بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛
การย้ายซะก๊าต คือการย้ายทรัพย์สินซะก๊าตไปยังสถานที่อื่นที่อยู่ห่างไกลจากสถานที่ที่มีทรัพย์สินซะก๊าตอยู่ ซึ่งระยะห่างไกลนั้นคือระยะทางของการอนุญาตให้ละหมาดย่อได้
การเคลื่อนย้อยซะกา ตนั้น มัซฮับมาลิกีย์และมัซฮับฮัมบาลีย์ถือว่าใช้ไม่ได้ ส่วนมัซฮับฮะนะฟีย์นั้น อนุญาตให้เคลื่อนย้ายซะกาตได้ แต่มักโระฮ์(ไม่บังควร)เท่านั้นเอง
สำหรับมัซฮับชาฟิอีย์นั้น มีการทัศนะที่แตกต่างกัน 2 ทัศนะ
ทัศนะที่หนึ่ง : ซึ่งเป็นทัศนะที่ชัดเจนกว่า กล่าวคือไม่อนุญาตให้ทำการเคลื่อนย้ายซะกาต เนื่องมีหลักฐานจากฮะดีษท่านอัลบุคอรีและมุสลิมที่ว่า
ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
أَنَّ اللَّهَ افْتَرَضَ عَلَيْهِمْ صَدَقَةً فِي أَمْوَالِهِمْ، تُؤْخَذُ مِنْ أَغْنِيَائِهِمْ وَتُرَدُّ عَلَى فُقَرَائِهِمْ
" แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรงกำหนดซะก๊าตเหนือพวกเขาในบรรดาทรัพย์สินของพวกเขา โดยซะก๊าตนั้นจะถูกเก็บจากบรรดาคนร่ำรวยจากพวกเขาและถูกนำมาแจกจ่ายกับบรรดา คนยากจนของพวกเขา" รายงานโดยบุคอรีย์ (1331) และมุสลิม 19
หมายถึงซะกาตของคนรวยที่ถูกเก็บจากเจ้าหน้าที่ในเมืองนั้น ก็ต้องจ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิ์ได้รับซะกาตในเมืองนั้นก่อน
ทัศนะที่สอง : อนุญาตให้ทำการเคลื่อนย้ายซะกาตได้ เพราะอ้างหลักฐานอัลกุรอานที่ว่า
อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า
إِنَّمَا الصَّدَقَاتُ لِلْفُقَرَاء وَالْمَسَاكِينِ وَالْعَامِلِينَ عَلَيْهَا وَالْمُؤَلَّفَةِ قُلُوبُهُمْ وَفِي الرِّقَابِ وَالْغَارِمِينَ وَفِي سَبِيلِ اللّهِ وَابْنِ السَّبِيلِ فَرِيضَةً مِّنَ اللّهِ وَاللّهُ عَلِيمٌ حَكِيمٌ
"ซะกาตนั้นจะต้องตกเป็นของคนยากไร้ คนขัดสน เจ้าหน้าที่ซะกาต ผู้ที่ศรัทธาใหม่ ในเองไถ่ตัวทาส คนที่มีหนี้สิน ในวิถีทางของอัลเลาฮ์ และคนเดินทาง เป็นข้อกำหนดจากอัลเลาะฮ์และอัลเลาะฮ์ทรงรอบรู้ยิ่ง ทรงเชี่ยวชาญยิ่ง" อัตเตาบะฮ์ 60
กล่าวคืออายะฮ์นี้ไม่บอกไว้แบบกว้าง ๆ และไม่ได้แม้ข้อแม้ใด ๆ ว่าจะให้ซากาตแก่ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับซากาตที่ใหน สถานที่ใด และเมืองใด
รายงานละเอียด
ท่านชัยค์ อัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์ ได้กล่าวว่า
وَالأَظْهَرُ مَنْعُ نَقْلِ الزَّكَاةِ مِنْ بَلَدِ الْوُجُوْبِ الَّذِيْ فِيْهِ الْمُسْتَحِقُّوْنَ إِلَي آخَرَ فِيْهِ مُسْتَحِقُّوْهَا فَتُصْرَفُ إِلَيْهِمْ قَالُوْا لِخَبَرِ الصَّحِيْحَيْنِ Sad صَدَقَةٌ تُؤْخَذُ مِنْ أَغْنِيَائِهِمْ فَتُرَدُّ عَلَي فُقَرَائِهِمْ ) وَلِإِمْتِدَادِ أَطْمَاعِ أَصْنَافِ كُلِّ بَلَدَةٍ إِلَي زَكَاةِ مَا فِيْهِ مِنَ الْمَالِ وَالنَّقْلِ يُوْحِشُهُمْ
"ทัศนะที่ชัดเจนยิ่ง นั้น คือห้ามเคลื่อนย้ายซากาตจากเมืองหนึ่งที่วายิบ(ต้องจ่ายซะกาต)ที่มีบรรดาผู้ มีสิทธิ์ได้รับซะกาต ไปยังเมืองอื่นที่มีผู้มีสิทธิ์ได้รับซะกาตแล้วทำการจ่ายซะกาตแก่พวกเขา นักปราชญ์กล่าวว่า เพราะมีฮะดีษซอฮิห์บุคอรีและมุสลิมระบุว่า "ซะกาตจะถูกเก็บมาจากบรรดาคนร่ำรวยจากพวกเขา แล้วนำไปจ่ายแก่บรรดาคนยากจนของพวกคนรวยเหล่านั้น" และเนื่องจากความต้องการของบรรดาผู้ที่ได้รับซะกาตของทุก ๆ เมืองนั้นได้คลุมถึงซะกาตทรัพย์สินที่มีอยู่ในเมืองนั้น และการเคลื่อนซากาต(ไปยังเมืองอื่น) จะทำลายจิตใจของพวกเขา"
وَالثَّانِيْ : اَلْجَواَزُ لِإِطْلاَقِ الآَيَةِ ، وَلَيْسَ فِي الْحَدِيْثِ دَلاَلَةٌ عَلَي عَدمِ النَّقْلِ ، وَإِنَّمَا يَدُلُّ عَلَي أَنَّهاَ لاَ تُعْطَي لِكَافِرٍ كَمَا مَرَّ وَقِيَاساً عَلَي نَقْلِ الْوَصِيَّةِ وَالْكَفَّارَاتِ وَالنُّذُرِ
"ทัศนะที่สอง : อนุญาตให้เคลื่อนย้ายซะกาตได้ เพราะอายะฮ์อัลกุรอานได้บอกไว้กว้าง ๆ ไม่ได้จำกัดข้อแม้ใด ๆ และในฮะดีษ(ของท่านบุคอรีและมุสลิมนั้น)มิได้บ่งชี้ถึงการห้ามเคลื่อนย้ายซะ กาต และแท้จริงแล้วฮะดีษดังกล่าวได้บ่งชี้ถึงว่าห้ามจ่ายซะกาตแก่คนกาเฟร ตามที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว และทำการกิยาส(เทียบเคียง)การเคลื่อนย้าย(การบริจาคทรัพย์สิน)ที่ได้ถูกสั่ง เสีย หรือทรัพย์สินค่าปรับ(ที่ต้องจ่ายให้แก่คนจน) และทรัพย์สินที่บนบาน(ไว้ว่าจะบริจาคแก่คนจนก็สามารถนำไปแจกจ่ายชาวเมือง อื่นได้)" หนังสือมุฆนิลมั๊วะห์ตาจญฺ 4/201
แต่สำหรับซะก๊าตฟิตเราะฮ์ ต้องจ่ายซะก๊าตในพื้นที่ที่มีทร้พย์ซะก๊าตอยู่ ไม่อนุญาตให้ย้ายซะก๊าต นอกจากเสียว่าในพื้นที่ดังกล่าวไม่มีผู้มีสิทธิ์ได้รับซะก๊าต ก็อนุญาตให้ย้ายซะก๊าตโดยทำการแจกจ่ายในพื้นที่อื่นที่ห่างไกลมากกว่าระยะทางย่อละหมาดได้ (อิอานะฮ์อัฏฏอลิบีน 2/308 - 309)
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ