เอาจิงๆผมก็ตามบรรดาซอฮาบะด้วยนั่นแหละครับเพียงแต่ท่าเอาชัวร์ๆสบายใจผม ผมก็ยึดท่านเหล่านี้ก่อนครับ ส่วนจาว่าผมเป็นคอวาริจหรืออะไรก็แล้วแต่ก็ตามสิทของท่านครับ 
คุณ มิโดบัน ต้องทำความเข้าใจใหม่ว่า ผู้ที่น่าเชื่อถือและประเสริฐกว่าอยู่ในสมัยใด นะครับ ..
ตอบ แหมพูดซะ แล้วคุนคิดว่าผมคิดว่าอยู่ในสมัยไหนหล่ะ 
คนที่เสวนากับเราไม่รู้เรื่อง ก็คือ บุคคลที่ไม่เอามัซฮับ (หมายถึงไม่ยอมรับการกิยาสเรื่องศาสนาของ ผู้นำสำนักคิดทั้ง 4 )
ซึ่งมีตั้งแต่ยุคสามศตวรรษ เป็นต้นมา ทั้งๆ ที่สมัยยุคสามศตวรรษ ท่านนบีรับรองแล้วว่าประเสริฐ
ตอบ ไม่ใช่ไม่รู้เรื่องหรอกครับแต่เหมือนคุยกันคนละภาษาหนังคนละม้วนมากก่าอิกอย่างเท่าที่รู้มาเนี่ยเค้าก็ยอมรับนะครับแต่อารัยที่ขัดกับฮะดีษซอเฮียของท่านรอซู้ลเค้าก็ไม่เอาเท่านั้นเอง ความรู้สึกนี้ผมเข้าใจครับ อิกอย่างไม่ว่ายุคสมันไหนมันก็มีอารัยแปกๆอยู่เสมอแหละครับผมเลยต้องชัวร์จิงๆในเรื่องต่างๆ ชีอะก็เกิดช่วงนั้นไม่ใช่เหรอครับ
พี่น้องต้องเข้าใจว่า มนุษย์ในปัจจุบันที่มีความสามารถ ทั้งอีหม่าน ตักวา ความรู้ เทียบกับคนในยุคสามศตวรรษ นั้นไม่มี
ถามใครก็ว่าไม่มีครับ ก็จบกันตรงนี้ว่า จะเลือกตามทรรศนะของใครเท่านั้นเอง
ตอบ ใช่ครับจบตงอยู่ที่ว่าจะเลือกตามทัศนะของใคร ถูกต้องนะคร้าบ
เห็นไหมครับ ประเด็นอย่างนี้แหละคุยไม่รู้เรื่อง
เพราะว่า ไม่มีใคร ฟัตวา ขัดกับหลักซุนนะหรอกครับ
ทุกคนมีหลักฐานด้วยกันทั้งนั้น
บางเรื่องเป็นการกิยาส (เทียบเคียง) กับซุนนะของท่านนบี
แต่เพราะกลุ่มพวกคุณที่อ้างว่าตามซุนนะ
เขาไม่ตามหลักกิยาสแบบนี้ เพราะไม่เชื่อในการกิยาสของผู้นำสำนักคิดทั้ง 4
แต่เชื่อคำฟัตวา และการกิยาสของ รอซิดรีฎอ ,ชาติบี ,อิบนุตัยมิยะ ,ดาวุ๊ด ,ฮุซัยมีน เป็นต้น
เพราะที่ว่าขัดต่อซุนนะ อะไรนั่น ก็ไม่มีห้ามครับ
แต่แค่ฟัตวาเอง กับกิยาสว่าห้ามเท่านั้น เช่น
كل بدعة ضلالة "ทุกบิดอะฮ์นั้น หลงผิด"
โดยให้ความหมายว่า ทุกๆ ในที่นี้คือบิดอะทั้งหมด นี่แหละคือการฟัตวาเอง
เพราะนำคำว่า كل มาแปลว่า
ทุกอย่างทั้งหมดไม่มียกเว้นและอะไรคือเรื่องที่ถูกปฏิเสธ
من أحدث فى أمرنا هذا ما هو منه فهو مقبول "ผู้ใดที่อุตริสิ่งใดขึ้นมาในกิจการ(ศาสนา)แห่งเรา ซึ่งไม่ใช่เรื่องราวของศาสนา สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ"
โดยนำมากิยาส กันเองว่า "การงาน" หรือ "กิจการ" ในที่นี้คือ
"การทำอิบาดะ" แต่กลับไม่แปลว่า เรื่องของศาสนาโดยตรงตัว
ดังนั้น ก็เลยกล่าวว่า
ทุกๆ อิบาดะที่ไม่มีคำสั่งใช้ เป็นบิดอะ (วัลอิยาซุบิ้ลละ)
ทั้งหมดนั้นอยู่ในขั้นที่เราเรียกว่า ฮะดีสอาม ซึ่งเป็นการกล่าวอย่างกว้างๆ ไม่ได้เจาะจง เช่น
"อัลลอฮฺทรงบัญชาแก่สูเจ้า (ในการแบ่งมรดก) ในลูกๆ ของสู้เจ้าว่า สำหรับลูกผู้ชายหนึ่งคน เท่ากับลูกผู้หญิงสองคน" อัลกรุอาน...
ซึ่งเป็นลักษณะ อุมูม เช่นกัน กล่าวคือ มันถูกจำกัดความด้วยฮะดีสต่อมาคือ
"มุสลิมไม่มีสิทธิรับมรดกจากกาเฟรและกาเฟรก็ไม่มีสิทธิรับมรดกจากมุสลิม" บุคอรี และมุสลิม
หรือ
"พืชที่ใช้น้ำฝน ต้องจ่ายซะกาตร้อยละสิบ" บุคอรี และมุสลิม
ซึ่งเป็นลักษณะ อุมูม เช่นกัน กล่าวคือ มันถูกจำกัดความด้วยฮะดีสต่อมาคือ
"ผลผลิตของพืชที่มีจำนวนน้อยกว่าห้าเอาซุก ไม่ต้องจ่ายซะกาต" บุคอรี และมุสลิม
จะกล่าวได้ว่า หากตัวบทใดแม้จะทั้งในอัลกรุอานก็ดี หรือฮะดีสก็ดี
หากเป็นสิ่งที่ศาสนาต้องการทำให้ชัดแจ้งแล้ว ก็จะมีตัวบท หรือหลักฐานตามมาเสมอ เพื่อความชัดเจนปราศจากข้อเคลือบแคลงสงสัยดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องทำการวินิฉัยอีก แต่กลับเรื่องที่มิได้เป็นการเจาะจงในสิ่งๆ หนึ่งแล้ว ทำไมเราต้องฟัตวาว่าเป็นเรื่องเจาะจงเฉพาะสิ่งๆ หนึ่งด้วยเล่า ?อนึ่ง บิดอะ นั้นแปลว่า กิจการศาสนาที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนในสมัยท่านร่อซู้ล
ซึ่งแปลได้จาก ประทานนุกรมอาหรับ (เชิงภาษา) ดังนี้
1. บิดอะ คือ กิจกรรมที่เป็นอันดับแรก
2. บิดอะ คือ สิ่งที่เขาประดิษฐ์มันขึ้นมาโดยไม่มีตัวอย่าง
3. บิดอะ คือ กิจกรรมที่เขาประดิษฐ์ และริ่เริ่มมันขึ้นมาโดยไม่มีตัวอย่าง
4. บิดอะ คือ สิ่งที่ถูกริเริ่มมันขึ้นมาโดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน
จากความหมายให้คำในเรื่อง บิดอะภาษานั้น เชคอิซซุดดีน บิน อับดิสสลาม ได้ให้เป็นความหมายของ บิดอะทางด้านศาสนา ดังนี้
บิดอะ คือ เรื่องศาสนาที่ไม่มีหรือไม่เป็นที่รู้จักกันในสมัยท่านร่อซู้ล
อีหม่ามซาฟีอี แบ่ง บิดอะ เป็นสอง ประเภท คือ บิดอะที่ดี (บิดอะฮาซะนะ) บิดอะหลงผิด (บิดอะดอลาละ)
"บิดอะมีสองประเภท บิดอะที่ดี และบิดอะที่เลว ฉะนั้นสิ่งใดที่สอดคล้องกับซุนนะ อันนั้นคือบิดอะที่ดี และสิ่งใดที่ขัดแย้งกับซุนนะ อันนั้นคือบิดอะที่เลว"ฟัตหุลบารี เล่ม17 หน้า10
ท่านนบีกล่าวว่า
"ใครทำแบบฉบับที่ดีในอิสลาม แล้วคนรุ่นหลังได้ทำตามแบบฉบับนั้น เขาจะได้รับผลบุญเหมือนกับผลบุญของผู้ที่กระทำ โดยไม่ลดหย่อนจากผลบุญของพวกเขา(ผู้กระทำ)เลยแม้แต่น้อย และใครทำแบบฉบับที่เลวในอิสลาม แล้วคนรุ่นหลังได้ทำตามแบบฉบับนั้น เขาจะได้โทษเหมือนกับโทษของผู้ที่กระทำ โดยไม่ลดหย่อนจากโทษของพวกเขา(ผู้กระทำ)เลยแม้แต่น้อย "รายงานโดย มุสลิม ซัรมุสลิม เล่มที่ 17 หน้า 266
ฮะดีสนี้ชี้ให้เห็นว่า มุสลิมทุกคนย่อมทำแบบฉบับที่ดีให้เกิดขึ้นได้ และได้ห้ามการกระทำแบบอย่างที่เลวโดยเด็ดขาด
แต่พวกเขาเหล่านั้นกลับแปลมันว่า บิดอะ คือ การทำเรื่องอิบาดะที่ไม่มีหลักฐานจากสมัยท่านร่อซู้ล (วัลอิยาซุบิ้ลละ)
ถ้าจะเป็นคนละทรรศนะก็ไม่ว่ากัน แต่มากล่าวหาทรรศนะอื่นว่า ขัดต่อหลักซุนนะ เป็นบิดอะ และลงนรก แบบนี้ไม่สมควร...
วัลลอฮฺอะลัม
วัสลาม...