ดาราศาตร์ทั่วไป
salam
ดาวหางลู่หลิน (C/2007 N3 Lulin)
2 กุมภาพันธ์ 2552 โดย อ.วรเชษฐ์ บุญปลอด สมาคมดาราศาสตร์ไทย
จากข้อมูลถึงขณะนี้ ปี 2552 ยังไม่มีดาวหางดวงใดที่สังเกตเห็นได้ง่ายด้วยตาเปล่า ดาวหางลู่หลิน (C/2007 N3 Lulin) เป็นดาวหางดวงเดียวที่มีโอกาสจะสว่างถึงระดับที่สังเกตการณ์ได้ไม่ยากนักด้วยกล้องสองตา โดยเฉพาะในคืนที่ไม่มีแสงจันทร์รบกวน ภายใต้ฟ้ามืดห่างจากเมืองใหญ่
ดาวหางลู่หลินถูกค้นพบเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2550 จากภาพถ่ายที่หอดูดาวลู่หลินในไต้หวัน โดยเย่ ฉวนจื้อ (Quanzhi Ye) นักศึกษาชาวจีนของมหาวิทยาลัยซุนยัตเซ็นบนจีนแผ่นดินใหญ่ ขณะนั้นดาวหางมีอันดับความสว่างหรือโชติมาตร 18.9 จางกว่าที่ตาเปล่าของมนุษย์จะมองเห็นได้ราว 100,000 เท่า รายงานในตอนแรกระบุว่าเป็นดาวเคราะห์น้อย ต่อมาสังเกตพบโคม่ามีใจกลางสว่าง อันเป็นลักษณะของดาวหาง
ตำแหน่งดาวหางบนท้องฟ้าประเทศไทย
ต้นเดือนมกราคมดาวหางปรากฏบนท้องฟ้าทิศตะวันออกในเวลาเช้ามืดที่โชติมาตร 7-8 ในกลุ่มดาวคันชั่ง ใกล้ส่วนหัวของกลุ่มดาวแมงป่อง แต่ยังสังเกตได้ค่อนข้างยากเพราะอยู่สูงจากขอบฟ้าไม่มากนัก กลางเดือนหรือปลายเดือนมกราคม 2552 ดาวหางจะออกห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้นและเริ่มสังเกตการณ์ได้ดี ดาวหางเข้าสู่กลุ่มดาวหญิงสาวในกลางเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าเป็นช่วงที่มีโชติมาตรประมาณ 6 ปลายเดือนดาวหางเคลื่อนไปอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ สามารถสังเกตได้ทั้งคืนตั้งแต่เวลาหัวค่ำถึงเช้ามืด และโชคดีที่เป็นช่วงที่ไม่มีแสงจันทร์รบกวน
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 ดาวหางลู่หลินเข้าใกล้โลกมากที่สุดที่ระยะห่าง 0.411 หน่วยดาราศาสตร์ คาดว่าจะมีโชติมาตรราว ๆ 5 หรือ 6 เช้ามืดวันนั้นดาวหางอยู่ห่างไปทางทิศใต้ของดาวเสาร์ประมาณ 2° วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ดาวหางจะอยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ มันอาจสว่างขึ้นได้เล็กน้อยจากระดับปกติ เนื่องจากวันนั้นดาวหางอยู่ใกล้ระนาบสุริยวิถี หลังจากนั้นจึงจะจางลง
คืนวันที่ 27 ถึงเช้ามืดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ดาวหางผ่านใกล้ดาวหัวใจสิงห์ในกลุ่มดาวสิงโตที่ระยะไม่ถึง 1° เข้าสู่กลุ่มดาวปูในช่วงต้นเดือนมีนาคม ผ่านใกล้กระจุกดาวรังผึ้งในคืนวันที่ 5 ถึงเช้ามืดวันที่ 6 มีนาคม (แสงจันทร์รบกวน) ปลายเดือนมีนาคมคาดว่าดาวหางจะจางลงไปที่โชติมาตร 8
ข้อมูลความสว่างของดาวหางล่าสุด (ปลายเดือนมกราคม - ต้นเดือนกุมภาพันธ์) เฉลี่ยอยู่ที่ 6.5 มีหางจางมาก 2 หาง ทอดยาวออกไปเกือบตรงข้ามกัน หางที่ดูเหมือนชี้เข้าหาดวงอาทิตย์เรียกว่าหางย้อน (antitail) มีโอกาสเห็นได้เมื่อโลกอยู่ในระนาบใกล้เคียงกับวงโคจรของดาวหาง การดูดาวหางดวงนี้ต้องใช้กล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์ โดยควรหาสถานที่ที่ไม่มีแสงไฟรบกวน เมืองใหญ่มีโอกาสเห็นน้อยมาก เนื่องจากดาวหางไม่สว่างนัก อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นการคาดหมายจากข้อมูลเท่าที่มีอยู่ ดาวหางเป็นวัตถุที่อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ไม่สามารถคาดเดาได้ เช่น อาจจางลงหรือสว่างกว่าที่คาดไว้
วงโคจร
วงโคจรของดาวหางลู่หลินเกือบเป็นพาราโบลา แสดงว่านี่อาจเป็นครั้งแรกที่มันเคลื่อนเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ระนาบวงโคจรเอียงทำมุม 178° กับระนาบวงโคจรโลก มันจึงเคลื่อนที่สวนทางกับทิศทางการเคลื่อนที่ของโลกและดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ มันเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2552 ที่ระยะห่าง 1.212 หน่วยดาราศาสตร์ (ประมาณ 181 ล้านกิโลเมตร) ก่อนจะใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ระยะห่าง 0.411 หน่วยดาราศาสตร์ (ประมาณ 61.5 ล้านกิโลเมตร)
หมายเหตุ : วารสารทางช้างเผือก ฉบับคู่มือดูดาว พ.ศ. 2552 ใช้ชื่อดาวหางว่าลูลิน เป็นดาวหางดวงเดียวกัน
ดูเพิ่ม
สารพันคำถามเกี่ยวกับดาราศาสตร์ : หมวดดาวหางและดาวเคราะห์น้อย
ที่มา
Catch Winter's Comet Lulin - skyandtelescope.com
Sky Show This Month: "Two-Tailed" Comet Nearing Earth - National Geographic
New comet may be visible with the naked eye - New Scientist
C/2007 N3 (Lulin) - cometography.com
C/2007 N3 (Lulin) - IAU: Minor Planet Center
C/2007 N3 (Lulin) - Seiichi Yoshida
Recent Comet Brightness Estimates - ICQ
ห้องภาพดาวหางลู่หลินจากทั่วโลก - spaceweather.com
สมาคมดาราศาสตร์ไทย -
http://thaiastro.nectec.or.th Cosmic Stage Set for Comet Lulin's Fly-By
http://HTTP://SPACEWEATHER.COM/COMETS/GALLERY_LULIN_PAGE8.HTMFriday, February 20, 2009
By Robert Roy Britt
Jack Newton/NASA
Feb. 1: Comet Lulin as photographed by amateur astronomer Jack Newton in Arizona.
A recently discovered comet is making its closest approach to Earth in the next few days and offers anyone with binoculars or a small telescope a chance to see some frozen leftovers of our solar system's making.
Comet Lulin has, as expected, crossed the threshold to naked-eye visibility for people with dark, rural skies. It hovers just inside that envelope of visibility, however, and is not likely visible from cities, where the glare of urban lights can drown out all but the brightest night-sky objects.
"The comet is now naked-eye (if you're out in the country) and is brightening every day as it approaches Earth," said Jack Newton, who has made several photographs of Lulin from his Arizona Sky Village, a residential community committed to pristine natural surroundings and dark skies. "Some feel it will reach maximum brightness on Saturday morning."
http://www.foxnews.com/images/506941/0_21_comet_green.jpg----------------
นับวันโดยการดูเดือนรุอฺยะฮฺในพื้นที่เราจะปลอดภัยที่สุด
// E29KVH ตราบสัญญาณไปถึง เราคือเพื่อน//