ผู้เขียน หัวข้อ: มุหัมมัด อับดุฮฺ (ค.ศ. 1849-1905)  (อ่าน 2141 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ budu

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 30
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
มุหัมมัด อับดุฮฺ (ค.ศ. 1849-1905)
« เมื่อ: ต.ค. 10, 2007, 09:29 PM »
0

มุหัมมัด อับดุฮฺ (ค.ศ. 1849-1905)
มุหัมมัด อับดุฮฺ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในประเทศอียิปต์ ในปี ค.ศ. 1849 ครอบครัวของท่านเป็นครอบครัวของผู้มีการศึกษาและเคร่งครัดศาสนาครอบครัวหนึ่ง ช่วงที่อยู่ในวัยเยาว์นั้น อับดุฮฺศึกษาการอ่าน และการเขียนที่บ้านของท่านเอง ขณะอายุได้ 12 ปี ท่านก็สามารถท่องจำอัลกุรอานได้ทั้งเล่ม

เมื่อมีอายุได้ 13 ปี ท่านก็ถูกส่งไปยังฏอนฏอ เพื่อศึกษาที่มัสยิดอะหฺมาดีย์ ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับการศึกษาอัลกุรอานและวิธีการอ่านอัลกุรอาน ที่นั่น อับดุฮฺได้เผชิญกับวิธีการเรียนแบบท่องจำบทเรียน การอรรถาธิบาย และกฎหมายต่าง ๆ โดยที่ท่านไม่ได้รับเครื่องมือใด ๆ ในการทำความเข้าใจบทเรียนเหล่านั้นเลย ด้วยความเอือมระอากับระบบดังกล่าว อับดุฮฺจึงออกจากโรงเรียนและเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดของท่าน

ขณะมีอายุได้ 16 ปี ท่านได้แต่งงานและหลังจากนั้นไม่นานท่านก็ได้ศึกษารหัสยวิทยา (Mystics) กับลุงของท่านซึ่งเป็นศูฟีย์ อย่างไรก็ตามอับดุฮฺก็เดินทางกลับไปยังฏอนฏออีกครั้งเพื่อศึกษาจนสำเร็จ ในปีค.ศ. 1866 อับดุฮฺได้เดินทางไปศึกษาต่อที่อัลอัซฮาร แต่ท่านต้องผิดหวังเพราะท่านได้ประสบกับระบบการศึกษาแบบเดียวกับที่ฏอนฏอ ซึ่งทำให้ท่านไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง

หลังจากที่อยู่ที่อัลอัซฮารได้ 3 ปี อับดุฮฺก็ได้พบกับญะมาลุดดีน อัลอัฟฆอนีย์ซึ่งเป็นนักฟื้นฟูอิสลามคนสำคัญของโลกมุสลิม อัลอัฟฆอนีย์เป็นผู้ที่ทำให้อับดุฮฺละทิ้งแนวทางศูฟีย์ ด้วยประทับใจในตัวอัลอัฟฆอนีย์ อับดุฮฺจึงสมัครเป็นลูกศิษย์ของอัลอัฟฆอนีย์ในที่สุด ภายใต้การสอนของอัลอัฟฆอนีย์ อับดุฮฺได้ศึกษาวิชาปรัชญาและรัฐศาสตร์

ในปี ค.ศ. 1878 อับดุฮฺได้เป็นครูสอนที่ดารุลอุลูม ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ อับดุฮฺใชัสถานที่ดังกล่าวนี้ในการเผยแพร่แนวคิดทางการเมือง สังคม และการศึกษาของท่านต่อสาธารณชน ในปี ค.ศ. 1879 อัลอัฟฆอนีย์ถูกเนรเทศออกจากอียิปต์เนื่องจากท่านถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อความไม่สงบทางการเมือง อับดุฮฺเองก็ถูกปลดออกจากการเป็นครูที่ดารุลอุลูม แต่ไม่นานหลังจากนั้น ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ "อัลวะกออี อัลมิศรียะฮฺ? (al-Waqa?i al-Misriyya) ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ของรัฐบาลอียิปต์

ระหว่างปี ค.ศ. 1882-1884 ด้วยเหตุผลทางการเมือง อับดุฮฺถูกเนรเทศออกจากอียิปต์ ขั้นแรกท่านเดินทางไปเบรุต หลังจากนั้นท่านได้เดินทางต่อไปยังปารีส ณ กรุงปารีสนี่เองที่ท่านได้พบกับอัลอัฟฆอนีย์อีกครั้ง และได้ร่วมมือกันก่อตั้งวารสารและสังคมอัลอุรวะฮฺ อัลวุษกอ (al-Urwah al-Wuthqa) ขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวมอุมมะฮฺอิสลามให้เป็นหนึ่งเดียว และเพื่อขจัดสิ่งที่บ่อนทำลายความสมัครสมานสามัคคีในระหว่างมุสลิม

เมื่อวารสารอัลอุรวะฮฺ อัลวุษกอ เลิกตีพิมพ์ อับดุฮฺก็เดินทางกลับไปยังเบรุตเพื่อสอนหนังสือ ในปี ค.ศ. 1888 ท่านได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับประเทศอียิปต์ได้ แต่ก็ถูกห้ามไม่ให้ทำการสอน อย่างไรก็ตามท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษา และในปี ค.ศ. 1895 และ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร และมุฟตีของประเทศอียิปต์

แม้ว่าจะเคยเป็นศิษย์ของญะมาลุดดีน อัลอัฟฆอนีย์ แต่อับดุฮฺก็มีโครงการฟื้นฟูอิสลามที่แตกต่างจากครูของท่าน เนื่องจากท่านให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปสังคมโดยเฉพาะด้านการศึกษามากกว่าการปฏิรูปทางการเมือง ท่านมีความเห็นว่า การที่สังคมจะแข็งแกร่งได้นั้น ก็เนื่องจากว่าปัจเจกบุคคลเป็นบุคคลที่เข้มแข็งและมีคุณภาพ ดังนั้นท่านจึงให้ความสำคัญต่อการปฏิรูปปัจเจกบุคคลเป็นอย่างยิ่ง

หลังจากที่เดินทางกลับจากประเทศฝรั่งเศสแล้ว อับดุฮฺก็ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปสังคมทันที ท่านเชื่อว่าโครงสร้างทางสังคมที่เข้มแข็งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาประเทศและเอาชนะอำนาจของยุโรปได้ ดังนั้นท่านจึงสละเวลาของท่านให้กับงานเขียนและการสอนเพื่อพัฒนาโครงสร้างสังคมให้แข็งแกร่ง ท่านยืนกรานต่อแนวทางนี้จนกระทั่งท่านเสียชีวิต

มุหัมมัด อับดุฮฺ เชื่อว่าสิ่งที่ทำให้มุสลิมตกต่ำและล้าหลังนั้นเป็นผลมาจากความแตกแยกในบรรดามุสลิม การละเลยต่อการอิจญติฮาด การละเลยต่อวิทยาศาสตร์ของมุสลิม และการหันเหออกจากแนวทางที่เที่ยงตรงของอิสลาม ท่านมีความเห็นว่าวะหฺยูกับการใช้สติปัญญา (reason) นั้นสอดคล้องกัน และทั้งสองนั้นก็เป็นแหล่งความรู้ของอิสลาม อับดุฮฺเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1905 ท่านได้ทิ้งผลงานทางวิชาการไว้ 3 เล่มคือ

1. ริสาละฮฺ อัตเตาฮีด
2. ตัฟซีร ยุซ อัมมาอฺ และ
3. อัลอิสลาม วันนัสรอนีย์


 

ออฟไลน์ musalmarn

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 796
  • เพศ: ชาย
  • สักวัน... ฉันจะขี่ม้า
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
    • ชมรมศาสนศึกษา แผนกอิสลาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Re: มุหัมมัด อับดุฮฺ (ค.ศ. 1849-1905)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ต.ค. 11, 2007, 03:49 AM »
0
ผมมีบทความของ อาจารย์หะสัน หมัดหมาน อาจารย์ประจำภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เกี่ยวกับศาสนาอิสลามกับการพัฒนาการศึกษา : แนวความคิดของ มุหัมหมัด อับดุฮ (1849-1905)

หากผู้ใดสนใจ อินชาอัลลอฮ ผมจะมาแปะลิ้งค์ให้โหลดในภายภาคหน้า

 yippy:

ออฟไลน์ musalmarn

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 796
  • เพศ: ชาย
  • สักวัน... ฉันจะขี่ม้า
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
    • ชมรมศาสนศึกษา แผนกอิสลาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Re: มุหัมมัด อับดุฮฺ (ค.ศ. 1849-1905)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ต.ค. 11, 2007, 07:30 PM »
0
ผมมีบทความของ อาจารย์หะสัน หมัดหมาน อาจารย์ประจำภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เกี่ยวกับศาสนาอิสลามกับการพัฒนาการศึกษา : แนวความคิดของ มุหัมหมัด อับดุฮ (1849-1905)

หากผู้ใดสนใจ อินชาอัลลอฮ ผมจะมาแปะลิ้งค์ให้โหลดในภายภาคหน้า

 yippy:

คลิกที่นี่


ออฟไลน์ กูปีเยาะฮฺสะอื้น

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1679
  • เพศ: ชาย
  • ที่สุดแห่งชีวิต
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด
Re: มุหัมมัด อับดุฮฺ (ค.ศ. 1849-1905)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ส.ค. 22, 2008, 04:29 PM »
0
นึกถึงอดีต
มีหลักเกณฑ์ ยึดหลักการ มีหลักฐาน มั่นหลักธรรม

 

GoogleTagged