1.การคิลาฟที่อนุญาต เช่นการที่มีทัศนะขัดแย้งกันโดยอยู่ในกรอบของวิชาการอัลอิสลาม และหลักการที่นักปราชญ์ผู้มีคุณธรรมให้การยอมรับ ซึ่งการคิลาฟเช่นนี้ย่อมทำให้เกิดเราะห์มัตเกิดขึ้นในตัวของมันเอง เช่น ประเด็นของการรวมละหมาดของผู้ที่มิใช่เดินทางแต่อย่าทำเป็นประจำ อยู่บนรถเมล์ช่วงก่อนถึงมัฆริบ ถึงจุดหมายพ้นเวลามัฆริบไปแล้ว ก็อนุญาตให้กระทำได้ตามเงื่อนไขที่นักปราชญ์ส่วนหนึ่งวางเอาไว้ ดังนั้นประเด็นนี้แม้จะมีการขัดแย้งกัน แต่ก็เป็นการขัดแย้งที่เป็นเราะห์มัต สร้างความสะดวกให้แก่เราในยามลำบาก
2. การคิลาฟที่ถูกตำหนิ คือการขัดแย้งกัน เพื่อสนองความต้องการของตน ให้ตนเองพิชิตทัศนะอื่นได้ เกิดความตะอัศศุบ มีการละเมิดต่อกัน จนนำพาไปสู่ความแตกแยกในหมู่พี่น้องมุสลิม
...........น้องอัลอัชฮารีย์ครับ คีลาฟประเภทที่2นี้แหละครับ ที่มันสร้างปัญหาให้สังคมแถวๆข้างบ้านบังวุ่นวายจนทุกวันนี้โดยเฉพาะเรื่องวันอีดปีนี้เช่นกัน555