ผู้เขียน หัวข้อ: ตามคำสัญญา ช่วยกันวิพากษ์หนังสือ "หลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ฯ"  (อ่าน 7486 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป

อัสสลามุ อลัยกุม วะเราะมะตุ้ลเลาะฮฺ วะบะเราะก้าตุฮฺ
ผมเด็กตานีนะครับ  สังกัดฟิกฮฺมัซฮับชะฟิอีย์  ส่วนอะกีดะฮฺยึดหลักตามทฤษฎีของท่านอัล-อัชอะรีย์ (ศีฟัต 20) อยากให้บังอัลอัซฮะรีย์ ทำการตรวจสอบหนังสือเล่มหนึ่งครับ สงสัยในเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้มากๆ เพราะมีคำกล่าวว่าของบรรดาเศาะฮะบะฮฺและบรรดาอุลามาอฺสะลัฟที่มีชื่อเสียง ซึ่งรายละเอียดของหนังสือเล่มดังกล่าวดังนี้ครับ :
ชื่อหนังสือว่า : หลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ)
ชื่อในต้นฉบับ :  الوجيزفي عقيدة السلف الصلح {أهل السنة والجماعة} 
ISBN 974-93456-4-9
ผู้เรียบเรียง : อับดุลลอฮฺ บินอับดิลหะมีด อัล-อะษะรีย์
ผู้แปล : นัศรุลลอฮฺ ต็อยยิบ
บรรณาธิการ : อ.อับดุรเราะห์มาน สมบูรณ์, อ.จู่อิบนุรุดดีน เบ็ญสอิ
รูปเล่ม : วิเชียร บิลยะลา, ขนิษฐา การันสันติ, จิราพัชร และเจริญ
พิมพ์ครั้งที่   1  /  กุมภาพันธ์  2545
พิมพ์ครั้งที่   2  /  กันยายน     2548  (ฉบับแก้ไขปรับปรุงใหม่)
ราคา (ปกแข็ง) : 200 บาท  - ปกเขียวอ่อน
จัดพิมพ์โดย : สำนักพิมพ์อัร-ริซาละห์
115 หมู่ 5  ต.ทุ่งตำเสา อ.หาดใหญ่ 90110  โทร. 074-434792,  04-7473084
­จำหน่ายโดย : มูลนิธิอิสลามมุอ๊าซ บิน ญะบั้ล
      ม.8  ต.ควนสตอ  อ.ควนโดน  จ.สตูล  91160  โทร. 0-7473-5072-4, 0-1987-7073
ปกหน้า : สีเขียวอ่อน  มีรูปมัสญิดอันนะบะวีย์ อยู่ในวงกลมลายอะราเบสก์สีส้ม และรูปอัลกุรฺอานที่มุมขวาล่าง และมีพื้นหลังเป็นรูปเงามัสญิด  และลวดลายศิลปะอิสลาม และปรากฏข้อความที่ว่า ?หนังสือที่ผู้แสวงหาในแนวทาง ?อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ? ทุกท่านต้องอ่าน?
ปกหลัง : ได้สาธยายความน่าเชื่อถือจากคำยอมรับจากบรรดาอุลามาอาวุโส ต่างๆ และประกาศจุดยืนของอะกีดะฮฺของตนด้วย  (และบาร์โคด บอกราคา 200 บาท)
เนื้อหาโดยคล่าวๆ ของหนังสือ ประกอบด้วย
1.) คำนิยมของ ชัยคฺ สะอูด บินอิบรอฮีม  บินมุฮัมมัด อัช-ชุรัยมฺ  (อิม่ามและเคาะฏีบประจำมัสยิด อัล-หะรอม) 14/5/1416
   * เมื่อเปิดอ่านคำนิยมแล้ว ทำให้ผมเริ่มไม่แน่ใจว่า ตกใจอิม่ามอัช-ชุรัยมฺของผมนั้น เป็นวะฮะบีย์หรือเนี่ยะ???? ในก็ได้ช่วยชี้แจงหน่อย แล้วอีกท่านหละ อิม่ามอัซ-ซุดัยส์ เป็นวะฮะบีย์ด้วยหรือป่าว แล้วคนอื่นๆ หละ  ใครที่มีชีวประวัติของบรรดาอิม่ามมุร็อตตัลที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ ช่วยโพสต์ให้รู้ๆ กันหน่อยนะครับ ขอร้อง อยากรู้ความจริง

2.) คำนิยมของ ชัยคฺ มุฮัมมัด ญะมีล ซัยนู  (อาจารย์สถาบันดารุล-หะดิษอัล-ค็อยรียะฮฺ มักกะฮฺ)  2  เชาวาล  ฮ.ศ. 1415 
   * แล้วอาจารย์ท่านนี้ละครับ เป็นถึงอาจารย์สถาบันดารุล-หะดิษอัล-ค็อยรียะฮฺ มักกะฮฺ แหๆ
3.) และอื่นๆ ตามส่วนประกอบของหนังสือทั่วๆ ไป

จุดเด่นของหนังสือคือ
เกือบทุกส่วนของหนังสือเล่มนี้ จะประกอบด้วยบรรดาหลักฐานต่างๆ ที่อ้างอิงทั้งมาจากอัลกุรฺอาน และหะดิษเศาะเหียหฺ, หะซัน และบรรดาหนังสือที่มีชื่อเสียงของบรรดาอุลามาอฺที่มีชื่อเสียงทั้งหลายเป็นต้น 
ผมแปลกใจมากๆ คือ เขาจะนำเสนอคล้ายๆ กับความคิดเห็น หรือคำฟัตวาเกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮฺของบรรดาเศาะฮะบะฮฺ, อุลามาอฺสลัฟที่มีชื่อเสียง ในลักษณะที่ว่า บิดอะฮฺนั้นไม่ว่าจะดี หรือเลว ก็หลงทางหมดนั่นแหละ อย่ามาโต้ให้เหนื่อยเลย นี่หลักฐานชัดๆ ต่อหน้า ซึ่งปรากฎอยู่ท้ายเล่มดังกล่าว  ตัวอย่างคำกล่าว  เช่น
- ท่านหุซัยฟะฮฺ  บิน  อัลยะมาน (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม) กล่าวว่า
   ?ทุกอิบาดะฮฺที่บรรดาเศาะฮะบะฮฺของท่านเราะซูล (ศ็อลฯ) มิได้ยึดถือปฏิบัติ ดังนั้นพวกท่านจงอย่าได้ใช้มาปฏิบัติเป็นอิบาดะฮฺ  เพราะแท้จริงชนยุคแรกมิได้ปล่อยละถ้อยคำใดๆ เอาไว้แก่ชนรุ่นยุคหลัง  ดังนั้น ขอพวกท่านจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด โอ้บรรดานักอ่าน (กอรี) ทั้งหลาย  จงยึดหนทางของบุคคลยุคก่อนเอาไว้? (ดู หน้า 251, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน หนังสือ ?อัล-บิดอะฮฺ วัน-นะฮฺยุ อันฮา? ของอิบนุวิฎอห์)
-  ท่านอัยยูบ อัสสัคตียานีย์  (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
?การที่คนทำบิดอะฮฺเพิ่มความพยายามมากขึ้นเท่าใด ย่อมมีแต่จะเพิ่มความห่างไกล (จากอัลลอฮฺ) มากขึ้นเท่านั้น?   (ดู หน้า 254, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน หนังสือ ?อัล-บิดอะฮฺ วัน-นะฮฺยุ อันฮา? ของอิบนุวิฎอห์)

- ท่านฮัซซาน บิน อะฏียะฮฺ (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
   ?การที่กลุ่มชนใดอุตริสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺหนึ่งขึ้นมาในเรื่องศาสนา ย่อมมีแต่จะทำให้ซุนนะฮฺ (ในเรื่องนั้นๆ) ถูกถอดถอนออกไปหนึ่งประการจากพวกเขาเช่นกัน? (ดู หน้า 255, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?บันทึกโดยอิม่ามอัล-ลากาอีย์ ใน ?ชัรหุ อุศูล อิอฺติกอด อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ?)

- ท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์  (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
   ?บิดอะฮฺเป็นสิ่งที่อิบลีส (หัวหน้าชัยฏอน) ชอบยิ่งสิ่งที่เป็นมุอ์ศียะฮฺเสียอีก (ทั้งนี้เพราะ) มุอ์ศียะฮฺเป็นสิ่งที่มีโอกาสเตาบะฮฺ (สารภาพผิด) ได้  ในขณะที่สิ่งบิดอะฮฺนั้น มักจะไม่มีการเตาบะฮฺ (เพราะคนทำบิดอะฮฺมักหลงผิดคิดว่าตนทำถูกต้องแล้วนั่นเอง)? (ดู หน้า 255, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?บันทึกโดย อัล-บะเฆาะวีย์  ใน  ชัรหุซซุนนะฮฺ?)

บรรดาอิม่ามทั้ง 4 มัซฮับ
1 - ท่านอิม่าม อัช-ชาฟิอีย์ (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
   ?ทุกๆ ปัญหาที่ฉันกล่าวเอาไว้ (ในตำรา หรือในมัซฮับของท่าน) หากมันค้านกับซุนนะฮฺ ฉันขอกลับคำพูดเสียใหม่ ในขณะที่ฉันมีชีวิตอยู่นี้ และหลังจากเสียชีวิตไปแล้ว? (ดู หน้า 255-256, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?บันทึกโดย อัล-เคาะฏีบ  ใน  ?อัล-ฟะกีฮฺ วัล-มุตะฟักกิฮฺ?)
   และรายงานจากท่านอัร-รอเบียะอฺ  บิน สุลัยมาน กล่าวว่า
   ?วันหนึ่งท่านอัช-ชาฟิอีย์ได้รายงานหะดิษหนึ่ง  มีชายคนหนึ่งกล่าวถามท่านว่า ?ท่านยึดเอาตามนี้แล้วหรือ  โอ้..ท่านอบูอับดิลลาฮฺ (หมายถึงอิม่ามอัช-ชาฟิอีย์)?? ท่านตอบว่า ?เมื่อใดที่ฉันรายงานหะดีษหนึ่งๆ ที่ถูกต้องจากท่านเราะซูล (ศ็อลฯ) แต่ฉันเองมิได้ยึดถือมันตามนั้นแล้ว  ขอพวกท่านพึงเป็นพยานด้วยว่าสติของฉันได้วิปลาส (เป็นบ้า) ไปแล้ว? (ดู หน้า 255-256, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?บันทึกโดย อัล-เคาะฏีบ  ใน  ?อัล-ฟะกีฮฺ วัล-มุตะฟักกิฮฺ?)

2 - ท่านอิม่าม หะนะฟีย์  (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
   รายงานจากท่านนูห์  อัล-ญาเมี๊ยะอ์ กล่าวว่า ?ฉันได้กล่าวต่อท่านอบูฮานีฟะฮฺ (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) ว่า : ท่านเห็นเช่นใด ต่อคำพูดของมนุษย์ที่พวกเขาอุตริขึ้นทั้งสิ่งที่มีสองนัยและที่มีเนื้อหาหลากหลาย??
   ท่านจึงกล่าวว่า
   ?นั้นเป็นเพียงคำพูดของนักปรัชญา  ขอท่านจงยึดมั่นต่อหลักฐานและแนวทางของชาวสะลัฟเอาไว้เถิด  และจงระวังทุกสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่  เพราะแท้จริงมันคือ บิดอะฮฺ? (ดู หน้า 256, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?บันทึกโดย อิบนุ บัฏเฏาะฮฺ ?อัล-อินาบะฮฺ?)

3 ? ท่านอิม่าม มาลิก  บิน อนัส   (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
   ?ซุนนะฮฺเป็นเช่นเรือท่านนบีนูห์ บุคคลใดขึ้นขี่มันเขาย่อมปลอดภัย  และผู้ใดฝ่าฝืนต่อมัน  เขาผู้นั้นย่อมจมน้ำตาย? (ดู หน้า 256, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?มิฟตาหุล-ญันนะฮฺ  ฟี  อิอฺติศอม  บิซซุนนะฮฺ? ของอัซ-ซุยูฏีย์)
   และรายงานหนึ่งจากอิบนุ มาจีชูน  กล่าวว่า : ฉันได้ยินท่านอิม่ามมาลิก กล่าวว่า
   ?บุคคลใดอุตริสิ่งบิดอะฮฺหนึ่งๆ หนึ่งในอิสลาม  โดยเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ดีงามแล้วไซร้  แน่นอนเท่ากับเขาอ้างว่ามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) นั้น  ได้ทรยศต่อการเป็นเราะซูล  ทั้งนี้เพราะอัลเลาะฮฺ (ทรง) ตรัสแล้วว่า اليوم أكملت لكم دينكم..ความว่า  ?วันนี้เราได้ทำให้สมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว  ซึ่งศาสนาของพวกเจ้า??  (ท่านอิม่ามมาลิกกล่าวต่อว่า)  ดังนั้นสิ่งใดๆ ก็ตามที่ ณ วันนั้นมิใช่ศาสนา  ณ  วันนี้จะเอามันมาเป็นศาสนาไม่ได้โดยเด็ดขาด?  (ดู หน้า 257, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?อัล-อิอฺติศอม? ของอิม่ามอัช-ชาฏิบีย์)

4 ? ท่านอิม่าม อะหฺมัด  บินหัมบัล  ผู้นำของชาวอะฮฺลุซซุนนะฮฺท่านหนึ่งได้กล่าวว่า
   ?หลักการของซุนนะฮฺในทัศนะของเราคือ การยึดมั่นต่อสิ่ง (แนวทาง) ที่บรรดาเศาะฮะบะฮฺของท่านเราะซูล (ศ็อลฯ) ดำเนินมาพร้อมกับปฏิบัติตามพวกเขาเหล่านั้น และพยายามละทิ้งสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺทั้งหลายเสีย  เพราะทุกๆ บิดอะฮฺนั้นคือความหลงผิด? (ดู หน้า 257-258, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?บันทึกโดย อิม่ามอัล-ลาลิกาอีย์  ใน  ?ชัรหุ อุศูล อิอฺติกอด  อะฮฺลิซซุนนะฮฺ  วัล-ญะมาอะฮฺ?)

และอีกหลายท่านที่มิได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้

   ฉบับนี้ผมขอนำเสนอเรื่องจุดยืนเกี่ยวกับบิดอะฮฺของบรรดาเศาะฮะบะฮฺ และบรรดาอุลามาอฺที่มีชื่อเสียงที่มีปรากฏใน หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย  ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ  อินชาอัลลอฮฺ ฉบับหน้าผมจะนำเสนอคำฟัตวาของบรรดาอุลามาอฺที่มีต่อพวกอะฮฺลุลกะลาม ตามที่ปรากฏใน หนังสือหลักการยึดมั่นฯ ภาคภาษาไทย 
   ขอชี้แจงอะไรอย่างหนึ่งนะครับว่า  ที่ผมยกเนื้อหาจากหนังสือหลักการยึดมั่นฯ มานั้น ไม่ได้ต้องการที่จะโปรโมตหนังสือ หรือให้ทุกคนที่ได้อ่านเนื้อหาเหล่านี้เชื่อตามหนังสือเล่มนี้  แต่ผมต้องให้บังๆ ที่มีความรู้ทั้งหลายให้ช่วยกันชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำกล่าวของบรรดาอุลามาอฺทั้งหลาย ว่า แท้ที่จริงแล้วเป็นคำพูดของท่านเหล่านั้นเป็นเพียงการกุ เพิ่มเติมเข้าไป  หรือเป็นความเข้าใจผิดในตัวหลักฐานของพวกวะฮะบีย์เอง หรือเป็นคำพูดของท่านเหล่านั้นจริง  ท่านผู้รู้ทั้งหลายครับ  กรุณาช่วยชี้แจงให้กระจ่างทีเถอะครับ  ผมเองเกือบจะเชื่อวะฮะบีย์ เพราะอ่านหนังสือเล่มนี้แหละ  เพราะเห็นมีคำพูดของอิม่ามอัช-ชะฟิอีย์ด้วย จริงเชื่อ คิดไปแล้วเสียดายตังค์  หนังสือแพงมากๆ ตั้ง 200 บาทเชียว  ไม่รู้ต้องการเผยแพร่สัจธรรม หรือต้องการอะไรกันแน่  และเห็นเขาอ้างอิงหลักฐานจากหนังสือด้วย ผมดูแล้วน่าเชื่อถือดี  ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ ผมก็เคยได้รับคำตักเตือนจากผู้รู้จาก 3จ. ไม่ว่าจะเป็นบาบอ Ismail Spanjang, Al Marhum Imam Abd.Qadeer อิม่ามที่ชุมชนของผมเอง เกี่ยวกับอันตรายของพวกวะฮะบีย์มามากต่อมากแล้ว  แต่ก็ยังเผลอที่จะเชื่อพวกวะฮะบีย์อีก       อีหม่านผมอ่อนมากๆ เลยตอนนี้  แล้วคนอื่นหละที่ไม่สนใจศาสนาเลยจะเป็นอย่างไรหละครับ  แต่โชคดีที่ได้ปรึกษาเพื่อนที่อยู่ปอเนาะเสียก่อน  เขาจึงอธิบายให้ผมกระจ่าง  แต่เสียดายที่ผมจะนำมาอธิบายให้ท่านทั้งหลายเข้าใจไม่ได้เท่าที่ควร  ดังนั้นจึงขอรบกวนอีกทีช่วยพี่น้องมุสลิมของเราที่มีอีกมากที่ไม่มีความรู้เรื่องอะกีดะฮฺเลย แล้วได้เผลอไปตกหลงหลุมพลางของพวกวะฮะบีย์ด้วยวิธีการต่างๆ  คิดแล้วมันน่าอนาจใจอย่างยิ่ง  เห็นด้วยไหมครับ
   สุดท้ายผมอยากให้ผู้รู้เกี่ยวกับ ศีฟัต 20 ขอความกรุณาเถอะครับให้ช่วยทำเป็นหนังสืออธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้  อย่าปล่อยให้วะฮะบีย์ร้องประกาศอะกีดะฮฺของตนแต่เพียงฝ่ายเดียว  ผมอยากให้ทำเป็นหนังสือออกสู่ตลาดให้เป็นทางการ ในภาคภาษาไทย  เพราะเท่าที่รู้มาหนังสือเกี่ยวกับหลักอะกีดะฮฺตามทฤษฎีของท่านเชคอัล-อัชอะรีย์ยังไม่มีเลย  กรุณารับไว้พิจารณาด้วยนะครับ  หากผมช่วยอะไรได้ ผมจะช่วยเต็มที่เลยนะครับ ไม่ต้องเกรงใจใดๆ ทั้งสิ้น
   ติดต่อผมได้ทางเมลล์ qib288310@hotmail.com หรือ qib288310@gmail.com  สิ่งใดที่ผิดพลาดจากการนำเสนอผมขอ อัซตัฆฟิรรุ้ลลอฮั้ลอะซีม

วัสสลามุ อลัยกุม วะเราะมะตุ้ลเลาะฮฺ วะบาเราะก้าตุฮฺ
อัล-ฟาฏอนีย์

ออฟไลน์ sufriyan

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 526
  • เพศ: ชาย
  • 0000
  • Respect: +16
    • ดูรายละเอียด
อัสลามูอาลัยกุม
ผมก็เคยอ่านมาแล้วเหมือนกันครับ แต่ไม่ได้ซื้อครับ   แอบอ่านที่มัสยิดหนึ่ง ตอนไปละหมาด ดุฮ์รี(แต่ไม่ละเอียดเท่าไหร่ครับ อ่านเฉพาะตอนสำคัญ)
เห็นด้วยกับคุณครับที่จะนำมาวิจารณ์ จะได้ความรู้เพิ่ม
วัสลาม

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
 salam

          ช่วยกันวิจารณ์นะครับ  ชี้แนะด้วยเน้อะ อะไรเป็นอะไร  เพราะหนังสือนี้เป็นภาษาไทยแล้ว  รูปเล่มน่าอ่านเชียว แต่เนื้อหาข้างในชวนสยองน่าดู อิอิ ฝากบังอัลฯ ด้วยนะครับ ไม่ทราบเพราะอะไร เห็นบังอัลฯ ไม่ค่อยสนใจกระทู้ผมเลย แงๆ น้อยใจนะเนี่ยะ ผู้รู้ของเราไม่สนใจ ฝากด้วยนะครับ

วัสสลามุ อลัยกุม

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด

ผมแปลกใจมากๆ คือ เขาจะนำเสนอคล้ายๆ กับความคิดเห็น หรือคำฟัตวาเกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮฺของบรรดาเศาะฮะบะฮฺ, อุลามาอฺสลัฟที่มีชื่อเสียง ในลักษณะที่ว่า บิดอะฮฺนั้นไม่ว่าจะดี หรือเลว ก็หลงทางหมดนั่นแหละ อย่ามาโต้ให้เหนื่อยเลย นี่หลักฐานชัดๆ ต่อหน้า ซึ่งปรากฎอยู่ท้ายเล่มดังกล่าว  ตัวอย่างคำกล่าว  เช่น
- ท่านหุซัยฟะฮฺ  บิน  อัลยะมาน (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม) กล่าวว่า
   ?ทุกอิบาดะฮฺที่บรรดาเศาะฮะบะฮฺของท่านเราะซูล (ศ็อลฯ) มิได้ยึดถือปฏิบัติ ดังนั้นพวกท่านจงอย่าได้ใช้มาปฏิบัติ

ผมอยากให้คุณAl Fatoni อ่านเรื่องบิดอะฮฺหะสะนะที่เว็ปนี้เขียนไว้อยู่แล้วครับ
ชัดเจนมาก

เพราะบางทีซุนนะฮฺจ๋าจะนำเสนอตัวบทแต่ไม่ได้ใช้ความเข้าใจของอุลามะอฺมา
ทำให้ตีหะดีษกันเอาเอง ก็หลงกันเอง หลงกันเองยังไม่เท่าไหร่ พาคนอื่นหลงด้วย
บางคนอิอฺรอบบัสมะละฮฺยังไม่เป็นเลย

อุลามาอฺศลัฟนี่แหละครับที่บอกว่ามีบิดอะฮฺที่ดี

เช้นที่อิหม่ามชาฟิอีได้แบ่งบิดอะฮฺไว้เป็น2ประเภท
บิดอะฮฺที่ได้รับการสรรเสริญ และบิดทีชั่วร้าย

พอเรื่องอย่างนี้พวกเขากลับไม่ยก
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
      นำเสนอมาเลยครับคุณ Al Fatoni  ผู้นำเว๊บไซต์แห่งนี้จะวิจารณ์ประเด็นความแตกต่างระหว่างเรากับวะฮาบีได้อยู่แล้วขอรับ  แต่รู้สึกว่ามีบางประเด็นที่หนังสือ "หลักยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ฯ" มีหลักการที่ไม่มีหลักฐานจากสิ่งที่สะลัฟยึดมั่นกันเลยด้วยนะขอรับ ซึ่งจากจะบอกว่าหนังสือดังกล่าวชื่อสวยหรูแต่ทว่าเนื้ออาจจะไม่จริงไปเสียทั้งหมด  fouet:

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อัสลามุอะไลกุ้ม....

คุณ Al Fatoni ครับ....เอาข้อมูลหนังสือดังกล่าว...ลงมานำเสนอเลยครับ....ทางเราพร้อมที่จะวิจารณ์ในเชิงวิชาการ...แต่ผมเกรงว่า...คุณไม่กล้านำเสนอมากกว่า...วัสลาม...

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เนื้อหาโดยคล่าวๆ ของหนังสือ ประกอบด้วย
1.) คำนิยมของ ชัยคฺ สะอูด บินอิบรอฮีม  บินมุฮัมมัด อัช-ชุรัยมฺ  (อิม่ามและเคาะฏีบประจำมัสยิด อัล-หะรอม) 14/5/1416
   * เมื่อเปิดอ่านคำนิยมแล้ว ทำให้ผมเริ่มไม่แน่ใจว่า ตกใจอิม่ามอัช-ชุรัยมฺของผมนั้น เป็นวะฮะบีย์หรือเนี่ยะ???? ในก็ได้ช่วยชี้แจงหน่อย แล้วอีกท่านหละ อิม่ามอัซ-ซุดัยส์ เป็นวะฮะบีย์ด้วยหรือป่าว แล้วคนอื่นๆ หละ  ใครที่มีชีวประวัติของบรรดาอิม่ามมุร็อตตัลที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ ช่วยโพสต์ให้รู้ๆ กันหน่อยนะครับ ขอร้อง อยากรู้ความจริง

2.) คำนิยมของ ชัยคฺ มุฮัมมัด ญะมีล ซัยนู  (อาจารย์สถาบันดารุล-หะดิษอัล-ค็อยรียะฮฺ มักกะฮฺ)  2  เชาวาล  ฮ.ศ. 1415 
   * แล้วอาจารย์ท่านนี้ละครับ เป็นถึงอาจารย์สถาบันดารุล-หะดิษอัล-ค็อยรียะฮฺ มักกะฮฺ แหๆ
3.) และอื่นๆ ตามส่วนประกอบของหนังสือทั่วๆ ไป

ชัยค์อัช-ชุรัยม์และชัยค์ซัยนูไม่ใช่นบีไม่ใช่สะลัฟ...วะฮาบีย์ชอบบอกว่า...นบีเองก็เป็นมนุษย์ธรรมดาๆเหมือนกับเรา....ดังนั้นชัยค์อัชชุเรมและชัยค์ซัยนู...ก็เป็นมนุษย์ธรรมดาๆ ที่คำพูดของเขาไม่สามารถนำมารับรองในเรื่องศาสนาได้....ชัยค์ทั้งสองมีผิดมีถูก...เราจึงไม่ควรให้ความสำคัญเลย...นอกจากต้องกลับไปยังการรับรองของอัลกุรอานและซุนนะฮ์และหลักการที่อยู่ภายใต้อัลกุรอานและซุนนะฮ์.....แม้ชัยค์อัช-ชุเรม..ได้เป็นอิมามมัสยิดฮะรอม...แต่ก็ไม่ได้ถูกเลือกตั้งจากพี่น้องมุสลิมีน...แต่ทว่าได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลซาอุฯ...เท่านั้นเอง....

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ผมแปลกใจมากๆ คือ เขาจะนำเสนอคล้ายๆ กับความคิดเห็น หรือคำฟัตวาเกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮฺของบรรดาเศาะฮะบะฮฺ, อุลามาอฺสลัฟที่มีชื่อเสียง ในลักษณะที่ว่า บิดอะฮฺนั้นไม่ว่าจะดี หรือเลว ก็หลงทางหมดนั่นแหละ อย่ามาโต้ให้เหนื่อยเลย นี่หลักฐานชัดๆ ต่อหน้า ซึ่งปรากฎอยู่ท้ายเล่มดังกล่าว  ตัวอย่างคำกล่าว  เช่น
- ท่านหุซัยฟะฮฺ  บิน  อัลยะมาน (เราะฎิยัลลอฮุอันฮุม) กล่าวว่า
   ?ทุกอิบาดะฮฺที่บรรดาเศาะฮะบะฮฺของท่านเราะซูล (ศ็อลฯ) มิได้ยึดถือปฏิบัติ ดังนั้นพวกท่านจงอย่าได้ใช้มาปฏิบัติเป็นอิบาดะฮฺ  เพราะแท้จริงชนยุคแรกมิได้ปล่อยละถ้อยคำใดๆ เอาไว้แก่ชนรุ่นยุคหลัง  ดังนั้น ขอพวกท่านจงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด โอ้บรรดานักอ่าน (กอรี) ทั้งหลาย  จงยึดหนทางของบุคคลยุคก่อนเอาไว้? (ดู หน้า 251, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน หนังสือ ?อัล-บิดอะฮฺ วัน-นะฮฺยุ อันฮา? ของอิบนุวิฎอห์)
-  ท่านอัยยูบ อัสสัคตียานีย์  (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
?การที่คนทำบิดอะฮฺเพิ่มความพยายามมากขึ้นเท่าใด ย่อมมีแต่จะเพิ่มความห่างไกล (จากอัลลอฮฺ) มากขึ้นเท่านั้น?   (ดู หน้า 254, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน หนังสือ ?อัล-บิดอะฮฺ วัน-นะฮฺยุ อันฮา? ของอิบนุวิฎอห์)

- ท่านฮัซซาน บิน อะฏียะฮฺ (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
   ?การที่กลุ่มชนใดอุตริสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺหนึ่งขึ้นมาในเรื่องศาสนา ย่อมมีแต่จะทำให้ซุนนะฮฺ (ในเรื่องนั้นๆ) ถูกถอดถอนออกไปหนึ่งประการจากพวกเขาเช่นกัน? (ดู หน้า 255, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?บันทึกโดยอิม่ามอัล-ลากาอีย์ ใน ?ชัรหุ อุศูล อิอฺติกอด อะฮฺลิซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ?)

- ท่านซุฟยาน อัษ-เษารีย์  (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
   ?บิดอะฮฺเป็นสิ่งที่อิบลีส (หัวหน้าชัยฏอน) ชอบยิ่งสิ่งที่เป็นมุอ์ศียะฮฺเสียอีก (ทั้งนี้เพราะ) มุอ์ศียะฮฺเป็นสิ่งที่มีโอกาสเตาบะฮฺ (สารภาพผิด) ได้  ในขณะที่สิ่งบิดอะฮฺนั้น มักจะไม่มีการเตาบะฮฺ (เพราะคนทำบิดอะฮฺมักหลงผิดคิดว่าตนทำถูกต้องแล้วนั่นเอง)? (ดู หน้า 255, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?บันทึกโดย อัล-บะเฆาะวีย์  ใน  ชัรหุซซุนนะฮฺ?)

บรรดาอิม่ามทั้ง 4 มัซฮับ
1 - ท่านอิม่าม อัช-ชาฟิอีย์ (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
   ?ทุกๆ ปัญหาที่ฉันกล่าวเอาไว้ (ในตำรา หรือในมัซฮับของท่าน) หากมันค้านกับซุนนะฮฺ ฉันขอกลับคำพูดเสียใหม่ ในขณะที่ฉันมีชีวิตอยู่นี้ และหลังจากเสียชีวิตไปแล้ว? (ดู หน้า 255-256, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?บันทึกโดย อัล-เคาะฏีบ  ใน  ?อัล-ฟะกีฮฺ วัล-มุตะฟักกิฮฺ?)
   และรายงานจากท่านอัร-รอเบียะอฺ  บิน สุลัยมาน กล่าวว่า
   ?วันหนึ่งท่านอัช-ชาฟิอีย์ได้รายงานหะดิษหนึ่ง  มีชายคนหนึ่งกล่าวถามท่านว่า ?ท่านยึดเอาตามนี้แล้วหรือ  โอ้..ท่านอบูอับดิลลาฮฺ (หมายถึงอิม่ามอัช-ชาฟิอีย์)?? ท่านตอบว่า ?เมื่อใดที่ฉันรายงานหะดีษหนึ่งๆ ที่ถูกต้องจากท่านเราะซูล (ศ็อลฯ) แต่ฉันเองมิได้ยึดถือมันตามนั้นแล้ว  ขอพวกท่านพึงเป็นพยานด้วยว่าสติของฉันได้วิปลาส (เป็นบ้า) ไปแล้ว? (ดู หน้า 255-256, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?บันทึกโดย อัล-เคาะฏีบ  ใน  ?อัล-ฟะกีฮฺ วัล-มุตะฟักกิฮฺ?)

2 - ท่านอิม่าม หะนะฟีย์  (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
   รายงานจากท่านนูห์  อัล-ญาเมี๊ยะอ์ กล่าวว่า ?ฉันได้กล่าวต่อท่านอบูฮานีฟะฮฺ (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) ว่า : ท่านเห็นเช่นใด ต่อคำพูดของมนุษย์ที่พวกเขาอุตริขึ้นทั้งสิ่งที่มีสองนัยและที่มีเนื้อหาหลากหลาย??
   ท่านจึงกล่าวว่า
   ?นั้นเป็นเพียงคำพูดของนักปรัชญา  ขอท่านจงยึดมั่นต่อหลักฐานและแนวทางของชาวสะลัฟเอาไว้เถิด  และจงระวังทุกสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่  เพราะแท้จริงมันคือ บิดอะฮฺ? (ดู หน้า 256, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?บันทึกโดย อิบนุ บัฏเฏาะฮฺ ?อัล-อินาบะฮฺ?)

3 ? ท่านอิม่าม มาลิก  บิน อนัส   (เราะหิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า
   ?ซุนนะฮฺเป็นเช่นเรือท่านนบีนูห์ บุคคลใดขึ้นขี่มันเขาย่อมปลอดภัย  และผู้ใดฝ่าฝืนต่อมัน  เขาผู้นั้นย่อมจมน้ำตาย? (ดู หน้า 256, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?มิฟตาหุล-ญันนะฮฺ  ฟี  อิอฺติศอม  บิซซุนนะฮฺ? ของอัซ-ซุยูฏีย์)
   และรายงานหนึ่งจากอิบนุ มาจีชูน  กล่าวว่า : ฉันได้ยินท่านอิม่ามมาลิก กล่าวว่า
   ?บุคคลใดอุตริสิ่งบิดอะฮฺหนึ่งๆ หนึ่งในอิสลาม  โดยเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ดีงามแล้วไซร้  แน่นอนเท่ากับเขาอ้างว่ามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) นั้น  ได้ทรยศต่อการเป็นเราะซูล  ทั้งนี้เพราะอัลเลาะฮฺ (ทรง) ตรัสแล้วว่า اليوم أكملت لكم دينكم..ความว่า  ?วันนี้เราได้ทำให้สมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว  ซึ่งศาสนาของพวกเจ้า??  (ท่านอิม่ามมาลิกกล่าวต่อว่า)  ดังนั้นสิ่งใดๆ ก็ตามที่ ณ วันนั้นมิใช่ศาสนา  ณ  วันนี้จะเอามันมาเป็นศาสนาไม่ได้โดยเด็ดขาด?  (ดู หน้า 257, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?อัล-อิอฺติศอม? ของอิม่ามอัช-ชาฏิบีย์)

4 ? ท่านอิม่าม อะหฺมัด  บินหัมบัล  ผู้นำของชาวอะฮฺลุซซุนนะฮฺท่านหนึ่งได้กล่าวว่า
   ?หลักการของซุนนะฮฺในทัศนะของเราคือ การยึดมั่นต่อสิ่ง (แนวทาง) ที่บรรดาเศาะฮะบะฮฺของท่านเราะซูล (ศ็อลฯ) ดำเนินมาพร้อมกับปฏิบัติตามพวกเขาเหล่านั้น และพยายามละทิ้งสิ่งที่เป็นบิดอะฮฺทั้งหลายเสีย  เพราะทุกๆ บิดอะฮฺนั้นคือความหลงผิด? (ดู หน้า 257-258, หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย, อ้างใน ?บันทึกโดย อิม่ามอัล-ลาลิกาอีย์  ใน  ?ชัรหุ อุศูล อิอฺติกอด  อะฮฺลิซซุนนะฮฺ  วัล-ญะมาอะฮฺ?)

และอีกหลายท่านที่มิได้กล่าวไว้ ณ ที่นี้

   ฉบับนี้ผมขอนำเสนอเรื่องจุดยืนเกี่ยวกับบิดอะฮฺของบรรดาเศาะฮะบะฮฺ และบรรดาอุลามาอฺที่มีชื่อเสียงที่มีปรากฏใน หนังสือหลักการยึดมั่นของอัส-สะละฟุศศอและห์ (อะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ) ภาคภาษาไทย  ไว้แค่นี้ก่อนนะครับ  อินชาอัลลอฮฺ ฉบับหน้าผมจะนำเสนอคำฟัตวาของบรรดาอุลามาอฺที่มีต่อพวกอะฮฺลุลกะลาม ตามที่ปรากฏใน หนังสือหลักการยึดมั่นฯ ภาคภาษาไทย 

....ประเด็นเรื่องบิดอะฮ์นี้....การที่ซอฮาบะฮ์และสะลัฟได้กล่าวว่าทุกบิดอะฮ์หลงผิดคือหมายถึงบิดอะฮ์ประเภทที่ลุ่มหลงไม่ใช่บิดอะฮ์หะสะนะฮ์....และในเรื่องบิดอะฮ์นี้อันดับแรกเราต้องกับไปพิจารณาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์....ไม่ใช่สะลัฟเพียงอย่างเดียว...เพราะในอิสลามนั้นคำพูดของสะลัฟไม่ได้เป็นหลักฐานศาสนาแบบเอกเทศน์....

...ต่อไปนี้ผมจะนำข้อเขียนของจารย์อัลอัซฮะรีย์นำเสนอ...ซึ่งครอบคลุมอย่างทั่วถึงเลยทีเดียว....

http://www.sunnahstudents.com/index.php?option=com_content&task=view&id=3&Itemid=1

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ในปัจจุบัน การกล่าวหาหุกุ่มบิดอะฮ์กับบรรดาพี่น้องมุสลิมต่างทัศนะที่เกี่ยวกับปัญหาคิลาฟิยะฮ์
ข้อปลีกย่อยนั้น ได้สร้างความแตกแยกและสั่นคลอนเกิดขึ้นในสังคมมุสลิม แต่ด้วยการยึดติด
และคลั่งไคล้ในทัศนะของตนหรือเชื่อว่าแนวทางของตนเท่านั้นที่ถูกต้อง และเชื่อว่าตนเอง
กำลังเป็นผู้ฟื้นฟูศาสนานั้น ทำให้มีความมักง่าย ด้วยการกล่าว ชิริก กล่าวบิดอะฮ์
ต่อบรรดามุสลิมมีนที่อยู่แนวทางอื่นจากตน โดยไม่ทำความเข้าใจและศึกษาแนวทางอื่น
อย่างใจเป็นธรรมและถี่ถ้วน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่จะแก้ด้วยการให้บรรดามุสลิมมีน อีกทัศนะต้องเชื่อทัศนะของตนเพียงฝ่ายเดียว
ซึ่งในสภาพความเป็นจริงย่อมทำไม่ได้ ในเชิงปฏิบัติอยู่แล้ว เนื่องจากการขัดแย้งในข้อปลีกย่อยนั้น ได้มีมาตั้งแต่สมัยของซอฮาบะฮ์
จวบจนถึงปัจจุบัน แต่สิ่งที่เราทำได้ดีที่สุดในขณะนี้ก็คือ การทำความเข้าใจในหลักการซึ่งกัน และกัน สิ่งใดที่มีทัศนะเห็นพร้องกัน
เราก็สมควรร่วมมือกัน และสิ่งใดที่ต่างทัศนะกันเราก็ผ่อนปรนให้กันและกัน

อนึ่ง ประเด็นที่กระผมจะนำเสนอนั้น คือเรื่อง "บิดอะฮ์" ซึ่งมีบรรดาพี่น้องมุสลิมบางส่วนอาจจะยังขาดความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ดังนั้น กระผมจึงปราถนาจะนำเสนอ เป็นขั้นตอนไป โดยการกล่าวถึง คำนิยามของบิดอะฮ์ บิดอะฮ์ตามนัยของอัลกุรอาน บิดอะฮ์ตามนัยของซุนนะฮ์ บิดอะฮ์ตามความเข้าใจของซอฮาบะฮ์ บิดอะอ์ตามทัศนะของบรรดาอุลามาอ์สะลัฟและคอลัฟ และเงื่อนไขของบิดอะฮ์หะสะนะฮ์

นิยาม คำว่า บิดอะฮ์ ตามหลักภาษาอาหรับ

บิดอะฮ์ ตามหลักภาษาอาหรับ คือ คำนาม ที่มาจากคำว่า อิบติดาอ์ ( إبتداع ) หมายถึงการ ประดิษฐ์ขึ้นมาไหม่ ริเริ่มขึ้นมา หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นมาเป็นอันดับแรก

อัลกุรอานได้กล่าวว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)
หมายถึง ฉันไม่ใช่เป็นบุคคลแรกจากผู้ที่ถูกส่งมา แต่บรรดาร่อซูลมากมายที่ถูกส่งมาก่อนฉัน

อักษร บาอฺ (ب) ดาลฺ (د) อัยนฺ (ع) อ่านว่า بَدَعَ มีความหมายว่า

1. ริเริ่มทำสิ่งหนึ่ง และประดิษฐ์สิ่งหนึ่ง ที่ไม่มีตัวอย่างมาก่อน
2. หยุดฉงัก หมดเรี่ยวแรง ( ดู มั๊วะญัม มะกอยีส ของอิบนุ ฟาริส เล่ม 1 หน้า 209)
ท่านอบู อัลบะกออ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัล-กุลลียาต ว่า " บิดอะฮ์ คือการกระทำหนึ่งที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน " และความเข้าใจของนิยามนี้ คือ ทุก ๆ การกระทำหนึ่งที่ไม่มีแบบอย่างมาก่อน ไม่ว่าจะมีรากฐานที่มาแต่เดิม หรือไม่มี ก็ย่อมเป็นบิดอะฮ์ หลักฐานดังกล่าวคือ อัล-กุรอ่าน ได้กล่าวว่า

بديع السموات والأرض

ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117)

หมายความว่า "พระองค์ทรงประดิษฐ์ ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน โดยไม่มีตัวอย่าง (المثال) มาก่อน คือไม่มีรากฐานเดิม (الأصل) มาก่อน คำว่า ตัวอย่าง ใน ณ ที่นี้ ย่อมครอบคลุมถึง รากฐานเดิม และรูปแบบ เพราะอัลเลาะฮ์ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน โดยที่ไม่เคยมีมาก่อนเลยจากรากฐานเดิมที่มาพาดพิงถึง และไม่มีรูปแบบจากการประดิษฐ์ที่เหมือนกับมัน
มีอีกหลักฐานหนึ่งกล่าวว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)

สรุปจากสิ่งที่ได้กล่าวมา คือ ความหมายคำกล่าวของท่าน อบู อัล-บะกออฺ ที่ว่า "โดยไม่มีตัวอย่างมาก่อน" หมายถึง "ไม่มีรากฐานหรือรูปแบบที่คล้ายคลึงกัน" และด้วยความหมายนี้ ทำให้คำนิยาม มีความหมายที่ครอบคลุม (عموم) ดังนั้น ในประเด็นนี้จึงไม่สามารถยืนยันด้วยหลักฐานที่เจาะจงและเด็ดขาดได้ ฉะนั้น เราจึงต้องกลับไปหาอัล-กุรอานและซุนนะฮ์
สำหรับอัลกุรอานก็คือ

بديع السموات والأرض

ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117)

หมายถึง "พระองค์ทรงสร้างฟากฟ้าและแผ่นดิน โดยไม่มีรากฐานและรูปแบบเดิมมาก่อน ซึ่งไม่มีการพาดพิงถึงการเหมือน (المثالية) เพราะคำว่า เหมือน (المثالية) ในเชิงภาษานั้น ให้ผลถึงการเปรียบเทียบ หรือเทียบเคียง (القياس) ได้"
และอัลกุรอานได้ย้ำอีกอายะฮ์หนึ่งว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)

หมายถึง "ฉันไม่มีอะไร นอกจากได้มีตัวอย่าง (المثال) มาก่อนแล้ว และตัวอย่างนี้ ก็คือ บรรดานบีและบรรดาร่อซูล" ดังกล่าวจึงชี้ชัดแก่เราว่า แท้จริง บิดอะฮ์มี สอง ประเภท
1. บิดอะฮ์ที่มีรากฐานมาแต่เดิม
2. บิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานมาแต่เดิม
ซึ่งได้บ่งชี้ตามนัยยะดังกล่าว จากคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า

من يشفع شفاعة حسنة يكن له نصيب منها ومن يشفع شفاعة سيئة يكن له كفل منها

"ผู้ใดที่ให้ความช่วยเหลือที่ดี ก็จะเป็นของเขาซึ่งส่วนหนึ่งจากความดีนั้น และผู้ใดให้ความช่วยเหลือที่ชั่ว ก็จะเป็นของเขาซึ่งส่วนหนึ่งจากความชั่วนั้น "
คำว่า (شفاعة) นี้ หมายถึง ซุนนะฮ์หรือแนวทางที่อัลเลาะฮ์ทรงวางแนวทางเอาไว้ และเป็นแนวทางที่ทุก ๆ ศาสนาต้องดำเนินตาม และตามแนวทางนี้นั้น อัลกุรอานและซุนนะฮ์ได้ดำรงอยู่ และด้วยสาเหตุจากแนวทางนี้ บรรดาชารีอะฮ์ต่าง ๆ ได้มีมา เพื่อแยกแยะระหว่างความดีและความชั่ว ดังนั้น ผู้ที่กล่าวว่า มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี)นั้น เขาย่อมวินิจฉัยจากหลักการนี้ ที่มาจากวิญญานและบรรดาเป้าหมายหรือเจตนารมณ์ของชาริอะฮ์
นิยามบิดอะฮ์ตามทัศนะของบรรดาอุลามาอ์

บรรดาอุลามาอ์ ได้จำกัดคำนิยามคำว่า "บิดอะฮ์" ไว้มากมาย

1. อิมามอัช-ชาฟิอีย์ (ร.ฏ.)

สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท
(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง
(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ
ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

หมายความว่า"การ(รวมตัว)ละหมาดตะรอวิหฺ(20 ร่อกะอัต)ในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำขึ้นมาแล้ว ก็ไม่เป็นการขัดต่อสิ่งที่กล่าวมา " และสายรายงานนี้ ซอเฮี๊ยะห์ ดู หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ เล่ม1 หน้า 468 - 469

ท่านอบู นุอัยม์ ได้นำเสนอรายงานอีกสายรายงานหนึ่ง ไว้ในหนังสือ หิลยะตุลเอาลิยาอ์ เล่ม 9 หน้า 113 ว่า "ท่านอิมามอัช-อัชชาฟิอีย์ กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่ถูกสรรเสริญ และบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ ดังนั้น สิ่งที่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกสรรเสริญ และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกตำหนิ และอิมามชาฟิอีย์ ได้อ้างหลักฐานด้วยคำกล่าวของท่านอุมัร(ร.ฏ.) เกี่ยวกับ ละหมาดตะรอวิหฺในเดือนรอมฏอนที่ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

2. ท่านอิบนุ หัซมิน (ร.ห.) เสียชีวิตปี 456 ฮ.ศ.

ท่านอิบนุ หัซมินกล่าวว่า "บิดอะฮ์ในศาสนานั้น คือทุกสิ่งที่ไม่เคยมีระบุไว้ในอัลกุรอานและในคำสอนจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) นอกจากว่าส่วนหนึ่งมีบิดอะฮ์ที่เจ้าของผู้กระทำจะถูกตอบแทนและได้รับการผ่อนปรนให้ทำตามได้ตามเจตนาอันดีงามของเขา ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ คือ สิ่งที่ผู้กระทำจะได้รับผลตอบแทน และมันจะเป็นสิ่งที่ดีโดยที่มีรากฐานเดิมที่อนุมัติให้กระทำได้ ตามที่ได้มีรายงานจากท่านอุมัร (ร.ฏ.) ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"
คือสิ่งที่เป็นการปฏิบัติความดีงามและมีตัวบทกล่าวไว้ อย่างคลุม ๆ ถึงการส่งเสริม(สุนัต)ให้กระทำ ถึงแม้ว่า การปฏิบัตินั้น จะไม่ได้ถูกกำหนดไว้ในตัวบทก็ตาม และอีกส่วนหนึ่งเป็นบิดอะฮ์ คือสิ่งที่ถูกตำหนิและผู้ปฏิบัติตาม จะไม่ได้รับการผ่อนปรน นั่นก็คือสิ่งที่มีหลักฐานมายืนยันว่ามันใช้ไม่ได้และผู้ที่ปฏิบัติก็ยังคงยืนกรานกระทำมัน

3. อิมาม อัลอิซฺซุดดีน บิน อับดุสลาม เสียชีวิตปี 660 ฮ.ศ.

ท่านกล่าวว่า "บิดอะฮ์คือสิ่งที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนในยุคสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และมันก็ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์"

และวิถีทางที่จะทราบถึงสิ่งดังกล่าวก็คือ การนำเอาบิดอะฮ์ไปวางไว้บนหลักเกนฑ์ต่าง ๆ ของชาริอะฮ์ (เกาะวาอิดอัชชะรีอะฮ์) เพราะถ้าหากบิดอะฮ์ได้เข้าไปอยู่ในหลักการต่าง ๆ ที่เป็นวายิบ มันก็เป็นบิดอะฮ์วายิบ และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการที่หะรอม ก็เป็นบิดอะฮ์หะรอม และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการต่าง ๆ ที่สุนัต ก็เป็นบิดอะฮ์ที่สุนัต และถ้าหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการที่มักโระฮ์ ก็เป็นบิดอะฮ์มักโระฮ์ และถ้าหากมันเข้าไปอยู่ในหลัการที่มุบาห์ ก็เป็นบิดอะฮ์มะบาห์

ตัวอย่างบิดอะฮ์วายิบ เช่น
(1) การศึกษาวิชานะฮู (ไวยกรณ์ภาษาอาหรับ) เพื่อให้เข้าใจคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) และคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) และดังกล่าวนี้ถือว่าเป็น สิ่งที่จำเป็น(วายิบ) เนื่องจากการรักษาไว้ซึ่งหลักชาริอะฮ์นั้นเป็นสิ่งที่วายิบ และการปกปักษ์รักษาหลักชะรีอะฮ์นั้น จะเกิดขึ้นมาไม่ได้ นอกจากด้วยการรู้จักหรือศึกษาสิ่งดังกล่าว และสิ่งที่วายิบจะไม่สมบูรณ์นอกจากด้วยกับมันนั้น แน่นอน สิ่งนั้นย่อมเป็นสิ่งที่วายิบด้วย
(2) การจดจำถ้อยคำที่เข้าใจยากทางภาษาอาหรับที่มีมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์
(3) การประพันธ์วิชาอุซูลุลฟิกห์ (วิชาที่ว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์รากฐานของหลักวิชาฟิกห์)
(4) การพิจารณาและวิจารณ์นักรายงาน เพื่อแยกแยะระหว่างสิ่งที่ซอเฮี๊ยะหฺออกจากสิ่งที่ฏออีฟ
ดังนั้น กฏเกนฑ์ต่าง ๆ ของหลักชะรีอะฮ์นี้ ชี้ให้เห็นว่า การปกปักษ์รักษาไว้ซึ่งลักชะรีอะฮ์นั้น เป็นฟัรดูกิฟายะฮ์ในส่วนเสริมจากปริมาณที่จำเป็น ฉะนั้น การปกปักษ์รักษาหลักการของชะรีอะฮ์นั้น จะเกิดขึ้นไม่ได้ นอกจากสิ่งที่เราได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ตัวอย่างของบิดอะฮ์ที่หะรอม
(1) มัซฮับอัลก๊อดรียะฮ์
(2) มัซฮับอัลญับรียะฮ์
(3) มัซฮับอัลมุรญิอะฮ์
(4) มัซฮับอัล-มุยัสซิมะฮ์ !!! (พวกที่เชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีคุณลักษณะคล้ายหรือเหมือนกับมนุษย์และสิ่งที่ถูกสร้าง เช่นพวกเขากล่าวว่า อัลเลาะฮ์ทรงนั่งสัมผัสอยู่บนบัลลังก์ อัลเลาะฮ์มีการเคลื่อนย้ายจากฟากฟ้าชั้นบนมาสู่ชั้นล่าง เชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีมือที่อยู่ในความหมายที่มนุษย์เข้าใจกันทั่วไป เป็นต้น)
และการป้องกันและโต้ตอบพวกเขาเหล่านั้น เป็นบิดอะฮ์ที่วายิบ

ตัวอย่างของบิดอะฮ์ที่สุนัต
(1) สร้างสถานที่สาธารณูประโยชน์
(2) สร้างสถาบันการศึกษา
(3) สร้างเขื่อน
(4) ทุกความดีที่ไม่มีการกระทำขึ้นในสมัยท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)
(5) การละหมาดตะรอวิหฺ(ตามรูปแบบที่ท่านอุมัรได้สั่งให้กระทำขึ้น)
(6) การกล่าวในเรื่องความละเอียดละออของวิชาตะเซาวุฟ
(7) การพูดถกในการชุมนุม เพื่อการอ้างหลักฐานในประเด็นต่างๆ หากมีเจตนาเพื่ออัลเลาะฮ์ (ซ.บ.)

ตัวอย่างบิดอะฮ์มักโระฮ์
(1) การตบแต่งประดับประดามัสยิดให้สวยงาม
(2) การประดับประดาลวดลายอัล-กุรอาน
(3) การอ่านท่วงทำนองอัล-กุรอานโดยที่ทำให้เปลี่ยนแปลงถ้อยคำต่างๆจากหลักภาษาอาหรับ แต่คำกล่าวที่ถูกต้องที่สุดนั้น เป็นบิดอะฮ์ที่หะรอม

ตัวอย่างบิดอะฮ์มะบาห์
(1) การจับมือหลังจากละหมาดซุบห์ และอัสริ
(2) การทำอาหารและเครื่องดื่มที่มีหลากหลายรสชาติ หลากหลายเครื่องนุ่งห่ม และที่อยู่อาศัย การสวมเสื้อคลุม ทำให้แขนเสื้อกว้าง โดยที่บางส่วนจากสิ่งที่ได้กล่าวมานั้น มีความเห็นที่ขัดแย้งกัน บางอุลามาอ์กล่าวว่า บางส่วนนั้นเป็นบิดอะฮ์ที่มักโระฮ์ และบางอุลามาอ์กล่าวว่า มันเป็นซุนนะฮ์ที่ได้ปฏิบัติกันในสมัยท่าน ร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และยุคสมัยหลังจากนั้น....(ดู หนังสือ ก่อวาอิด อัลอะห์กาม ยุซฺ 2 หน้า 172 - 174)
คำนิยามของ อิมาม ซุลฏอน อัลอุละมาอ์ อิซซุดดีน บิน อับดุสลามนี้ เป็นคำนิยามในเชิงการวินิจฉัยที่พาดพิงไปยังบรรดาหุกุ่ม (ทั้ง 5 ) ตามหลักการศาสนา คือเป็นคำนิยามที่มีความรัดกุมยิ่งในประเด็นดังกล่าว

4. หุจญฺตุลอิสลาม อิมาม อัลฆ่อซาลีย์ (505 ฮ.ศ.)

ท่านอิมาม อัลฆอซาลีย์กล่าวว่า "บิดอะฮ์มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ หมายถึง บิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับซุนนะฮ์เดิม และเกือบจะนำไปสู่การเปลื่ยนแปลงซุนนะฮ์ และ(2)บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่โดยมีตัวอย่างมาแล้ว"
ท่านอิมาม อัลฆอซาลีย์ ได้กล่าวอีกเช่นกันว่า " สิ่งที่ถูกกล่าวว่า มันคือสิ่งที่ถูกทำขึ้นหลังจากร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)นั้น คือไม่ใช่ทุกๆ สิ่ง(ที่เกิดขึ้นมาใหม่) จะเป็นสิ่งต้องห้าม แต่สิ่งที่ต้องห้ามนั้น คือ บิดอะฮ์ที่ขัดแย้งหรือค้านกับซุนนะฮ์ที่ได้รับการยืนยันไว้แล้ว" (ดู หนังสือ เอี๊ยะหฺยาอ์ อุลูมิดดีน เล่ม 1 หน้า 276)
5. อิมาม อัล-มุหัดดิษ อิบนุ อัล-เญาซีย์ อัลหัมบาลีย์ (598 ฮ.ศ.)

ท่านอิบนุ อัล-เญาซีย์ กล่าวว่า "บิดอะฮ์ หมายถึง การกระทำที่ไม่เคยมีมาก่อน แล้วก็ได้อุตริกรรมกันมา และส่วนมากแล้ว บิดอะฮ์ที่ผิดหลักการนั้น มันจะค้านกับหลักชาริอะฮ์ และทำให้เกิดการเพิ่มเติมและตัดทอนขึ้นในชาริอะฮ์ เพราะฉะนั้น สิ่งใดก็ตามที่ได้อุตริกรรมขึ้นมาใหม่ โดยไม่ขัดแย้งกับหลักชาริอะฮ์และไม่ทำให้เกิดการเพิ่มเติมและตัดทอน(หลักชาริอะฮ์)แล้ว สะลัฟส่วนมากแค่รังเกียจมัน และพวกเขาพยายามหลีกเลี่ยงจากทุก ๆ คนที่ทำบิดอะฮ์ ซึ่งแม้ว่าสิ่งนั้น จะเป็นสิ่งที่ให้กระทำได้ก็ตาม ทั้งนี้เพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งหลักการเดิม นั่นก็คือ การเจริญรอยตาม ซึ่งจะเห็นได้จากคำพูดของท่านซัยด์ บิน ษาบิต ที่ว่า
ท่านเซดฺ บิน ษาบิตได้กล่าวกับท่านอบูบักรและท่านอุมัร (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา) ในขณะที่ทั้งสองกล่าวแก่เขา ว่า "ท่านจงรวบรวมอัลกุรอาน" (ท่านเซดฺ บิน ษาบิต จึงกล่าวว่า) ท่านทั้งสองจะกระทำการสิ่งหนึ่งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ไม่เคยกระทำกระนั้นหรือ ? "

หลังจากนั้น ท่านอิบนุ อัลเญาซีย์ได้กล่าวต่อไปว่า "แท้จริงกลุ่มซอฮาบะฮ์นั้น จะระวังทุก ๆ บิดอะฮ์ ถึงแม้ว่ามันจะไม่เป็นไรก็ตาม เพื่อพวกเขาจะได้ไม่ทำสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยที่บรรดาสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ที่ไม่ขัดแย้งกับหลักชะรีอะฮ์ และไม่ค้านกับชะรีอะฮ์นั้น พวกเขามีความเห็นว่า ให้กระทำมันได้ และถือว่าไม่เป็นไร เช่น การที่ท่านอุมัรได้รวบรวมผู้คนทำการละหมาดตะรอวิหฺ 20 ร่อกะอัตในเดือนร่อมาฏอน และกล่าวว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"
(ดู หนังสือ ตัลบีส อิบลีส หน้า 7)

6. อิมาม อบู ชามะฮ์ อับดุรเราะห์มาน บิน อิสมาอีล อัลมุก๊อดดิซีย์ อัชขาฟิอีย์ (665 ฮ.ศ.)

ท่านอบู ชามะฮ์ กล่าวว่า " สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่นั้น ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ (แล้วท่าน อบู ชามะฮ์ ก็อ้างอิงคำพูดของอิมามชาฟิอีย์ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น) จากนั้น ท่านอบู ชามะฮ์กล่าวว่า " ฉันขอกล่าวว่า แท้จริง มันก็เป็นอย่างเช่นดังกล่าว เพราะท่านนบี(ซ.ล.) ส่งเสริมให้มีการละหมาดสุนัตในเดือนร่อมะฏอน โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กระทำที่มัสยิด โดยที่ซอฮาบะฮ์บางส่วนได้ทำการละหมาดตามท่านนบีเพียงไม่กี่คืน หลังจากนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งการละหมาดดังกล่าวในรูปแบบญะมาอะฮ์ โดยท่านนบี(ซ.ล.)ให้เหตุผลในเรื่องดังกล่าวว่า เกรงจะถูกฟัรดูแก่พวกเขา ดังนั้น เมื่อท่านนบี(ซ.ล.)ได้เสียชีวิต แล้วการปฏิบัติดังกล่าวก็ยุติลง ช่วงหลังจากนั้น บรรดาซอฮาบะฮ์จึงลงมติให้ทำการละหมาด(ตะรอวิหฺ)ในเดือนรอมาฏอนที่มัสยิดแบบญะมาอะฮ์ เพื่อเป็นการฟื้นฟูเอกลักษณ์ที่อัลเลาะฮ์ทรงใช้ และได้ส่งเสริมให้กระทำมัน วัลลอฮุอะลัม

จากที่ได้กล่าวมานี้จึงสามารถสรุปได้ว่า บรรดาบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น บรรดาปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามได้ลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้ และยังมีหวังได้ผลบุญ สำหรับผู้ที่มีเจตนาที่ดี โดยที่บิดอะฮ์นั้น จะต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่และสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ของหลักศาสนา (ชะรีอะฮ์) และจะต้องไม่มีข้อห้ามตามหลักศาสนาหากได้กระทำมัน (ดู อัลบาอิษ อะลา อินการิลบิดะอ์ วัลหะวาดิษ ของท่าน อบี ชามะฮ์ หน้า 93)

ท่านอบู ชามะฮ์ ได้ให้คำนิยามของบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ จากคำพูดของท่านที่ว่า "บรรดาปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามได้ลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้" ซึ่งเขาหมายถึงบุคคลที่คำพูดของเขานั้น เป็นที่ยอมรับในเรื่องการอิจญฺมาอ์ ดังนั้น ผู้ที่ไม่เป็นที่ยอมรับกับคำพูดของเขา ก็ถูกคัดออกไป เช่นคำกล่าวของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ และผู้ที่มีแนวทางเดียวกับเขา เพราะฉะนั้น จึงไม่อนุญาตให้กับผู้ที่คัดค้านทัศนะคำกล่าวนี้ เนื่องจากเป็นการแหวกมติของประชาชาติอิสลาม และการแหวกมติของประชาชาติอิสลามนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม

7. ท่าน อิบนุ อัล-อะษีร

ท่านอิบนุ อัล-อะษีร กล่าวว่า "บิดอะฮ์ มี 2 ประเภท คือบิดอะฮ์ที่อยู่ในทางนำ และบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง เพราะฉะนั้น สิ่งใดก็ตามที่ขัดแย้งกับสิ่งที่อัลเลาะฮ์และร่อซูล(ซ.ล.) ทรงใช้นั้น ย่อมอยู่ในกรอบของการถูกตำหนิและปฏิเสธ และสิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้การครอบคลุมสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงใช้และส่งเสริม หรือสิ่งที่ร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) เรียกร้องและส่งเสริม ก็ย่อมอยู่ในกรอบแห่งการสรรเสริญ" จากนั้น ท่านอิบนุ อัล-อะษีร ทำการยกตัวอย่างบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ด้วยคำกล่าวของท่านอุมัร เกี่ยวกับละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

จากนั้น ท่านอิบนุ อัล-อะษีร กล่าวว่า " บิดอะฮ์(จากคำกล่าวของท่านอุมัรนี้) แก่นแท้แล้ว คือซุนนะฮ์ เพราะท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

فعليكم بسنتى وسنة الخلفاء الراشدين

"พวกท่านจงยึดซุนนะฮ์ของฉัน และแนวทางของบรรดาคอลิฟะฮฺผู้ทรงธรรม"

และท่านร่อซุล กล่าวอีกว่า

إقتدوا بالذين من بعدى أبى بكر وعمر

" และพวกท่านจงดำเนินตาม บุคคลทั้งสองหลังจากที่ฉัน(ได้เสียชีวิตไปแล้ว) เขาทั้งสองคือ อบูบักรและอุมัร"

และหากเราได้ดำเนินตามความหมายตามนี้ ก็สามารถตีความ อีกหะดิษหนึ่งที่ว่า

(كل محدثة بدعة)

"ทุกสิ่งที่ทำขึ้นใหม่นั้นเป็นบิดอะฮ์"

คือ แท้จริง ท่านร่อซูล(ซ.ล.)หมายถึง ทุก ๆ สิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐาน(อุซูล)ต่าง ๆ ของชะริอะฮ์และไม่สอดคล้องกับซุนนะฮ์ " (ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ ฟี ฆ่อรีบ อัลหะดีษ เล่ม 1 หน้า 106 - 107)

8. อัลหาฟิซฺ อิมาม มั๊วะหฺยุดดีน อันนะวาวีย์ (ร.ฏ.) (676 ฮ.ศ.)

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์กล่าวว่า " คำว่า بَدَعَ คือ บิดอะฮ์ ตามหลักศาสนานั้น หมายถึง ทำให้เกิดขึ้นใหม่กับสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อนในยุคสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และ บิดอะฮ์ ก็แบ่งออกเป็น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ ท่านชัยค์ อิมาม ปราชญ์ ผู้ซึ่งถูกลงมติถึงความเป็น ผู้นำและความมีเกียรติ และมีความแน่นแฟ้นอีกทั้งปราดเปรื่องในหลากหลายวิชาการ คือ อบู มุหัมมัด อับดุลอะซีซฺ บิน อับดุสสลาม (ร่อฮิมะหุลเลาะฮ์ วะ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ) ได้กล่าวไว้ ในตอนท้ายหนังสือ ก่อวาอิด อัลอะหฺกาม ว่า " และบิดอะฮ์ก็ถูกแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์

และแนวทางในการทราบถึงสิ่งดังกล่าวก็คือ การนำเอาบิดอะฮ์ไปวางไว้บนหลักเกนฑ์ต่างๆของชาริอะฮ์ (قواعد الشريعة) ถ้าหาก บิดอะฮ์ที่เข้าไปอยู่หลักการต่าง ๆ ที่วายิบ ก็เป็นบิดอะฮ์วายิบ และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการที่หะรอม ก็เป็นบิดอะฮ์หะรอม และหากมันเข้าไปอยู่ในหลักการต่างๆ ที่สุนัต ก็เป็นบิดอะฮ์ที่สุนัต และถ้าหากมันไปอยู่ในหลักการที่มักโระฮ์ ก็เป็นบิดอะฮ์มักโระฮ์ และถ้าหากมันเข้าไปอยู่ในหลัการที่มุบาห์ ก็เป็นบิดอะฮ์มะบาห์......(จากนั้นอิมาม อันนะวาวีย์กล่าวต่อว่า " ท่านอัลบัยอะกีย์ ได้รายงาน โดยสายรายงานของเขา ไว้ใน หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ จากอิมามชาฟิอีย์(ร.ฏ.) ว่า

สิ่งที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท
(1) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งที่นี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง
(2) สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ
ท่านอุมัรได้กล่าว เกี่ยวกับ(การรวม)ละหมาดตะรอวิหฺ ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

หมายความว่า "การละหมาดตะรอวิหฺในคืนร่อมาฏอนนี้ คือสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และเมื่อมีการกระทำมาแล้ว ก็ไม่เป็นการค้านให้กับสิ่งที่กล่าวมา " ( ดู หนังสือ ตะฮ์ซีบ อัลอัสมาอ์ วัลลู้เฆาะฮ์ ของท่านอิมาม อันนะวาวีย์ เล่ม 3 หน้า 22 - 23)

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
นั่นคือทัศนะของนักปราชญ์ส่วนมาก ที่กล่าวว่า บิดอะฮ์นั้น มีทั้งบิดอะฮ์ ที่ถูกตำหนิ และบิดอะฮ์ที่ถูกสรรเสริญ หรือแบ่งบิดอะฮ์ออกเป็น 5 ประเภทโดยเอาไปวางอยู่บนหลักการของหุกุ่มทั้ง 5 และข้อควรทราบเกี่ยวกับเรื่องบิดอะฮ์ก็คือ หากเราไปอ่านพบอุลามาอ์สะลัฟและคอลัฟที่กล่าวถึงคำว่า "บิดอะฮ์" เฉยๆ คือกล่าวแบบมุฏลัก ( مطلق ) โดยไม่มีข้อแม้หรือคำที่มาจำกัดคุณลักษณะของมาต่อท้าย นั่นก็ย่อมหมายถึง บิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงหรือบิดอะฮ์หะรอมและถูกตำหนิที่ส่วนมากเขาใช้กัน แต่หากว่าเป็นบิดอะฮ์ที่กล่าวแบบมุก๊อยยัด ( مقيد ) คือมีคำที่มาจำกัดต่อท้าย ก็ย่อมไม่ใช่หมายถึงบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง เช่นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ บิดอะฮ์มุบาห์ บิดอะฮ์มักโระฮ์ เป็นต้น

ตัวอย่างจากคำกล่าวของสะลัฟ เช่นคำกล่าวของท่านอิบนุมัสอูด ที่ว่า

اتبعوا ولا تبتدعوا فقد كفيتم

" พวกท่านจงเจริญตาม และพวกท่านอย่าอุตริบิดอะฮ์ขึ้นมา เพราะพวกท่านเพียงพอแล้ว" ดู หนังสือ มัจญฺมะอ์ อัลซะวาอิด เล่ม 1 หน้า 88

ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่า

ما أتى على الناس عام إلا أحدثوا فيه بدعة، وأماتوا فيه سنة حتى تحي البدع وتموت السنن

" ปีหนึ่งจะไม่ผ่านผู้คนไป นอกจากพวกเขาจะอุตริบิดอะฮ์หนึ่งขึ้นมา และพวกเขาก็ทำให้ตายกับซุนนะฮ์หนึ่ง จนกระทั้งบรรดาบิดอะฮ์นั้นฟื้นขึ้นมาและบรรดาซุนนะฮ์ก็ได้ตายลงไป" ดู หนังสือ มัจญฺมะอ์ อัลซะวาอิด เล่ม 1 หน้า 88

อิหม่ามมาลิก บุตร อะนัสกล่าวว่า

من ابتدع في الإسلام بدعة يراها حسنة فقد زعم أن محمدا صلى الله عليه وسلم خان الرسالة، لأن الله يقول: (اليَومَ أكْمَلْتُ لَكُم دِينَكُمْ) فما لم يكن يومئذ دينا فلا يكون اليوم دينا

"ผู้ใดอุตริบิดอะฮหนึ่งขึ้นมาในอิสลาม โดยเห็นว่ามันดี แน่นอนเขาย่อมอ้างว่า แท้จริงมุหัมหมัด ศอลฯ นั้น ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นแห่งพระเจ้า เพราะว่าอัลลอฮทรงกล่าวว่า (วันนี้เราได้ให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์สำหรับพวกเจ้าแล้ว) เพราะฉะนั้นสิ่งใดก็ตามที่ไม่เป็นศาสนาในวันนั้น ในวันนี้มันก็ไม่เป็นศาสนาด้วย" โปรดดูอัลเอียะติศอม เล่ม 1 หน้า 149

จากที่ได้กล่าวมาแล้วสักครู่นี้ จะได้เห็นได้ว่า คำกล่าวของซอฮาบะฮ์ที่เกี่ยวกับบิดอะฮ์นั้น ก็คือบิดอะฮ์ที่อยู่ในความหมายแบบมุฏลัก (مطلق ) ที่อยู่ในความหมายประเภทบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงเท่านั้น และโปรดทำความเข้าใจให้ดี ไม่เช่นนั้น หลักการศาสนาจะขัดแย้งกันเอง แต่ความเป็นจริงแล้วศาสนาอิสลามมีความสมบูรณ์ ไม่มีการขัดแย้งกันเอง แต่ความเข้าใจของผู้ที่อวดรู้บางคนต่างหากที่ไม่เข้าใจหลักการ จึงทำให้โลกมุสลิมวุ่นวายอยู่ทุกวันนี้

และคำกล่าวของอิมามมาลิกก็เช่นเดียวกัน เพราะบิดอะฮ์ที่อิมามมาลิกกล่าวถึงนั้น คือบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง บิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานมาจากศาสนา หากผู้ใดเห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี เขาย่อมเป็นผู้อ้างว่าท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ไม่ซื่อสัตย์ต่อสาส์นของอัลเลาะฮ์ และบรรดาอุลามาอ์มัซฮับมาลิกีย์ ก็ไม่ได้เข้าใจว่า บิดอะฮ์ ที่อิมามมาลิกกล่าวไว้นั้น หมายถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ที่มาจากบิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์สุนัต หรือบิดอะฮ์มุบาห์แต่อย่างใด ดังนั้นท่านผู้อ่านพึงพิจารณาให้ดีไว้ใน ณ ที่นี้ด้วย
ท่านอิบนุหะญัร ได้กล่าว วิจารณ์คำกล่าวท่านอุมัร(ร.ฏ.) ที่ว่า نعمت البدعة هذه ดังนี้

البدعة: أصلها ما أحدث على غير مثال سابق، وتطلق في الشرع في مقابل السنّة فتكون مذمومة والتحقيق أنها إن كانت مما يندرج تحت مستحسن فى الشرع فهى حسنة وإن كانت مما يندرج تحت مستقبح فهى مستقبحة وإلا فهى من قسم المباح

ความว่า " บิดอะฮ ที่มาของมันคือ สิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน และคำว่าบิดอะฮ์อย่างเดียว ( مطلق ) (คือพูดโดยใช้คำว่า"บิดอะฮ์"เพียงลำพังตัวเดียว)ในทางบทบัญญัติ ได้ถูกนำมาใช้เรียกกับสิ่งที่ตรงข้ามกับซุนนะฮ์ จึงถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิ จากการตรวจสอบพบว่า บิดอะฮ์นั้น หากมันเข้าไปอยู่ภายใต้สิ่งที่นับว่าดีตามหลักการของศาสนา มันก็คือ (บิดอะฮ์)หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และหากว่ามันเข้าไปอยู่ภายใต้สิ่งที่ถือว่าน่ารังเกียจ มันก็คือบิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ และถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น(หมายถึงไม่เป็นทั้งบิดอะฮ์ทั้งสองประเภท) ก็ถือว่า มันเป็น ประเภทที่มุบาห์" ( ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 4 หน้า 253)
ท่านชัยค์ ด๊อกเตอร์ อลี ญุมอะฮ์ มุฟตีแห่งประเทศอียิปต์ ได้กล่าวหลังจากอธิบายคำนิยามบิดอะฮ์ตามหลักภาษา แล้วก็กล่าวคำนิยามตามหลักศาสนาว่า
(คำนิยาม)บิดอะฮ์ตามหลักศาสนา

บรรดาปวงปราชญ์ได้ให้คำนิยามคำว่า บิดอะฮ์ ตามหลักศาสนาไว้สองแนวทางด้วยกันคือ

หนทางที่ 1. คือแนวทางของท่าน อิซซุดดีน บิน อับดุสลาม โดยที่ท่านได้พิจารณาว่า แท้จริงสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกระทำนั้น เป็นบิดอะฮ์ และท่านได้แบ่งบิดอะฮ์ออกเป็นหุกุ่มต่างๆ โดยท่านกล่าวว่า "(บิดอะฮ์คือ)การกระทำที่ไม่เป็นที่รู้จักกันในสมัยของท่านร่อซุลเลาะฮ์(ซ.ล.) คือมันแบ่งออกเป็น บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์หะรอม บิดอะฮ์สุนัต บิดอะฮ์มักโระฮ์ และบิดอะฮ์มุบาห์.....(โปรดอ่านเพิ่มตามจากคำนิยามของ อิบนุ อับดุสลามที่ได้นำเสนอมาแล้วข้างต้น)" (ดู ก่อวาอิด อัลอะหฺกาม ฟี มะซอลิหฺ อัลอะนาม เล่ม 2 หน้า 204)

ท่านอิมาม อันนะวะวีย์ ได้สนับสนุนกับความหมายดังกล่าวว่า "ทุก ๆ การกระทำที่ไม่เคยมีในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) เรียกว่าบิดอะฮ์ แต่ส่วนหนึ่งเป็นบิดอะฮ์ที่ดี (หะสะนะฮ์) และส่วนหนึ่งเป็นบิดอะฮ์ที่ขัดแย้งกับดังกล่าว" (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 2 หน้า 394)

หนทางที่ 2. คือทำความเข้าใจความหมายของบิดอะฮ์ตามหลักศาสนา(ตามแนวทางแรก)นั้น ให้เจาะจงเฉพาะ(บิดอะฮ์ตาม)หลักภาษา และ(ให้จำกัด)บิดอะฮ์ตามหลักศาสนาไว้กับบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเท่านั้น คือ(อุลามาอ์ที่อยู่ในหนทางนี้)จะไม่เรียก บิดอะฮ์วายิบ บิดอะฮ์สุนัติ บิดอะฮ์มุบาหฺ และบิดอะฮ์มักโระฮ์ (ตามแนวทางของท่านอิบนุอับดุสลาม) ว่า "เป็นบิดอะฮ์" ส่วนผู้ที่มีแนวความคิดที่ว่า คือ ท่าน อิบนุร่อญับ (ร.ห.) ซึ่งได้อธิบายความหมายดังกล่าวว่า " จุดมุ่งหมายของบิดอะฮ์นั้น คือสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ ที่เกิดมาจากสิ่งที่ไม่มีรากฐานแห่งหลักศาสนาที่บ่งชี้ถึง แต่สำหรับสิ่งที่มีรากฐานแห่ง่หลักการของหลักศาสนาที่บ่งถึงนั้น ก็ย่อมไม่ใช่บิดอะฮ์ แต่หากว่า มันเป็นบิดอะฮ์ก็ตามหลักภาษาเท่านั้น(ไม่ใช่เป็นบิดอะฮ์ตามหลักศาสนา" (ดู ญาเมี๊ยะอฺ อัลอุลูม วะ อัลหิกัม หน้า 223 )
ในความเป็นจริงแล้ว สองแนวทางนี้ ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันตามแก่นแท้เนื้อหาที่ของความเข้าใจจากคำว่า"บิดอะฮ์" (กล่าวคือสอดคล้องในด้าน การกระทำใด ๆ ก็ตาม ที่ไม่มีรากฐานดังเดิมตามหลักศาสนา ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิตามทัศนะของอิบนุรอญับ และเป็นบิดอะฮ์หะรอมตามทัศนะของท่านอิซซุดดีนบินอับดุสลาม) แต่ต่างกันตรงที่ แนวทางการวินิจฉัยที่นำไปสู่ความเข้าใจที่ตรงกัน คือ บิดอะฮ์อันถูกตำหนิ ที่เป็นการกระทำจะได้รับบาปนั้น คือบิดอะฮ์ที่ไม่มีรากฐานในศาสนาที่บ่งบอกถึง ซึ่งมันก็คือ จุดมุ่งหมายของคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ที่ว่า "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" (ทั้งหมดนี้ ถ่ายทอดจาก หนังสือ อัลบะยาน หน้าที่ 204 - 205 ฟัตวาที่ 50)

เพราะฉะนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ ซุนนะฮ์ นั่นเอง ซึ่งท่าน อิบนุ อะษีร ได้กล่าวยืนยันไว้ว่า

والبدعة الحسنة فى الحقيقة سنة، وعلى هذا التأويل يحمل حديث " كل محدث بدعة" على ما خالف أصول الشريعة، وما لم يخالف السنة

"และในความเป็นจริงแล้วบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือซุนนะฮ์นั่นเอง และให้อธิบายตามนัยนี้ หะดิษที่ว่า "ทุกๆสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์" โดยหมายถึง สิ่งที่ขัดกับหลักพื้นฐานของศาสนา และสิ่งที่ขัดกับซุนนะฮ์ " ดู หนังสือ อันนิฮายะฮ์ เล่ม 1 หน้า 80 (ถ่ายทอดจากหนังสือ อัลบะยาน ลิมา ยัชฆ่อลุ อัลอัซฮาน หน้า 206 ฟัตวาที่ 50)

ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ตามทัศนะของท่าน อิบนุ ร่อญับ ก็คือบิดอะฮ์ตามหลักภาษาที่มีรากฐานที่มาจากหลักการของศาสนา เนื่องจากท่านอิบนุหาญิบได้จำกัดบิดอะฮ์ตามหลักศาสนาไว้เพียง บิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเท่านั้น คืออยู่ในรูปแบบสรุป(الإجمالى) และบิดอะฮ์ตามหลักภาษาที่มีรากฐานที่มาจากหลักการศาสนา คือ ซุนนะฮ์ ตามทัศนะของอิบนุรอญับนั่นเอง

แต่ตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนใหญ่ แบ่งบิดอะฮ์ออกเป็นสองประเภทตามที่ท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวไว้ และบรรดาอุลามาอ์ก็เอา บิดอะฮ์สองประเภทของอิมามชาฟิอีย์นี้ มาวินิจฉัยโดยวางบนมาตรฐานของฮุกุ่ม5 แล้วแบ่งออกเป็นแบบรายละเอียด(التفصيلى) เป็น5 ประเภท ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ตามทัศนะของอุลามาอ์ส่วนใหญ่ คือบิดอะฮ์ที่ไม่ขัดกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ อิจมาอ์ และมีรากฐานจากหลักการของศาสนา ฉะนั้น หากบิดอะฮ์อยู่บนพื้นฐานของศาสนา หรืออยู่ภายใต้หลักการของศาสนาไม่ว่าจะมีรูปแบบหรือไม่มีรูปแบบ ก็ย่อมเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ตามหลักศาสนา ซึ่งหากมันอยู่บนพื้นฐานที่หะรอมตามหลักศาสนา ก็ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่หะรอม(หลงผิด) หากมันอยู่บนพื้นฐานที่วายิบ หรือสุนัตตามหลักศาสนา ก็ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่ดี(แต่ท่านอิบนุร่อญิบบอกว่ามันเป็นซุนนะฮ์)

ดังนั้น ทั้งสองแนวทาง ถือว่า ดี ทั้งหมด โดยที่มีทัศนะตรงกันว่า"ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่โดยมีรากฐานจากหลักศาสนา ย่อมเป็นสิ่งที่กระทำได้ แม้การเรียกชื่อจะต่างกันก็ตาม"

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ความหมายของ "บิดะฮ์" ในอัลกุรอาน

คำที่มาจากหมวดเดิมของ คำว่า ( بَدَعَ ) ที่ถูกกล่าวไว้ในอัลกุรอานนั้น มีอยู่ 4 สถานที่ด้วยกัน

1. และ 2. อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

بديع السموات والأرض

ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117 และ อัล-อันอาม 59)

3. อัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9)

4. อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

وجعلنا فى قلوب الذين اتبعوا رأفة ورحمة ورهبانية ابتدعوها ما كتبنا عليهم إلا ابتغاء رضوان الله فما رعوها حق رعايتها

ความว่า "และเราได้บันดาลให้สถิตอยู่ในหัวใจของบรรดาผู้ประพฤติตามเขา(คือตามนบีอีซา อะลัยฮิสลาม) ซึ่งความสงสาร ความเมตตา และความเป็นนักบวช ซึ่งพวกเขาได้ริเริ่มสิ่งนั้นขึ้น โดยที่เราไม่ได้บัญญัติสิ่งนั้นให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขาเลย(พวกเขากระทำเช่นนั้น มิได้มุ่งหวังสิ่งใด) นอกจากเพื่อแสวงหาความโปรดการุนของอัลเลาะฮ์เท่านั้น แล้วพวกเขาก็มิได้รักษาสิ่งนั้นไว้อย่างจริงจัง" (อัล-หะดีด 27)

ดังนั้น จากอัลกุรอานได้กล่าวไว้ในข้อ ที่ 1 และ 2 นั้น ท่านอิบนุ มังซูน (إبن منظور ) กล่าวว่า " คำว่า ( البديع ) นี้เป็นหนึ่งในพระนามของอัลเลาะฮ์ เนื่องจากพระองค์ได้ทรงทำการประดิษฐ์สรรพสิ่งต่างๆ และก็ทรงทำการสรรสร้างมันขึ้นมา โดยที่พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ประดิษฐ์เป็นองค์แรก ก่อนที่จะมีทุกๆ สิ่ง และพระองค์ทรงเป็นผู้ประดิษฐ์สร้างบรรดามัคโลค คือเป็นผู้ริเริ่มในการประดิษฐ์ ดังที่อัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า

بديع السموات والأرض

ความว่า "พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์บรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน" (อัล-บะก่อเราะฮ์ 117 และ อัล-อันอาม 59) หมายถึง พระองค์ผู้ทรงประดิษฐ์และทรงสรรสร้างมันขึ้นมา" (ดู หนังสือ ลิซาน อัลอะหรับ เล่ม 9 หน้า 351)

และในอัลกุรอานข้อที่ 3 นี้ ท่าน อัลค่อลีล กล่าวว่า " คำว่า (البدع) หมายถึง สิ่งซึ่งมีขึ้นมาเป็นอันดับแรกในทุกๆ เรื่องไป เฉกเช่น อัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า

قل ما كنت بدعا من الرسل

ความว่า "เจ้าจงกล่าวเถิดว่า ฉันไม่ใช่เป็นคนแรกจากบรรดาร่อซูล" (อัล-อะหฺกอฟ 9) หมายถึง ฉันไม่ได้เป็นร่อซูลที่ถูกสิ่งมาเป็นคนแรก " ดู หนังสือ อัล-อัยน์ เล่ม 2 หน้า 54 - 55)

ดังนั้น ความหมายคำว่า "บิดอะฮ์" ในอัลกุรอานที่ได้กล่าวไว้ใน 3 ข้อนี้ มีความหมายเดียวกัน คือ อยู่ในความหมายบิดอะฮ์ที่อยู่ในเชิงภาษา ( البدعة اللغوية )

แต่สำหรับ อายะฮ์ที่ได้กล่าวไว้ใน ข้อที่ 4 คือ บิดอะฮ์เกี่ยวกับเรื่องศาสนา ( البدعة الشرعية ) คือคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า

ورهبانية ابتدعوها ما كتبنا عليهم إلا ابتغاء رضوان الله فما رعوها حق رعايتها

และความเป็นนักบวช ซึ่งพวกเขาได้ริเริ่มสิ่งนั้นขึ้น โดยที่เราไม่ได้บัญญัติสิ่งนั้นให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขาเลย(พวกเขากระทำเช่นนั้น มิได้มุ่งหวังสิ่งใด) นอกจากเพื่อแสวงหาความโปรดการุนของอัลเลาะฮ์เท่านั้น แล้วพวกเขาก็มิได้รักษาสิ่งนั้นไว้อย่างจริงจัง" (อัล-หะดีด 27)

ท่าน มุหัดดิษ อัลลามะฮ์ ซัยยิด อับดุลเลาะฮ์ บิน อัศศิดดีก อัล-ฆุมารีย์ กล่าวไว้ในหนังสือ อิดกอน อัศศุนอะฮ์ ของท่านว่า

"ท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์ ได้รายงานไว้ใน หนังสือ อัล-เอาสัฏ จาก อบี อุมามะฮ์ (ร.ฏ.) ท่านกล่าวว่า "แท้จริง อัลเลาะฮ์ทรงบัญญัติการถือศีลอดแก่พวกท่าน โดยที่ไม่ได้บัญญัติให้ทำการละหมาด(ตะรอวิหฺ)แก่พวกท่าน เพราะแท้จริงการละหมาด(ตะรอวิหฺ)นั้น คือสิ่งที่พวกท่านริเริ่มทำมันขึ้นมา ดังนั้นพวกท่านจงดำรงค์มันเอาไว้ เนื่องจาก บุคคลบางส่วนจาก บนีอิสรออีล ได้อุตริบิดอะฮ์หนึ่งขึ้นมา แล้วอัลเลาะฮ์ก็ทรงตำหนิพวกเขาด้วยสาเหตุที่พวกเขาละทิ้งมัน แล้วท่านอบี อุมามะฮ์ (ร.ฏ.) ได้อ่านอายะฮ์ที่ว่า

وجعلنا فى قلوب الذين اتبعوا رأفة ورحمة ورهبانية ابتدعوها ما كتبنا عليهم إلا ابتغاء رضوان الله فما رعوها حق رعايتها

ความว่า "และเราได้บันดาลให้สถิตอยู่ในหัวใจของบรรดาผู้ประพฤติตามเขา(คือตามนบีอีซา อะลัยฮิสลาม) ความอาลัย ความเมตตา และความเป็นนักบวช ซึ่งพวกเขาได้ริเริ่มสิ่งนั้นขึ้น โดยที่เราไม่ได้บัญญัติสิ่งนั้นให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขาเลย(พวกเขากระทำเช่นนั้น มิได้มุ่งหวังสิ่งใด) นอกจากเพื่อแสวงหาความโปรดการุนของอัลเลาะฮ์เท่านั้น แล้วพวกเขาก็มิได้รักษาสิ่งนั้นไว้อย่างจริงจัง" (อัล-หะดีด 27)

ในสายรายงานนี้ มี อบู ซะกะรียา บิน อบีมัรยัม ท่านอิบนุหิบาน ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัษษิก๊อต (บรรดานักรายงานที่เชื่อถือได้) และท่านอันนะซาอีย์กล่าวว่า "เขาไม่แข็งแรง(ฏออีฟ) " และท่านอัดดารุกุฏนีย์กล่าวว่า "เขานั้น รับการพิจารณาได้" แต่สิ่งที่ ท่านอบู อุมามะฮ์ ได้ทำการวินิจฉัยนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะอายะฮ์นี้ ไม่ได้ตำหนิพวกนบีอิสรออีลที่อุตริเรื่องการเป็นนักบวช เนื่องจากพวกเขามีเจตนาเพื่อแสวงหาความพึงพอพระทัยของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) แต่อายะฮ์นี้ ได้ทำการตำหนิพวกเขา เนื่องจากพวกเขาไม่ได้รักษาสิ่งนั้นอย่างจริงจัง ดังนั้นอายะฮ์นี้ไม่ได้ทำการตำหนิเรื่องบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (ตามที่ ท่าน อัรรอซีย์ และอัลอุลูซีย์ได้กล่าวไว้) แต่ท่านอิบนุกะษีร(ร่อหิมะฮุลลอฮ์)ไม่ตระหนักถึงใจความของอายะฮ์ แล้วก็อธิบายอายะฮ์นี้ว่าได้ตำหนิบิดอะฮ์ทั้งหมด ซึ่งเป็นการอธิบายที่ผิดพลาด " (ดู หนังสือ อิดกอน อัศศุนอะฮ์ หน้า 23)

ดังนั้น การที่อัลกุรอานได้ตำหนิพวกเขา ก็เนื่องจากสาเหตุที่พวกเขาไม่รักษาบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ที่พวกเขาได้อุตริมันขึ้นมานั่นเอง "แล้วพวกเขาก็มิได้รักษาสิ่งนั้นไว้อย่างจริงจัง" และการตำหนินี้ ไม่ได้มุ่งเน้นไปยังพวกเขาทั้งหมด เนื่องจากในหมู่พวกเขานั้น ก็ยังมีผู้รักษาหลักการดังกล่าวที่พวกเขาอุตริขึ้นมา ดังที่ท่านอิบนุซัยด์ได้กล่าวไว้ และไม่ได้มุ่งเน้นไปที่บรรดาผู้ริเริ่มทำมันขึ้นมา ดังที่ท่าน อัฏเฏาะหฺห๊ากได้กล่าวไว้(ดู ตัฟซีร อัล-บะหฺรุลมุฮีด เล่ม 8 หน้า 228 - 229) แต่การตำหนินี้มุ่งเน้นไปยังคนรุ่นหลังจากพวกเขา ตามที่ ท่าน อะฏออ์ ได้กล่าวไว้ (ดู ตัฟซีร อัลกะบีร เล่ม 8 หน้า 104)

ข้อคัดค้านต่างๆของท่านอิมาม อัช-ชาฏิบีย์

ท่านอิมาม อัช-ชาฏิบีย์ได้กล่าวคัดค้านไว้ในหนังสือ อัล-เอี๊ยะอฺติซอม ( หน้า 287 - 290) ของท่าน ต่อการอ้างหลักฐานจากอายะฮ์ที่ 27 ซูเราะฮ์ อัล-หะดีด ที่อนุญาติให้กระทำบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ขึ้นมาใหม่ว่า

ข้อคัดค้านที่ 1. อิมาม อัช-ชาฏิบีย์ กล่าวว่า อายะฮ์นี้ไม่เกี่ยวข้องกับหุกุ่มของประชาชาติอิสลามนี้ เพราะว่า อัรเราะฮ์บานียะฮ์ (ความเป็นนักบวช) นั้นถูกยกเลิกจากชาริอะฮ์ของอิสลามแล้ว ดังนั้น จึงไม่มีความเป็นนักบวชในอิสลาม

ตอบ ตามที่ได้มีรายงานจาก ท่านอิมาม อิบนุ อัล-อะรอบีย์ อัลมาลิกีย์ (ไม่ใช่ ชัยค์ อักบัร อิบนุ อะรอบีย์ (ร.ฏ.) ที่เป็นซูฟีย์) ว่า "แท้จริง ความหมาย อัรเราะฮ์บานียะฮ์ ในอายะฮ์นี้ บ่งถึง 3 ความหมายด้วยกันคือ

1- ปฏิเสธ(การแต่งงาน)กับสตรี

2- สร้างที่พักอาศัยส่วนตัวหรือกุฏิ เพื่อปลีกตัววิเวก

3- เดินทางท่องไปบนผืนแผ่นดิน

และสิ่งที่ถูกยกเลิก ในศาสนาอิสลามของเรานั้น คือข้อแรก สำหรับข้อที่ 2 และ 3 นั้น เป็นสิ่งที่สุนัตให้กระทำในช่วงยุคสมัยที่มีความเสื่อมโทรม (ดู หนังสือ อะหฺกาม อัลกุรอาน ของท่าน อิบน อัลอะร่อบีย์ เล่ม 4 หน้า 1744)

และมีหะดิษ รายงานจากท่าน อบูสะอีด อัล-ค๊อดรีย์ (ร.ฏ.) เขากล่าวว่า

يوشك أن يكون خير مال المسلم غنما يتبع بها شغف الجبال ومواقع القطر يفر بدينه من الفتن

"ท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า จะใกล้แล้วซิ ที่ทรัพย์สินของมุสลิมที่ดีที่สุด คือแพะ ที่เขาได้เอาติดตามไปบนยอดเขา และบรรดาหุบเขา ในสภาพที่เขาได้นำศาสนาของเขาหนีไปจากบรรดาฟิตนะฮ์" รายงานโดย อิมาม อัล-บุคอรีย์ (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 1 หน้า 19 และ หนังสือ อัตตัจญฺรีด อัศศะเรี๊ยะหฺ ฮะดิษที่ 19 หน้า 18 )

หะดิษนี้ชี้ถึง การยอมรับ ให้ปฏิบัติตามอายะฮ์นี้ ในความหมายที่ 2 และ 3 และหะดิษนี้ ถือว่าอยู่ในตำแหน่งของการอธิบายอัลกุรอาน อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า "และเราได้มอบคำตักเตือน(อัลกุรอาน)แก่เจ้า เพื่อเจ้าจะได้ชี้แจงแก่มวลมนุษย์ ในสิ่งที่ถูกบัญญัติไว้แก่พวกเขา" (อันนะหฺลิ 44)

ข้อคัดค้านที่ 2. อิมาม อัช-ชาฏิบีย์ กล่าวว่า คำว่า บิดอะฮ์ ในอายะฮ์นี้ ไม่ใช่บิดอะฮ์แบบหากิกัต (คือบิดอะฮ์ที่ขัดกับหลักศาสนา) แต่เป็นบิดอะฮ์อิฏอฟียะฮ์ (บิดอะฮ์ที่มีรากฐานที่มาแต่เดิม) เนื่องจากอายะฮ์นี้ ชี้ให้เห็นว่า บิดอะฮ์ ไม่ได้ถูกตำหนิในสิ่งที่พวกเขาทำเลย แต่พวกเขากลับทำการบกพร่องด้วยเงื่อนไขของมัน ก็คือการอีมานต่อท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.)

ตอบ ในอายะฮ์นี้ ไม่ได้ชี้ถึง การตำหนิบิดอะฮ์ หรือตำหนิบรรดาผู้อุตริทำบิดอะฮ์ แต่ท่าว่า การตำหนินั้น มุ่งเน้นไปยัง ส่วนมากของนบีอิสลามจากคนรุ่นหลัง ที่ไม่รักษาสิ่งดังกล่าวอย่างจริงจัง หรือมุ่งเน้นไปยังบรรดาผู้ปกครองบนีอิสรออีล ที่ทำการต่อต้านและเนรเทศพวกเขา ซึ่งเหมือนกับสิ่งที่ท่านอิบนุอับบาส(ร.ฏ.)และท่านอื่นๆ ได้กล่าวไว้ (ดู ตัฟซีร อัล-บะหฺรุล มุฮีด เล่ม 8 หน้า 229)

และการอิมาน(ต่อท่านนบีมุหัมมัด)ของพวกเขานั้น ไม่ใช่เป็นเงื่อนไขในการทำบิดอะฮ์ขึ้นมา เพราะบิดอะฮ์นี้ได้เกิดขึ้น ก่อนที่ท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.)ได้ถูกแต่งตั้งเป็นร่อซูล ดังนั้น การแต่งตั้งท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.)ให้เป็นร่อซูลนั้น ไม่ใช่เป็นเงื่อนไขในการทำบิดอะฮ์ของพวกเขาเลย

และการอิมานและการเจริญรอยตามท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ย่อมเป็นเงื่อนไข ในการได้รับผลการตอบแทนจากบิดอะฮ์ที่พวกเขาได้กระทำขึ้น แก่บุคคลที่พบกับท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) แต่ก็ไม่มีใครศรัทธาต่อท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.)เหลืออยู่เลย นอกจากส่วนน้อยเท่านั้น ซึ่งพวกเขาได้ละจากที่อาศัยในการปลีกวิเวก และหวนกลับจากการเดินทางท่องไปบนผืนแผ่นดิน แล้วพวกเขาก็ทำการศรัทธาและยอมรับต่อท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) ดังนั้น อัลเลาะฮ์ก็ทรงตรัสแก่บรรดาผู้ศรัทธาจากพวกเขาว่า

ياأيها الذين أمنوا اتقوا الله وأمنوا برسوله يؤتكم كفلين من رحمته

ความว่า "โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงยำเกรงอัลเลาะฮ์ และจงศรัทธาต่อศาสนทูตของพระองค์เถิด แน่นอนที่สุด พระองค์จักประทานความเมตตาของพระองค์แก่พวกเจ้าเป็นสองเท่า (คือได้ศรัทธานบีอีซาและนบีมุหัมมัด) " (อัล-หะดีด 28)

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บิดอะฮ์ที่ระบุไว้ใน ซุนนะฮ์

มีบรรดาหะดิษที่กล่าวถึงเรื่องบิดอะฮ์ ซึ่งบางหะดิษกล่าวถึงเรื่องบิดอะฮ์โดยให้ความหมายที่ครอบคลุม( อุมูม ) แต่บางหะดิษกล่าวถึงเรื่องบิดอะฮ์โดยมีความหมายที่เจาะจงถ้อยความ( ตัคซีซ )

ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากหะดิษที่ให้ความหมายในเรื่องบิดอะฮ์โดยความหมายที่ครอบคลุม คือ หะดิษของท่าน ญาบิร บิน อับดุลเลาะฮ์ เขากล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

أما بعد: فإن خير الحديث كتاب الله وخير الهدى هدى محمد وشر الأمور محدثاتها وكل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة

 

ความว่า" จากนั้น แท้จริงถ้อยความที่ดีที่สุด คือกิตาบุลเลาะฮ์ แต่ทางนำที่ดีที่สุด คือทางนำของมุหัมมัด แต่บรรดาการงานที่ชั่วที่สุด คือบรรดาสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ และทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ และทุกๆ บิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" ( รายงานโดยมุสลิม หะดิษที่ 867 อิมามอะหฺมัด รายงานไว้ในมุสนัด เล่ม 3 หน้า 310 ท่านอันนะซาอีย์ รายงานไว้ในสุนันของท่าน เล่ม 3 หน้า 188 และท่านอื่นๆ )

คำว่า"บิดอะฮ์" ในหะดิษนี้ ครอบคลุมถึง บิดอะฮ์เดียว หรือหลายๆ บิดอะฮ์ และครอบคลุมถึงบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(ที่ดี) และบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์(น่ารังเกียจ)

มีหะดิษอีกส่วนหนึ่งที่รายงานด้วยถ้อยคำที่เจาะจงและทอนความหมายของคำ"บิดอะฮ์" คือคำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

من ابتدع بدعة ضلالة لا يرضاها الله ولا رسوله كان عليه مثل آثام من عمل بها لا ينقص ذلك من أوزارهم شيئا

ความว่า" ผู้ใดที่อุตริทำบิดอะฮ์อันลุ่มหลง ที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์ไม่พอใจ แน่นอน เขาย่อมได้รับบาปเหมือนกับผู้ที่ได้ปฏิบัติมัน โดยที่บาปของพวกเขาดังกล่าวจะไม่ทำให้สิ่งใดลงน้อยลง จากบรรดาบาปของพวกเขา" อิมาม อัตติรมีซีย์ กล่าวว่า หะดิษนี้ หะซัน ( ดู อัล-อาริเฏาะฮ์ เล่ม 10 หน้า 148)

ในหะดิษนี้ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้เจาะจงและทอนความหมายของคำว่า "บิดอะฮ์ที่หะรอม" นั้น คือบิดอะฮ์อันน่ารังเกียจที่ไม่สอดคล้องกับหลักชาริอะฮ์

ฉะนั้น ตามหลักอุซูล ( อัลกออิดะฮ์ อัลอุซูลียะฮ์) คือ เมื่อมีตัวบทที่รายงานมาจากหลักการของชาเราะอฺ โดยมีถ้อยคำที่ครอบคลุม ( อาม ) และถ้วยคำที่เจาะจง ( ค๊อซ ) ก็ให้นำเอาถ้อยคำที่เจาะจง ( ค๊อซ )มาอยู่ก่อนในการนำมาพิจารณา เนื่องจากในการนำถ้อยคำที่เจาะจง ( ค๊อซ ) มาอยู่ก่อนนั้น ทำให้สามารถปฏิบัติได้ทั้ง 2 ตัวบทไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแตกต่างกับการที่ เอาถ้อยคำที่ครอบคลุม ( อาม ) มาอยู่ก่อน เนื่องจากจะทำให้ยกเลิกหรือละทิ้งกับตัวบทที่ให้ความหมายเจาะจงไป ( ดู ชัรหฺ อัลเกากับ อัลมุนีร เล่ม 3 หน้า 382)

ฉะนั้น จุงมุ่งหมายของคำกล่าวท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

( كل بدعة ضلالة )

"ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"

หมายถึง บิดอะฮ์อันน่ารังเกียจ คือ สิ่งที่อุตริขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่มีหลักฐานจากชาเราะอฺ ไม่ว่าจะด้วยหนทางที่ครอบคลุมหรือเจาะจง

และหลักการนี้ ก็อยู่ในนัยยะเดียวกับคำกล่าวของท่านร่อซูลุเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า

كل عين زانية

" ทุกๆสายตานั้น ทำซินา" ( นำเสนอรายงานโดย อิมามอะหฺมัด ในมุสนัด เล่ม 3 หน้า 394 - 413 อบูดาวูด ได้รายงานไว้ใน สุนันของท่าน หะดิษที่ 4173 อัตติรมิซีย์ หะดิษที่ 2786 ท่านอันนะซาอีย์ เล่ม 8 หน้า 135 และท่านอัตติรมิซีย์กล่าว หะดิษนี้ หะซันซอเฮี๊ยะหฺ

ดังนั้น ถ้อยคำของหะดิษนี้ไม่ใช่หมายถึงทุกๆสายตานั้นทำซินา แต่ทุกๆสายตาที่มองสตรีโดยมีอารมณ์ใคร่ต่างหาก คือสายตาที่อยู่ในความหมายของซินา (ดู หนังสือ อัตตัยซีร บิชัรหฺ อัลญาเมี๊ยะอฺ อัศซ่อฆีร ของท่าน อัลมะนาวีย์ เล่ม 2 หน้า 216)

ท่านอัล-หาฟิซฺ อิมาม อันนะวะวีย์ (ร.ฏ.) กล่าวว่า " คำกล่าวของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า ( كل بدعة ضلالة ) " ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" นั้น คืออยู่ในความหมายของ คำคลุมที่ถูกเจาะจง (คือถ้อยคำที่มีความหมายที่ครอบคลุมแต่ถูกเจาะจงหรือทอนความหมายด้วยหะดิษอื่น) จุดประสงค์ของท่านนบี(ซ.ล.) ก็คือ บิดอะฮ์ส่วนมากนั้นลุ่มหลง ในลักษณะจุดมุ่งหมายจากคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.)ก็คือ ส่วนมากของบิดอะฮ์(นั้นลุ่มหลง)

บรรดาอุลามาอ์กล่าวว่า บิดอะฮ์ มี 5 ประเภท คือ บิดอะฮ์วายิบ สุนัต หะรอม มักโระฮ์ และมุบาห์ ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์ที่วายิบ อาธิเช่น การประพันธ์หนังสือเกี่ยวกับหลักฐานต่าง ๆ ของอุลามาอ์กะลาม เพื่อทำการโต้ตอบ พวกนอกศาสนา พวกบิดอะฮ์ และอื่น ๆ และสำหรับบิดอะฮ์สุนัต คือ การประพันธ์หนังสือในเชิงวิชาการ การสร้างสถานที่ศึกษา สร้างสถานที่พักพึง และอื่น ๆ จากที่กล่าวมา และส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์มุบาห์ คือ การมีความหลากหลายในประเภทต่าง ๆ ของการทำอาหาร และอื่น ๆ และบิดอะฮ์หะรอมและมักโระฮ์นั้น ทั้งสองย่อมมีความชัดเจนแล้ว และฉัน(คืออิมามอันนะวะวีย์)ได้อธิบายประเด็นนี้ ด้วยบรรดาหลักฐานที่ถูกแจกแจงไว้แล้วในหนังสือ ตะฮ์ซีบ อัลอัสมาอ์ วัลลุฆ๊อต ดังนั้น เมื่อสิ่งที่ฉันได้กล่าวไปแล้วนั้น เป็นที่ทราบดีแล้ว ก็จะสามารถรู้ได้ว่า แท้จริง หะดิษ(นี้) มาจากความหมายของคำคลุมที่ถูกเจาะจง และเช่นเดียวกันกับบรรดาหะดิษต่างๆที่มีหลักการเหมือนกับหะดิษนี้ และได้ทำการสนับสนุนกับสิ่งที่เราได้กล่าวมาแล้ว โดยคำกล่าวของท่านอุมัร(ร.ฏ.) เกี่ยวกับละหมาดตะรอวิหฺ ที่ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ) อันนี้"

และการที่หะดิษมีความหมายที่ครอบคลุมที่ต้องถูกเจาะจง (คือถ้อยคำที่มีความหมายที่ครอบคลุมแต่ถูกเจาะจงหรือทอนความหมาย)นั้น ก็จะไม่ไปห้ามกับคำกล่าวของร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า ( كل بدعة ) "ทุกบิดอะฮ์" โดยตอกย้ำด้วยคำว่า ( كل ) "ทุกๆ" แต่จะต้องทำการเจาะจงหรือทอนความหมายของคำว่า ( كل ) "ทุกๆ" นี้ด้วย กล่าวคือ ( ความหมายที่ครอบคลุมนี้คือ "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" โดยทำการเจาะจงหรือทอนความหมายด้วยหะดิษอื่น จึงได้ความว่า มีบิดอะฮ์อื่นที่ไม่ได้อยู่ในความหมายของบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ซึ่งเหมือนกับคำตรัสของอัลเลาะฮ์ ที่ว่า ( تدمر كل شيء ) " มันเป็นลมที่จะทำลายทุกๆสิ่ง" (นอกบ้านเรือนของพวกเขาเป็นต้น) (ดู ชัรหฺ ซ่อเฮี๊ยะหฺ มุสลิม ของอิมาม อันนะวะวีย์ เล่ม 3 หน้า 423)

ได้รายงานจาก ท่านหญิง อาอิชะฮ์ (ร.ฏ.) ท่านกล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)

من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد

หมายความว่า "ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงาน(ศาสนา)ของเรานี้ กับสิ่งที่ไม่มีมาจากมัน(คือจากการงานของเรา)แล้ว สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ" (รายงานโดย บุคอรีย์ หะดิษที่ 2698 และมุสลิม หะดิษที่ 1718)

ในสายรายงานหนึ่งของ มุสลิม กล่าวว่า

من عمل عملا ليس عليه أمرنا فهو رد

ความว่า "ผู้ใดที่ปฏิบัติ งานหนึ่งงานใดขึ้นมา ที่การงาน(ศาสนา)ของเรา ไม่ได้ครอบคลุมถึงมัน สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ" (รายงานโดยมุสลิม หะดิษที่ 1718)

ดังนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้กล่าวว่า

من أحدث فى أمرنا هذا فهو رد

"ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงาน(ศาสนา)ของเรานี้ มันย่อมถูกปฏิเสธ"

และท่านนบี(ซ.ล.)ก็ไม่ได้กล่าวว่า

من عمل عملا فهو رد

"ผู้ใดที่ปฏิบัติ การกระทำอันใดอันหนึ่งขึ้นมา มันย่อมถูกปฏิเสธ"

หะดิษดังกล่าวนี้ จะต้องนำเอาหะดิษที่มีข้อแม้หรือจำกัดความหมายมาทอนความหมายแบบกว้าง ๆ ของหะดิษนี้ ( มุฏลัก) เพราะ บรรดาอุลามาอ์ผู้เคร่งครัดในกลุ่มนักปราชญ์แห่งมูลฐานนิติบัญญัติอิสลามได้ กล่าวว่า "หากปรากฏว่ามีหะดิษที่อยู่ในความหมายแบบกว้าง ๆ ( มุฏลัก) และในตัวบทหะดิษเดียวกันนี้ ก็มีความหมายที่บ่งถึงการจัดกัดความ( ( มุก๊อยยัด ) ก็จำเป็นจะต้องตีความกับความหมายแบบกว้าง ๆ นี้ ให้อยู่บนความหมายแบบจำกัดความ ( حمل المطلق على المقيد ) โดยที่ไม่อนุญาติให้ปฏิบัติตามหะดิษที่มีความหมายแบบกว้าง ๆ นี้

เมื่อเป็นอย่างเช่นที่กล่าวมานี้ เราจึงเข้าใจจากหะดิษที่กล่าวมาว่า

من أحدث فى أمرنا هذا ما هو منه فهو مقبول

"ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงานของเรานี้ สิ่งที่มีมาจากการงานของเรา สิ่งนั้นย่อมถูกตอบรับ"

من عمل عملا عليه أمرنا فهو مقبول

"ผู้ที่ปฏิบัติ กับการปฏิบัติหนึ่ง โดยที่การงานของเรา(มีรากฐาน)อยู่บนมัน การปฏิบัตินั้นย่อมถูกตอบรับ"

 

เมื่อเป็นเช่นอย่างเช่นดังกล่าว หะดิษนี้จึงมีความเข้าใจได้ดังต่อไปนี้

1. อนุญาติให้กระทำบิดอะฮ์ที่ดีและได้รับการสรรเสริญ เมื่อมันดำรงอยู่บนรากฐานของหลักศาสนา(ชาเราะอฺ)ที่ชัดเจน หรือแบบสรุป หรือในแบบของการวินิจฉัย ดังนั้น บิดอะฮ์ในลักษณะนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องศาสนา

2. หะดิษนี้ มีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องศาสนาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอิบาดะฮ์ หรือการมุอามะลาต(เช่นธุระกิจการค้าขายเป็นต้น)

3. หะดิษนี้ ชี้ถึงอนุญาติให้กระขึ้นมาใหม่จากเรื่องต่างๆของศาสนาที่ไม่มีอยู่ในสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ดังนั้น จึงไม่ถูกวางเงื่อนไขว่า บรรดาการกระทำตามหลักศาสนานั้น คือต้องเป็นสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)เคยทำมาแล้ว เช่นเดียวกัน กับการที่ท่านนบีได้ทิ้งการปฏิบัติบางส่วนนั้น ก็ย่อมไม่ชี้ถึงการ ห้ามกระทำมัน หลังจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) เสียชีวิตไปแล้ว

 

ประเด็นการคัดค้านของ ท่าน อัช-ชาฏิบีย์

ท่านอิมาม อัช-ชาฏิบีย์ (ร.ห.) มีความเห็นว่า ความเข้าใจต่างๆ ที่มาทอนความหมายในบรรดาหะดิษที่กล่าวมาแล้วนั้น ไร้ประโยชน์ เนื่องจากการยึดเอาสิ่งดังกล่าวนั้น ย่อมทำให้เกิดอันตรายตามหลักการของศาสนา คือ

1. ผลสืบเนื่องดังกล่าวก็คือ ทำให้ศาสนายังไม่สมบูรณ์ ทั้งที่อัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า

اليوم أكملت لكم دينكم

" วันนี้ เราได้ทำให้ศาสนาของพวกเจ้าสมบูรณ์ สำหรับพวกเจ้าแล้ว"

ตอบ แท้จริง ความหมายของอายะฮ์ "ฉันได้ทำให้สมบูรณ์สำหรับพวกเจ้า" นี้ คือความสมบูรณ์ของบรรดาอุดมการณ์หลักๆ ( อัลมะบาดิ) หรือบรรดาสิ่งที่เป็นหลักการสำคัญๆ ( อัลเกาะวาอิด ) และส่วนหนึ่งของบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็ผนวกอยู่ในอุดมการณ์ของอิสลามด้วย ดังนั้น ผู้ที่กระทำบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น ไม่ใช่เป็นการเพิ่มเติมในเรื่องศาสนา หรือคิดว่าหลักศาสนานั้นบกพร่อง หรือเขาได้กระทำตามอารมณ์ หรือเขาได้บัญญัติเรื่องศาสนาขึ้นมาเองก็หาไม่ แต่ยิ่งไปกว่านั้น มันกลับเป็นการปฏิบัติตามหลักการของศาสนา ( อัลกออิดะฮ์ ) ที่ได้นำออกมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ โดยที่มิใช่เป็นการเลียนแบบบทบัญญัติแต่ประการใด และไม่ได้มีเจตนาที่จะดันทุรังหลักการของอัลเลาะฮ์ และฝ่าฝืนท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)

 

2. ท่าน อิมาม อัช-ชาฏิบีย์กล่าวว่า ความเข้าใจดังกล่าวนี้ ทำให้ออกจากเส้นตรง เพราะมีรายงานจากอับดุลเลาะฮ์ เขากล่าวว่า " วันหนึ่ง ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้ขีดเส้นยาวให้พวกเราดู แล้วท่านกล่าวว่า (นี้คือทางของอัลเลาะฮ์) และท่านนบีก็ขีดอีกหลายเส้น ทั้งทางขวาและทางซ้าย และกล่าวว่า นี้คือ แนวทางต่างๆ โดยที่ทุกๆ ทางจากมันนั้น จะมีชัยฏอนเรียกร้องไปสู่มัน หลังจากนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) จึงอ่านอายะฮ์ที่ว่า

وأن هذا صراطى مستقيما فاتبعوه ولا تتبعوا السبل فتفرق بكم عن سبيله

ความว่า "แท้จริง นี้เป็นแนวทางที่เที่ยงตรงของข้า ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายจงตามทางนี้เถิด และเจ้าทั้งหลายอย่าตามทางอื่นๆอันมากมาย แล้วพวกเจ้าก็จะแยกออกไปจากแนวทางของพระองค์ " (อัลอันอาม 153)

ตอบ เส้นที่ยาวซึ่งหมายถึงเส้นทางของอัลเลาะฮ์นั้น ย่อมผนวกบรรดากฏเกนฑ์ที่ถูกวินิจฉัยว่า อนุญาติในเรื่องการมีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ดังนั้น การปฏิบัติด้วยบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือการปฏิบัติด้วยสิ่งที่อยู่ในเส้นขีดที่เที่ยงตรงดังกล่าว

และบรรดาคำพูดต่างๆของบรรดานักอถาธิบายจากสะลัฟเกี่ยวกับบิดอะฮ์นั้น ถูกตีความว่า มันหมายถึง บิดอะฮ์ที่น่าตำหนิและบิดอะฮ์ในด้านเอี๊ยะติก๊อต ดังที่ ท่านอัช-ชาฏิบีย์ได้กล่าวรายงานไว้ว่า " ท่านอิบนุบัฏฏอนได้เล่ารายงานไว้ในชัรหฺซ่อเฮี๊ยะหฺอัล-บุคคอรีย์ จากอบูหะนีฟะฮ์ ซึ่งกล่าวว่า "ฉันได้พบกับ อะฏออฺ บิน อบีร่อบาหฺ ที่มักกะฮ์" ฉันจึงถามเขาถึงเรื่องหนึ่ง แล้วท่านอะฏออฺกล่าวว่า "ท่านมาจากใหน ?" ฉันตอบว่า "มาจากกูฟะฮ์" ท่านอะฏอกล่าวว่า "ท่านมาจากชาวบ้านที่ทำให้แตกแยกกับศาสนาของพวกเขา แล้วพวกเขาแยกเป็นพวกเป็นกลุ่ม ? " ฉันตอบว่า "ใช่" ท่านอะฏออฺถาม "ท่านมาจากจำพวกใหนละ? " ฉันตอบว่า "มาจากผู้ที่ไม่ด่าทอสะลัฟ ฉันศรัทธาต่อก่อดัร(การกำหนดสภาวะของอัลเลาะฮ์) และไม่กล่าวหาผู้ใดเป็นกาเฟร เนื่องจากการทำบาปของเขา" ดังนั้น ท่านอะฏออฺกล่าวว่า "เมื่อท่านทราบดีแล้ว ท่านก็จงยึดมั่นมันไว้เถิด"

ท่านอิบนุหะญัร อัล-อัศเกาะลานีย์ ได้อธิบายหะดิษดังกล่าวว่า

هذا الحديث معدود من أصول الإسلام وقاعدة من قواعده فإن معناه : من إخترع فى الدين ما لا يشهده أصل من أصوله فلا يلتفت إليه . إنتهى

" หะดิษนี้ นับว่าเป็น รากฐานของอิสลามและเป็นหลักการหนึ่งจากบรรดาหลักการต่างๆของอิสลาม เพราะแท้จริงความหมายของมันก็คือ ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาในศาสนา กับสิ่งที่ไม่มีรากฐานใดรากฐานหนึ่งจากบรรดารากฐานของศาสนามาสนับสนุน ดังนั้น อย่าไปเหลียวแลกับมัน" ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม 5 หน้า 302 - 303

คำกล่าวของท่าน อิบนุหะญัร (ร.ฮ.) ที่ว่า "สิ่งที่ไม่มีรากฐานใดรากฐานหนึ่งจากบรรดารากฐานของศาสนามาสนับสนุน" ย่อมชี้ชัดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ในศาสนานั้น ก็มีสิ่งที่มีหลักการและรากฐานของศาสนามาสนับสนุนรับรอง และนั่นก็คือสิ่งที่หะดิษได้บ่งชี้หลักการดังกล่าวไว้นั่นเอง

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน เขาจะได้รับผลบุญและได้รับผลบุญของผู้ที่ได้ปฏิบัติตามหลังจากเขาได้(เสียชีวิตไปแล้ว) โดยไม่มีสิ่งบกพร่องลงเลย จากผลบุญของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่1017)

ท่านอัสซินดีย์ ได้กล่าวอธิบาย หะดิษดังกล่าวที่รายงานโดยท่าน อิบนุมาญะฮ์ ในหะดิษที่304 ว่า

قوله : ( سنة حسنة) أى طريقة مرضية يقتدى بها ، والتمييز بين الحسنة والسيئة بموافقة أصول الشرع وعدمها

" คำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) ที่ว่า( سنة حسنة) (ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์) หมายถึง หนทางอันพึงพอใจ ที่ถูกเจริญตาม และการแยกแยะระว่าง หนทางที่หะสะนะฮ์(ดี) และหนทางที่ซัยยิอะฮ์(เลว) นั้น ด้วยการที่มันสอดคล้องกับรากฐานต่าง ๆ ของศาสนาหรือไม่สอดคล้อง"


หรือเราจะเข้าใจอีกนัยหนึ่งว่า

คำว่าمن سن سنة حسنة หมายถึง"ผู้ใด ที่ประดิษฐ์หรือริเริ่มกระทำ แนวทางหนึ่งที่ดีขึ้นมา หรือการงานที่ดีหนึ่งขึ้นมา ในศาสนา โดยสอดคล้องกับหลักการศาสนา"
และคำว่าومن سن سنة سيئة หมายถึง"ผู้ใด ที่ประดิษฐ์ หรือกระทำ แนวทางหนึ่งที่ชั่วหรือเลว หรือการงานที่เลวหนึ่งขึ้นมา ในศาสนา โดยขัดกับหลักการศาสนา"
ด้วยเหตุดังกล่าวนี้แหละ ท่านนบี(ซ.ล.) จึงได้กล่าวถึง สิ่งที่บรรดาซอฮะบะฮ์ได้กระทำขึ้นมาใหม่ นั้น ว่าเป็น"ซุนนะฮ์" ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวว่า

فعليكم بسنثى وسنة الخلفاء الراشدين

" พวกท่านจงดำรงไว้ ด้วยซุนนะฮ์ของฉัน และแนวทางของบรรดาค่อลิฟะฮ์ผู้ทรงธรรม"

ดังนั้น สิ่งที่บรรดาซอฮาบะฮ์กระทำขึ้นมาใหม่ ก็คือการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ในศาสนานั่นเอง แต่ สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่นั้น หากมันสอดคล้องกับหลักการของอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ และหลักการของศาสนา ก็ย่อมถึอว่าเป็นสิ่งที่ดี และท่านนบี(ซ.ล.) ก็เรียกมันว่า"ซุนนะฮ์" และคำว่าซุนนะฮ์ของบรรดาซอฮาบะฮ์นี้ บางครั้งก็เรียกว่า"บิดอะฮ์ที่ดี" ดังที่ท่านอุมัรกล่าวไว้ว่า

نعمت البدعة هذه

"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ)นี้"


ดังนั้น ซุนนะฮ์ของบรรดาซอฮาบะฮ์นั้น ก็คือ ซุนนะฮ์ในเชิงเปรียบเทียบ( سنة قياسية ) คือเปรียบเทียบกับ ซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) คือเมื่อบรรดาซอฮาบะฮ์ ได้วางแนวทางเอาไว้ โดยสอดคล้องกับซุนนะฮ์หรือหลักการศาสนา ก็ถือว่า เป็นซุนนะฮ์ที่เปรียบเทียบเหมือนกับซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) นั่นเอง และบรรดาอุลามาอ์หลังจากบรรดาซอฮาบะฮ์ ก็ได้เดินตามแนวทางดังกล่าวเช่นเดียวกับซอฮาบะฮ์ โดยยึดคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.)ที่ว่า

من سن فى الإسلام سنة حسنة ...

"ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี..."

ดังนั้น คำว่า"من" นี้ ให้ความหมายที่ (อุมูม) ครอบคลุม โดยไม่จำกัด"การกระทำขึ้นในอิสลาม กับหนทางที่ดี" อยู่กับอุลามาอ์ยุคสะลัฟเพียงอย่างเดียว ซึ่งดังกล่าวย่อมเป็นการแช่แข็งตัวบทอย่างชัดเจน โดยที่ตัวบทหะดิษที่ชัดเจนนี้นั้น ก็มีความหมายปฏิเสธสิ่งดังกล่าว และมันเป็นการวางจำกัดข้อแม้กับตัวบทโดยปราศจากหลักฐาน เนื่องจากการกระทำแนวทางที่ดีนั้น หากมันอยู่ในหลักการหรือภายใต้หลักศาสนาแล้ว ย่อมเกิดขึ้นได้ทุกยุคทุกสมัย แต่ต้องอยู่ในกรอบของหลักการศาสนา และอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ศาสนาได้วางเอาไว้ ไม่ใช่จะทำกันง่าย ๆ ตามใจชอบ ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์จึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาโดยไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย

 

ดังนั้น คำว่า ซุนนะฮ์ ในหะดิษนี้ ไม่ใช่ความหมายในเชิงศาสนา ที่หมายถึง คำกล่าว การกระทำ การยอมรับ ที่ออกมาจากท่านนบี(ซ.ล.) แต่ คำว่า ซุนนะฮ์นี้ มันอยู่ในความหมายในเชิงภาษา หมายถึง"การริเริ่มทำหนทางที่ดี"

ในหะดิษนี้ อยู่ในความดีเรื่องของ"บริจาคทาน" ซึ่งการบริจาคทาน เป็นสิ่งที่มีรากฐานจากหลักการของศาสนา ดังนั้นการริเริ่มกระทำการ บริจาคทาน ก็คือการ ริเริ่มในการกระทำสิ่งที่มีรากฐานจากหลักการของศาสนา แต่เราจะเจาะจงหรือแช่แข็งหะดิษโดยจำกัดเพียงแค่เรื่องการริเริ่มกระทำความดีด้วยการบริจาคทานอย่างเดียวนั้นไม่ได้ เนื่องจากมีหลักการที่ตรงกันว่า

العبرة بعموم اللفظ لا بخصوص السبب

"การพิจารณานั้น ต้องพิจารณาที่ถ้อยคำที่ความหมายครอบคลุม ไม่ใช่เฉพาะที่สาเหตุ"

ดังนั้น การริเริ่มกระทำสิ่งใดก็ตาม ที่เป็นความดี และมีรากฐานจากหลักการของศาสนาและไม่ขัดกับหลักการของศาสนา แน่นอนว่า สิ่งนั้น ย่อมเป็นแนวทางที่ดี

 

เพราะฉนั้น คำว่าسَنَّ (ริเริ่มทำขึ้นมา) ไม่ได้มีความหมายว่า"ฟื้นฟู" เลยแม้แต่น้อย และไม่มีอุลามาอ์ท่านใด ตีความหมายว่า"เป็นการฟื้นฟู" นอกจากกลุ่มผู้คัดค้านการแบ่งประเภทบิดอะฮ์ในยุคปัจจุบัน (ที่กล่าวว่าผู้คัดค้านปัจจุบันนั้นก็เพราะว่าอุลามาอ์ที่คัดค้านเรื่องการแบ่งบิดอะฮ์ในอดีตไม่เคยอธิบายว่า"เป็นการฟื้นฟู) ที่พยายามตีความหมายเป็นอย่างอื่นเพื่อให้เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ ได้ให้ความหมายคำว่าسَنَّ นั้น คือการริ่เริ่มทำขึ้นมาไหม่الإبتداء และการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่الإختراع อิมามอันนะวาวีย์กล่าวอธิบายว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

فيه : الحث على الابتداء بالخيرات وسن السنن الحسنات ، والتحذير من إختراع الأباطيل والمستقبحات...

ในหะดิษนี้ ได้ส่งเสริมให้ทำการริเริ่มการกระทำบรรดาความดีงาม และกระทำแนวทางที่ดีขึ้นมา และเตือนให้ระวัง การประดิษฐ์บรรดาสิ่งที่เป็นโมฆะและสิ่งที่น่ารังเกียจทั้งหลาย และสาเหตุที่นบี(ซ.ล.)กล่าวในหะดิษนี้ คือในช่วงแรกผู้รายงานกล่าวว่า" ได้มีชายคนหนึ่ง(ที่ยากจนได้มา แล้วบรรดาซอฮาบะฮ์ก็ช่วยกันบริจาค) ได้นำถุงกระสอบหนึ่งที่มือของเขายกเกือบไม่ไหว แล้วบรรดาผู้คนก็ติดตาม(บริจาคให้อีก)" ดังนั้น ความประเสริฐอันยิ่งใหญ่ สำหรับผู้ที่ริเริ่ม ด้วยการทำความดีนี้ และสำหรับผู้ที่เปิดประตูของการกระทำความดีงามนี้ และในหะดิษนี้ ได้มา(ตักซีซ) ทอนความหมายของหะดิษที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้ที่กล่าวว่า

كل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة

"ทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ และทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"

โดยที่จุดมุ่งหมายของหะดิษนี้ หมายถึง บรรดาสิ่งที่อุตริทำขึ้นมาใหม่ที่เป็นโมฆะและบรรดาบิดอะฮ์ที่ถูกตำหนิเท่านั้น(สำหรับบิดะฮ์ที่ดีนั้นไม่ถูกตำหนิ)..." (ดู ชัรหฺ ซอฮิหฺมุสลิม ของท่านอิมาม อันนะวาวีย์ เล่ม4 หน้า113 ตีพิมพ์ ดารุลหะดิษ ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี ฮ.ศ. 1415- ค.ศ. 1994)

 

เป้าหมายของหะดิษนั้น คือเป้าหมายตามทัศนะของเรา ที่เอามาจากการอธิบายของ อุลามาอ์ของโลกอิสลาม ดังนั้น อุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลามให้ความหมายคำว่าسَنَّ นั้น หมายถึงأبتدأ (ริเริ่มกระทำขึ้นมา) ไม่ใช่ให้ความหมายบิดเบือน ว่าأحيا (ฟื้นฟู) ตามที่ผู้คัดค้านในปัจจุบันนี้ได้ให้ความหมายกัน เพื่อหลีกหนี การตีฟซีร หะดิษ"ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่มหลง" และไม่มีอุลามาอ์ท่านใด ตั้งแต่1400 กว่า ปี ที่ให้ความหมายคำว่าسَنَّ นั้น หมายถึงأحيا (ฟื้นฟู)

ดังนั้น การอธิบายคำว่าسَنَّ นั้น หมายถึงأبتدأ (ริเริ่มกระทำขึ้นมา) นั้น

1. เพราะมันเป็นเจตนารมณ์ของท่านนบี(ซ.ล.) ที่อุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลามตั้งแต่1400 กว่าปี ได้เข้าใจกัน

2. การให้ความหมายว่า"ริเริ่มกระทำขึ้นมา" นั้น เป็นการอธิบายที่ตรงกับหลักภาษาอาหรับ ของคำว่าسَنَّ

3. การให้ความหมายคำว่าسَنَّ หมายถึง"การริเริ่มกระทำขึ้นมา" นั้น ย่อมเป็นการอธิบายتفسير หะดิษตามอุลามาอ์หะดิษผู้ปกป้องซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) แต่ไม่มีอุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลาม อธิบายتفسير คำว่าسَنَّ ให้อยู่ในความหมายأحيا (ฟื้นฟู)

4. การให้ความหมายคำว่าسَنَّ หมายถึง"การริเริ่มกระทำขึ้นมา" นั้น ไม่ใช่เป็นการตีความتأويل เนื่องจากการตีความนั้น หมายถึง การผันความหมายคำเดิมให้อยู่ในความหมายอื่นที่สอดคล้องกับที่เจ้าของภาษาอาหรับเขาใช้กัน แต่การกล่าวว่าسَنَّ หมายถึงأحيا (ฟื้นฟู) นั้น ไม่ใช่เป็นการตีความ เนื่องจากเจ้าของภาษาอาหรับ เขาไม่เคยใช้คำว่าسَنَّ หมายถึงأحيا (ฟื้นฟู)

5. เมื่อคำว่าسَنَّ ไม่ได้ถูกอธิบายให้อยู๋ในความหมายว่าأحيا (ฟื้นฟู) ตามทัศนะของอุลามาอ์หะดิษแห่งโลกอิสลาม และไม่ใช่เป็นการตีความแล้ว ซึ่งแน่นอนว่า การให้ความหมายคำว่าسَنَّ หมายถึงأحيا (ฟื้นฟู) นั้น คือการتحربف บิดเบือน ความหมายของหะดิษ บิดเบือนหลักภาษาอาหรับ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อนตั้งแต่1400 ร้อยกว่าปี


จริงอยู่ว่า หะดิษนี้ ได้กล่าวถึงเรื่อง การศอดะเกาะฮ์ แต่การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวหะดิษนี้นั้น ไม่ใช่เพราะเรื่องศอดะเกาะฮ์เป็นการเจาะจง แต่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าว เนื่องจากมีชายคนหนึ่งได้ทำการริเริ่มในการทำความดีขึ้นมา(ด้วยการศอดะเกาะฮ์) ดังที่มีหะดิษสายรายงานอื่น รายงานยืนยันไว้ว่า

وعن حذيفة قال سأل رجل على عهد رسول الله عليه وسلم فأمسك القوم ثم أن رجلا أعطاه فأعطاه القوم فقال رسول الله صلى الله عليه وسلم من سن خيرا فأستن به كان له أجره ومن أجور من تبعه غير منتقص من أجورهم شيئا ومن سن شرا فاستن به كان عليه وزره ومن أوزارمن تبعه غير منتقص من أوزارهم شيئا . رواه أحمد والبزار والطبرانى فى الأوسط ورجاله رجال الصحيح إلا أبا عبيدة بن حذيفة وقد وثقه إبن حبان

"รายงานจาก หุซัยฟะฮ์ เขากล่าวว่า มีชายคนหนึ่งในสมัยท่านนบีได้ขอ(ซอดะเกาะฮ์) และกลุ่มผู้คนเหล่านั้น ไม่ยอมทำการบริจาค หลังจากนั้น มีชายผู้หนึ่ง ได้ทำการให้(บริจาค)กับเขา(ชายผู้มาขอซะดาเกาะฮ์) ดังนั้น บรรดากลุ่มผู้คนเหล่านั้น จึงทำการ(บริจาคทาน)ให้แก่เขา แล้วท่านร่อซูล(ซ.ล.) ก็กล่าวว่า"ผู้ใดที่ริเริ่มขึ้นมากับการทำความดี แล้วก็ถูกเจริญตามด้วยกับความดีนั้น ผลตอบแทนก็จะมีให้แก่เขา และจากบรรดาผลตอบแทนของผู้ที่ได้เจริญรอยตามเขา โดยการตอบแทนของพวกเขานั้น ไม่ได้ลดย่อนลงไปเลยสักสิ่งเดียว และผู้ใดที่ริเริ่มกระทำขึ้นมา กับความชั่ว แล้วความชั่วนั้นได้ถูกกระทำตาม ผลบาปก็จะตกอยู่บนเขา และจากบรรดาบาปของผู้ที่กระทำตามเขา โดยไม่บาปของพวกเขา ไม่ได้ลดย่อนลงเลยสักสิ่งเดียว" รายงานโดย อิมามอะหฺมัด ท่านอัลบัซฺซฺาร และท่านอัฏฏ๊อบรอนีย์ ได้รายงานไว้ใน มั๊วะญัม อัลเอาสัฏ และบรรดานักรายงานของท่านอัฏฏอบรอนีย์นั้น เป็นนักรายงานที่ซอเฮี๊ยะหฺ นอกจาก อบู อุบัยดะฮ์ บิน หุซัยฟะฮ์ ซึ่งท่านอิบนุหิบบาลนั้น ถือว่า เขาเชื่อถือได้(ดู มัจญฺมะอฺ อัลซะวาอิด ของท่าน อัลฮัยษะมีย์ เล่ม1 หน้า167 )


ดังนั้น คำว่าسَنَّ นั้น จึงอยู่ในความหมายที่ว่า"ริเริ่มกระทำขึ้นมา" ซึ่งหากอยู่บนแนวทางที่ดี ก็ย่อมอยู่บนทางนำ และหากอยู่บนแนวทางที่เลว ก็ย่อมลุ่มหลง


หากเราไปดูในหนังสือ ปทานุกรมอาหรับ เราจะไม่พบว่า คำว่าسَنَّ นั้น มีความหมายว่า"ฟื้นฟู" เลยแม้แต่น้อย แต่ในทางตรงกันข้าม มันกลับมีความหมายว่า เริ่มการกระทำ เช่นใน มั๊วะญัม อัลวะซีฏ ให้ความหมายว่า

من سن سنة حسنة : وكل من ابتداء أمرا عمل بها قوم من بعده فهو الذى سنه

"ผู้ใดที่ได้سن (วางหรือกำหนด)แนวทางที่ดี: หมายความว่า และทุก ๆ คนที่ได้ ริเริ่มขึ้นมา กับกิจการงานหนึ่ง ที่กลุ่มชนนั้น ได้ถือปฏิบัติตาม(ด้วยกับแนวทางที่ดี) หลักจากเขาเสียชีวิตแล้ว เขาก็คือผู้ที่ริเริ่มทำการงานนั้นขึ้นมา" (ดู มั๊วะญัม อัลวะซีฏ หมวดسن )

และการฟื้นฟูซุนนะฮ์นะนั้น ย่อมมีหลักฐานที่เป็นเอกเทศของมันอยู่แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องไปตีความหะดิษ"من سن في الإسلام سنة حسنة " แต่อย่างใด เช่น

ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ ได้รายงาน จาก ท่านนบี(ซ.ล.) ท่านกล่าวว่า

من دعا إلى هدى كان له من الأجر مثل أجور من تبعه لا ينقص ذلك من أجورهم شيئا ، ومن دعا إلى ضلالة كان عليه من الإثم مثل آثام من تبعه لا ينقص ذلك من آثامهم شيئا

"ผู้ใดที่เรียกร้องไปสู่ทางนำ แน่นอน ย่อมมีผลตอบแทนแก่เขา เหมือนบรรดาการตอบแทนของผู้ที่เจริญตาม โดยดังกล่าวนั้น จะไม่บั่นทอนผลบุญของพวกเขาแม้แต่เพียงเล็กน้อย และผู้ใดที่เรียกร้องไปสู่ความหลงผิด แน่นอน เขาย่อมได้รับบาป เหมือนกับบรรดาบาปของผู้กระทำตาม โดยที่บาปดังกล่าวนั้น จะไม่ถูกบั่นทอนลงแม้แต่เพียงน้อยนิด " รายงานโดยมุสลิม

รายงานจากอบีมัสอูด อัลอันซอรีย์ จากท่านนบี(ซ.ล.) ท่านกล่าวว่า

من دل على خير فله مثل أجر فاعله

"ผู้ใด ได้ชี้แนะถึงความดีหนึ่ง ดังนั้น เขาก็จะได้รับผลบุญตอบแทน เหมือนกับผู้กระทำตาม" รายงานโดยมุสลิม


รายงาน กะษีร บิน อับดิลลาฮ์ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา ได้ยินท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

من أحيا سنة من سنتي قد أميتت بعدي فإن له من الأجر مثل من عمل بها من غير أن ينقص من أجورهم شيئا ، ومن ابتدع بدعة ضلالة لا ترضي الله ورسوله كان عليه من مثل آثام من عمل بها لا ينقص ذلك من أوزار الناس شيئا

"ผู้ใดที่ฟื้นฟูซุนนะฮ์หนึ่ง จากซุนนะฮ์ของฉันที่ได้ตายไป หลังจากฉัน แท้จริงแล้ว เขาย่อมได้รับผลตอบแทน เสมือนกับผู้ที่ได้ปฏิบัติตามมัน โดยที่ผลบุญของพวกเขาจะไม่ถูกบั่นทอนแม้แต่เพียงเล็กน้อย และผู้ใดที่อุตริบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง โดยที่ไม่ทำให้พึงพอพระทัยต่ออัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์นั้น เขาย่อมได้รับผลกรรม เหมือนกับบรรดาบาปของผู้ที่กระทำมันโดยบาปกรรมของผู้อื่นจะไม่ถูกบั่นทอนสิ่งดังกล่าวสักเพียงนัดเดียว" รายงานโดย ท่านติรมิซีย์ และอิบนุมาญะฮ์

 

อาจจะมีผู้คัดค้านกล่าวว่า หะดิษที่บอกว่า "ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี..." นี้ คือ"จำกัดและเจาะจงเฉพาะสิ่งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์และบรรดาคอลิฟะฮ์ได้วางแนวทางไว้แล้วเท่านั้น" เราขอตอบว่า หะดิษดังกล่าว ย่อมมีความชัดเจนและครอบคลุมอยู่แล้ว ในการริเริ่มส่งเสริม กระทำบรรดาแนวทางที่ดีงามโดยที่ไม่ได้จำกัดว่า จะเป็นคนศตวรรษใหนเป็นการเฉพาะ ดังนั้นการวางเงื่อนไขเฉพาะเจาะจงกับการกระทำสิ่งหนึ่งขึ้นมาโดยจำกัดเพียงแต่สมัยซอฮาบะฮ์อย่างเดียวนั้น ถือว่าเป็นการวางเงื่อนไขเจาะจงที่ปราศจากหลักฐาน

และอาจจะมีผู้คัดค้านอีกว่า หะดิษที่บอกว่า"ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี..." นี้ หมายถึง"การที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์และกระทำสิ่งหนึ่ง ที่เป็นเรื่องของดุนยา หรือหนทางต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ และแนวทางที่เลว นั้น คือสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์กระทำขึ้นมา บนหนทางที่อันตรายและเลวร้าย" เราขอตอบว่า การที่พวกท่านจำกัดสิ่งที่ทำขึ้นมาใหม่ที่ยอมรับได้เพียงแค่รูปแบบของเรื่องของดุนยานั้น เป็นการเจาะจงหรือทอนความหมายของหะดิษ โดยไม่มีสิ่งที่มาทอนความหมายหรือเจาะจงกับมันเลย ซึ่งตามหลักวิชาการนั้น ถือว่าใช้ไม่ได้โดยเด็ดขาด และอีกอย่างหนึ่งก็คือ หะดิษนี้พูดถึงการริเริ่มกระทำความดีเกี่ยวกับเรื่องซอดาเกาะฮ์ และเราไม่เชื่อว่าการริเริ่มทำการซอดาเกาะฮ์นี้เป็นเรื่องของดุนยา

หะดิษดังกล่าว ยังได้ระบุอีกว่า"ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี..." ดังนั้น คำว่า"ในอิสลาม" นี้ ย่อมไม่มีความหมายใด นอกจากเรื่องเกี่ยวกับในศาสนาอิสลาม ที่อัลเลาะฮ์ทรงพอพระทัยเท่านั้น


ดังนั้น ความหมายที่ชัดเจนของหะดิษดังกล่าวนั้น คือทุกๆสิ่งที่ได้มีการริเริ่มกระทำขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของศาสนา หรือดุนยา หะดิษดังกล่าว ย่อมครอบคลุ่มถึงทั้งหมด ซึ่งหากสิ่งใดที่กระทำขึ้น โดยสอดคล้องกับหลักศาสนา สิ่งนั้นย่อมเป็นแนวทางที่ดี และสิ่งใดที่กระทำขึ้นมาใหม่โดยที่ขัดกับหลักการของศาสนา สิ่งที่นั้นย่อมเป็นแนวทางที่เลว และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้นจะทำขึ้นมาไม่ได้นอกจากต้องมีเงื่อนไขที่รัดกุม ซึ่งกระผมจะนำมากล่าวในช่วงท้ายต่อไป อินชาอัลเลาะฮ์

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
หลักการเกี่ยวกับสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยกระทำ

ท่านชัยค์ อัลฆุมารีย์กล่าวว่า "การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ละทิ้งการกระทำสิ่งหนึ่ง หรือบรรดาสะละฟุสซอและหฺละทิ้งไม่ได้กระทำมัน โดยไม่มีหะดิษ หรือคำกล่าวรายงานของซอฮาบะฮ์ มาระบุห้ามสิ่งที่ถูกทิ้งนั้น มันไม่ได้หมายถึงฮะรอมหรือมักโระฮ์ทำสิ่งนั้น " (ดู หุสนุด ตะฟะฮฺฮุม วัดดัรกฺ หน้า 12 ของท่าน ชัยค์ อัลฆุมารีย์ )

ดังนั้น การทิ้งการกระทำนี้ มีหลายประเภท อาธิ เช่น

1. ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ละทิ้งมันนั้น เพราะมีสิ่งที่มาหักห้ามตามอุปนิสัยตามธรรมชาติ หรือมีอุปนิสัยที่ไม่ชอบ เช่น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ละทิ้งการกินเนื้อ ฏ๊อบ เมื่อมันได้ถูกนำมาให้แก่ท่าน ซึ่งในหะดิษนี้นั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ถูกถามว่า "มันเป็นสิ่งที่ต้องห้ามหรือ ? ท่านนบี(ซ.ล.)ตอบว่า "ไม่หรอก" เพราะฉะนั้นเรื่องที่กล่าวมานี้ ชี้ให้เห็นว่า การละทิ้งการกระทำของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ไม่ถือว่า เป็นการหะรอมห้ามกระทำมัน

2. การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้งหรือไม่ได้ทำนั้น เพราะเกิดจากการลืม เช่นการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ลืมในละหมาด โดยท่านได้ละทิ้งสิ่งหนึ่ง ท่านจึงถูกถามว่า "มีสิ่งใดเกิดขึ้นในละหมาดหรือ?" ท่านนบี(ซ.ล.) จึงตอบว่า "ที่จริงแล้ว ฉันนั้นก็เป็นมนุษย์ ฉันลืมเหมือนกับที่พวกท่านลืม ดังนั้น เมื่อฉันลืม พวกท่านก็จงเตือนฉัน"

ดังนั้น เมื่อท่านนบี(ซ.ล.) ได้ละทิ้งสิ่งหนึ่งจากละหมาด พวกเขาก็ไม่คิดเลยว่ามันเป็นหุกุ่มใดหุกุ่มหนึ่ง แต่พวกเขากลับไปทบทวนถามกับท่านนบี(ซ.ล.) แล้วท่านนบี(ซ.ล.) ก็ตอบพวกเขา ด้วยคำตอบที่ชี้ให้เห็นว่า การทิ้งการกระทำของท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้ทำให้เกิดขึ้นหุกุ่มใด ๆ ขึ้นมา

3. การที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งการกระทำนั้น เพราะเกรงว่า จะเป็นฟัรดูภาระกิจจำเป็นแก่ประชาชาติของท่าน เช่นท่านได้ทิ้งละหมาดญะมาอะฮ์ ตะรอวิหฺ ในขณะที่บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ทำการรวมตัวกันละหมาด เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นฟัรดูเหนือพวกเขา

4. การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ทิ้งการกระทำ ก็เพราะเกรงถึงฟิตนะฮ์(ความวุ่นวายหรือทำให้ซอฮาบะฮ์บางคนที่พึ่งเข้าอิสลามใหม่ ๆ เกิดความรวนเรหรืออาจจะละทิ้งศาสนา)ที่อาจเกิดขึ้นได้ อาธิเช่น ท่านนบี(ซ.ล.)ละทิ้งการรื้นถอนบัยตุลลอฮ เพื่อนำมาสร้างไว้ที่ฐานเดิมของท่านนบีอิบรอฮีม(ซ.ล.) ตามที่ได้ระบุไว้ในซอฮิหฺบุคอรีย์และมุสลิม เพราะฉะนั้น การละทิ้งหรือไม่ได้กระทำสิ่งดังกล่าวนั้น เพื่อถนอมน้ำใจของบรรดาซอฮาบะฮ์บางคนที่เพิ่งเข้ารับอิสลามใหม่ ๆ

5. บางครั้ง ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทิ้ง เนื่องจากสาเหตุเฉพาะตัวของท่าน เช่นท่านนบี(ซ.ล.) ทิ้งการรับประทานหัวหอม และสิ่งที่มีกลิ่นไม่ดี เนื่องจากเกรงว่าจะสร้างความเดือดร้อนแก่มะลาอิกะฮ์ ในขณะที่รับวะหฺยุ โดยที่ไม่มีผู้ใดกล่าวว่า การรับประทานหัวหอมนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม เพราะว่านบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการรับประทานมัน

จากตัวอย่างที่เราได้กล่าวมานั้น เราจะเห็นว่า การที่ท่านนบีได้ละทิ้ง หรือ ไม่ได้กระทำสิ่งหนึ่งนั้น ไม่ได้ชี้ถึงว่า สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่หะรอม โดยจะนำมาแอบอ้างว่าสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้กระทำนั้น คือสิ่งที่บิดอะฮ์ลุ่มหลงไปเสียทั้งหมด

ท่าน อบู อัลฟัฏลฺ อัลฆุมารีย์ กล่าวว่า " การละทิ้งการกระทำเพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่มีหลักฐานมาระบุว่าสิ่งที่ถูกทิ้งนั้นหะรอม ย่อมไม่เป็นหลักฐานชี้ว่าสิ่งนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม แต่จุดมุ่งหมายนั้นก็คือ การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งที่อนุญาติให้ละทิ้งการกระทำได้ และส่วนการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำ ที่เป็นสิ่งที่หะรอมนั้น ไม่ได้หมายถึงว่า เพราะท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งมัน แต่เป็นเพราะว่า มีหลักฐานมาระบุถึงการห้ามต่างหาก " ดู หุสนุด ตะฟะฮฺฮุม วัดดัรกฺ หน้า 15

ทัศนะของ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ในสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งหรือไม่เคยกระทำ

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้แบ่ง กรณีสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งนั้น ออกเป็น 2 ประเภท คือ

1. ما تركه مع وجود المقتضى لفعله فى عهده صلى االه عليه وسلم

สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งมัน พร้อมทั้งมีข้อเรียกร้องหรือความต้องการให้กระทำมันในช่วงยุคสมัยของท่าน ซึ่งการละทิ้งนี้ ย่อมชี้ถึงว่า มันไม่เป็นสิ่งที่คงประโยชน์ และไม่อนุญาติให้กระทำมัน ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้ยกตัวอย่างดังกล่าว เช่น การอะซานและอิกอมะฮ์ในละหมาดอีดทั้งสอง ที่ผู้ปกครองบางส่วนได้เคยกระทำขึ้น ในขณะที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้เคยละหมาดอีด โดยไม่มีการอะซานและอิกอมะฮ์ ซึ่งย่อมชี้ให้เห็นว่า การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการอะซานและอิกอมะฮ์นั้น ย่อมเป็นซุนนะฮ์

2. ما تركه النى صلى الله عليه وسلم لعدم وجود ما يقتضيه، لحدوث المقتضى له بعد موته صلى الله عليه وسلم

สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้ง เพราะไม่มีสิ่งที่บ่งถึงความต้องการให้กระทำมัน ก็เนื่องจากได้เกิดข้อเรียกร้องหรือต้องการให้กระทำนั้น หลังจากที่ท่านนบี(ซ.ล.)เสียชีวิตแล้ว ซึ่งเช่นนี้นั้น ถือว่า เป็นผลประโยชน์ และบางครั้งเป็นสิ่งที่อนุญาติ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้ยกตัวอย่างการรวบรวมอัลกุรอาน ซึ่งเป็นสิ่งที่มาห้ามรวบรวมในสมัยท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ก็เนื่องจาก วะหฺยุยังคงประทานลงมา และอัลเลาะฮ์ก็ทรงเปลี่ยนหุกุ่ม(เช่นยกเลิกหุกุ่ม)ตามที่พระองค์ทรงต้องการ ดังนั้น การรวบรวมให้เป็นอัลกุรอานเล่มเดียว จึงมีความลำบาก และมีอุปสรรคในการที่มีการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ เวลา แต่เมื่อท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)เสียชีวิตแล้ว ก็สามารถรวบรวมได้( สรุปจากหนังสือ อิกติฏออฺ อัลซิรอฏ อัลมุสตะกีม ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ หน้า133 - 135 )

วิจารณ์หลักการของท่านอิบนุตัยมียะฮ์

จากหลักการข้อที่1. ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ที่ท่านกล่าวว่า การอะซานและอิกอมะฮ์ในละหมาดอีดนั้นเป็นบิดอะฮ์ เนื่องจากนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กระทำนั้น ถือว่าเป็นคำกล่าว ที่ไม่มีความรัดกุม จริงอยู่ การอะซานและอิกอมะฮ์ในละหมาดอีดนั้น เป็นบิดอะฮ์ที่น่าตำหนิ แต่ก็ไม่ใช่เพราะว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งการกระทำมัน แต่เป็นเพราะว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทำการอธิบายไว้ในหะดิษแล้ว ที่เกี่ยวกับสิ่งที่จะนำมาปฏิบัติในละหมาดอีด โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กล่าวถึงการอะซาน จึงชี้ให้เห็นว่า การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้นิ่งจากการกล่าวมัน ก็ถือเป็นการไม่อนุญาติให้กระทำ ซึ่งตรงกับหลักเกณฑ์ทางนิติศาสตร์อิสลาม(อัลกออิดะฮ์)ที่ว่า

ان السكوت فى مقام البيان يفيد الحصر

"แท้จริง การนิ่ง ในสภาพที่จะต้องอธิบายนั้น ย่อมหมายถึงการจำกัดแค่นั้น"

และอัลกออิดะฮ์ หรือหลักการนี้ มีหะดิษหลายบทที่ชี้ถึงการห้ามถาม เมื่อมีการอธิบายแจกแจง

ท่าน อัล-บัซฺซฺาร ได้รายงานจาก อบี อัดดัรดาอ์ ว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวว่า

وما أحل الله فى كتابه فهو حلال وما حرم فهو حرام ، وما سكت عته فهو عفو ، فأقبلوا من الله عافيته ، فإن الله لم يكن لينسى شيئا ، ثم تلا وما كان ربك نسيا
قال البزار : إسناده صالح، وصححه الحاكم

"สิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงอนุมัตในคำภีร์ของพระองค์นั้น คือสิ่งที่หะลาล และสิ่งที่พระองค์ทรงห้ามนั้น คือสิ่งที่หะรอม และสิ่งที่พระองค์ทรงนิ่งจากมัน ย่อมเป็นการอนุโลมให้ ดังนั้น พวกท่านตอบรับการผ่อนปรนของพระองค์เถิด เพราะแท้จริงแล้ว อัลเลาะฮ์ไม่ทรงเคยลืมเลย จากนั้นท่านร่อซูลได้อ่านอายะฮ์ที่ว่า"และพระผู้อภิบาลของเจ้านั้น ไม่ทรงลืม" ท่านอัล-บัซฺซฺารกล่าวว่า หะดิษนี้ ดี และท่านหะกิมถือว่า หะดิษนี้ซอฮิหฺ

ท่านอัดดาร่อกุฏนีย์ ได้รายงานจาก ท่านอบี ษะอฺละบะฮ์ อัลค่อชะนีย์ จากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ท่านกล่าวว่า

إن الله فرض الفرائض فلا تضيعوها ، وحد حدودا فلا تعتدوها ، وحرم أشيياء فلا تنتهكوها، وسكت عن أشياء رحمة بكم من غير نسيان فلا تبحثوا عنها

"แท้จริง อัลเลาะฮ์ทรงกำหนดบรรดาฟัรดูแล้ว ดังนั้นพวกเจ้าอย่าละเลยมัน และพระองค์ทรงวางขอบเขตต่างๆไว้ ดังนั้นพวกเจ้าก็อย่าละเมิดมัน และพระองค์ทรงห้ามประการต่างๆ ดังนั้น สูเจ้าก็อย่าละเมิดมัน และพระองค์ทรงนิ่งจากบรรดาประการต่างๆ ก็เพราะเป็นความเมตตาต่อพวกเจ้า โดยที่ไม่ทรงลืมเลย ดังนั้นพวกเขาก็อย่าพิเคราะห์(ถาม)ถึงมันเลย"

เราลองมาพิจารณาบางจุดยืนของท่านนบี(ซ.ล.) ที่มีต่อการกระทำของซอฮาบะฮ์ ในสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กระทำ เช่น หะดิษที่รายงานโดยอิมาม อัลบุคอรีย์ ในบทที่ว่าด้วยเรื่อง การอ่านสองซูเราะฮ์รวมกันในร่อกะอัตเดียว จากบทเรื่องการละหมาด รายงานจากท่านอะนัส(ร.ฏ.) ท่านกล่าวว่า

" มีชายคนหนึ่งจากชาวอันซอร ได้เป็นผู้นำละหมาดผู้คนในมัสยิดกุบาอ์ โดยที่ทุกครั้งที่จะเริ่มอ่านซูเราะฮ์ เขาจะทำการเริ่มอ่านقل هو الله أحد ก่อนจนกระทั้งเสร็จ แล้วก็ทำการอ่านซูเราะฮ์อื่น ซึ่งเขาได้กระทำเช่นนั้นในทุกร่อกะอัต ดังนั้น บรรดามิตรสหายจึงได้กล่าวกับเขาว่า แท้จริง ท่านได้เริ่มอ่านซูเราะฮ์นี้ จากนั้น ท่านก็เห็นว่ามันยังไม่เพียงพอแก่ท่าน จนกระทั้งท่านอ่านซูเราะฮ์อื่นอีก ดังนั้น ท่านก็อ่านมัน(ซูเราะฮ์อะหัด) หรือไม่ต้องอ่านมัน โดยให้ท่านอ่านซูเราะฮ์อื่นเลย ชายผู้นั้นกล่าวว่า ฉันจะไม่ทิ้งการอ่านมัน หากพวกท่านชอบที่จะให้ฉันเป็นอิมามนำละหมาดละก็ ฉันก็จะทำแบบนี้ และหากพวกท่านรังเกียจ ฉันก็จะละจากพวกท่านไป แต่ว่าพวกเขามีความเห็นว่า ชายผู้นั้น เป็นผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกเขา และพวกเขาไม่ชอบที่จะเอาผู้อื่นมาเป็นอิมามนำละหมาด ดังนั้น เมื่อท่านนบี(ซ.ล.)มาเยี่ยมพวกเขา พวกเขาจึงเล่าเรื่องราวดังกล่าวแก่ท่านนบี(ซ.ล.) ท่านนบี(ซ.ล.)จึงกล่าวแก่ชายผู้นั้นว่า นี่ท่าน อะไรหรือที่มาห้ามท่าน ในการกระทำสิ่งที่บรรดามิตรสหายของได้ใช้ให้ท่านกระทำมัน? และอะไรคือสิ่งที่ทำให้ท่านต้องอ่านซูเราะฮ์นี้เป็นประจำในทุกๆร่อกะอัต?" ชายผู้นั้นกล่าวว่าตอบว่า"แท้จริง ฉันรักที่จะกระทำมัน" ดังนั้น ท่านนบี(ซ.ล.)จึงกล่าวว่า"การที่ท่านรักมันนั้น มันจะทำให้ท่านได้เข้าสวรรค์"

ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาซิครับ (ขอให้อัลเลาะฮ์ก็จะทรงชี้นำเราและท่าน) ซอฮาบะฮ์ท่านนี้ ได้กระทำในสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ละทิ้งโดยไม่เคยกระทำมัน แต่ท่านนบี(ซ.ล.)ก็ให้การยอมรับ และแจ้งข่าวดีแก่เขา ด้วยสาเหตุที่เขารักการกระทำอย่างนั้น ด้วยการเข้าสรวงสวรรค์

ท่านอิบนุหะญัรกล่าวว่า" หะดิษนี้ ชี้ถึง การกระทำของเขานั้น เป็นการเพิ่มเติม การกระทำของท่านนบี(ซ.ล.) ดังนั้น การแจ้งข่าวดีแก่เขาด้วยสวรรค์นั้น ย่อมชี้ถึงความพอใจของท่านร่อซูลุลเลาะอ์ที่มีต่อการกระทำของเขา และได้มีการถ่ายทอดคำกล่าวของ ท่านอิบนุมุนัยยิร ว่า เจตนาต่างๆนั้น จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงหุกุ่มการกระทำต่างๆได้ เพราะว่า หากผู้ชายคนนั้น กล่าวว่า" สิ่งที่ทำให้เขาต้องกลับไปอ่านมันซ้ำกันนั้น เพราะเขาไม่จำซูเราะฮ์อื่นจากนั้น ท่านนบี(ซ.ล.)ก็จะใช้ให้เขาทำการท่องจำซูเราะฮ์อื่นๆ แต่ชายผู้นั้น ให้เหตุผลว่า เพราะเขารักที่จะอ่านมัน ดังนั้น จึงปรากฏชัดถึงความถูกต้องจากเจตนารมณ์ของเขา ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)จึงถือว่ามีความถูกต้อง" ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม2 หน้า257

และบรรดาซอฮาบะฮ์ก็ได้กระทำสิ่งต่างๆ ที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ละทิ้ง และไม่เคยกระทำมัน และการกระทำของซอฮาบะฮ์นั้นย่อมเป็นแนวทางของศาสนา ที่เราถูกใช้ให้เจริญรอยตาม ดังนั้น การกระทำของพวกเขา ย่อมเป็นหลักฐาน ที่ชี้ให้เห็นว่า อนุญาติให้กระทำขกับสิ่งที่ถูกละทิ้งในยุคสมัยแรก โดยอยู่ในภายใต้รากฐานต่าง ๆ ของศาสนา และกฏเกนฑ์ทั่วไปแห่งนิติบัญญัติอิสลาม ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่บรรดาซอฮาบะฮ์ได้กระทำขึ้น จากบรรดาสิ่งต่างๆที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กระทำมัน เช่น

1. การอะซานครั้งแรกในวันศุกร์

รายงานโดยท่าน อัลบุคคอรีย์ จาก ท่าน อัลซาอิบ บิน ยะซีด เขากล่าวว่า

كان النداء يوم الجمعة أوله إذا جلس الإمام على المنبر على عهد النبي وإبي بكر وعمر رضي الله عنهما ، فلما كان عثمان
وكثر الناس زاد النداء الثالث على الزوراء

"การอะซาน ในช่วงแรกของวันศุกร์ นั้น เมื่ออิมามได้ทำการนั่งอยู่บนมิมบัร ในสมัยของท่าน นบี(ซ.ล.) ท่านอบูบักร และท่านอุมัร(ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา) แล้ว เมื่อมาถึงสมัยท่านอุษมาน บรรดาผู้คนก็มากขึ้น เขาจึงได้เพิ่มการอะซานครั้งที่3 ณ ที่อัลเซฺารออ์"

وروى ابن أبي شيبة عن ابن عمر قال : الأذان الأول يوم الجمعة بدعة

อิบนุชัยบะฮ์ได้รายงานจาก ท่านอิบนุอุมัร ท่านกล่าวว่า"การอะซานครั้งแรกในวันศุกร์นั้น เป็นบิดอะฮ์"

ท่านอิบนุหะญัรกล่าววิจารณ์ว่า

فيحتمل أن يكون قال ذلك على سبيل الإنكار ، ويحتمل أنه يريد أنه لم يكن في زمن النبي، وكل ما لم يكن في زمنه يسمى بدعة ، لكن منها ما يكون حسنا ومنها ما يكون بخلاف ذلك

"ดังนั้น อาจเป็นไปได้ว่า คำกล่าวของท่านอิบนุอุมัรดังกล่าวนี้ ได้กล่าวในลักษณะปฏิบัติ และอาจเป็นไปได้ว่าเขาหมายถึง มันเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) และทุกๆ สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ถูกเรียกว่า บิดอะฮ์ แต่ส่วนหนึ่งจากบิดอะฮ์นั้น มีบิดอะฮ์ที่ดี(คือบิดอะฮ์หะสะนะฮ์) และส่วนหนึ่งจากมัน ก็มีขัดแย้งกับสิ่งดังกล่าว" ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม4 หน้า345

ผมขอชี้แจงว่า ที่ถูกต้องนั้น คือประเด็นแรก(คือเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ตามทัศนะของท่านอิบนุอุมัร) เนื่องจาก เป็นไปไม่ได้ ที่ความหมายที่สอง จะถูกพาดพิงถึงท่านซัยยิดินาอุษมาน(ร.ฏ.) ซึ่งเหมือนกับจุดมุ่งหมายของเรื่องละหมาดดุฮา

2. เรื่องละหมาดดุฮา

รายงานโดย อิบนุอบีชัยบะฮ์ ด้วยสายรายงานที่ซอฮิหฺ จาก อัลหะกัม บิน อะอฺร๊อจฐฺ จากท่านอัลอะอฺร๊อจญฺ เขากล่าวว่า

سألت ابن عمرعن صلاة الضحى ؟ فقال : بدعة ونعمت البدعة

" ฉันได้ถาม ท่านอิบนุอุมัร จากเรื่องละหมาด ดุฮา ท่านอิบนุอุมัรกล่าวว่า มันเป็นบิดอะฮ์ และเป็นบิดอะฮ์ที่ดี" ดู อัลมุซันนัฟ ของอิบนุอบีชัยบะฮ์ เล่ม2 หน้า406 อัลมั๊วะญัม อัลกะบีร ของท่าน อัฏฏ๊อบรอนีย์ หะดิษที่13524 และฟัตหุลบารีย์ เล่ม3 หน้า45

ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ นี่คือ สองหลักฐานจากท่านอิบนุอุมัร(ร.ฏ.) ที่ชี้ถึงการแบ่งบิดอะฮ์ เป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ด้วย

ท่าน อับดุร ร๊อซฺซฺาก ได้รายงาน โดยสายรายงานที่ซอฮิหฺ จาก ซาลิมบินอับดิลลาฮฺ จากบิดาของเขา คือท่านอับดุลลอฮ์บุตรอุมัร ได้กล่าวว่า

لقد قتل عثمان وما أحد يسبحها وما أحدث الناس شيئا أحب إلي منها

"ขอสาบาน ว่าแท้จริง ท่านอุษมานถูกสังหารไปแล้ว โดยที่ไม่มีคนใดเลย ที่ได้ทำาการละหมาดดุฮา และไม่มีสิ่งใด ที่ผู้คนได้กระทำมันขึ้นมาใหม่ อันเป็นที่รักสำหรับข้าพเจ้ายิ่ง ไปกว่าละหมาดดุฮา" ดู อัลมุซอลนัฟ ของท่านอับดุรร๊อซฺซฺาก เล่ม3 หน้า78 หะดิษที่4868

และสายรายงานเหล่านี้ ท่านอิบนุหะญัร ได้ยืนยันความซอฮิหฺไว้(ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม3 หน้า52)

ท่านผู้อ่านครับ เราไม่ขอกล่าวถึงหุกุ่มละหมาดดุฮาโดยรวม แต่เราขอพิจารณาคำพูดของ ท่านอิบนุอุมัร(ร.ฏ.) ที่กล่าวว่า การละหมาดดูฮา เป็นบิดอะฮ์ที่ดี และนั่นคือ ความเข้าใจของท่านอิบนุอุมัร ที่เกี่ยวกับ"บิดอะฮ์"

แต่หากว่า ผู้คัดค้าน กล่าวว่า การกระทำของพวกเขานั้น เป็น ซุนนะฮ์ ซึ่งไม่เรียกว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ แต่เรียกมันว่า ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์ เราก็ขอกล่าวว่า จากคำพูดของนักปราชน์ว่า

لا مشاحة فى الإصطلاحات

" ไม่มีการขัดข้องกัน ในเรื่องการให้คำศัพท์"

ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่ที่ดี และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือ สิงที่กระทำขึ้นมาใหม่ที่ดี จะเรียกอย่างไรก็ได้ครับ


3. ท่านอิบนุอุมัรได้เพิ่มในตะชะฮุด

ท่านอบูดาวูดได้รายงานจากท่านอิบนุอุมัร จากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) เกี่ยวกับการอ่านตะชะฮุด ว่า

التحيات لله الصلوات الطيبات السلام عليك أيها النبى ورحمة الله وبركاته - قال ابن عمر : زدت فيها : وبركاته - السلام علينا وعلى عباد الله الصالحين، أشهد أن لا إله إلا الله - قال عمر : زدت فيها : وحده لا شريك له - وأشهد أن محمدا عبده وسوله

ดู หนังสืออธิบายสุนันของท่านอบีดาวูด ที่ชื่อว่า บัซฺลุลมัจญฺฮูด เล่ม 5 หน้า 293 - 294

ท่านผู้อ่านโปรดทำความเข้าใจกับเราดังนี้ครับ "ท่านอิบนุอุมัร (ขอโปรดพระองค์อัลเลาะฮ์ทรงพึงพอพระทัยต่อเขาและบิดดาของเขาและประทานความพึงพอพระทัยต่อเขาและบิดาของเขาด้วยเถิด) ได้ทำการรายงาน การอ่านตะฮียาตของท่านนบี(ซ.ล.)ซึ่งมันเป็นเรื่องอิบาดะฮ์ แต่ท่านอิบนุอุมัร ซึ่งเป็นซอฮาบะฮ์ที่เคร่งครัดในการเจริญรอยตามท่านนบี(ซ.ล.)อย่างมากท่านหนึ่งจากบรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหลาย แต่ท่านอิบนุอุมัร ก็ทำการเพิ่มเรื่องอิบาดะฮ์ขึ้นมาด้วยตัวท่านเอง เช่นท่านอิบนุอุมัรกล่าวว่า "ฉันเพิ่มในตะฮียาดกับคำว่า "วะบะรอกาตุฮู" และฉันเพิ่มคำว่า "วะหฺดะฮู ลา ชะรีกะละฮ์"

ท่านอิบนุอุมัรได้เพิ่มถ้อยคำในการอ่านตะชะฮุด โดยที่ไม่ได้รู้ว่ามีหลักฐานที่นบีสั่งใช้ แต่การกระทำของท่านอิบนุอุมัรนี้ก็ไม่มีผู้ใดหุกุ่มเป็นบิดอะฮ์

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ความสัมพันธ์ระหว่างซุนนะฮ์และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์

เราลองมาทำความเข้าใจ ความสัมพันธ์กันระหว่าง ซุนนะฮ์ กับ บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ หรือ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์
อุลามาอ์ อุศูลุลฟิกห์ ได้ให้ความหมายของ "ซุนนะฮ์" ว่า

ما صدر عن النبى صلى الله عليه وسلم من قول أو فعل أو تقرير

"สิ่งที่ออกมาจาก ท่านนบี(ซ.ล.) จากคำพูด การกระทำ หรือการยอมรับ"

ดังนั้น ซุนนะฮ์จึงแบ่งออกเป็น3 ประเภทใหญ่ๆ

1. ซุนนะฮ์ในเชิงการกระทำالسنة الفعلية

2. ซุนนะฮ์ในเชิงคำพูดالسنة القولية

3. ซุนนะฮ์ในเชิงการยอมรับالسنة التقريرية

ผมขออธิบายถึง ในการกล่าวอธิบายถึง ซุนนะฮ์ในเชิงการยอมรับเลย ซึ่งซุนนะฮ์ในเชิงการยอมรับก็คือ การที่ท่านนบี(ซ.ล.) ให้การยอมรับต่อการกระทำของซอฮาบะฮ์บางท่าน ไม่ว่าจะเป็น คำพูด หรือการกระทำ ท่านนบี(ซ.ล.)จะยอมรับ ด้วยการนิ่ง ไม่ปฏิเสธ หรือ มีความเห็นพร้อง หรือแสดงออกให้รู้ว่า เป็นสิ่งที่ดี ดังนั้น สิ่งที่ถูกพิจารณาว่า เป็นการยอมรับ หรือเป็นความเห็นพร้องจากท่านนบี(ซ.ล.) ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ออกมาจากตัวของท่านนบี(ซ.ล.) ด้วยเช่นเดียวกัน(ดู อุซูลุลฟิกหฺ ของท่าน อับดุลวะฮาบ คอลลาฟ หน้า36 )

ดังนั้น การยอมรับจากท่านนบี(ซ.ล.) ย่อมเป็นหลักฐาน ที่ชี้ถึง การอนุญาติให้กระทำสิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)ให้การยอมรับ จากสิ่งที่ไม่ได้มาพร้อมกับหลักฐาน ที่ชี้ถึงสุนัต หรือ วายิบ

ฉะนั้น สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.) ให้การยอมรับก็คือ สิ่งที่ไม่ได้มีหลักฐานระบุในการกระทำมาก่อน

ความสัมพันธ์ระหว่าง ซุนนะฮ์ และ บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ นั้น มีความชัดเจนในตัวของมัน แต่กระนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่ผู้รู้ทั่วไปไม่ค่อยจะตระหนักกันมากนัก

ดังนั้น เราจึงขอกล่าวว่า ซุนนะฮ์ในเชิงการยอมรับนั้น หมายถึง การที่ซอฮาบะฮ์ได้กล่าวคำพูดหนึ่ง หรือ ได้กระทำการใดขึ้นมา ที่ริเริ่มมาจากตัวของเขาเอง โดยที่ไม่มี สายรายงาน หรือที่มา มายืนยัน ไม่ว่าจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ หลังจากนั้น เรื่องดังกล่าวก็ล่วงรู้ไปถึงท่านนบี(ซ.ล.) แล้วท่านนบี(ซ.ล.) ได้นิ่ง อีกทั้งไม่ให้การปฏิเสธ หรือท่านนบี(ซ.ล.)ให้การยอมรับต่อคำพูดและการกระทำจากซอฮาบะฮ์ท่านนั้นๆ หรือแสดงความยินดี โดยขอดุอาอฺให้กับผู้ที่กระทำ และอื่นๆอีก จากสิ่งที่นบี(ซ.ล.)ได้ล่วงรู้ จากคำพูดหรือการกระทำของซอฮาบะฮ์ ที่ไม่มีอัลกุรอานและซุนนะฮ์มาระบุ เพราะฉะนั้น ดังกล่าวจึงกลับกลายเป็นซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.)อันมีเกียรติสำหรับประชาชาติอิสลาม อันเนื่องจากการยอมรับของท่านนบี(ซ.ล.)นี้นั่งเอง

ดังนั้น ผู้ที่ได้พิเคราะห์ด้วยตาใจที่เป็นธรรม ต่อสิ่งดังกล่าวมานั้น เขาก็จะรู้ว่า ซุนนะฮ์ในเชิงการยอมรับ มีองค์ประกอบที่สำคัญต่อไปนี้

1. ซอฮาบะฮ์ที่มีเกียตริท่านหนึ่ง ได้กระทำสิ่งหนึ่งขึ้นมาใหม่ ที่ไม่เคยมีหลักฐานมาก่อน

2. เรื่องราวดังกล่าว ทราบไปถึงท่านนบี(ซ.ล.)

3. ท่านนบี(ซ.ล.)ให้การยอมรับในสิ่งดังกล่าว

จากสิ่งดังกล่าวนี้ มันย่อมประจักษ์แก่เราแล้วครับ ว่าความเข้าใจหรือความสัมพันธ์ระหว่าง ซุนนะฮ์ในเชิงการยอมรับและบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่แฟ้นเลยทีเดียว โดยที่ซุนนะฮ์ในเชิงการยอมรับนั้น รากฐานเดิมของมันก็คือการอุตริกระทำสิ่งหนึ่งขึ้นมาโดยซอฮาบะฮ์ จากนั้น เรื่องดังกล่าวก็ทราบถึงท่านนบี(ซ.ล.) แล้วท่านนบี(ซ.ล.)ก็ให้การยอมรับและอนุญาติให้กระทำมันได้ เพราะฉะนั้น หากว่าทุกๆบิดอะฮ์ในศาสนานั้น เป็นสิ่งที่ลุ่มหลงหรือหลงผิด โดยที่ไม่อนุญาติให้กระทำมันแล้ว แน่นอนว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ก็ต้องให้การปฏิเสธหรือทำการตำหนิ ทุกๆการกระทำขึ้นมาเองของซอฮาบะฮ์ ที่ไม่มีอัลกุรอานและซุนนะฮ์มาระบุให้พวกเขาทำมัน

แต่ผู้ที่พิจารณาด้วยตาใจที่เป็นธรรม เกี่ยวกับซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เขาจะพบว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ให้การยอมรับบรรดาซอฮาบะฮ์ ต่อบรรดาคำกล่าวหรือการกระทำอันมากมาย ที่บรรดาซอฮาบะฮ์ได้อุตริ ริเริ่มการกระทำขึ้นมาเอง โดยประการเหล่านั้นได้ อยู่ภายใต้ หลักการของศาสนา หรือหวนกลับไปยัง (อัลกออิดะฮ์ อัชชัรอียะฮ์) หลักเกนฑ์หรือหลักการต่างๆของศาสนา

เราลองมาดูตัวอย่างกันครับ

1. ได้รายงานโดยอิมาม บุคอรีย์และมุสลิม จากสายรายงานที่ถึงท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า กับท่านบิลาล ในตอนเวลาละหมาดซุบหฺ ว่า

يا بلال حدثنى بأرجى عمل عملته فى الإسلام فإنى سمعت دف نعليك فى الجنة ، قال : ما عملت عملا أرجى عندى أنى لم أتطهر طهورا قط فى ساعة من ليل أو نهار إلا صليت بذلك الطهور ما كتب لى

" โอ้ บิลาล ท่านจงบอกฉันซิว่า อะมัลใด ที่ท่านได้ปฏิบัติในอิสลาม ที่ท่านหวังกับมันที่สุด เนื่องจาก ฉันได้ยินเสียงก้าวเดินของรองเท้าสองข้างของท่านในสรวงสวรรค์ ท่านบิลาลกล่าวว่า ตามทัศนะของฉันแล้ว ฉันไม่หวังอะมัลใดยิ่งไปกว่า การที่แท้จริงฉันนั้น ไม่เคยทำการอาบน้ำวุดุอฺใดเลย ไม่ว่าในเวลาใด จากค่ำคืน หรือกลางวัน นอกจากเสียว่า ฉันจะทำการละหมาด ด้วยกับวุดุอฺนั้น(คือละหมาดหลังจากอาบน้ำละหมาด) ตามที่ได้ถูกกำหนดให้แก่ฉัน"

ท่านอิบนุหะญัรกล่าวว่า"ได้รับประโยชน์จากหะดิษนี้ ก็คือ อนุญาติให้ทำการวินิจฉัย เรื่องการกำหนดเวลาของการทำอิบาดะฮ์ได้ เพราะท่านบิลาลนั้น ได้เข้าถึง(การกระทำ)ดังกล่าว ด้วยการวินิจฉัย ดังนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ก็ให้การรับรองความถูกต้องแก่ท่านบิลาล" ดู ฟัตหุบารีย์ เล่ม3 หน้า344

ท่านผู้อ่านครับ โปรดพิจารณาการกระทำของท่านซัยยิดินา บิลาล(ร.ฏ.) ซึ่งท่านได้ทำการริเริ่มกระทำอิบาดะฮ์หนึ่งขึ้นมาด้วยตัวของท่านเอง โดยที่ไม่มีตัวบทจากอัลกุรอานและคำสั่งใช้ของท่านนบี(ซ.ล.) มาจำเพาะเจาะจงกับมันเลย และท่านบิลาลก็กระทำอิบาดะฮ์ดังกล่าวอย่างเป็นประจำในช่วงเวลาหนึ่ง โดยที่ไม่ได้หวนกลับไปยังร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) จนกระทั้ง การกระทำอิบาดะฮ์ดังกล่าว ได้รับการตอบรับจากอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) โดยเป็นสาเหตุให้ท่านบิลาลได้เข้าสรวงสวรรค์ ดังนั้นการละหมาด สองร่อกะอัตหลังอาบน้ำละหมาด จึงมีฐานันดรที่ยิ่งใหญ่ จนท่านนบี(ซ.ล.)ได้ให้การยอมรับ อิบาดะฮ์ที่ท่านบิลาลริเริ่มกระทำมันขึ้นมาเอง และการกระทำของท่านบิลาลก็กลับกลายไปซุนนะฮ์ที่ท่านนบีให้การรับรองให้กับอุมมะฮ์ประชาชาติอิสลาม และที่สำคัญคือ การกระทำของท่านซัยยิดินาบิลาลก่อนหน้านั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ยังมิได้ให้การยอมรับเลย อัลเลาะฮ์ก็ทรงแจ้งข่าวดีได้เข้าสวรรค์เสียแล้ว

2. รายงานโดยท่าน อัล-บุคอรีย์ จากท่านริฟาอะฮ์ บิน รอฟิอฺ เขากล่าวว่า

كنا نصلى وراء النبى صلى الله عليه وسلم، فلما رفع رأسه من الركعةقال ( سمع الله لمن حمده ) قال رجل وراءه : ربنا لك الحمد حمدا كثيرا طيبا مباركا فيه ، فلما إنصرف قال : ( من المتكلم ) ؟ قال : أنا : قال : رأيت بضعة وثلاثين ملكاً يبتدرونها أيهم يكتبها

" เราได้ทำการละหมาด ตามหลังท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ดังนั้น ในขณะที่ท่านร่อซูลได้เงยศรีษะของท่านจากการร่อกั๊วะ ท่านร่อซูลกล่าวว่า(สะมิอัลลอฮุลิมันหะมิดะฮ์) มีชายคนหนึ่งกล่าวหลังจากนั้นว่า"ร๊อบบะนาละกัลหัมดุ หัมดัน กะษีร๊อน ฏัยยิบัม มุบาร่อกัง ฟีฮฺ" ดังนั้น เมื่อท่านร่อซูลละหมาดเสร็จแล้วหันหน้ามาถามว่า"ใครที่คือผู้ที่กล่าว(อย่างนั้น)" ชายผู้นั้นกล่าวว่า"ฉันเองครับ" แล้วท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ก็กล่าวว่า" ฉันได้เห็นบรรดามะลาอิกะฮ์30 กว่าท่าน แย่งกันบันทึกถ้อยคำกล่าวนั้น ไม่รู้ว่ามะลาอิกะฮ์ท่านใหนได้บันทึกกับมันก่อน"

ท่านอิบนุหะญัรกล่าวว่า"หะดิษนี้ เป็นหลักฐานชี้ว่า อนุญาติให้ประดิษฐ์การซิกิรขึ้นมาได้ในละหมาดซึ่งเป็นซิกิรที่ไม่ได้มาจากท่านนบี(ซ.ล.) หากมันไม่ขัดแย้งกับ สิ่งที่ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวไว้" ดู ฟัตหุบารีย์ เล่ม2 หน้า287

ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาไปกับเราครับ ซอฮาบะฮ์ท่านหนึ่งได้ทำการ ประดิษฐ์ซิกิรขึ้นมาด้วยตัวเอง ซึ่งท่านร่อซูลไม่เคยสอนสั่งเอาไว้ แต่ก่อนที่ท่านร่อซูลจะให้การยอมรับนั้น บรรดามะลาอิกะฮ์ก็แย่งกันจดบันทึกความดีนั้นแล้ว ดังนั้น เราลองตั้งคำถามซิครับว่า ทำไมสิ่งที่ซอฮาบะฮ์ท่านนั้น ได้ทำอิบาดะฮ์หนึ่งที่ไม่ได้มีคำสั่งใช้มาก่อนเลย แต่บรรดามะลาอิกะฮ์ถึงกับแย่งกันจดความดีนั้น คำตอบก็คือ เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ขัดกับหลักการของศาสนาและก็ตั้งอยู่บนรากฐานของศาสนาโดยรวม

3. ได้มีรายงานไว้ในซอฮิหฺมุสลิม จากท่าน อิบนุอุมัร(ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา) ท่านกล่าวว่า

"ในขณะที่เราทำการละหมาดพร้อมกับท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ทันใดนั้น มีชายคนหนึ่งกล่าวว่า


الله أكبر كبيرا، والحمد لله كثيرا، وسبحان الله بكرة وأصيلا


ดังนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) จึงกล่าวว่า"ใครคือผู้ที่กล่าวถ้อยคำแบบนี้" ชายคนหนึ่งกล่าวว่า"ฉันเอง โอ้ท่านร่อซุลุลเลาะฮฺ" ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า"ฉันประทับใจมัน บรรดาประตูแห่งฟากฟ้าได้เปิดให้กับมัน(ถ้อยคำนั้น) " ท่านอิบนุอุมัรกล่าวว่า"ดังนั้น ฉันก็ไม่เคยทิ้งการกล่าวถ้อยคำเหล่านั้นเลย ตั้งแต่ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลเลาะฮ์กล่าว(รับรอง)ดังกล่าวนั้น" ดู ชัรหฺ ซอฮิหฺมุสลิม เล่ม5 หน้า97 - 98

ท่านผู้อ่านที่มีเกียตริครับ โปรดมาพิจารณากับเราต่อไปว่า อิบาดะฮ์จากถ้อยคำซิกิรดังกล่าวนั้น บรรดาประตูแห่งฟากฟ้าได้ทำการเปิดให้แก่มัน โดยที่ถ้อยคำซิกิรดังกล่าว เป็นถ้อยคำที่ซอฮาบะฮ์ท่านหนึ่งได้ประพันธ์มันขึ้นมาด้วยตัวเขาเอง โดยที่ไม่มีอัลกุรอานหรือซุนนะฮ์ใด ได้สั่งใช้ให้กล่าวอย่างนั้น หลังจากนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ก็ได้ให้การยอมรับ จนกระทั้งมันกลายเป็นซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.) และ ท่านอิบนุอุมัรก็นำมายึดปฏิบัติ หลังจากท่านอิบนุอุมัรนั้น บรรดาประชาชาติอิสลามก็นำมาเจริญรอยตามเช่นเดียวกัน

นั่นคือหลักฐานเล็กๆ น้อยๆ ที่เราได้นำเสนอ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า ซุนนะฮ์ของท่านซัยยิดินา มุหัมมัด(ซ.ล.) ในการเผชิญกับ สิ่งที่อุตริทำขึ้นมาใหม่นั้น แท้จริงก็คือซุนนะฮ์ของท่านนบี(ซ.ล.)นั่นเองซึ่งท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้ทำการปฏิเสธมันเสียทั้งหมด แต่บางอย่างที่ริเริ่มกระทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นสิ่งที่ถูกตอบรับ ยิ่งไปกว่านั้น มันยังได้รับความพึงพอใจ จนกระทั้งมันกลับกลายเป็นความประเสริฐที่มีคุณค่าทางการปฏิบัติ หากมันสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของศาสนา (มะกอสิด อัชชะรีอะฮ์) ดังเช่นหะดิษที่เราได้ยกตัวอย่างแล้วข้างต้น แต่การกระทำบางอย่างของซอฮาบะฮ์ที่ได้อุตริกระทำขึ้นมาด้วยตัวพวกเขาเองนั้น ก็ได้รับการตำหนิและถูกประเสธ เนื่องจากมันขัดกับ เจตนารมณ์ ของศาสนา (มะกอสิด อัชชะรีอะฮ์) อีกทั้งยังให้ผลประโยชน์ และได้ขัดกับตัวบทต่างๆ ของศาสนา เช่นท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการตำหนิคนกลุ่มหนึ่ง ที่ได้ถามพระนางซัยยิดะฮ์ อาอิชะฮ์(ร.ฏ.) เกี่ยวกับตัวท่านนบี(ซ.ล.) แล้วพวกเขาต่างก็กล่าวถึงความเข้มงวดของพวกเขา โดยกล่าวว่า พวกเขาทำการถือศีลอดตลอดทั้งปี บางคนกล่าวว่า ฉันขอปลีกตัวเองจากการแต่งงานกับสตรี บางคนกล่าวว่า ฉันได้ทำการละหมาดตลอดทั้งคืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ถือว่า เป็นการเคร่งครัดจนเกินไป ซึ่งมันขัดกับรัตถะหรือแก่นแท้ของศาสนาอิสลาม ที่ดำเนินอยู่บนหนทางที่สะดวกอีกทั้งมีการผ่อนปรน

และท่านผู้ลองมาทำการสังเกตุและพิเคราะห์กับเราต่อไปว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ผู้มีเกียตริทั้งหลายนั้น พวกเขาต่างมีความเข้มงวดอย่างยิ่งในการเจริญรอยตามท่านร่อซุลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ไม่ว่าจะเป็นคำพูดหรือการกระทำของท่าน แต่บรรดาซอฮาบะฮ์ก็ไม่ได้เข้าใจว่า"ทุกๆ สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง" แต่ดังที่เราได้รู้มาจากข้างต้นนั้น เราจะพบว่า บรรดาซอฮาบะฮ์ได้กระทำอิบาดะฮ์ ที่ไม่เคยมีอัลกุรอานและซุนนะฮ์มาระบุก่อนเลย และการที่พวกเขาได้กระทำการดังกล่าวอย่างนั้น ก็เนื่องจากพวกเขา รู้และเข้าใจว่า เจตนารมณ์ของศาสนา(มะกอสิด อัชชะรีอะฮ์) นั้นกว้างขวาง(ไม่เข้าใจแบบแคบๆแล้วหุกุ่มทัศนะอื่นทำบิดอะฮ์) และบรรดาตัวบทต่างๆนั้น ก็ไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านเลย

หากมีผู้คัดค้านกล่าวว่า

"สิ่งดังกล่าวนั้น อนุญาติ ในสมัยของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)เท่านั้น เนื่องจากต่อไปท่านร่อซูลก็จะรับรู้ได้ ด้วยการบอกเล่าจากซอฮาบะฮ์ หรือด้วยการลงวะฮฺยุจากอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ดังนั้น หากว่ามันเป็นสิ่งที่อยู่ในทางนำ ท่านร่อซูลก็จะทำการยอมรับ และหากมันเป็นสิ่งที่ลุ่มหลง ท่านร่อซูลก็จะปฏิเสธ แต่สำหรับ หลังจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ได้เสียชีวิตไปแล้ว และวะฮฺยูก็ขาดตอนไปแล้วนั้น ก็ถือว่าไม่อนุญาติ"

เราขอตอบว่า

แท้จริง บรรดาซอฮาบะฮ์ผู้ทรงเกียรตินั้น ก็มีผู้ที่ได้กระทำบรรดาสิ่งต่างๆ ขึ้นมาใหม่ โดยไม่มีตัวบทมาระบุเจาะจงกับมันเลย ทั้งที่เขาก็ทราบดีว่า เขาจะไม่ได้เห็นท่านร่อซูลุลเลาะอ์(ซ.ล.)อีกเช่นเหตุการณ์ของท่าน ซัยยิดินา คุบัยบ์ บิน อะดีย์(ร.ฏ.) ซึ่งท่านได้ทำการละหมาด2 ร่อกะอัต ก่อนที่จะถูกสังหารโดยพวกกุฟฟาร ซึ่งท่าน อัล-บุคอรีย์รายงานว่า

فكان خبيب هو سن الركعتين لكل امرىء مسلم قتل صبرا

" ดังนั้น ท่านคุบัยบ์ คือผู้ที่ได้วางแนวทางขึ้นมา กับการกระทำละหมาด2 ร่อกะอัต ให้กับมุสลิมทุกคนที่ถูกสังหารแบบทรมาร"

ท่าน ชัยค์ ด๊อกเตอร์ มะหฺมูด อับบู๊ด ฮุรมูช ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่านว่า" ในเหตุการณ์นี้ ย่อมชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แท้จริง ท่านคุบัยบ์ นั้น ได้วินิจฉัย ในการกำหนดเวลาเกี่ยวกับเรื่องอิบาดะฮ์ โดยที่ไม่เคยมีคำสั่งใช้และแบบอย่างการปฏิบัติจากท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)มาก่อนเลย โดยที่ท่านคุบัยบ์ ก็ตระหนักดีว่า เขาจะต้องตาย ก่อนที่หลักการปฏิบัติจะถูกนำเสนอให้ท่านนบี(ซ.ล.)รับทราบ แต่พร้อมกันนั้น ท่านคุบัยบ์ ก็ทราบดีว่า จะไม่ได้เห็นท่านร่อซุลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)อีกแล้ว" ดู หนังสือ อัลบิดอะฮ์ วะ อะษะรุฮา ฟี อิคติลาฟ อัลอุมมะฮ์ หน้า58

ท่านผู้อ่านครับ ท่านซัยยิดินาคุบัยบ์ เป็นผู้ที่ลุ่มหลง และทำบิดอะฮ์ ด้วยการอุตริทำ การละหมาดสองร่อกะอัต โดยที่ท่านคุบัยบ์ไม่ทราบว่าท่านนบี(ซ.ล.)จะให้การยอมรับกับการละหมาดสองระกะอัตนั้นหรือไม่? ซึ่งความจริงนั้น ท่านคุบัยบ์ไม่ใช่เป็นเช่นนั้นอย่างแน่นอน แต่ท่านคุบัยบ์ เป็นผู้ที่มีคุณธรรม อีกทั้งเป็นผู้ที่ตายชาฮีด(มรณะสักขี) ซึ่งท่านร่อซุลลุลเลาะฮ์ได้กล่าว ตอบรับคำฝากสลามของท่าน คุบัยบ์ว่า

وعليك السلام يا خبيب قتلته قريش

"ความสันติจงมีแด่ท่าน โอ้คุบัยบ์ ที่พวกกุเรชได้ฆ่าสังหารเขา" (ดู ฟัตหุลบารีย์ เล่ม7 หน้า384)

ดังนั้น หากแม้ว่าท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้เสียชีวิตไปแล้ว และวะหฺยูได้สิ้นสุดไปแล้วก็ตาม แต่บรรดาตัวบทต่างๆ ของอัลกุรอานและซุนนะฮ์ ก็ยังคงอยู่ และยังคงถูกรักษาบันทึกอยู่ อัลหัมดุลิลาห์... และหลักการต่างๆของศาสนา (เกาะวาอิดชัรอียะฮ์)ก็ยังคงอยู่ และเป้าหมายหรือเจตนารมณ์ของศาสนา (มะกอสิด อัชชะรีอะฮ์) ก็ยังคงอยู่ อีกทั้งเป็นที่ทราบกันดี ว่าเราสามารถนำมันมาเป็นมาตราวัดได้กับ ทุกๆ สิ่งที่เกิดขึ้นหรือกระทำที่เกิดขึ้นมาใหม่ได้ ซึ่งหากมันอยู่ในกรอบและตั้งอยู่บนมาตรฐานของศาสนาแล้ว ก็ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ดี แต่หากว่ามันขัดกับหลักการของศาสนา ก็ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง(วัลอิยาซุบิลลาห์) และเราขอบอกว่า บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้นต้องมีเงื่อนไข กฏเกนฑ์ ตามหลักศาสนา และมันก็ต้องถูกนำมาวางบนมาตรฐานของ อัลกุรอานและซุนนะฮ์ ซึ่งเงื่อนไขและกฏเกณฑ์ต่างๆเหล่านั้น ผมจะนำมันมาเสนอในคราวต่อไป อินชาอัลเลาะอ

 

GoogleTagged