออกุสตุส ซีซาร์ ซึ่งจักรพรรดิพระองค์นี้มีประสงค์ให้เดือนนี้มีจำนวน 31 วัน เพื่อให้เท่ากับเดือนกรกฎาคม ที่ตั้งตามชื่อจูเลียส ซีซาร์ นอกจากนี้ยังมีประสงค์ให้ชื่อขอตนใช้แทนชื่อเดือน 6 ตามปฏิทินโรมัน เนื่องจากเดือนดังกล่าวตรงกับการสิ้นพระชนม์ของพระนางคลีโอพัตรา
และเรายังได้พบอีกว่า วันในแต่ละสัปดาห์ได้ถูกตั้งชื่อด้วยกับพระเจ้าที่ชาวโรมันใช้สักการะ ดังนั้นวันอาทิตย์ ก็คือชื่อของพระอาทิตย์ที่พวกเขาสักการะ และวันอื่น ๆ ก็เช่นกัน
ปฏิทินแบบจันทรคตินั้นเป็นปฏิทินที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า โดยที่แต่ละวัน แต่ละเดือนนั้นจะโคจรไปในการโคจรของจักรวาลที่อัลลอฮฺได้ทรงสร้างขึ้น ดังนั้นในหนึ่งปีจะประกอบไปด้วย 12 เดือนจันทรคติ ซึ่งเท่ากับ 354 วัน 6 ชั่วโมง 48 นาที 36 วินาที ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าปีที่นับตามสุริยคติ
แน่นอนเดือนต่าง ๆ ในแต่ละปี จึงได้ถูกกำหนดไว้ในพระมหาคัมภีร์อัลลอฮฺกรุอ่านที่ว่า
﴿إن عدة الشهور عند الله اثتا عشر شهراً في كتاب
الله يوم خلق السموات والأرض منها أربعة حرم﴾
ความว่า: แท้จริงจำนวนเดือน (ในหนึ่งปี) ณ อัลลอฮฺนั้นมีสิบสองเดือนในคัมภีร์ของอัลลอฮฺตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน จากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือน ซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้าม (ห้ามในการต่อสู้กัน ซึ่งเดือนเหล่านั้นได้แก่ ซุลเกาะดะฮฺ ซุลฮิจญะฮฺ อัล-มุฮัรร็อม และเดือนรอญับ)
(ซูเราะฮฺ อัต-เตาบะฮฺ : 36)
ชื่อเดือนต่างๆในอิสลาม
พวกอาหรับได้ตั้งชื่อเดือนเหล่านี้มาก่อนอิสลามแล้ว ชื่อส่วนใหญ่จะอาศัยสภาพภูมิกาศในเวลานั้นหรือเหตุการณ์สำคัญๆที่เกิดขึ้นในเดือนนั้น
1) มุฮัรร็อม ชื่อของเดือนนี้มาจากคำว่า ?ฮะรอม? ซึ่งหมายถึง ?เป็นที่ต้องห้าม? เพราะในอารเบียมีประเพณีห้ามการต่อสู้ในระหว่างเดือนนี้เนื่องจากเป็นเดือนทำฮัจญ์ ดังนั้น เดือนมุฮัรร็อมจึงเป็นหนึ่งในสี่เดือนต้องห้ามของอิสลาม
2) เศาะฟัร คำนี้หมายถึง ?เสียงหวีดหวิวของลม? นักวิชาการบางคนก็บอกว่าเดือนนี้แปลว่า ?ว่างเปล่า? หรือ ?สีเหลือง? ชื่อนี้ได้ถูกตั้งให้แก่เดือนนี้ก็เพราะมันเป็นช่วงเวลาที่ลมพัดแรงของปี ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าเดือนต่างๆได้ถูกตั้งชื่อตามสภาพอากาศในเวลานั้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเดือนต่างๆอาศัยการโคจรของดวงจันทร์ เดือนต่างๆจึงเลื่อนไป 11 วันทุกปี ดังนั้น ฤดูกาลจึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับชื่อของเดือนนั้น
3) เราะบีอุลเอาวัล เดือนแรกของฤดูใบไม้ผลิ ดูเหมือนว่าในตอนตั้งชื่อเดือนนี้เป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ
4) เราะบีอุซซานี เดือนที่สองของฤดูใบไม้ผลิ
5) ญุมาดุลอูลา เดือนแรกของฤดูร้อน คำว่า ?ญุมาด? หมายถึง แห้งแล้ง
6) ญุมาดุซซานี เดือนที่สองของฤดูร้อน
7) เราะญับ เป็นเดือนต้องห้ามอีกเดือนหนึ่งก่อนหน้าอิสลาม นั่นคือ ห้ามรบราฆ่าฟันและต่อสู้ทำสงคราม นี่เป็นเดือนที่ชาวอาหรับให้ความเคารพมากที่สุด เดือนนี้ถูกเรียกว่า ?เราะญับ อัล-ฟัรฎ์? ด้วยเช่นกัน ?ฟัรฎ์? หมายถึงโดดเดียวตามลำพัง เพราะเดือนต้องห้ามอื่นๆอยู่ติดกัน ยกเว้นเดือนนี้ที่แยกออกมาต่างหาก

ชะอฺบาน ชื่อของเดือนนี้ได้มาจากคำว่า ?ชุอ์บา? ซึ่งหมายถึงกิ่งก้านสาขาหรือแพร่ขยายออกไป พวกอาหรับเคยคิดหาวิธีอะไรใหม่ๆในระหว่างเดือนนี้เพื่อหาน้ำ
9) เราะมะฎอน มาจากคำว่า ?ร็อมเฎ้าะ? ซึ่งหมายถึงหินร้อน นี่เป็นการบอกเราว่าเมื่อมีการตั้งชื่อเดือนนี้ มันเป็นช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของปี
10) เชาวาล มาจากคำว่า ?ชะล่ะ? ซึ่งหมายถึง ?เมื่ออูฐตัวเมียตั้งท้อง? เมื่อตอนที่ตั้งชื่อนี้เป็นช่วงอูฐตัวเมียตั้งท้อง
11) ซุลเกาะด๊ะฮฺ มาจากคำว่า ?เกาะอะดะ? ซึ่งหมายถึงนั่ง เดือนนี้เป็นเดือนต้องห้ามการรบราฆ่าฟันอีกเดือนหนึ่ง ก่อนหน้านี้ ผู้คนเคยหยุดทำธุรกิจในระหว่างเดือนนี้และนั่งเตรียมตัวสำหรับการทำฮัจญ์
12) ซุลฮิจญะฮฺ เป็นเดือนแห่งการทำฮัจญ์และเป็นเดือนต้องห้ามอีกเดือนหนึ่ง [1]
ปฏิทินโรมัน
และในเวลาซึ่งที่นิ้วต่าง ๆ ของนักดาราศาสตร์ที่สร้างความไร้สาระต่อปฏิทินของประชาชาติต่าง ๆ ในแต่ละส่วนจากส่วนต่าง ๆ ชื่อในแต่ละเดือน ระยะเวลาของแต่ละเดือน ลักษณะ และการเชื่อมต่อกันแบบสายโซ่ของเดือนต่าง ๆ เหล่านั้น มันไม่ได้ทำให้ปฏิทินของพวกเขาดีเลิศเหนือกว่าปฏิทินแบบจันทรคติแต่อย่างใด โดยที่ปฏิทินจันทรคตินั้นไม่มีผู้ใดสามารถเปลี่ยนชื่อเดือน ตำแหน่งของเดือน หรือแม้กระทั้งจะเพิ่มหรือลดวันในเดือนเหล่านั้นได้ เพราะเหตุนี้ปฏิทินจันทรคติจึงเป็นปฏิทินที่สมบูรณ์แบบซึ่งไม่ต้องการยังการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขใด ๆ มันคือปฏิทินที่มาจากพระเจ้าอย่างแท้จริง
เราจะขอยกตัวอย่างถึงความไร้สาระในปฏิทินของประชาชาติต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ปฏิทินโรมัน ซึ่งเดิมทีนั้น ปฏิทินโรมันกำหนดให้ 1 ปีมี 10 เดือน โดยให้เดือนหนึ่งๆ มี 36 วัน หรือ 37 วัน เพื่อให้ปีหนึ่งมี 365 วัน และกษัตริย์นูมาปอมปลิอุส ให้เดือนแรกของปีชื่อ Martius และเดือนที่สิบชื่อ December อีกทั้งให้วันขึ้นปีใหม่คือวันที่ 1 มี.ค.ของทุกปี และกำหนดเกณฑ์ว่า เดือนหนึ่งๆ จะต้องมีวันไม่เกิน 31 วัน ดังนั้น จึงกำหนดให้เดือนมี.ค. ก.ค. และต.ค.มี 31 วัน ส่วนเดือนที่เหลือมี 29 วัน และเพราะจำนวนวันใน 1 ปียังไม่ครบ 365 วัน จึงกำหนดให้มีเดือนพิเศษอีก 2 เดือนคือ Januarius กับ Februarius
ใน ค.ศ. 45 จักรพรรดิจูเลียส ซีซาร์สั่งให้สร้างปฏิทินใหม่ โดยให้เลิกพิจารณาเวลาโคจรของดวงจันทร์ในการทำปฏิทิน และกำหนดเวลาใหม่ว่า 1 ปีต้องมี 12 เดือน และ 1 เดือนต้องมี 30 หรือ 31 วัน ส่วนเดือนกุมภาพันธ์นั้นให้มีเพียง 28 วัน
นอกจากนี้เขาก็ได้กำหนดใหม่ให้เดือนแรกของปีที่ชื่อ Januarius มี 31 วัน Februarius มี 28 วัน Martius มี 31 วัน Aprilis มี 30 วัน Maius มี 31 วัน Junius มี 30 วัน Quintilis มี 31 วัน Sextilis มี 30 วัน September มี 31 วัน October มี 30 วัน November มี 31 วัน และ December มี 30 วัน และให้ทุก 4 ปีมีการเพิ่มวันอีก 1 วันในเดือน Februarius เนื่องจากข้อเท็จจริงที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ครบ 1 รอบใช้เวลา 365 วันกับอีก 1 ส่วน 4 วัน เมื่อนำเวลาที่เกินมาในแต่ละปีนั้นมารวมเข้าด้วยกันในทุกรอบ 4 ปี ก็จะได้วันเพิ่มขึ้นมาอีก 1 วัน
นอกจากนี้จูเลียส ซีซาร์ ยังกำหนดให้วันที่ 1 ม.ค.ของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งมีผลทำให้เดือน December ซึ่งเคยเป็นเดือนที่ 10 ของปี กลายเป็นเดือนที่ 12 เดือน November กลายเป็นเดือนที่ 11 เดือน October กลายเป็นเดือนที่ 10 และ September กลายเป็นเดือนที่ 9 แทน และเมื่อ Caesar ถูกลอบสังหาร ชาวโรมันได้เปลี่ยนชื่อเดือน Quintilis เป็น Julius เพื่อเป็นเกียรติแด่องค์จักรพรรดิจูเลียส และกลายเป็น July ในเวลาต่อมา
ต่อมา จักรพรรดิออกุสตุสมีคำสั่งให้มีการปฏิรูปปฏิทินอีก และให้เปลี่ยนชื่อเดือนที่หกจาก Sextilis เป็น Augustus ซึ่งได้กลายเป็น August ในเวลาต่อมา และให้เดือน Augustus มี 31 วันเท่าเดือน Julius ของ จักรพรรดิจูเลียส เพื่อแสดงว่าตนมีพระบารมียิ่งใหญ่เทียบเท่า และยังกำหนดให้ลดวันใน September เหลือ 30 วัน October มี 31 วัน November มี 30 วัน และ December 31 วัน
กระนั้น ปฏิทินดังกล่าวนั้นยังไม่ถูกต้อง 100 % เพราะ 1 ปีมิได้ยาวนาน 365 1 ส่วน 4 วัน พอดิบพอดี นั่นก็หมายความว่า ปฏิทินจูเลียนยังมีเวลาที่เกินไป ด้วยเหตุนี้สันตะปาปาเกรเกอรีที่ 13 จึงได้ทรงสั่งให้แก้ไขอีกโดยลดจำนวนวันในปี 1582 ลง 10 วัน แรกๆ ก็มีหลายฝ่ายไม่พอใจแต่ในที่สุดคนทั่วโลกก็ยอมรับและใช้กันจนถึงทุกวันนี้
ปฏิทินอาหรับก่อนอิสลาม
อาหรับในยุคก่อนอิสลามนั้นได้ทำการคำนวณวัน เดือน ปีด้วยจันทรคติ โดยให้มี 12 เดือน แต่ถึงกระนั้นพวกเขาก็มิได้ยึดเอาเป็นปฏิทินเป็นการเฉพาะ แท้จริงแล้วพวกเขาได้บันทึกประวัติศาสตร์ด้วยกับเหตุการณ์ที่สำคัญ เช่น
- ปีแห่งการสร้างกะบะฮฺในสมัยของท่านนบีอิบรอฮีม (อ.) และท่านนบีอิสมาอีล (อ.) (ในปี 1855 ก่อนคริสตศักราช)
- ปีแห่งการทำลายกำแพงมะร็อบ (ในปี 130 ก่อนคริสตศักราช)
- ปีแห่งการตายของกะบฺ บุตรลุอัย ปู่คนที่เจ็ดของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ในปี 59 ก่อนคริสตศักราช)
- ปีแห่งอุปสัก ซึ่งเป็นที่บะนูยัรบัวอฺได้ปล้นสะดมกรรมสิทธิ์ของบนีฮามีรไปยังกะบะฮฺ (ในปี 461 ก่อนคริสตศักราช)
- และพวกเขาก็ยังบันทึกประวัติศาสตร์โดยนับเป็นปีช้าง ซึ่งเป็นปีที่ท่านศาสดาประสูติร(ในปี ค.ศ 571 )
- ปีสงครามอัลฟัจญาร ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนฮารอม (ในปี ค.ศ. 585 ) และปีของการบรูณะกะบะฮฺ (ในปี ค.ศ.605)
อาหรับในยุคอนารยธรรมบางท้องถิ่นใช้เดือนที่นับตามสุริยคติ โดยเฉพาะตอนใต้ของคาบสมุทรอาหรับ (ชาวเยเมน) โดยที่ปีตามสุริยคติของพวกเขาจะตรงกับจักรราศีที่12 โดยที่พระอาทิตย์จะผ่านมันไป และจะเริ่มในแต่ละเดือนด้วยกับการเริ่มจักรราศีที่ถูกระบุตายตัว นักประวัติศาสตร์ อาทิเช่น ท่านบัยรูนีย์ ท่านมัสอูดีย์ และท่านมักรีซีย์ได้นำเสนอการเชื่อมต่อของเดือนในยุคอนารยธรรม ซึ่งส่วนหนึ่งจากเดือนเหล่านั้นก็คือ
1)เดือนอัลมุตะมัร 2) เดือนนาญิร 3) เดือนคาววาน 4) เดือนซาววาน
5)เดือนฮันตัม 6) เดือนซิบาอฺ 7)เดือนอัลอะซอม

เดือนอาดิล
9) เดือนนาฟิก 10) เดือนวาฆิล 11) เดือนฮิรอฆ 12)และเดือนบะร็อก
ส่วนเดือนฮิจเราะฮฺในปัจจุบันนั้นได้ถูกตั้งชื่อมาตั้งแต่ท้ายศตวรรษที่ 5 โดยยึดเอาเดือนมุฮัรรอมเป็นการเริ่มปีฮิจเราะฮฺศักราช อาหรับในยุคก่อนอิสลามได้เลื่อนเดือนต้องห้าม (มูฮัรรอม รอญับ ซุ้ลเกาะดะฮฺ และซุ้ลฮิจยะฮฺ) ที่อัลลอฮฺทรงมอบให้พวกเขาล่าช้าไป โดยกำหนดเดือนเศาะฟัรฺให้เป็นเดือนต้องห้ามแทนเดือนอัลมุฮัรรอม แล้วให้เดือนอัลมุฮัรรอมเป็นที่อนุมัติในการทำสงคราม ทั้งนี้เพราะพวกเขาไม่สามารถทนอยู่ในการพักรบเป็นเวลานานถึงสามเดือนต่อเนื่องกันได้ (นั่นก็คือเดือนซุ้ลเกาะดะฮฺ เดือนซุ้ลฮิจญะฮฺ และเดือนมุฮัรรอม) และพวกที่ทำการเลื่อนเดือนต้องห้ามก็คือพวกกินานะฮฺ โดยที่พวกเขาจะประกาศเดือนที่กำหนดเลื่อนในปีทัดไปหลังจากเสร็จสิ้นเทศกาลและแน่นอนประเพณีการเลื่อนเดือนคงเรื่อยมาจนกระทั้งอิสลามได้มาประกาศห้ามการเลื่อนเดือนดังกล่าวด้วยคำตรัสของอัลลอฮฺ (ซุบฮาฯ) ในซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ โองการที่ 37 ว่า
﴿إنما النسيء زيادة في الكفر يضل به الذين
كفروا يحلونه عاماً ويحرمونه عاماً ...﴾
ความว่า : ?แท้จริงการเลื่อนเดือนที่ต้องห้ามให้ล่าช้าไปนั้นเป็นการเพิ่มในการปฏิเสธศรัทธามากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้หลงผิดเพราะสิ่งนั้นแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาทั้งหลาย พวกเขาถือเป็นสิ่งที่อนุมัติในบางปี และถือเป็นสิ่งต้องห้ามในบางปี (สลับกันไป)..?
และปรากฏว่าอาหรับในยุคก่อนอิสลามจะถือว่าทุก ๆ เดือนคู่มี 29 วัน และจะเรียกเดือนคู่ว่า เดือนที่บกพร่อง ชาวอาหรับในยุคนั้นพยายามที่จะนับปีจันทรคติจากแนวทางการเพิ่มปีจันทรคติเพื่อให้เท่ากับปีสุริยคติ เพราะท่านบัยรูนีย์และท่านมักรีซีย์ได้กล่าวว่า ?พวกเขาจะเพิ่ม 9 เดือนทุก ๆ 24 ปีตามจันทรคติ? และท่านมัสอูดีย์ได้กล่าวว่า ?พวกเขาจะเพิ่ม 1 เดือนในทุก ๆ 3 ปี?
ประวัติความเป็นมาของปฏิทินฮิจเราะฮฺศักราช
ในยุคต้น ๆ ของอิสลาม ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีการนับปีเป็นตัวเลข โดยที่พวกเขาจะใช้การตั้งชื่อปีตามเหตุการณ์สำคัญ ๆ แทนตัวเลข และปีที่ถูกยึดเอามีอยู่ 10 ปีด้วยกัน โดยนับตั้งแต่การอพยพของท่านศาสดามูฮัมหมัด จนการทั้งการสิ้นพระชนของท่าน ซึ่ง10 ปีที่ว่านั้นมีดังนี้
ปีที่ 1 คือ ปีแห่งการอนุญาตให้อพยพ
ปีที่ 2 คือ ปีแห่งการสั่งใช้ให้ทำสงคราม
ปีที่ 3 คือ ปีแห่งการทำความสะอาด
ปีที่ 4 คือ ปีแห่งการสงบศึก
ปีที่ 5 คือ ปีแห่งแผ่นดินไหว
ปีที่ 6 คือ ปีแห่งความสุขุม
ปีที่ 7 คือ ปีแห่งการเรียกร้องชัยชนะ
ปีที่ 8 คือ ปีแห่งความเสมอภาค
ปีที่ 9 คือ ปีแห่งความบริสุทธิ์
ปีที่ 10 คือ ปีแห่งการอำลา
และเราคงจะเคยได้ยินปีแห่งโรคระบาด และปีแห่งการสูญเสียในสมัยของการเป็นคอลีฟะฮฺของท่านอุมัร บุตรค็อตต็อบ ต่อมาในปีที่ 3 ของการเป็นคอลีฟะฮฺของท่านอุมัร ได้มีสาสน์จากท่านอบีมูซา อัลอัชอารีย์พนักงานของท่านอุมัรในบาซอเราะฮฺ ได้กล่าวมาในสาสน์ว่า ?แท้จริงมีหนังสือมากมายจากท่านอะมีรุ้ลมุมินิน (ท่านอุมัร) ได้มายังเรา และเราก็ไม่รู้จะทำอย่างไร โดยที่เราได้อ่านหนังสือ ซึ่งตำแหน่งของมันคือเดือนชะอฺบาน และเราก็ไม่รู้ว่า เดือนชะอฺบานคือเดือนในปัจจุบันหรือเดือนที่ผ่านมาแล้ว? ในช่วงการเป็นคอลีฟะฮฺของท่านอุมัร ท่านอุมัรได้ประชุมบรรดาซอฮาบะฮฺรุ่นอวุโสเพื่อจัดการกับเรื่องนี้ ปรากฏว่าดังกล่าวนั้นเป็นวันพุธ ที่ 20 เดือนญุมาดุ้ลอาคิร ปีฮ.ศ. 17 และสิ้นสุดการประชุมว่าด้วยความจำเป็นที่จะต้องเลือกการเริ่มประวัติศาสตร์อิสลาม โดยที่ต่างฝ่ายต่างลงความเห็นกันต่าง ๆ นานา ซึ่งมีบางคนเห็นว่าควรที่จะยึดเอาวันประสูติท่านศาสดาเป็นการเริ่มประวัติศาสตร์อิสลาม บางคนเห็นว่าควรที่จะเป็นวันที่ท่านศาสดาถูกแต่งตั้งเป็นนบี บางคนเห็นว่าควรปฏิบัติตามปฏิทินของชาวเปอร์เซียหรือชาวโรมัน แต่ความเห็นที่ถูกยอมรับก็คือความคิดของท่านอาลี บุตร ท่านอบีตอเล็บ ซึ่งท่านอาลีได้ชี้แจงว่าสมควรที่จะเริ่มปฏิทินอิสลามจากการอพยพของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ศ็อลฯ) และได้ยึดเอาต้นเดือนมุฮัรรอมจากปีที่ท่านศาสดาอพยพเป็นการเริ่มประวัติศาสตร์อิสลาม ถึงแม้ว่าการอพยพจะได้ไม่เริ่มในวันดังกล่าวก็ตาม ซึ่งแท้จริงแล้วการอพยพได้เริ่มขึ้นในท้ายของเดือนเศาะฟัร และท่านศาสดาก็ไปถึงยังกุบะอฺ ซึ่งเป็นเชิงเทินของเมืองมาดีนะฮฺในวันจันทร์ที่ 8 ของเดือนรอบีอุ้ลเอาวัล ซึ่งตรงกับวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 622 ต่อมาก็ได้เข้าไปยังตัวเมืองมาดีนะฮฺในวันศุกร์ที่ 12 ของเดือนรอบีอุ้ลเอาวัล
และไม่ถือว่าการมีปฏิทินอิสลามเป็นเรื่องแปลกใหม่แต่อย่างใด เพราะเนื่องจากพบว่ามีปฏิทินคริสตศักราชได้มาก่อนด้วยกับแนวทางในการเลือกเอาวันที่ท่านนบีอีซาประสูติ ซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม แต่กระนั้นก็ไม่ได้นับวันดังกล่าวเป็นวันเริ่มปฏิทินคริสตศักราช โดยที่ไปเริ่มเอาวันที่ 1 เดือนมกราคม เป็นวันเริ่มประวัติศาสตร์
การเริ่มนับปฏิทินฮิจเราะฮฺศักราชนั้นตรงกับวันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม ปี ค.ศ 622 จากจุดนี้เราจึงพบว่าปฏิทินอิสลามมีความเป็นเอกเทศและมีความโดดเด่น และความแตกต่างของปฏิทินอิสลามจากปฏิทินของประชาชาติอื่นก็คือการยึดเอาจันทรคติที่อัลลอฮฺทรงกำหนดไว้ให้เป็นหลัก ซึ่งแต่ก่อนปฏิทินของชาวยิวในอดีตกาลก็ใช้การนับจันทรคติเช่นกัน แต่ต่อมาพระยิวก็ได้ทำการเปลี่ยนแปลงไปเป็นปฏิทินตามสุริยคติโดยที่มีการปะปน ผสมผสานเดือนที่เป็นจันทรคติกับปีที่เป็นสุริยคติ
แน่นอนปฏิทินสุริยคติได้ผ่านขั้นต่าง ๆ จากความผิดพลาดทางด้านดาราศาสตร์และการคำนวณ และยังคงต้องการไปยังการแก้ไขและปรับปรุงเรื่อยไป
ส่วนระบบของปฏิทินจันทรคตินั้น เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดความผิดพลาด หากแม้นว่าจะเกิดความผิดพลาด นั้นก็เป็นการผิดพลาดในการมองเดือนของมนุษย์
[1] อ.บรรจง บินกาซัน คัดลอกจาก ไทยมุสลิมช็อป
โดย..มูฮัมหมัด เฟาดะฮฺ
แปลและเรียบเรียงโดย.. อะฮฺหมัด มุสตอฟา อาลี
www.ridwanclub.com