بسم الله الرحمن الرحيم
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته
ตามอะกีดะฮ์ซะละฟียะฮ์(ที่ถูกอ้าง) ไม่ใช่อย่างที่คุณมุนีรพูดหรอกนะครับ "พวกเขา"ที่คุณพูดถึงนั้นเขาบอกว่า
(เป็นบทความภาษาอาหรับโดยชมรมอัซซะละฟียูน แปลและเรียบเรียงโดย อ. อิสหาก พงษ์มณี)
"บิดอะห์ตัฟวีฏ
ตัฟวีฎ คือการยุติที่จะไม่พูดถึงความหมายของพระนามและคุณลักษณ์ของอัลเลาะห์ มีคนเข้าใจผิดคิดว่าวิธีการดังกล่าวเป็นแนวทางของซะละฟุซซอและห์ (บรรพชนที่ดีทั้งหลายในยุคต้นอิสลาม) แท้ที่จริงแล้วบรรดาบรรพชนเหล่านั้นหาได้ละเว้นความหมายของพระนามและคุณลักษณ์ของอัลเลาะห์ไม่ แต่ที่พวกเขาละเว้นก็คือการกล่าวถึงรูปแบบและวิธีการต่างหาก..........แต่คำว่าตัฟวีฎหมายถึงปฏิเสธที่จะพูดถึงทั้งวิธีการและความหมาย ซึ่งไม่ใช่แนวทางของซะละฟุซซอและห์ แต่ประการใด"
وأذكر جيدا أن ذلك كان حول صفة اليد .
فهو كالمفوضة يثبت لله يدا كما ورد ولكنه لا يقول يد الله يد حقيقية أو مجازية يقصد بها القدرة
بل يفوض تفويضا تاما .
وليس هذا هو مذهب أهل السنة بل هو مذهب المفوضة وهم شر من المتأولة لأن مذهبهم يتضمن تجهيل النبي صلى الله عليه وسلم فالصحابة كما ذكر شيخ الإسلام
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งคำพูดของท่านหนึ่งในกระดานเสวนาอาหรับเขาบอกว่า
"ผมยังจำได้ดีว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับศิฟะฮ์อัลยัด เขา(ดร.อับดุลบะเดียอ์ อ.ของ ม.อัลอัซฮัร)เหมือนพวกมุเฟาวิเฎาะฮ์ทั่วๆไป ยืนยันว่ามีอัลยัด(พระหัตถ์)อย่างที่มีระบุมา แต่ท่านไม่เคยพูดเลยว่าเป็นมือจริงๆ หรือเป็นมือที่เป็นอุปมาอุปมัยที่หมายถึง อำนาจ แต่เขามอบหมายทั้งหมดโดยสิ้นเชิง(ทั้งหมดนี่คืออะกีดะฮ์ที่คุณมุนีรพูดถึงข้างบนใช่มั้ยครับ...อ่านต่อนะ-aswar) แต่ดังกล่าวไม่ใช่มัซฮับอะฮ์ลิซซุนนะฮ์ แต่เป็นมัซฮับมุเฟาวิฎอฮ์ ซึ่งแย่กว่าพวกที่ตีความเสียอีก เพราะว่ามันหมายถึงการกล่าวหาว่าท่านนบีและบรรดาศอฮาบะฮ์เป็นพวกไม่รู้(ลักษณะอัลลอฮ์)อย่างที่ชัยคุลอิสลาม(อิมาม อิบนุตัยมียะฮ์)กล่าวไว้"
ดังกล่าวนี้ สรุปได้ว่า การมอบหมายทั้งรูปแบบวิธีการและความหมายนั้น เป็นแนวทางที่บิดอะฮ์ชั่วร้ายมากกว่าการตีความ(ตะวีล) ตามทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ และเป็นทัศนะที่วะฮาบีย์น้อมรับหลักการมา
เชค อัลเฟาซาน(คงรู้จักนะครับ) กล่าวว่า
"ظنوا أن مذهب السلف لا فهم فيه، وإنما هو تفويض نصوص الصفات دون فهم لمعانيها، ..................
وهذا الفهم لمذهب السلف مذهب باطل، ..........................................
وإنما مذهبم الإيمان بهذه النصوص كما جاءت، وإثبات معانيها التي تدل عليها على حقيقتها ووضعها اللغوي، مع نفي التشبيه عنها؛ "
"พวกเขา(อะชาอิเราะฮ์)คิดไปว่ามัซฮับสลัฟไม่ทำความเข้าใจ แต่พวกท่านจะมอบหมายตัวบทที่เกี่ยวกับคุณลักษณะโดยไม่ยุ่งกับความหมาย..............ความเข้าใจแบบนี้ผิดถนัด................ทัศนะจริงๆของพวกท่าน(สลัฟ)ก็คือว่าศรัทธาต่อตัวบทดังกล่าวตามที่มีระบุมา พร้อมทั้งยืนยันความหมายของมันอย่างตรงตัว ตามนัยยะทางภาษา"
ดังกล่าวนี้ สรุปได้ว่า วะฮาบีย์เชื่อว่า สะลัฟตามทัศนะของพวกเขานั้น รู้และสามารถอธิบายซีฟัตของอัลเลาะฮ์ได้ และอธิบาย(ตัฟซีร)ในเชิงภาษาได้
วิจารณ์เราลองมาดูทัศนะของสะลัฟฟุศศอลิหฺที่ แนวทางส่วนใหญ่ที่อะชาอิเราะฮ์ , อัลมะตุรีดียะฮ์ และ อัลอะษะรียะฮ์(อัลมุเฟาวิเฏาะฮ์ - มอบหมายทั้งความหมายและวิธีการ) ยึดถือกันครับ ว่าพวกเขามีหลักฐานยืนยันได้อย่างไร?
ในปัจจุบัน ต่างฝ่ายก็พยายามอ้างว่าอากิดะฮ์ของตนคือแนวทางของสะละฟุศศอลิหฺ กัลญาชนยุคแรกของอิสลาม โดยมุ่งเน้นประเด็นเรื่องการมอบหมายคุณลักษณะต่าง ๆ ของอัลเลาะฮ์ ไปยังพระองค์
ท่านชัยค์ ซอลิหฺ อัลเฟาซาน ได้กล่าวหลักการในเรื่องอากิดะฮ์ตามแนวทางของวะฮาบีย์ไว้ในหนังสือ "อัตเตาฮีด" ซึ่งเป็นหลักสูตรระดับซานาวีย์(มัธยม) ปีที่ 1 ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ใน หน้าที่ 65 บทย่อยที่ 2 ในหัวข้อเรื่อง
منهج أهل السنة والجماعة فى أسماء الله وصفاته
ซึ่งท่านชัยค์ ซอลิหฺ อัลเฟาซาน อุลามาอ์ท่านอาวุโสของวะฮาบีย์ ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
ويعتقدون أن نصوص الأسماء والصفات من المحكم الذى يفهم معناه ويفسر ولست من المتشابه
"พวกเขาเอี๊ยะติก๊อตว่า แท้จริง บรรดาตัวบทที่กล่าวถึงบรรดาพระนามและซีฟาต(ของอัลเลาะฮ์) นั้น
เป็นสิ่งที่ชัดเจน(มั๊วะกัม) ที่สามารถเข้าใจความหมายของมันได้ และสามารถอธิบาย(ตัฟซีรกับความหมายของมัน) ( يفسر معناه )ได้ และมันไม่ใช่มาจากมุตะชาบิฮะฮ์(ตัวบทที่มีความหมายหลายนัย)" อ้างจาก หนังสือ กิตาบ อัตเตาฮีด ของ ชัยค์ ซอและหฺ อัลเฟาซาน หน้า 65
จากหลักการอากิดะฮ์ของกลุ่มวะฮาบีย์นี้ เราสามารถสรุปได้ว่า วะฮาบีย์ทำการ ยืนยันและรู้ถึงความหมายที่แท้จริงของซีฟาตอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) เมื่อพวกเขารู้ความหมายแล้ว ก็ถือว่าสามารถ "ตัฟซีร" อธิบายความหมายของซีฟาตอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ได้อย่างไม่ต้องสงสัย
ดังนั้น การอธิบาย(ตัฟซีร)ความหมายกับบรรดาซีฟาตของอัลเลาะฮ์ตามหลักการของวะฮาบีย์นี้ จึงไม่ใช่แนวทางของสะละฟุศศอลิหฺ
เนื่องจากสะลัฟมอบหมายกับความหมายของมันโดยไม่ทำการอธิบาย ด้วยข้อยืนยันดังนี้
หลักฐานที่ 1ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานถึง ท่าน เกาะตาดะฮ์ ว่า
عن قتادة قوله : ( وما قدروا الله حق قدره والأرض جميعا قبضته يوم القيامة والسموات مطويات بيمينه) لم تفسر
ท่านอัลบัยฮะกีย์ได้กล่าวรายงานว่า " คำตรัสของอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ที่ว่า
( وما قدروا الله حق قدره والأرض جميعا قبضته يوم القيامة والسموات مطويات بيمينه)
ท่านเกาะตาดะฮ์
ไม่เคยทำการ(ตัฟซีร)อธิบายมันเลย" ดู อัลอัสมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า 312
คือหมายถึงว่า ท่านเกาะตาดะฮ์ ปล่อยว่างเอาไว้ ไม่ได้ทำการแตะต้องกับการอธิบายมันเลย คือผ่านมันไป โดยไม่ได้ให้ความหมายแบบวะฮาบีย์ที่อยู่ในเชิงภาษาแต่อย่างใด?
หลักฐานที่ 2ท่านอัซซะฮะบีย์กล่าวว่า
والمحفوظ عن مالك رحمه الله رواية الوليد بن مسلم أنه سأله عن أحاديث الصفات فقال : أمرها كما جاءت بلا تفسير
"สายรายงานที่ถูกเก็บบันทึกไว้ จากท่านอิมามมาลิก (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) กับสายรายงานของ อัลวะลีด บิน มุสลิม ว่า แท้จริง เขาได้ถามอิมามมาลิก จากบรรดาหะดิษซีฟาต ดังนั้น ท่านอิมามมาลิกกล่าวว่า "ท่านจะผ่านมันไปเสมือนที่มันได้มีระบุมา
โดยไม่อธิบาย(ตัฟซีร)" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 8 หน้า 105
หลักฐานที่ 3ท่านอัตติมีซีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ สุนันของท่านว่า
والمذهب في هذا عند أهل العلم من الائمة مثل سفيان الثوري ومالك بن أنس وابن المبارك وابن عيينة ووكيع وغيرهم أنهم رووا هذه الاشياء ثم قالوا :تروى هذه الاحاديث ونؤمن بها ، ولا يقال كيف ، وهذا الذي اختاره أهل الحديث أن تروى هذه الاشياء كما جاءت ويؤمن بها ولا تفسر ولا تتوهم ولا يقال كيف وهذا أمر أهل العلم الذي اختاروه وذهبوا إليه
"แนวทางในเรื่องนี้ ตามทัศนะของนักวิชาการจากบรรดานักปราชญ์ อย่างเช่น ท่านซุฟยาน อัษเษารีย์ , ท่านมาลิดบินอะนัส , ท่านอิบนุอัลมุบาร๊อก , ท่านอิบนุอุยัยนะฮ์ , ท่านวะเกี๊ยะอฺ , และท่านอื่นๆ ให้ทัศนะว่า พวกเขาเหล่านั้นได้ทำการรายงานบรรดาประการต่างเหล่านี้ หลังจากนั้น พวกเขาก็กล่าวว่า บรรดาหะดิษเหล่าวนี้ได้ถูกรายงาน โดยเราทำการศรัทธาด้วยกับมัน และไม่ถูกกล่าวว่ามันเป็นอย่างไร และนี้ก็คือสิ่งที่นักวิชาการหะดิษได้เลือกเฟ้นมัน โดยการรายงานประการต่างๆเหล่าวนี้ เสมือนกับที่มันได้มีมา และถูกศรัทธาด้วยกับมัน
โดยไม่ถูกอธิบาย(ตัฟซีรความหมาย) , ไม่คิดสงสัย และไม่ถูกกล่าวว่าเป็นอย่างไร และนี้คือสิ่งที่นักวิชาการได้เลือกและได้ให้ทัศนะไปยังมัน" ดู สุนัน อัตติรมีซีย์ เล่ม 4 หน้า 692
ตรงนี้ ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า มัซฮับสะลัฟ (ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางที่ 1 ของอัลอะชาอิเราะฮ์) นั้น จะไม่ได้ทำการตัฟซีรความหมาย แต่วะฮาบีย์ทำการตัฟซีรครับ เมื่อเป็นเช่นนี้ วะฮาบีย์จึงไม่ได้อยู่ในหลักการของสะลัฟ
หลักฐานที่ 4ท่านอิบนุ รอญับ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ฟัฏลุ อิลมิ อัสสะลัฟ อะลา อัลคอลัฟ ว่า
والصواب ما عليه السلف الصالح من إمرار آيات الصفات وأحاديثها كما جاءت من غير تفسير لها . . ولا يصح منهم خلاف ذلك البتة خصوصا الإمام أحمد ولا خوض في معانيها
"ที่ถูกต้องคือสิ่งที่ สะละฟุศศอลิห์ได้ดำเนินอยู่ จากการทำการผ่านไปกับบรรดาอายะอ์ซิฟาตและหะดิษซีฟัต เหมือนกับที่มันได้มีระบุมา
จากการไม่มีการอธิบาย(ตัฟซีรความหมาย)ให้กับมัน...และย่อมใช้ไม่ได้อย่างเด็ดขาดจากพวกเขา โดยการขัดแย้งกับสิ่งดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ท่านอิมามอะหฺมัด โดยที่ไม่มีการเข้ายุ่งเกี่ยวในบรรดาความหมายของมัน" ดูหน้า 30
จากคำยืนยันของท่าน อิบนุ รอญับ ชี้ให้เห็นว่า ที่ถูกต้องจากแนวทางของสะละฟุศศอลิหฺนั้น จะอ่านผ่านตัวบทมันไป โดยไม่มีการตัฟซีรควาวหมาย และไม่เข้าไปก้าวก่ายกับความหมายเลย และนั่นก็คือ แนวทางของอิมามอะหฺมัด อิบนุ หัมบัล เป็นการเฉพาะ โดยมีความแตกต่างกับวะฮาบีย์ที่รู้ความหมายและอธิบายความหมายกับซีฟาตของอัลเลาะฮ์
หลักฐานที่ 5ได้กล่าวรายงานถึงท่าน ซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ ว่า
ما وصف الله تبارك وتعالى بنفسه فى كتابه فقراءته تفسيره ، ليس لأحد أن يفسره بالعربية ولا بالفارسية
"สิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาด้วยกับพระองค์เองในคำภีร์ของพระองค์นั้น การอ่าน(ผ่าน)มันก็คือการอธิบายมันแล้ว
โดยที่ไม่อนุญาติให้คนใดคนหนึ่ง ทำการอธิบายมันด้วยภาษาอาหรับหรือภาษาเปอร์เซีย" ดู อัลอัศมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า
หลักฐานที่ 6ท่านอัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานถึง ท่านอัลฏอลิกอนีย์ ว่า
سمعت سفيان بن عيينة يقول : كل ما وصف الله تعالى من نفسه فى كتابه فتفسيره تلاوته . والسكوت عليه
"ฉันได้ยิน ท่านซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์ กล่าวว่า ทุกๆสิ่ง(ซีฟัต)ที่อัลเลาะฮ์ทรงพรรณาจากพระองค์เอง ในคำภีร์ของพระองค์นั้น
การอธิบายมัน ก็คือการอ่านมันไป(เท่านั้น) และทำการนิ่งเฉยต่อมัน" ดู อัลอัสมาอ์ วะ อัสศิฟาต หน้า 312
จากคำกล่าวของท่าน ซุฟยาน บิน อุยัยนะฮ์นี้ ชี้ให้เห็นว่า การอ่านมันผ่านไป ก็ถือเป็นการตัฟซีรแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเขาจึงไม่อธิบาย(ตัฟซีร)ความหมาย ซึ่งแตกต่างกับวะฮาบีย์ที่รู้ความหมายและอธิบายความหมาย
หลักฐานที่ 7ท่านอิมามอัตติรมีซีย์กล่าวว่า
نؤمن به كما جاءت من غير أن يفسر أو يتوهم
"เราศรัทธามัน เสมือนกับสิ่งที่ได้ระบุมา โดย
"ไม่ถูกตัฟซีร" หรือคิดสงสัย" ดู สุนัน อัตติรมีซีย์ กีตาบ อัตตัฟซีร หะดิษที่ 3045
หลักฐานที่ 8ท่านอัลวะเกี๊ยะอฺ บิน อัลญัรรอหฺ ได้กล่าวเกี่ยวกับบรรดาหะดิษซีฟาตว่า
كان إسماعيل بن خالد والثورى ومسعر يروون هذه الأحاديت، لا يفسرون منها شيئاً
"ท่านอิสมาอีล บิน คอลิต ท่านอัษเษารีย์ และท่านมิสอัร ได้ทำการรายงานบรรดาหะดิษเหล่านี้ โดยที่พวกเขา "
ไม่ได้ทำการตัฟซีร " สิ่งใดเลยจากมัน" ดู หนังสือ อัลอุลูว์ ของท่านอัซซะฮะบีย์ หน้า 150
หลักฐานที่ 9ท่านอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า
أما المتقدمون من هذه الأمة فإنهم لم يفسروا ما كتبنا من الأيات والأخبار فى هذا الباب
"สำหรับอุลามาอ์สะลัฟยุคก่อนจากประชาชาตินี้นั้น แท้จริง "
พวกเขาไม่เคยทำการตัฟซีร" กับสิ่งที่เราได้บันทึกมันจากบรรดาอายะฮ์และบรรดาหะดิษที่เกี่ยวกับเรื่องนี้" ดู หนังสือ อัลอัสมาอฺ วะ อัศศิฟาต หน้า 407
หลักฐานที่ 10ท่านอบู อุบัยดฺ กล่าวว่า
أنه ما ادراك أحدا يفسرها
"แท้จริง
ไม่มีอะไรทำให้ท่านรู้เลยว่าจะมีคนหนึ่งคนใดที่
ทำการตัฟซีรกับมัน" ดู หนังสือ ซัมมฺ อัตตะวีล ของท่าน อิบนุกุดามะฮ์ หน้า 30
หลักฐานที่ 11สะลัฟที่แท้จริงตามแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น พวกเขาจะไม่ทำการจำกัดความหมายของซีฟาตอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) เนื่องจากว่า พวกเขาไม่ทราบถึงเป้าหมายตามทัศนะของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)
لكنهم يعتقدون أن وراءها صفات ومعانى أستأثر الله تعالى بعلم مراده منها ، فأمنوا بها ، لا على مقتضى افهامهم اللغوية أو العقلية لها ، بل على مقتضى مراد الله تعالى منها ، وفى هذا تمام التسليم ، وكمال الانقياد
"แต่พวกเขา(สะลัฟ) เชื่อว่า แท้จิรง เบื้องหลังของมันนั้น มีบรรดซีฟาตและบรรดาความหมายที่อัลเลาะฮ์ทรงรอบรู้จุดมุ่งหมายจากมัน ดังนั้น พวกเขาจึงทำการศรัทธากับมัน โดยไม่
ได้อยู่ในนัยยะของความเข้าใจของพวกเขาตามหลักภาษาหรือสติปัญญา แต่ว่า (เข้าใจความหมาย)อยู่บนนัยยะความหมายที่พระองค์ทรงประสงค์ และในการนี้ ก็คือการสมบูรณ์ในการมอบหมายและสมบูรณ์ในการปฏิบัติตาม" ดู หนังสือซัมมฺ อัตตะวีล ของท่านอิบนุ กุดามะฮ์ หน้า 41
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งอีกว่า การที่สะลัฟทำการมอบหมายกับความหมายนั้น โดยไม่เจาะจงความหมายนั้น เพราะพวกเขาทำให้เกียรติและถือว่าเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่สำหรับเกียรติของความเป็นพระเจ้า จากการที่จะเข้าไปทำการให้ความหมายในเชิงภาษาที่มนุษย์เข้าใจกัน ซึ่งมันย่อมมีความบกพร่อง ถึงแม้เราจะกล่าวว่า "วิธีการไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร" สักพันๆครั้งก็ตาม
หลักฐานที่ 12ด้วยเหตุเช่นนี้ ท่านอิมามอะหฺมัดจึงกล่าวว่า
هذه الأحاديت نؤمن بها ونصدق ، لا كيف ولا معنى ، ولا نصف الله تعالى بأكثر مما وصف به نفسه
"บรรดาหะดิษเหล่านี้ เราได้ศรัทธานั้น และเชื่อ โดยที่ไม่มีวิธีการว่าเป็นอย่างไร
และไม่มีความหมาย(ที่เฉพาะ) และเราไม่พรรณากับคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ ให้มากกว่าสิ่งที่พระองค์ทรงพรรณาไว้กับพระองค์เอง" ดู หนังสือ ลุมอะฮ์ อัลเอี๊ยะติก๊อต ของท่าน อิบนุ กุดามะฮ์ หน้า 3
สายรายงานนี้ ยืนยันอย่างชัดเจนเลยว่า ท่านอิมามอะหฺมัด ไม่รู้ความหมายที่เจาะจงเลยเกี่ยวกับซีฟาตของอัลเลาะฮ์
หลักฐานที่ 13أمروها كما جاءت ،وردوا علمها إلى قائلها ومعناها إلى المتكلم بها
"พวกท่านจงอ่านผ่านมันไปเสมือนที่มันได้มีระบุมา และจงกลับคือการรู้มัน(บรรดาซีฟาต)ไปยังผู้ที่กล่าวมัน
และ(จงกลับคืน)กับ ความหมายของมัน ไปยังผู้ที่พูดด้วยกันมัน" ดู หนังสือ ซัมมุ อัลตะวีล ของท่านอิบนุกุดามะฮ์ หน้า 25
ตรงนี้ก็ชัดเจนครับว่า ความหมายบรรดาซิฟาตนั้น มอบหมายไปยังผู้ที่กล่าวมัน คือ อัลเลาะฮ์ และรอซูลของพระองค์
หลักฐานที่ 14ท่านอิบนุกุดามะฮ์ ได้กล่าวว่า
علموا أن المتكلم به صادق لا شك فى صدقه فصدقوه ، ولم يعلموا حقيقة معناها فسكتوا عما لم يعلموه
"พวกเขา(สะลัฟ)รู้ว่า แท้จริง ผู้ที่พูดกับมันนั้น เป็นผู้สัจจริง โดยไม่ต้องสงสัยในความสัจจริงของเขา ดังนั้น พวกเขาจึงยอมรับกับมัน
โดยที่พวกเขาไม่รู้ถึง"ฮะกีกัตความหมายของมัน" ดังนั้น พวกเขาจึงนิ่งจากสิ่งที่พวกเขาไม่รู้" ดู หนังสือ ซัมมฺ อัตตะวีล หน้า 25
หลักฐานที่ 15ท่านมุหัมมัด บิน อัลหะซัน กล่าวว่า
اتفق الفقهاء كلهم من المشرق إلى المغرب على الإيمان بالقرآن والأحاديث التي جاء بها الثقات عن رسول الله صلى الله عليه وسلم في صفة الرب عز وجل من غير تفسير ولا وصف ولا تشبيه، فمن فسر شيئاً من ذلك فقد خرج عما كان عليه النبي صلى الله عليه وسلم وفارق الجماعة
"บรรดาฟุเกาะฮาอฺ ทั้งหมดจากตะวันออกถึงตะวันตก เห็นฟ้องกันว่า ให้ศรัทธาต่ออัลกุรอ่านและบรรดาหะดิษที่เชื่อถือได้ ซึ่งรายงานมาจากท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอลฯ ใน สิฟัตของพระเจ้า ผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงสูงส่ง
โดยไม่มีการอธิบาย ไม่มีการพรรณาคุณลักษณะ และ ไม่มีการเปรียบเทียบ ดังนั้นผู้ใดตัฟสีร สิ่งใดจากนั้น(สิฟัตอัลลอฮ) แน่นอน เขาได้ออกจากสิ่งที่ท่านนบี ศอลฯ ยืนหยัดอยู่ และเขาแปลกแยกจากอัลญะมาอะฮ " ดู หนังสือ ซัมมฺ อัตตะวีล หน้า 6 ของท่าน อิบนุ กุดามะฮ์
คำกล่าวของท่านอิบนุกุดามะฮ์ นี้ ได้ยืนยันว่า บรรดานักปราชน์ฟิกห์ทั้งหมด จากทั่วทิศตะวันตกและตะวันออกนั้น ไม่ทำ "การตัฟซีร"ความหมาย เนื่องจากการตัฟซีรความหมายนั้น เป็นการออกจากแนวทางของท่านนบี(ซ.ล.) และแปลกแยกออกจากญะมาอะฮ์ ดังนั้น กลุ่มพี่น้องวะฮาบีย์จึงดำเนินอยู่ในแนวทางที่ออกจากแนวทางของท่านนบี(ซ.ล.) และแปลกแยกออกจากญะมาอะฮ์กระนั้นหรือ?? !!! วัลลอฮุอะลัม