ผู้เขียน หัวข้อ: ซัยยิดกุฏุบ์ อะชาอิเราะฮฺ หรือวะฮะบีย์กันแน่???  (อ่าน 5623 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป

 salam

       ต่อไปนี้จะเป็นการนำเสนอแนวคิดของ ซัยยิดกุฏุบ์ เกี่ยวกับเรื่องอะกีดะฮฺของเขา จากหนังสือตัฟซีรชื่อดังของเขาที่ชื่อว่า "ฟีซิลาลุ้ลกุรฺอาน" (ใต้ร่มเงาแห่งกุรฺอาน) ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ของคุณอิสมาแอ สะอิ บัณฑิตศึกษาวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี  ซึ่งเนื้อหาน่าสนใจมากๆ แต่มีบางเรื่องที่คิดว่าผู้เขียนจะมีความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับเตาฮีดแนวอะชาอิเราะฮฺ อยู่

โปรดติดตามต่อครับ.............

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
ผมขอนำเสนออย่างสรุปนะครับ เพื่อความกระชับของเนื้อหา  และขอนำเสนอเพียงบางส่วน หรือบางส่วนของเนื้อหานั้นๆ เท่านั้น ผมจะเน้นที่เตาฮีดอัล-อัสมาอฺ วะศีฟาตฺเป็นหลักนะครับ เพราะดูแล้ว ผมยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่า ตกลงแล้วซัยยิดกุฏุบ์ มีอะกีดะฮฺแบบอะชาอิเราะฮฺ หรือวะฮะบีย์ ที่อ้างว่าเป็นมีเตาฮีดเช่นเดียวกับชนสลัฟ โดยขอยกแนวคิดของเคาะลัฟ และซัยยิดกุฏุบ์เป็นหลัก

..............................

แนวคิดของซัยยิดกุฏบ์ เกี่ยวกับ ศีฟัตต่างๆ ของอัลเลาะฮฺ จามที่ปรากฏในหนังสือ "แนวคิดของซัยยิดกุฏบฺ เกี่ยวกับเตาอีดของอัลลอฮฺ ในหนังสือตัฟซีร ฟีซีลาล อัล-กุรฺอาน" โดย นายอิสมาแอ สะอิ, หน้า 96 เป็นต้นไป)

-----------------------

ซิฟัตอิสติวาอฺ อะลัลอัรช์

             นักปราชญ์ของกลุ่มอะชาอิเราะฮฺบางท่าน (al-Ghazali,nd:31; al-Dhahabi, 1991:25) มีความเห็นว่า "อิสติวาอฺ" إستواء (istiwa') มีความหมายเป็น "อิสตีลาอฺ" (إستيلاء) (istila') ซึ่งแปลว่า "ครอบครอง และมีอำนาจเหนือ" หลักฐานที่พวกเขาอ้างคือ ร้อยกรองของกวีท่านหนึ่งที่กล่าวไว้

قد استوى بشير على العراق من غير سيف أو دم مهراق

             ความว่า "บิชรุน" (Bishrun) มีอำนาจเหนืออิรัก  โดยไม่ต้องใช้ดาบ และหลั่งเลือด" พวกเขาอ้างว่า "อิสตะวา" ในร้อยกรองบทนี้  หมายถึง มีอำนาจเหนือ  มีนักปราชญ์บางท่าน (al-Razi,1990:17:12-13) ให้ความหมายของ "อัล-อัรช์" เป็น "อัล-มุลก์" (al-mulk) แปลว่า "อำนาจ" ดังนั้น "อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์" จึงให้ความหมายเป็น "ครอบครองอำนาจ"

             การที่คอลัฟอ้างว่า อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์ หมายถึง  การมีอำนาจเหนือบังลังก์นั้น  ผู้วิจัยเห็นว่าไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลดังนี้
                1.) ถ้าหาก "อิสติวาอฺ" มีความหมายเป็น "อิสตีลาอฺ" ความหมายของอัล-กุรฺอาน ซูเราะฮฺ อัล-ฟุรฺกอน อายะที่ 59 ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

الذي خلق السماوات والأرض في ستّة أيّام ثمّ استوى على العرش

จะมีความหมายว่า .............

ต่อฉบับหน้านะครับ เพราะต้องรีบกลับบ้านด่วน โปรดติดตามนะครับ รับรองว่าดุเด็ดจริงๆ งานวิจัยของวะฮะบีย์เล่มนี้ ไม่ทันจริงๆ มาอัฟด้วยนะครับ ด่วนมากๆ

วัสสลามุ อลัยกุม

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
 salam
อาเดะอัล-ฟาตอนีครับ บังว่าน้องอย่าได้แคร์กับงานวิจัยหรืองานเขียนของใครบางคนเลยครับ..ขอน้องทำการศึกษาวิชาในแนวทางของอัชชาฟีอีอย่างหนักแน่นแล้วน้องจะได้มีความหนักแน่น ว่าใครจะเป้นเช่นไร  เพราะถ้าน้องแคร์ผลงานการเขียนของใครบางคนน้องก้จะปวดหัวปล่าวๆครับ
โดยเฉพาะผลงานของผู้ที่ชื่นชอบนิกายวาฮาบีโดยเฉพาะผลงานการเขียนหรืองานวิจัย  เพราะถ้าเช่นนั้น นักเขียนหรือผลงานที่มาจากผู้ตักลีดตามวาฮาบีนั้นก็มีไม่น้อยครับ...555

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
salam

       ต่อไปนี้จะเป็นการนำเสนอแนวคิดของ ซัยยิดกุฏุบ์ เกี่ยวกับเรื่องอะกีดะฮฺของเขา จากหนังสือตัฟซีรชื่อดังของเขาที่ชื่อว่า "ฟีซิลาลุ้ลกุรฺอาน" (ใต้ร่มเงาแห่งกุรฺอาน) ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ของคุณอิสมาแอ สะอิ บัณฑิตศึกษาวิทยาลัยอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี  ซึ่งเนื้อหาน่าสนใจมากๆ แต่มีบางเรื่องที่คิดว่าผู้เขียนจะมีความเข้าใจผิดบางประการเกี่ยวกับเตาฮีดแนวอะชาอิเราะฮฺ อยู่

โปรดติดตามต่อครับ.............

وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

น้อง อัล-ฟาตอนีย์ ครับ กระผมเคยอ่านตัฟซีร ฟีซิลาลิ้ลอัลกุรอาน ของท่านอัชชะฮีด ซัยยิด กุตุบ เกี่ยวกับเรื่องซีฟาตของอัลเลาะฮ์นั้น ท่านก็มีการตีความตะวีลครับ  และ เราพร้อมที่จะทำการวิพากษ์งานวิทยานิพนธ์ดังกล่าวในเชิงวิชาการครับ  โปรดนำเสนอมาได้เลยครับ  พี่น้องและนักศึกษาจะได้ทราบและเข้าใจข้อแยกในเรื่องของอะกีดะฮ์หรือเตาฮีดแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์และวะฮาบีย์  อินชาอัลลอฮุตะอาลา

والسلام
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
ดีเลยครับน้องอัลฟาตอนีนำเสนอมาได้เลยครับ  เราจะร่วมวิจารณ์วิทยนิพนท์ดังกล่าวครับ  อินชาอัลเลาะฮ์  ;D

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
ความเดิมจากตอนที่แล้ว ...............

การที่คอลัฟอ้างว่า อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์ หมายถึง  การมีอำนาจเหนือบังลังก์นั้น  ผู้วิจัยเห็นว่าไม่ถูกต้องด้วยเหตุผลดังนี้
                1.) ถ้าหาก "อิสติวาอฺ" มีความหมายเป็น "อิสตีลาอฺ" ความหมายของอัล-กุรฺอาน ซูเราะฮฺ อัล-ฟุรฺกอน อายะที่ 59 ซึ่งอัลลอฮฺได้ตรัสว่า

الذي خلق السماوات والأرض في ستّة أيّام ثمّ استوى على العرش

 
จะมีความหมายว่า  "พระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลาย  แผ่นดิน  และสิ่งที่อยู่ระหว่างทั้งสองนั้น ในระยะเวลา 6 วัน แล้วพระองค์ทรงมีอำนาจเหนือบัลลังก์"

             (โดยที่ผู้วิจัยให้หลักสังเกตว่า) หากเข้าใจความหมายอัล-กุรฺอานเช่นนี้  แสดงว่า  อัลลอฮฺนั้น ไม่มีอำนาจเหนือบัลลังก์  ก่อนการสร้างชั้นฟ้า  แผ่นดิน  และสิ่งที่มีอยู่ระหว่างทั้งสอง  เพราะบัลลังก์นั้นถูกสร้างไว้ก่อนฟากฟ้า และแผ่นดินดังที่ได้ปรากฏในอัล-หะดีษ
كتب الله مقادر الخلائق قبل أن يخلق السماوات والأرض بخمسين ألف سنة وعرشه على الماء
ความว่า "อัลลอฮฺทรงกำหนดการต่างๆ ของสิ่งถูกสร้างก่อนที่พระองค์จะสร้างฟากฟ้า และแผ่นดิน 5 หมื่นปี และบัลลังก์ของพระองค์อยู่เหนือน้ำ"
           * หะดีษนี้รายงานโดยมุสลิม  หมายเลขหะดีษ 2653 (al-Naisaburi,1995:4:1623)

            (จากนั้น ผู้วิจัยจึงให้ข้อสรุปในข้อนี้ว่า) ดังนั้น การที่คอลัฟอ้างว่า  "อิสตวาอฺ" มีความหมายเป็น "อิสตีลาอฺ" ซึ่งแปลว่า มีอำนาจเหนือนั้น  ไม่ถูกต้อง  เพราะจะทำให้เข้าใจว่า  อัลลอฮฺ ไม่มีอำนาจเหนือบัลลังก์ก่อนการสร้างฟากฟ้า และแผ่นดิน  สิ่งนี้เป็นไปไม่ได้สำหรับอัลลอฮฺ (ibn Taimiyyah,nd:5:145)

...........................

             จะนำเสนอเรื่อยๆ นะครับ ไม่มีเวลาละ ต้องไปละหมาดญุมุอะฮฺ แล้ว อินชาอัลเลาะฮฺ - อ่านหนังสือวิจัยนั้นทีไร หน้าแดงร้อนๆ ขึ้นมาทุกที อิอิ เพราะบิดเบือนชัดๆ และอุลามาอฺที่นำมาอ้างอิงนั้น ดูแล้วก็พอจะเดาออกถึงสถานะของหลักฐานที่อ้าง เหอๆ ติดตามนะครับ

วัสสลามุ อลัยกุม
             

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
ชะแว้บๆ เสร็จละหมาดอัศรีรีบมาเขียนต่อ มาต่อกันเลยน้าคร้าบ
....................

ความเดิม...........    (จากนั้น ผู้วิจัยจึงให้ข้อสรุปในข้อนี้ว่า) ดังนั้น การที่คอลัฟอ้างว่า  "อิสตวาอฺ" มีความหมายเป็น "อิสตีลาอฺ" ซึ่งแปลว่า มีอำนาจเหนือนั้น  ไม่ถูกต้อง  เพราะจะทำให้เข้าใจว่า  อัลลอฮฺ ไม่มีอำนาจเหนือบัลลังก์ก่อนการสร้างฟากฟ้า และแผ่นดิน  สิ่งนี้เป็นไปไม่ได้สำหรับอัลลอฮฺ (ibn Taimiyyah,nd:5:145)

---------------------

ต่อ........
             2.) การอ้างว่า "อิสติวาอฺ" มีความหมาเป็น "อิสเตาลา" โดยมีร้อยกรองอาหรับมาสนับสนุนนั้น  ไม่ถูกต้อง  เพราะร้อยกรองที่มีคำว่า "อิสตะวา" ให้ความหมายเป็น "อิสเตาลา" นั้น  ผู้เชี่ยวชาญทางภาษาอาหรับ มีความเห็นว่า  ร้อยกรองดังกล่าวไม่ปรากฏผู้ประพันธ์  (ibn al-Jauzi,1994:3:13)

             3.) ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอาหรับให้ความเห็นว่า  ในภาษาอาหรับ  ไม่มีการใช้คำว่า  "อิสตะวา" ที่ให้ความหมายเป็น  "อิสเตาลา" ดังที่มีผู้ถาม อัล-คอลีล บิน อะฮฺหมัด (al-Khalil bin Ahmad)1 ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาอาหรับคนหนึ่งว่า  "ท่านเคยพบการใช้คำว่า "อิสตะวา" ในความหมาย "อิสเตาลา" หรือไม่?  เขาตอบว่า "สิ่งนี้ชาวอาหรับไม่เคยรู้จัก และไม่อาจใช้ได้ในภาษาอาหรับ" (ibn Taimiyyah,nd:5:144,153) เช่นเดียวกับที่มีคนถาม  อิบนุลอารอบี  (ibn al-'Arabi)2 ซึ่งเป็นผู้เชื่ยวชาญด้านภาษาอาหรับอีกคนหนึ่ง  ถึงการใช้  "อิสตะวา" ในความหมาย "อิสเตาลา" เขาตอบว่า "ชาวอาหรับไม่เคยรู้จักสิ่งนี้" (ibn al-Qaiyim,1992:353)

             4.) ถ้าหาก "อิสตะวา" สามารถให้ความหมายเป็น "อิสเตาลา" ย่อมต้องมีการใช้คำนี้บ้าง  ในสมัยเศาะฮาบะฮฺ  ในสมัยตาบีอีน  หรือมีการใช้ในหมู่นักภาษาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้านภาษาอาหรับ  แต่ไม่มีการรายงานจากพวกเขาเหล่านั้นที่บ่งบอกว่า  สามารถใช้คำว่า  "อิสตะวา" ที่ให้ความหมายเป็น "อิสเตาลา" ดังนั้น  การอ้างว่า  "อิสตะวา" มีความหมายเป็น "อิสเตาลา" จึงไม่ถูกต้อง (ibn al-Qaiyim,1992:365)

             5.) ถ้าหากว่า "อิสตะวา" สามารถให้ความหมายเป็น "อิสเตาลา" ซึ่งแปลว่า  ครอบครอง หรือมีอำนาจแล้ว  ก็น่าจะมีการใช้คำนี้กับคำอื่น  นอกเหนือจากคำว่า "อัล-อัรช์" ซึ่งแปลว่า บัลลังก์ บ้าง  แต่ในอัล-กุรฺอาน หรือในอัล-หะดีษ  ไม่ปรากฏการใช้คำว่า "อิสตะวา" กับคำอื่น  นอกเหนือจากคำว่า "อัล-อัรช์" สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า "อิสตะวา" มีความหมายเฉพาะที่ใช้ควบคู่กับอัล-อัรช์ เท่านั้น  (ibn Taimiyyah,nd:5:144)

________________________________________________

อ้างอิงเชิงอรรถ
                  1 เกิดในปีฮิจเราะฮ์ศักราช 100 เสียชีวิตระหว่างปีฮิจเราะฮ์ศักราช 160-170 (al-Dhahabi,1993:7:430)
               2 เกิดในปีฮิจเราะฮ์ศักราช 150 เสียชีวิตระหว่างปีฮิจเราะฮ์ศักราช 231 (al-Dhahabi,1993:7:430)
           
........................................

ฉบับหน้ามาดูแนวคิดของซัยยิดกุฏบ์ เรื่อง อิสติวาอฺ ว่าเป็นอย่างไร??? อินชาอัลเลาะฮฺ

วัลลอฮุ อะอฺลัม

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป

ความเดิม.............กล่าวถึงเรื่อง "แนวคิดของคอลัฟเกี่ยวกับซิฟัตอิสติวาอฺ อะลัลอัรช์"   ตามทัศนะการวิจัยเชิงวิจารณ์ของผู้จัยวะฮะบีย์ ที่นี้เรามาดูต่อว่า แนวคิดเรื่องดังกล่าวของซัยยิดกุฏุบฺมีอย่างไร จะเหมือน หรือแตกต่างกับอะชาอิเราะฮฺ หรือคอลัฟ ตามการเรียกของผู้จัยอย่างไร  เชิญผู้อ่านติดตามได้ครับ...

------------------------------------

"แนวคิดของซัยยิดกุฏุบฺเกี่ยวกับซิฟัตอิสติวาอฺ อะลัลอัรช์"

           อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์ หรือการประทับบนบัลลังก์ของอัลลอฮฺ ถูกกล่าวไว้ในคัมภีร์อัล-กุรฺอาน 7 ครั้ง  และซัยยิดกุฏบฺ ได้อรรถาธิบาย "อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์"  ว่าคือ  "การปกครองดูแล" ไม่ใช่  "การประทับบนบัลลังก์" อย่างแท้จริง ดังรายละเอียดต่อไปนี้ :

           1.) ในการอรรถาธิบายซูเราะฮฺ อัล-อะรอฟ  อายะที่ 54 เขาได้กล่าวถึง "อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์" ว่า

"และผู้ปกครองจักวาล ทรงบริหารด้วยคำบัญชาของพระองค์"
(Sayyid Qutb,1992:3:1297)

          ในที่นี้ซัยยิดกุฏบฺได้ให้ความหมายคำว่า "อิสติวาอฺ" เป็น "การปกครอง"

           2.) ในการอรรถาธิบายซูเราะฮฺยูนุส  อายะฮฺที่ 3 เขาได้กล่าวว่า

               " 'อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์' มันเป็นการอุปมานถึงตำแหน่งการปกครองอันสูงส่ง  มั่นคง  แข่งแกร่ง ...  และคำว่า 'ซุมมา' (แปลว่า หลังจากนั้น) ในที่นี้ มิได้มีความหมายที่บ่งบอกถึงเวลา  แท้จริงมันหมายถึงความห่างไกลที่เป็นนามธรรม" (Sayyid Qutb,1992:3:1762)

           3.) ในการอรรถาธิบายซูเราะฮฺ อัร-เราะอฺดู อายะฮฺที่ 2 เขาได้กล่าวถึง "อิสติวาอฺ" ว่า

"คือการปกครองทั่วไป"
(Sayyid Qutb,1992:4:2045)

           4.) ในการอรรถาธิบายซูเราะฮฺ ฏอฮา  อายะฮฺที่ 5 เขาได้กล่าวว่า

" 'อิสติสวาอฺ อะลัลอัรชฺ' คือ การอุปมาของการปกครองอันสุดยอด"
(Sayyid Qutb,1992:4:2328)

           5.) ในการอรรถาธิบายซูเราะฮฺ ฟุรฺกอน อายะฮฺที่ 59 เขาได้กล่าวว่า

              " 'อัล-อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์' นั้น  หมายถึง การปกครอง และการคุมอำนาจ และคำว่า 'ซุมมา' มิได้บ่งบอกถึงลำดับการเวลา  แท้จริงมันบ่งบอกถึงฐานะที่ห่างไกลของ 'อัล-อิสติวาอฺ' และ 'อัล-อิสติอฺลาอฺ'" (Sayyid Qutb,1992:5:2575)

           6.) ในการอรรถาธิบายซูเราะฮฺ อัซ-ซัจญฺดะฮฺ อายะฮฺที่ 4 เขาได้กล่าวว่า

"และ 'อัล-อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์' นั้น  คือ สัญญาณของการปกครองสิ่งถูกสร้างทั้งหมดของพระองค์"
(Sayyid Qutb,1992:5:2807)

           7.) ในการอรรถาธิบายซูเราะฮฺ อัล-หะดีด อายะฮฺที่ 4 เขาได้กล่าวว่า

"ส่วน 'อัล-อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์' นั้น เราขอกล่าวว่า มันคืดอุปมาของการปกครอง  การดูแล จักรวาลนี้"
(Sayyid Qutb,1992:6:3480)

            (จากนั้นผู้วิจัยได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวคิดของซัยยิดกุฏุบฺ ว่า) ...

                จากข้อความของซัยยิดกุฏุบฺที่ผู้วิจัยกล่าวมานั้น  เป็นที่ประจักษ์ว่า ตามทัศนะของเขา  "อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์" นั้น  หมายถึง ... (ว้า ต้องไปเรียนซะแล่ะ โทษทีนะ บายไปละ เดียวมาต่อ)

---------------------------

วัสสลามุ อลัยกุม

           

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
ความเดิม........................(จากนั้นผู้วิจัยได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวคิดของซัยยิดกุฏุบฺ ว่า) ...

                จากข้อความของซัยยิดกุฏุบฺที่ผู้วิจัยกล่าวมานั้น  เป็นที่ประจักษ์ว่า ตามทัศนะของเขา  "อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์" นั้น  หมายถึง ... (ว้า ต้องไปเรียนซะแล่ะ โทษทีนะ บายไปละ เดียวมาต่อ)

---------------------------
ต่อ...............จากข้อความของซัยยิดกุฏุบฺที่ผู้วิจัยกล่าวมานั้น  เป็นที่ประจักษ์ว่า ตามทัศนะของเขา  "อิสติวาอฺ อะลัลอัรช์" นั้น  หมายถึง "อิสติอฺลาอฺ" หรือการปกครองของอัลลอฮฺต่อจักรวาล  ไม่ได้หมายถึง การประทับบนบัลลังก์เหมือนกับทัศนะของสลัฟแต่อย่างใด  ซึ่งการกล่าวเช่นนี้ไม่ถูกต้อง  ดังที่ผู้วิจัยได้ชี้แจงมาแล้ว  ส่วนการกล่าวว่า "ซุมมา" (แปลว่า หลังจากนั้น) ไม่ได้หมายถึง ลำดับกาลเวลานั้น  ไม่ถูกต้องเช่นกัน  เพราะคำว่า "ซุมมา" ในด้านภาษาอาหรับนั้น ใช้กับการลำดับกาลเวลา  (al-Najjar,1973:3:188) ดังที่ท่านศาสนทูตกล่าวว่า

خير أمتي ثم الذين يلونهم ثم الذين يلونهم

                  หะดีษนี้รายงานโดยบุคอรี  หมายเลขหะดีษ 3650 หมายความว่า...

"ประชาชาติฉันที่ดีที่สุด คือ  ผู้ที่อยู่ในศตวรรษของฉัน  หลังจากนั้น คือ  ผู้ที่ตาม (ศตวรรษ) พวกเขา  แล้วก็ผู้ตาม (ศตวรรษ) พวกเขา"

วัลลอฮุ อะอฺลัม

------------------------------------------

ฉบับหน้าเรื่อง "ศีฟัตอัล-กะลาม" ในทัศนะของคอลัฟ และซัยยิดกุฏุบฺ ตามการวิจัยของผู้วิจัยที่ชื่อ อิสมาแอ สะอิ อินชาอัลเลาะฮฺ ขอให้ติดตามกันนะครับ

วัสสลามุ อลัยกุม

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
ซัยยิดกุตุบ มิใช่วะฮาบีย์แน่นอน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งวะฮาบีย์เองก็เขียนหนังสือโจมตีท่านซัยยิดกุตุบเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
ซีฟัตอัล-กะลาม

แนวคิดของสลัฟ (ตามความเข้าใจของวะฮะบีย์ที่อ้างว่าได้ค้นคว้าวิจัยมา) เกี่ยวกับซีฟัต อัล-กะลาม

               ตามแนวคิดของสลัฟ อัล-กะลามเป็นคุณลักษณะหนึ่งของอัลลอฮฺ เหมือนกับคุณลักษณะอื่นๆ โดยที่พระองค์จะตรัสเมื่อใดก็ตามที่พระองค์ปรารถนา  ด้วยวิธีที่พระองค์ประสงค์  พจนารถของพระองค์ประเสริฐที่สุด และเป็นนิรันดร  คำดำรัสของพระองค์ไม่ใช่สิ่งถูกสร้าง  และไม่เหมือนกับสิ่งที่ถูกสร้าง  ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้กับนบีมูซา  พจนารถของพระองค์ไม่สิ้นสุด  สามารถได้ยิน และเข้าใจได้  อัล-กุรฺอานเป็นส่วนหนึ่งของคำดำรัสของพระองค์
               (al-Asbahani,1990:2:198; al-Maqdisi,1993:130; al-Judai'i,1995:79-81)


แนวคิดของคอลัฟ (ตามความเข้าใจของวะฮะบีย์ที่อ้างว่าได้ค้นคว้าวิจัยมา) เกี่ยวกับซีฟัต อัล-กะลาม

               ตามแนวของคอลัฟ พจนารถของอัลลอฮฺ มีความหมายเป็นหนึ่งเดียว  ดำรงด้วยตัวมันเอง  ไม่ผูกพันกับความประสงค์ของพระองค์  พจนารถของพระองค์ไม่สามารถแยกเป็นส่วน  ไม่มีเสียงการบัญชา  การห้าม  การบอกเล่าของพระองค์ คือ  สิ่งเดียวกัน  พจนารถของพระองค์ หากอธิบายเป็นภาษาอาหรับ  มันคือ อัล-กุรฺอาน  หากอธิบายเป็นภาษาฮิบรู คือ เตารอตฺ   หากอธิบายเป็นภาษาซีเรียโบราณ มันคือ อินยีล
(al-Judai'i,1995:362; Ibn 'Abdul Qadir al-Fatani,1382 H.:18)

               แนวคิดของคอลัฟต่อซีฟัตอัล-กะลามนั้น  ผู้วิจัยเห็นว่า  ไม่ถูกต้อง  ด้วยเหตุผลดังนี้

               การที่คอลัฟกล่าวว่า พจนารถของอัลลอฮฺเป็นนิรันดร  มีความหมายหนึ่งเดียวนั้น  ไม่ถูกต้อง  เพราะอัลลอฮฺได้ตรัสไว้ว่า

قل لو كان البحر مدادا لكلمات ربي لنفد البحر قبل أن تنفد كلمات ربي ولو جئنا بمثله مددا
ซูเราะฮฺ อัล-กะฮฺฟ : 109

มีความหมายว่า

"จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) หากว่าทะเลเป็นน้ำหมึก  สำหรับบันทึกพจนารถของพระผู้เป็นเจ้าของฉัน 
แน่นอน ทะเลจะเหือดแห้งก่อนที่คำกล่าวของพระผู้เป็นเจ้าของฉันหมดสิ้นไป
และแม้ว่าเราจะนำมาเยี่ยงนั้นมาเป็นหมึกอีกก็ตาม"
[/b]

                  อัล-กุรฺอานอายะฮฺนี้ชี้ให้เห็นว่า  พจนารถของอัลลอฮฺนั้น  ไม่ได้มีความหมายหนึ่งเดียว  คอลัฟยอมรับว่า นบีมูซานั้นเคยได้ยินคำดำรัสของอัลลอฮฺ  แม้ว่าพวกเขาจะขัดแย้งกันถึงความหมายของการได้ยินก็ตาม  การได้ยินนี้อาจตั้งสมมติฐานได้ 2 ประการคือ

                  ประการที่ 1   นบีมูซาได้ยินคำดำรัสของอัลลอฮฺทั้งหมด  สมมติฐานนี้ยอมรับไม่ได้  เพราะเป็นการอ้างว่า นบีมูซาสามารถล่วงรู้พจนารถของอัลลอฮฺ  ซึ่งค้านกับอัล-กุรฺอานที่อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า

ولا يحيطون بشيء من علمه إلا بما شاء
[/b]
(ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 255)

ความว่า

"และพวกเขาจะไม่ล้อมสิ่งใดจากความรู้ของพระองค์ไว้ได้
นอกจากสิ่งที่พระองค์ทรงประสงค์เท่านั้น"

                     ประการที่ 2   นบีมูซาได้ยินคำตรัสของอัลลอฮฺเพียงบางส่วน  จากการดำรัสของพระองค์ทั้งหมด  สมมติฐานนี้ถูกต้อง และบ่งบอกว่า พจนารถของอัลลอฮฺนั้น  ไม่ได้มีความหมายหนึ่งเดียว  ที่ไม่สามารถแยกส่วนเหมือนกับทัศนะของคอลัฟ (al-Judai'i,1995:79-81) การที่คอลัฟอ้างว่าพจนารถของอัลลอฮฺไม่ได้ผูกพันกับความประสงค์ของอัลลอฮฺนั้น  ไม่ถูกต้อง   เพราะค้านกับคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ได้ตรัสว่า

إنما أمره أراد شيئا أن يقول له كن فيكون

ความว่า

"แท้จริงแล้ว  พระบัญชาของพระองค์  เมื่อทรงประสงค์สิ่งใด
พระองค์จึงตรัสแก่มันว่า จงเป็น แล้วมันก็เป็นขึ้นมา"

                     อัล-กุรฺอานอายะฮฺนี้ชี้ให้เห็นว่า  พจนารถของอัลลอฮฺนั้น มีความผูกพันกับความประสงค์ของพระองค์

------------------------------------------------------------------------------------
ฉบับมาดูเรื่องศีฟัตอัล-กะลาม ตามแนวคิดของซัยยิดกุฏุบฺ ที่ผู้วิจัย (วะฮะบีย์) ได้ทำการค้นคว้า และวิจารณ์ไว้ อินชาอัลเลาะฮฺ วัลลอฮุ อะอฺลัม

วัสสลามุ อลัยกุม

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
เราไม่รู้ว่า สะลัฟ ตามทัศนะของ ผู้วิจัยนั้น หมายถึงกลุ่มใหนในปัจจุบัน  สงสัยคงหมายถึงกลุ่มวะฮาบีย์ตามที่เขาต้องการ  ซึ่งความจริงแล้ว เรื่องซีฟัตกะลามนั้น สะลัฟเองก็มีทัศนะที่แตกต่างกัน  ผู้เขียนจะมาอ้างว่าสิ่งที่ตนยึดอยู่คือสะลัฟ  ส่วนทัศนะของสะลัฟอีกทัศนะหนึ่งที่ตนเองไม่ต้องการ ก็ยกเหมาว่าเป็นคอลัฟ  กระผมคิดว่าผู้วิจัยไม่ทำการแยกแยะประเด็นการขัดแย้งระหว่างสะลัฟ  วิทยานิพนธ์ดังกล่าวนั้น หากมาสอบที่อัลอัซฮัรล่ะก็  สอบตกครับ  ;D

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป

ศีฟัตกะลาม ภาค 2
[/b]

แนวคิดของซัยยิดกุฏบฺเกี่ยวกับซีฟัต อัล-กะลาม

             ในการอธิบายซูเราะฮฺ อัน-นิซาอฺ อายะฮฺที่ 164 ซึ่งอัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า

وكلّم الله موسى تكليما

ความว่า "และอัลลอฮฺ ได้ทรงตรัสแก่มูซาจริงๆ"

ซัยยิดกุฏบฺกล่าวว่า...

                       " และอัลลอฮฺได้ตรัสแก่มูซาจริงๆ มันจึงเป็นส่วนหนึ่งของการวิวรณ์ (วะฮฺยุ-ผู้นำเสนอ) ไม่มีใครทราบว่ามันเสร็จสิ้นอย่างไร เพราะอัล-กุรฺอาน1 ไม่ได้อธิบายแก่เราในสิ่งนั้น  เราจึงไม่ทราบ นอกจากว่ามันเป็นดำรัส  แต่ธรรมชาติของมันเกิดขึ้นอย่างไร  ด้วยประสาทสัมผัสใก หรือด้วยพลังใดที่พบมัน... สิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เป็นสิ่งเร้นลับ"
(Sayyid Qutb,1992:2:805)

อัลลอฮฺได้ทรงตรัสว่า...

ولمّا جاء موسى لميقاتنا وكلّمه ربّه قال ربّ أرني أنظر إليك
[/b]

ความว่า "และเมื่อมูซาได้มาตามกำหนดเวลาของเรา และพระเจ้าได้ตรัสแก่เขา (มูซา)  เขา (มูซา) ได้กล่าวขึ้นว่า
"โอ้พระเจ้าของข้าพระองค์ โปรดให้ข้าพระองค์ เห็นด้วยเถิด  โดยที่ข้าพระองค์ จะได้มองดูพระองค์"

ในการอรรถาธิบาย อายะฮฺนี้ ซัยยิดกุฏบฺ กล่าวว่า...

              "เราไม่ทราบว่า พระดำรัสของอัลลอฮฺที่กล่าวแก่มูซาเป็นอย่างไร และเราไม่ทราบว่า ด้วยประสาทใดอวัยวะใด หรือด้วยเครื่องมือใดที่มูซาได้รับพจนารถของอัลลอฮฺ"
(Sayyid Qutb:1992:3:1368)

               ตามที่ซัยยิดกุฏบฺกล่าวว่า เราไม่สามารถทราบว่า มูซาเผชิญกับพจนารถของอัลลอฮฺด้วยประสาทสัมผัสใดนั้น ไม่ถูกต้อง เพราะตัวบทอัล-กุรฺอานที่ปรากฏ  บ่งบอกว่ามูซาได้ยินพจนารถของอัลลอฮฺด้วยหู ด้วยทัศนะของอะฮฺลุซซุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ หรือสลัฟ  พจนารถของอัลลอฮฺนั้น สามารถได้ยินด้วยหู ผู้ใดที่พระองค์ทรงประสงค์จะให้ได้ยินพจนารถของพระองค์  ผู้นั้นสามารถได้ยินมัน  โดยไม่ต้องผ่านสื่อกลางแต่อย่างใด
(al-Duwaish,1987:51; al-Maghrawi,2000:1379)

               จากตัวอย่างข้อความของซัยยิดกุฏบฺ ที่ผู้วิจัยกล่าวมานั้น  ชี้ให้เห็นว่า  เขายอมรับว่า อัล-กะลาม  หรือการพูด  เป็นคุณลักษณะหนึ่งของอัลลอฮฺ

_______________________________________________________

                 1 คือ แหล่งอ้างอิงหนึ่งเดียวที่ถูกต้อง ซึ่งไม่มีข้อสงสัยในความถูกต้องของมัน - ผู้วิจัย

 


ออฟไลน์ sunnah 50

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 117
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
วิทยานิพนธ์ดังกล่าวนั้น หากมาสอบที่อัลอัซฮัรล่ะก็  สอบตกครับ  ;D
..............
อัสสลามุอะลัยกุ้ม  ครับ ถ้าให้อาจารย์นูรุ้ลอิสลามตรวจสอบ คงตกแน่   ;D ;D ;D
 

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป

อัสสลามุ อลัยกุม

                 มาร่วมกันอภิปรายกันดีกว่านะครับ  หากไม่มีความสามารถก็เป็นผู้ฟังที่ดี หวังว่าทุกคนคงเคยได้ยินหะดีษเกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับที่ว่า  การนิ่งย่อมดีกว่าการพูด  หากการพูดนั้นไร้ซึ่งสาระ และการโจมตีกันและกัน  ขอร้องนะครับทุกคน ชี้แจงในสิ่งที่เป็นประโยชน์ดีกว่า ใครจะต้องการเปิดเผยธาตุตัวเอง ผ่านการด่าว่าคนอื่น ก็ให้เขาทำไปเถอะครับ  เราไม่จำเป็นต้องลดตัวไปทำอย่างเขาก็ได้ จงเตือนแต่พองามก็พอ หากเขาไม่ฟังก็ร่วมกันขอดุอาอฺให้เขาจะดีกว่า ดุอาอฺนั้นมีมากมาย ก็เลือกสักหนึ่งดุอาอฺเสีย ดีกว่าการโต้กลับไปมา ไร้ประโยชน์อะครับ เพราะไม่มีใครฟังใคร หาข้อสรุปยาก

วัสสลามุ อลัยกุม

 

GoogleTagged