เดี๋ยวก่อนพี่ ฮารัฟนาฟี อย่างคำว่า ลา มันไปต่อหลังอาลิฟลาม ได้หรือครับ ทะแม่งๆอยู่นา
แล้ววถ้าเป็นแบบนั้นจริง มันก็ไม่เข้ากับชื่อเรื่องสิ
لا مذهبية ในที่นี้ เป็นเสมือนคำๆเดียวที่ให้ความหมายว่า "การไม่ยึดมัซฮับ" หรือ "กลุ่มที่มีแนวคิดไม่ยึดมัซฮับ" ซึ่งหมายถึงการไม่ยึดมัซฮับใดมัซฮับนึงจากมัซฮับทั้งสี่
้ซึ่งถ้าเราจะบอกว่า ชายคนนั้น เป็นผู้ที่ไม่ยึดมัซฮับ เราก็อาจจะกล่าว هذا الرجل لا مذهبي
ซึ่งการกระทำของเขาเช่นนั้น เรียกว่า اللا مذهبية นั่นคือแนวทางของผู้ที่ไม่ยึดมัซฮับ
เช่นเดียวกับ لا دينية เป็นเหมือนคำๆเดียวที่ให้ความหมายว่า "การไม่มีศาสนา" ถ้าเราจะบอกว่า ชายคนนี้เป็นผู้ที่ไม่นับถือศาสนาใดๆ ก็อาจจะกล่าวได้ว่า هذا الرجل لا ديني ซึ่งการกระทำของเขาเช่นนี้นั้น เรียกว่า اللادينية นั่นคือการไม่นับถือศาสนา ไม่มีศาสนา
ซึ่งมันก็ไม่ต่างไปจากคำอื่นที่อยู่ในรูปนี้ เช่น
العنصرية แปลว่า ชาตินิยม ถ้าเราจะบอกว่า ชายคนนี้เป็นพวกชาตินิยม ชอบแบ่งพรรคแบ่งพวก เราก็อาจจะกล่าวว่า هذا الرجل عنصري
ซึ่งพฤติกรรมของเขาันั้น เราเรียกว่า العنصرية
กล่าวคือ ไม่มีความแตกต่างในแง่ของรูปคำ ระหว่างคำว่า عنصري กับคำว่า لا مذهبي และอย่าไปมอง لا ว่าเป็นหัรฟ์นะฟีทั่วไป (ตามที่เราเคยเรียน)
ฉันท์ใด ก็ฉันท์นั้น
อธิบายแบบง่ายๆ (เพราะอธิบายแบบยากๆไม่เป็น ความรู้ไม่ถึง อิอิ) ไว้ท่านผู้รู้ตัวจริงเข้ามาชี้แจงอีกทีละกัน
แต่อยากฝากว่า หลักไวยากรณ์อาหรับ นะฮู เศาะร็อฟ นั้น มีเนื้อหาเยอะมาก เรียนกันไม่จบ แค่เรื่องมุบตะดา เคาะบัร ที่เราเรียนกันง่ายๆในชั้นซานาวีย์
ที่เรานึกว่ารู้ทุกอย่างแล้ว พอเรียนสูงขึ้นไประดับมหาลัย หรือ ศึกษาตำราที่สูงไปอีก ก็จะำพบว่าเรื่องที่เราคิดว่าง่ายๆนั้น มันยังมีรายละเอียดอีกเยอะมากที่เราไม่เคยรู้ มีเงื่อนไข มีข้อยกเว้นอีกมากมาย และยังมีทัศนะอีกหลายทัศนะ ชาวบัศเราะฮฺว่าอย่างนี้ ชาวกูฟะฮฺว่าอย่างนั้น ฯลฯ
ไม่ต่างไปจากวิชาฟิกฮฺ ที่เราเคยเรียนง่ายๆแบบเบ็ดเสร็จในชั้นซานาวีย์ เวลาเข้้ามหาลัยไป หรือเรียนตำราที่สูงไปอีก ก็จะพบว่าที่เคยง่ายๆนั้น มันยังมีรายละเอียดอีกเยอะ ที่เราเคยเรียนมานั้น เหมือนเ้ค้าปอกกล้วยไว้เรียบร้อย แล้วเราก็แค่เอาใส่ปากแค่นั้น แต่ในชั้นสูงเราต้องเริ่มหัดปอกเองบ้าง ไม่มากก็น้อย..
เช่นนี้แล..
เพราะฉะนั้น น้องอย่าแปลกใจเลยครับ ที่ ال เข้าหน้า لا ได้ ค่อยๆศึกษากันไป
เดี๋ยวท่านผู้รู้ตัวจริงคงเข้ามาชี้แจงได้อย่างกระจ่าง..
วัลลอฮุอะลัม