ผู้เขียน หัวข้อ: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์  (อ่าน 17414 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ก.ย. 11, 2009, 03:10 AM »
0
เวลา (Time)

คาบเวลา

Terrestrial day t (นับชั่วโมง/1วัน)
Synodic (สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์) >>> 24 hours = 86400 sec
Sidereal (เทียบกับดวงดาวอื่น) >>>  23 h 56 min 4.0906 sec = 86164.0906 sec

Lunar Month T (นับวัน/1เดือน)
Synodic (สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์) >>> 29.53059 days
Sidereal (เทียบกับดวงดาวอื่น) >>> 27.321661 days = 655.71986 hours

มุสลิม ใช้ระบบ Sidereal (สัมพันธ์กับดวงดาวอื่น)
เพื่อกำหนด เวลาโคจรของดวงจันทร์ lunar month (T), และใช้ค่านี้ในการพิสูจน์

ดังนั้นเวลาที่เอามาคำนวณ คือ
**23 h 56 min 4.0906 sec = 86164.0906 sec
**27.321661 days = 655.71986 hours

________________________________________________________________

ระยะทาง (Distance)

พันปี = 12 X 1000 เดือน = 12,000

ระยะทางที่มลาอิกะฮฺใช้เดินทางในหนึ่งวัน = 12000 x ระยะทางที่ดวงจันทร์
ใช้ในการโคจรหนึ่งรอบ

เขียนสมการได้ว่า
C t = 12000 Vo T (ระยะทาง = ความเร็ว x เวลา)

เมื่อ

C คือความเร็วของมลัก ที่เราต้องการทราบ เพื่อลองเปรียบเทียบกับความเร็วของแสง
ที่ทราบแล้ว (ในสภาวะที่ไม่มีแรงภายนอก ไม่มีความเร่ง และไม่มีความหน่วง)

t คือเวลาที่โลกใช้ในการหมุนรอบตัวเองหนึ่งวัน 23 ชั่วโมง 56 นาที 4.0906วินาที
เป็น 86164.0906 วินาที

Vo ความเร็วจำเพาะของดวงจันทร์ สภาวะที่ไม่มีความเร่ง ไม่มีความหน่วง
ไม่มีแรงภายนอกมากระทำ (inertial velocity)

T (sidereal lunar month) กำหนดจากเวลาดวงจันทร์โคจรรอบโลกหนึ่งรอบ
คือ 27.321661 วัน = 655.71986 ชั่วโมง

(ดูผลจากแรงโน้มถ่วงต่อเวลาและระยะทาง ตามทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์)

_______________________________________________________


ความเร็วดวงจันทร์ (Velocity of the Moon) อธิบายตัวแปร Vo

ความเร็วดวงจันร์ไม่คงที่เหมือนความเร็วของแสง
จากสถิติความเร็วของดวงจันทร์ที่นาซาสำรวจวัดความเร็วของดวงจันทร์

ความเร็วนี้แปรผันอยู่ระหว่าง
(3,470 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ถึง 3,873 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ได้ความเร็วเฉลี่ยเป็น

Vavg = 3,682 km/hr

เมื่อ... ความเร็ว = ระยะทาง /เวลา
ระยะทาง/เวลา นั่นคือ ระยะทางที่ดวงจันทร์ใช้ในการโคจร/เวลาการโคจร
ของดวงจันทร์ เป็นรูปวงรีรัศมีแปรผันตามช่วงเวลาการโคจรของโลก

รัศมี (ระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์) เฉลี่ย = 384,267 km
ดังนั้น ระยะทาง = L (Length) ของวงโคจรดวงจันทร์เทียบกับโลก

หาเส้นรอบวงโคจรโดยใช้สูตรคำนวณหาเส้นรอบวง
L (เส้นรอบวง หรือ ระยะทางโคจร) = 2 pi R

เมื่อ
V = L / T   (ความเร็ว = ระยะทาง/เวลา)
จะเป็น...
V = 2 pi R / T

แทนค่า
ค่า pi = 3.141593

R (รัศมี ระยะทางจากโลกถึงดวงจันทร์) = 384,267 km

T (เวลา) = sidereal lunar month = 655.71986 hr

ได้เป็น

V = 2 pi R / T
V = (2 x 3.141593 x 384,267) / 655.71986
V = 3,682.092 km/hr

**ความเร็วดวงจันทร์ = 3,682.092 km/hr


วัลลอฮุอะลัม

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 12, 2009, 12:10 AM โดย dho_dho »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ก.ย. 11, 2009, 03:21 AM »
0
ถึงแม้ความเร็วนี้จะถูกต้องหากเทียบกับโลก แต่ก็ยังมีความแปรผัน
ด้วยอิทธิพลความเข้มสนามจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์และดาวอื่น ๆ อีก
เมื่อเราเทียบความเร็วมลัก (เทวทูต) กับความเร็วแสงนอกสนามแรงโน้มถ่วง

ดังนั้นจากการเทียบค่าที่มีนัยสัมพันธ์กันเราจะสามารถคำนวนความเร็วดวงจันทร์
โคจรรอบโลก ภายนอกสนามแรงโน้มถ่วงได้ในระบบปิด

สมมุติว่าโลกและดวงจันทร์โคจรโดยไม่มีสนามแรงโน้มถ่วงจากดวงอาทิตย์
(Earth-moon system) ดวงจันทร์จะโคจรด้วยมุมองศาและความเร็วที่คงที่
นั่นคือเป็นวงกลมอย่างสมบูรณ์กับศูนย์กลางของโลก

แต่ความเร็วจะแปรผันได้อีกจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงจากดวงอาทิตย์
ทำให้เมื่อดวงจันทร์หันทิศทางโคจรเข้าหาดวงอาทิตย์ความเร็วจะเพิ่มขึ้น

และเมื่อหันทิศทางโคจรออกจะลดลง ส่งผลให้ระยะทางโคจรเพิ่มขึ้น
และความเร็วเพิ่มขึ้น ระยะทางโคจรเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ยรัศมีวงโคจรเพิ่มขึ้นด้วย
วงโคจรจึงกลายเป็นวงรี

เราสามารถคำนวนความเร็วดวงจันทร์สัมพันธ์เทียบกับโลกภายนอกสนามแรงโน้มถ่วงได้จากข้อมูลทางดาราศาสตร์ที่เรามี ระบบโลก-ดวงจันทร์ ใช้มุม angle @
โคจรรอบดวงอาทิตย์ในแต่ละวงรอบ (sidereal lunar month)
หากไม่มีสนามแรงโน้มถ่วงในระบบปิด วงโคจรดวงจันทร์ไม่เปลี่ยนทิศทาง
แต่จะเดินทางเป็นเส้นตรงล่องลอยไปสู่ดวงดาวอื่น ๆ ข้างนอก

แต่เพราะว่ามีแรงโน้มถ่วงจากดวงอาทิตย์ การโคจรของดวงจันทร์
จึงมีการเปลี่ยนทิศทางตลอดจนกลายเป็นวงรอบ ด้วยมุม angle @
เมื่อสังเกตุดูเทียบกับดวงดาวอื่น

การเปลี่ยนทิศทางนี้เกิดจาก ความเร่ง acceleration จากอิทธิพลแรงโน้มถ่วง
ของดวงอาทิตย์ ความเร่งนี้ทำให้วงโคจรของดวงจันทร์เป็นวงรี
แทนที่จะเป็นวงกลมสมบูรณ์

________________________________________________________________

ความเร็วมีค่าที่แน่นอนและมีทิศทาง (vector) ขณะที่มวลสาร "mass"
มีเพียงค่าค่าหนึ่ง (scalar) ในระบบแยกปิด ดวงจันทร์-โลก (isolated mean velocity) ความเร็วเฉลี่ยของดวงจันทร์ ในทิศทางโคจรรอบโลกที่เทียบสัมพันธ์กับดวงดาว
ยังคงเป็นทิศทางเดิม เพราะว่า (V) ความเร็วเฉลี่ยของดวงจันทร์เป็นผลรวม
ของขนาดและทิศทาง (vectorial sum) ของค่าเฉลี่ยความเร็วในระบบแยกปิด
โลก-ดวงจันทร์ (V') รวมกับความเร็วที่ได้จากสนามแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์
ด้วยความเร็วเฉลี่ย V (ความเร็วเฉลี่ยดวงจันทร์) = ความเร็วเฉลี่ยในระบบปิด
Earth-moon system (Vcos@) + ความเร็วที่ได้รับจากสนามแรงโน้มถ่วง
ของดวงอาทิตย์ (Vsine@)

ความเร็วสัมพันธ์กับโลกของดวงจันทร์คือ V แต่จากที่ความเร่งเกิดจากดวงอาทิตย์
และระยะทางต่อดวงดาว ทิศทางของมัน จึงเปลี่ยนไปทุกวงรอบด้วยมุม angle @
ทำให้ความเร็วของดวงจันทร์ ในระบบปิด (isolated Earth-moon system)
ที่สร้างขึ้นโดยอ้างอิงกับดวงดาวเป็น V' = V Cosine @

ความเร็วแท้จริงของดวงจันทร์ (isolated mean velocity)

หากไม่มีแรงโน้มถ่วงของโลกที่ดวงจันทร์จะเดินทางเป็นเส้นตรง
ที่ระยะทางไปสู่ดวงดาว ในมุมองศาความเร็วที่ทำกับโลก V' สัมพันธ์กับโลก

สูตร
Vo = V' = V cos@

เมื่อ...

Vo ความเร็วดวงจันทร์สัมพันธ์กับโลกหากไม่มีแรงโน้มถ่วง

V ความเร็วดวงจันทร์สัมพันธ์กับโลกภายใต้แรงโน้มถ่วง

@ มุมองศาจากการเดินทางในระบบโลกกับดวงจันทร์ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์
ในหนึ่งเดือน


วัลลอฮุอะลัม


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 12, 2009, 12:15 AM โดย dho_dho »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ก.ย. 11, 2009, 03:24 AM »
0

ความเร็วที่มลักใช้เดินทาง (Speed of Angels)

จากสูตร

ระยะทาง = ความเร็ว x เวลา

C t = 12000 Vo T

และ  Vo = V cos@

C t = 12000 V cos@ T

C = (12000 V cos@ T) / t

NASA sidereal values of the periods T และ t @ เท่ากับ 26.9295 องศา
สามารถคำนวนเองได้จากเชิงอรรถ [5];

cos@ = 0.8915645

ความเร็วที่มลักใช้เดินทาง = เวลาพันปี x ความเร็วดวงจันทร์ x เวลา1เดือน) /เวลา1วัน

C = (12000 x (3682.092 x 0.8915645) x 655.71986) / 86164.0906

C = 299,792.5 km/s


ในที่สุดเราก็ได้ทราบค่าความเร็วของแสง
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ก.ย. 11, 2009, 03:38 AM »
0
จากซูเราะฮฺยูนุส

[Quran 10.5] 

It is He (Allah) who made the sun to shine and the moon to light,
and destined it in stages; that you may learn to count the years
and the mathematics. Allah only created this in truth.
He details His Signs for those who are knowledgeable (scientists).

"พระองค์ทรงทำให้ดวงอาทิตย์มีแสงจ้าและดวงจันทร์มีแสงนวล
และทรงกำหนดให้มันมีทางโคจร เพื่อพวกท่านจะได้รู้จำนวนปี
และการคำนวณ อัลลอฮฺมิได้ทรงสร้างสิ่งเหล่านั้นเว้นแต่ด้วยความจริง
พระองค์ทรงจำแนกสัญญาณต่างๆ สำหรับหมู่ชนที่มีความรู้"

สมการที่เขียนขึ้นจากสำนวนในกุรอานถูกพิสูจน์ว่าเป็นจริงในระบบปิด
สำหรับการสังเกตุการณ์ในทุกสภาวะแรงโน้มถ่วง
(เหตุที่ต้องกล่าวอ้างถึงแรงโน้มถ่วงก็เพราะ ในสภาวะแรงโน้มถ่วงสูง
เวลาจะขยายออก และ ระยะเวลาหดลง)

สมการในกุรอานเป็นจริงสำหรับระบบปิด (Isolated system)

c = 12000 L' / t' = 12000 2 pi  R' / t'

ดังที่ การหมุนตัวของโลกช้าลง (เวลายาวนานขึ้น) ดวงจันทร์ก็ค่อยๆห่างออกไป
(R' เพิ่มขึ้น และ t' เพิ่มขึ้น)

แต่ตามกฏพื้นฐานฟิสิกส์ดาราศาสตร์
อัตราของ R' / t' ยังคงเดิมนั่นคือ R' / t' เป็นค่าคงที่มีค่าเท่ากับ 3.976120966
(R' / t' = R cos@ / t') นำค่าคงที่นี้ไปสร้างสมการ

จากสำนวนในกุรอาน

c = 12000 L' / t' ซึ่งประกอบขึ้นเป็นค่าคงที่โดยไม่เหลือค่าที่แปรผันได้

สมการนี้เป็นจริงมาตั้งแต่ครั้งที่ดวงจันทร์สูญเสียมวลของตัวเอง
จากแนวคิดที่ว่า ดวงจันทร์ก่อตัวขึ้นจากการพุ่งชนกับโลก
เมื่อดวงจันทร์กระเด็นห่างออกไป มันดูดเอาก๊าซบางส่วนจากชั้นบรรยากาศของโลก
แต่ดวงจันทร์ไม่สามารถดึงดูดแก๊สเหล่านั้นไว้ได้ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงอ่อนเกินไป (เดิมดวงจันทร์มีขนาดมากกว่าปัจจุบันนี้ 170 เท่าและโลกมีมวลมากกว่าปัจจุบัน
280 เท่าโดยปริมาตรไม่ใช่มวล) ซากการชนนี้จึงไม่สามารถรักษามวลก๊าซไว้ได้
(มวล17%สูญเสียไปจากการชน)


สมการจากสำนวนในกุรอานถูกพิสูจน์ว่าเป็นจริง
ตั้งแต่ครั้งแรกที่ดวงจันทร์สูญเสียมวลของมันไป
นั่นคือเมื่อครั้งแรกของการสร้างระบบ โลกกับดวงจันทร์ เป็นจริงจนกระทั่งวันนี้
แม้ว่าดวงจันทร์ยังคงค่อย ๆ โคจรห่างออกไป สมการก็ยังเป็นจริงเสมอ

ขอบคุณ Dr. M. Doudah จากPreserved dynamics of Earth-moon
since system birth

วัลลอฮุอะลัม


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 12, 2009, 12:18 AM โดย dho_dho »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: ก.ย. 11, 2009, 03:40 AM »
0

เวลาขยายออก (Time Dilation)

น่าประหลาดใจที่มุสลิมสามารถใช้สูตรคำนวนที่ต่างออกไป
จากบรรดานักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มลาอิกะฮฺ
สามารถเร่งความเร็วขึ้นได้ถึงขีดความเร็วแสง (เร็วกว่าเรากระพริบตาเสียอีก)
กุรอานยังบรรยายถึงการเดินทางของมลาอิกะฮฺ ที่ความเร็วที่เจาะจงเอาไว้

ปรากฏว่าประสบการณ์เรื่องเวลาของมลาอิกะฮฺเวลาย่อมผ่านไปช้ากว่ามนุษย์
แต่อายะฮฺนี้ ทำให้เราเห็นด้วยกับทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์
ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ (theory of special relativity)
ที่กล่าวไว้ว่า ณ จุดที่การเคลื่อนที่ด้วยความเร็วกว่าทำให้วัตถุนั้นดูมีประสบการณ์
ทางเวลาช้าลง มุสลิมใช้ทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ ร่วมกับ สำนวนในกุรอานเพื่อแสดงให้เห็นว่ามลาอิกะฮฺสามารถเร่งความเร็วได้ถึงความเร็วของแสง

จากซูเราะฮฺอัลมะอาริจญ์ 

[Quran 70.4] The angels and the Spirit ascend to Him in a day,
the measure of which is fifty housand years.

"มลาอิกะฮฺและอัรรูหฺ (ญิบรีล) จะขึ้นไปหาพระองค์ในวันหนึ่งซึ่งกำหนดของมัน
เทียบเท่ากับห้าหมื่นปี (ของโลกดุนยานี้) "


จากอายะฮฺนี้มลาอิกะฮฺมีประสบการณ์ทางเวลา 1 วัน
ขณะที่เทียบกับคน เวลาจะผ่านไป 50,000 ปี

อย่างไรก็ตาม จากทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ เวลาที่ให้มาเปรียบต่างกันนี้
(time dilation) เราสามารถคำนวนความเร็วที่วัตถุเดินทาง
เราสามารถยืนยันได้ว่า มลาอิกะฮฺเดินทางด้วยความเร็วเร่งขึ้นไปได้ถึง
ขีดความเร็วแสงอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะกล่าวออกจากปากของมุสลิม
หรือ ผู้ไม่ใช่มุสลิมก็ตาม คำกล่าวนี้สามารถพิสูจน์ได้โดยใช้เวลาทำเพียงสองนาที ทำให้ไม่มีความจำเป็นอีกแล้วที่จะทำมืดบอดอีกในการศรัทธา


ไม่ใช่มุสลิมด้วยซ้ำแต่เป็นยิว อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ที่สร้างทฤษฎีอันลือลั่น
ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ (theory of special relativity) ตามคำกล่าวของทฤษฎีนี้

ที่ว่าง (space) เวลา (time) และมวล (mass) ไม่ใช่ค่าคงที่
แต่สามารถแปรเปลี่ยนไปได้ขึ้นอยู่กับ ความเร็วที่วัตถุนั้นเคลื่อนที่
เมื่อความเร็วของวัตถุเพิ่มสูงขึ้น เวลาของมันจะหดสั้นลง ดังสมการ

เมื่อ...
ให้ A แทน สัญลักษณ์ Delta (พิมพ์อักษรนี้ไม่ได้)

>> http://en.wikipedia.org/wiki/Delta_%28letter%29


Ato เป็นเวลาที่วัดสิ่งที่เคลื่อนที่ จาก สิ่งที่เคลื่อนที่

At เป็นเวลาที่วัดสิ่งที่เคลื่อนที่ จาก สิ่งที่หยุดนิ่ง

V เป็นความเร็วของการเคลื่อนที่สัมพันธ์กับผู้สังเกตุที่หยุดนิ่ง

แทนค่า...

Ato เวลาที่มลาอิกะฮฺใช้ คือ 1 วัน

At เวลาที่วัดโดยมนุษย์ 50000 ปี X 365 วัน/หนึ่งปี

V ความเร็วในการเดินทางของมลาอิกะฮฺ

(ในกรณีนี้ เราต้องการทราบและนำไปเทียบดูว่าใช่ค่าความเร็วแสงจริงหรือไม่)

C ความเร็วแสง 299,792.458 km/s ความเร็วแสงในสูญญากาศ

จากสมการข้างต้นเราสามารถแก้ปัญหาเพื่อหาค่าความเร็วที่เราไม่รู้ได้


ดังนั้นเรามาดูกันว่า ความเร็วในการเดินทางของมลาอิกะฮฺ
สามารถเร่งจนถึงขีดความเร็วแสงได้จริงหรือไม่ โดยใส่ค่าเวลาจากโองการนี้

“มลาอิกะฮฺและอัรรูหฺ (ญิบรีล) จะขึ้นไปหาพระองค์ในวันหนึ่ง
ซึ่งกำหนดของมันเท่ากับห้าหมื่นปี ของโลกดุนยานี้) ” เข้าไปในสูตรคำนวน

v = c x 0.999999999999998498780258960404202

v = 299792.45799999954994564383561604 km / s

time dilation (เวลาเปรียบต่าง) นี้ แสดงให้เห็นว่า มลาอิกะฮฺ เร่งความเร็วขึ้นได้
ถึงขีดจำกัดของแสง (น้อยกว่าความเร็วแสงเพียงเล็กน้อย เนื่องจากมีมวล)

นี่ไม่ใช่ความบังเอิญเพราะว่าความเร็วนี้ก็เป็นความเร็วเดียวกับที่เราได้คำนวนจากโองการก่อนหน้านี้มาแล้ว


วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 12, 2009, 12:23 AM โดย dho_dho »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: ก.ย. 11, 2009, 03:59 AM »
0
ภาคผนวก

[1] คำภาษาอาหรับคำว่า Araj หมายถึงเดินด้วยเท้าเปล่า
ในกุรอ่านที่ว่า ยะรุญุ หมายถึงการเดินทางด้วยตัวเอง

ในโองการบรรยายถึงความเร็วที่ มลักทำตามคำบัญชา อัมรฺ
ให้ยกบันทึกการงานขึ้นไป และคำที่ว่า มิกดารุ การวัด

โองการนี้จึง เน้นย้ำถึงการก้าวเดินด้วยตัวเอง และบางสิ่งเกี่ยวกับปริมาณที่วัดได้
แล้วอะไรล่ะคือ ปริมาณที่วัดได้จากกการก้าวเดิน ไม่ใช่เวลาแน่นอน
เวลาได้ถูกกล่าวไว้แล้วว่า 1 วัน และ 1000 ปี ที่สูเจ้านับ

ดังนั้นปริมาณอีกอันจึงต้องเป็นระยะทาง ไม่ใช่เวลา
ดังนั้นบันทึกบัญชาจึงถูกยกขึ้นไป ที่ระยะทางเท่ากันในเวลาที่นับได้แตกต่างกัน
เกี่ยวกับบันทึกที่ถูกรักษาไว้

ในซูเราะฮฺอัลบุรูจญ์

[Quran 85.21-22] But it is a Glorious Quran. 
22 Inscribed on a Preserved Tablet


มิใช่เช่นนั้นดอก ที่พวกเขาไม่ยอมเชื่อถือคือกุรอานอันรุ่งโรจน์
อยู่ในแผ่นจารึกที่ถูกเก็บรักษาไว้มุสลิมเชื่อว่าญิบรีล ได้นำกุรอาน
มาจากแผ่นจารึกที่ถูกเก็บรักษาไว้ มาให้ศาสดามูฮัมมัด

ในซูเราะฮฺอัลฮิจรฺ

[Quran 15.8-11] We only send down the angels in Truth; 
if they were not (in truth), no respite would they have 9
We have sent down the Message; and We will preserve it 10 We did send Messengers before you among the religious sects of the old 11
But never came a Messenger to them but they mocked him.

ความว่า

"เราจะไม่ส่งมลาอิกะฮฺลงมา เว้นแต่ด้วยความจริง และดังนั้นพวกเขาไม่ต้องคอย แท้จริงเราได้ให้ข้อตักเตือน อัลกุรอานลงมา และแท้จริงเราเป็นผู้รักษามันอย่างแน่นอน และโดยแน่นอน ก่อนหน้านั้นเราได้ส่ง (บรรดารอซูล) มาในหมู่คณะต่าง ๆ
เมื่อครั้งสมัยก่อน ๆ และไม่มีรอซูลคนใดมายังพวกเขา เว้นแต่พวกเขาจะต้องเย้ยหยัน"

_________________________________________________________________


[2] ทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป วัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เวลาจะยาวนานขึ้น
วัตถุที่อยู่ในสนามแรงโน้มถ่วงสูงเวลาก็จะยืดยาวนานขึ้นด้วยเช่นกัน
นั่นคือ นาฬิกาที่ดวงจันทร์จะเดินเร็วกว่านาฬิกาบนโลก
และนาฬิกาบนโลกจะเดินเร็วกว่านาฬิกาที่เดินอยู่บนดวงอาทิตย์
และนาฬิกาที่หลุมดำจะหยุดนิ่งอย่างสมบูรณ์

ดังนั้น นาฬิกาเรือนเดียวกันกับที่วัดเวลา 12000 รอบการโคจรจากโลก
อ่านได้ว่าเดินช้ากว่าที่อยู่บนดวงอาทิตย์ และอ่านได้ว่าเดินเร็วกว่าบนดวงจันทร์

นาฬิกาเรือนเดียวกันถ้าอยู่ที่หลุมดำจะไม่สามารถรู้วันเวลาได้เลย
ยิ่งกว่านั้นจากทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป ขนาดของวัตถุในสนามแรงโน้มถ่วงสูง
จะหดสั้นลง นั่นคือ 1 กิโลเมตร บนโลกจะยาวกว่า 1กิโลเมตรบนดวงอาทิตย์
และ 1กิโลเมตรบนดวงอาทิตย์จะยาวกว่า 1 กิโลเมตรบนหลุมดำ
แรงโน้มถ่วงจึง เข้ารบกวนได้ ทั้ง ขนาดของระยะทาง และเวลาจากสมการ

มุสลิมจึงกล่าวว่าอัลลอฮฺ กำหนดเจาะจงไว้ว่า การวัดระยะเวลาหนึ่งพันปีที่พวกเจ้านับ
ก็คือ เวลาและระยะทางซึ่งวัดกันบนโลก (Earth reference frame)
ก็เพราะว่าระยะเวลาและระยะทางจะไม่เท่ากันในทุกที่ของจักรวาล

___________________________________________________________________

[3] ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ กล่าวว่า ความเร็วแสงในสูญญากาศจะคงที่
แต่ “สูญญากาศ” ไม่เพียงหมายถึงสภาวะที่ไม่มีสสารเท่านั้น
แต่ต้องไม่มีสนามแรงโน้มถ่วงด้วย ดังเช่น หากคุณอยู่ในสนามแรงโน้มถ่วง
คุณก็ยังไม่อยู่ในสูญญากาศ แม้ว่า จะไม่มีอากาศอยู่รอบตัวคุณเลย

ในกรณีนี้จึงไม่อยู่ในขอบเขตของทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป
จะใช้การได้กับกรณีที่มีสนามแรงโน้มถ่วง และตามที่ทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไป ความเร็วแสงจะแปรผันตามสนามแรงโน้มถ่วง

c' = co (1+ F/c2)

เมื่อให้ F เป็นสนามของสนามแรงโน้มถ่วง ที่สัมพันธ์กับจุดที่วัดค่าความเร็วของแสง co แสงเดินทางช้าลงในสนามแรงโน้มถ่วงที่มีความเข้มข้นสูง (ใกล้กับมวลสารขนาดใหญ่)

วัลลอฮุอะลัม


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 12, 2009, 12:30 AM โดย dho_dho »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: ก.ย. 11, 2009, 04:09 AM »
0

[4] เมื่อดวงจันทร์หันทิศทางโคจรเข้าหาดวงอาทิตย์ ความเร็วของมันจะเพิ่มขึ้น
และเมื่อหันทิศทางโคจรออกจากดวงอาทิตย์ความเร็วดวงจันทร์จะช้าลง
ทำให้เกิด การแบ่งส่วน ของวงโคจร (sector of the orbit)

มีบางตำแหน่งที่ดวงจันทร์จะมีความเร็วเพิ่มขึ้น เพราะดวงจันทร์โคจรรอบโลก
และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์
ตำแหน่งของดวงอาทิตย์ที่สัมพันธ์กับโลก ซึ่งคำนึงถึงดวงดาวเปลี่ยนไป
สิ่งนี้ทำให้เกิดส่วนของวงโคจรที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ไปข้างหน้า
ด้วยความเร็วเพิ่มขึ้นในวงโคจรเหมือนกับจุดที่มันหันไปหาดวงอาทิตย์อีก

นี่คือที่ว่าทำไมทิศทางของความเร็วเฉลี่ยได้เปลี่ยนไปเป็นมุมองศาเดียวกันกับที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์

ความเร็วเฉลี่ยไม่ใช่ความเร็วโดยปกติ แต่เป็นทิศทางความเร็วของทั้งระบบ
จากการโคจรรอบโลก มันไม่เพียงมีค่าความเร็วเท่านั้นแต่มันมีทิศทางด้วย
เพราะว่า โลก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ โคจรไปด้วยกัน

ดังนั้นค่าเฉลี่ยความเร็วของดวงจันทร์สัมพันธ์กับโลก ก็จะมีทิศทางเดียวกับโลก
ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ในจุดสุดท้ายของวงรอบ (ไม่เช่นนั้นมันก็จะแยกจากกันไป)

ที่จุดเริ่มต้นของวงรอบ ความเร็วโดยปกติของดวงจันทร์จะมีทิศทางที่แน่นอน
และขนาดความเร็วที่แน่นอน แต่ระหว่างวงรอบ แรงโน้มถ่วงจากดวงอาทิตย์
จะเร่งความเร็วให้แก่ดวงจันทร์ เมื่อทิศทางความเร็วของมันหันไปหาดวงอาทิตย์
มันก็จะเร็วขึ้น เมื่อทิศทางความเร็วหันออกจากดวงอาทิตย์มันก็จะช้าลง
ที่จุดสุดสิ้นสุดของวงรอบ(ภายหลังจากดวงจันทร์หมุนครบ 360องศา
รอบโลกเมื่อเทียบกับดวงดาว) ความเร็วปกติเกือบจะมีทิศทางเดียวกัน
แต่มีขนาดความเร็วต่างกัน มากกว่าที่จุดเริ่มต้นของวงรอบเดียวกัน

นี่คือที่ว่าทำไมความเร็วเฉลี่ยของทั้งวงรอบมีทิศทางต่างกันมากกว่าทิศทางความเร็วปกติที่จุดเริ่มต้นของวงรอบดวงจันทร์

ในระบบปิด ระบบที่มีแต่ โลกกับดวงจันทร์ (โลกกับดวงจันทร์ โคจรออกจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงดวงอาทิตย์) ดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกที่มุมทิศทาง
และขนาดความเร็วคงที่ (constant tangential speed)
แรงโน้มถ่วงของโลกเปลี่ยนทิศทางของทิศทางจากเส้นสัมผัสวงโคจรของความเร็ว (tangential velocity) ของดวงจันทร์รอบโลก เมื่อเทียบกับดวงดาว
แต่ขนาดความเร็วของtangential velocity ยังคงที่

พิจารณาจุดเริ่มต้นของวงรอบดวงจันทร์ว่าดวงจันทร์เริ่มต้นที่ทิศทางความเร็วเดิม เหมือนกับการเคลื่อนที่ของโลกจากการดูเทียบกับดวงดาว
ที่จุดสุดท้ายของวงรอบ ความเร็วปกติของดวงจันทร์(spontaneous velocity)
ของดวงจันทร์ ก็มีขนาดความเร็วและทิศทางเหมือนกับ spontaneous velocity
ที่จุดเริ่มต้นวงรอบ นี่คือที่ว่าทำไม ความเร็วเฉลี่ยของทั้งวงรอบมีทิศทาง
และค่าความเร็วเหมือนกัน กับทิศทางและความเร็วตามธรรมชาติ
(spontaneous velocity) ที่จุดเริ่มต้นของวงรอบ แรงโน้มถ่วงของโลกจะไม่เปลี่ยน
ทั้งค่าของทิศทางและความเร็วเฉลี่ย

แต่ในระบบประกอบ โลก ดวงจันทร์ ซึ่งโคจรในสนามแรงโน้มถ่วง
ของดวงอาทิตย์อีกทีหนึ่ง สิ่งต่างๆเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

แม้ว่ารอบดวงจันทร์จะเหมือนเดินรอบโลก แต่ความเร็วตามธรรมชาติ
(spontaneous velocity) ก็จะมีค่าและทิศทางที่ต่างออกไป
(ทิศทางของความเร็วจะแกว่งไปในมุมตามเข็มและทวนเข็มนาฬิกา
เพราะว่าดวงจันทร์โคจรเป็นวงรี ซึ่งตัวมันเปลี่ยนทิศทางไป)

_______________________________________________________________


ในระบบปิด(โลก-ดวงจันทร์ โคจรออกจากอิทธิพลของสนามแรงโน้มถ่วง
ของดวงอาทิตย์) ค่าความเร็วเฉลี่ยจะคงที่ แต่ในสนาม แรงโน้มถ่วงที่เพิ่มขึ้น
(เมื่อโลก-ดวงจันทร์โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์) ดวงจันทร์ได้รับความเร็วเพิ่มจาก
สนามแรงโน้มถ่วง เมื่อดวงจันทร์หันทิศทางความเร็วเข้าสู่ดวงอาทิตย์
ความเร็วมันจะเพิ่มขึ้น และจะลดลงเมื่อมันหันออกไป
ทำให้ ค่าเฉลี่ยความเร็วโคจรเพิ่มขึ้น ระยะทางการโคจรเพิ่มขึ้น
และรัศมีโคจรเพิ่มขึ้น นี่คือที่ว่าทำไม ค่าความเร็วของความเร็วเฉลี่ย
ในระบบ(compounded system) จึงสูงกว่าค่าความเร็วเฉลี่ยในระบบปิด
(isolated system) เมื่อเพิ่มสิ่งนี้เข้าไปทำให้ความเร็วที่จุดสิ้นสุดวงรอบ
ไม่เท่ากับความเร็วที่จุดเริ่มต้น

แต่อย่างไรก็ตามการโคจรก็ยังไม่เปลี่ยนทิศของมัน กล่าวสั้นๆง่ายๆก็คือ
ความเร็วที่นับประกอบรวมดวงอาทิตย์เข้าในระบบด้วยนั้น
จะขึ้นอยู่กับความเข้มของสนามแรงโน้มถ่วงสิ้นสุดวงรอบไม่เท่ากับ
ความเร็วที่จุดเริ่มต้น แต่อย่างไรก็ตามการโคจรก็ยังไม่เปลี่ยนทิศของมัน

กล่าวสั้นๆง่ายๆก็คือ ความเร็วที่นับประกอบรวมดวงอาทิตย์เข้าในระบบด้วยนั้น
จะขึ้นอยู่กับความเข้มของสนามแรงโน้มถ่วง

ค่าความเร็วของค่าเฉลี่ยที่ได้ใหม่ ในระบบประกอบจะมากกว่าค่าเดิมในระบบปิด เพราะว่าระบบปิดถูกประกอบขึ้นใหม่ ด้วยค่าประกอบความเร็วที่รัศมีโคจร (Vsine@) เพราะว่าเราทราบมุมองศาระหว่าง ค่าเฉลี่ยประกอบใหม่ (new compounded mean) และ จุดกำเนิดค่าเฉลี่ยระบบปิด (เท่ากับมุมองศารอบดวงอาทิตย์)

และเมื่อเราทราบค่าความเร็ว ของ new compounded mean
ค่าเฉลี่ยประกอบใหม่ เราสามารถคำนวนความเร็วของค่าเฉลี่ยจากระบบปิดเดิม

เป็น V' = V cos@ และ R' = R cos@

ในสนามแรงโน้มถ่วงเดียวกันทิศทางของ ค่าเฉลี่ยประกอบ compounded mean
เปลี่ยนไป แต่ขนาดไม่เปลี่ยนแปลง แต่เมื่อคุณเปลี่ยนความเข้มสนามแรงโน้มถ่วง
ทั้งขนาดและทิศทาง ของค่าเฉลี่ยประกอบจะเปลี่ยนไป
ขนาดของค่าเฉลี่ยประกอบใหม่กลายเป็น Vnew = V' / cos@new
และรัศมีประกอบใหม่กลายเป็น Rnew = R' / cos@new
(ความเร็วและรัศมีจะไม่ถูกผลกระทบใด ๆ)

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: ก.ย. 11, 2009, 04:22 AM »
0
[5] ทิศทางของความเร็วเฉลี่ยสัมพันธ์กับโลกเปลี่ยนด้วยกับการอ้างอิงกับดวงดาว แต่ละวงรอบ ด้วยมุมองศาที่เท่ากัน จากระบบ โลกและดวงจันทร์โคจรรอบดวงอาทิตย์ เมื่อทั้งสองมุมนี้เสมอกัน (เพราะจะง่ายกว่า) แล้วจึงใช้ต่อไปที่อื่น

ทุก synodic lunar month ดวงจันทร์จะเดินทางด้วยมุมองศา 29.10675 องศา
สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ดังนั้นความเร็วเชิงมุม เฉลี่ย ของดวงจันทร์สัมพันธ์
กับดวงอาทิตย์จะเป็น 29.10675 degrees / 29.53059 days = 0.98564742 degrees /day ทำให้ระหว่างหนึ่ง sidereal month
ดวงจันทร์จะเดินทางสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ที่ค่ามุมองศาเฉลี่ยหนึ่ง

@ = 27.321661 days x 0.9856472 degrees / day = 26.92952 degrees

เพื่อความละเอียดแม่นยำขึ้น เราคำนวน @ จากคาบของหนึ่ง
heliocentric revolution ของ Earth-moon system (365.2421987 days)

@ = 27.32166088 days x 360 degrees  / 365.2421987 days = 26.92952225 degrees
 

source
http://www.speed-light.info/angels_speed_of_light.htm
http://www.deentoday.com/subindex.php?page=show&id=51


จากคุณ...ดาบจันทร์เสี้ยว ณ พันทิป

_________________________________________________________


ทฤษฎีสัมพัทธภาพ มาจากคำว่า Relativity 
ซึ่งเป็นทฤษฎีที่อธิบาย ถึงความสัมพันธ์ ของ 2 สิ่งที่เป็นผลเกี่ยวเนื่องกัน 
เช่นการอธิบายความเร็วแสง กับ มวลของวัตถุ ซึ่ง 2 สิ่งสัมพัทธ์กันอยู่

หมายถึง ว่า  A จะมีค่าเท่านั้นเท่านี้ เมื่อ B แปรผันไปเท่านั้น เท่านี้  เป็นต้น 
ซึ่งหมายความ A จะไม่มีค่าตายตัว แต่จะแปรผันตามค่าของ B
ลักษณะแบบนี้ เรียกว่า สัมพัทธ์ ครับ


---------------------------------

ส่วนกรณีที่ศาสนาพุทธ อ้างว่าเป็นศาสนาแห่งวิทยาศาสตร์นั้น  มีส่วนจริง
แต่ไม่ทั้งหมดครับ

คือ  เราต้องเข้าใจก่อนว่า  วิทยาศาสตร์นั้น ไม่ใช่ ความจริงสูงสุดครับ ...
แต่วิทยาศาสตร์เป็นเพียงแค่เครื่องมือพิสูจน์ความจริงเท่านั้น

การที่ศาสนาพุทธเข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์นั้น หมายถึง ส่วนของปรัชญา
และวิธีการคิดเท่านั้นครับ

เพราะหัวใจสำคัญ ของการพิจารณาปรัชญาในศาสนาพุทธก็คือ
การใช้สติปัญญาไตร่ตรอง จากเหตุไปหาผล  ผลไปหาเหตุ ครับ

หมายความว่า ปรัชญาของพุทธนั้นวางอยู่บนตรรกวิทยา แขนงหนึ่งครับ
( ซึ่ง ถูก หรือ ผิด อีกเรื่อง )

ดั่งที่ พระสารีบุตรได้กล่าวว่า  "ธรรมใดเกิดแต่เหตุ ตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมนั้น
และความดับไปของเหตุแห่งธรรมนั้น"

จุดนี้เอง ที่ทำให้วิธีการและปรัชญาของของพุทธศาสนานั้น เข้ากันได้กับวิทยาศาสตร์

ส่วนที่พุทธศาสนา ไม่ตรงกับวิทยาศาสตร์นั้น ก็มีอยู่มากมายครับ 
เพียงแต่ส่วนเหล่านั้นไม่ใช่แก่นของศาสนาพุทธ  ก็เลยไม่ได้รับผลกระทบ
จากการโจมตีของพวก วิทยาศาสตร์วัตถุนิยม เท่าไหร่ครับ

อ้างจากคุณ kheedes จากอันนิสาอฺเสวนา

___________________________________________________________


ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะด้วยนะคะ


วัลลอฮุอะลัม

^_________^
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 11, 2009, 02:31 PM โดย dho_dho »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ ILHAM

  • เพื่อนตาย T_T
  • *****
  • กระทู้: 11348
  • เพศ: ชาย
  • Sherlock Holmes
  • Respect: +273
    • ดูรายละเอียด
    • ILHAM
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: ก.ย. 11, 2009, 07:17 AM »
0
สงสัยมานานแล้ว ตั้งแต่ในค่ายโอฯ พอดีไม่ถามอาจารย์
คืออยากรู้ว่า ดาวที่ระยะทางไกลมากๆที่เขาเอามาเทียบนี้ คือดาวอะไรหรือ แล้วทำไมต้องเป็นดาวนั้น
إن شاءالله ติด ENT'?everybody

Sherlock Holmes said "How often have I said to you that when you have eliminated the impossible, whatever remains, however improbable, must be the truth?"
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: ก.ย. 11, 2009, 11:44 AM »
0
สงสัยมานานแล้ว ตั้งแต่ในค่ายโอฯ พอดีไม่ถามอาจารย์
คืออยากรู้ว่า ดาวที่ระยะทางไกลมากๆที่เขาเอามาเทียบนี้ คือดาวอะไรหรือ แล้วทำไมต้องเป็นดาวนั้น

 salam

อิลฮามหมายถึง Sidereal (เทียบกับดาวดวงอื่น)หรือเปล่าคะ

งั้นพี่ยกบทความที่แปะไว้ข้างล่างมาสังเคราะห์เน้อ

_________________________________________________________ 


เวลา (Time)

คาบเวลา

Terrestrial day t (นับชั่วโมง/1วัน)
Synodic (สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์) >>> 24 hours = 86400 sec
Sidereal (เทียบกับดวงดาวอื่น) >>>  23 h 56 min 4.0906 sec = 86164.0906 sec

Lunar Month T (นับวัน/1เดือน)
Synodic (สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์) >>> 29.53059 days
Sidereal (เทียบกับดวงดาวอื่น) >>> 27.321661 days = 655.71986 hours

มุสลิม ใช้ระบบ Sidereal (สัมพันธ์กับดวงดาวอื่น)
เพื่อกำหนด เวลาโคจรของดวงจันทร์ lunar month (T), และใช้ค่านี้ในการพิสูจน์

ดังนั้นเวลาที่เอามาคำนวณ คือ
**23 h 56 min 4.0906 sec = 86164.0906 sec
**27.321661 days = 655.71986 hours

__________________________________________________________

เอาเท่าที่พี่รู้ก่อนนะ...

หากจะถามเกี่ยวกับการเทียบกับดาวดวงอื่นนั้น
ก็หมายถึงเรื่องของ

Sidereal (เทียบกับดวงดาวอื่น) ซึ่งมีค่าเท่ากับ

27.321661 days = 655.71986 hours

แล้วไอ้ค่าที่ว่าได้มาแต่ใดกัน.....

พี่ขอเท้าความไปในประวัติศาสตร์ด้านโหราศาสตร์กับดาราศาสตร์นิดหน่อย
เพราะในอดีต โหราศาตร์กับดาราศาสตร์คือศาสตร์อันเดียวกัน
แต่ปัจจุบันได้แยกออกจากกัน

ซึ่งการทำนายที่มีการใช้มากที่สุดและมีหลักวิชาที่เป็นระบบมากที่สุด
คือการใช้ตำแหน่งดวงดาวในการทำนาย ซึ่งเป็นความหมายเฉพาะของคำว่า
โหราศาสตร์ (astrology) ภาษาอังกฤษมาจากภาษาลาตินและกรีก astron (ดวงดาว) กับ logia (ความรู้) รวมกันคือความรู้เกี่ยวกับดวงดาว

ส่วนภาษาไทยคำว่าโหราศาสตร์รับมาจากอินเดีย
เกิดจาก โหรา ที่มาจาก อโหราตร์ หรือ อโหรตฺตํ แปลว่าวันและคืน
กับศาสตร์คือความรู้ รวมกันคือความรู้เกี่ยวกับวันและคืน
หรือความรู้เกี่ยวกับเวลา ดวงดาวกับเวลามีความเกี่ยวเนื่องกัน
เพราะเรากำหนดเป็นเวลาต่าง ๆ ได้ด้วยอาศัยการเคลื่อนที่ของโลก
ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์

(ดูได้ในพจนานุกรมวิทยาศาสตร์)

โหราศาสตร์ที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างดวงดาวกับชีวิตมนุษย์นี้
เป็นความรู้อันเก่าแก่ของมนุษย์สาขาหนึ่ง เพราะสิ่งที่มนุษย์ทุกยุคทุกสมัยมองเห็น
บนท้องฟ้าก็คือดวงดาว กลางวันเห็นดวงอาทิตย์ กลางคืนเห็นดวงจันทร์
และหมู่ดวงดาวมากมาย มนุษย์จึงรู้จักดวงดาวตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดขึ้นบนโลก

เมื่อก่อนวิชาโหราศาสตร์กับดาราศาสตร์เรียกได้ว่าเป็นวิชาเดียวกัน
การอธิบายความเป็นมาจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องกล่าวถึงทั้งสองศาสตร์
ไปพร้อมๆกันเพื่อแยกแยะให้เห็นภาพ

ส่วนดาราศาสตร์นั้นคือการใช้หลักของวิทยาศาสตร์และเครื่องมือ
ในการนวณเกี่ยวกับดวงดาว

ซึ่งเราต้องเข้าใจว่าโหราศาสตร์นั้นอิสลามไม่สนับสนุนเพราะมีหลักความเชื่อ
ในเรื่องเทพเจ้า มีการทำนายทายทักในเรื่องของอนาคต
และแน่นอนว่าการเชื่อในโหราศาสตร์ย่อมผิดในหลักการของอัลอิสลาม
เพราะอะไรที่ไม่มีในอัลกุรอานย่อมไม่ใช่สัจธรรม

หากแต่เรื่องของดาราศาสตร์นั้นต่างกันเพราะวิทยาศาสตร์จะ
ใช้หลักในการวิเคราะห์ด้วยวิทยาศาสตร์ ใช้ตรรกวิทยา
หาได้เกี่ยวกับความเชื่อและคำทำนายไม่
แม้สิ่งที่ใช้อ้างอิงคือดวงดาวเหมือนกันก็ตาม

ที่ยกมานั้นเพื่อจะอธิบายต่อในเรื่องของที่มาของค่าตัวเลข

27.321661 days = 655.71986 hours
หรือที่เรียกว่า Sidereal month

วัลลอฮุอะลัม

....มีต่อจ้า....
 

 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 12, 2009, 12:40 AM โดย dho_dho »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: ก.ย. 11, 2009, 02:25 PM »
0
จากบทความที่ว่า

มุสลิม ใช้ระบบ Sidereal (สัมพันธ์กับดวงดาวอื่น)
เพื่อกำหนด เวลาโคจรของดวงจันทร์ lunar month (T), และใช้ค่านี้ในการพิสูจน์

ดังนั้นเวลาที่เอามาคำนวณ คือ
**23 h 56 min 4.0906 sec = 86164.0906 sec
**27.321661 days = 655.71986 hours
_________________________________________________________

เราต้องกลับไปดูว่าSidereal Mont คืออะไร แล้วได้มาอย่างไง

"Sidereal month"

The period of the Moon's orbit as defined with respect
to the celestial sphere (known as esthers) is known as a sidereal month
because it is the time it takes the Moon to return to a given
position among the stars (Latin: sidus): 27.321661 days
(27 d 7 h 43 min 11.5 s). This type of month has been
observed among cultures in the Middle East, India, and China
in the following way: they divided the sky into 27 or 28 lunar mansions,
identified by the prominent star(s) in them.

_______________________________________________

แล้ว lunar mansion คืออะไร


lunar mansion is one of the 27 divisions of the sky,
identified by the prominent star(s) in them, used in Jyotisha.[1]

“Lunar Mansions and Signs in Cosmic Perspective.” 
Here we have various mansions assigned to classifications:


และจาก "used in Jyotisha"

"Jyotisha" คืออะไร


    In the astrological literature of India the 27 or 28 divisions of the  sky
are referred to under diverse terms: nakshatras, stars, constellations, 
asterisms and most recently, lunar mansions. The correct term today is
lunar  mansions because the ancient nakshatras once identified
as single stars or  asterisms no longer align well with today's 27
equal divisions of the ecliptic.  Their meanings have changed,
sometimes drastically. That contemporary authors  recognize
the evolution of the nakshatras or lunar zodiac is reflected
in such  titles as Mansions of the Moon:
The Lost Zodiac of the Goddess  (Kenneth Johnson, 2002)
and The 27 Celestial Portals (Prash Trivedi, 2004).

และ

The ancient 28 nakshatras have evolved into something entirely
different  from their original form when they were linked to one
or more of India's  ancient deities. This is why I am undertaking
a review of the literature from  the time the mansions
or nakshatras were first mentioned in relation to  astrological use.
Principally I'm focusing on recent years
because this is when  most of the innovation has taken place.


และ The ancient 28 nakshatras คืออะไร

Each of the nakshatras is governed as 'lord' by one of the nine graha
in the following sequence: Ketu (South Lunar Node), Shukra (Venus),
Ravi or Surya (Sun), Chandra (Moon), Mangala (Mars),
Rahu (North Lunar Node), Guru or Brihaspati (Jupiter),
Shani (Saturn) and Budha (Mercury).

This cycle repeats itself three times to cover all 27 nakshatras.
The lord of each nakshatra determines the planetary period
known as the dasha , which is considered of major importance
in forecasting the life path of the individual.


ที่มา:

http://en.wikipedia.org/wiki/Month#Sidereal_month
http://en.wikipedia.org/wiki/Lunar_mansion
http://en.wikipedia.org/wiki/Jyotisha
http://www.snowcrest.net/sunrise/AANakshatra%20History.htm


_______________________________________________________________

ที่พี่ต้องเอาภาษาอังกฤษ(ที่พ่ีเองก็อ่อนหัดนัก)มาอ้างอิง
เพราะว่าหาในภาษาไทยแล้วไม่เจอ เลยต้องพึ่งวิกิฯในภาษาอื่น
แล้วจะเอาตำราภาษาญี่ปุ่นที่พี่เรียน(ซึ่งถนัดกว่าอังกฤษนิดนึง)มาแปะด้วยก็ไม่ได้
เลยต้องยกตามความเข้าใจของพี่

ดังนั้นพี่ขอสรุปตามความสามารถที่จะเข้าใจในภาษาอังกฤษ
บวกกับพื้นความรู้ที่เรียนมา(แค่หางอึ่ง)ว่า

ในอารยธรรมชาวเมโสโปเตเมีย ได้แก่ ชาวอินเดีย ชาวบาบิโลเนีย ชาวคาลเดีย
และชาวอียิปต์ มีความเจริญทางวิชาดาราศาสตร์

เมื่อก่อนชาวอียิปต์โบราณมีความชำนาญในการวัดตำแหน่งของดวงดาว
และบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่น่าสนใจบนท้องฟ้าไว้ประมาณ2500 ปีก่อนคริสตกาล

ชาวอียิปต์หาได้ว่า 1 ปีมี 365 วัน แบ่งออกเป็น 12 เดือน เดือนหนึ่งมี 30 วัน
ยกเว้นเดือนสุดท้ายมี 35 วัน และยังพบว่าทุก ๆ 4 ปี จะมีวันขาดหายไป 1 วัน

ความรู้ทางดาราศาสตร์ของอียิปต์ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับศาสนาเป็นส่วนใหญ่
มีความเชื่อว่า ท้องฟ้า โลกและอากาศ เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดขึ้น

ส่วนชาวจีนนั้นสามารถหาได้ว่า 1 ปี มี 365 วัน เมื่อ 2500 ปีก่อนคริสตกาล
มีการสร้างปฏิทินช่วยในการทำนายการเกิดอุปราคา

ซึ่งชาวจีนโบราณถือว่าการเกิดสุริยุปราคา จะต้องมีการเซ่นไหว้เพื่อเอาอกเอาใจ
พระผู้เป็นเจ้า และชาวจีนเป็นชนชาติแรกที่ทราบว่าดวงจันทร์เคลื่อนที่จากทิศตะวันตกผ่านกลุ่มดาวต่าง ๆ บนท้องฟ้าไปยังทิศตะวันออก ใช้เวลาครบรอบประมาณ 28 วัน

ดังกล่าวนั้นจะเห็นได้ว่า

Sidereal Mont นั้นคือ การที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่จากทิศตะวันตก
ผ่านกลุ่มดาวต่างๆบนท้องฟ้าไปยังทิศตะวันออก ใช้เวลาครบรอบประมาณ28วัน
ส่วนของชาวอินเดียโบราณคือ 27หรือ28 วัน ซึ่งคือค่่าของจำนวนวันในหนึ่งเดือน
เมื่อเทียบกับดวงดาวอื่นๆ ซึ่งถ้าถามว่่ามีดาวอะไรบ้างที่มีชื่อเสียง
(the prominent star(s)) ก็คือ Jyotisha

และ Jyotisha คืออะไร
Jyotisha คือการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์ผ่านดวงดาวต่างๆจนครบรอบ27วัน

แล้วดาวที่ว่ามีชื่อเสียงตามหลักของอินเดียโบราณ (The ancient 28 nakshatras)
มีดังนี้

1. Ketu (South Lunar Node)
2.Shukra (Venus)
3.Ravi or Surya (Sun)
4.Chandra (Moon)
5.Mangala (Mars)
6.Rahu (North Lunar Node)
7. Guru or Brihaspati (Jupiter)
8.Shani (Saturn)
9.Budha (Mercury)

สรุปตามความรู้ที่พี่ศึกษามาก็คือ

Sidereal Mont = 27.321661 days (27 d 7 h 43 min 11.5 s)

(จากบทความด้านบน)

ดังนั้น


Sidereal (เทียบกับดวงดาวอื่นหรือทางดาราคติ)
คือ 27.321661 days = 655.71986 hours

เนื่องจากดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านดวงดาวต่างๆจากทิศตะวันออก
ไปยังทิศตะวันตกครบรอบในเวลา28วันตามจีนโบราณ
และ27หรือ28วันตามอินเดียโบราณนั่นเอง

ส่วนทศนิยมที่ตามหลังมานั้นเกิดจากการนำความรู้และทฤษฎีของชาวจีนโบราณ
กับอินเดียโบราณมาคำนวณตามหลักการและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งเป็นค่าในปัจจุบันที่มีความละเอียดมากขึ้น
(ซึ่งก็ไม่รู้ว่าอีกหลายปีข้างหน้าจะยังเท่าเดิมอีกมั้ย)

นั่นคือความคาดเคลื่อนที่สามารถเกิดขึ้นได้เสมอเมื่อวิทยาศาสตร์
และเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆได้รับการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

เสริมอีกนิด

ตำแหน่งดวงดาวบนท้องฟ้านั้นจะมีตำแหน่งที่ค่อนข้างแน่นอน
ทั้งนักดาราศาสตร์และโหราศาสตร์จึงใช้ตำแหน่งของดวงดาวในการศึกษา

และการที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านดาวต่างๆไปพร้อมๆกับโคจรรอบดวงอาทิตย์
ในขณะที่โคจรรอบโลกและหมุนรอบตัวมันเองไปด้วยนั้น
ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆบนท้องฟ้า เกิดการนับจักราศี
การแบ่งว่าเดือนไหนราศีอะไร การแบ่งฤดูกาล ฤดูไหนอยู่ระหว่างเดือนอะไร
แล้วเดือนไหนคือเดือนแรกแห่งการเริ่มต้นศักราชนั้น
ก็จะใช้ตำแหน่งของกลุ่มดวงดาวมาเป็นตัวกำหนด

เพราะว่าสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลต่อโลกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล
และดาวที่ยึดนั้นไม่ใช่แค่เพียงดาวเคราะห์อย่างเดียว
แต่หมายรวมไปถึงกลุุ่มดาวต่างๆบนท้องฟ้าด้วย

ซึ่งหากสังเกตุเราจะเห็นว่า การนับจักราศีนั้นจะคาบเกีี่ยวกับเดือนในทางสุริยคติ
(ที่บ้านเราและตะวันตกทั่วไปนับกัน)
ซึ่งว่ากันตามหลักกันแล้ว หากให้แม่นยำและละเอียดกว่านั้น
คือการนับตามจันทรคติ(อย่างที่อิสลามและประเทศจีนใช้กัน)

เรื่องความต่างของการนับวันตามสุริยคติและจันทรคตินั้นจำได้ว่าเคยอ่านมาแล้ว
จากทั้งในหนังสือและในเนต
แต่ขอหาหลักฐานแน่นๆก่อนนะว่าเขาคำนวณกันอย่างไร ทำไมถึงได้ค่่าดังข้างบน

แล้วประวัติเกี่ยวกับการเกิดการนับเดือนแบบสุริยคติที่ตะวันตกนับกัน
มันน่าเชื่อถือและแม่นยำสักแค่ไหน แล้วทำไมอิสลามและจีนถึงได้นับแบบจันทรคติ
ซึ่งมันมีจารึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ ขอพี่ไปค้นก่อนแล้วจะนำมาเสวนาต่อนะคะ

บอกได้แค่เพียงว่า นับแบบอิสลามนั้นดูแม่นยำและละเอียดกว่ามาก

แต่เอาลิงก์นึงมาฝากให้อ่านไปพลางๆก่อน

http://www.halalthailand.com/olips/index.php?page=content&category=15&subcatname=&subcat=&id=511


สุดท้าย

สิ่งที่นำเสนอไปนั้น เป็นเพียงแค่สิ่งที่พ่ีเรียนรู้และศึกษามาเท่านั้น(ซึ่งมันน้อยนิดนัก)
ย่อมมีผิดพลาดบ้างเป็นธรรมดา ทางที่ดีอิลฮามควรจะถามอาจารย์ท่านอื่นๆด้วย
อย่างน้อยหลายหัวก็ดีกว่าหัวเดียว...
หากได้ความว่าอย่างไรก็อย่าลืมเอามาฝากพี่บ้าง
ถือเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้กัน

เพราะหากสังเกตุกระทู้ที่พี่นำมาโพสและอ้างอิงไปนั้น
ส่วนใหญ่เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากหลายๆแหล่งตามหลักวิทยาศาสตร์
ซึ่งเรารู้ดีว่าวิทยาศาสตร์นั้นเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
ที่ว่ากันตามเหตุและผลที่ปัญญามนุษย์พอไปถึงเท่านั้น
หากมีทฤษฎีที่สมเหตุสมผลกว่ามาหักล้างในภายหลัง ทฤษฎีเก่าก็เป็นอันล้มเลิกไป

ทว่า อัลกุรอานมิใช่เช่นนั้น
วิทยาศาสตร์เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในอัลกุรอาน แต่ไม่ใช่ทั้งหมดที่อัลกุรอานเป็น...
เมื่อความจริงประจักษ์แก่สายตา เราทั้งหลายก็จะรู้ว่าสัจธรรมนั้นมีแค่หนึ่งเดียว

และหากสังเกตุ เราจะเห็นว่า นักวิทยาศาสตร์ที่ไม่เชื่อในอัลเลาะฮฺตาอาลา
ไม่เชื่อในอัลกุรอาน และมีหลายคนที่ปฎิเสธอัลกุรอานตั้งแต่อดีตยันปัจจุบัน
กล่าวหาว่่าอัลกุรอานเป็นแค่กวีที่นบี ซอลลอลลอฮุอาลัยอิวาซัลลัมแต่งขึ้น
โดยมิยอมลองอ่านและไตร่ตรองดู

แต่ทว่า สิ่งที่พวกเขาค้นพบในภายหลังจากอัลกุรอานถูกประทานลงมา
สิ่งที่พวกเขาพยายามทดลองและค้นหาด้วยสติปัญญาและความรู้ของเขา
ใช้สิ่งที่เขาเรียกว่าตรรกวิทยา และคิดค้นเครื่องมือต่างๆมาหาข้อพิสูจน์ความจริง
หากสิ่งเหล่านั้นที่เขาค้นพบกลับถูกจารึกเอาไว้ในอัลกุรอานแล้ว

ยิ่งพวกเขาค้นหา ยิ่งพวกเขาเข้าใกล้ความจริงมากขึ้นเท่่าใด
พวกเขาก็จะยิ่งรู้ว่ามีสิ่งหนึ่ง และสิ่งเดียวเท่านั้นที่เป็นสัจธรรม
และมีมาก่อนที่พวกเขาจะได้เรียนและได้รู้เสียอีก
เพราะความรู้ทั้งมวลที่พวกเขาได้รับล้วนมาจากอัลเลาะฮฺตาอาลาทั้งสิ้น
ซึ่งพระองค์เท่่านั้นที่รู้จริงยิ่งกว่าใคร
และเป็นเจ้าของความรู้อย่างแท้จริง...

ซึ่งความจริงที่พวกเขากำลังค้นหาอยู่นั้นก็คือการเดินทางกลับมาสู่อัลกุรอาน
ที่พวกเขาเคยปฏิเสธมาตลอด...
แล้วท้ายที่สุด สัจธรรมก็มีแค่หนึ่งเดียว นั่นก็คือ...อัลอิสลาม...

หากผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะด้วยนะคะ

วัลลอฮุอะลัม

วัสลามุอาลัยกุม

^_________^



 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 12, 2009, 01:08 AM โดย dho_dho »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: ก.ย. 14, 2009, 09:18 PM »
0
 salam

สำหรับหลายๆท่านที่คลางแคลงใจว่า การศึกษาวิทยาศาสตร์นั้น
ขัดกับหลักการอิสลามหรือไม่อย่่างไร วันนี้คนโพสได้หยิบยกบทความหนึ่ง
เพื่อนำมาให้ทุกท่านอ่านและไตร่ตรองกันค่ะ


ความรู้(Ilmu-Knowledge)ในความหมายของอิสลาม
 

      ความรู้เป็นของสากล มนุษย์มีความรู้ได้เกิดจากการเมตตาและปรานี
จากพระผู้เป็นเจ้า(อัลลอฮฺ)

อัลลอฮฺประทานความรู้แก่มนุษย์โดยผ่าน 2 แนวทาง คือ

1.วะฮฺยู(Revelation)
   
     อัลลอฮฺทรงประทานความรู้แก่บุคคลที่พระองค์ทรงประสงค์โดยการวะฮฺยู
บุคคลกลุ่มนี้ถูกคัดเลือกเป็นพิเศษ ได้แก่บรรดานบีและรศูล(ศาสนทูต)
ความรู้เหล่านี้ล้วนเป็นสัจธรรมแห่งชีวิตมนุษย์ บรรดาศาสนทูตเหล่านี้
จึงไปสั่งสอนมวลมนุษย์ทั้งหลาย
ตลอดกาลเวลาอันยาวนานของโลกนี้ อัลลอฮฺส่งศาสนทูตมาแล้วเป็นหมื่นเป็นแสนคน
มาสั่งสอนมนุษย์ตามยุคตามสมัย
      ในอิสลามถือว่า ศาสดาท่านสุดท้ายที่อัลลอฮฺส่งมาคือ
ท่านศาสดามูฮำหมัด ซอลลอลลอฮุอะลัยอฮิวะซัลลัม
และจะไม่มีศาสดาท่านอื่นๆอีกแล้ว

มนุษย์คนใดที่ได้รับทางนำจากท่านศาสดา นับว่าเป็นบุคคลที่ได้รับความปรานี
จากอัลลอฮฺเป็นอย่างยิ่ง

ความรู้ตามข้อ 1 นี้ คือ กุรอานและสุนนะฮฺ มนุษย์ไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข
กุรอานและสุนนะฮฺ ดังนั้นกฏเกณฑ์ในกุรอานและสุนนะฮฺ เป็นสัจจะเสมอ
การปรับปรุงแก้ไข หรือการทำ บิดอะฮฺ หรือ นวตกรรม(innovation)จึงทำไม่ได้ 
สัจธรรมเหล่านี้ เช่น มนุษย์เกิดมาทำไม ตายแล้วจะเป็นอย่างไร
สิ่งใดที่มนุษย์ทำได้ ทำไม่ได้ เป็นต้น

2.การสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ หมายถึงสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหมด จักรวาลทั้งหมด
ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ขนาดใหญ่โตมโหฬารหรือเล็กจิ๋วปานใดก็ตาม
ความรู้ทั้งหมดอัลลอฮฺได้สร้างสรรค์ไว้ในวัตถุทั้งหลายเหล่านี้
มนุษย์เรียกมันว่า วิทยาศาสตร์ (Uloom)

ดังนั้นสิ่งทั้งหลายที่เราเรียกว่า ธรรมชาติ มันหมายถึงสิ่งสร้างสรรค์ของอัลลอฮฺ
ซุบฮานาฮุวะตาอาลา ความรู้ในเรื่องวัตถุเหล่านี้มันจึงไม่ขัดแย้งกับกุรอานและสุนนะฮฺ 

ดังนั้นหลักการใดๆทางวิทยาศาสตร์จึงไม่ขัดแย้งกับความเชื่อของมุสลิม
แม้ว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์นั้นมนุษย์ได้ค้นพบมานานแล้วหรือเพิ่งค้นพบ ณ วันนี้
และสิ่งที่มนุษย์จะได้เรียนรู้ต่อๆไปในอนาคต ล้วนเป็นสัจธรรมทางวัตถุ
ที่อัลลอฮฺ ซุบฮานาฮุวะตาอาลาได้สร้างสรรค์ไว้แล้ว

การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้และปรับปรุงแก้ไขเป็นสิ่งที่มนุษย์
สามารถกระทำได้ การทำนวตกรรมทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นการสร้างสิ่งใหม่ๆ
จากของเดิม

ดังนั้นงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยจึงเป็นสิ่งที่อนุมัติในอิสลาม
ในบางกรณีอาจจะกลายเป็นสิ่งบังคับในสังคมมุสลิมด้วยซ้ำไป
เช่น การป้องกันตัวเอง การเผยแผ่สัจธรรมของอัลอฮฺ ซุบฮานาฮุวะตาอาลา
การทำให้สังคมมุสลิมมีความสงบสุข เป็นต้น

นอกจากนี้ก็เป็นความรู้ในสาขาวิชาอื่นๆแม้ว่าไม่ได้เป็นวัตถุโดยตรง

อ้างอิงจาก:เวบไซต์อิสลามและวิทยาศาสตร์

วัลลอฮุอะลัม

^_______^

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: ก.ย. 14, 2009, 09:44 PM »
0
 salam

"การกำเนิดจักรวาล"


ความว่า

"บรรดาผู้ไร้ศรัทธาไม่สังเกตุดอกหรือว่า ที่จริงฟากฟ้าและแผ่นดินแต่เดิม
ผนึก(ratqan) เป็นชิ้นเดียวกัน ต่อมาเราจัดการแยกมันทั้งสองออกจากกัน
และเราได้สร้างสิ่งมีชีวิตมาจากน้ำ แล้วไฉนเล่า พวกเขาจึงไม่ศรัทธา"
ซูเราะฮฺ อัลอัมบิยะอฺ(21) อายัตที่ 30


ความว่า

"หลังจากนั้นพระองค์ทรงบันดาลฟากฟ้า ในขณะที่มันเป็นหมอกเพลิงอยู่
และตรัส แก่มันทั้งสองว่าจงเกิดตามคำสั่งเถิดจะโดยสมัครใจหรือฝืนใจก็ตาม
มันทั้งสอง กล่าวว่าเราทั้งสองเกิดโดยสมัครใจ"
ซูเราะฮฺ ฮา มีม(ฟุซซิลัต:41) อายัตที่ 11

                                                   

การกำเนิดจักรวาลในความคิดของนักวิทยาศาสตร์


    นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าจักรวาลมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด
เมื่อเริ่มต้นกำเนิดจักรวาลมันเริ่มจากจุดเล็กๆ ของอะไร บางอย่างที่ไม่ใครรู้ได้ 
สิ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นนี้เป็นวัตถุที่หลักการทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถอธิบายได้
และ กฏต่างๆทางวิทยาศาสตร์ไม่สามารถจะใช้ได้

กับสิ่งแรกๆนี้ นักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่า สาเหตุแรกเริ่ม(First cause)
หรือเรียกว่า หนึ่งเดียว(Singularity)

ภายในสิ่งแรกนี้ มีพลังงานมหาศาลและ แปรปรวนมาก มันไม่เสถียร

ในกุรอาน ซูเราะฮฺฮา มีม อายัตที่ 11 ข้างบนเรียกสภาวะแรกเริ่มนี้ว่า
ดุฆอน(Dukhan)สิ่งแรกเริ่มนี้คือทุกอย่างของจักรวาลในซูเราะฮฺอัลอัมบิยะอฺ
อายัตที่ 30 ข้างบนนี้คือ ฟากฟ้าและแผ่นดินเดิมมันผนึก
หรือหลอม(Ratqam)อยู่ด้วยกันจักรวาลเริ่มต้นนับเวลาเป็น 0

เมือสิ่งแรกเริ่ม(หนึ่งเดียว: Singularity)หรือดุฆอนนี้ระเบิดออกมา
หรือแยกออกมาตามในซูเราะฮฺอัลอัมบิยะอฺ อายัตที่ 30
นักวิทยาศาสตร์เรียกว่า การระเบิดครั้งใหญ่ (BIG BANG)
การเกิดบิกแบงทำให้จักรวาลเริ่มต้น


รูปข้างบนแสดงวิวัฒนาการของจักรวาล หลังจากการระเบิดครั้งใหญ่
จักรวาลเริ่มขยายตัวและเย็นลงที่เวลาประมาณเศษหนึ่งส่วนล้านของวินาที 

ในรูปคือ time อุณหภูมิของจักรวาลมากกว่า หนึ่งล้านล้านองศาเคลวิน
ในรูปคือ Tuniv (อุณหภูมิห้องที่ 27 องศาเซลเซียส
จะเท่า กับประมาณ 300 องศาเคลวิน)

จักรวาล ณ เวลานี้ จะจักรวาลประกอบด้วยส่วนผสมเป็นเนื้อ
ของอนุภาคขนาดเล็กมากๆ เช่น ควาก กลูออน อิเลคทรอนและนิวทรีโน
ในเวลาเศษหนึ่งส่วนหมื่นของวินาที อุณหภูมิของจักรวาลเย็นลงอยู่ที่
หนึ่งล้านล้านองศาเคลวินเนื้อของ อนุภาคต่างๆเริ่มก่อตัว
เป็น โปรตอน,นิวทรอน

เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 3 นาทีหลังระเบิด โปรตอน นิวทรอน
ก็จะเริ่มสร้างนิวไคล(แก่นของอะตอม)ของธาตุ ดิวเตอร์เรียม ฮีเลี่ยม
และลิเธียม

อุณหภูมิของจักรวาลอยู่ที่ หนึ่งพันล้านองศาเคลวิน
หลังจากระเบิดแล้ว สี่แสนปี จึงเริ่มสร้างอะตอมที่เป็นกลาง
อุณหภูมิอยู่ที่ สี่แสนเคลวิน หลังระเบิดหนึ่งพันล้านปี กลุ่มของอะตอมจึงเกิด
การรวมตัวด้วยแรงโน้มถ่วง(แรงดึงดูดระหว่างมวล)
สร้าง ดวงดาวต่างๆ อุณหภูมของจักวาลอยู่ที่ประมาณ 20-3 เคลวิน

เวลาหลังจากนี้(มากกว่าหนึ่งพันล้านปี) ไฮโดรเจนและฮีเลี่ยม
หลอมเข้าด้วยกันเป็นธาตุหนักต่างๆ

ถึงวันนี้หลังจากการระเบิดครั้งใหญ่ หนึ่งหมื่นห้าพันล้านปี
จักรวาลเป็นอย่างที่เห็นอยู่ อุณหภูมิของจักรวาล อยู่ที่ 3 เคลวิน

วิวัฒนาการที่กล่าวมานี้นักวิทยาศาสตร์มีหลักฐานต่างๆพิสูจน์ได้หลายกรณี
เช่น ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถวัดอุณหภูมิพื้นหลังของจักรวาลได้ว่า
มีค่าเท่ากับ 3 เคลวินตามที่เคยคำนวณไว้

สิ่งหนึ่งที่พิสูจน์ว่า ณ วันนี้การขยายตัวของจักรวาลยังคงมีอยู่
คือการที่นักวิทยาศาสตร์สามารถวัดได้ว่า ดวงดาวทุกดวงในจักรวาล
กำลังถอยหลังหนีออกจากโลก โดยการสังเกตุสเปคตรัมของแสง
ที่เกิดการเลื่อนทางแถบสีแดง(Red Shieft)
     
อัลกุรอานซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายัตที่ 48 ความว่า


" และเราได้แผ่(ขยาย)แผ่นดิน(จักวาล) แท้จริงเราเป็นผู้แผ่(ขยาย)ที่ยอดเยี่ยมที่สุด "

 
   เมื่อการขยายตัวของจักรวาลสิ้นสุดลง จักรวาลก็จะถูกแรงดึงดูด
ทำให้เกิดการยุบตัวอย่างรุนแรง นั้นเป็นจุดอวสานของสรรพสิ่ง(วันกิยามัต)



อ้างอิงจาก:เวบไซต์อิสลามกับวิทยาศาสตร์

วัลลอฮุอะลัม

^________^
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 05, 2009, 04:51 PM โดย nada-yoru »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: ก.ย. 14, 2009, 10:07 PM »
0
 salam

     
 "วันพิพากษาในเชิงฟิสิกส์"
(Physics of the day of judgment)


    การที่จะเข้าใจวันสิ้นสุดของจักรวาล(กิยามัต)ในเชิงวิทยาศาสตร์
โดยเฉพาะทางวิชาฟิสิกส์ เราจำเป็นต้องมีพื้นความรู้ทางจักรวาลวิทยา
(Cosmoligy)

จากอัลกุรอาน ซูเราะฮฺที่ 37 อัซซอฟฟาต อายัตที่ 16


ความว่า เมื่อเราตายไปแล้ว และกลายเป็นดินและกระดูก
แล้วเราจะพื้นขี้นอีกหรือ

การที่จะเข้าใจวันสิ้นสุดของจักรวาล(กิยามัต)ในเชิงวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะทาง
วิชาฟิสิกส์ เราจำเป็นต้องมีพื้นความรู้ทางจักรวาลวิทยา(Cosmoligy)

อนาคตของจักรวาล

 
         จักรวาลเริ่มต้นเมื่อประมาณ 15,000 ล้านปีมาแล้ว
เมื่อมีการระเบิดครั้งใหญ่ (Big Bang) ปัจจุบันจักรวาลกำลังขยายตัว(Expansion)
การขยายตัวของดวงดาวและกาแลคซี มีการสูญเสียพลังงาน
เมื่อขยายตัวถึงจุดสูงสุด พลังงานจาก BIG BANG ก็หมด
มวลทั้งหลายจะถูกแรงโน้มถ่วงดูดเข้าหากันอย่างรุนแรง
ทำให้จักรวาลเกิดการยุบตัวเข้าหากัน เรียกว่า THE BIG CRUNCH
ซึ่งจะทำลายทุกอย่างที่มนุษยรู้จัก ปรากฏการณ์ทั้งหลายจะย้อนกลับ

การยุบตัวของเอกภพและการย้อนกลับของเวลา
 
      เวลาเป็นสิ่งลึกลับ ไม่มีผู้ใดเข้าใจอย่างแท้จริง หากใช้นาฬิกาวัดเวลา เวลาจะช้าลง
ถ้าตัวเรือนนาฬิกาเคลื่อนที่เร็วขึ้น แล้วเวลาจะหยุดนิ่งที่ความเร็วแสง
เวลาที่ระดับสูงๆจะเร็วกว่าเวลาที่ระดับต่ำ เวลามีทิศทางพุ่งไปทางอนาคต
นักวิทยาศาสตร์เห็นว่า ถ้าเอกภพยุบตัว เวลาจะย้อนกลับได้

อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 21 อัลอัมบิยาอฺ อายัตที่ 104


ความว่า

"วันซึ่งเราจะม้วนฟ้าให้เหมือน(ม้วน)หน้าบันทึกรายงาน ดั่งเช่นที่เราได้ให้การเริ่มต้น
ในการสร้างครั้งแรก เราจะกลับคืนมัน เป็นสัญญาที่เรารับผิดชอบ
แท้จริงเราเป็นผู้กระทำ"

       โองการนี้ การยุบตัวของเอกภพเปรียบเสมือนการม้วนบันทึกกลับ
เมื่อเวลาย้อนกลับ ทำให้มนุษย์จะฟื้นกลับจากหลุมฝังศพ
ทุกอย่างถูกบันทึกในฟังชั่นของเวลา
วันนั้น(วันที่เวลาย้อนกลับ) มนุษยไม่มีอิสระที่จะเลือกกระทำอันใดไม่ว่าดีหรือชั่ว

อัลกุรอาน ซูเราะฮฺที่ 82 อัลอิมฟิฏอรฺ อายัตที่ 19



ความว่า

"เป็นวันที่ชีวิตหนึ่งไม่มีอำนาจเหนืออีกชีวิตหนึ่งแม้แต่สักกรณีเดียวก็ตาม
และการงานในวันนั้นเป็นของอัลลอฮฺ"


การย้อนกลับของเวลาและความโน้มถ่วง

      ความโน้มถ่วง(Gravity)จะเปลี่ยนแปลงตามความสูง ยิ่งสูง(ระยะยิ่งห่าง)
แรงดึงดูดระหว่างมวลยิ่งน้อย เวลาก็เปลี่ยนแปลงตามความสูง
เมื่อเกิดการยุบตัวที่เรียกว่า The Big Crunch ทำให้เวลาย้อนกลับ
ความโน้มถ่วงก็ย้อนกลับด้วย การย้อนกลับของความโน้มถ่วง
จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง ชนิดที่มนุษย์ไม่เคยพบมาก่อน
โลกจะเหวี่ยงหรือพุ่งสิ่งภายในของโลกออกมา โลกจะกลวง

ซูเราะฮฺที่ 99 อัซซัลซะละฮฺ อายัตที่ 1-2


ความว่า

"เมื่อแผ่นดินถูกทำให้ไหวรุนแรงและมันได้คายวัตถุธาตุอันหนักอึ้งของมันออกมา


ซูเราะฮฺที่ 84 อัลอินซิกอก อายัตที่ 3-4



ความว่า

"และเมื่อแผ่นดินถูกขยายให้ออกกว้าง และมันได้คายสิ่งที่มีอยู่ในมัน
และมันก็ว่างเปล่า"


มิติที่สี่(Higher Dimension)

        กาล-อวกาศ(Space & Time) มิติของเวลา เป็นมิติที่ 4
มนุษยไม่เข้าใจมันมากนัก เช่น ในมิติที่สี่ของเวลา ท่านสามารถพลิกด้านใน
ของลูกฟุตบอลกลมๆ ออกมาเป็นด้านนอกได้โดยไม่ต้องผ่าลูกฟุตบอลนั้น

       บริเวณที่มีความโน้มถ่วงสูงๆ เช่น หลุมดำ กฎต่างๆทางฟิสิกส์จะใช้ไม่ได้
หลุมดำเป็นเสมือน Singularity (สภาพแรกเริ่มของเอกภพ)
ตัวอย่าง การเข้าไปในหลุมดำเป็น(ประตู-Gate)ทะลุไปสู่มิติที่สูงกว่าได้

อัลกุรอาน ซูเราะฮฺที่ 78 อันนะบะฮฺ อายัตที่ 19


ความว่า

"และฟากฟ้าถูกเปิด ดังนั้นจึงปรากฏ เป็นประตู(หลายประตู)"


เมื่อไรจะถึงวันพิพากษา

      เอกภพขยายตัวด้วยอัตราเท่าเดิมตั้งแต่แรก นักวิทยาศาสตร์ไม่รู้
และไม่สามารถวัดอัตราการลดการขยายตัวของเอกภพ
เพราะเวลาขึ้นกับการขยายตัว ถ้ารู้อัตราการลดการขยายตัว
จะสามารถคำนวณเวลาสิ้นสุดได้ เพราะการวัดผู้วัดต้องอยู่นอกระบบ
ดังนั้นไม่มีไครทราบได้ นอกจากอัลอฮฺ ซุบฮานาฮุวะตาอาลา



อ้างอิงจาก:เวบไซต์อิสลามกับวิทยาศาสตร์

วัลลอฮุอะลัม

^______________________________^
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 05, 2009, 04:55 PM โดย nada-yoru »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัลกุรอานกับวิทยาศาสตร์
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: ก.ย. 14, 2009, 11:48 PM »
0
 salam


ขอนำลิงค์ที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์ในด้านดาราศาสตร์
มาแปะให้เข้าไปอ่านตามรายละเอียดกันข้างล่างนี้นะคะ

เพราะเหตุใดมุสลิมถึงเลือกใช้ปฏิทินจันทรคติ

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=1077.0

และ

การดูเดือนด้วยดาราศาสตร์อิสลาม

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=116.0

ขอให้สนุกกับการอ่านนะคะ

วัลลอฮุอะลัม

วัสลามุอะลัยกุม

^__________^

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 14, 2009, 11:50 PM โดย dho_dho »
"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

 

GoogleTagged