بسم الله الرحمن الرحيم
الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين
หนี้สินนั้นจำเป็นต้องออกซาก๊าต ดังนั้นหากเจ้าหนี้ให้ยืมเงินกับบุคคลหนึ่ง และจำนวนเงินครบพิกัด(คือราคาเท่ากับจำนวนทอง 96 กรัมหรือทอง 6 บาทกว่า ๆ) และครบรอบปี ซึ่งหากถึงกำหนดชำระและเจ้าหนี้สามารถเอาเงินจากลูกหนี้ได้ ก็จำเป็นต้องจ่ายซะก๊าตในอัตรา 2.5 เปอร์เซ็น และถ้าหากเจ้าถึงกำหนดชำระแต่เจ้าหนี้ไม่สามารถทวงหนี้ได้เพราะลูกหนี้ยากจนหรือปฏิเสธหนี้โดยไม่มีหลักฐานมายืนยัน ก็ยังไม่จำเป็นต้องออกซะก๊าตในขณะนั้น แต่เมื่อลูกหนี้คืนหนี้มาเมื่อไหร่ก็ต้องออกซะก๊าตชดใช้ในปีที่ผ่านมาด้วย และถ้าหากหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ(และครบรอบปีแล้ว) ก็ยังไม่จำเป็นต้องจ่ายซะก๊าต จนกว่าจะถึงกำหนดชำระเสียก่อน (หนังสือมุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์ 2/135)
หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ท่านอิมามมาลิกได้รายงานไว้ในหนังสืออัลมุวัฏเฏาะอฺ (596) จากท่านอุษมาน ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งท่านกล่าวว่า
هَذَا شَهْرُ زَكَاتِكُمْ فَمَنْ كَانَ عَلَيْهِ دَيْنٌ فَلْيُؤَدِّ دَيْنَهُ حَتَّى تَحْصُلَ أَمْوَالُكُمْ فَتُؤَدُّونَ مِنْهُ الزَّكَاةَ
"นี้คือเดือน(แห่งการออก)ซะก๊าตของพวกท่าน ดังนั้นผู้ใดมีหนี้สิน ก็จะชดใช้หนี้ของเขา จนกระทั่งทรัพย์สินของพวกท่านได้รับมา และพวกท่านจงจ่ายซะก๊าตทรัพย์นั้น"
ท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัล-อุมของท่านในบทหนี้พร้อมกับซะก๊าต ความว่า :
وَحَدِيثُ عُثْمَانَ يُشْبِهُ وَاَللَّهُ تَعَالَى أَعْلَمُ أَنْ يَكُونَ إنَّمَا أَمَرَ بِقَضَاءِ الدَّيْنِ قَبْلَ حُلُولِ الصَّدَقَةِ فِي الْمَالِ فِي قَوْلِهِ " هَذَا شَهْرُ زَكَاتِكُمْ " يَجُوزُ أَنْ يَقُولَ: هَذَا الشَّهْرُ الَّذِي إذَا مَضَى حَلَّتْ زَكَاتُكُمْ
"หะดิษของท่านอิษมาน - วัลลอฮุอะลัม - เหมือนกับว่าท่านใช้ให้ทำการชดใช้หนี้ก่อนที่จะกำหนดเวลาออกซะก๊าตทรัพย์สิน ในคำกล่าวที่ว่า "นี้คือเดือนแห่งการออกซ๊าตของพวกท่าน" ซึ่งอนุญาตให้กล่าวว่า เดือนนี้นั้นเมื่อมันได้ผ่านมาแล้ว ก็ถึงกำหนดเวลาซะก๊าตของพวกท่านแล้ว"
والله أعلى وأعلم