بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛
กรณีน้ำมูกที่อยู่ในลำคอหรือรูโพรงจมูกแล้วลงมาที่ลำคอนั้น หากน้ำมูกอยู่เขตภายนอก คือพ้นฐานที่ออกเสียงของอักษรคออฺ خ หรือตัวหาอฺ(เล็ก) ح นั้น ถ้าหากกลืนเข้าไปภายใน ถือว่าทำให้เสียศีลอด แต่ถ้าหากน้ำมูกอยู่เขตภายในลำคอโดยพ้นฐานออกเสียงอักษรคออฺและอักษรฮาอฺลงไป และไม่สามารถที่จะขากมันออกมาได้ หลังจากนั้นเขาได้กลืนมันลงไป ก็ถือว่าไม่เป็นโทษแต่อย่างใดและไม่ทำให้เสียศีลอด. ดู: อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์, หนังสือมุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 166.
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ