ผู้เขียน หัวข้อ: 0017_ใช่หรือไม่ ละหมาดอิชรอกและฎุหาคือละหมาดเดียวกัน  (อ่าน 6426 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Zaladin

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 39
  • เพศ: ชาย
  • วันนี้ยังไม่สายที่จะเตาบัต
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

อัสลามูอาลัยกุม
ผมสับสนการละหมาดอิสรอกนะครับเห็นบางคนบอกว่าถ้าละหมาดอิสรอกแล้วไม่ต้องละหมาดดุฮา หรือบางที่ผมก็ละหมาดอิสรอกแต่ไม่ได้ละหมาดดุฮา และบางที่ก็ละหมาดดุฮาแต่ไม่อิสรอก
ถ้าจะละหมาดทั้งสองอย่างจะผิดไหม

วัสลามครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 21, 2011, 09:09 PM โดย Al Fatoni »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การละหมาดอิสรอกและดุฮา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ม.ค. 06, 2007, 08:50 PM »
0
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

ละหมาดดุฮากับละหมาดอิชร๊อก นั้น   นักปราชญ์ฟิกห์  มีความเห็นที่แตกต่างกัน 2 ทัศนะ

ทัศนะแรก  คือละหมาดดุฮานั้น  ไม่ใช่ละหมาดอิชร๊อก   ทัศนะนี้  เป็นทัศนะของอิมามฆอซะลีย์ , อิมามอิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์  และท่านอื่น ๆ  ( ดู หนังสือ ตั๊วะหฺฟะตุลมั๊วะตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 231 , อิอานะฮ์ อัตตอลิบีน เล่ม 1 หน้า 408 ดารุลฟิกร์ )

เวลาของละหมาดสุนัตอิชร๊อก  ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นก่อนเวลาละหมาดดุฮาเล็กน้อย  หมายถึงให้พ้นจากเวลามักโระฮ์ในขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังขึ้นยังไม่พ้นขอบฟ้า   โดยมีหลักฐานดังนี้
ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

من صلى الغداة في جماعة، ثم قعد يذكر الله حتى تطلع الشمس، ثم صلى ركعتين كانت له كأجر حجة وعمرة تامة، تامة، تامة

"ผู้ใดที่ทำละหมาดญะมาอะฮ์ซุบฮ์  หลังจากนั้น  เขาได้นั่งซิกรุลเลาะฮ์  จนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้น  แล้วเขาก็ทำการละหมาดสองร่อกะอัต  แน่นอน  เขาจะได้ผลตอบแทนเหมือนกับทำฮัจญ์และอุมเราะฮ์ อย่างสมบูรณ์  สมบูรณ์ สมบูรณ์"  รายงาน โดย  อัตติรมีซีย์  ท่านนูรุดดีน อัลฮัยตะมี กล่าวว่า หะดิษนี้ ดี  (ดู  หนังสือ มัจญฺมะอฺ อัซซะวาอิด เล่ม 10 หน้า 104

ทัศนะที่สอง  การละหมาดสุนัตดุฮาและสุนัตอิชร๊อกนั้น  เป็นละหมาดเดียวกัน  ทัศนะนี้  เป็นทัศนะของอิมาม รอมลีย์ , อิมามอัซซิยาดีย์ และท่านอื่น ๆ (ดู หนังสือ นิฮายะฮ์อัลมั๊วะตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 116 , หนังสือ ก๊อลยูบีย์ วะอุมัยเราะฮ์ เล่ม 1 หน้า 245)

โดยมีหลักฐานดังนี้ 

يُسَبِّحْنَ بِالْعَشِيِّ وَالْإِشْرَاقِ

"และภูเขาต่าง ๆ ได้ทำการตัสบีหฺ(สะดุดีต่อพระองค์) ทั้งในยามเย็นและยามเช้า(พร้อมกับดาวูด)" ซ๊อด 17

ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า "นี้(ละหมาดดุฮา) คือละหมาดอิชร๊อก"  ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุ หะญัร อัลอัสก่อลานีย์กล่าวว่า  "มันเป็นหะดิษเมากูฟ(เป็นคำกล่าวของซอฮาบะฮ์ที่ชัดเจนยิ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้)"  ดู หนังสือ  อัชชาฟ  ฟีตัครีจญฺ อะหาดิษ อัลกัชชาฟ  ตีพิมพ์ผนวจท้าย ตัฟซีร อัลกัชชาฟ ของท่าน อัซซะมัคชะซีย์  เล่ม 4 หน้า 75 และ ดู อิอานะฮ์ อัตตอลิบีน เล่ม 1 หน้า 406 ดารุลฟิกร์

ดังนั้น  ทั้งสองทัศนะถือว่าดีทั้งหมด  แต่ทัศนะที่ผมเลือกนั้น คือ ทัศนะที่สอง  วัลลอฮุอะลัม   แต่หากคุณ Rmeen เลือกทัศนะที่หนึ่ง คือ ต้องการละหมาดอิชร๊อกด้วย  ก็ให้ละหมาดตามเวลาที่ผมได้กล่าวมาแล้วข้างต้น หลังจากนั้น  ก็ละหมาดดุฮา 2 - 8 ร่อกะอัต  ตามสะดวก

และสิ่งที่คุณ Rmeen  ถามมานั้น  ไม่ต้องสับสนนะครับ  คือดังนี้ครับ  หากคุณละหมาดอิชร๊อกตามเวลาที่ผมกล่าวมาเสร็จเรียบร้อย  ก็ให้ละหมาดดุฮาถัดจากนั้น  แต่ถ้าละหมาดดุฮาแล้ว ก็ไม่ต้องละหมาดอิชร๊อก เพราะละหมาดอิชร๊อกอยู่ก่อนละหมาดดุฮา  และหากจะละหมาดอิชร๊อกอย่างเดียวโดยไม่ละหมาดดุฮา  ก็ย่อมกระทำได้  หรือจะละหมาดดุฮาอย่างเดียว  ก็ย่อมกระทำได้  เนื่องจากทั้งสองเป็นละหมาดสุนัต  และท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวแก่ท่านหญิงอาอิชะฮ์ว่า "ผลตอบแทนของเธอ เท่าขนาดที่เธอทุ่มเทอุตสาหะ" 

والله أعلى وأعلم
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged