ผู้เขียน หัวข้อ: อาณาจักรอิสลาม ภายใต้เคาะลีฟะฮฺ อุมัร อัลฟารูก  (อ่าน 3452 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป

 salam

    ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันว่า เหตุใดอุมัรฺ จึงได้รับฉายาว่า "อัล-ฟารูก"

อุมัรได้ฉายาว่า "อัล ฟารูก"

          การเข้ารับอิสลามของอุมัรฺได้ทำให้อิสลามมีความเข้มแข็งขึ้น  ซึ่งก่อนหน้านี้  มุสลิมมีชีวิตอยู่ด้วยความหมาดกลัวบรรดาผู้ต่อต้านอิสลามมาตลอด  และส่วนใหญ่จะปิดบังความศรัทธาของตัวเองไว้  แต่ตอนนี้  มสลิมสามารถที่จะทำนมาซได้อย่างเปิดเผยแล้ว  เมื่ออุมัรฺเข้ารับอิสลาม  เขาได้ประกาศความศรัทธาของเขาอย่างเปิดเผยต่อพวกหัวหน้าชาวกุเรช  ถึงแม้คนพวกนี้จะไม่พอใจอุมัรฺ  แต่พวกเขาก็ไม่สามารถทำอะไรอุมัรฺได้  หลังจากนั้น  อุมัรฺก็ขอให้ท่านนบี  sallallah นมาซในกะอฺบะฮฺ  เมื่อได้รับการยินยอมจากท่านนบี ศ.ล. อุมัรฺก็ได้นำมุสลิมไปยังสถานที่แห่งนั้น (ที่กะอฺบะฮฺ)  ฮัมซะฮฺซึ่งรับอิสลามก่อนหน้าอุมัรฺไม่กี่วันก็นำมุสลิมอีกกลุ่มหนึ่งมายังกะอฺบะฮฺด้วย  เมื่อมุสลิมทั้งหมดมารวมกันที่นั่นแล้ว  พวกเขาก็ได้นมาซร่วมกัน  นี่เป็นครั้งแรกที่ท่านนบีมุหัมมัด  sallallah  ได้นำการนมาซร่วมกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของอิสลาม  เพราะการกระทำที่กล้าหาญของอุมัรฺนี่เอง  ที่ท่านนบีมุฮัมมัด  sallallah ได้ให้ฉายาท่านว่า  "อัล-ฟารูก" ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้แบ่งแยกระหว่างความถูกต้องกับความผิด" (หรือ "ผู้แยกความจริงออกจากความเท็จ" นั่นเอง)

ความประเสริฐของอุมัรฺ และการรับใช้อิสลามของท่าน

          อุมัรฺมีความรักอันยิ่งใหญ่ในอัลเลาะฮฺและนบีย์ของพระองค์  อุมัรฺเข้าร่วมสงครามครั้งใหญ่เกือบทุกครั้ง  เช่น  สงครามบะดัรฺ, สงครามอุหุด, สงครามอะห์ซาบ, สงครามค็อยบัรฺ, สงครามหุนัยน์  เป็นต้น  ในการเดินทางทัพไปยังตะบู๊ก  เขาได้เสียสละทรัพย์สินของเขาครึ่งหนึ่งไป  เพื่อการต่อสู้ในหนทางของอัลเลาะฮฺ ซ.บ.  เขาเป็นรองไปจากอบูบักรฺในเรื่องการเสียสละทรัพย์สินของตนในหนทางของพระองค์อัลเลาะฮฺ ซ.บ.
         ท่านนบีมุหัมมัด  sallallah รักอุมัรฺเป็นอย่างมากจนถึงกับครั้งหนึ่งท่านได้กล่าวว่า  "หากเป็นไปได้ที่จะมีนบีย์คนหนึ่งมาหลังจากฉันแล้ว  เขาผู้นั้นก็น่าจะเป็นอุมัรฺ" นอกจากนั้นแล้ว  ยังมีรายงานว่า  ครั้งหนึ่งท่านนบีย์ได้กล่าวว่า  "ในหมู่ชาวบนีอิสรออีลนั้น  มีหลายคนที่มิได้เป็นนบีย์  แต่ว่าได้พูดกับอัลเลาะฮฺ  ถ้าหากว่าในหมู่คนของฉันจะมีคนเช่นนั้นบ้าง  คนผู้นั้นก็น่าจะเป็นอุมัรฺ"         เมื่อตอนที่นบีย์มุหัมมัดเสียชีวิตนั้น  อุมัรฺได้รับความสะเทือนใจเป็นอย่างมาก  เขาไม่เชื่อจนกระทั่งอบูบักรฺได้นำเอา (อายะฮฺ) กุรฺอานตอนหนึ่งมาเตือนเขาถึงเรื่องนี้  หลังจากนั้น  เขากับอบูบักรฺได้ไปยังสภาที่ปรึกษา  ซึ่งประชาชนแห่งนครมาดีนะฮฺใช้เป็นที่ประชุมกัน (เพื่อ) เลือกตั้ง (แต่ง) เคาะลีฟะฮฺคนแรก  อุมัรฺเป็นคนแรกที่ให้สัตย์ปฏิญาณ (บัยอะฮฺ) ว่าจะจงรักภักดีต่ออบูบักรฺ  และหลังจากนั้น (เขา) ก็ได้ช่วยอบูบักรฺมาตลอดระยะเวลาแห่งการเป็นเคาะลีฟะฮฺของท่าน

           ฉบับนี้เอาแค่นี้ก่อนนะครับ  2hand 2handเดียวฉบับหน้า เรามาดูกันว่า เคาะลีฟะฮฺคนที่สองแห่งอิสลามคนนี้นั้น  ได้มีคุณูปะการอะไรบ้างต่ออิสลาม  myGreat:   :inshallah ขอให้ติดตามไปเรื่อยๆ นะครับ  มีอะไรติจากการนำเสนอ  bad: ติมาได้เลยนะครับ fouet:   ;D  (มือใหม่ อ่อนหัด)

วัสสลามุ อลัยกุม

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
  salam

      มาแล้วคร้าบ ตอนที่ 2

การขึ้นเป็นเคาะลีฟะฮฺคนที่ 2 แห่งอาณาจักรอิสลาม

              ในระหว่างที่ (อบูบักรฺ) ล้มป่วย  อบูบักรฺ เคาะลีฟะฮฺคนแรก (ภายหลังวะฟาตฺ (เสียชีวิต) ของท่านเราะซูลลุลเลาะฮฺ ศ.ล.) ได้ปรึกษา (กับ) ที่ประชุมเกี่ยวกับเคาะลีฟะฮฺคนต่อไป  ท่านเห็น (สมควร) ว่าอุมัรฺเป็นผูที่เหมาะสม (สำหรับตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺ)
              (ภายหลังจากนั้นไม่นาน) เมื่อเคาะลีฟะฮฺอบูบักรฺ ได้เสียชีวิตลงในวันที่ 22 เดือนญุมาดา อัซซานีย์ (เดือนที่ 5 ตามปฏิทินอิสลาม ในระบบจันทรคติ) ฮ.ศ. ที่ 13  (ซึ่งตรงกับปฏิทินสากล คือ) 23 สิงหาคม ค.ศ. 634
               อุมัรฺก็ได้ปฏิบัติตามแนวทางและนโยบายของท่านนบีมุหัมมัด ศ.ล.อย่างกล้าหาญ  ด้วยการปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านนบีมุหัมมัด ศ.ล.อย่างเคร่งครัดนี้เองที่ช่วยให้เขาเอาชนะอาณาจักรยิ่งใหญ่แห่งเปอร์เซียและไบแซนตินลงได้  (นับเป็นชนะอันยิ่งใหญ่ของอิสลาม ไม่ใช่เรื่องผิดแต่ประการใด หากจะกล่าวว่า) ยุคสมัยของเคาะลีฟะฮฺอุมัรฺ จึงถือเป็นยุคทองของอิสลาม

               ต่อไปนี้จะเป็นเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในขณะที่อุมัรฺเป็นเคาะลีฟะฮฺปกครองอาณาจักรอิสลาม................

                      เป็นไงบ้างครับเริ่มตื่นเต้นขึ้นมาทุกที หลายคนคงอยากจะทราบแล้วใช่ไม๊ครับว่า เหตุใดยุคของอุมัรฺนั้น บรรดานักประวัติศาสตร์ทั้งหลายนั้น ต่างลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า ถือเป็นยุคทองของอิสลาม เพราะเป็นยุคที่อิสลามได้ขจรขจายได้ยังนอกเขตของแหลมอารเบีย และในยุคนี้เอง มหาอำนาจยิ่งใหญ่ของโลกยุคนั้นคือ อาณาจักรเปอร์เซีย (มะญูซีย์ หรือพวกบูชาไฟ ปัจจุบันคือ บริเวณประเทศอิหร่าน) และ อาณาจักรไบแซนติน (ทายาทแห่งโรม ภายใต้การปกครองแบบระบอบคริสต์เตียน มีศูนย์การปกครองที่ "กรุงคอนสแตนติโนเปิล" หรือ เมือง "อิสตัมบูล", ตุรกีในปัจจุบัน) ทั้งอาณาจักรนับเป็นอาณาจักรที่มีความเข้มแข็งอย่างยิ่ง ยากที่ใครหน้าไหนจะโค่นล้มได้  แต่ด้วยพระประสงค์ของอัลเลาะฮฺ  สิ่งสูงสุดก็ย่อมราบเป็นหน้ากลองได้ในพริบตา  อาณาจักรที่เคยผงาดบนโลกใบนี้ ในฐานะศัตรูและผู้ปฏิเสธศาสดาของพระองค์ ท้ายสุดก็ต้องสยบอยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งธงแห่งอิสลาม และได้กลายเป็นเมืองหลวงปกครองอาณาจักรอิสลาม จนมีความเจริญรุ่งเรืองในเวลาต่อมาหลังจากการถูกพิชิต
                     เรื่องราวการถูกพิชิตของอาณาจักรยิ่งใหญ่ทั้งสองจะเป็นเช่นไรนั้น  ฉบับหน้า ตอนที่ 3 โปรดติดตามต่อไปเรื่อยๆ นะครับ สิ่งใดผิดพลาดในการนำเสนอติมาได้นะครับ ยินดีที่จะปรับปรุง เพื่อพี่น้องทั้งหลาย

แหล่งข้อมูลอ้างอิงหลัก : ดร.มาญีด อะลี (เขียน), บรรจง บินกาซัน (แปล). มิถุนายน 2547 / รอบิอุซซานี 1425. เคาะลีฟะฮฺ อุมัรฺ อัลฟารูค. ศูนย์หนังสืออิสลามกุรงเทพฯ : กรุงเทพฯ.

วัสสลามุ อลัยกุม

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
 salam

ตอนที่ 3

การล้มสลายของอาณาจักรเปอร์เซีย

               ในช่วงสมัยของเคาะลีฟะฮฺอบูบักรฺนั้น  คอลิด บินวะลีด ได้ยึดส่วนหนึ่งของอาณาจักรเปอร์เซียที่เรียกกันว่า อาณาจักรแห่งฮิรอไว้ได้แล้ว  หลังจากนั้น  เขาก็ได้รับคำสั่งจาก         อบูบักรฺให้มาร่วมสมทบกับกองทัพที่เดินทางไปยังซีเรีย

                ก่อนที่จะเดินทัพออกมา  คอลิดได้แต่งตั้ง มุซันนา บิน ฮาริษ ให้เป็นผู้บังคับบัญชากองทัพอิสลาม  พวกเปอร์เซียโกรธแค้นเป็นอย่างมากต่อการสูญเสียอาณาจักรฮิรอ  ดังนั้น  จักรพรรดิ์เปอร์เซียจึงได้ส่งกองทัพใหญ่ภายใต้การบังคับบัญชาของแม่ทัพผู้มีชื่อว่า  รัสตัม  ซึ่งเป็นแม่ทัพผู้มีชื่อเสียงของกองทัพเปอร์เซียไปยังอาณาจักรฮิรอ  เมื่อรู้ข่าวการยกทัพใหญ่ของฝ่ายเปอร์เซีย มุซันนาก็ได้ขอให้เคาะลีฟะฮฺอุมัรฺส่งกำลังทหารมาเสริม  ในเวลานั้น  มีการชุมนุมใหญ่ของมุสลิมในนครมะดีนะฮฺ  เพื่อให้สัตย์ปฏิญาณยอมรับอุมัรฺเป็นผู้นำ อุมัรฺ ได้นำเรื่องนี้มาชี้แจงต่อหน้ามุสลิมทั้งหมด  แต่กลับไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ ในตอนเริ่มต้น  ดังนั้น  อุมัรฺจึงได้กล่าวสุนทรพจณ์ตอกย้ำถึงความสำคัญของการญิฮาด  หลังจากกล่าวจบก็ปรากฏมีมุสลิมจำนวนมากอาสาที่จะไปช่วยมุซันนาต่อต้านพวกเปอร์เซีย  อบูอุบัยด์  อัสษะกอฟี  ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพอิสลาม ซึ่งประกอบด้วยคนจำนวน 5,000 คน  ในเวลานั้น พวกเปอร์เซียได้เข้าโจมตีสถานที่ที่มุสลิมยึดครองมาได้ และฝ่ายมุสลิมต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนไปบ้างแล้ว  โดยที่รัสตัมเพียงแต่ส่งนายทหารใต้บังคับบัญชาไปเผชิญกับมุสลิมเท่านั้น

สงครามนะมาริก
           
           เมื่ออบูอุบัยด์ได้มาถึงที่นั่น  สงครามได้เกิดขึ้นแล้วที่นะมาริก  และมุสลิมเป็นฝ่าย.................(ต่อฉบับหน้านะคร้าบ)
 .................................

                 ตอนที่ 3 ยังไม่หมดนะครับ เพราะหลังจากนี้ ยังเกิดสงครามอีกหลายสมรภูมิที่มุสลิมีน ได้ทำกับพวกเปอร์เซีย เช่น สงครามนะมาริก, สงครามสะพาน, สงครามบุวัยบ์ และอีกหลายสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างทั้งสอง จนกระทั่งเหตุการณ์ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ต่ออาณาจักรเปอร์เซียจากการนับถือบูชาไฟ เปลี่ยนมาเป็นการนับถืออัลเลาะฮฺ องค์เดียว ความเป็นมาเป็นเช่นไร บรรพบุรุษแห่งอิสลามประสบกับอุปสรรคอะไรบ้าง เพียงเพื่อต้องการเผยแพร่พระคำของพระผู้เป็นเจ้าไปยังทุกส่วนของโลก อะไรทำให้พวกเขาแข็งแกร่ง และอะไรทำให้พวกเขาอ่อนแอ โปรดติดตามต่อไปเรื่อยๆ นะครับ อินชาอัลเลาะฮฺ

วัสสลามุ อลัยกุม

 

GoogleTagged