ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติศาสตร์มหานครมักกะฮฺและอัลกะอฺบะตุชชะรีฟ  (อ่าน 2098 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป

อัสสลามุ อลัยกุม

              ที่จริงนั้นมีเองก็มีความสนใจเรื่องนี้มานานแล้ว และพยายามค้นหาข้อมูลมาโดยตลอด  ไม่ว่าจากหนังสือ และอินเทอร์เน็ต และมีความหวังว่าสักวันคงได้ไปเยือนสถานที่ดังกล่าว และที่ผ่านมานั้น ผมได้เห็นสมาชิกของเว็บนี้คนหนึ่ง จำชื่อไม่ได้ ได้ถามเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของกะอฺบะฮฺ  ผมเองก็รอว่าจะมีใครมาตอบคำถามนั้นบ้าง  แต่ปรากฎว่าไม่มี  ผมเลยคิดว่าจะช่วยตอบ และนำเสนอไปด้วย เพื่อให้สมาชิกดังกล่าวที่ถามได้รับทราบ และผู้คนทั่วไปด้วย 

..................

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป

อัลกะอฺบะตุชชะรีฟะฮฺ

              กะอฺบะฮฺ คือ อาคารทรงสี่เหลี่ยมที่ถูกสร้างด้วยหิน  ตั้งอยู่ตรงใจกลางของมัสญิดิลหะรอม ในมหานครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอารเบีย เป็นศูนย์กลางทางศาสนาของชาวมุสลิมทั่วโลก  บางครั้งกะอฺบะฮฺก็ถูกเรียกว่า  "บัยตุลลอฮฺ"  (บ้านของอัลลอฮฺ) (บรรจง  บินกาซัน:2542:9)   แต่หาได้หมายความว่า พระองค์ทรงประทับ ณ ที่นี้ไม่ แต่มันเปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางที่ร่างกายของชาวมุสลิมไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลกต้องผินหน้าไป  เมื่อจะทำการละหมาด  ขอดุอาอฺ  และกิจกรรมทางศาสนาต่างๆ

               นอกจากนี้ กะอฺบะฮฺ ก็ถูกเรียกด้วยชื่อต่างๆ เช่น

                         - Baytul 'Ateeq   {بيت العتيق}  อ่านว่า  "บัยตุลอะตีก"  แปลว่า  "บ้านเก่าแก่โบราณ" (Al-Qur'an:22:29)  เพราะเป็นอาคารหลังแรกที่ถูกสร้างขึ้น  เพื่อใช้เป็นสถานที่เคารพสักการะอัลลอฮฺ (บรรจง  บินกาซัน:2542:9)

                         - Baytul Haram  {بيت الحرام}  อ่านว่า "บัยตุลหะรอม"  แปลว่า  "บ้านต้องห้าม"  (Al-Qur'an:5:97)  ซึ่งหมายความว่าสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ต้องห้าม  สำหรับคนที่ไม่ศรัทธาในอัลลอฮฺ  และเป็นสถานที่ห้ามการหลั่งเลือด และทำความชั่วทุกอย่าง  (บรรจง  บินกาซัน:2542:9)


Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป

         * ความเป็นมาของกะอฺบะฮฺ

                   มีบันทึกคำบอกเล่ากล่าวว่า  อาคารหลังนี้ถูกสร้างขึ้นมาโดยนบีอาดัม  มนุษย์คนแรก  เพื่อใช้เป็นสถานที่เคารพสักการะอัลลอฮฺ  แต่หลังจากนั้นก็พังทลายลง  เมื่อเกิดเหตุการณ์  "น้ำท่วมโลก" (สมัยนบีนุหฺ-ผู้นำเสนอ) 

                   แต่จากหลักฐานที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรในคัมภีร์อัลกุรฺอาน ซูเราะฮฺ Al-Baqarah:127 และซูเราะฮฺที่ 22:26-27  บอกให้เราได้ทราบว่า  กะอฺบะฮฺได้ถูกสร้างขึ้นโดยนบีอิบรอฮีม และนบีอิสมาอีล ลูกชายของท่าน  ตามคำบัญชาของอัลลอฮฺ  ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นสถานที่ในการเคารพสักการะพระองค์  หลังจากนั้น  อัลลอฮฺก็ได้ทรงบัญชานบีอิบรอฮีมให้เรียกร้องเชิญชวนผู้คนให้มาเคารพสักการะพระองค์ยังบ้านหลังนี้  นับแต่นั้นมา  ผู้คนที่ศรัทธาในอัลลอฮฺ (ได้มาเยี่ยมเยือนยังบ้านหลังนี้) ตามคำเชิญชวนของนบีอิบรอฮีมจากทั่วสารทิศ  (เพื่อ) มาสักการะอัลลอฮฺ (อย่าง) ต่อเนื่องกันมาโดยมิได้ขาด

                   หลังจากสมัยของนบีอิบรอฮีม ผู้คนในแผ่นดินอารเบียได้หลงออกไปจากแนวทางคำสอนของท่าน และได้มีการนำเอาเทวรูปบูชาต่างๆ มาเคารพสักการะแทนอัลลอฮฺ หรือไม่ก็ตั้งเทวรูปขึ้นเป็นพระเจ้าควบคู่ไปกับอัลลอฮฺ  จนเทวรูปบูชารอบกะอฺบะฮฺมีจำนวนมากมายถึงสามร้อยกว่ารูป  แต่หลังจากที่ท่านนบีมุหัมมัดได้เข้ายึดครองมักกะฮฺแล้ว  ท่านก็ได้สั่งให้ทำลายเทวรูปบูชาทั้งหลายที่อยู่ข้างใน และรอบกะอฺบะฮฺลง  จนหมดสิ้น และประกาศให้กะอฺบะฮฺเป็นเขตปลอดการเคารพสักการะสิ่งอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ  แต่เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น


nujjaba

  • บุคคลทั่วไป
นั่งติดตามที่หน้าจอ    ;D

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
       * ลักษณะของกะอฺบะฮฺ

                    - สร้างจากหินธรรมชาติ (ที่อยู่รอบๆ มักกะฮฺ)
                    - กว้างยาวประมาณด้านละ 40 ฟุต
                    - สูง 50 ฟุต
                    - ผนังทั้ง 4 ด้านไม่มีหน้าต่าง มีแต่ประตูด้านเดียว
                    - ข้างในว่างเปล่า (แต่ปัจจุบันรัฐบาลซาอุดิฯ ได้ติดตั้งผ้าม่านอย่างดี ที่แต่ละด้านของผนังข้างใน ซึ่งจะเปลี่ยนทุกๆ 3 ปี-ผู้นำเสนอ)
                    - ตรงมุมด้านหนึ่งของตัวอาคารเป็นที่ตั้งของ "หินดำ" (حجرالأسواد - Hajar Al-Aswad) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและครบรอบของการเวียนรอบกะอฺบะฮฺ (طواف - Tawaf) ซึ่งเป็นหนึ่งในรุกุ่นของการประกอบพิธีอุมเราะฮฺและฮัจญฺ  นอกจากมุมหินดำแล้ว มุมอื่นก็มีชื่อเรียกดังนี้
                           - มุมอิรัก (ألركن العراق - Ar-Ruknul Iraqi) เป็นมุมที่ชี้ไปทางเหนือทางประเทศอิรัก
                           - มุมชามี ( ألركن الشامي - Ar-Ruknash Shaami) เป็นมุมที่ชี้ไปทางทิศตะวันตกไปทางประเทศชาม (หรือซีเรียปัจจุบัน-ผู้นำเสนอ)
                           - มุมยะมานี (ألأركن اليماني - Ar-Ruknul Yamani) เป็นมุมที่ชี้ไปทางทิศใต้ทางประเทศเยเมน
                           - ส่วน มุมหินดำนั้น ชี้ไปทางทิศตะวันออก (ผมดูในแผนที่หนังสือเล่มหนึ่ง ซึ่งมีการระบุ แต่ละประเทศในโลกนี้อยู่ทางทิศไหนบ้างของกะอฺบะฮฺ โดยเอากะอฺบะฮฺเป็นศูนย์กลาง ปรากฏว่า มุมหินดำนั้น ชี้มายังทิศตะวันออกเฉียงใต้หน่อย ตรงกับประเทศแถบเอเชียอาคเนย์ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยเราด้วย-ผู้นำเสนอ)


        

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป

       * เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับกะอฺบะฮฺ

              ในช่วงก่อนที่นบีมุหัมมัดจะได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสนทูตของอัลลอฮฺ  กะอฺบะฮฺได้ถูกไฟไหม้  บรรดาหัวหน้าชาวเมืองมักกะฮฺจากตระกูลต่างๆ จึงได้ร่วมมือกันไปนำเอาไม้จากซากเรือของพวกกรีกที่จอดล่มอยู่ที่ชายฝั่งทะเล  มาซ่อมแซมกะอฺบะฮฺ  หลังจากที่ซ่อมแซมเสร็จแล้วก็เกิดความขัดแย้งกันขึ้นมาว่า  ใครจะเป็นคนนำหินดำขึ้นไปติดตั้งยังที่เดิม  เพราะแต่ละตระกูลต่างก็ต้องการได้รับเกียรติอันนี้  การแก่งแย่งเพื่อศักดิ์ศรีนี้รุนแรงจนถึงขึ้นเกือบมีการใช้กำลังเข้าตัดสินปัญหา  แต่ในที่สุด  พวกหัวหน้าชาวเมืองมักกะฮฺก็ตกลงกันว่า ในวันรุ่งขึ้น  หากพบใครเดินเข้ามายังบริเวณกะอฺบะฮฺ (ทางประตูอัสสลาม-ผู้นำเสนอ) เป็นคนแรก  ทุกฝ่ายก็จะมอบหน้าที่การตัดสินความขัดแย้งให้แก่ผู้นั้น  ในวันรุ่งขึ้น  ปรากฏว่านบีมุหัมมัดได้เดินเข้ามาเป็นคนแรก  พวกหัวหน้าชาวเมืองมักกะฮฺ จึงได้ขอให้ท่านนบีเป็นคนตัดสินปัญหาดังกล่าว  ด้วยความเฉลียวฉลาดและต้องการที่จะให้ทุกฝ่ายได้รับเกียรติอย่างเท่าเทียมกัน  ท่านจึงได้กางเสื้อคลุมของท่านลงบนพื้น  แล้วยกหินดำวางบนเสื้อคลุมของท่าน  หลังจากนั้นก็ให้ตัวแทนจากทุกฝ่ายจับชายเสื้อคลุมของท่าน และยกหินดำขึ้นพร้อมกัน  แล้วท่านก็เป็นคนเอาหินดำไปติดตั้งยังที่เดิมของมันที่อาคารกะอฺบะฮฺ ปัญหาความขัดแย้งที่เกือบจะถึงขั้นนองเลือดจึงได้คลี่คลายลงด้วยดี

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
อัสสลามุ อลัยกุม


ปี 2010 มหานครมักกะฮฺจะเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ คอยติดตามนะครับ

วัสสลามุ อลัยกุม

 

GoogleTagged