ผู้เขียน หัวข้อ: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์  (อ่าน 53401 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ubaid

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 19
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #75 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 01:03 PM »
0
คุณไม่สมควรกล่าวว่า ท่านอัซซะฮะบีย์นำมาอ้างในหนังสือของท่านโดยตรง เนื่องจากท่านอัซซะฮะบีย์ได้ทำการรายงานอ้างอิงมาจากหนังสือของท่านอัลลาละกาอีย์ ไม่ใช่ท่านอัซซะฮะบีย์รายงานมาจากท่านอบูหาติม เนื่องจากท่านอัซซะฮะบีย์ ในขณะที่อายุ 18 ปี ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลอุลูว์ ว่า

قال الحافظ أبو القاسم الطبرى : وجدت فى كتاب أبى حاتم

ซึ่ง อัลหาฟิซ อบู อัลกอซิม ก็คือ ท่านอัลลาละกาอีย์ "ดู หนังสือ มุกตะซ๊อร อัลอุลู้ว์ หน้า 206

ดังนั้น การอ้างว่าท่านอบูหาติมมีหนังสือเล่มนั้น เราจึงไม่ทราบท่านอบูหาติมมีหนังสือเล่มดังกล่าวและเป็นหนังสืออะไรกัน

คุณแน่ใจมากแค่ใหนว่า ท่าอัลลาละกาอีย์ ไม่ได้มีการเพิ่มเติมคำพูดของอุลามาอ์

แต่เมื่อผมได้ไปเปิดดูจากหนังสือ มุคตะซ๊อร อัลอุลุว์ ของท่านอัซซะบีย์ ที่ทำการย่อโดย ท่าน อัลบานีย์ หน้า 159 เราจะพบว่ามีข้อความที่แตกต่างกันดังนี้

نقل أبو القاسم هبة الله اللالكائي و والشيخ موفق الدين المقدسي وغيرهما بالإسناد عن أبي عبد الله بن ابي حنيفة الدبوسى سمعت محمد بن الحسن، يقول : اتفق الفقهاء كلهم من المشرق إلى المغرب على الإيمان بالقرآن والأحاديث التي جاء بها الثقات عن رسول الله صلى الله عليه وسلم في صفة الرب عز وجل من غير تفسير ولا وصف ولا تشبيه، فمن فسر شيئاً من ذلك فقد خرج عما كان عليه النبي صلى الله عليه وسلم وفارق الجماعة،( فإنهم لم ينفوا ولم يفسروا، ولكن آمنوا بما في الكتاب والسنة ثم سكتوا،
فمن قال بقول جهم فقد فارق الجماعة)؛ لأنه وصفه بصفة لا شيء

วิจารณ์

คำสิ่งที่ผมได้อ้างอิงไปนี้ จะพบว่ามีคำพูดที่ ท่านอัลบานีย์วงเล็บ(...) เอาไว้ คือคำว่า

( فإنهم لم ينفوا ولم يفسروا، ولكن آمنوا بما في الكتاب والسنة ثم سكتوا، فمن قال بقول جهم فقد فارق الجماعة)

และท่านอัลบานีย์ได้กล่าววิจารณ์มันเอาไว้ว่า

زيادة من اللالكائى

"(คำกล่าวนี้) เป็นการเพิ่มมาจากคำพูดของ อัลลาลิกาอีย์" ดู มุคตะซ๊อร อัลอุลุว์ ของท่านอัซซะบีย์ ที่ทำการย่อโดย ท่าน อัลบานีย์ หน้า 159

เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณจะแน่ใจได้สักแค่ใหนว่า จะไม่มีการเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงคำกล่าวของอุลามาอ์ ท่านอัลอัลลาละกาอีย์ ยังเพิ่มเติมข้อความของอุลามาอ์ โดยเฉพาะการโจมตีพวก อัลญะฮ์มียะฮ์ ดังที่กล่าวมาข้างต้น
***********
ผมก็ไม่รู้ว่ามันผิดตรงไหนกับการกล่าวว่า อัซซะฮะบีย์ได้กล่าวอ้างไว้ในหนังสือของท่าน เพราะมันไม่ใช่เงือนไขว่า การจะกล่าวว่า ?อ้าง? นั้น เขาผู้นั้นจะต้องรายงานจากตัวผู้พูดจริงๆ เช่น เราพูดว่า อาจารย์อามีนอ้างหะดีษจากท่านนบี การกล่าวเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ แน่นอนมันถูกต้อง คงไม่มีใครปฏิเสธ ทั้งๆที่อ.อามีน ไม่ได้รายงานจากท่านนบีโดยตรง แต่อาจจะอ่านเจอในหนังสือของอัลบุคอรีย์
**************
ส่วนที่ว่า มีความแน่ใจแค่ไหนว่าอัลลาละการอีย์ ไม่ได้เพิ่มเติ่มคำพูดของอุละมาอฺ
ท่านครับเราคงไม่กล้าที่จะไปกล่าวบรรดาอุละมาอฺหรอกว่าเขาไปเสริมแต่ง
และท่านก็คงรู้กฎข้อหนึ่งอยู่ว่า
الأصل البراءة
ฐานเดิมของมนุษย์นั้นคือความบริสุทธิ์
ฉะนั้นเราจะไม่กล่าวว่ามุสลิมคนหนึ่งผิด นอกจากมันจะต้องมีหลักฐานบ่งชี้อย่างแน่ชัด

ส่วนข้อความที่ท่านยกมาเพื่อจะบอกว่ามีคำพูดที่อัลลาละกาอีย์เพิ่มเติ่มจากคำพูดของอุละมาอฺ  ประโยคที่ยกมานั้นถ้าอัลลาละอีย์เพิ่มเติ่มจริง ก็ไม่ใช่ว่า ท่านจะต้องเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆด้วย เพราะถ้าเราคิดเช่นนั้นแล้ว ก็หมายความว่า หนังสือของท่านทั้งเล่มย่อมเป็นที่ครหา

และหากเราจะดูเรื่องเพิ่มเติม ในหะดีษของท่านนบีก็มีการเพิ่มเติ่ม หรือที่เรียกว่า อัลมุดร็อจญ์ ซึ่งการเพิ่มเติมนั้นอาจจะมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายคำหรือประโยคในหะดีษเพื่อในชัดเจนยิ่งขึ้น และถ้าเราศึกษาเรื่องนี้ เราจะเห็นว่า มีบรรดาเศาะหาบะฮฺที่เพิ่มเติ่มจากคำพูดของท่านนบี(มุดร็อจญ์) ดังเช่นท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ ในหะดีษ
ويل للأعقاب
และก็มีบรรดาตาบิอีนที่มีการเพิ่มเติ่มเช่นท่านอัซซุฮฺรีย์
ที่นี้เรามาถามว่า หะดีษของท่านรายงานโดยอบูหุร็อยเราะฮฺและอัซซุฮฺรี สามารถใช้ได้ไหม แน่นอนใช้ได้
แล้วที่ว่า เขามีการเพิ่มเติมล่ะ
คำตอบคือ มันไม่ใช่ว่าท่านจะเพิ่มเติมทั้งหมดในหะดีษที่ทั้งสองรายงานนี้หน่า เราจะไม่กล่าวว่าเขาเพิ่มเติมนอกจากจะมีหลักฐาน และถ้าไม่มีหลักฐาน เราก็ไม่สามารถบอกได้ว่า ท่านเพิ่มเติม

และกรณีของอัลลลาะกาอีย์ ก็เช่นเดียวกัน

อีกทั้งการกล่าวแบบนี้มันจะทำให้หนังสือของอิสลามหลายๆเล่มมั่วหมองไป เพราะอาจจะมีบางคนกล่าวว่า ท่านแน่ใจหรือ ว่า ผู้แต่งไม่ได้เสริมจากคำพูดของอุละมาอฺที่เขาอ้างอิงมา???

ออฟไลน์ ubaid

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 19
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #76 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 01:30 PM »
0
ผมคิดว่าคุณไม่น่าเอาจะเอาการรายงานของ ท่านอัลลาลิกาอีย์ที่รายงานแบบ วะญาดะฮ์ มาเทียบกับการรายงานของท่านอิบนุหะญัรจึงถึงอิมามอัลบาคอรีย์ ซึ่งจากการรายงานของท่านอิบนุหะญัรจนถึงซอฮิหฺท่านอัลบุคอรีย์นั้น มีสายรายงานที่สืบเนื่องจนถึงหนังสือซอฮิหฺอัลบุคคอรีย์

แต่ท่านอัลลาลิกาอีย์ ได้รายงานแบบวิญาดะฮ์ คือแค่ไปพบหนังสือเล่มหนึ่งที่เขาอ้างว่าเป็นของท่านอบูหาติม(ร.ฮ.) ซึ่งเป็นการรายงานที่ไม่ได้รับ อิญาซะฮ์ อนุญาติจากท่านอบูหาติม และหนังสือดังกล่าวของท่านอบูหาติมนั้น ได้ทำการยืนยันเพียงแค่ท่านอัลลาลิกาอีย์เท่านั้น ส่วนท่านอัซซะฮะบีย์ก็ตักลีดรายงานมาจากท่านอัลลาลิกาอีย์อีกครั้งหนึ่ง ในขณะที่ท่านอัซซะฮะบีย์อายุ 18 เท่านั้น แต่หลังจากที่ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้รำเรียนความวิชาการเพิ่มและแกร่งกล้า ท่านก็ยกเลิกทัศนะของท่านจากหนังสือ อัลอุวู้ ที่ท่านได้เขียนไว้

ดังนั้น คุณจะเอากรณีของท่านอิบนุหะญัรกับท่านอัลลากิลาอีย์มาเทียบกันนั้น ผมคิดว่ามันไม่ตรงประเด็นและเทียบกันไม่ได้ตามหลักพิจารณาหะ
*************************
ที่ผมพยายามจะบอกคือ การรายงานของรายงานของอัลลาละกาอีย์ถึงท่านอบูหาติมนั้นไม่ใช่การรายงานแบบ อัลวิญาดะฮฺ แต่เป็นการรายงานที่มีสายรายงานถึงท่านอบูหาติม เหมือนกับที่อิบนุหะญัรรายงานจากท่านอัลบุคอรีย์
ท่านอัซซะหะบีย์กล่าวว่า
قال الحافظ أبو القاسم الطبري وجدت في كتاب أبي حاتم محمد بن إدريس بن المنذر الحنظلي -مما سمع منه- يقول
ดังจะเห็นได้จากประโยคที่ว่า
   
   -مما سمع منه
   
ซึ่งสิ่งที่เขา(อัลลาละกาอีย์)ได้ยินจากเขา(อบูหาติม) เราไม่อาจกล่าวได้ว่า อัลลาละกาอีย์ได้ยินจากอบูหาติม นอกจากเขาจะต้องรายงานจากอบูหาติม
นี้คือความเข้าใจของผม ในประโยคข้างต้น

อีกทั้งผมยังได้ยกคำกล่าวนั้นในหนังสือของอัลลาละกาอีย์อีก 3 ที่

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #77 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 01:36 PM »
0
อ้างจาก: "ubaid"
ผมก็ไม่รู้ว่ามันผิดตรงไหนกับการกล่าวว่า อัซซะฮะบีย์ได้กล่าวอ้างไว้ในหนังสือของท่าน เพราะมันไม่ใช่เงือนไขว่า การจะกล่าวว่า ?อ้าง? นั้น เขาผู้นั้นจะต้องรายงานจากตัวผู้พูดจริงๆ เช่น เราพูดว่า อาจารย์อามีนอ้างหะดีษจากท่านนบี การกล่าวเช่นนี้ถูกต้องหรือไม่ แน่นอนมันถูกต้อง คงไม่มีใครปฏิเสธ ทั้งๆที่อ.อามีน ไม่ได้รายงานจากท่านนบีโดยตรง แต่อาจจะอ่านเจอในหนังสือของอัลบุคอรีย์


กล่าวสมมุติว่า  อาจารย์อามีนอ้างหะดิษจากท่านนบี  ซึ่งการกล่าวอย่างนี้ ถือว่าถูกต้องหากว่ามีหะดิษที่ท่านนบีได้กล่าวไว้จริง   แต่การกล่าวว่าได้พบจากหนังสือของท่านอบีหาติม โดยหนังสือไม่มีตนมายืนยัน  แล้วมันจะไปน่าเชื่อถือได้อย่างไร ? ดังนั้น  การกล่าวว่ามีหนังสือของท่านอบูหาติมอาจจะกล่าวลอย ๆ ขึ้นมาก็ได้หรืออาจจะกล่าวจริงก็ได้  ซึ่งสามารถตีความได้ทั้งสองอย่างโดยมีน้ำหนักเท่ากัน
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #78 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 01:38 PM »
0
อ้างจาก: "ubaid"
ส่วนที่ว่า มีความแน่ใจแค่ไหนว่าอัลลาละการอีย์ ไม่ได้เพิ่มเติ่มคำพูดของอุละมาอฺ
ท่านครับเราคงไม่กล้าที่จะไปกล่าวบรรดาอุละมาอฺหรอกว่าเขาไปเสริมแต่ง
และท่านก็คงรู้กฎข้อหนึ่งอยู่ว่า
الأصل البراءة
ฐานเดิมของมนุษย์นั้นคือความบริสุทธิ์
ฉะนั้นเราจะไม่กล่าวว่ามุสลิมคนหนึ่งผิด นอกจากมันจะต้องมีหลักฐานบ่งชี้อย่างแน่ชัด


เราต้องพิจารณาดูด้วยว่า การเพิ่มของอุลามาอ์นั้น  เพื่ออธิบายตัวบทหรือเพื่ออธิบายทัศนะของตน  อุลามาอ์หะดิษเขาจะไม่รับรายงานของผู้เรียกร้องไปสู่บิดอะฮ์ของตนหรือหรือเรียกร้องไปสู่แนวทางของตนเอง  และการอ้างอิงคำกล่าวของอุลามาอ์ด้วยเพิ่มเติมคำพูดของตนเอง โดยการระบุว่า قلت  "ฉันกล่าว" นั้น  ถือว่าไม่มีอะมานะฮ์ในการอ้างอิงคำกล่าวของอุลามาอ์  นี่คือผมพูดตามหลักการ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #79 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 01:40 PM »
0
อ้างจาก: "ubaid"
ส่วนข้อความที่ท่านยกมาเพื่อจะบอกว่ามีคำพูดที่อัลลาละกาอีย์เพิ่มเติ่มจากคำพูดของอุละมาอฺ ประโยคที่ยกมานั้นถ้าอัลลาละอีย์เพิ่มเติ่มจริง ก็ไม่ใช่ว่า ท่านจะต้องเพิ่มเติมในส่วนอื่นๆด้วย เพราะถ้าเราคิดเช่นนั้นแล้ว ก็หมายความว่า หนังสือของท่านทั้งเล่มย่อมเป็นที่ครหา


แล้วคุณไม่ลองพิจาณาข้อความแวดล้อมดูบ้างหรือว่า  การเพิ่มของท่านอัลลาละกาอีย์นั้น  จะอยู่ในแนวทางของการโต้ตอบพวกอัลญะฮ์มียะฮ์  ซึ่งตัวบทที่ผมอ้างมาและตัวบทที่ผมอ้างไป  มันก็อยู่ในกรณีเดียวกัน  ดังนั้น นักปราชญ์หะดิษนั้น  เขาจะไม่รับสายรายงานของผู้เรียกร้องไปสู่บิดอะฮ์  อันเนื่องจากว่าเป็นไปได้ที่เขาจะทำการรายงานเพื่อสนองในแนวทางของตน ทั้งที่นักหะดิษเองก็น่าจะคาดการณ์เหมือนคุณที่ว่า  เขาอาจจะไม่เพิ่มเติมหลักการของตนไปทั้งหมด

การที่ผมได้พูดไปนั้น  ไม่ใช่จะสรุปว่า หนังสือของท่านทั้งเล่มเป็นที่ครหา  แต่เราเน้นจุดตรงที่ว่า หากโจมตีแนวทางอื่นที่ท่านอัลลาละกาอีย์ไม่พอใจนั้น  อาจจะไม่มีการเพิ่มเติมก็เป็นได้  ซึ่งการคาดการณ์นี้เป็นไปได้ทั้งสองแง่  

และหนังสือ ชัรหฺเอี๊ยะอฺติก๊อต อัซซุนนะฮ์  ของท่านอัลลาละกาอีย์นี้  ก็ไม่มีนักปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์เท่าใดนำมาอ้างหลักฐานเกี่ยวกับอากีดะฮ์  นอกจากวะฮาบีย์เท่านั้นที่หรือฟื้นขึ้นมา  นั่นมันมาจากสาเหตุอันใด? และยังมีหนังสืออีกหลายเล่มที่อุลามาอ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ไม่นำมาใช้ในการอ้างหลักการของอากีดะฮ์ แต่วะฮาบีย์ฟื้นฟูมันขึ้นมาเพราะเหตุใด?


 
อ้างจาก: "ubaid"
และหากเราจะดูเรื่องเพิ่มเติม ในหะดีษของท่านนบีก็มีการเพิ่มเติ่ม หรือที่เรียกว่า อัลมุดร็อจญ์ ซึ่งการเพิ่มเติมนั้นอาจจะมีจุดประสงค์เพื่ออธิบายคำหรือประโยคในหะดีษเพื่อในชัดเจนยิ่งขึ้น และถ้าเราศึกษาเรื่องนี้ เราจะเห็นว่า มีบรรดาเศาะหาบะฮฺที่เพิ่มเติ่มจากคำพูดของท่านนบี(มุดร็อจญ์) ดังเช่นท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ ในหะดีษ
ويل للأعقاب
และก็มีบรรดาตาบิอีนที่มีการเพิ่มเติ่มเช่นท่านอัซซุฮฺรีย์
ที่นี้เรามาถามว่า หะดีษของท่านรายงานโดยอบูหุร็อยเราะฮฺและอัซซุฮฺรี สามารถใช้ได้ไหม แน่นอนใช้


มันเกี่ยวอะไรกับการเพิ่มเติมกับสิ่งที่ตนต้องการและทำให้ทัศนะของนักปราชญ์นั้น ๆ ต้องเสียไป   การเพิ่มเติมแบบ อัลมุดรีอจญ์  ส่วนหนึ่งคือการเพิ่มเติมเพื่ออธิบายคำ  และไม่ทำให้ความหมาของหะดิษเปลี่ยนแปลง  แต่การเพิ่มเติมโดยนำมารวมกับคำพูดผู้อื่น  โดยที่ดูแล้วมันเหมือนกับว่าเป็นคำพูดของอิมามคนนั้น  ย่อมเป็นการเพิ่มคำพูดของอุลามาอ์โดยที่พวกเขาไม่ได้กล่าวเอาไว้  และทำให้ทัศนะของนักปราชญ์ท่านนั้น  ต้องเสียความหมายจริงตามที่นักปราชญ์ท่านนั้นมุ่งหมาย  และความหมายของนักปราชญ์ท่านนั้น ๆ ก็ชัดเจนอยู่แล้วโดยต้องการไปยังการสอดแซรกทัศนะของตนเพื่อให้ความหมายมายังทัศนะของที่ตนต้องการ  และคุณเอาหลักการ อัลมุดร๊อจญ์  เป็นหลักการในการเพิ่มคำพูดได้ละก็ มันเป็นอันตรายในการเพิ่มเติมคำพูดของอุละมาอ์ทั้งที่พวกเขาไม่ได้กล่าวมันเอาไว้  และผมก็ไม่คิดว่าคุณจะยกคำกล่าวอ้างนี้  เพื่อมาแก้ตัวให้กับผู้ที่เพิ่มเติมคำพูดของอุลามาอ์
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #80 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 01:57 PM »
0
อ้างอิงจากคุณ ubaid

ที่ผมพยายามจะบอกคือ การรายงานของรายงานของอัลลาละกาอีย์ถึงท่านอบูหาติมนั้นไม่ใช่การรายงานแบบ อัลวิญาดะฮฺ แต่เป็นการรายงานที่มีสายรายงานถึงท่านอบูหาติม เหมือนกับที่อิบนุหะญัรรายงานจากท่านอัลบุคอรีย์
ท่านอัซซะหะบีย์กล่าวว่า

قال الحافظ أبو القاسم الطبري وجدت في كتاب أبي حاتم محمد بن إدريس بن المنذر الحنظلي -مما سمع منه- يقول

ดังจะเห็นได้จากประโยคที่ว่า

-مما سمع منه

ซึ่งสิ่งที่เขา(อัลลาละกาอีย์)ได้ยินจากเขา(อบูหาติม) เราไม่อาจกล่าวได้ว่า อัลลาละกาอีย์ได้ยินจากอบูหาติม นอกจากเขาจะต้องรายงานจากอบูหาติม
นี้คือความเข้าใจของผม ในประโยคข้างต้น

วิจารณ์

คำว่า مما سمع منه หมายถึง "จากสิ่งที่เขา(คือท่านอบูหาติม) ได้ยินมาจากสิ่งนั้น คำว่า منه นั้น เป็นอาอิด กลับไปหา ما  และคำว่า يقول  เป็นประโยค حال  ให้คำสรรพนาม هو ที่แฝงอยู่ในคำว่า سمع  ซึ่งไม่ใช่หมายถึงว่า "สิ่งที่เขา(อัลลาละกาอีย์)ได้ยินมาจากเขา"  เนื่องจากประโยคคำกล่าวนี้  ท่านอัลลาละกาอีย์  ได้กล่าวเอาไว้เองไม่ใช่เป็นคำพูดของท่านอัซซะฮะบีย์  ซึ่งหากหมายถึงที่คุณว่ามาว่า  ท่านอัลลาละกาอีย์ก็สมควรกล่าวว่า  سمعت منه "ฉันได้ยินมาจากเขา"

และการรายงานแบบวิญาดะฮ์นั้น  คือคำว่า وجدت في كتاب أبي حاتم  "ฉันได้พบในหนังสือของอบูหาติม"  ผมไม่นึกว่าคุณรู้จักหลักการ อัลมุดร๊อจญ์ แต่ไม่ทราบหลักการ อัลวิญาดะฮ์  วัลลอฮุอะลัม

وسنريهم اي منقلب ينقلبون قل جاء الحق وزهق الباطل ان الباطل كان زهوقا
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ ubaid

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 19
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #81 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 02:05 PM »
0
ผมว่า หลักการที่ชัดเจนที่สุดคือ

ถ้าไม่มีหลักฐานมาบ่งชี้ในการเพิ่มเติ่ม เราก็มิควรไปกล่าวหา และไม่ยอมรับเขา

อีกทั้งการจะกล่าวว่าใครผู้เป็นเรียกร้องสู่บิดอะฮฺ อันนี้มันมีตัววัดไม่ได้ เพราะบางคนก็บอกว่า เขาเป็นผู้บิดอะฮฺ บางคนก็บอกว่าไม่

ขอความช่วยเหลือจากพี่น้องว่า มีหนังสือเล่มใดบ้างที่กุขึ้นแล้วพาดพิงไปยังอุละมาอฺอย่างไม่เป็นธรรม พร้อมกับยกเหตุผลถึงความไม่ถูกต้อง

และหนังสือที่ผู้แต่งแต่งขึ้นจริง แต่เขาได้เปลี่ยนทัศนะจากสิ่งที่เขาแต่งแล้ว พร้อมกับยกหลักฐานมาเช่นเดิมครับ

เพราะผมก็เคยได้ฟังมาเหมือนกัน แต่ไม่เคยได้รู้หลักฐานที่แจ่มแจ้งเลยว่ามันมีหลักฐานอะไรบ้าง

ตั้งเป็นกระทู้เลยก็ได้ครับ

ออฟไลน์ ubaid

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 19
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #82 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 02:13 PM »
0
ผมไม่ได้บอกแม้แต่นิดเลยอนุญาตให้เพิ่มเติ่มคำพูดของอุละมาอฺได้ เพียงแต่จะบอกว่าการผู้ที่เพิ่มเติ่มนั้น มันไม่จำเป็นว่าจะต้องทิ้งคำพูดของเขาเสียหมด นอกจากจะต้องมีหลักฐานว่าเขาเพิ่มจริงๆ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #83 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 02:15 PM »
0
อ้างอิงจากคุณ ubaid

ถ้าไม่มีหลักฐานมาบ่งชี้ในการเพิ่มเติ่ม เราก็มิควรไปกล่าวหา และไม่ยอมรับเขา

อีกทั้งการจะกล่าวว่าใครผู้เป็นเรียกร้องสู่บิดอะฮฺ อันนี้มันมีตัววัดไม่ได้ เพราะบางคนก็บอกว่า เขาเป็นผู้บิดอะฮฺ บางคนก็บอกว่าไม่

วิจารณ์

คุณ ubaid ครับ  การเรียกร้องไปสู่บิดอะฮ์นั้น  คือตัวอย่างที่ผมได้ยกอ้างไปเกี่ยวกับ สถานะภาพการรายงานของนักหะดิษ  เพื่อจะเปรียบเทียบว่า  การเพิ่มคำพูดของอุลามาอ์ที่สนองแนวคิดของตนนั้น  ย่อมไม่น่าเชื่อถือ  

หากเราอ่านหนังสือฟัตหุลบารีย์  เราจะพบว่า  ท่านอิบนุหะญัรเอง  ก็อ้างอิงการายงานของท่าน อัลลาละกาอีย์ บ้าง  แต่ก็เรื่องปกติทั่วไป  แต่เรื่องอากีดะฮ์นั้น  ท่านอิบนุหะญัรไม่ทำการรายงานจากท่านอัลลาละกาอีย์  เนื่องจากหนังสือที่เกี่ยวกับอากีดะฮ์ของท่านอัลลาละกาอีย์  ไม่เป็นที่ยอมรับของนักปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์  นอกจากวะฮาบีย์ทำการฟื้นฟูมันขึ้นมาในปัจจุบันอีกครั้งหนึ่งเท่านั้นเอง
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #84 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 02:20 PM »
0
อ้างอิงจากคุณ ubaid

ไม่ได้บอกแม้แต่นิดเลยอนุญาตให้เพิ่มเติ่มคำพูดของอุละมาอฺได้ เพียงแต่จะบอกว่าการผู้ที่เพิ่มเติ่มนั้น มันไม่จำเป็นว่าจะต้องทิ้งคำพูดของเขาเสียหมด นอกจากจะต้องมีหลักฐานว่าเขาเพิ่มจริงๆ

วิจารณ์

คุณน่ะไม่ได้อนุญาตหรอก  แต่หลักการของคุณที่เอาเรื่อง อัลมุดร๊อจญ์มาเปรียบเทียบนั้น  มันอาจเป็นสู่นำไปสู่หลักการดังกล่าว  ก็เท่านั้นเอง โปรดเข้าใจครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #85 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 02:27 PM »
0
อ้างอิงจากคุณ ubaid

และหนังสือที่ผู้แต่งแต่งขึ้นจริง แต่เขาได้เปลี่ยนทัศนะจากสิ่งที่เขาแต่งแล้ว พร้อมกับยกหลักฐานมาเช่นเดิมครับ

วิจารณ์

หากคุณหมายถึง หนังสือ อัลอุลู้ว ของท่านอัซซะฮะบีย์ ตอนที่ท่านแต่งหนังสืออายุ 18 ปี แล้วหลังจากนั้น  ท่านได้ยกเลิกจากหนังสือดังกล่าวนั้น  ผมมีหลักฐานในการประกอบพิจารณาครับ  แต่ขอไว้โอกาหน้าส อินชาอัลเลาะฮ์ เนื่องจากต้องใช้การค้นคว้าสักนิดหนึ่งนะครับ  นี่เราก็คุยกันมาเยอะแล้วในวันนี้  ผมขอพักผ่อนและไปทำภาระหน้าที่ของตนเองก่อน  แล้วเจอกันไหม่  พร้อมกระทู้ที่ผมจะตั้งขึ้นวิจารณ์หนังสือ อัตตัดมุรียะฮ์  อินชาอัลเลาะฮ์
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ ubaid

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 19
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #86 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 02:53 PM »
0
หากเราอ่านหนังสือฟัตหุลบารีย์ เราจะพบว่า ท่านอิบนุหะญัรเอง ก็อ้างอิงการายงานของท่าน อัลลาละกาอีย์ บ้าง แต่ก็เรื่องปกติทั่วไป แต่เรื่องอากีดะฮ์นั้น ท่านอิบนุหะญัรไม่ทำการรายงานจากท่านอัลลาละกาอีย์ เนื่องจากหนังสือที่เกี่ยวกับอากีดะฮ์ของท่านอัลลาละกาอีย์ ไม่เป็นที่ยอมรับของนักปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ นอกจากวะฮาบีย์ทำการฟื้นฟูมันขึ้นมาในปัจจุบันอีกครั้งหนึ่งเท่านั้นเอง
****
ขอหลักฐานและตัวอย่างที่ท่านอัลหาฟิซอ้างอิงการรายงานของอัลลาละกาอีย์ในเรื่องปกติทั่วไป

และหลักฐานที่ท่านอัลหาฟิซไม่รายงานจากท่านในเรื่องอากิดะฮฺ

ส่วนประเด็นการยอมรับของหนังสืออัลลาละกาอีย์ว่าไม่เป็นที่ยอมรับ ผมก็ขอหลักฐานจากอุละมาอฺรุ่นก่อนๆด้วยครับ

ผมว่าเราอย่ามามัวกล่าวหาเลยว่า นี้คือหนังสือของวะหะบีย์ เพราะมันไม่จบ เพราะอีกฝ่ายก็จะกล่าวอีกว่า นี้คือหนังสือของมุอฺตะซิละฮฺ ต่างคนต่างก็จะไม่ยอมรับในหนังสือของแต่ละฝ่าย

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #87 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 03:14 PM »
0
ในประเด็นของท่านอิบนุหะญัรไม่อ้างอิงหลักอุศูลจากท่านอัลลาละกาอีย์นั้น ผมพูดตามการอิจญฮาดของผม เท่าที่ได้อ่านหนังสือ ฟัตหุลบารีย์ มา  ซึ่งหากคุณจะคัดค้านมานั้น  ผมขอแนะนำให้คุณไปอ่านเรื่องอากีดะฮ์ที่ได้กล่าวไว้ในฟัตฮุลบารีย์  เพื่อตรวจสอบดูว่าท่านอิบนุหะญัรได้ทำการอ้างรายงานจากท่านอัลลาละกาอีย์เกี่ยวกับหลักอูซูลที่มีปัญหากันระหว่างอะชาอิเราะฮ์และวะฮาบีย์กันหรือเปล่า

ส่วนหนังสือของท่านอัลลาละกาอีย์  ที่ไม่เป็นที่ยอมรับนั้น คือเฉพาะเรื่องของอากีดะฮ์  สว่นเรื่องอื่นไม่มีปัญหาเนื่องจากอัลลาละกาอีย์เองก็เป็นอุลามาอ์มัซฮับชาฟิอีย์  และหลังฐานที่นักปราชญ์ไม่ยอมรับที่พอจะมองเห็นได้ก็คือ  บรรดานักปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์  ไม่ได้เอ่ยอ้างอิงถึงและไม่มีการตีพิมพ์ขึ้น นอกจากวะฮาบีย์เท่านั้นที่ฟื้นฟูมันขึ้นมา

และผมก็เห็นด้วยกับการวิจารณ์หนังสือ  ซึ่งคงไม่ได้ประโยชน์อะไรมากนัก เนื่องจากต่างฝ่ายก็ไม่ยอมรับซึ่งกันและกัน  ผมว่าเรามาพิจารณาถึงเนื้อหามันของมัน  แล้วมาเสวนาในเชิงวิชาการกันดีกว่า  แต่หนังสืออัลอุลูว์ นั้น ผมพอมีหลักฐานชี้แจงประกอบเกี่ยวกับยกเลิกทัศนะของท่านอิมามอัซซะฮะบีย์  ไม่ทราบว่าคุณจะสนทนาประเด็นนี้หรือเปล่า?
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #88 เมื่อ: พ.ย. 24, 2006, 08:35 AM »
0
คุณ.อูเบต.กล่าว่า..
*****
ผมไม่ได้บอกว่า..มัซฮับทั้ง4 ไม่ได้ตามอัลกุรอานและสุนนะฮฺ ทุกท่านยึดสายหลักนี้ เพราะใครก็ตามที่ไม่ยึดหลักนี้ ก็ไม่รู้ว่าเขาจะเรียกว่ามุสลิมได้ไง ทุกๆท่านตามหลักนี้ แต่การการวินิจฉัยและอิจติฮาดของแต่ละปัญหาอาจมีความแตกต่างกัน และในความแตกต่างนี้เราจะเลือกทัศนะไหน นั้นคือเราเลือกว่าทัศนะไหนที่มันใกล้เคียงกับซุนนะฮฺมากที่สุด ส่วนทัศนะไหนที่ใกล้เคียงกับซุนนะฮฺนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแต่ละคนไป ซึ่งใครจะเลือกทัศนะไหน ก็แล้วแต่การวินิจฉัยของเขาเอง ฉะนั้นที่เราตามก็คือ หลักฐานของอุละมาอฺที่เขายกมา ไม่ใช่ตามเพราะตัวบุคคล ท่านก็บอกแล้วว่าบรรดามัซฮับไม่ได้บังคับให้ตามท่าน ฉะนั้นในปัญหาหนึ่งเราจะตามมัซฮับหะนะฟีย์ และอีกปัญหาหนึ่งเราจะตามมาลิกีย์ ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร หากที่เราตามเนื่องจากทัศนะของเขาเป็นทัศนะที่แข็งแรงในทัศนะของเรา และบางที่ทัศนะที่เราคิดว่าแข็งแรงอาจเป็นทัศนะที่อ่ออนในทัศนะของคนอื่น
และในหนังสือที่พวกท่านเรียกว่าวะหะบีจะมีกล่าวอยู่เสมอว่า ทัศนะของมัซฮับนี้ว่าอย่างนี้ มัซฮับนี้ว่าอย่างนี้ และทัศนะที่ถูกต้องคือทัศนะทัศนะนี้
ส่วนที่ว่าทำไมเขาจึงมักยกคำพูดของอิบนุตัยมียยะฮฺ อบนุก็อยยิม อันนี้ก็อาจเนื่องจากว่าทัศนะของท่านอาจจะเป็นทัศนะที่มีน้ำหนักมากกว่าในทัศนะของผู้ยกคำพูดมา ซึ่งทัศนะของทั้งสองส่วนมากก็จะมีอยู่ในทัศนะของมัซฮับทั้งสี่[/quote]
------------------------------------------------------------

คุณอูเบตครับ..ผมยังข้องใจและยังไม่เคลียร์ในสิ่งที่คุณพูดว่า..แต่การการวินิจฉัยและอิจติฮาดของแต่ละปัญหาอาจมีความแตกต่างกัน และในความแตกต่างนี้เราจะเลือกทัศนะไหน นั้นคือเราเลือกว่าทัศนะไหนที่มันใกล้เคียงกับซุนนะฮฺมากที่สุด..

..ตอนแรก..คุณบอกว่า ..ยอมรับ การวินิจฉัยของผู้รู้เหล่านั้นและไม่ได้ปฏิเสธมันแต่ตอนหลังคูณกลับพูดว่า ..คุณจะเลือกเอาทัศนะไหนก็ได้ที่มันใกล้เคียง..

ถ้าเช่นนั้น ผู้รู้ในมัสหับทั้ง4 มันก็ต้องมีคนผิดหรือคนที่วินิจฉัยไกลจากความจริงที่ตนรู้มาใช่ไหมครับ..
คุณถึงบอกว่า..สำหรับคุณจะเลือกเฉพาะสิ่งที่ถูกต้องและเป็นการกระทำที่เป็นซุนนะนบีมากที่สุด..ซึ่งผมก็ยังสับสนในสิ่งที่คุณพูดอยู่ดีครับ..


และในกรณีที่ท่านอีม่ามชาฟีอี(รฮ)บอกว่าฮาดิสที่เกี่ยวกับการยกมือในละหมาดซุบฮิ..ฯลฯ..นั้นเป็นฮาดิสซอเหียะ..แล้วในทัศนะของคุณ นั้นบอกว่ามันเป็นฮาดิสดออีฟนั้น คุณเอา การวินิจฉัยของอุลามะทัซนะใดหรือครับ..กรุณาชี้แจงด้วย..
-----------------------------------------------------------

ออฟไลน์ อายะฮ์

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 49
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #89 เมื่อ: พ.ย. 24, 2006, 11:38 AM »
0
วะฮาบีย์มักจะมีหลักการหรือโลโก้ดีไว้ก่อน  เช่นบอกว่าพวกเขาจะเลือกทัศนะที่ไกล้เคียงกับซุนนะฮ์มากที่สุด  นั่นก็หมายความว่า  สิ่งที่พวกเขาเลือกนั้นคือสิ่งที่ใกล้เคียงกับซุนนะฮ์  นั่นคือหลักการหรือโลโก้นำหน้าของพวกเขา  ส่วนหลักการปฏิบัตินั้น  เราอย่าเพิ่งปักใจเชื่อครับ  เนื่องจากมันอาจจะส่วนทางกับโลโก้ที่พวกเขาวางเอาไว้  

เฉกเช่นเดียวกัน วะฮาบีย์พยายามพูดหลักการหรือโลโก้อากีดะฮ์ที่ว่า ตามแนวทางของสะลัฟ  นั่นคือหลักการครับ  แต่หลักยึดมั่นจริง ๆ นั้น  เราอย่าเพิ่งปักใจเชื่อ  คือเราต้องพิจารณากันก่อน  ซึ่งหากว่าวะฮาบีย์อยู่ในแนวทางของสะลัฟจริง  ก็คงไม่มีใครทำการต่อต้านอากีดะฮ์ของวะฮาบีย์กันหรอกครับ

คุณอุเบดบอกว่า ทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์และท่านอิบนุก๊อยยิมนั้น ก็ไม่พ้นหรือไม่ออกจากมัซฮับทั้งสี่  ผมเองก็ไม่ทราบว่าคุณอุเบดพูดจริงหรือเปล่า? และแน่ใจหรือเปล่าว่าคำพูดของตนเองถูกต้องเกี่ยวกับกรณีของท่านอิบนุตัยมียะฮ์และท่านอิบนุก๊อยยิม
สานุศิษย์

 

GoogleTagged