ชัยคฺ ดร. ยุซูฟ อัล ก็อรฎอวียฺ ได้นำเสนอ ฟิกฮุลอิคติล๊าฟ ไว้ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า
อัศเศาะวะฮฺ อัลอิสลามิยะฮฺบัยนัลอิคติล๊าฟ
อัลมัชรูอฺ วัตตะฟัรรุกอัลมัศมูม (การตื่นตัวในอิสลามท่ามกลางความแตกต่างที่อนุญาตและความแตกแยกที่ควรตำหนิ) หนังสือเล่มนี้
จะพูดถึงความขัดแย้งของอุมมะฮฺ สาเหตุและแนวทางแก้ไข เพราะท่านเห็นว่าในปัจจุบันนี้มีขบวนการเคลื่อนไหวมากมายในการฟื้นฟูอิสลาม
ที่มีความเห็นแตกต่างกันในแนวความคิดในการทำงานดะอฺวะฮฺ จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ ฟิกฮุลอิคติล๊าฟ เพื่อที่จะให้เข้าใจถึงความหลากหลาย
ของแต่ละขบวนการ เพราะความหลากหลายในขบวนการฟื้นฟูอิสลามนั้นคือ การเกื้อกูลกันมิใช่ความหลากหลายที่เป็นปฏิปักษ์กัน ฟิกฮุลอิคติล๊าฟ
นั้นมีอยู่ 5ประเภทด้วยกัน
1.ฟิกฮุลมะกอซิด (ความเข้าใจถึงเจตนารณ์ในการหลักการของศาสนา) กล่าวคือเราต้องเข้าใจเป้าหมายต่างๆและภาพรวมของศาสนาทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับทุกด้านของชีวิต และการนำเอาหลักการของศาสนามา
ปฏิบัติใช้นั้นจำเป็นต้องนำปฏิบัติทั้งหมด ทั้งเป้าหมายหลักและเป้าหมายรอง ทั้งเป็นภาพรวมและสิ่งที่เป็นรายละเอียดโดยไม่เลือกปฏิบัติและเราต้อง
นำมาเติมเต็มในส่วนที่ท่านอิมาม ชาติบียฺได้ทำเอาไว้ ซึ่งท่านได้เน้นหนักและให้ความสำคัญเป็นการเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับจุดมุ่งหมายหลักทางสังคม
2.ฟิกฮุลเอาละวีย๊าด (ความเข้าใจถึงลำดับความสำคัญของปัญหา) การเข้าใจถึงการขั้นตอนต่างๆของการดะอฺวะฮฺ หมายถึงการจัดวางทุกสิ่งทุกอย่างตามความเหมาะสมที่แท้จริง จะไม่ทำให้ล้าช้าในประเด็นปัญหา
สำคัญ ส่วยประเด็นปัญหาเล็กๆเราจะไม่ทำให้มันเป็นเรื่องราวใหญ่โตเกินตัว ฟิกฮฺของการจัดลำดับความสำคัญต้องการให้เราเข้าถึงภาระหน้าที่ที่มีเวลาจำกัด
เพื่อว่าเราจะได้จัดการกับมันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยไม่หน่วงเหนี่ยวให้ล่าช้า และไม่ทำลายโอกาสที่นานๆจะพบสักครั้ง หรือจะไม่พบอีกต่อไป
แล้วก็ได้(วัลลอฮุอะอฺลัม) ดังคำสุภาษิตอาหรับที่ว่า จงใช้โอกาสให้เป็นประโยชน์ เพราะโอกาสนั้น ถ้าไม่ได้ใช้ประโยชน์แล้ว จะกลายเป็นความระทม
3.ฟิกฮุสสุนัน(ความเข้าใจแห่งกฏธรรมชาติและความเป็นไปทางสังคม) กฏเกณฑ์แห่งธรรมชาติหรือกฏเกณฑ์ที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้สร้างไว้ให้กับโลกและจักรวาลนั้นเป็นกฏที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เช่น กฎหรือ
แบบแผนของการเปลี่ยนแปลง การสับเปลี่ยนหมุนเวียนหรือการถ่ายโอน ชัยชนะและความค่อยเป็นค่อยไป
.และอื่นๆ
4.ฟิกฮุลมุวาซะนะฮฺ บัยนัลมะศอลิฮฺ วั้ลมะฟาซิด (ความเข้าใจในการประเมินหรือการเปรียบเทียบ สิ่งใดดี สิ่งใดเป็นประโยชน์สิ่งใด
เป็นโทษหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ฟิกฮฺแห่งดุลยภาพ) คำว่าฟิกฮุล มุวาซานาต หรือฟิกฮฺแห่งดุลยภาพ นั้นเราหมายถึงหลายสิ่งด้วยกันได้แก่ 4.1.ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างผลประโยชน์อย่างหนึ่งกับประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง ในขอบเขตขนาดและความสามารถ คุณค่าและผลกระทบ
ตลอดจนความยาวนาน ทั้งนี้เพื่อที่จะตัดสินใจว่าสิ่งใดควรให้ความสำคัญในลำดับแรกและสิ่งใดควรละทิ้ง
4.2.ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างความชั่วอย่างหนึ่งกับความชั่วอีกอย่างหนึ่ง พิจารณาในขอบเขตเดียวกันกับความสมดุลของผลประโยชน์ต่างๆ
ทั้งนี้เพื่อที่จะตัดสินใจว่าสิ่งใดพอจะเป็นที่ยอมรับได้และสิ่งใดควรจะหลีกเหลี่ยง
4.3.ทำให้เกิดความสมดุลระหว่างผลประโยชน์กับความชั่วถ้าทั้งสองประการขัดแย้งกัน ทั้งนี้เพื่อที่จะตัดสินใจว่าเมื่อใดควรยกให้การหลีกเลี่ยง
ความชั่วมีความสำคัญเหนือกว่าการได้มาซึ่งผลประโยชน์
5.ฟิกฮุลอิคติล๊าฟ (ความเข้าในความแตกต่าง) ความเข้าใจอันนี้เป็นสิ่งที่บรรดาศ่อฮาบะฮฺ ตาบีอีนและบรรดาอีหม่ามที่ได้รับทางนำเที่ยงตรง รู้จักและเข้าใจมันเป็นอย่างดี และพวกเขา
ยังอยู่ในศตวรรษที่ดีที่สุดแห่งประชาชาติอิสลามที่ท่านนะบีรับรองไว้ ดังนั้นความขัดแย้งต่างๆทางวิชาการในยุคของพวกเขาจึงไม่เป็นโทษ
หรือเป็นอันตรายกับพวกเขา เราไม่ตระหนักและไม่ใส่ใจต่อฟิกฮฺนี้ จึงทำให้เราต่อมาเป็นศัตรูกันเอง ด้วยเพียงสาเหตุเล็กๆน้อยๆ