ผู้เขียน หัวข้อ: ศาสนาต้องอำนวยประโยชน์แก่มนุษยชาติ: มูนีร์ ซาอิด ธาลิบ  (อ่าน 4882 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^


ไปเจอมาจากเวบพันทิป เกรงว่ามันจะหายไปเลยเอามาฝากจ่ะ  party:




สัมภาษณ์มูนีร์ : ศาสนาต้องอำนวยประโยชน์แก่มนุษยชาติ
โดย เกษียร เตชะพีระ  มติชนรายวัน วันที่ 05 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10009



สัปดาห์ที่แล้ว ผมแนะนำประวัติโดยสังเขปของ มูนีร์ ซาอิด ธาลิบ (ค.ศ.1965-2004) นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนชั้นนำ ผู้เปรียบเสมือน ทนายสมชาย นีละไพจิตร+สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ของอินโดนีเซีย เขาถูกฆาตกรรมทางการเมืองด้วยสารพิษ arsenic อย่างอุกอาจ ระหว่างเดินทางด้วยสายการบิน Garuda ไปศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 7 กันยายน ศกก่อน และทางการยังจับตัวฆาตกรและผู้บงการไม่ได้ตราบเท่าทุกวันนี้

ก่อนมูนีร์เสียชีวิตไม่นาน เขาเปิดใจให้สัมภาษณ์แก่ อูลิล อับชาร์-อับดัลลาห์-อดีตรองประธานองค์การ Nahalathul Ulama (NU) อันเป็นองค์การชาวมุสลิมใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซียระหว่างปี ค.ศ.1994-1999 และปัจจุบันเป็นประธานเครือข่ายอิสลามเสรี (Jaringan Islam Liberal, JIL) กับสถาบันศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Lakpesdam) -เกี่ยวกับปรัชญาการดำเนินชีวิต และศรัทธาศาสนาของเขา

ที่สำคัญมูนีร์ได้เล่าความหลังครั้งเป็นนักศึกษาที่เคยเข้าร่วมเคลื่อนไหวในองค์การอิสลามหัวรุนแรง รวมทั้งข้อคิด และประสบการณ์ที่ได้ ซึ่งทำให้เขาเปลี่ยนใจหันมาทำงานด้านสิทธิมนุษยชนแทนในเวลาต่อมา บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ตีพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก เป็นภาษาอินโดนีเซียเมื่อวันที่ 13 กันยายน ศกก่อน และแปลเป็นอังกฤษลงในเว็บไซต์ของเครือข่ายอิสลามเสรีภายหลัง

ดู http://islamlib.com/en/page.php?page=article&id=724


يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^


อูลิล : ในฐานะนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน คุณคงเคยครุ่นคิดเกี่ยวกับความหมายของอิสลามในชีวิตการทำงานของคุณมาแน่ๆ คุณเล่าให้เราฟังหน่อยได้ไหมครับ?

มูนีร์ : ผมเข้าไปพัวพันกับแนวทางศาสนาสุดโต่งหรือหัวรุนแรงจากปี ค.ศ.1984-1989 ตอนนั้นผมถึงกับพกมีดติดตัวไปไหนต่อไหน ในนามของการต่อสู้ขัดแย้งทางศาสนา แต่อันที่จริงแล้วผมอดรู้สึกไม่ได้ว่า มีอะไรบางอย่างขาดหายไปเกี่ยวกับหน้าที่ที่ศาสนาพึงมี

จนถึงจุดหนึ่ง ผมก็เริ่มตั้งคำถามว่าอิสลามบัญชาการให้ผมแยกตัวออกมาต่างหาก และโดดเดี่ยวตัวเองจากชุมชนอื่นจริงหรือ มันเหมือนเกิดการสู้รบกันในใจผมเกี่ยวกับประเด็นที่ว่า : เอาเข้าจริงศาสนาอิสลามดำรงอยู่เพื่ออัลลอฮ์ หรือว่าดำรงอยู่เพื่อมวลมนุษย์ในอันที่จะสรรค์สร้างสังคมที่ดีกว่านี้โดยทั่วไปขึ้นมากันแน่?

ผมพบว่าศาสนาถูกเผยประกาศเพื่อเป้าประสงค์ประการหลัง ผมเห็นด้วยกับกุสดูร์ (อดีตประธานาธิบดีอับดูร์ราห์มาน วาฮิด) ว่าพระผู้เป็นเจ้าไม่จำเป็นต้องมีองค์รักษ์มาปกป้องพระองค์ดอก ศาสนาต้องอำนวยประโยชน์แก่มนุษย์ เราพร่ำพูดถึงพรที่อิสลามประทานให้แก่เอกภาพ(rahmatan lilalameen) โดยไม่เข้าใจแก่นแท้ของมัน

ท้ายที่สุด ผมจึงออกจากกลุ่มอิสลามสุดโต่งดังกล่าว เนื่องจากมันเหลือวิสัยที่ผมจะอยู่รอดต่อไปไหว ในชุมชนที่แยกตัวต่างหากแบบนั้น ก็เพราะอิสลามเกื้อหนุนอารยธรรมนี่เอง อิสลามจึงพึงดำเนินงานเพื่อปรับปรุงชีวิตมนุษย์ให้ดีขึ้น

ตรงกันข้าม ทรรศนะสุดโต่งและไม่อดกลั้นอดออมทางศาสนาจะทำลายอารยธรรมของมนุษย์ลง คนจำนวนมากคิดว่าตนกำลังสร้างสรรค์สังคม กระนั้นก็ตาม ความจริงพวกเขากำลังสร้างสัญลักษณ์ ที่ทำลายอารยธรรมต่างหาก

อูลิล : ประสบการณ์ของคุณน่าสนใจในแง่ที่มันเป็นเรื่องของบุคคลที่เป็นสมาชิกของชุมชนอันดับสอง-  หมายถึงชุมชนทางศาสนา หรือชาติพันธุ์-แทนที่จะถือตนเป็นคนอินโดนีเซียอันดับแรกก่อนอื่นใดหมด?

มูนีร์ : บางครั้งความหลากหลายก็กระตุ้นให้เกิดทรรศนะสุดโต่งทางศาสนา หรือชาติพันธุ์ขึ้นมาเหมือนกัน ซึ่งพอเกิดแล้วมันก็จะถือว่ากลุ่มของตัวเองสำคัญอย่างเด็ดขาดสมบูรณ์ และมองข้ามกลุ่มอื่น นอกจากทรรศนะสุดโต่งระหว่างต่างศาสนาแล้ว ทรรศนะอย่างเดียวกันก็เกิดภายในหมู่สำนักคิดต่างๆ ร่วมศาสนาด้วย ในอินโดนีเซียเราได้เห็นการนองเลือดมากมาย เนื่องจากความหลากหลายของวิธีเข้าสู่ปัญหาของสำนักต่างๆ ทางศาสนา จนชีวิตดูเหมือนเป็นสงครามแย่งชิงพื้นที่ในสวรรค์กัน อันนี้แหละคือปัญญา

อูลิล : ตอนไหนครับที่คุณตีตัวออกห่างทรรศนะสุดโต่ง?

มูนีร์ : มันเกิดจากคำถามหนึ่งที่ มาลิค ฟาจาร์ อาจารย์ของผมตั้งขึ้นตอนนั้น (มาลิค ฟาจาร์ ได้ขึ้นเป็นรัฐมนตรีศึกษาธิการต่อมา-บรรณาธิการ) แกบอกว่า "ฉันไม่เคยเจอนักศึกษาโง่เง่าอย่างเธอเลย เที่ยวพกจิตใจสู้รบไปไหนต่อไหนในนามศาสนาเพื่อจะได้ควบคุมครอบงำคนอื่น"

สำหรับผมตอนนี้ อิสลามนั้นเสรีและยอมรับความหลากหลาย อิสลามจะไม่มีสิทธิอำนาจอันใดเมื่อไม่เผื่อแผ่พื้นที่ให้คนอื่น คำถามนี้กลายเป็นบทแย้งความคิดกระแสหลักของหลายกลุ่มตอนนั้น นิกายสุดโต่งที่ผมเคยสังกัดก็ไม่เผื่อแผ่พื้นที่ให้คนอื่นเหมือนกัน

อูลิล : คุณช็อคไหมครับตอนที่มาลิก ฟาจาร์ ดุคุณเรื่องนี้?

มูนีร์ : ช็อคครับ แต่ผมก็รู้สึกได้แรงดลใจด้วย

ตอนนั้นผมเป็นนักกิจกรรมในสมาคมนักศึกษาอิสลาม (HMI) คำวิจารณ์ประการที่สองของอาจารย์มาลิคแกว่าอย่างนี้ครับ : "เรียนรู้ศาสนาอิสลามที่แท้จริงซะ! ช่วยไปอ่านธรรมนูญของสมาคมนักศึกษาอิสลามทีเถอะ จริงหรือเปล่าที่สมาคมนี้ เอาแต่สร้างความขัดแย้ง หรือว่ามันมีภารกิจทางสังคมอยู่?"

ตอนหลังผมถึงพบว่า อิสลามตระหนักความจริงเรื่องความยุติธรรมในความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีผู้กดขี่กับผู้ถูกกดขี่อยู่ และอิสลามควรเข้าข้างผู้ถูกกดขี่ เพื่อสร้างความยุติธรรมขึ้นมา ผมคิดว่าอิสลามเป็นเรื่องของความยุติธรรม ไม่ใช่การแยกตัวออกไปต่างหากอย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ นี่แหละที่ทำให้ผมทิ้งทรรศนะสุดโต่งไว้เบื้องหลัง และผมได้พบชุมชนใหม่ที่ยอมรับความหลากหลายแทน

อูลิล : คุณโชคดีที่ผ่านพ้นทรรศนะสุดโต่งโดยอาศัยได้กัลยาณมิตรที่ดี และตื่นรู้ขึ้นมา แล้วกับพวกหัวสุดโต่งทุกวันนี้ล่ะ จะมีทางตื่นรู้เหมือนคุณไหม?

มูนีร์ : ผมคิดว่ามีทางนะครับ ปัญหาหลักอยู่ตรงทรรศนะสุดโต่งนั้นมุ่งหน้าหาอำนาจการเมือง แทนที่จะพยายามเข้าใจ ความไม่ยอมอดกลั้นอดออม ต่อคนอื่นอันเจ็บแค้นขมขื่นให้ลึกซึ้ง อันที่จริงทรรศนะสุดโต่ง ที่เกิดจากกิเลสตัณหาทางการเมืองเป็นอันตรายยิ่งกว่าความตื้นเขินทางศาสนาเสียอีก

ทุกวันนี้น่ะ ผมคิดว่าพวกหัวสุดโต่ง โน้มเอียงไปทางการเมืองมากกว่าเทววิทยาครับ



มีต่อ  hihi:
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^


"สัมภาษณ์มูนีร์ : ศาสนาต้องอำนวยประโยชน์แก่มนุษยชาติ (ตอนจบ)"

โดย เกษียร เตชะพีระ  มติชนรายวัน วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10016



(คำสัมภาษณ์ มูนีร์ ซาอิด ธาลิบ(ค.ศ.1965-2004) นักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชนชั้นนำ ผู้เปรียบเสมือน ทนายสมชาย นีละไพจิตร+สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ของอินโดนีเซีย เกี่ยวกับปรัชญาการดำเนินชีวิตและศรัทธาศาสนาของเขาต่อไปนี้ ให้ไว้แก่อูลิล อับชาร์-อับดัลลาห์ ประธานเครือข่ายอิสลามเสรีของอินโดนีเซียไม่นาน ก่อนเขาถูกฆาตกรรมทางการเมืองด้วยสารพิษ arsenic อย่างอุกอาจระหว่างเดินทางด้วยสายการบิน Garuda ไปศึกษาต่อที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 7 กันยายน ศกก่อน คำแปลบทสัมภาษณ์ข้างล่างนี้เป็นตอนจบต่อจากสัปดาห์ก่อน)





มูนีร์ : ผมคิดว่าทรรศนะสุดโต่งเกิดขึ้นเมื่อสถานการณ์ทางสังคม-การเมือง สร้างแรงกดดันที่คุกคามชุมชน อย่างไรก็ตาม มันก็มีเหตุผลทางศาสนาต่างๆ นานาที่ให้ความชอบธรรมกับแรงกดดันทางการเมืองด้วย

ตัวอย่างเช่น ผู้คนให้ความชอบธรรมกับการใช้โศลกที่ว่าชาวยิวและคริสเตียนจะเป็นศัตรูกับอิสลามตลอดไป ผู้คนใช้โศลกทำนองนี้โดยไม่ดูเลยว่าบริบททางประวัติศาสตร์ของมันเป็นอย่างไร พวกเขาใช้มันราวกับว่าความเป็นศัตรูกับยิวและคริสเตืยนนั้นเป็นเรื่องถาวรอยู่เสมอ

ผมคิดว่ามีการนำเหตุผลมากมายมาใช้ให้ความชอบธรรมกับความกลัว ว่าจะเกิดอิสลามภิวัตน์ หรือคริสเตียนภิวัตน์ ความหวาดวิตกแบบนั้นมีอยู่ในทุกศาสนา บางคนทึกทักว่าพื้นที่ทางศาสนาจะถูกปิดกั้นถ้าหากอิสลามพ่ายแพ้ทางการเมือง พวกเขากังวลว่าจะมีคนที่ละหมาดในมัสยิดไม่เป็น หรืออ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านไม่ออก ความกังวลเช่นนี้อาจกลายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่ล่อใจเราให้พยายามควบคุมและบังคับคนอื่นให้นับถือศาสนา

ในบริบทแบบนี้แหละที่บังเกิดแนวคิดว่ารัฐจะต้องบังคับใช้ศาสนาทำนองเดียวกับที่ทรรศนะสุดโต่งเกิดขึ้น เนื่องจากความหวาดวิตกว่าจะถูกประเทศอื่นครอบงำ

อูลิล : ถ้าเช่นนั้นก็หมายความว่าพวกหัวสุดโต่งเชื่อว่าอิสลามกำลังถูกคุกคาม ดังนั้น ก็เลยต้องตีโต้กลับไปใช่ไหม?




มูนีร์ ซาอิด ธาลิบ (ภาพจากAljazeera.net)



มีต่อ  hihi:
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^


มูนีร์ : ผมคิดว่าทีทรรศน์ทางศาสนาถูกกำหนดจากบริบทที่ผู้คนดำรงชีวิตอยู่ สำนักคิดอิสลามต่างๆ ดำรงอยู่ในบริบทและประวัติศาสตร์เฉพาะเหมือนกัน ในบริบทนี้ ศาสนาอาจกลายเป็นรูปแบบการต่อต้านสำหรับผู้ถูกกดขี่ได้ แต่พวกหัวสุดโต่งทางศาสนาไม่ควรโจมตีมนุษย์ที่ดูยังไงก็ไม่ใช้ผู้กดขี่ไปได้

ผมเห็นด้วยว่าอิสลามต้องสนองพลังงานให้การต่อสู้กับการกดขี่ แต่ไม่ใช่เพื่อเอาไปสู้กับบางศาสนา ตัวอย่างเช่น ที่เรายากจนไม่ใช่เพราะถูกคริสต์ศาสนาครอบงำ แต่เพราะถูกทุนหรือโครงสร้างครอบงำต่างหาก ฯลฯ

ผมคิดว่าศาสนาสามารถสนองพลังงานใหม่ให้ผู้คนต่อต้านการกดขี่ได้ตราบที่มีเป้าที่ชัดเจน แต่ศาสนาไม่ควรฉวยใช้สิทธิอำนาจของตนไปสู้กับคู่อริด้วยการร้องตะโกนว่า คาฟีร์ (kafir หมายถึงพวกนอกศาสนา) บ้างละ มูร์ทาดบ้างละ (murtad หมายถึงพวกทรยศศาสนา) เป็นต้น

อูลิล : ดูเหมือนศาสนาจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการต่อต้านใช่ไหมครับ?

มูนีร์ : ผมเชื่อว่าอิสลามเป็นศาสนาของผู้ถูกกดขี่ อิสลามให้คำตอบแก่ปัญหาทางสังคมของพวกเขาขณะเดียวกัน บรรดาผู้ไม่ได้ถูกกดขี่ก็มีหน้าที่ช่วยเหลือพวกเขา และประกันว่าการกดขี่จะสิ้นสุดลง นั่นแหละคือสังคมอิสลามที่แท้จริง

การต่อสู้กับความยากจนเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากความยากจนนำพาผู้คนไปสู่การละทิ้งศาสนา ดังนั้น การต่อสู้กับความยากจนจึงเป็นบัญชาสำคัญสำหรับสังคมมุสลิม อิสลามไม่ได้บัญชาการเราให้สู้กับศาสนาอื่น แต่ให้ผู้กับการกดขี่และความยากจน ผมคิดว่านี่เป็นรากฐานสำคัญสำหรับสังคมและอารยธรรมมุสลิม

อูลิล : ถ้างั้นก็หมายความว่าวิธีมองทางศาสนาเช่นนี้ผลักดันคุณให้ปกป้องผู้ถูกกดขี่และต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนใช่ไหมครับ?

มูนีร์ : ผมเกิดในครอบครัวที่นับถือศาสนาในความหมายยึดเป็นบรรทัดฐานการประพฤติปฏิบัติ แต่ผมคิดว่าแค่นั้นมันไม่พอ การนับถือศาสนาควรไปเกินกว่าบรรทัดฐานการประพฤติปฏิบัติ อาทิ สมมติฐานที่ว่า การนับถือศาสนาหมายถึงต้องละหมาดวันละ 5 ครั้ง เป็นต้น อันนี้ถูกวิจารณ์โดยคัก นูร์ (นูร์ โคลิส มาญิด) ว่าเป็นเพียงการเคร่งศาสนาแต่ในทางสัญลักษณ์และรูปแบบเท่านั้น เราต้องตระหนักว่ามีคำกล่าวในละหมาดที่บงการให้ต้องกระทำบางอย่างในชีวิต



อย่างเช่นผมนึกไม่ออกว่าจะให้ผมกล่าวละหมาดว่า "ด้วยความเที่ยงแท้, คำละหมาดของข้า, พิธีกรรมของข้า, ชีวิตของข้าและความตายของข้า..." และขณะเดียวกันก็ยังทำตัวทุจริตฉ้อฉลและมองข้ามความยากจน ฯลฯ ได้อย่างไร ในกรณีเช่นนั้น พระผู้เป็นเจ้าคงประณามผมว่าเป็นคนเพิกเฉย ไร้ค่า และน่าทุเรศ



ในบริบทที่ว่านี้ เมื่อผมละหมาด ผมก็ต้องเข้าข้างคนยากจน และกัดฟันเลือกเพื่อทำให้ได้ตามคำบัญชา-อาทิ ปกป้องผู้ตกเป็นเหยื่อเป็นต้น-ในเมื่อผมได้หันหน้าหาความยุติธรรมแล้ว สำหรับผมชุมชนมุสลิมต้องเข้าข้างผู้ถูกกดขี่ มันเป็นสิ่งที่ผมเลือกและความเชื่อของผม การสร้างสังคมที่ยุติธรรมนั้นเป็นการต่อสู้ทางศาสนา สังคมยุติธรรมไม่ได้กำหนดให้ทุกคนต้องเป็นมุสลิม แต่ให้แสดงออกซึ่งแนวคิดของอิสลามเรื่องความยุติธรรมภายในสังคม

อูลิล : คุณคิดว่าคุณยังต้องระบุเอกลักษณ์ตัวเองว่าเป็นมุสลิมที่เคร่งครัดเวลาต่อสู้เพื่อความยุติธรรมอีกไหม หรือว่าการต่อต้านความอยุติธรรมที่ว่านี้มันข้ามพ้นเรื่องชื่อฉายาและสัญลักษณ์ไปแล้ว?

มูนีร์ : ผมไม่รู้จะอ้างตัวว่าเคร่งศาสนาได้หรือเปล่า แต่ผมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เชื่อว่าการสถาปนาความยุติธรรม ซึ่งครอบคลุมและไม่เห็นแก่ตัวนั้นเป็นพลังงานสำคัญที่สุดในอิสลาม ผมคงละทิ้งอิสลามไปแล้วถ้าอิสลามไม่ส่งเสริมสิ่งนี้ และด้วยเหตุนี้แหละที่ผมชอบที่จะเลือกนับถืออิสลาม และผมไม่สามารถจะไปบังคับเคี่ยวเข็ญใครได้ ยอมรับว่าอิสลามเป็นศาสนาที่ครอบคลุม และดังนั้น เขาหรือเธอต้องกอดรับนับถืออิสลามได้ สำหรับผม เวลาผมชอบที่จะเลือกอะไรสักอย่าง นั่นควรจะกำกับควบคุมการกระทำและท่าทีของผมด้วย

ไม่ควรจะไปบังคับใครให้เข้ามาร่วมและใครก็มีสิทธิจะสถาปนากระบวนการอื่นๆ ขึ้นมาเหมือนกัน แต่เหนือสิ่งอื่นใด ศาสนาเป็นพลังงานสำคัญสำหรับต่อสู้ความอยุติธรรม ในเรื่องนี้ ผมเชื่อว่าอิสลามมีอนาคตอันสดใส อิสลามที่ครอบคลุมไม่ได้มีไว้แสวงหาอำนาจหากแต่เป็นพลังงานสำคัญสำหรับคนชายขอบต่างหาก

อูลิล : คุณรู้สึกอย่างไรเรื่องสัญลักษณ์ของเอกลักษณ์ที่เปิดเผยโจ่งแจ้งมากๆ?

มูนีร์ : บางทีผมก็พยายามจินตนาการนะว่าคนที่ไม่ใช่มุสลิมจะเป็นยังไง เวลาเขาเจอมุสลิมที่สำแดงออกให้เห็นซึ่งบุคลิกลักษณะทางกายภาพของอิสลาม และอวดอ้างว่าตนครอบครองสัจธรรมหนึ่งเดียวที่มีอยู่ ผมเองยังรู้สึกเหมือนคนส่วนน้อยเลยเวลาผมเจอผู้ชายไว้เครายาว และหน้าผากมีรอยดำคล้ำ(เนื่องจากกระทบพื้นเวลาละหมาดเป็นประจำ-ผู้แปล) บางทีผมก็รู้สึกกังวลว่าจะถูกครอบงำโดยมาตรวัดสัจธรรมจำพวกนั้นเหมือนกัน

สำหรับผมแล้ว สัญลักษณ์เหล่านี้กลับเป็นผลเสียต่อพันธกรณีที่จะแนะนำศาสนาอิสลามให้คนอื่น และถึงไงบุคลิกลักษณะเหล่านี้มันก็เป็นผลผลิตที่เกิดจากวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อีกด้วย เราต้องจำแนกแยกแยะระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ ของอาหรับในยุคท่านบีมุฮัมมัดกับอิสลามในฐานะที่เป็นศาสนา มันเป็นสองอย่างที่แตกต่างกัน

ฉะนั้น สัญลักษณ์วัฒนธรรมของอาหรับอย่างการสวมเสื้อคลุม จึงไม่ใช่โองการของอิสลามของพวกนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในตะวันออกกลาง คนอัฟกันสวมเสื้อคลุมไว้เครามานมนานแล้ว แต่นี่ไม่ใช่มาตรวัดของอิสลาม

สำหรับผม การใช้สัญลักษณ์สร้างความห่างเหินให้เกิดขึ้นและส่งผลเสียต่ออิสลามเอง ฉะนั้นเราต้องหลีกเลี่ยงมัน จะผูกไทหรือสวมเสื้อคลุมก็ไม่คุกคามหรือครอบงำสัจธรรมด้วยกันทั้งนั้น เสื้อผ้าเป็นผลผลิตทางวัฒนธรรม
ไม่ใช่มีไว้ให้ความชอบธรรมกับการครอบงำดอก





http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q3/article2005aug05p1.htm




يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^

ไม่มีต่อ (แล้ว) hihi:
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ musalmarn

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 796
  • เพศ: ชาย
  • สักวัน... ฉันจะขี่ม้า
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
    • ชมรมศาสนศึกษา แผนกอิสลาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ไปเจอมาจากเวบพันทิป เกรงว่ามันจะหายไปเลยเอามาฝากจ่ะ  party:






แต่ผมเจอใน มุสลิมไทยอ่ะ  oh:

แด่มูนีร์ : สมชาย นีละไพจิตร แห่งอินโดนีเซีย

ศาสนาต้องอำนวยประโยชน์แก่มนุษยชาติ

ญาซากิลลาฮ ฮุ ค็อยร็อน อรูชาฮ^^ ครับ

ออฟไลน์ บุคคลธรรมดา

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 433
  • live&learn in Islam
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด


ญะซากิลลาฮฺ บทความดีมาก ๆ

ได้อ่านไปเพียงบางส่วน ขอติดไว้ก่อน  มีงานด่วน  เด๋วคืนนี้ จะตามอ่านให้ครบถ้วน นะ ชา fouet:
ถ้าหากว่าเราจะข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยแอ่งปลักโคลน
แน่นอนที่สุด เราจะถึงฝั่งนั้นในสภาพที่เปรอะเปื้อนด้วยโคลน...
โคลนที่อยู่ในแอ่งนั้น มันจะทิ้งร่องรอยที่เท้าของเรา
และในที่ที่ เราได้เหยียบย่างไป

                        "อัลชะฮีด ซัยยิด กุฏุบ"

ออฟไลน์ sufriyan

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 526
  • เพศ: ชาย
  • 0000
  • Respect: +16
    • ดูรายละเอียด
ผมอ่านยังไม่ครบทุกวรรคครับ เน้นแต่สีแดง
อยากรู้ข้อมูลในอีกแง่หนึ่ง(หมายถึงจากแหล่งอื่นๆอีก)
ชอบวิธีคิดครับ
 แต่การคิดประมาณนี้ ผมสำหรับบางคนอาจเป็นวัตถุดิบอย่างดีของการเข้าครอบครองอาณานิคมจากโลกตะวันตกก็เป็นได้ (ผมไม่รู้รายละเอียดอะไรกับคุณตอลิบนี้นะครับ)
แต่เรื่องการไว้เคราที่เค้าวิจารณ์ เพราะคนพุทธเองยังไว้เคราเพราะ การไว้เคราทำให้ฉลาดขึ้น (อันนี้ได้ฟังมาจากคนพุทธ) จะเห็นได้ว่านักวิทยาศาสตร์มักไว้เครา (ไม่มีเหตุผลยืนยัน แค่อยากจะบอกว่าเป็นฮิกมะของการไว้เคราที่ต่างศาสนิกก็ยอมรับ และนึ่คือศาสนาจากพระผู้เป้นเจ้า)
เพราะบทสรุปของอินโดฯคือมุสลิมที่เข้ารับนับถือคริสต์เพิ่มขึ้นอย่างน่าใจหาย ภายในเวลาไม่กี่ปี
อินโดนีเซียเจอผู้นำอย่าง ซูการ์โน่
ทำให้อิสลามในอินโดนีเซียเป็นเช่นไร หากมีคนที่คิดเหมือนซูกาโน่อยู่อีกในยุคนี้ ค่อยมาว่ากันต่อครับ
ยังไงก็อยากแลกเปลี่ยนครับ
วัสลาม

ออฟไลน์ บุคคลธรรมดา

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 433
  • live&learn in Islam
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด


อืมม  อ่านจบครบแล้ว

เห็นด้วย กับ surfiyan 

อ่านแรก ๆ แนวคิดของคุณมุนิร  ก็ มีเหตุ มีผล ดี
กับความต้องการให้อิสลามเจริญ ด้วย การอำนวยประโยชน์ ที่เป็นประโยชน์จริง ๆ
ไม่ใช่แค่การใช้ความรุนแรง บังคับ ครอบงำ สุดโต่ง

แต่ อ่านท้าย ๆ ชักตะหงิด ๆ เรื่องมุมมองของเอกลักษณ์ของมุสลิม
ที่ว่า การใช้สัญลักษณ์สร้างความห่างเหินให้เกิดขึ้นและส่งผลเสียต่ออิสลามเอง ฉะนั้นเราต้องหลีกเลี่ยงมัน

อันนี้ ขอค้าน  bad:
การไว้เครา ซึ่งนั่นก็เป็นแบบฉบับของนบี  การกล่าวว่า เป็นผลเสียต่ออิสลาม มันจึง
เป็นสร้างเหตุผล เพื่อเอาใจ ต่างศาสนิก มากเกินไปและที่สำคัญ
เป็นการคัดค้านหลักการแบบฉบับของท่านศาสดาเราโดยปริยาย
คิดแบบนี้ อาจเข้าทาง ตะวันตก
ที่อาศัย ความสุดโต่ง ของมุสลิม มาสร้างความบิดเบือนกับเรือ่งหลักการของเรา


เคยมีพี่น้องพูดถึงเรือ่งว่า การใส่สูท ผูกไท เนี่ยมันเป็นการสนับสนุนแบบอย่างกาเฟร หรือป่าว
อันนี้ ยังพอทน เพราะ ยังงัยก็ยังอยากให้พี่น้องไม่ลืมตัวถึงความเป็นมุสลิม

แต่ที่ว่า การสร้างเอกลักษณ์ของมุสลิม เป็นผลเสียต่ออิสลาม
มันยิ่งแย่กว่า และกลายเป็นต่อต้านนิด ๆ ต่อแนวทางของอิสลาม

 sad:
ถ้าหากว่าเราจะข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยแอ่งปลักโคลน
แน่นอนที่สุด เราจะถึงฝั่งนั้นในสภาพที่เปรอะเปื้อนด้วยโคลน...
โคลนที่อยู่ในแอ่งนั้น มันจะทิ้งร่องรอยที่เท้าของเรา
และในที่ที่ เราได้เหยียบย่างไป

                        "อัลชะฮีด ซัยยิด กุฏุบ"

ออฟไลน์ บุคคลธรรมดา

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 433
  • live&learn in Islam
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด


ได้เจอบทความเกี่ยวกับ เรื่องความสุดโต่ง อยู่เหมือนกัน
บทความ เกี่ยวกับภาคใต้ของเรา
เป็นประโยชน์มากทีเดียว

...

สิ่งที่ได้รับจากการมาเยือนไทยของ 2 ผู้นำ ?มุสลิมโลกสายกลาง?


อ.อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์ดินอะ (อับดุลสุโกดินอะ)


เคยตีพิมพ์ที่ ประชาไท   วันที่ : 1/7/2550


shukur2003@yahoo.co.uk         


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอขอความสันติจงมีแด่ศาสดามุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


เป็นที่ทราบกันดีว่าระหว่างวันที่ 23-30 มิถุนายน 2550 ศ.ดร.มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี (Dr.Muhammad Sayid Tantawy) ผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์ หรือ Grand Imam of Al Azhar และ ศ.ดร.อับดุลลอ ฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี (H.E. Dr.Abdullah bin Abdul Mohsin Al-Turki) เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก ได้มีโอกาสเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาล เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในด้านกิจการศาสนาอิสลาม ตลอดจนการขยายความร่วมมือด้านการศึกษาของเยาวชนไทยมุสลิม และเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างศาสนา (interfaith dialogue) ตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้


000


ผู้เขียนได้มีโอกาสติดตามและฟังคำบรรยายของบรมครูของข้าพเจ้า (สมัยเรียนประเทศอียิปต์ปี 2534-2539) คือ ศ.ดร.มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ สำนักคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา เมื่อ 26 มิถุนายน 2550 และ ดร.อับดุลลอ ฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี เมื่อ 28 มิถุนายน 2550


จากการรับฟังเนื้อหาสาระสำคัญของทั้งสองท่าน พบว่ามีประเด็นหลักที่เหมือนกันอยู่ 3 ประการใหญ่ ดังนี้


1. ทางสายกลางของหลักการศาสนาอิสลามและสามารถอยู่ร่วมกับต่างศาสนิกอย่างสันติ


ศ.ดร.มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี กล่าวว่า:


?อิสลามเป็นศาสนาแห่งสันติภาพ ยึดมั่นตามหลักสายกลาง ปฏิเสธความสุดโต่ง ความคลั่งในชาติพันธ์...สิ่งที่เราสั่งสอนให้แก่ลูกหลานของเราในอัลอัซฮาร์ และอยากจะกล่าวในสิ่งเดียวกันแก่มนุษย์ทั้งมวล คือความเป็นภราดรภาพระหว่างมนุษยชาติ และความแตกต่างทางความคิดและความเชื่อทางศาสนา ไม่เป็นอุปสรรคขัดขวางความร่วมมือระหว่างกัน

ความเชื่อทางศาสนาไม่อาจบังคับได้ เพราะพระเจ้าได้โองการความว่า ไม่มีการบังคับในการนับถือศาสนา...หากแต่มนุษย์ทุกคนมีอิสระในทางความคิด และความเชื่อในศาสนาของตน และเราควรให้ความเคารพแก่กันและกัน...ศาสนายอมรับความแตกต่างทางชาติพันธุ์ เพราะพระเจ้าได้โองการความว่า ?โอ้ มนุษย์ทั้งหลาย แท้จริงเราได้สร้างเจ้าให้เป็นชาย หญิง เชื้อชาติ และเผ่าพันธ์ต่างๆ เพื่อที่จะทำความรู้จักซึ่งกันและกัน?


ข้าพเจ้าจึงขอฝากลูกหลานทุกคนในประเทศไทยว่า ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด จงเป็นพี่น้องที่มีความรักให้กันและกัน ไม่มีความแตกแยกระหว่างมุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิม แต่ควรจะมุ่งปฏิบัติหน้าที่ของตนเองในการนำพาประเทศไทยสู่ความเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้า


ทุกคนต้องทำงานด้วยใจอันสัตย์สื่อ ตั้งใจแน่วแน่ ใช้ความสามารถที่ตนมี ประชาชาติใดที่มีความร่วมมือในสังคมบนความหลากหลายของศาสนา ประชาชาตินั้นจะเปี่ยมไปด้วยความสุขความเจริญก้าวหน้า มั่งคั่ง และความสงบสุข?


การที่ ศ.ดร.มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี เสวนาธรรมกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศ ผู้นำศาสนาพุทธเป็นเครื่องยืนยันในการยึดหลักการศาสนาสายกลาง ซึ่งท่านเองยอมรับว่าที่ประเทศอียิปต์ บ่อยครั้งท่านก็เสวนาธรรม ?บาบาซานูซาฮฺ? ซึ่งเป็นผู้นำศาสนาคริสตร์ในอียิปต์


สำหรับ ศ.ดร.อับดุลลอ ฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี เลขาธิการสันนิบาตมุสลิมโลก ได้ให้ทัศนะต่อประเด็นนี้ว่า


?สันติบาตมุสลิมโลกมุ่งเน้นที่จะสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อศาสนาอิสลามที่มุ่งทางสายกลาง (ในภาษาอาหรับเรียกว่า Mutadil) ปฏิเสธความคิดที่จะนำศาสนาอิสลามมาใช้ในทางที่ผิด หรือเบี่ยงเบนไปในการก่อความรุนแรง และก่อการร้ายในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในโลก...หากมุสลิมอยู่ในสังคมพหุวัฒนธรรม ต้องแสดงตัวตนของความเป็นมุสลิมที่ถูกต้องและดีงามออกมาให้มากที่สุด"


จากทัศนะข้างต้นของท่านทั้งสองจะพบว่าสอดคล้องกับหลักคำสอนในคัมภีร์อัลกุรอาน วัจนศาสดาที่พูดถึงแนวคิดสายกลาง (แนวคิดสายกลางในที่นี้หมายถึงแนวคิดที่เข้าใจหลักการและเป้าหมายของศาสนาอิสลามอย่างถูกต้อง) โดยอัลลอฮได้ตรัสความในทำนองเดียวกันว่า


?เราได้ให้พวกเจ้าเป็นประชาชาติสายกลาง เพื่อพวกเจ้าจะได้เป็นสักขีพยานแก่มนุษย์ทั้งหลาย และศาสดาก็จะเป็นสักขีพยานแก่พวกเจ้า?


(ซูเราะฮอัล บะกอเราะฮฺ 2:143)


?จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่าบรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ทั้งหลาย จงอย่าปฏิบัติให้เกินขอบเขตในศาสนาของพวกท่าน โดยปราศจากความเป็นจริง และจงอย่าปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ำของพวกหนึ่งพวกใดที่พวกเขาได้หลงผิดมาก่อนแล้ว และได้ทำให้ผู้คนมากมายหลงผิดด้วย และพวกเขาก็ได้หลงผิดไปจากทางอันเที่ยงตรง?


(ซูเราะฮอัล มาอิดะฮฺ 5:77)


?มุสลิมถูกเรียกว่า อุมมะตัน วะสะฏ็อน (ประชาชาติสายกลาง) นักอรรถาธิบายอัลกุรอานได้อธิบายคำว่า ?วะสัฏ? (ในภาษาอาหรับแปลว่ากลาง) คือ ?ความสมดุลที่เที่ยงตรง? ?สิ่งที่ดีที่สุด? (คิยารฺ หรือ คอยรฺ) ท่านยูซุฟ อลี ได้กล่าวว่า ?สารัตถะแห่งอิสลามคือการหลีกเลี่ยงจากความเลยเถิดไม่ว่าด้านใดก็ตาม อิสลามเป็นศาสนาที่เรียบง่ายและสามารถปฏิบัติได้จริง?


(เชิงอรรถที่ 143 ของอายะฮฺ : ซูเราะฮอัล บะกอเราะฮฺ 2:143)


อัลลอฮฺ ได้ทำให้อุมมะฮฺ (ประชาชาติ) นี้ให้เป็นอุมมะฮฺสายกลาง ดังนั้น มุสลิมต้องดำเนินตามทางสายกลาง ทางซึ่งไม่มีการสุดโต่งหรือความเลยเถิดใดๆ เป็นวิถีทางที่จะต้องมีการเข้ามาร่วมกันเป็นความสมดุลที่ประสานกลมกลืน


ท่านศาสดาได้เป็นแบบอย่างของการทำความดีต่อชนต่างศาสนิก ดั่งรายงานจากอบูอุบัยด์ ในหนังสือ al-Amwal หน้า 613 (quoted in al-Qardhawi,1994: 2/275 ว่า ?ท่านนบีเคยบริจาคทานแก่ญาติผู้ตายชาวยิวในขณะที่ท่านเดินผ่าน? อีกสายรายงานหนึ่ง โดยมุฮัมหมัด บิน อัลหะซัน กล่าวไว้ในหนังสือ Sart al-Sair เล่ม 1 หน้า 144 quoted in al Qardhawi 1994, 2/274) ว่า ?ท่านศาสดาเคยบริจาคทานแก่คนยากจนชาวมุชริกีนมักะฮ (ผู้บูชาเทวรูป)?


2. ความสำคัญของการศึกษา/ผู้รู้


ศ.ดร.มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี กล่าวว่า:


?...ความรู้ทั้งศาสนาและสามัญนั้นเป็นประโยชน์ และเราจำเป็นต้องเรียนรู้และนำมาใช้ประโยชน์เพื่อมนุษยชาติ ซึ่งที่ใดที่รู้จักใช้วิทยาการหรือเทคโนโลยีที่นั่นก็จะเจริญ แต่ความรู้ที่สมบูรณ์ตามหลักการอิสลามต้องคู่กับคุณธรรมและอยู่บนพื้นฐานที่ถูกต้องตามศาสนา แต่ในทางกลับกันความรู้ที่มุ่งสร้างความแตกแยกหรือความขัดแย้ง นั้นไม่ใช่หลักของอิสลาม ซึ่งความรู้แบบนี้ความโง่ เขายังประเสริฐกว่า ตามหลักการอิสลามจึงไม่อนุญาตให้ใช้ความรู้ไปในเรื่องไม่สร้างสรรค์ สร้างความขัดแย้งอคติ และบ่อนทำลายสังคม..."
สำหรับศ.ดร. อับดุลลอ ฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี ได้ให้ทัศนะต่อการศึกษา/ผู้รู้ว่า


?ประเด็นการศึกษา ถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญ ถือว่าเป็นประเด็นพื้นฐานของสังคม....ปัจจุบันสังคมมุสลิมกำลังเผชิญปัญหาโถมใส่หลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคมและการสร้างบรรทัดฐานในการรักษาดุลยภาพระหว่างการคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของมุสลิมกับการใช้ชีวิตในสังคมต่างวัฒนธรรมภายใต้บรรยากาศแห่งความเข้าใจซึ่งกันและกัน ความเอื้ออาทร และความมั่นคงในชีวิต...


ผู้รู้และผู้เผยแพร่ต้องไม่ท้อถอย ในการเชื่อมโยงอัลกุรอ่านและประวัติศาสตร์มุสลิมให้รู้ว่าต้องยืนหยัดบนความถูกต้อง สำคัญที่สุดคือผู้รู้ต้องเข้าถึงแก่นแท้ของศาสนา ขอยืนยันว่าภารกิจของความรู้ความเข้าใจศาสนาเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด ผู้นำศาสนาถือเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณของประชาชน จงอย่านิ่งเฉย และคำสอนต้องไม่เบี่ยงเบนหลักศาสนา ให้ใช้ความเมตตาธรรมนำเผยแพร่ ไม่ใช่นำความรุนแรงเพื่อประหัตประหารจนล้มตาย นั้นไม่ใช้แนวทางศาสนาที่ถูกต้อง"


          การไม่มีความรู้เพียงพอหรือผู้รู้ที่พยายามตีความเพื่อประโยชน์ของตนหรือกลุ่มก็สามารถนำหายนะสู่สังคมดั่งคำกล่าวของท่านที่ว่า


?...สำหรับคนบางกลุ่มที่เป็นมุสลิมใช้ความรุนแรงนั้น เราอาจแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก กลุ่มที่ไม่มีความรู้อย่างแท้จริงในด้านศาสนา กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มที่ได้รับการแนะนำสั่งสอนจากกลุ่มบุคคลที่ไม่หวังดีต่อสังคมมุสลิมอย่างแท้จริง...เรื่องญิฮาดมีความเข้าใจผิดกันอยู่มาก ที่จริงแล้ว ญิฮาด ถูกกำหนดขึ้นในครั้งแรกเพื่อต่อต้านการรุกราน จากฝ่ายศัตรูที่ท่านศาสดามูฮัมหมัด ท่านได้อพยพ ในขณะที่ฝ่ายศัตรูก็ยังเข้ามารุกรานอยู่อีก จึงต้องมีการต่อต้านและป้องกัน จึงเรียกว่าการญิฮาด นอกจากนี้ยังมีการญิฮาด เพื่อที่จะปกป้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ ขจัดความอยุติธรรมต่างๆ มีการญิฮาดเพื่อขจัดกำแพงที่ทำให้บุคคลไม่สามารถเข้าถึงอิสลามได้ ก็เรียกว่าเป็นการญิฮาดได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม การญิฮาด ?ไม่ใช่? การสร้างความหวาดกลัว หรือสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นกับสังคมแต่อย่างไร?"


3. การสานเสวนา หรือภาษาอาหรับเรียกว่า al- Hiwar


ศ.ดร. มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฏอวี มีทัศนะเรื่องการสานเสวนาว่า:


"การแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันนั้น วิธีที่ดีที่สุดคือการสานเสวนาหรือภาษาอาหรับเรียกว่า al-Hiwar เพราะอัลลอฮฺเจ้าได้โองการในคัมภีร์อัลกุรอานหลายครั้งเกี่ยวการสานเสวนา เช่นพระองค์ได้ตรัสไว้ ความว่าท่านทั้งหลายจงสานเสวนาด้วยวาจาที่สุภาพยิ่งด้วยเหตุและผล (โปรดดูอัลกุรอานซูเราะฮอัลอันนะห์ลุ .16: 125) และขณะเดียวกันพระเจ้าเองยังได้ทำแบบอย่างให้มนุษย์เห็นเกี่ยวกับการสานเสวนากับซาตานมารร้ายที่ทรยศต่อพระองค์ บรรดาศาสนฑูตเองก็ได้สานเสวนากับศัตรูหลายต่อหลายครั้ง...."


ในขณะที่ ศ.ดร.อับดุลลอ ฮ บิน มุห ชินอัตตุรกี ได้ให้ทัศนะอย่างหนักแน่นและชัดเจนว่า 


"ปัญหาทุกอย่างต้องแก้ไขด้วยการ Hiwar หรือสานเสวนาอย่างสันติ ด้วยเหตุผลนี้ผู้รู้ทางศาสนาควรร่วมมือกับทุกฝ่าย การพูดคุยอย่างสันติเพื่อหาวิธีการที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ความรุนแรงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนั้นมันยังเพิ่มปัญหา ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับรัฐบาลที่พยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และดำเนินการด้วยสันติ...


สุดท้ายท่านทั้งสองไม่ลืมที่จะขอบคุณรัฐบาลไทยและพี่น้องประชาชนทุกคนที่ให้การต้อนรับและหวังว่าจะได้มีการร่วมมือกับรัฐบาลไทยต่อไป ในเรื่องการเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรื่องการศึกษา การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความชำนาญด้านต่างๆ


000


จาก 3 ข้อหลักที่ทั้งสองได้แสดงทัศนะที่สอดคล้องดังกล่าวนั้นจะพบว่า 2 ข้อแรก เป็นการให้คำแนะนำหรือภาษาอาหรับเรียกว่า Nasihat โดยตรงต่อมุสลิมโดยเฉพาะผู้นำศาสนา ที่จะต้องกล้าแสดงจุดยืนด้านธรรมะและหลักการที่ถูกต้องตามหลักศาสนาโดยเฉพาะในเรื่องการก่อการร้ายที่ทำร้ายผู้บริสุทธิโดยใช้คำญิฮาดเป็นเครื่องมือ


สำหรับรัฐบาล ผู้นำประชาชน หรือแม้กระทั่งขบวนการทุกกลุ่ม จะต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการสันติวิธีโดยเฉพาะการสานเสวนา เพราะหนึ่งในเครื่องมือสำคัญของสันติวิธีที่จะต้องรีบทำคือศาสนเสวนามุสลิม-พุทธ หรือไทยมุสลิมเชื้อสายมลายู-กับมิใช่มลายู (ในประเทศไทยมีหลากหลายเชื้อชาติ) รัฐบาลกับผู้นำประชาชน หรือแม้กระทั่งขบวนการทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่รัฐหรือ ผบ.ทบ.มั่นใจ เพราะหากไม่รีบทำอาจจะนำไปสู่สงครามระหว่างศาสนา-เชื้อชาติได้


ศาสนเสวนาหรือสานเสวนา ต่างกับการสนทนาทั่วไปตรงที่ไม่มีการคุกคามอัตลักษณ์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพราะมุ่งให้ผู้ร่วมศาสนเสวนารับฟังและเรียนรู้จุดยืนซึ่งกันละกัน บนพื้นฐานการให้เกียรติความแตกต่างโดยปราศจากการครอบงำ บีบบังคับโน้มน้าว หรือบังคับให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนแปลงความคิดความศรัทธาของตน หากแต่เป็นการเรียนรู้และเติบโตไปพร้อมกัน

อัลลอฮฺเจ้าได้โองการในคัมภีร์อัลกุรอานความว่า ?ท่านทั้งหลายจงสานเสวนาด้วยวาจาที่สุภาพยิ่งด้วยเหตุและผล? (โปรดดูอัลกุรอานซูเราะฮอัลอันนะห์ลุ .16 : 125)


เป็นที่ทราบกันดี (โดยเฉพาะทัศนะของนพ.พลเดช ปิ่นประทีป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ) ว่าปัจจัยสาเหตุหลักของปัญหาภาคใต้ แบ่งเป็น 2 ปัจจัยหลัก คือ


1.ปัญหาทางประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างปัตตานีกับสยาม


2.ปัญหาที่เป็นผลกระทบจากกระบวนการฟื้นฟูอิสลามในระดับโลก ภูมิภาค และระดับท้องถิ่น


ส่วนปัจจัยเร่ง คือ


1.ปัญหาของการดำเนินนโยบายความมั่นคงของรัฐในพื้นที่ที่เป็นปัญหา ทั้งด้านแนวคิดและด้านการบริหารจัดการ


2.การปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ยุทธวิธีของฝ่ายขบวนการหลังปี 2535 เป็นต้นมา ที่ฝ่ายขบวนการเปลี่ยนสภาพ ทำให้มีการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีของฝ่ายก่อการไม่ใช้แบบเดิม ยุทธศาสตร์ของฝ่ายก่อการใช้ยุทธศาสตร์ในการสร้างศรัทธาและความชอบธรรมในการต่อสู้ ด้วยงานการเมืองที่มีมิติในเชิงศาสนา เชิงประวัติศาสตร์และชาติพันธุ์


ด้านการทหารฝ่ายก่อการใช้วิธีสร้างความหวาดกลัวในหมู่ประชาชน ก่อเหตุการณ์ที่น่าสะพรึงกลัว ไม่เลือกเป้าหมาย ใช้ Soft Target (เป้าหมายที่อ่อนไหว) มุ่งตัดตอนความน่าเชื่อถือของอำนาจรัฐ ทำให้ประชาชนยิ่งไม่เชื่อถืออำนาจรัฐ ขณะเดียวกันก็หวาดกลัวฝ่ายก่อกา รซึ่งมุ่งทำทุกอย่างเพื่อแยกดินแดนด้วยอำนาจขององค์กรทางสากล ไม่ใช่เอาชนะด้วยการยึดพื้นที่จริง


การที่รัฐมุ่งใช้กำลังทหาร จัดทหารพรานเป็นจำนวนมากเข้าควบคุมพื้นที่และบีบรัดเขตอิทธิพลของฝ่ายก่อการลงเรื่อยๆ จะบีบเขตอิทธิพลให้ค่อยๆ แคบลงเรื่อย จะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ในที่สุด แต่มันไม่ได้จบแค่นี้ เพราะแม้จะยึดพื้นที่ได้ แต่ก็อาจยึดคนไม่ได้ หรือคุมคนได้ แต่ยึดความคิดคนไม่ได้


ดังนั้น สิ่งที่รัฐได้รับจากสองผู้นำคนสำคัญของมุสลิมโลกสายกลางเยือนไทยครั้งนี้ คือการปรับความเข้าใจในหลักศาสนาที่ถูกต้อง การประณามการใช้วิธีการอย่างสุดโต่งนามศาสนาเกี่ยวกับญิฮาดที่ทำร้ายสังคม และที่สำคัญ เวทีโลกและนานาชาติจะช่วยลดการเคลื่อนไหวต่อต้านประเทศไทยในโลกมุสลิมได้มาก  อันจะทำให้ผู้ก่อการต้องเปลี่ยนยุทธศาตร์การต่อสู้ในอนาคตอย่างแน่นอน



ที่มา  http://www.oknation.net/blog/shukur


 




ถ้าหากว่าเราจะข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยแอ่งปลักโคลน
แน่นอนที่สุด เราจะถึงฝั่งนั้นในสภาพที่เปรอะเปื้อนด้วยโคลน...
โคลนที่อยู่ในแอ่งนั้น มันจะทิ้งร่องรอยที่เท้าของเรา
และในที่ที่ เราได้เหยียบย่างไป

                        "อัลชะฮีด ซัยยิด กุฏุบ"

ออฟไลน์ sufriyan

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 526
  • เพศ: ชาย
  • 0000
  • Respect: +16
    • ดูรายละเอียด
อัสลามูอาลัยกุม
ปัญหาทางภาคใต้ผมไม่ขอพูดถึงครับ เพราะยังจับต้นชนปลายอะไรไม่ได้
แต่อยากจะนำเสนอเช่นเรื่อง รัฐอิสลามแบบตอลีบัน ถ้าใครหาว่าเป็นความสุดโต่ง  คงต้องคุยกันยาวแน่ครับ
เพราะนั่นพยายามกล่าวหาว่ารูปแบบอิสลามคือความสุดโต่ง การตามก้นตะวันตกและยิว คือทางสายกลางที่น่ายกย่อง
เพราะสุดท้ายคือการครอบครองทั้งทางอาณาบริเวณและทางด้านแนวคิดจากชาติตะวันตก นักล่าอาณานิคม
ต่อครับ

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^


 salam


เรื่อง สายกลาง
ยาวนะเรื่องนี้
แต่น่าสนใจ น่าคุยต่อค่ะ อินชาอัลลอฮฺ นะ  ;D

 waalaikumussalam
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ sufriyan

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 526
  • เพศ: ชาย
  • 0000
  • Respect: +16
    • ดูรายละเอียด
จากหนังสือชุดเรียนรู้สู่ชุมชนเป็นสุข...จากภาคใต้
ชื่อหนังสือ "ซูรอ" การจัดากรชุมชนที่ควรเรียนรู้ เพื่อชุมชนสมานฉันท์  หน้า 94-95  โดย เครือข่ายชุมชนมุสลิม ในโครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ "ดับบ้านดับเมือง เรียนรู้อยู่ที่ที่ปากใต้"
ตอนหนึ่งความว่า "
การปกครองระบอบอิสลามเริ่มถูกวางรากฐานขึ้นตั้งแต่ครั้งที่ศาสดามูฮัมหมัด(ศ.ล.) อพยพเข้ามาตั้งรัฐอิสลามในนครมาดีนะ..............และระบอบนี้ถูกใช้ปกครองโลกมุสลิมเรื่อยมา
จนถึงสมัยคอลีฟะ ยุคสุดท้ายนั้นคือ ราชวงศ์ดุสลานียะฮ์ (ออตโตมันเติร์ก) ในตุรกีช่างสงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากนั้นระบอบนี้ก็หายไปจากโลกเป็นเวลาเกือบร้อยปี จนกระทั่ง รัฐบาล
ตอลีบันสถาปนารัฐอิสลามขึ้นปกครองประเทศอัฟกานิสถานระบอบการปกครองด้วยอิสลามจึงเกิดขึ้นมาบนโลกอีกครั้งหนึ่ง แต่ต่อมาไม่นาน รัฐบาลตอลีบัน
และระบอบการปกครองด้วยอิสลามก็ถูกทำลายอีกครั้งหนึ่งด้วยน้ำมือของสหรัฐอเมริกา"
จะเห็นได้ว่าแนวคิดแบบสุดโต่งที่ว่านั้น คือการนำเอาหลักคำสอนแบบอิสลามมาใช้จริงในชีวิตประจำวันต่างหาก โดยที่หนังสือที่ผลิตโดยงบประมาณจากรัฐบาลไทย ยังให้การยอมรับ
(ยืนยันอีกครั้งไม่เกี่ยวกับสถานการณ์ในภาคใต้) แต่เราจะเห็นได้ว่านี่คือแนวหน้าของผู้ที่โดนตราหน้าว่าสุดโต่งในอิสลาม 
แต่เราต้องบอกว่าแท้จริงตอลีบันไม่ได้สุดโต่ง แต่ตอลีบัน
คือกลุ่มที่เดินทางสายกลาง และกลุ่มที่พยายามนำทางสายกลางและต่อสู้เพื่อการนำรูปแบบอิสลามมาใช้ในประเทศของเขาตะหาก
การต่อสู้และรักษาคุณความดีให้ถึงที่สุดในการรักษาไว้ซึ่งความบริสุทธิ์ ของอิสลามที่พระเจ้าประทานมา เป้นความสุดโต่งหรือ
ในอินโดฯ ต่างชาติเปิดซ่องเป็นว่าเล่น ทำให้คนอินโด ต้องขายบริการ แล้วนำคนของประเทศตัวเองมาเที่ยว พอมีการต่อต้าน เขาคือผู้สุดโต่งหรือ
ประเทศไทยก็เช่นกัน กี่เกาะต่อกี่เกาะ ที่พวกต่างชาติเข้ามาเสพยาและเสพสมท่ามกลางแสงจันทร์ เป็นที่รู้กันในหมู่คนชายฟั่ง (ซึ่งมักเป็นหมู่บ้านมุสลิม)
หรือว่าในวันหนึ่งเราจำเป็นต้องเป็นผู้สุดโต่งในสายตาของอเมริกาและสมุนเหมือนกัน?

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^


ขออนุญาต ถามต่อ  smile:
แล้วบังคิดอย่างไรกับกรณีมัสยิดแดง ที่เคยนำมาเสนอคะ

(เพื่อสนทนาต่อยอด)  :inshallah
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ sufriyan

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 526
  • เพศ: ชาย
  • 0000
  • Respect: +16
    • ดูรายละเอียด
เจ็บเหมือนกับที่น้องชาร์เจ็บนั่นละครับ  มูชัรรอฟ เป็นแค่อาวุธชิ้นหนึ่งของอเมริกา  (แต่น่าเจ็บใจ)
แต่เรื่องที่อินโด ที่ซูกาโนร์ทำก็มีข้อดีนะครับ
ทำให้โต๊ะครูจากอินโดหนีมาอยู่เมืองไทย และผมก็ได้เป็นลูกศิษย์(หรือหลานศิษย์มากกว่า) จากส่วนหนึ่งของอาจาย์ที่หนีมากอินโดครับ  (นับว่าเป็นข้อดีหรือเปล่าครับนี่) เพราะ
ท่านครูเหล่านั้นนำวิชาความรู้ติดตัวมาด้วย และมักจะเด่นๆทั้งนั้น ทำให้อิสลามในพื้นที่นั้นๆเจริญไปเลยครับ
วัลลอฮูอะลัม

 

GoogleTagged