อินเตอร์เน็ตนั้นหะลาลหรือหะรอม? ณ ที่นี้ขอกล่าวถึงทัศนะของ
เชคยูซุฟ อัลกอรฏอวีย์ ซึ่งได้ตอบข้อซักถามถึงทัศนะของอินเตอร์เน็ต เชคยูซุฟกล่าวว่า
"อัลลอฮฺทรงดำรัสให้การเรียกร้องสู่ศาสนาของพระองค์ (คือศาสนาอิสลาม) เป็นเรื่องจำเป็นต่อประชาชาตินี้
ดังโองการที่ว่า
وَلْتَكُن مِّنكُمْ أُمَّةٌ يَدْعُونَ إِلَى الْخَيْرِ وَيَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنكَرِ وَأُوْلَـئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ
ความว่า "และจงให้มีขึ้นจากพวกเจ้า ซึ่งคณะหนึ่งที่จะเชิญชวนไปสู่ความดีและใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และห้ามมิให้กระทำสิ่งที่มิชอบ
และชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ได้รับความสำเร็จ" (อาละอิมรอน 104)
ดังกล่าวนี้จึงจำเป็นต่อนักเรียกร้องทั้งหลายที่เขาจะต้องค้นหาสื่อใหม่ๆในการเผยแพร่อิสลาม อาทิเช่น วิทยุ โทรทัศน์
รวมทั้งหนังสือพิมพ์
ส่วนความเห็นของผมนั้นคิดว่า อินเตอร์เน็ตเป็นที่แพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก มนุษย์นับล้านสามารถรับรู้ข่าวสารและเรื่องราวต่างๆ
โดยมิได้จำกัดชนชั้น หรือศาสนา ดังนั้นสมควรที่เราจะต้องทำให้ศาสนาแห่งสัจธรรมนี้ไปสู่ชาวโลกทั้งมวล การใช้อินเตอร์เน็ตถือเป็นเรื่อง
สมควรอย่างยิ่ง ซึ่งอินเตอร์เน็ตมันก็เปรียบเหมือนงานหนึ่งของช่องอวกาศที่มันไร้พรมแดน มันไม่มีที่สิ้นสุด ตราบใดที่ยังมีคอมพิวเตอร์และโมเด็ม
ดังกล่าวนี้ มิอาจกล่าวได้ว่าอินเตอร์เน็ตมันเป็นเรื่องหะลาลหรือหะรอม แต่ทว่ามันจะหะลาลหรือหะรอม ขึ้นอยู่กับการใช้งานของผู้ที่
ต้องการเข้าเน็ต เป็นไปตามจุดประสงค์ของการใช้งาน บางคนใช้เน็ตในเรื่องของเพศหรือสิ่งลามกอนาจารก็ถือเป็นหะรอม ขณะที่บางคน
ก็ใช้มันเพื่อปกป้องอิสลาม ศึกษาอิสลามก็เป็นที่อนุญาติหะลาลสำหรับเขา ส่วนฟัตวาที่ออกมาห้ามปรามนั้นก็เพราะว่ากลัวว่าจะถูกใช้ไปในเรื่องอนาจาร
หรือเรื่องเสื่อมเสีย เพราะปัจจุบันนี้คาดการณ์ว่ามีเว็บลามก หรือรวมกระทั้งเว็บบิดเบือนอิสลามก็มีอยู่มากมาย
แม้ก่อนหน้านี้ เคยมีแบบสอบถามเรื่อง เว็บลามกในอินเทอร์เน็ตในสายตา "ผู้ใช้คอมพิวเตอร์" ของสวนดุสิตโพลล์ สำรวจผู้ใช้คอมพิวเตอร์
จำนวน 1,108 คน ผลออกมาว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์กว่า 90 % เคยพบเว็บลามกในอินเทอร์เน็ต แต่ถ้าหากว่าเรามาพิจารณาถึงคุณประโยชน์กับ
โทษของมันแล้วเราก็จะพบว่า เป็นไปได้ที่เราจะได้รับประโยชน์อันมากมายดังที่เราจะใช้มันไปในเรื่องของความดีงามทั้งหลาย และห่างไกล
จากการบ่อนทำลาย
หลายฝ่ายเคยให้ความเห็นว่า วัยรุ่นมุสลิมไทยในปัจจุบันมักใช้อินเทอร์เน็ตไปเพื่อความบันเทิงที่ไม่มีสาระประโยชน์มากนัก
ที่นิยมกันมากเห็นจะเป็นการเข้าห้องสนทนา และหัวข้อสนทนาที่พบโดยทั่วไปมักเป็นเพียงการพูดคุยหยอกล้อกัน หรือจีบกัน สาเหตุ หนึ่งอาจ
เป็นเพราะข้อจำกัดด้านภาษา จึงทำให้เด็กวัยรุ่นมุสลิมไทยไม่รู้สึกสนุกที่จะสืบค้นหาความรู้อิสลามหรือความรู้ทั่วไปจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย
เนื่องจากเว็บไซต์เหล่านั้นส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษและภาษาอาหรับดังนั้น ส่วนเว็บมุสลิมในไทยที่มีอยู่หลายสิบเว็บ ส่วนใหญ่ก็จะ
ขาดการปรุงปรุงข้อมูล หรืออัพเดต จึงทำให้อาจรู้สึกเบื่อหน่ายในการเปิดเว็บวิชาการ
ส่วนกรณีของการล่อลวงโดยใช้เป็นสื่อนั้น การดูแลป้องกันก็คงต้องอาศัยการอบรม ดูแลจากผู้ปกครอง และครูอาจารย์ เพื่อให้เด็ก
และเยาวชนตระหนักถึงภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ที่มีเจตนาร้าย โดยความรู้ เท่าไม่ถึงการณ์ ทั้งนี้มีแนวทางสำหรับ
ผู้ปกครองในการดูแลบุตรหลานของพี่น้องที่ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นแนวทางที่สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างง่าย ๆ ในชีวิตจริง แนวทางทั้งของ
ผู้ปกครอง และของเยาวชนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต นั้นพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. ข้าพเจ้าจะใช้อินเตอร์เน็ตไปในหนทางของศาสนา และใช้เวลาเล่นด้วยกันกับบุตรหลานของข้าพเจ้าเพื่อเรียนรู้ว่าเขาใช้อินเทอร์เน็ต
ไปในทางใด และมีความสนใจในเรื่องใด
2. ข้าพเจ้าจะสอนให้บุตรหลานรู้ถึงศิลปะป้องกันตัว 7 ประการสำหรับเยาวชนมุสลิมที่ใช้อินเทอร์เน็ต
3. ข้าพเจ้าจะพูดคุยทำความเข้าใจกับบุตรหลานเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตของเขา เช่น เวลาปฏิบัติศาสนกิจ และเวลาที่ใช้ออนไลน์ได้
จำนวนชั่วโมง ให้ใช้ได้ ประเภทของเว็บไซต์หรือกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตที่เข้าร่วมได้ เป็นต้น
4. ข้าพเจ้าจะวางคอมพิวเตอร์ที่บุตรหลานใช้ไว้ในที่เปิดเผย เช่น ห้องนั่งเล่น มากกว่าที่จะวางไว้ในห้องนอน หรือห้องส่วนตัวของเขา
ส่วนศิลปะป้องกันตัว 7 ประการสำหรับเยาวชนมุสลิมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นมี ดังนี้ 1. ข้าพเจ้าจะใช้อินเตอร์เน็ตในเรื่องการศึกษาอิสลามจากเว็บไซต์และการพูดคุยในหัวข้อเรื่องที่เกี่ยวกับอิสลาม หรือสนทนาเพื่อ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างมุสลิมโดยไม่ทำให้ขาดหรือบกพร่องในการปฏิบัติศาสนกิจของมุสลิม
2. ข้าพเจ้าจะไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อโรงเรียน ที่ทำงานหรือเบอร์ที่ทำงานของผู้ปกครอง
ให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
3. ข้าพเจ้าจะแจ้งให้ผู้ปกครองทราบโดยทันที หากข้าพเจ้าพบข้อความหรือรูปภาพใด ๆ บนอินเทอร์เน็ต ที่หยาบคาย หรือไม่เหมาะสม
โดยประการทั้งปวง
4. ข้าพเจ้าจะไม่ยินยอมไปพบบุคคลใดก็ตามที่ข้าพเจ้าได้รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ขออนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
และหากผู้ปกครองอนุญาตให้ข้าพเจ้าไปพบบุคคลนั้นได้ ข้าพเจ้าก็จะไปพบเขาในที่สาธารณะซึ่งมีคนผ่านไปมา โดยมีผู้ปกครองของข้าพเจ้าไปด้วย
5. ข้าพเจ้าจะไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคายหรือไม่เหมาะสม แต่ข้าพเจ้าจะแจ้งให้ผู้ปกครอง ทราบโดยทันที
6. ข้าพเจ้าจะเคารพต่อข้อตกลงอื่น ๆ ที่ให้ไว้กับผู้ปกครอง เช่น กำหนดระยะเวลาที่ข้าพเจ้าจะใช้อินเทอร์เน็ตได้ เว็บไซต์ที่ข้าพเจ้า
เข้าได้และข้อตกลงอื่นใดอย่างเคร่งครัด
7. ข้าพเจ้าจะไม่พยายามหลบเลี่ยงกฎทั้งหมดข้างต้น ไม่ว่าในกรณีใด