ผู้เขียน หัวข้อ: หนังสือฟะรีดะฮ์ ซีฟัต 13 และ 20 (4)  (อ่าน 3646 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
0

بسم الله الرحمن الرحيم

ต่อไปนี้ เราจะได้อธิบายถึงบรรดาสิ่งที่ต้องเชื่อ عقائد ตามที่ศาสนากำหนดไว้  มีทั้งบรรดาสิ่งที่วาญิบ  และสิ่งที่มุสตะฮีล  และสิ่งที่ฮาโรส  ทั้งที่อัลเลาะฮ์และร่อซู้ลฯ พร้อมกันนั้น  จะได้นำหลักฐานมาประกอบในทุก ๆ สิ่งที่จำเป็นต้องเชื่อ عقيدة ซึ่งหลักฐานทั้งหมดที่จะนำมานั้น  เป็นหลักฐานที่ยืนยันสิ่งที่วาญิบ  และปฏิเสธสิ่งที่มุสตะฮีลไปในตัว

อัลเลาะฮ์นั้น  พระองค์ต้องทรงคุณลักษณะที่สมบูรณ์  ที่คู่ควรกับพระองค์ซึ่งมีมากมาย  ไม่มีใครรู้ได้ว่ามีจำนวนเท่าไหร่  นอกจากพระองค์  ดังนั้นจำเป็น (วาญิบ) ในทางอิจมาลีย์ที่ทุกคนจะต้องยอมรับในความบริสุทธิ์ปราศจากคุณลักษณะที่บกพร่องทั้งปวง

สำหรับหลักฐานเพื่อยืนยันและปฏิเสธคุณลักษณะต่าง ๆ ตามที่กล่าวนั้น คือ.

หากพระองค์มิได้ทรงคุณลักษณะที่สมบูรณ์  พระองค์ก็ต้องทรงคุณลักษณะที่บกพร่อง  และการบกพร่องที่อัลเลาะฮ์นั้น  เป็นเรื่องมุสตะฮี้ล  เพราะหากอัลลอฮทรงคุณลักษณะที่บกพร่องอัลลอฮ์ก็มิสามารถให้บังเกิดสิ่งใด ๆ ในโลกนี้ได้  ซึ่งนั่นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง  เพราะโลกนี้มีแล้วโดยสายตาที่สัมผัสได้

ส่วนหนึ่งจากคุณลักษณะที่สมบุรณ์ที่จำเป็นต้องรู้ในรายละเอียดนั้น  มีอยู่ 13 ประการหรือ 20 ประการ  ตามความขัดแย้งของนักวิชาการดังจได้กล่าวต่อไป  ซึ่งตามทัศนะที่รอแญะฮ์ (ชัดเจน) นั้นคือ ทัศนะแรก (อันได้แก่ 13 ประการ) สำหรับอีก 7 ประการนั้นถือว่า จำเป็นต้องรู้โดยอิจมาลีย์ (สรุป) ไม่อนุญาตให้ปฏิเสธคุณลักษณะเหล่านั้นโดยมติของนักวิชาการ  เพราะนั่นเป็นส่วนหนึ่งจากความสมบูรณ์แห่งพระองค์  ใครปฏิเสธก็เป็นกาเฟร (วัลอิยาซุบิลลาฮิตะอาลา)  สรุปแล้วก็คือ  ไม่จำเป็นต้องรู้ในทางตัฟซีล (แบบรายละเอียด) เท่านั้น

พึงรู้ว่า  ที่จำเป็นต้องรู้ในทางตัฟซีลีย์นั้น  คือ ในทุก ๆ ท้องถิ่นต้องรู้ในทางฟัรดูกิฟายะฮ์  กล่าวคือ  เมื่อมีคนหนึ่งคนใดรู้  คนอื่น ๆ ในท้องถิ่นนั้นก็พ้นโทษ  ดังนั้น  ในระยะทางที่สามารถก่อศอรได้  จำต้องมีผู้รู้ในทางตัฟซีลีย์  นอกจากนี้  ในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นอื่น ๆ ก็เช่นกัน  เช่น  ต้องมีผู้พิพากษาในท้องถิ่นที่มีปัญหาขัดแย้ง  เป็นต้น
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
หนังสือฟะรีดะฮ์ ซีฟัต 13 และ 20 (4)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ม.ค. 23, 2007, 09:29 PM »
0
ผมขอเริ่มอธิบาย เกล็ดความรู้สักนิดก่อนครับ

เป็นที่ทราบดีว่า  สิ่งที่เราต้องยอมรับและปฏิเสธในขณะเดียวกันนั้น  หมายถึง  ต้องยอมรับในซีฟัตวาญิบสำหรับอัลเลาะฮ์และปฏิเสธซีฟัตมุสตะฮีลสำหรับพระองค์  ซีฟัตวาญิบนั้น  เช่น  อัลเลาะฮ์ทรงมี  อัลเลาะฮ์ทรงแตกต่างกับของใหม่ เป็นต้น  ย่อมเป็นซีฟัต ก่อดีม  คือเป็นคุณลักษณะของพระองค์ตั้งแต่เดิม ๆ แล้ว   หากมีคำถามถูกตั้งขึ้นแก่เราว่า  แล้ว "ซีฟัตมุสตะฮีล" ล่ะครับ  "กอดีม" หรือเปล่า?

ตอบ

ซีฟัต มุสตะฮีล สำหรับอัลเลาะฮ์นั้น "กอดีม" เช่นกันครับ 

อัลเลาะฮ์ ตะอาลา ทรงตรัสว่า

ليس كمثله شيء وهو السميع البصير

"พระองค์ทรงไม่เหมือนคล้ายกับสิ่งใด  พระองค์ทรงได้ยินยิ่งอีกทั้งทรงเห็นยิ่ง"

พระองค์ทรงตรัสอีกว่า

لم يكن له كفوا أحد

"ไม่มีผู้ใดมาเสมอเหมือนกับพระองค์"

จากคำตรัสของอัลเลาะฮ์  ซุบหานะฮ์ นี้  เราจะพบว่า  อัลกุรอานที่เป็นคำตรัสของอัลเลาะฮ์  ที่ "กอดีม"  ในสองอายะฮ์ดังกล่าวนั้น  พระองค์ทรงปฏิเสธ คุณลักษณะที่มุสตะฮีลสำหรับพระองค์  กล่าวคือ  พระองค์ทรงปฏิเสธการเหมือนกับสิ่งที่ถูกสิ่ง(มัคโลค)ไว้ในอัลกุรอาน(ที่กอดีม) ดังนั้น การที่พระองค์ทรงแตกต่างหรือไม่เหมือนกับของใหม่นั้น จึงมีมาแต่เดิม(กอดีม)  ฉะนั้น คุณลักษณะ(ซีฟัต) มุสตะฮีล (เช่นพระองค์ทรงเหมือนกับของใหม่) จึงถูกปฏิเสธมาตั้งแต่กอดีม  เพราะฉะนั้น  ซีฟัตมุสตะฮีล จึงกอดีม หรือถูกปฏิเสธมาตั้งแต่กอดีมแล้ว

หรืออีกสำนวนหนึ่ง คือ  ซีฟัตมุสตะฮีล(เช่นอัลเลาะฮ์ทรงเหมือนกับของใหม่)นี้ อัลเลาะฮ์ได้ปฏิเสธมาตั้งแต่ กอดีม แล้ว โดยพระองค์ได้ตรัสระบุปฏิเสธไว้ในอัลกุรอาน(ที่กอดีม)  เพราะถ้าหากซีฟัตมุสตะฮีลไม่กอดีมแล้ว  แน่นอน พระองค์ก็จะไม่ทรงตรัสปฏิเสธมันในอัลกุรอานที่เป็นคำตรัสของพระองค์ที่กอดีม

วัลลอฮุอะลัม 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
หนังสือฟะรีดะฮ์ ซีฟัต 13 และ 20 (4)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ม.ค. 24, 2007, 11:47 PM »
0
ประเด็นข้างต้นนั้น  มีการขัดแย้งกัน  หากพี่น้องท่านใดมีทัศนะที่ต่างกัน  โปรดนำเสนอความรู้แก่เราด้วยครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: หนังสือฟะรีดะฮ์ ซีฟัต 13 และ 20 (4)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มี.ค. 07, 2007, 06:59 AM »
0
"จงกล่าวเถิด (มูฮัมหมัด) พระองค์คืออัลลอฮฺผู้ทรงเอกะ อัลลอฮฺนั้นทรงเป็นที่พึ่ง พระองค์ไม่ทรงประสูติ และไม่ทรงถูกประสูติ และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์"

อัลกรุอาน 112 : 1 - 4

พระองค์ทรงมีองค์เดียว มิทรงพึ่งสิ่งใด มิทรงมีบิดา,มารดา,ภรรยา และบุตร และไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์

ซีฟัตที่ว่านี้ คือการบอกกล่าวจากพระองค์เองทั้งสิ้น (หมายถึงจากในอัลกรุอาน) โดยทั่วไปจะใช้คำว่า ทรง.....  นั้นคือแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของพระองค์

ทั้ง 13 ข้อคือได้นำมาจากตัวบทอัลกรุอาน ว่าด้วย คุณลักษณะของอัลลอฮฺ

ส่วน 7 ข้อหลัง นั้นถูกเพิ่มเข้าไป เป็นบทสรุป ทางลักษณะของคุณลักษณะของพระองค์ กล่าวคือ พระองค์ผู้ทรงเป็นคุณลักษณะ นั้นๆ



ปล. ผมขออนุญาตเสริมเป็นตัวบทจากอัลกรุอาน ทั้ง 13 ข้อนะครับ เชิญบังนำเสนอต่อได้ ( ภาษาอาหรับไม่พิมนะครับ ) อินชาอัลลอฮฺ
วัลลอฮฺอะลัม
วัสลาม...
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มี.ค. 07, 2007, 07:08 AM โดย Goddut »

 

GoogleTagged