ผู้เขียน หัวข้อ: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์  (อ่าน 54087 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #90 เมื่อ: พ.ย. 24, 2006, 02:58 PM »
0
คุณ ubaid ครับ  ผมได้ทำการตั้งกระทู้ขึ้นมาที่กระดานเสวนาชี้แจงแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ชือกระทู้"วิจารณ์หนังสืออัตตัดมุรียะฮ์ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์" ไว้เรียบเร้อยแล้วครับ  กรุณาเข้าไปเสวนาแลกเปลี่ยนและชี้แนะเราได้เลยครับ

http://www.sunnahstudents.com/bord/viewtopic.php?t=61
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ ตับลีค

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 11
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #91 เมื่อ: ธ.ค. 03, 2006, 02:47 PM »
0
:) เข้ามาดู

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #92 เมื่อ: ธ.ค. 08, 2006, 07:18 PM »
0
เอ... เจ้าของกระทู้หายไปหลายวัน  ยังไงก็เข้ามานำเสนอความรู้กันต่อนะครับ 

ออฟไลน์ ismail

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 3
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #93 เมื่อ: ธ.ค. 10, 2006, 09:39 AM »
0
ตามที่ "คนอยากรู้"บอกในคำตอบที่ 26 หัวข้อวาฮาบีย์ วันที่ 13 พ.ย.49 ที่กระบี่ ผลงานของเขาเกิดแล้วครับ
วิธีการสร้างความแตกแยกของเขาเป็นอย่างนี้ครับ เขาจะพูดในประเด็นที่ถูกเชิญมาให้พูดให้เสร็จเรียบร้อยซึ่งดูแล้วก็ดี แต่พอถึงบทที่เขาจะสร้างความแตกแยกขึ้น เขาก็จะให้มีคนถามปัญหาขึ้นมา ซึ่งอันนี้เขาจัดเตรียมมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พูดง่าย ๆ ว่าเตี้ยมกันมาว่างั้นเถอะ ปัญหาที่ถามก็ต้องเป็นปัญหาคีลาฟียะฮ์ซึ่งเขาชอบที่จะตอบอยู่แล้ว ซึ่งโดยความเป็นจริงถ้าเป็นนักวิชาการพูดก็ต้องพูดให้หมดกระบวนการทางหลักวิชาแล้วถึงจะแสดงถึงทรรศนะที่ตนเห็นด้วยอย่างมีเหตุผล แต่นี่ไม่มีเลยสงสัยอยากโชว์ออฟมากกว่า มีแต่แสดงทรรศนะที่บอกว่าของตัวเองแต่ตักลีดตามคนอื่นล้วน ๆ แล้วก็ฟัตวา (คำนี้เขาชอบใช้)คนอื่นเป็นบิดอะฮ์ทั้งนั้น อย่างนี้เขาเรียกว่าดูถูกผู้ฟังชัด โธ่ แค่เขาอ้าปากเราก็เห็นลิ้นไก่แล้ว แต่ปัญหาที่เกิดนั้นก็ต้องยอมรับว่าคนส่วนใหญ่นั้นอาวามไม่สามารถที่จะรู้ข้อเท็จจริงได้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #94 เมื่อ: ธ.ค. 10, 2006, 11:01 AM »
0
กลุ่มวะฮาบีย์  อย่างมุรีด , ริฏอ , และฟาริด นั้น  พวกเขาจะตะอัศศุบคลั่งไคล้ทัศนะของพวกเขาแบบตักลีดโดยไม่ลืมหูลืมตา  ทัศนะใดที่ตนเองยึดอยู่  แล้วเมื่อมารู้ความจริงว่าขัดกับสิ่งที่ตนยึด  พวกเขาก็ไม่สนใจในสัจธรรมนั้น  ความโด่งดังที่ประเสริฐ  ต้องด้วยความมีคุณธรรม  ไม่ใช่โด่งดังด้วยความอธรรมต่อผู้อื่น  โดยไปฮุกุ่มบิดอะฮ์ ชิริก ที่น้องมุสลิมแล้วโด่งดัง  จนบางครั้งลามปามนักปราชญ์แห่งโลกอิสลาม  และผมไม่เห็นว่าพวกที่นำปัญหาคิลาฟิยะฮ์มาสร้างความแตกแยกและนำมาเป็นปัจจัยทำมาหากินจะอยู่บนความดีงาม วัลลอฮุอะลัม
 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #95 เมื่อ: ธ.ค. 13, 2006, 05:05 PM »
0
ขอบคุณ คุณismail มากครับ

ที่นำเหตุการณ์เก็บตกมาเล่าให้ฟัง..ยังไงเราๆก็ต้องช่วยๆกันนะครับ ลัทธิบิดอะของวะฮาบีย์นั้นจะเริ่มจากการ เข้าสู่ประตู ฟัตวา อันดับแรก บนพื้นฐานที่ตนเข้าใจแลบะสอดคล้องกับแนวทางของตนโดยอ้างคำพูดของรู้ที่ตนเห็นว่ามันสอดคล้องมาเป็นเป้าหมายในการล่อเป้าขยายวงเพื่อฮูกมทัศนะของอุลามะในอดีต

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #96 เมื่อ: ธ.ค. 18, 2006, 04:45 PM »
0
พี่น้องทั้งหลายครับ..ณ.วันนี้..ผมพอจะสรุปสั้นๆได้ว่า..

ทัศนะวะฮาบีย์(หรือกมมุดอหรือนักวิชาการสมัยใหม่ๆ)นั้นคือทัศนะที่ไม่เอาอุลามะในแต่ละมัสหับในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่ามันขัดเขาแย้งกับความคิดเห็นในอุลามะในทัศนะของเขา...  

..ฉนั้นการที่มีผู้กล่าวว่า.

..การไม่มีมัสหับเป็นที่ยอมรับของนักปราชญ์ความหมายสิ่งนี้คือ..มันสำหรับผู้ที่มีความสามารถวินิจฉัยปัญหาต่างๆได้ด้วยตนเองและรู้ดีในทุกๆทัศนะอย่างดีเยี่ยม  แต่มัสหับต่างๆที่มีอยู่นั้น อนุญาตให้คนเอาวามหรือผู้ไม่รู้ทำการตามมุฟตีเขาได้อย่างไม่ต้องสงสัย..และเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเขาผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องศาสานา มาก่อนเลย

แต่ที่เป็นบิดอะดอลาละคือคนที่ไม่เห็นด้วยในการมีทัศนะให้ตามนั้นถือว่า เขาคือผู้ที่ปฏิเสธความรู้ของท่านเหล่านั้นอย่างสิ้นเชิง

ซึ่งเป็นที่อันตรายสำหรับผู้ที่คัดค้านพี่น้องมุสลิมที่ไม่มีความรู้ในวิชาศาสนาเลยไม่ให้ตักลีดตามมัสหับหนึ่งมัสหับใด หรือพยายามชี้นำหรือบิดเบือน...โดยการห้ามคนเอาวามคนที่ไม่มีความรู้พอไม่ให้ทำการตักลีดตามมัสหับ

ในความเป็นจริงเป้นที่รู้ว่า..ความสามารถในการเรียนรู้ และสติปัญญาของเขาเหล่านั้น อัลลออ์(ซบ)ให้ไม่เท่าเทียมกันแต่วะฮาบีย์และชาววะฮาบียะไม่เข้าใจในเรื่องนี้ ซึ่งพวกเขานั้น..ต้องการให้ทุกคนที่เป็นมนุษย์มีความรู้เท่าเทียมกันหมดโดยที่ลืมตัดดีร์ของอัลลออ์อย่างสิ่นเชิง

ดังนั้น ผู้ที่ไม่มีความรู้นั้นจะให้เขาเข้าใจอัลกรุอ่านและอัลฮาดิสอย่างท่องแท้เช่นผู้รู้กว่าได้อย่างไร..จะให้เขาวินิจฉัยและตีความหมายกระนั้นหรือ..อย่างนี้อิสลามก็เสียหาย..

ฉนั้นผู้รู้นั้นจำต้องตามถ้าเขามีความรู้ความสามารถมากกว่าเรา

แต่ไม่ใช่ว่าจะยึดคนเหล่านั้นเหนืออัลลออ์และเทียบเท่าท่านร้อซุ้ล ซึ่งตรงนี้มันคนละเรื่องกันระหว่างการตามผู้ที่มีความรู้กับคนที่อัลลออ์ประสงค์ให้กับเขา..และไม่ใช่เป็นเรื่องผิดในหลักการแต่อย่างใดเลย..

ดังนั้นบิดอะอย่างน่าเกลียดที่เกิดขึ้นกับทัศนะใหม่อย่างวะฮาบีย์และพวกวะฮาบียะที่เขาเหล่านั้นห้ามผู้ที่เอาวามตักลีด..ตามมัสหับหนึ่งมัสหับใด และเขามักอ้างว่า..มัสหับนั้นเป็นบิดอะ..

จะเป็นไปได้อย่างไรก็ในเมื่ออดีตที่ผ่านมาตั้งฮิจเราะ80ปีกว่าจนท่านอีม่ามฮานาฟีเสียชีวิตมัสหับก็เริ่มเกิดมาตั้งแต่นั้น..และสืบทอดกันมา..ถ้าอย่างนั้นคนในสมัยดังกล่าวก็ผิดพลาดหมดและทำบืดอะหมด..ตามความคิดของพวกวะฮาบียะสมัยหลัง
และจริงๆความคิดที่ฮุกมเรื่องมีมัสหับนั้น เพิ่งเกิดชัดเจนในยุคหลังของปีฮิจเราะที่900 -1000กว่าปีนี่อง..โดยการคัดค้านของนักวิชาการสมัยใหม่ เช่นท่านอิบนุ อับดุลวะฮาบ..
เป้นไปได้อนย่างไร.ที่เขากล่าว ประนามการมีมัสหับของชนรุ่นก่อนอย่างน่าอนาจใจ..วัลอิยาซุบิ้ลลา..

ในความเป็นจริงการคัดค้านหรือต่อต้านหรือการห้ามไม่ใหมีหรือการไม่มีการมีมัสหับต่างหากละที่..น่าจะถูกฮุกมว่าเป็นการทำบิดอะดอลาละ.
...

.
 

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #97 เมื่อ: ธ.ค. 18, 2006, 04:54 PM »
0
และถ้าเราได้อ่านหนังสือที่ชาววะฮาบีย์ทำการหยิกแจกนั้น

เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้..มีการโจมตีและไม่เห็นด้วยกับผู้ที่มีมัสหับทุกประเภท..ไม่ว่า คนเอาวาม คน อาลิม คนยาเฮล..ฯลฯหนังสือดังกล่าวเขียนโดย อุลามะวะฮาบีย์ชื่อ อัลมะซุมีย์ 1ในผู้ตักลีดชาววะฮาบียะในมัสหับของท่าน มูฮำมัด บิน อับดุลวะฮาบ ผู้เคลื่อนไหวแนวลัทธิใหม่นี้.

ซึ่งได้เกิดปัญหาต่างๆที่กล่าวมานี้มากมาย ซึ่งจะนำมากล่าวบอกที่ตรงนี้ ซึ่งเป็นที่เดียวที่ผมไว้ใจและที่สำคัญคือ
เขาคือชาวอะลิสซุนนะที่ท่านนบีกล่าวไว้..ในการดำเนินชีวิตและหลักการด้วยเหตุผลตามบรรชนยุคสลัฟอันประเสริฐ ไม่ใช่แอบอ้างหรือเลียนนแบบในสิ่งที่ตนเห็น..ว่ามันสอดคล้องกับแนวทางของตนเท่านั้น แต่เวปนักเรียนซุนนะฯนี้คือ..การยอมรับต่อความรู้ของบรรดาปวงปราชญ์ของโลกที่อุลามฮ์ะรุ่นก่อนเขายอมรับกัน ...โดยไม่แยกแยะว่า..แนวทางนั้นผิดหรือแนวทางนี้ถูก..แต่เขาให้เกียรติ..ผุ้รู้เหล่านั้นโดยไม่กล่าวทับถม..แม้ว่า เขาคือผู้ตักลีดตามทัศนะนั้นก็ตาม..

และสิ่งผมจะนำมาบอกนั้นสร้างความไม่สบายใจต่อบังและคนอาลิมคนอื่นๆมาก

..ไม่ว่า การปฏิบัติที่แหวกแนวจากบรรดาคนอาลิมรุ่นก่อนๆที่เขาไม่เคยกระทำอะไรกันในอดีตหลายร้อยปีมาแล้ว..
 
..พี่น้องทั้งหลายครับ

ชาวบ้านบางคนน่าสงสารมากเลยครับ..ที่เขาเดินตามแนวทางนี้ แล้วพากันทิ้งแบบฉบับของบรรพบุรุษที่ประเสริฐในอดีตอย่างน่าใจหาย..เช่น..การทิ้งละหมาดอย่างจงใจ...โดยเขาอ้างว่า สามารถเตาบัตได้เมื่อมีใจสำนึก ..

โดยอ้างถึง..ทัศนะของเขาเมื่อทิ้งละหมาดแล้วก็ไม่ต้องชดเชยใดๆแต่ให้ เตาบัตก็พอทำให้ผู้ไม่รู้แถวบ้านเช่น ชาวประมงและกลุ่มวันยรุ่นหลายคนที่อาศัยในละแวกเดียวกันนี้ จงใจทิ้งละหมาด..เพี่ยงอ้างโองการอัลกรุอ่านที่พระองค์ทรงกล่าวถึงการให้อภัย..สำหรับผู้ที่เผลอเรอจากการละหมาดที่เขาได้พลาดไป..ให้เตาบัตตัวและออกห่างสิ่งนี้..

แต่ไม่เช่นนั้น.ชาวบ้านที่ขาดละหมาดแล้วเตาบัตรซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นเช่นนี้มาตลอด....โดยไม่ละหมาดชดเชย เป็นอยู่เช่นนี้.และปฏฺบัติตามๆกันมาเป็นหลายๆปี..มาแล้ว..

นี่คือเหตุผลหนึ่งที่นำมาเล่าว่า..ชาววะฮาบีย์นั้นชอบสอนชาวบ้านที่ไมรู้ยาเฮล ว่า การขาดละหมาดโดยเจตนานั้นไม่จำเป็นต้องชดเชย..ชาวบ้านที่นั้นเลยขาดและละทิ้งโดยเจตนากับละหมาดนั้นกลายเป็นฮุกมอาดัดไปเลยครับ..เมื่อทิ้งและเตาบัตรเป็นเช่นนี้เหมือนกับว่า เขาเหล่านั้นกำลัง..ล้อเล่นต่อ องค์อัลเลาะอัสวัญญัลละอย่างไม่เกรงกลัวการลงโทษใดๆ

ด้วยเพียงการเข้าใจในเนื้อหาในโองการอัลกรุอานบางความหมายที่ผิดๆและเบี่ยงเบน..โดยเข้าใจและไม่มีก่ารตีความใดๆจากเขา..และไม่ได้ตามความรู้จากบรรดาผู้ที่เข้าใจในเนื่อหาและอรรถรสแก่นแท้ของใจความอัลกรุอ่านแต่พวกเขา ทำเป็นผู้ที่เข้าใจดีกว่าพวกอื่นๆเลย..ให้น้ำหนักว่า เมื่อขาดละหมาดไม่ว่าในกรณีใด ไม่ต้องละหมาดชดเชยมัน...

นี้คือบิดอะดอลาละที่ชาววะฮาบียะ..บางกลุ่มเขาเข้าใจแบบนี้จริงๆที่บังเคยประสพมา ..แถวๆบ้านผม
ถ้าเราค้นจากหลักฐานที่บรรดาอุลามะในมัสหับทั้ง4 และมัสหับชาฟีอีแล้วเราจะพบว่า...

บรรดานักวิชาการส่วนหนึ่งเหล่านั้น มีความเห็นสอดคล้องกันตามฮาดิสข้างล่าง
 
ว่า การละหมาดชดใช้ เป็นวาญิบสำหรับผู้ที่ลืมละหมาด หรือนอนหลับ โดยอ้างสิ่งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

‏ ‏إِنَّهُ لَيْسَ فِي النَّوْمِ تَفْرِيطٌ إِنَّمَا التَّفْرِيطُ فِي الْيَقَظَةِ فَإِذَا نَسِيَ أَحَدُكُمْ صَلَاةً أَوْ نَامَ عَنْهَا فَلْيُصَلِّهَا إِذَا ذَكَرَهَا

"แท้จริงการนอนนั้น ไม่ถือเป็นการละเลย แต่การละเลยนั้น อยู่ที่คนไม่ได้หลับ ดังนั้น เมื่อคนใดในหมู่พวกท่านลืม หรือ นอนหลับจนไม่ได้ละหมาด เขาก็จงละหมาด เมื่อเขานึกขึ้นได้" ? รายงานโดย อัตติรมิซีย์... และรายงานอีกบทที่ว่า.

‏عَنْ ‏ ‏أَنَسِ بْنِ مَالِكٍ ‏ ‏قَالَ ‏
‏قَالَ نَبِيُّ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏مَنْ نَسِيَ صَلَاةً أَوْ نَامَ عَنْهَا فَكَفَّارَتُهَا أَنْ يُصَلِّيَهَا إِذَا ذَكَرَهَا

รายงานจากอะนัส บุตร มาลิก กล่าวว่า ?ศาสดาของอัลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า ?ผู้ใดลืมละหมาด หรือ นอนหลับไม่ได้ละหมาด ดังนั้น การชดใช้คือ ให้เขาละหมาด เมื่อเขานึกขึ้นได้ ? รายงานโดย มุสลิม
**********************************************************************************************************
....และในกรณีที่เกิดความจงใจในการทิ้งละหมาดโดยเจตนาแม้ไม่มีอุปสรรคนั้นก็ตาม..มัสหับทั้ง4 ลงมิติเห็นพ้องว่า(อิตมาฮอะ)จำต้องละหมาดชดเชยกับมัน

فقال ابو حنيفة والشافعي وأحمد ومالك يجب عليه قضاؤها ولا يذهب القضاء عنه إثم التفويت بل هو مستحق للعقوبة إلى أن يعفو الله عنه
وقالت طائفة من السلف والخلف من تعمد تأخير الصلاة عن وقتها من غير عذر يجوز له التأخير فهذا لا سبيل له إلى استدراكها ولايقدر على قضائها ابدا ولا يقبل منه

อบูหะนีฟะฮ อัชชาฟิอี อะหมัดและ มาลิก กล่าวว่า จำเป็นต้องละหมาดชดใช้ และการชดใช้จากมัน ไม่ได้ทำให้พ้นจากความผิดฐานที่ปล่อยเวลา(ละหมาด)ให้ผ่านไป แต่ทว่า เขาสมควรที่จะได้รับการลงโทษ จนกว่าอัลลอฮจะอภัยให้แก่เขา
******************************************** **********************************************************
ส่วนนักวิชาการอีก กลุ่มหนึ่งจากยุคสลัฟและเคาะลัฟ กล่าวว่า ?ผู้ใดเจตนาประวิงเวลาละหมาด จนหมดเวลาของมัน โดยปราศจากเหตุสุดวิสัยที่อนุญาตให้เขาประวิงเวลาได้ ดังนั้น กรณีนี้ ไม่มีหนทางสำหรับเขา ที่จะเอามันกลับคืนมาได้ และไม่สามารถที่จะชดใช้มันได้ ตลอดไป และมันจะไม่ถูกรับรองจากเขา[/color
]- กิตาบุศเศาะลาต วะหุกมุตาริกุฮา เล่ม 1 หน้า 93 ของเช็ค محمد بن أبي بكر أيوب الزرعي أبو عبد الله

وأما التارك للصلاة عمداً، فمذهب الجمهور، أنه يأثم، وأنَّ القضاء عليه واجب. وقال ابن تيمية: تارك الصلاة عمداً لا يشرع له قضاؤها، ولا تصح منه، بل يكثر من التطوع.

และสำหรับผู้ที่ทิ้งละหมาดโดยเจตนา ทัศนะของนักปราชญ์ส่วนใหญ่ ว่า มีความผิดคือเขาทำบาปใหญ่(หรือฟาซิก) และการละหมาดชดใช้นั้น จำเป็น สำหรับเขาเสมอ

แต่ทัศนะของอิบนุตัยมียะฮท่านกล่าวว่า..
?ผู้ที่ทิ้งละหมาดโดย เจตนา ไม่มีบัญญัติใช้ให้เขาละหมาดชดใช้ และ การชดใช้นั้น ใช้ไม่ได้ แต่ทว่า ให้เขาละหมาดอาสา(สุนัต)ให้มากๆ ? ฟิกฮสุนนะฮ เล่ม 1 หน้า 231

ขณะเดียวกันนักวิชาการส่วนน้อยที่สนับสนุนความคิดนี้กล่าวว่า ไม่จำเป็นต้องละหมาดชดใช้ เช่น
1.อัลหะซัน อัลบัศรีย์(1) 2.อิบนุหัซมิน (2) 3. อิบนุตัยมียะฮ (3) 4. เช็ค บินบาซ (4) 5. เช็คอุษัยมีน (4)
......................
อย่างไรก็ตาม นักวิชาการส่วนมากนั้น ไม่ว่าตาบีอีน ตาบีอิตตาบีอีนและจากมัสหับทั้ง4 และคนสลัฟนั้นเขาสนับสนุนให้ละหมาดชดเชยในส่วนที่บกพร่องจนเต็มและก็ละหมาดสุนัตได้
 

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #98 เมื่อ: ธ.ค. 18, 2006, 04:59 PM »
0
ส่วนข้อความข้างล่างนี้คือ..ทัศนะของนักวิชาการส่วนน้อยที่ เห็นว่าการละหมาดชดเชยนั้นไม่บังเกิดผลเป็นทัศนะของอุลามะยุคหลังเช่น

ท่านอิบนุหัซมินกล่าวว่า

وأما قولنا: أن يتوبَ من تعمّد تـرك الصلاة، حتى خرج وقتها، ويستغفر اللّه، ويكثر من التطـوع؛ فلقول الّله تعالى: " فَخَلَفَ مِن بَعْدِهِمْ خَلْفٌ أَضَاعُوا الصَّلاَةَ وَاتَّبَعُوا الشَّهَوَاتِ فَسَوْفَ يَلْقَوْنَ غَيّاً * إِلاَّ مَن تَابَ وَآمَنَ وَعَمِلَ صَالِحاً فَأُوْلَئِكَ يَدْخُلُونَ الْجَنَّةَ وَلاَ يُظْلَمُونَ شَيْئاً " [ مريم: 59،60].ولقوله تعالى:" وَالَّذِينَ إِذَا فَعَلُوا فَاحِشَةً أَوْ ظَلَمُوا أَنْفُسَهُمْ ذَكَرُوا اللَّهَ فَاسْتَغْفَرُوا لِذُنُوبِهِمْ " [ال عمران:135

สำหรับทัศนะของเรานั้น ผู้ที่เจตนาทิ้งละหมาด จนพ้นเวลาไปนั้น ให้เขาเตาบะฮ(สารภาพผิดต่ออัลลอฮ) และขออภัยโทษต่ออัลลฮ และละหมาดสุนัตให้มากๆ เพราะอัลลอฮ ซุบฮานะฮุวะตะอาลาตรัสว่า

ท่านได้ยกโองการที่ว่า..

[19.59] "ภายหลังจากพวกเขาชนรุ่นหลัง ก็ได้สืบต่อมา พวกเขาได้ทิ้งละหมาด และปฏิบัติตามความใคร่ ต่อมาพวกเขาก็จะประสบความหายนะ"

[19.60] "เว้นแต่ผู้ขอลุแก่โทษและศรัทธา และกระทำความดี ชนเหล่านั้นจะได้เข้าสวนสวรรค์และพวกเขาจะไม่ได้รับความอธรรมแต่อย่างใด"

[3.135] "บรรดาผู้ที่เมื่อพวกเขากระทำสิ่งชั่วใด ๆ หรือ อยุติธรรมแก่ตัวเองแล้ว พวกเขาก็รำลึกถึงอัลลอฮ์ แล้วขออภัยโทษในบรรดาความผิดของพวกเขา" - ฟิกฮอัสสุนนะฮ เล่ม 1 หน้า 231..


แต่ถ้าเราเข้าใจเนื้อหาโองการนี้แล้ว อัลลออ์ไม่ได้เปิดทางไว้สำหรับผู้อธรรมตัวเองเลยสำหรับทั้งละหมาดเพื่อเพียงจะขอเตาบัตตัวเองทีหลังเท่านั้น

ตรงกันข้าม..พระองค์หมายถึง คนมุสลิมที่กระทำบาปมาก่อนโดยที่เขาไม่รู้เลยว่าละหมาดนั้นวายิบหรือตกหนักบนเขา..ด้วยที่เขาไม่เข้าใจและทำเฉยเมินกับมัน..

แต่หลังจากเขารู้ถึงความสำคัญของมันแล้ว เขาก็กลับเนื้อกลับใจเตาบัตรและจะไม่ทิ้งละหมาดอีกแม้ว่าจะเจตนาหรือไมซึ่งเขานั้นก็จะละหมาดชดเชยให้กับมัน
โดยไม่ปล่อยให้ผ่านไปเพื่อเพียงเตาบัตรอย่างที่ผ่านมาและเขาเหล่านั้นไม่เพียงคิดแต่จะเอาความเข้าใจโองการนี้มาเป็นช่องว่างในการทิ้งละหมาดแล้วมาเจตนาแล้วมาเตาบัตรที่หลังเลย...
..

นี้คือความเข้าใจทีถูกต้องของอลามะส่วนมากในอดีต
 
....สำหรับคนที่ทิ้งละหมาดโดยเจตนา ต่อมาสำนึกผิดกลับตัวต่ออัลลอฮฺ (ซบ) เขาจะต้องชดใช้ละหมาด..

แม้ว่า..ในเรื่องนี้อุละมาอ์มีความเห็นแตกต่างกันเป็นสองทัศนะ คือต้องละหมาดชดใช้ และไม่ต้องละหมาดชดใช้

แต่ทั้งนี้ทัศนะที่มีน้ำหนักถูกต้องนั้น เป็นทัศนะของท่านอีหม่ามทั้ง4 ..

ส่วนทัศนะชัยคุล อิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ หรือแนวทางวะฮาบีย์นั้น จะยึดความเห็นของท่านที่ผู้นี้ว่า ซึ่งได้กล่าวว่า ผู้ที่ทิ้งละหมาดโดยเจตนาจนหมดเวลาละหมาดนั้น การกอดอละหมาดชดใช้ไม่มีประโยชน์อันใดกับเขา ที่เป็นเช่นนี้เพราะอิบาดะฮฺที่มีการเจาะจงเวลานั้น จะต้องปฏิบัติในเวลาของมัน จะทำก่อนหรือทำหลังเวลาที่ถูกกำหนดไว้ไม่ได้ เพราะขอบเขตของอัลลอฮฺ (ซบ) ที่ทรงวางไว้ จะต้องได้รับการพิจารณาและให้ความสำคัญ

เขากล่าวต่ออีกว่า.. ดังนั้นการละหมาดที่พระองค์ได้กำหนดไว้แล้วว่าจากเวลานี้ถึงเวลานี้ นั่นคือตำแหน่งของมัน ละหมาดถูกนับว่าใช้ไม่ได้หากไปกระทำในสถานที่ที่ถูกห้ามละหมาด ในทำนองเดียวกันละหมาดก็จะถูกนับว่าใช้ไม่ได้หากไปกระทำนอกเวลาของมัน

...ทางออกสำหรับผู้ที่ทิ้งละหมาดโดยเจตนาก็คือ.. ให้คนผู้นั้นกลับเนื้อกลับตัว(เตาบัต)และขออภัยโทษ(อิสติฆฟาร)ต่ออัลลอฮฺ (ซบ) ให้มากๆ อย่างเดียวโดยไม่ต้องละหมาดชดเชยแต่อย่างใด และให้ปฏิบัติการงานที่ดี ด้วยสิ่งที่กล่าวมานี้ โดยฝากความหวังไว้กับ พระองค์ว่าจะทรงอภัยและไม่ถือโทษเขาในเรื่องการทิ้งละหมาดโดยเจตนา
โดยอ้างโองการข้างบนเป็นโจทย์ฟ้องร้องต่อกับอัลลออ์(ซบ).หากถูกบิดพริ้วสัญญา.
.................................................................
 
................พี่น้องครับจงพิจารณาและตรึกตรองเถิดครับว่า................

ระหว่าง คำพูดหรือการ อิจติญาต การมุตะญิด และอิตติมาอะหรือหลักกิยาส ของบรรดาผู้รู้ในอดีตจากชนในยุคสลัฟที่มาทันบรรดาผู้รู้ในสมัยตาบีอีตตาบีอีน อย่างเช่นอีหม่ามทั้ง4 คือ อีหม่ามฮานะฟี อีหม่ามมะลิก อีหม่ามชาฟีอี อีหม่ามฮัมบาลี(รฮ) ใครน่าจะเชื่อกว่ากัน ซึ่งท่านเหล่านั้นคือ ผู้ที่ท่านนบีกล่าวถึงความประเสริฐในฮาดิสและรับรองอุมมัติสามศตวรรษหลังที่เขาเหล่านั้นมีความปรัเสริฐที่รนวมทั้งความรู้ที่มประกอบด้วยมันสมองที่พระองค์ให้มา..
ปัจจุบันนี้และตราบทุกวันนี้ความรู้ จาก4มัสหับยังคนยืนหยัดความจริงและความถุกต้องจนตราบวันนี้ถึงกีบามัตอิงชาอัลลอฮ์..
.
ดังนั้นระหว่างความน่าเชื่อถือของคนยุคหลังจาก900-1000ปีมาแล้วนั้น ..ตรงไหนทีมีน้ำหนักมากว่ากัน.ระหว่างการค้นหาความรู้ของคนยุคสลัฟและ...คนยุคหลังพร้อมทัศนะที่เพิ่งเกิดมา...หลังจากบรรดาผู้รู้ที่นามระบือโลกได้จากไปแล้วหลายร้อยปี...

ดังนั้น..ฮาดีสนี้เป็นเครื่องยืนยันถึงความรู้การวินิจฉัยถึงเหตุผลว่า..ยังไงๆต้องชดเชยกับละหมาดที่ได้ทิ้งไปไม่ว่าพี่น้องทจะขาดละหมาดโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม..วัลลออฮูอะลัม..

...ดีที่สุดจากอุมมะของฉัน คือคนในยุคของฉัน (คือศตวรรษที่1)และกลุ่มชนที่ถัดมา(คือศตวรรษที่2)และกลุ่มชนถัดมา(คือศตวรรษที่3..รายงานโดย บุคคอรีและมุสลิม
-------------------------------------------------------------
فقال ابو حنيفة والشافعي وأحمد ومالك يجب عليه قضاؤها ولا يذهب القضاء عنه إثم التفويت بل هو مستحق للعقوبة إلى أن يعفو الله عنه
وقالت طائفة من السلف والخلف من تعمد تأخير الصلاة عن وقتها من غير عذر يجوز له التأخير فهذا لا سبيل له إلى استدراكها ولايقدر على قضائها ابدا ولا يقبل منه

อบูหะนีฟะฮ อัชชาฟิอี อะหมัดและ มาลิก กล่าวว่า จำเป็นต้องละหมาดชดใช้ และการชดใช้จากมัน ไม่ได้ทำให้พ้นจากความผิดฐานที่ปล่อยเวลา(ละหมาด)ให้ผ่านไป แต่ทว่า เขาสมควรที่จะได้รับการลงโทษ จนกว่าอัลลอฮจะอภัยให้แก่เขา

แต่ถ้าเรามองในหลักของฮะกีกัต มนุษย์เรานั้นย่อมบกพร่องเสมอ ในการละเลยหรือลืมละหมาด ไม่ว่ากรณีใดๆ

ดังนั้นนั้นบ่าวผู้รู้ตัวถึงการบกพร่องของตัวเองย่อมไม่กล้าฝ่าฝืนที่จะทิ้งเวลามันไปโดนขาดเยื่อใย โดยไม่สนใจที่จะกอดอมันแม้จะกี่เวลาก็ตาม ..แต่ถ้าหากว่าบ่าวผู้นั้นกลับไม่ยอมหรือละเลยที่จะ

กอดอละหมาดเลย..แต่กลับเตาบัตรซ้ำแล้วซ้ำเล่า..จนประจำ..อยากถามว่าการกระทำเช่นนี้แบบซ้ำซากบ่อยครั้ง..เป็นการต่อบาปหรือเตาบัตกันแน่ และเป็นการพูดที่โกหกต่ออัลเลาะ.ต่างหาก ..และกลายเป็นคนที่แข็งกระด้างวระหว่าผู้ที่ขาดละหมาดแล้วไม่กอดอมันโดยปล่อยให้ผ่านไป..
ด้วยลืมคิดไปว่าเรานั้นเป็นแค่บ่าวหรือทาสผู้ต้อยต่ำเท่านั้น..ทาสไม่มีสิทธิใดๆในการเรียกร้องต่อนาย..

อย่าลืมว่า

การละหมาดฟัรดูนั้นสำคัญกว่าละหมาดสุนัต แต่การละหมาดกอดอฟัรดูนั้น เราต้องกระทำระหว่างเราต่ออัลลออ์โดยเฉพาะเวลาที่นึกออก หรือชดเชยในเวลาของมัน ถึงแม้นว่าจะถูกตามหลักชารีอัต แต่หลักการของฮะกีกัตต่อพระองค์นั้นสูงกว่าอื่นใด

ฮักกุ้ลอัลลออ์นั้นเรามีสิทธิขอ แต่พระองค์จะรับหรือไม่นั้น เรื่องของพระองค์เราไม่มีหน้าที่ในการตัดสินว่าใช้ได้หรือไม่ได้..

ฉนั้นทางออกที่ดีที่สุดคือ..ไม่ว่าการขาดละหมาดของท่านโดยเจตนาหรือไม่นั้น สมควรที่จะละหมาดชดเชยครับ ตามทัศนะของอีหม่ามทั้ง4 .. .
ฉนั้นโองการอัลกรุอานนั้น..เป็นสิ่งตักเตือนสำหรับเราแตะขณะเดียวกันไม่ใช่เป็นตัวสัญญาในการต่อรองกับพระองค์เลย
..นะอูซุบิ้ลลามินซาลิก..
 

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #99 เมื่อ: ม.ค. 10, 2007, 09:11 AM »
0
พี่น้องครับ บิดอะของวะฮาบีย์นั้นมีมากมายเหลือเกิน แต่ตัวที่สำคัญนั้นคือการมีอะกีดะต่อองค์อัลเลาะที่ไม่ถูกต้อง

ดังเราจะพบอยู่เสมอว่า บรรดาผู้รู้ในมัสหับวะฮาบีย์บ้าเรานั้น มีความเชื่อที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงตามบรรดาคนรุ่นก่อนในอดีต   ตรงกันข้ามอะกีดะของกลุ่มวะฮาบีย์ปัจจุบันนั้น  จะอะกีดะเป็นเชิงวิเคราะห์ตามความเข้าใจของอุลามะในสายวะฮาบีย์เช่น ท่านอิบนุตัยมียะ ท่านอิบนุกอยยิม ท่านอัลบานีย์เป็นต้น 
ซึ่งเมื่อเราศึกษาอย่างลึกซึ้งก็จะพบว่าสิ่งที่กลุ่มทัศนะวะฮาบีย์เข้าใจในคุณลักษณะของอัลลออ์นั้นมันแตกต่างกับความเข้าใจของบรรดาผู้รู้ในอดีต  จนสามารถแยกแยะกันให้เห็นได้อย่างชัดเจน

ประเด็นหลักก็คือ  วะฮาบีย์จะไม่ยอมตีความหรือทำการตะวีลความหมายในสิ่งวที่พระองค์ทรงบอกในอำนาจหรือเดชานุภาพของพระองค์  เช่น คำว่ามือก็คือมือ คำว่านิ้วก็คือนิ้ว ตาก็คือตา ฯลฯโดยให้มันผ่านพ้นไปโดยที่เขาอ้างว่า สิ่งดังกล่าวเป็นแค่เชิงภาษาเท่านั้น แต่ไม่เหมือนมัคโลค  ซึ่งพวกเขาอธิบายแบบขัดแย้งกันในบรรดาซีฟัตของพระองค์

ดังนั้น  เราผู้อยู่ในแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  คือผู้ที่ดำเนินอยู่บนแนวทางดังกล่าวนี้  ซึ่งนั่นก็คือหนทางที่เที่ยงตรงและเป็นแนวทางของอัลเลาะฮ์ที่ชัดเจน  อัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮุวะตะอาลา  ทรงตรัสไว้ว่า

وإن هذا صراطى مستقيما فاتبعوا السبل فتفرق بكم عن سبيله

"แท้จริงนี้คือแนวทางของข้า  ดังนั้นพวกเจ้าทั้งหลายจงตามมันเถิด  และเจ้าทั้งหลายอย่าตามทางอื่นๆ  อันมากมาย  แล้วพวกเจ้าก็จะเกิดความแตกแยกไปจากแนวทางของพระองค์"  อัลอันอาม 153

 จากตรงนี้  เราจึงทราบว่า  พวกอัลมุญัสสิมะฮ์นั้น  หลงทางในเรื่องของอากิดะฮ์  เพราะพวกเขาขัดแย้งกับหลักการของศาสนาและหลักสติปัญญา  โดยที่พวกเขากล่าวว่า อัลเลาะฮ์นั่งอยู่บนบัลลังก์ 

จากการศึกษาของเรานั้น เราจะพบว่าเรื่องอะกีดะของวะฮาบีย์

นั้นมีความเข้าใจที่หลากหลายพอสมควร ดังตัวอย่างที่ผมจะนำมาบอกกับพี่น้องข้างล่างนี้


1.พวกเขาเชื่อและกล่าวว่า  อัลเลาะฮ์สถิตอยู่บนบัลลังก์ 

2.และบางส่วนของพวกเขามีความเชื่อว่า อัลเลาะฮ์ทรงทิ้งที่สถานที่ว่างหนึ่งของบัลลังก์เพื่อให้ท่านนบีมุหัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั่ง ในวันกิยามะฮ์ 

3.พวกเขามีความเชื่อว่า  อัลเลาะฮ์ทรงมีที่อยู่ในสถานที่หนึ่งบนบัลลังก์ด้วยกับซาตของพระองค์เอง 

4.และพวกเขายังกล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงเคลื่อนไหวทุกคืน  โดยพระองค์เคลื่อนลงจากบัลลังก์ ลงมาสู่ฟากฟ้าดุนยา [/

จนกระทั้งพวกเขาบางส่วนกล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงวางเท้าของพระองค์ในนรกญะฮันนัม  แต่ว่าเท้าของพระองค์ไม่ไหม้ - และอื่นๆ มากมาย

และจากบรรดาความเชื่อของผู้รู้ในพวกเขา  ที่บ่งถึงความคล้ายคลึงของอัลเลาะฮ์ที่มีต่อมัคโลค และอัลเลาะฮ์ทรงมีรูปร่าง  เนื่องจากพวกเขาได้เปรียบเทียบอัลเลาะฮ์ผู้ทรงสร้างกับบรรดาสิ่งที่ถูกสร้าง  โดยพวกเขาเจริญตามกับสิ่งที่คลุมเครือนี้

สรุปได้ว่า

หลักความเชื่อของพวกเขานั้นไม่เหมือนหลักของคนส่วนมากในแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์   

ที่มีหลักศรัทธาที่สติปัญญาสามารถสนับสนุนกับความถูกต้องที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานมาและความซอฮิหฺจากสิ่งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

และนี่คือบิดอะของวาฮาบีย์ที่ผิดแผกจากชนรุ่นก่อนอย่างเห็นได้ชัด

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #100 เมื่อ: ม.ค. 10, 2007, 09:26 AM »
0
เกี่ยวกับความเข้าใจของวะฮาบีย์ที่กล่าวหาว่าอัลลออ์นั้นทรงมีทิศและสถานที่

ก่อนอื่นเรามาดูคำนิยามของคำว่า  สถานที่(มะกัน)และทิศ(ญิหะฮ์)

1. ท่านอัรรอฆิบ อัลอัศฟะฮานีย์ ( 502 ฮ.ศ.)กล่าวว่า

المكان عند أهل اللغة الموضع الحاوى للشىء

"มะกัน  ตามทัศนะของนักปราชญ์ภาษาอาหรับนั้นคือ  สถานที่ห้อมล้อมให้กับสิ่งหนึ่ง"   ดู หนังสือ  อัลมุฟร่อดาด ฟี ฆ่อรีบุลกุรอาน  หน้า 471

2.ท่านอัลฟัยรูซฺอาบาดีย์ (817 ฮ.ศ.)  กล่าวว่า

المكان : الموضع ، ج : أمكنة وأماكن

"มะกัน คือสถานที่ที่มีตั้งอยู่และแน่นอน พหูพจน์  คือ  อัมกินะฮ์ และ อะมากิน"  ดู  หนังสือ อัลกอมูส อัลมุฮีฏ  หน้า 1594

3.ท่านอัลลามะฮ์  อัลบายาฏีย์  อัลหะนาฟีย์  ( 1098 ฮ.ศ.) กล่าวว่า

المكان هو الفراغ الذى يشغله الجسم

" มะกัน  คือ ที่ว่างที่ร่างกายต้องการอยู่กับมันและต้องพึ่งพามัน"  ดู หนังสือ  อิชาร๊อต อัลมะรอม หน้า 197

4. ท่านชัยค์ ยูซุฟ บิน สะอีด อัลซิฟะตีย์  กล่าวว่า

قال أهل السنة : المكان هو الفراغ الذى يحل فيه الجسم

"อะฮ์ลิสซุนนะฮ์กล่าวว่า  มะกาน นั้นคือ ที่ว่างซึ่งสิ่งที่เป็นร่างกายอาศัยอยู่ในมัน"  ดู หนังสือ  หาชิยะฮ์ อัซซิฟะตีย์ นะวากิฏ อัลวุฏุอ์ หน้า 27



ฉนั้น"มะกัน  คือ..สถานที่หรือตำแหน่ง ซึ่งมีมวลสารหนึ่งได้อยู่บนขนาดของมัน  และทิศก็คือ.สถานที่บ่งบอกในสิ่งดังกล่าวนั้น"  ดู  ฟุรกอนุลกุรอาน ของท่านอัลบัยฮะกีย์ หน้า 62

ดังนั้น  การถ่ายทอดคำนิยามของสถานที่จากบรรดานักปราชญ์ภาษาอาหรับและบรรดานักวิชาการนั้น  คือหลักฐานที่บ่งชี้ว่า  ท่านนบี  (ซล)และบรรดาซอฮาบะฮ์ของท่าน  เชื่อและศรัทธาว่า  อัลเลาะฮ์ (ซบ)

ทรงมีโดยไม่มีสถานที่  พระองค์ทรงไม่อยู่บนบัลลังก์และไม่อยู่ในฟากฟ้าหรือบนฟากฟ้า 

เนื่องด้วยเหตุผลที่ว่า อัลกุรอานนั้นถูกประทานลงมาด้วยกับภาษาอาหรับ  ดังที่อัลเลาะฮ์ (ซบ)ทรงตรัสว่า

بِلِسَانٍ عَرَبيّ ٍمُّبِينٍ

"ด้วยภาษาอาหรับอันชัดเจน"  อัชชุอะเราะ 195


ท่านนบี (ซล)เป็นผู้ที่รู้ยิ่งเกี่ยวกับ..ภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาเดิมของท่าน  ดังนั้น  สิ่งดังกล่าวจึงทำให้การยึดมั่นของพวกอัลมุญัสสิมะฮ์ด้วยกับความหมายแบบผิวเผินของบางอายะและบรรดาหะดิษที่มีความหมายคลุมเคลือต้องตกเป็นโมฆะไป 

เพราะฉะนั้นบรรดาตัวอย่างนี้  จึงไม่ถูกเข้าใจแบบความหมายผิวเผิน  ด้วยความเห็นพร้องของนักปราชญ์สะลัฟและคอลัฟ  เนื่องจากพวกเขาศรัทธาว่า  เป็นไปไม่ได้ที่อัลเลาะฮ์จะอยู่ในสถานที่

หลังจากที่กล่าวมาแล้วนี้  ก็ประจักษ์แก่ท่านผู้อ่านได้รู้ว่า  อัลเลาะฮ์  (ซ.บ)นั้น

-สำหรับพระองค์นั้น ไม่ได้อยู่ในสถานที่ใด  ไม่ว่าจะเป็นบรรดาสถานที่สูงหรือสถานที่ต่ำ  หากไม่เป็นเช่นนั้น  ก็แสดงว่าสถานที่นั้นได้ห้อมล้อมอัลเลาะฮ์ ( ซ.บ)

และเมื่อพระองค์ถูกห้อมล้อมด้วยสถานแล้วนั้น แน่นอนว่า...มันจะต้องมีขนาด และรูปร่าง

 และนี่ก็ย่อมเป็นหนึ่งจากบรรดาลักษณะของวัตถุและบรรดามัคโลค   การที่อัลเลาะฮ์(ซบ)ทรงมีคุณลักษณะหนึ่ง ด้วยกับคุณลักษณะของมนุษย์นั้น  ย่อมเป็นไปไม่ได้สำหรับอัลเลาะฮ์  (ซบ) 

ดังนั้น  ถือว่าเป็นความถูกต้องในการศรัทธาของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ที่เชื่อในความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์ (ซบ) จากสถานที่และทิศโดยแน่นอน

สำหรับเรื่องของทิศนั้น

เป็นที่รู้ว้า  พวกมุญัสสิมะฮ์(วะฮาบีย์บางกลุ่ม)ที่มีความเชื่อคล้ายกับพวกดังกล่าว ในยุคปัจจุบัน   พยายามที่จะสร้างความสับสนให้กับผู้คนทั้งหลาย  โดยพวกเขากล่าวว่า "อัลเลาะฮ์ทรงมี  อยู่ในทิศหนึ่งที่อยู่ไกลโพ้นจากโลกนี้  หรืออยู่นอกโลก   


ฉนั้น  ก่อนที่เราจะชี้แจงข้อเท็จจริงกับสิ่งดังกล่าว  เราก็ขอกล่าวถึงความหมายของคำว่าทิศตามทัศนะของนักปราชญ์ภาษาอาหรับและบรรดานักปราชญ์พอสังเขป

8.บรรดาอุลามาอ์ได้ให้ความหมายของ "ทิศ" ว่า

  أن الجهة أطراف الإمتدادات

"แท้จริง ทิศ นั้น คือ บรรดาด้านต่างๆ  ที่แผ่ไกลออกไปโพ้น"  ดู  หนังสือ ตุสตูรุลอุลามาอ์  เล่ม 1 หน้า 288  ตีพิมพ์  ดารุลกุตุบอัลอิลมียะฮ์

..นี่คือ อะกีดะของบรรดาผู้รู้ในอดีตที่พวกเขาเป็นชนส่วนใหญ่มีความเชื่อและศรัทธาแบบนี้ ซึ่งแตกต่ากับชาววะฮาบีย์อย่างเห็นได้ชัด

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #101 เมื่อ: ม.ค. 12, 2007, 06:50 PM »
0
จริง ๆ  ตามหลักการแล้ว เราต้องชี้แจงเรื่องอะกีดะฮ์ก่อนข้อปลีกย่อย  แต่วะฮาบีย์พยายามเผยแพร่ปัญหาคิลาฟิยะฮ์ในเชิงข้อปลีกย่อย เพื่อโปรโหมตแนวทางของตนเอง โดยนำมาเป็นแกนหลัก  ในการแบ่งแยกกลุ่มบิดอะฮ์และซุนนะฮ์  ซึ่งจริง ๆ แล้ว วะฮาบีย์มีอะกีดะฮ์ที่บิดอะฮ์  แต่พวกเขาไม่ต้องการนำเสนอมาพูด เกรงว่าบิดอะฮ์ของตนเองจะโผล่  ;D

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #102 เมื่อ: ม.ค. 25, 2007, 11:07 AM »
0
 
พี่น้องครับ

ดังนั้นเป็นที่รู้ดีว่า..ชาววะฮาบีย์ยะในเมืองไทยบางกลุ่มนั้นไม่เข้าใจในคุณลักษณะของอัลลอฮ์  จึงพยายามที่จะยัดเยียดความเข้าใจจของตนเองให้กับผู้คนเอาวาม โดยการอ้างถึงความเชื่อของคนสลัฟที่ตนคิดว่า มันสอดคล้อง กับแนวทางของตน

ฮาดิสหนึ่ง   ที่ท่านนบีได้ถามผู้หญิงคนหนึ่งในการมีของอัลลอฮ์ ถึงการเชื่อว่าพระองค์อัลลออ์ทรงมีหรือไม่  และที่นางได้ชี้ ว่าอัลลออ์นั้นทรงอยู่เบื้องบนนั้น    ซึ่งท่านนบีก็ไม่ได้กลบ่าวว่านางแต่อย่างใด นั้น

ฉนั้นการที่วะฮาบีย์บางกลุ่มเข้าใจว่า หลักฐานนี้ เป็นสิ่งยืนยันต่อหการมีที่อยู่ของอัลเลาะฮ์บนฟากฟ้านั้นเอง

การเข้าใจแบบนีร้ถือว่า ผิดพลาด  และท่านนบีก็ไม่ได้เข้าใจอย่างนี้ด้วย แต่ความเป็นนบีที่ทรงฉลาด และมีไหวพริษ ท่านนบีก็ไม่ได้ว่ากล่าวนางตอบในสิ่งที่นางเข้าใจ..แต่สำหรับท่านนบีนั้น ท่านจะเข้าใจหรือปักใจเชื่อว่าอัลเลาะห์อยู่บนฟากฟ้าตามที่นางผู้นั้นเข้าใจกระนั้นหรือ        .......ซึ่งเป็นไปไม่ได้..

เป็นที่ทราบดีว่า   อัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) ไม่ทรงถูกกำหนดระยะเวลาและสถานที่อยู่..และไม่มีทิศทาง และไม่มีสถานที่สำหรับพระองค์และพระองค์ไม่ต้องการพึ่งพาสถานยที่เช่นเดียวกัน

ฉนั้น การเข้าใจในเรื่องนี้นั้น ต้องปราศจากสิ่งใดที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และธรรมชาติที่ไม่ดีที่เกิดจากจิตใจอยู่ก่อนแล้ว  อันเป็นผลทำให้เกิดความห่างไกลจาก พระองค์อัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) 

จากคำพูดที่ว่า

لَوْلاََمَياِدْينُ النُّفُوْسِ مَا تَحَقَّقَ سَيْرُ السَّائِرِيْنَ ، إِذْ لاَ مَسَافَةَ بَيْنَكَ وَبَيْنَهُ حَتَّى تَطْوِيَهَا ِرحْلَتَكَ ، وَلاَ قُطْعَةَ بَيْنَكَ وَبَيْنَهُ حَتَّى تَمْحُوَهَا وُصْلَتُكَ

    " หากไม่มีสนามแห่งอารมณ์ใฝ่ต่ำของจิตใจแล้ว  การเดินทางของผู้เดินทางก็จะไม่เกิดขึ้น  เพราะไม่มีระยะทางระหว่างท่านกับพระองค์  จนพาหนะของท่านจะต้องตัดผ่านมันไป  และไม่มีการตัดขาดระหว่างท่านกับพระองค์  จนการติดต่อสัมพันธ์ของท่านลบมันออกไป "   

 ดังนั้น  ผู้ใดที่ทำการก็ตามที่มีความเข้าใจไม่ถูกต้องและกล้าสารภาพผิดในสิ่งที่ตนเข้าใจผิดพลาด ต่อคุณลักษณะและอัตมันของอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.)สิ่งนั่นคือ   เขากำลังการมุ่งไปสู่ความโปรดปราน  และความพึงพอพระทัยของอัลเลาะฮฺ (ซ.บ.)นั้นเอง

    แต่ถ้าหากเขายังมีตัวกั้นขวางที่มาจากความบกพร่องและความโสมมที่ใฝ่ต่ำโดยใช้สติปัญญาของเขามาตัดสิน   แน่นอน  คำว่า "การเดินทางไปสู่ด้วยการรู้จักคุณลักษณะของอัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) " ก็ไร้ความหมาย

 เนื่องจากว่าตัวกั้นขวาง(ญิฮาบ)ระหว่างเขา นั้นมีอยู่ตลอด  เขาก็ไม่สามารถเข้าใจในสิ่งนี้ได้..

   อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) ทรงให้เกียรติแก่มนุษย์  ทรงสร้างเขาให้มีรูปทรงที่สวยงาม  ทรงอำนวยประโยชน์แก่เขามากมายจากโลกนี้  และทรงประกาศความรักที่มีต่อเขาด้วยถ้อยคำที่สูงส่งอันนิรันดร์ ว่า

                                                            فَإِذَا سَوَّيْتُهُ وَنَفَخْتُ فِيْهِ مِنْ رُّوْحِىْ فَقَعُوْا لَهُ سَاجِدِيْنَ

    " ต่อมาเมื่อข้าได้สร้างเขา(อาดัม) จนเสร็จสมบูรณ์แล้วและข้าได้เป่าวิญญาน (ที่ข้าเนรมิตขึ้นตามความประสงค์)ของข้า  เข้าไปในตัวเขา ดังนั้นพวกเจ้าทั้งหลาย  จงน้อมลงสุญูดให้เกียรติแก่เขาเถิด"  อัล-ฮุจญรฺ 29
   

 จากคำดำรัสของพระองค์นั้น   จึงจำเป็นแก่มนุษย์  โดยยอมจำนนท์ต่อพระผู้ทรงสร้าง ด้วยความเป็นทาสบ่าว  และต้องแสดงความเป็นทาสต่อพระองค์ด้วยการชูโกร กตัญญูรู้คุณต่อเนี๊ยะมัตต่างๆ  ที่พระองค์ทรงประทานให้  และต้องอดทนต่อการกำหนดสภาวะของพระองค์เมื่อมีภัยมาประสบ  และต้องคิดเสมอว่าคุณลักษณะของพระองค์นั้น จะไม่เหมือนและจะไมพึ่งพามัคโลกใดๆ
เช่นเดียวกัน พระองค์ทรงสร้างสิ่งนี้มาก็ด้วยอำนาจของพระองค์ทีมี แม้ว่าพระองค์จะกล่วในอัลกรุอานหลายดองการด้วยกันว่าพระองค์สร้างมนุษย์จากมือก็ตาม แต่สิ่งนีเราจะไปเข้าใจว่าเป็นมือจริงตามเชิง๓ษานั้นก็ไม่ได้เช่นกัน แต่คำพูดของพระองค์นั้นเป็นกาลามุ้ลลออ์อย่างหนึ่งที่สามารถเปลี่ยแปลงได้ก็..อีกอย่างเพื่อเป็นการ..ง่ายในการสื่อความหมายของพระองค์นั้นเองกับมนุษย์

 
ดังนั้นเราอย่าได้เป็น   กลุ่มที่คล้อยตามอารมณ์นัฟซูโดยแสร้งทำเป็นไม่รู้ถึง  และไม่อยากเรียนรู้ในคุณลักษณะของอัลเลาะ

ตามหลักการ  ของ  วาฮาบีย์นั้น ที่จะไม่ให้เยาวชนของเขาเรียนรู้ถึงซีฟัตของพระองค์เลย

เพราะเขาถือว่าเป็น..บิดอะในเรื่องนี้   ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การที่ไม่ยอมเรียนรู้เรื่องนี้นั้น มันคือบิดอะนั้นเอง
ที่ไม่รับรู้คุณลักษณะใดๆของพระองค์...ซึ่งอารมณ์ชั่วร้ายจะสามารถสร้างความคิดล่อลวงกับเขาได้..........


  อัลเลาะฮฺได้ทรงตรัสยืนยันเอาไว้ว่า

                                                                              فَرِيْقٌ فِيْ الْجَنَّةِ  وَفَرِيْقٌ  فِى  السَّعِيْرِ   

                                                            "มีบางกลุ่มที่อยู่ในสรวงสวรรค์และอีกบางกลุ่มที่อยู่ในนรก" อัชชูรอ 7

เมื่อ เราพิจรณาก็จะพบว่าวะฮาบีย์นั้น จะไม่ค่อยมีเกียตริณ.อัลเลาะห์ เพราะเขาตีค่าความเข้าใจในชาติและซีฟัตของพระองค์อย่าง..ไร้ค่า  และไม่รับรู้มันด้วยกับนัฟซุที่ใฝ่ต่ำของพวกเขา....
..
อัลเลาะห์กล่าวว่า

   
              مَا كَانَ اللهُ لِيَذَرَ الْمُؤْمِنِيْنَ عَلىَ مَا أَنْتُمْ عَلَيْهِ حَتَّى يَمِيْزَ الْخَبِيْثَ مِنَ الطَّيَّبِ وَمَاكَانَ الله ُلِيُطْلِعَكُمْ عَلىَ الْغَيْبِ

  " หาใช่ว่าอัลเลาะฮฺจะทรงทอดทิ้งบรรดาผู้มีศรัทธาให้ประสบกับภาวะที่พวกเจ้ากำลังประสบอยู่   จนกว่าพระองค์จะแยกสิ่งโสโครก(คนเลว)ออกจากสิ่งที่ดี(คนมีอิหม่าน) และพระองค์จะไม่ให้พวกเจ้ารู้สิ่งที่เร้นลับ(คือสิ่งที่มีอยู่ในหัวใจของบรรดาบ่าวของพระองค์ว่า มีศรัทธาหรือไม่ )" อาละอิมรอน  179


จึงเป็นที่ทราบว่า  ชาวอะลิสซุนนะนั้น เขาคือบรรดาผูที่ศรัทธาที่พระองค์จะไม่ทอดทิ้งให้พวกเขา...เข้าใจในสิ่งที่ผิดพลาดคุณลักษณะของพระองค์และพระองค์ จะทรง
แยกสิ่งที่โสกโครกออกจากสิ่งดี  นั้นก็คือ ความคิดใฝ่ต่ำของบางกลุ่มที่ตีค่าของอัลเลาะห์แบบบิดเบือนและเบี่ยงเบน

วะฮาบีย์นั้นไม่แตกต่างอะไรกับ คนตาบอดหรือคนมีสมองแต่ไร้ความคิดและพิจรณา เขาละทิ้งอุลามะที่เก่งวและรอบรู้ เขาละทิ้งความรู้ อีหม่ามทั้ง4  ด้วยเหตุผลที่ อ้างว่า มัสหับนั้นเป็นบิดอะ  เพราะอีหม่ามืทั้ง4 เป็นผู้ริเริ่มมัสหับขึ้นมานั้นเอง..

นี่คืออารมณ์ที่ใฝ่ต่ำของวะฮาบีย์และชาววะฮาบียะในเมืองไทย..ที่ทำลายคุณลักษณะของพระองค์อย่างไม่น่าให้อภัยยิ่งนัก และถือว่าเป็น..บิดอะทีร้ายแรง

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #103 เมื่อ: ม.ค. 25, 2007, 05:04 PM »
0
จากสิ่งที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเราสามารถสรุปได้ว่า

เรื่องความเข้าใจในคำว่าบิดอะของ กลุ่มวะฮาบีย์นั้น พวกเขาเข้าใจผิดมาตลอด และเลยเถิดออกไปไกลกับความเข้าใจของผู้รู้ในอดีต

เป็นที่น่าสังเกตุว่า อุลามะของผู้ตักลีด ทั้ง4มัสหับไม่มีใครเลยที่ฮุกมว่า ...สิ่งใดก็ตามที่นบีไม่ได้กระทำ และถ้ามีใครมากระทำแม้ว่าจะเป็นสิ่งดีและไม่ขัดกับหลักคำสอนของศาสนา ...ทุกอย่านั้นคือบิดอะ.............

จะมีก็เพียงอุลามะของวะฮาบีย์เท่านั้นที่กล้าฮุกมกับบรรดาอุลามะของอัลเลาะที่พวกเขาทุ่มเทค้นคว้างานศาสนยาโดยไม่หวังผลประโยชน์ใดๆเป็นการตอบแทน..

แต่ถ้าเราพิจราณาด้วยความเป็นธรรมของนักปราชญ์ที่มีทัศนะต่อเรื่อง.นี้นั้นเราก็จะพบว่า

บรรดานักปราชญ์อิสลามให้คำนิยามของซุนนะฮ์ว่า "คือสิ่งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้พูดกระทำและยอมรับ"บรรดานักปราชญ์ไม่ได้นำการ "ทิ้งของท่านนบี"หรือ "การไม่ได้ทำ"ของท่านนบี(ซ.ล.)เข้าไปอยู่ใต้คำว่าซุนนะฮ์เนื่องจากว่ามันไม่ใช่ "หลักฐาน" ( دليل )เพราะฉะนั้น  การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่กระทำ  ย่อมไม่ใช่ซุนนะฮ์และนำมาเป็นหลักฐานไม่ได้

และบรรดาฮุกุ่มนั้นคือ (ขิฏ๊อบ)คำบัญชาของอัลเลาะฮ์บรรดานักปราชญ์มูลฐานนิติศาสตร์อิสลามกล่าวว่าฮุกุ่มก็คือ..สิ่งที่หลักฐานจากอัลกุรอานซุนนะอัลอิจญฺมะและกิยาสมาบ่งชี้ถึงมันโดยที่การละทิ้งหรือการไม่ได้กระทำนั้นก็ไม่ใช่หนึ่งจากสี่หลักฐานที่กล่าวมาดังนั้นการที่ไม่ได้กระทำจึงไม่ใช่ "หลักฐาน"ที่จะนำมาอ้าง

และการละทิ้งนั้นก็คือ...การที่ไม่ได้กระทำและการที่ไม่ได้กระทำก็หมายถึงการที่ไม่มี"หลักฐาน" ( دليل )มาระบุดังนั้นการละทิ้งหรือการไม่ได้กระทำนั้นย่อมไม่ได้ชี้ถึงฮารอมนอกจากมีหลักฐานมาบ่งชี้ชัดว่าฮารอมจากอัลกุรอานซุนนะอิจญฺมะและกิยาส

และการที่พวกเขาอ้างว่า  สะละฟุศศอลิหฺไม่เคยกระทำมันและ"ไม่มี"หะดิษหรือร่องรอยมารายงาน..ในเรื่องดังกล่าวของการกระทำจากท่านนบี...แต่เขาลืมไปคิดไปว่า แม้ว่าการไม่มีร่องรอยการกระทำในอดีตมากก่อนก็ตาม ก้ไมใช้เป็นตัว   ระบุห้ามจากการกระทำดังกล่าวเลยที่จะบอกว่าสิ่งนั้นเป็นบิดอะและเป็นฮารอม

บรรดาผู้รู้ยุคหลังๆ ของทัศนะวะฮาบียะบางกลุ่ม บางท่าน  ได้เลยเถิดในการอ้างหลักฐานที่คลุมเคลือ

โดยทำการหุกุ่ฮารอมหรือกล่าวหาว่า สิ่งที่ไม่มีในสิ่งที่ไม่มีในสมัยท่านนบีนั้น...เป็นอุตรกรรมบิดอะฮ์ลุ่มหลงในเรื่องของศาสนา.ด้วยสิ่งที่ท่านนบี กล่าวว่า..

فإذا نهيتكم عن شيء فأجتنبوه ، وإذا أمرتكم بأمر فأتوا منه ما أستطعتم

"ดังนั้นเมื่อฉันห้ามพวกท่านจากสิ่งหนึ่งพวกท่านก็จงห่างไกลมันและเมื่อฉันใช้พวกท่านด้วยกับสิ่งหนึ่งพวกท่านก็จงทำมันเท่าที่พวกท่านสามารถ"รายงานโดยบุคคอรีย์และมุสลิม
.


วะฮาบีย์นั้นไม่ยึดตามคำพูดของอุลามะที่ขัดแย้งกับทัศนะตน   ดังนั้นมันก็คือบิดอะที่เกิดขึ้นกับกลุ่มวะฮาบีย์ที่ปฏฺเสธผู้รู้ในทัศนะอื่นและในสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับทัศนะตนเอง

ท่านชัยค์  อัลฆุมารีย์กล่าวว่า "การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ละทิ้งการกระทำสิ่งหนึ่ง หรือบรรดาสะละฟุสซอและหฺละทิ้งไม่ได้กระทำมัน โดยไม่มีหะดิษ หรือคำกล่าวรายงานของซอฮาบะฮ์  มาระบุห้ามสิ่งที่ถูกทิ้งนั้น มันไม่ได้หมายถึงฮะรอมหรือมักโระฮ์ทำสิ่งนั้น " (ดู หุสนุด ตะฟะฮฺฮุม วัดดัรกฺ หน้า 12ของท่าน ชัยค์ อัลฆุมารีย์ )

ดังนั้น การทิ้งการกระทำนี้ มีหลายประเภท อาธิ เช่น

ท่าน อบู อัลฟัฏลฺ อัลฆุมารีย์ กล่าวว่า

"การละทิ้งการกระทำเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่มีหลักฐานมาระบุว่าสิ่งที่ถูกทิ้งนั้นหะรอม ย่อมไม่เป็นหลักฐานชี้ว่าสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม แต่จุดมุ่งหมายนั้นก็คือ การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งที่อนุญาติให้ละทิ้งการกระทำได้ และส่วนการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำ ที่เป็นสิ่งที่หะรอมนั้น ไม่ได้หมายถึงว่า เพราะท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งมัน แต่เป็นเพราะว่า มีหลักฐานมาระบุถึงการห้ามต่างหาก "ดู หุสนุด ตะฟะฮฺฮุม วัดดัรกฺ หน้า 15

จากตัวอย่างที่เราได้กล่าวมานั้นเราจะเห็นว่าการที่ท่านนบีได้ทิ้งหรือไม่ได้กระทำสิ่งหนึ่งนั้นไม่ได้ชี้ถึงว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ฮารอม

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นสามารถสรุปได้ว่า "การทิ้ง" (ไม่ได้กระทำ)มีสองประเภทใหญ่ๆคือ

1.การทิ้งที่มีจุดมุ่งหมาย ( ترك مقصود )ซึ่งนักปราชญ์มูลฐานนิติศาสตร์อิสลามได้ให้สำนวนว่า "การละทิ้งเชิงการมี" ( الترك الوجودى )คือท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้งการกระทำสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้เคยมีการกระทำมันมาแล้วหรือท่านนบี(ซ.ล.)ได้หยุดกระทำกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งที่ท่านนบี(ซ.ล.)กระทำได้

2.การละทิ้ง(การกระทำ)ที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย ( ترك غير مقصود )ซึ่งนักปราชญ์มูลฐานนิติศาสตร์อิสลามได้ให้สำนวนว่า"การละทิ้งเชิงไม่มี" ( الترك العدمى )คือสิ่งที่ท่านนบีไม่เคยกระทำและไม่เคยกล่าวมันโดยที่ไม่ได้นำเสนอหุกุ่มออกมาเนื่องจากไม่มีความต้องการหรือมีนัยยะให้กับการหุกุ่มสิ่งดังกล่าว
ดังนั้นในความเป็นจริงแล้วการทิ้งการกระทำที่ไม่มีจุดมุ่งหมาย ( ترك غير مقصود )นั้นย่อมไม่เหมาะสมที่จะนำมาเป็น"หลักฐาน"( دليل )ได้ในแง่ของหลักการศาสนา

ในแง่หลักการของศาสนาก็คือคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)ที่ว่า

وما أتاكم الرسول فخذوه وما نهاكم عنه فأنتهوا

"สิ่งใดที่รอซูลนำมาให้กับพวกท่านนั้นพวกท่านจงยึดมันและสิ่งใดที่ร่อซูลห้ามพวกท่านจากสิ่งนั้นพวกท่านจงก็ยุติ"อัลหัชรฺ

ฉนั้นวะฮาบีย์นั้นไม่เข้าใจในเรื่องบิดอะ แต่ขณะเดียวกันเขากลับเข้าใจในการบิดเบือนต่อความหมายของคำๆนี้ เท่านั้น
เปรียบสเมือนว่า มีคนตีกลองมาแต่ไกลแต่เขาเองก็ไม่รู้ว่าดังจากไหนและใครเป็นผู้ตี ..

ฉันใดก็ฉันนั้น  บิดอะฉบับวะฮาบีย์นั้นยังคงมีตลอดตราบใดที่เขาเองไม่เข้าใจในนิยามคำว่า..บิดอะ ที่อุลามะเขาให้ความหมายว่า  และตราบใดที่วะฮาบี..แปลความหมายคำๆนี้โดยอาศัยการเข้าใจของตนเองแล้วทำการฮุกมบรรดาอุลามะและผู้ที่ตามอุลามะว่า ตกนรก  ตราบบนั้น ความขัดแย้งก็ยังไม่สิ้นสุด   
วัลอิยาซุบิ้ลลา

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: บิดอะฮ์ของวาฮาบีย์
« ตอบกลับ #104 เมื่อ: ม.ค. 26, 2007, 09:07 AM »
0
ดังนั้น ปัญหา การโจมตีหรือกล่าวหา ในเรื่อง บิดอะ ของวาฮาบีย์บางกลุ่มในเมืองไทย..ไม่ว่าในสื่อด้านใดก็ตาม  ล้วนสร้างความ..สับสนให้กับผู้ที่ปฏิบัติคุณธรรมในมัสหับอัชชาฟีอี(รด)เป็นอย่างมาก

โดยเฉพาะผู้ที่ตักลีด ตามอุลามะมัสหับชาฟีอี(รด) เช่น ท่าน อีหม่ามนาวาวีย์ อีหม่ามหะญัร  อับดลุ บินสลามฯลฯ  ซึ่งท่านเหล่านี้ ได้เดินตามความเข้าใจตรงกับ อีม่ามชาฟีอี ที่กล่าวว่า บิดอะนั้นมี ...2ประเภท..
ซึ่ง ท่านอีม่ามชาฟีอี(รฮ)เองก็อ้าง ตามคำพูดของซอฮาบะของท่านนบี(ซล)คือท่านอุมัร(รด)อีกที
ในขณะเดียวกัน กลุ่มวะฮาบีย์บางกลุ่มในเมืองไทยนั้น  นั้นกลับไม่ยอมรับในสิ่งที่ บบีรดาอุลามะของท่านอีหม่ามชาฟีอี(รฮ) ที่พวกเขาเข้าใจว่า บิดอะนั้นถูกแบ่งเป็น  2 อย่างชัดเจนจึงถือว่า

ฉนั้น เราจึงสามารถสรุปการกระทำของชาววะฮาบียะในเมืงไทยได้ว่า..แท้จริงเขาเองนั้น ได้ฮุกมต่อซอฮาของท่านนบี(ซล)คือท่านอุมัร(รด)ด้วยเช่นกัน....

 ..ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

หมายความว่า"การ(รวมตัว)ละหมาดตะรอวิหฺ(20 ร่อกะอัต)ในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำขึ้นมาแล้ว ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิ่งที่กล่าวมา " และสายรายงานนี้ ซอเฮี๊ยะห์ ดู หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ เล่ม1 หน้า 468 - 469

เมื่อเป็เช่นนี้คำนิยามบิดอะฮ์นั้นก็ได้ถูกจำกัดความขึ้นจากความรู้ของบรรดาอุลามาอ์ซึ่งมีความเข้าใจตรงกัน

เช่นท่าน อิมามอัช-ชาฟิอีย์ (รด.)ท่านเองได้แบ่งมันออกเป็น 2 ประเภท.

คือ.สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

และ สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ


ท่านอิบนุ หัซมิน (ร.ห.) เสียชีวิตปี 456 ฮ.ศ.แม้ว่าในบางเรื่องท่านเองไม่เห็นด้วยกับท่านอีหม่ามชาฟีอี(รฮ)เช่น ในเรื่องผู้ที่ขาดละหมาดโดยเจตนานั้นท่านกล่าวว่าเขานั้นเปฌ็นก่าเฟรและท่านกล่าวว่า เมื่อขาดละหมาดแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องชดใช้.ซึ่งในเรื่องนี้ท่านมีความเห็นขัดแย้งกับทัศนะของอีหม่ามทั้ง 4 .แต่ตัวท่านนั้นสังกัดมัสหับชาฟีอี(รฮ)และบางครั้งก็มัสหับฮัมบาลี(รฮ)..แต่ในเรื่องความเข้าใจในคำนิยามว่า..
บิดอะนั้น ท่านเข้าใจในสิ่งที่ท่านอีม่ามชาฟีอีกล่าวอย่างชัดเเจ้ง..

ท่านอิบนุ หัซมินกล่าวว่า
"บิดอะฮ์ในศาสนานั้น คือทุกสิ่งที่ไม่เคยมีระบุไว้ในอัลกุรอานและในคำสอนจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) นอกจากว่าส่วนหนึ่งมีบิดอะฮ์ที่เจ้าของผู้กระทำจะถูกตอบแทนและได้รับการผ่อนปรนให้ทำตามได้ตามเจตนาอันดีงามของเขา ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ คือ สิ่งที่ผู้กระทำจะได้รับผลตอบแทน และมันจะเป็นสิ่งที่ดีโดยที่มีรากฐานเดิมที่อนุมัติให้กระทำได้ ตามที่ได้มีรายงานจากท่านอุมัร (ร.ฏ.) ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

คือสิ่งที่เป็นการปฏิบัติความดีงามและมีตัวบทกล่าวไว้ อย่างคลุม ๆ ถึงการส่งเสริม(สุนัต)ให้กระทำ ถึงแม้ว่า การปฏิบัตินั้น จะไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในตัวบทก็ตาม และอีกส่วนหนึ่งเป็นบิดอะฮ์ คือสิ่งที่ถูกตำหนิและผู้ปฏิบัติตาม จะไม่ได้รับการผ่อนปรน นั่นก็คือสิ่งที่มีหลักฐานมายืนยันว่ามันใช้ไม่ได้และผู้ที่ปฏิบัติก็ยังคงยืนกรานกระทำมัน
 
 


...ดังนั้น ..การที่พี่น้องวะฮาบีย์บางกล่มในเมืองไทย ขึ้นเวทีปราศัยหรือโฆษณาตามสื่อสิ่งพิมต่างๆนั้นโดยโจมตีและกล่าวหาบิดเบือนต่อท่านว่า อุมัร(รด)ว่า ท่านไม่ได้กล่าวในสิ่งนี้
نعمت البدعة هذه
"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้" ..ซึ่งสิ่งที่ชัดเจนคือมันคือความจริงนั้นก็ยังวเป็นหลักฐานอยู่วันยังคำตามลายลักษณ์ตัวอักษรที่ท่านกล่าวไว้..ตลอดจนถึงปัจจุบัน  แม้ว่าวะฮาบียะบางกลุ่มจะบอกว่า สิ่งที่ท่านอุมัร(รด)นั้นกล่าวว่ามันคือเป็นการฟื้นฟู

นีคือตัวอย่างที่วะฮาบีเมืองไทยที่อ้างว่าเขาคือกลุ่มซุนนะที่น่านับถือ ซึ่งเขาอ้างนักหนาว่า เพราะกลุ่มเขานี้เองที่ยืนหยัดในการมั่นไว้โดยอัชซุนนะของท่านนบี(ซล)

ในความเป็นจริงพวกเขานั้รนคือตัวทำลายอัชซุนนะนบีอย่างชัดแจ้ง..และพวกเขานั้นเองที่กล้าฮุกมต่อบรรดาซอฮาบะบางท่านของท่านนบี(ซล)..ที่ยอมรับในสิ่งที่ท่านคุลีฟะอัรรอซัดีนกล่าว..และบรรดาซอฮาบะผู้ที่เห็นดีด้วยกับท่านอุมัร(รด)รวมทั้ง อุลามะที่โลกยอมรับจากทัศนะทั้ง4เช่นอีม่ามชาฟีอี(รฮปและบรรดาผู้ตามมัสหับของท่าน(ชาวชาฟีอียะทั้งหลาย)..

นี่ต่างหากเล่า ที่เป็น บิดอะดอลาละ ของวะฮาบีย์ ที่ศาสนาห้ามไว้

ดัง ที่เช่นท่าน อิมามอัช-ชาฟิอีย์ (รด.)ได้กล่าวไว้ว่า.

-สิ่งใดก็ตามที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

...ตรงนี้เอง ที่ทัศนะวะฮาบีย์ได้อุตริกรรมขึ้น เพื่อมุ่งโจมตีกับบรรดาซออาบะของท่านนบีและอุลามะของมัสหับชาฟีอี..ซึ่งไม่มีมัสหับใดเขาทำกันและสนับสนุนในสิ่งที่ศาสนาได้ห้ามปรามไว้..วัลอิยาซุบิ้ลลามีนซาลิก..


 

GoogleTagged