ผู้เขียน หัวข้อ: เหนียตศีลอดตามมัซฮับมาลิกีย์ได้หรือไม่?  (อ่าน 4890 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

001

  • บุคคลทั่วไป

ถ้าหากเราจะเหนียตถือศิลอดตลอดเดือนตามมัซฮับมาลีกีได้หรือเปล่าครับ ในฐานะผมเป็นมัซฮับชาฟีอี

ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 13, 2011, 05:41 PM โดย al-azhary »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: เหนียต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.ค. 13, 2011, 05:40 PM »
0
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛

การเหนียตศีลอดตามมัซฮับมาลิกีย์นั้น  อนุญาตให้เหนียตครั้งเดียวตลอดทั้งเดือนร่อมะฎอนได้สำหรับผู้ที่สามารถถือศีลอดอย่างต่อเนื่องเท่านั้น  สำหรับผู้ที่ไม่สามารถถือศีลอดได้อย่างต่อเนื่อง  เช่น  คนป่วยและคนเดินทางที่ยังคงยืนกรานที่จะถือศีลอด  ก็จำเป็นแก่ทั้งสองให้ทำการเหนียตถือศีลอดในแต่ละคืนอย่างเป็นเอกเทศน์  เพราะบางครั้งอาจจะทำให้เขาต้องละศีลอดตอนกลางวันอันเนื่องจากมีอาการป่วยหนักก็ได้  แต่ถ้าหากหายป่วยแล้วหรือกลับจากเดินทางแล้ว  ก็อนุญาตให้ทำการเหนียตครั้งเดียวสำหรับวันที่เหลืออยู่ของเดือนร่อมะฎอนได้

กล่าวคือ  ถ้าหากบุคคลหนึ่งได้ป่วยในวันที่ 1-5 ของเดือนร่อมะฎอน  เมื่อหายป่วยแล้ว  วันที่ 6 ก็อนุญาตให้ทำการเหนียตถือศีลอดครั้งเดียวสำหรับวันที่เหลืออยู่ของร่อมะฏอนได้

สำหรับผู้ที่เดินทางก็เช่นกัน  หากเขาเดินทางในวันที่ 1-5 ของเดือนร่อมะฎอน  วันที่ 6 กลับถูกภูมลำเนา  อนุญาตให้ทำการเหนียตถือศีลอดครั้งเดียวสำหรับวันที่เหลืออยู่ของร่อมะฏอนได้

สำหรับสตรีผู้มีประจำเดือนนั้น  ถ้าหากมีประจำเดือนวันที่ 1-6 เดือนร่อมะฎอน  ดังนั้นในวันที่ 7 ก็อนุญาตให้ทำการเหนียตครั้งเดียวสำหรับวันที่เหลืออยู่ของเดือนร่อมะฎอนได้

ท่านอัลลามะฮ์ อัชชัยค์ อะห์มัด บิน ฆ่อนีม อัลมาลิกีย์ ได้กล่าวว่า

فَالْمَرِيْضُ وَالْمُسَافِرُ إِنْ تَمَادَيَا عَلَي الصَّوْمِ يَجِبُ عَلَيْهِمَا النِّيَّةُ فِيْ كُلِّ لَيْلَةٍ لِعَدَمِ وُجُوْبِ التَّتَابُعِ فِيْ حَقِّهِمَا وَعِنْدَ صِحَّةِ الْمَرِيْضِ وَقُدُوْمِ الْمُسَافِرِ يَكْفِيْهِمَا نِيَّةٌ لِمَا بَقِيَ كَالْحَائِضِ تَطْهُرُ وَالصَّبِيِّ يَبْلُغُ أَثْنَاءَ الصَّوْمِ وَالْكَافِرِ يُسْلِمُ فِيْ أَثْنَاءِ الشَّهْرِ

“ดังนั้นผู้ป่วยและคนเดินทาง  หากทั้งสองยังคงทำการถือศีลอดต่อไป  ก็จำเป็นบนทั้งสองทำการเหนียตทุกคืน  เนื่องจากไม่จำเป็นต้องถือศีลอดอย่างต่อเนื่องในสิทธิของทั้งสอง  และในขณะที่ผู้ป่วยมีสุขภาพดีและคนเดินทางได้กลับมาแล้ว  ก็เพียงพอแก่ทั้งสองให้ทำการเหนียตเพียงครั้งเดียวให้กับวันที่เหลืออยู่   ซึ่งเช่นกับสตรีผู้มีประจำเดือน  ในลักษณะที่สะอาดจากประจำเดือน  และเด็กที่บรรลุศาสนภาวะขณะที่ถือศีลอด  และคนกาเฟรที่เขารับอิสลามในช่วงเดือนร่อมะฎอน” อัลฟะวากิฮุดดะวานีย์ อะลี ริซาละฮ์ อิบนิ อะบี ซัยด์ อัลก็อยร่อวานีย์, เล่ม 1 หน้า 467

แต่หากถามว่าจะตักลีดตามมัซฮับมาลิกีย์ได้หรือไม่นั้น  ขอตอบว่า  อนุญาตให้ตักลีมตามมัซฮับมาลิกีย์ได้ในเรื่องการเหนียตถือศีลอดตลอดทั้งเดือน  โดยเหนียตในคืนแรกของรอมะดอนครั้งเดียว  เพื่อป้องกันการลืมเหนียตทุก ๆ คืน

ท่านอัลลามะฮ์ ซัยนุดดีน อัลฟะนานีย์ได้กล่าวว่า

فَلَوْ نَوَي أَوَّلَ لَيْلَةِ رَمَضَانَ صَوْمَ جَمِيْعِهِ: لَمْ يَكْفِ لِغَيْرِ الْيَوْمِ الأَوَّلِ. قَالَ شَيْخُنَا: لَكِنْ يَنْبَغِيْ ذَلِكَ، لِيَحْصُلَ لَهُ صَوْمُ الْيَوْمِ الَّذِيْ نَسِيَ النِّيَّةَ فِيْهِ عِنْدَ مَالِكٍ...وَوَاضِحٌ أَنَّ مَحَلَّهُ: إِنْ قَلَّدَ

“ดังนั้นถ้าหากในคืนแรกของเดือนร่อมะฎอนเขาทำการเหนียตถือศีลอดตลอดทั้งเดือน  ก็ถือว่าใช้ไม่ได้สำหรับวันอื่นๆ ที่ไม่ใช่วันแรก(หมายความว่าเหนียตใช้ได้ในวันแรกเท่านั้นส่วนคืนอื่นๆ ใช้ไม่ได้).  แต่อาจารย์ของเรา(คือท่านอิบนุฮะญัร อัลฮัยตะมีย์)ได้กล่าวว่า  “แต่สมควรเหนียตถือศีลอดตลอดทั้งเดือนร่อมะฎอนในคืนแรก  เพื่อสิ่งดังกล่าวนั้นจะให้ได้มาซึ่งการถือศีลอดในวันที่เขาลืมเหนียตตามทัศนะของอิมามมาลิก...และที่ชัดเจนแล้วว่า  การได้มาซึ่งการถือศีลอดในวันที่เขาลืมเหนียตด้วยสาเหตุการเหนียตตลอดทั้งเดือนในวันแรกนั้น  หากเขาทำการตัดลีดตามอิมามมาลิก”  อิอานะฮ์อัฏฏอลิบีน เล่ม 2 หน้า 345.

وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged