ผู้เขียน หัวข้อ: 0028_ได้หรือไม่ ละหมาดฟัรฎุไม่ครบ แต่จะละหมาดตะรอวี้หฺ  (อ่าน 5717 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ริฎวาน

  • บุคคลทั่วไป

อัสลามมูอาลัยกุมครับบังอัชอารี
         มีกรณีศึกษาคือ คนที่ละหมาดฟัรดูไม่ครบแต่พอถึงเดือนรอมาฎอนกลับละหมาดตารอเวียะห์
มีผู้รู้บางคนบอกว่าหากละหมาดฟัรดูไม่ครบละหมาดตารอเวียะห์ไม่ได้   แต่มีบางคนบอกว่าให้เหนียตชดใช้ละหมาดฟัรดูในช่วงละหมาดตารอเวี๊ยะได้ทั้งการชดใช้และตารอเวี๊ยะ   อยากให้บังช่วยตอบด้วยครับในกรณีนี้   แล้วเหนียตชดใช้เขาเหนียตยังงัยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 31, 2011, 03:20 PM โดย Al Fatoni »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ละหมาดไม่ครบทำตารอเวียะห์ได้หรือไม่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ม.ค. 20, 2007, 01:05 PM »
0
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

بسم الله الرحمن الرحيم

الحمد لله رب العالمين و الصلاة والسلام على سيدنا محمد وعلي اله وصحبه أجمعين

สำหรับมุสลิมที่ต้องการมีอีหม่านที่สมบูรณ์นั้น  เขาจะต้องรีบชดใช้(กอฏอ)ละหมาดโดยทุ่มเทเอาจริงเอาจังหาช่วงเวลาชดใช้(กอฏอ)อย่างรีบด่วน  จนกระทั่งไม่มีละหมาดชดใช้(กอฏอ)ให้หลงเหลืออยู่ในวันต่อไป  ดังนั้น  การปล่อยละหมาดกอฏอมาจนถึงเดือนรอมะฏอนนั้น  ถือว่าเป็นการละเลยในเรื่องละหมาดอย่างมาก  และบางคนละเลยจนกระทั่งจำไม่ได้ว่าละหมาดที่ทิ้งไปหรือขาดไปนั้นเท่าไหร่  เพราะฉะนั้น  เราจำเป็นต้องทุ่มเททำการละหมาดให้ครบ  หากขาดก็ให้รีบชดใช้ครับ

ส่วนกรณีที่น้องริฏวานถามนั้น  มีกรณีศึกษาดังนี้ครับ

ผู้ที่ทำการละหมาดสุนัตโดยทำละหมาดฟัรดูยังไม่ครบ กล่าวคือ ยังมีละหมาดฟัรดูที่จำเป็นต้องชดใช้(กอฏอ)อยู่  ดังนั้น  หากเขาทำละหมาดสุนัตถือว่าฮะรอม แต่การละหมาดสุนัตนั้นถือว่าใช้ได้(เซาะหฺ)  กล่าวคือ  การหะรอมนั้นเพราะละเลยไม่กอฏอ(ชดใช้)ละหมาดฟัรดู  การชดใช้ละหมาดฟัรดูเป็นสิ่งที่วายิบ  ซึ่งหากเราไม่ชดใช้ก็แสดงว่าเราทิ้งสิ่งที่วายิบ  ดังนั้น การทิ้งสิ่งที่วายิบย่อมเป็นสิ่งที่หะรอม  เพราะฉะนั้น การที่หะรอมนั้นโดยเกี่ยวข้องเพียงเรื่อง "ไม่ทำการชดใช้(กอฏอ)" เท่านั้น  แต่ในตัวของละหมาดสุนัตเองนั้น เรากระทำถือว่าใช้ได้และได้รับผลบุญของตัวละหมาดสุนัตนั้น  นั่นคือทัศนะที่มีนำหนัก  แต่มีนักปราชญ์บางท่าน  เช่น ท่านอัซซัรกาชีย์  วินิจฉัยว่า  การละหมาดสุนัตถือว่าใช้ไม่ได้ หากยังมีละหมาดฟัรดูที่จำเป็นต้องกอฏอ  ดังที่ในหนังสืออิอานะฮ์ได้ให้สำนวนได้ว่า

وأنه يحرم عليه التطوع : أي مع صحته خلافا للزكشى

"แท้จริงหะรอมบนเขา(ที่มีละหมาดขาดอยู่)ทำการละหมาดสุนัต หมายถึง พร้อมกับการละหมาดสุนัตใช้ได้  โดยที่เรามีทัศนะที่ขัดแย้งกับท่านอัซซัรกาชีย์" (ดู รายละเอียด ในหนังสือ อิอานะฮ์ อัตตอลิบีน เล่ม 1 หน้า 39  ดารุลฟิกรฺ)

ดังนั้น การละหมาดสุนัตตะรอวิหฺพร้อมทั้งยังมีละหมาดฟัรดูที่จำเป็นต้องกอฏอ ถือว่าการละหมาดตะรอวิหฺนั้นหะรอม  แต่ในตัวของการทำละหมาดนั้น ถือว่าใช้ได้ครับ

กรณีการละหมาดฟัรดูชดใช้โดยตามอิมามที่ละหมาดสุนัต(เช่น ตะรอวิหฺ) นั้น  ถือว่าอนุญาตให้กระทำได้  แต่ خلاف الأولى (คิลาฟเอาลา)คือ "ทำขัดกับสิ่งที่ดีกว่า หรือมักโระฮ์แบบอ่อน ๆ ไม่มากนัก" คืออยู่ในกรณีเดียวกันการที่  ผู้ละหมาดกอฏอตามอิมามที่ละหมาดในเวลาหรือกลับกัน  และผู้ละหมาดฟัรดูตามอิมามที่ละหมาดสุนัตหรือกลับกัน และผู้ละหมาดตะรอวิหฺตามอิมามที่ละหมาดวิติรหรือกลับกัน เป็นต้น  ซึ่งการละหมาดญะมาอะฮ์ในกรณีดังกล่าวนั้น  ถือว่าคิลาฟเอาลา (ดู รายละเอียดเพิ่มเติม ในหนังสือ อิอานะฮ์ อัตตอลิบีน เล่ม 2 หน้า 6 ดารุลฟิกรฺ)  เพราะว่าหากเราทำละหมาดชดใช้เป็นเอกเทศน์ย่อมดีกว่า  แต่หากเราทำละหมาดชดใช้ร่วมเป็นมะมูมตามอิมามละหมาดตะรอวิหฺ ก็อนุญาตให้กระทำได้

หากถามว่า ดังกล่าวนั้นจะได้ผลบุญญะมาอะฮ์หรือเปล่า?  ตอบ  ได้ผลบุญญะมาอะฮ์ครับ  เนื่องจากว่า หากมีสิ่งที่ คิลาฟเอาลาและมักโระฮ์ร่วมอยู่ด้วยนั้น  ก็ย่อมไม่ปฏิเสธภาคผลบุญไปเสียทั้งหมดครับ
ท่าน  ชัยค์ อัลบุญัยริมีย์  ได้กล่าวฟัตวาวินิจฉัย ว่า

والكراهة لا تنفى الفضيلة والثواب لأختلاف الجهة وإن توقف فى ذلك الزيادى ، بل الحرمة لا تنفى الفضيلة ، كالصلاة فى أرض مغصوبة

"การมักโระฮ์ ไม่ได้ปฏิเสธความดีงามและผลบุญ เนื่องจากมีด้านที่แตกต่างกัน  หากแม้นว่าท่านอัซซิยาดีย์ได้นิ่งในกรณีดังกล่าวก็ตาม  ยิ่งกว่านั้น  การหะรอม ก็ไม่ปฏิเสธความดีงาม เช่น การละหมาดในแผ่นดินที่ถูกโขมยมา" ดู หนังสืออิอานะฮ์ เล่ม 2 หน้า 12

ดังนั้น  การละหมาดในแผ่นดินที่โขมยมาถือว่าหะรอมแต่ได้ผลบุญการละหมาด  กล่าวคือ  หะรอมเพราะละหมาดในแผ่นดินที่ไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา แต่ส่วนเรื่องการละหมาดนั้นใช้ได้และได้รับผลบุญ  เช่นเดียวกับการโขมยเสื้อผ้ามาสวมใส่ปิดเอาเราะฮ์เพื่อละหมาด  ซึ่งการโขมยเสื้อผ้าผู้อื่นมาสวมใส่นั้นฮะรอม แต่ในขณะเดียวกัน การละหมาดย่อมใช้ได้และได้รับผลบุญ

ส่วนการเหนียตละหมาดชดใช้นั้น  คือ

"ข้าพเจ้าละหมาดฟัรดูซุบหฺสองร่อกะอัตชดใช้เป็นมะมูมเพื่ออัลเลาะฮ์ ตะอาลา" เป็นต้น

เป็นที่ทราบดีว่า การละหมาดซุบหฺมีสองร่อกะอัต  เมื่ออิมามละหมาดตะรอวิหฺให้สลาม  เราก็ให้สลามตาม โดยไม่มีปัญหาใด ๆ   แต่กรณีที่ต้องชี้แจงอีกสักนิดคือ  หากเรากอฏอละหมาดที่เป็น 4 ร่อกะอัต เช่น ซุฮฺริ และ 3 ร่อกะอัต เช่น มัฆริบ  เมื่ออิมามละหมาดตะรอวิหฺได้ทำการสองร่อกะอัตแล้วให้สลามนั้น  ก็ให้เราทำการขึ้นละหมาดต่อเลย โดยต้องเหนียต مفارقة (มุฟาร่อเกาะฮ์)  คือ "เหนียตออกจากการตามอิมามเพื่อให้หมดสถานะของรูปแบบการเป็นมะมูม" ในขณะที่อิมามอยู่ในสภาพของผู้ละหมาด เช่นอิมามให้สลามแล้ว  แต่ยังไม่เคลื่อนไหวไปใหน  ก็ให้เราทำการเหนียตมุฟาร่อเกาะฮ์ ว่า "ข้าพเจ้าออกจากการเป็นมะมูม" แล้วยืนขึ้นละหมาดกอฏอร่ออะกัตที่ 3 และร่อกะอัตที่ 4 ต่อไปครับ

 والله أعلى وأعلم       
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged