เพิ่งมาเห็น จากการนำเสนอ ของน้องบ่าวเรเยส ในเวปมุสลิมไทย
เลยขอเสวนาด้วยนิดหน่อย คือ เรื่องการกอฎอ ใช้ละหมาดหรือไม่เมื่อได้ละหมาดเดินทางบนพาหนะ
กรณี นี้มีหลายทรรศนะ ซึ่ง ทรรศนะที่ผมเลือกใช้คือ การละหมาดโดยที่ไม่ต้องกอฎอใช้ เมื่อถึงที่หมาย
โดยตักบรี แรกให้หันหน้าสู่กิบลัต แล้วถือว่าละหมาดนั้นใช้ได้ไม่ต้องกอฎอ
เพราะการละหมาดบนพาหนะนั้น มีฮะดิส เสริมเข้ามากล่าว เพิ่มในเรื่องของการละหมาด บนเรือในสมัยก่อน
โดยจากฮะดิสบทนี้
"จงยืนละหมาด ยกเว้นท่านกลัวจะจมน้ำ"
อัดดารุฎนี ( หมายถึงได้ละหมาดบนเรือ )
และจากฮะดิสอีกบทคือ
"ฉันได้ร่วมเดินทางไปกับยาบิร อิบนุ อับดุลลอฮฺ อบสะอีด และอบูฮุรอยเราะ โดยทางเรือ พวกเขาได้ยืนละหมาดรวมกัน ( ยะมาอะ ) โดยบางคนเป็นอีหม่ามนำพวกเขา ทั้งๆ ที่พวกเขาสามารถที่จะละหมาดบนฝั่งได้"
สะอีด อิบนุ มันศูร
ซึ่งทั้งสองบทหมายถึง อนุญาติให้ทำการละหมาดบนเรือได้เมื่อเดินทาง ซึ่งทั้งนี้นั้น เมื่อละหมาดได้ จึงไม่จำเป็นต้องมีการกอฎอ แต่อย่างใด
เพราะหมายถึง รุก่น ของละหมาดได้สมบูรณ์แล้ว โดยใช้การผินหน้าไปทางกิบลัตแต่แรกเริ่มก่อน โดยภายหลังนั้นจึงอนุญาติให้ละหมาดต่อไป (โดยไม่หัน) แม้พาหนะจะหันสู่ทิศทางอื่น
จากคำกล่าวของ น้องบ่าว บาซรี ที่กล่าวว่า
"คือการละหมาดนั้นมันไม่สมบูรณ์จริงๆนะสิ เวลาละหมาดบนรถ กิบลัตก็เคลื่อนย้ายไปทั่วแล้ว
ที่อนุญาตินั้นคือละหมาดสุนนะฮฺ (นะฟัลมุตลัก) ไม่ใช่ฟัรดู "
นั้นถูกรวมในบทที่ว่า การผิน (หันตัวออกจากกิบลัต) นั้น ไม่สามารถทำได้ แต่อนุญาติเฉพาะสุนัต จากฮะดิสที่ว่า
"โอ้มนุษย์ทั้งหลาย พวกเจ้าจงระวังการผินไปมา เพราะความจริงไม่ถือเป็นการละหมาดสำหรับผู้ที่ผินไปมา ถ้ามันเกิดจำเป็น ก็ทำในละหมาดสุนัต แต่อย่าทำให้ละหมาดฟัรดู"
อะหมัด และ อัตตริมีซี
และอีกบทใจความว่า
"อัลลอฮฺ ยังคงหันหน้ามายังบ่าวในขณะที่เขาละหมาด ตราบที่บ่าวยังไม่ผินหน้าไปทางอื่น เมื่อเขาผินหน้าไปทางอื่น พระองค์ก็ทรงผินหน้าไปจากเขา"
อะหมัด และ อบูดาวุด
ซึ่งหมายถึงการหันโดยไม่มีความจำเป็น ( อยู่กับที่ หรือสถานที่ๆ มั่นคง หรือ พื้น )
แต่เราจะเห็นได้ว่า การเดินทาง ทางเรือในสมัยก่อนนั้น ( เช่นการเดินทางไปฮัจย์ ) ต้องใช้เวลาร่วมเดือน
ดังนั้น การละหมาดนั้น หากมีการตักบรีที่ตรงกับกิบลัต ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะหากเรือนั้นได้หันไปยังทิศอื่น ก็ไม่จำเป็นต้องหันตัวไปมาแต่อย่างใด ( อันเนื่องจากไม่รู้ หรืออาจจะก่อให้เกิดความยากลำบาก ซึ่งหากเป็นการละหมาดแบบยะมาอะอีกด้วย และอาจจะมีผลทำให้เกิดการเคลื่อนไหวมากจนเสียละหมาด )
ทั้งนี้การอยู่บนเรือในสมมุติฐานข้างต้นนั้น นานเป็นแรมเดือน การละหมาดชดใช้ ดังกล่าวจึงถือว่าตกไป ( หากจะต้องชดใช้ 5 เวลาตลอด 30 วัน )
เพราะพระองค์นั้นมิได้ทรงทำให้มันยากลำบากแต่อย่างใด ต่อบ่าวของพระองค์ แม้เทคโนโลยีในดุนยาจะรุดหน้าไปเร็วเท่าใดก็ตาม หากมัน(พาหนะ)ยังคงเคลื่อนที่จนข้ามเลยเวลาละหมาดไปนั้น ก็ยังคงไว้ซึ่งการละหมาดบนพาหนะได้เฉกเช่นฮะดิสบทดังกล่าว
และแน่นอนว่า มันถูกอนุญาติให้นั่งละหมาดได้ ตามที่นำเสนอไว้ในฮะดิสเช่นกัน อันเนื่องมาจากเหตุจำเป็น และอื่นๆ จากนั้น จากฮะดิสที่กล่าวว่า
"จงละหมาด เมื่อยืนไม่ได้ จึงนั่ง และหากนั่งไม่ได้จึงนอน" และเมื่อเช่นนั้นก็หมายถึง ความปลอดภัย หรือความเจ็บไข้ได้ป่วยอันเกิดจากร่างกาย
ซึ่งการละหมาดนั้น หากจะต้องมีเหตุจำเป็นจริงๆ ที่ไม่สามารถหาเวลาอื่นมาทดแทนได้ หรือมิได้ตั้งใจว่าจะไม่พยายามละหมาด
วัลลอฮฺอะลัม
วัสลาม...
การละหมาดบนอูฐที่ทำได้ก็เพราะเป็นละหมาดนะฟัลมุตลัก
ส่วนเมื่อจะละหมาดฟัรดูจึงจำเป็นต้องลงมาหมาด
อินชาอัลลอฮฺ ผมจะนำหลักฐานมาลงครับ
ส่วนการละหมาดบนรถที่เดินทางไกล(ที่เราไม่ได้ขับ) หรือ การละหมาดบนเครื่องบิน มันเป็นเรื่องขับขันที่เราไม่สามารถบังคับให้ลงมาจอดได้
ดังนั้นการละหมาดฟัรดูนั้นวายิบ ก็เลยจำเป็นต้องละหมาดบนรถหรือเครื่องบินเพื่อรักษาเวลาเท่านั้น
ส่วนการขี่อูฐนั้น เราสามารถลงจากอูฐมาละหมาดได้