ผู้เขียน หัวข้อ: กรณีศึกษาปากีสถาน  (อ่าน 5139 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Haytham

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 91
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
กรณีศึกษาปากีสถาน
« เมื่อ: ม.ค. 04, 2008, 09:06 AM »
0

                     บทความนีอ้างจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ   [4 ม.ค. 51 ]

ไทย ปากีสถาน และอิรัก (3)
พรรคการเมืองในปากีสถานแตกจนเละตุ้มเป๊ะ แบ่งเป็นกลุ่มพรรคฝ่ายรัฐบาลที่หนุน พลเอก ปัรเวซ มุชัรร็อฟ และกลุ่มพรรคฝ่ายค้าน ทั้งกลุ่มฝ่ายค้าน กลุ่มฝ่ายรัฐบาลก็แตกแยกทะเลาะ เบาะแว้งกัน เดี๋ยวดีกัน เดี๋ยวฟัดกัน ร่างกฎหมายใดที่เข้าไปสู่สภามัจญ์ลิศ-อี-ชูร่า มักจะมีปัญหา ขัดแย้งรุนแรงตามมาเสมอ เนื้อหาหนังสือพิมพ์แทนที่จะเป็นเรื่องการพัฒนาประเทศข่าวสาร ของปากีสถานกลับเหมือนไทยในกรณีที่มีแต่เรื่องเกี่ยวดองหนองยุ่ง เพียงประโยชน์ของ นักการเมือง

ร่างกฎหมายที่ทำให้นักการเมืองตีกันมากที่สุด คือ Woman's Protection Bill 2006 หรือร่างกฎหมายคุ้มครองสิทธิสตรี พ.ศ.2549 ขอเรียนว่า สถานการณ์ในปากีสถานยุ่งกว่า ไทยตรงที่ นอกจากจะมีประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีกฎหมายฮุดูด ฮุดูดเป็นประมวลกฎหมายหนึ่ง

ของปากีสถานที่บัญญัติอุบัติตามหลักการของกฎหมายอิสลาม ว่าด้วยอาชญากรรม ความผิดเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์นอกสถานภาพสมรส การดื่มแอลกอฮอล์ และการลักขโมย

ภายใต้กฎหมายฮุดูด สตรีปากีสถานที่ถูกข่มขืน หากฝืนนำความมัวหมองไปร้องทุกข์ จะต้องมีพยานชายไม่น้อยกว่า 4 คน หากพยานชายไม่ครบ ก็ถือว่าคดีนี้ไม่มีความน่าเชื่อถือ ศาลจะไม่รับไว้พิจารณาคดี สตรีที่ถูกข่มขืนผู้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษเองก็จะต้องโดนดำเนินคดี ข้อหาล่วงประเวณีอีกด้วย โทษข่มขืนตามกฎหมายฮุดูดก็คือ จะถูกลงโทษด้วยการขว้างปา ด้วยก้อนหินจนตาย

หญิงชายที่มีเพศสัมพันธ์กันโดยที่ไม่ได้ผ่านการสมรส หากแต่งงานแล้ว ก็ถือว่ามีชู้ ทั้งคู่จะต้องโทษานุโทษด้วยการถูกขว้างปาด้วยก้อนหินจนตายอย่างเหี้ยมหฤโหด หากครองโสดยังไม่ได้แต่งงาน หรือเป็นบุคคลที่ไม่ใช่มุสลิม ก็จะถูกลงโทษ ด้วยการเฆี่ยนอย่างแรง 100 ครั้ง

กฎหมายฮุดูดถูกนำมาใช้ในปากีสถานในสมัยพลเอก มุฮำมัด เซียอุลฮัก เมื่อ พ.ศ.2522 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา บรรดาสมาคมชมรมสตรีเรียกร้องให้แก้ไข มาตลอดเกือบ 30 ปี เพราะถือว่าไม่เป็นธรรม แต่ไม่มีรัฐบาลชุดไหน หรือรัฐสภาชุดใด สนใจ มีแต่รัฐบาลของพลเอกมุชัรร็อฟนี่แหละ ที่พยายามแกะเอาคดีความการข่มขืนชำเราเข้าไปอยู่ในการพิจารณาคดีตาม ประมวลกฎหมายอาญา

พรรคมุจญ์ตาฮิดะห์ มัจญ์ลิศ เออะมาล พรรคฝ่ายค้านเคร่งศาสนา ที่ต่อต้านพลเอกมุชัรร็อฟ อย่างรุนแรง ก็ออกมาซัดรัฐบาลและร่างกฎหมายคุ้มครองสตรีว่า ขัดต่อหลักคำสอน ของศาสนาอิสลาม และขัดต่อรัฐธรรมนูญปากีสถาน มาตรา 2 ที่ว่า “อิสลามเป็นศาสนา ประจำชาติ” แถมขัดกับมาตรา 227 ที่ว่า “ต้องไม่มีการบัญญัติกฎหมายใดที่ขัดต่อ อัลกุรอานและหะดิษ”

ร่างกฎหมายนี้ทำให้พรรคฝ่ายค้านแตกฉานซ่านเซ็น เพราะพรรคฝ่ายค้านบางส่วน ก็อยากจะเอาใจผู้หญิงด้วยเหมือนกัน บั้นปลายท้ายที่สุดก็โหวตให้ผ่านในที่ประชุม สมัชชาแห่งชาติ ผ่านในวุฒิสภา และวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ.2549 พลเอกมุชัรร็อฟ ลงนามรับรองร่าง จนกลายเป็นกฎหมายสมบูรณ์ ตรงนี้นี่แหละครับ ที่สร้างกิตติศัพท์ ทำคะแนนให้พลเอกมุชัรร็อฟ

ประเทศไทยมีสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เหตุผลส่วนหนึ่งมาจาก การที่เคยไม่มีการพัฒนาอย่างจริงใจของรัฐบาลกลาง มีอย่างที่ไหน ทรัพยากรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สมบูรณ์ที่สุดแต่ผู้คนกลับ ยากจนข้นแค้น ที่นราธิวาสมีรายได้ครัวเรือนเพียง 9,240 บาทต่อปี มีพลเมืองหลายแสน อย่างนราธิวาสมีประชากรตั้ง 7 แสน แต่มีแพทย์เพียง 85 คน ปัตตานียิ่งมีน้อยไปใหญ่ มีแพทย์ 80 คน ตัวเลขเหล่านี่นี้เอง ที่มุสลิมบางกลุ่ม ในส่วนต่างๆของโลกเอาไปพูดจาสนทนากัน เรื่องที่รัฐบาลไทยไม่พัฒนาภาคใต้ ให้เต็มที่เหมือนภาคอื่น ซึ่งเราต้องแก้ไขข่าวตรงนี้

ปากีสถานมีแคว้นใหญ่สุดอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ชื่อว่าบาลูจิสถานแคว้นนี้มีก๊าซธรรมชาติ มาก น้ำมันก็เยอะ แถมอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทองแดง ทองคำ ฯลฯ

ทว่าผู้อ่านท่านเชื่อไหมครับ ผู้คนในแคว้นนี้กลับยากจนมาก ชาวบาลูชกับชนเผ่าต่างๆ จึงจับมือกันต่อต้านรัฐบาล ลอบวางระเบิดสำนักงานของรัฐและสถานที่ราชการต่างๆ มาเป็นเวลานานเท่ากับเมืองไทย ตายไปเกือบ 3,000 คน ข้อเรียกร้องก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แรกเริ่มเดิมทีเรียกร้องสิทธิในทรัพยากรธรรมชาติ สิทธิในการปกครองตนเอง จนขยายกลายมาเป็นการแบ่งแยกดินแดน

รัฐบาลปากีสถานตั้งคณะกรรมการขึ้นมาแก้ไขหลายชุด แต่ละชุดผุดแต่งานการประชุม แล้วก็เขียนรายงานสรุป สรุปยังไงก็ไม่เป็นที่พอใจของกลุ่มที่ก่อความไม่สงบ เหตุพลีชีพจึงระเบิดเกิดระบาดมากขึ้นเรื่อยๆ ลามจากหัวเมืองปามเข้ามาจนถึง กลางนครหลวงเข้าแล้ว

ผู้อ่านท่านกรุณาเปรียบ 3 ประเทศที่โลกกำลังจับตา เทียบว่ามีความยุ่งเหยิงวุ่นวายขนาดไหน ไหนจะปัญหาแบ่งแยกดินแดนที่มีการฆ่าแกงกันฆ่ารายวัน ปัญหาการแก่งแย่งชิงอำนาจ การเมืองไม่ลงตัว ฯลฯ มองจากข้างในไม่เห็นดอก ต้องออกมาสนทนากับผู้คนนอกประเทศ เราก็จะเข้าใจว่า อิรัก ไทย และปากีสถานนั้น มีปัญหาไม่ต่างห่างไกลกันเท่าใดเลย

5 ปี มีคนตายจากสถานการณ์ภาคใต้ของไทยไปแล้ว 2,622 ศพ.

นิติภูมิ นวรัตน์

 

 

ออฟไลน์ Haytham

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 91
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีศึกษาปากีสถาน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ม.ค. 04, 2008, 10:05 AM »
0
กรณีศึกษาซาอุดิอารเบีย http://www.pinonlines.com/news/view.php?newsno=0045869

นสพ. บางกอกทูเดย์ปล่อยนักเขียนไร้ความรู้ด้านศาสนา เขียนบทความหมิ่นอิสลาม

ฝ่ายข่าวหนังสือพิมพ์ประชาชาติอิสลามออนไลน์ ได้รับการแจ้งจากอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยในภาคไต้ และพี่น้องมุสลิมอีกหลายท่านถึงเรื่องของหนังสือพิมพ์บองกอกทูเดย์ ฉบับวันที่ 4 ธันวาคม หน้า 18 ภายใต้หัวข้อ "สิ่งของไร้ค่าในซาอุฯ" โดยมีเนื้อหาที่มีการดูถูกพี่น้องมุสลิมะห์ เหมือนเป็นของไร้ค่าในซาอุดิอาระเบีย และเชื่อมโยงมาถึงหลักคำสอนของศาสนาอิสลาม

โดยเนื้อหาหลักของบทความดูหมิ่นศาสนาอิสลามได้พุ่งเป้าไปที่คดีที่ สตรีวัย 19 ปีชาวซาอุดิอาระเบียผู้หนึ่งที่ถูกข่มขืนโดยชาย 7 คน โดยอาชญากรทั้ง 7 ถูกจับกุมตัวได้และตัดสินจำคุกตั้งแต่ 10 เดือน ถึง 5 ปี ขณะที่เธอเอง ก็ถูกตัดสินให้จำคุก 6 เดือน และเฆี่ยน 90 ครั้ง แต่เนื่องจากเธอพยายามใช้สื่อตะวันตกมากดดันการตัดสินของศาล จึงทำให้ศาลฏีกาของซาอุดิอาระเบีย ตัดสินแก้คำตัดสินของศาลชั้นต้น เพิ่มโทษเธอเป็นการเฆี่ยน 200 ครั้ง ในข้อหาอยู่กับชายอื่นที่ไม่ใช่ผู้ปกครองของตน

โดยสื่อตะวันตกได้ร่วมกันบิดเบือนข่าวทำลายล้างศาสนาอิสลามด้วยการนำเสนอข่าวดังกล่าวโดยได้ปิดบังความจริงมากเรื่องไว้ ด้วยมุ่งหวังให้ร้ายป้ายสีศาสนาอิสลามให้ดูว่าเป็นศาสนาที่โหดร้าย กดขี่ข่มเหงสตรีผู้อ่อนแอ และสื่อไทยหัวใจตะวันตกก็ได้รับเอาแนวคิดและแผนการร้ายดังกล่าวมาอย่างสมัครใจในการเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมให้ร้ายศาสนาอิสลาม

ทั้งนี้หากจะหาความจริงจากเรื่องดังกล่าวก็ไม่เป็นเรื่องยากแต่อย่างใด เพียงแค่หาข้อมูลไปที่กระทรวงยุติธรรมของซาอุดิอาระเบีย ก็จะได้รับความจริงในคำแถลงของสำนักงานศาลสูงของซาอุดิอาระเบีย ถึงคำตัดสินจำคุก และเฆี่ยนสตรีวัย 19 ผู้นี้ โดยเธอได้สารภาพว่าได้โกหกสามีของเธอที่เพิ่งจะแต่งงานกัน เพื่อแอบพบกับชายคนรักอีกคน ซึ่งความผิดของเธอดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนที่เธอจะถูกแก็งอาชญากรรมรุมข่มขืน ซึ่งจากข้อเท็จจริงดังกล่าวชี้ให้เป็นว่าการที่นางซึ่งเป็นเหยื่อในคดีข่มขืนถูกตัดสินให้มีความผิดด้วยนั้นไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดีที่เธอถูกข่มขืนเลยแต่อย่างใด

แต่ทางหนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์กับไม่ยอมแสวงหาความจริง แต่กับเขียนบทความดูหมิ่นศาสนาอิสลาม ด้วยความคิดและสติปัญญาที่ขาดความรู้ของตน ทีมงานฝ่ายข่าวของหนังสือพิมพ์ประชาชาติ อิสลามออนไลน์ ขอเรียกร้องให้หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์ ได้ศึกษาหาข้อมูลอย่างรอบคอบก่อนที่จะเขียนบทความดูถูกดูหมิ่นศาสนาหนึ่งศาสนาใดลงไป และขอเรียกร้องให้หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์แสดงความรับผิดชอบ พร้อมทั้งออกมาขอโทษในการดูหมิ่นศาสนาอิสลามในครั้งนี้ด้วย

"สำหรับพวกท่านก็คือศาสนาของพวกท่าน และสำหรับฉันก็คือศาสนาของฉัน" ซูเราะห์ อัลกาฟิรูน อายะห์ ที่ 6

ออฟไลน์ Haytham

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 91
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีศึกษาปากีสถาน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ม.ค. 04, 2008, 10:11 AM »
0
กรณีศึกษามาเลเซีย
ประชาไท- 10 ม.ค. 2549 ไซดะห์ อับดุล เราะห์มาน  แม่บ้านชาวสลังงอ กลายเป็นหญิงคนแรกที่ลุกขึ้นมาร้องเรียนเรียกร้องสิทธิที่ไม่เท่าเทียมในพระราชบัญญัติกฎหมายครอบครัวของมาเลเซียมาตรา 108 (รัฐยะโฮร์)  ที่ให้อำนาจผู้ชายจัดการทรัพย์สินของอดีตภรรยาได้

ซันเดย์ เมล์ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ขอมาเลเซียรายงานเมื่อวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมาว่า ไซดะห์ อับดุล เราะห์มาน กับกลุ่ม Sister in Islam (SIS) ได้ออกโรงร้องเรียนถึงความไม่เป็นธรรมของกฎหมายครอบครัวอิสลาม มาตรา 108 ของรัฐยะโฮร์ที่อนุญาตให้สามีที่หย่าขาดจากภรรยาไปแล้วยังสามารถเข้าไปจัดการกับทรัพย์สินของภรรยาได้

ที่มาของกรณีดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นเริ่มตั้งแต่ เมื่อเดือนตุลาคม 2004 อดีตสามีของไซด๊ะห์ ดาโต๊ ไซเอ็ด อัสมี ออตมาน ได้ยื่นขอจัดการดูแลบัญชีทรัพย์สินของเธอที่ฝากไว้กับบริษัท Permodal Nasional Berhad รวมทั้งได้ขอระงับการใช้งานบัญชีเงินฝาก Tabung Haji (Pilgrim Fund Board) ของเธอไปด้วย และศาลก็อนุญาตให้เข้าได้รับสิทธิดังกล่าวด้วย และใน เดือนต่อมาเขาก็หย่าขาดกับเธอ

 กฎหมายในรัฐยะโฮร์ ที่มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 2003 ในมาตรา 108 นั้นความจริงแล้วขัดต่อหลักซาริอ๊ะห์ ( กฎหมายอิสลาม) ซึ่งระบุว่า สามีไม่มีสิทธิในทรัพย์สินของภรรยา ทว่า เมื่อไม่นานนี้มีการผ่านกฎหมายของเขตสหพันธ์ ( Federal Territeries) มาตรา 107A ซึ่งมีหน้าตาเหมือนอัดสำเนากฎหมายมาตรา 108 ของรัฐยะโฮร์อย่างไม่ผิดเพี้ยน ที่ค่อนข้างจะเป็นที่แน่นอนว่าทั้งประเทศมาเลเซียจะต้องรับเอากฎหมายนี้มาใช้เนื่องจากว่ารูปแบบของกฎหมายใน Federal Territories นั้นถูกวางไว้ว่าจะให้เป็นแบบอย่างของกฎหมายทั้งหมดเพื่อนำประเทศไปสู่การใช้กฎหมายครอบครัวอิสลามที่มีมาตรฐานเดียวกัน

 พระราชบัญญัติที่เพิ่งจะผ่านวิปรัฐสภาไปนั้น ถูกร้องเรียนโดยองค์กรสตรีมุสลิมเป็นอย่างมากว่าเป็นละเมิดสิทธิสตรีและขัดต่อหลักซาริอ๊ะห์ ทางคณะรัฐบาลจึงได้มากล่าวเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ว่า หากมีถ้อยคำใดในกฎหมายนี้เป็นการเลือกปฎิบัติก็ให้แก้ไขได้ทันทีหลังจากที่กฎหมายผ่านสภาไปแล้ว

 การผ่านกฎหมายฉบับดังกล่าวของสภานั้นมีขึ้นแม้ว่าจะมีการออกมาโต้แย้งและคัดค้านมาเป็นเวลาหลายปีโดย องค์กรมุสลิมสตรี SIS โดยได้แก้ไขมาตรา 107A ที่อนุญาตให้สามีเข้าไปมีส่วนครอบครองทรัพย์สินของภรรยาได้
ณ ขณะนี้มีเพียงรัฐเคดาห์และตรังกานูเท่านั้นที่ยังไม่รับรองกฎหมายครอบครัวฉบับดังกล่าว

 “ ถ้าไม่มีการดำเนินการใดๆที่จะหยุดยั้งการรับรองกฎหมายครอบครัวอิสลามฉบับแก้ไข ในFederal Territories และ ระงับการนำใช้สำหรับรัฐที่รับรองไปแล้ว จะกลายเป็นว่ากฎหมายครอบครัวอิสลามในมาเลเซียจะมีมาตรฐานเดียวกันคือเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม” ไซนะห์ อันวาร์ ผู้อำนวยการบริหาร SIS  กล่าว

ขณะนี้ได้มีกลุ่มผู้หญิงกลุ่มอื่นๆไดข้าร่วมกับ  SIS เพื่อคัดค้านการผ่านและการนำใช้กฎหมายฉบับแก้ไขดังกล่าว
ทั้งนี้ นอกจากการยินยอมให้สามีเป็นผู้จัดการกับทรัพย์สินของภรรยาแล้ว ในเรื่องของการหย่าที่เคยตกไปในสมัยรัฐบาลมหาเธร์ โมฮัมหมัด เรื่องให้ผู้ชายหย่าผู้หญิงผ่านทาง SMS นั้นก็ได้ผ่านสภาในครั้งนี้ด้วย รวมทั้งการให้สามีสามารถมีภรรยาคนที่2, 3, และ4 ได้โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานทางการเงินว่าพร้อมที่จะเลี้ยงดูได้อย่างเท่าเทียม ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนขัดกับหลักซาริอ๊ะห์ทั้งสิ้น

ส่วนในกรณีของไซด๊ะห์นั้น ปัจจุบันไม่มีรายได้จากงานประจำใดๆจึงปรารถนาที่จะต่อสู้เพื่อให้เธอได้รับสิทธิในการดูแลบัญชีของเธอเองรวมทั้งเพื่อส่วนแบ่งในสินสมรสจากอดีตสามี
 เธอเล่าว่า อดีตสามีของเธอนั้น เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จพอสมควรที่สามารถทำราบได้ประมาณเดือนละ 30,000 ริงกิต ( ประมาณ 300,000 บาท)  เมื่อเดือน พฤศจิกายนปี 1985 เธอได้ลาออกจากงานที่ทำอยู่กับบริษัทด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อมาแต่งงานกับไซอิด อัสมี และมาเป็นแม่บ้านเต็มตัวแ ดูแลบ้านและดูแลลูกๆในเวลาต่อมา “ เนื่องจากเขาต้องการให้ฉันเป็นคนดูแลครอบครัว”
ต่อจากนั้นด้วยงานของเขาไซอิดนั้นต้องเดินทางไปทั่วประประเทศในระยะเวลาที่ควรจะต้องสร้างครอบครัวและจะกลับมาบ้านเป็นครั้งคราวเพื่อพักผ่อนเท่านั้น
ในปี 1991 ไซอิดได้นำภรรยาและลูก 3 คน มาอยู่ที่ กัวลาลัมเปอร์เพื่อรอรับตำแหน่งใหม่กับนายจ้างคนปัจจุบันของเขา  และได้ทิ้งบ้านที่บ้านที่แต่งงานกันที่สลังงอในเดือนมีนาคม ปี 2004 หลังจากที่คิดว่าไม่สามรถจะปรองดองกันได้อีก ซึ่งทำให้ไซด๊ะห์ขอหย่าอีกเป็นครั้งที่ 3 ในการแต่งงานกัน ในการขอหย่าในครั้งนี้เธอได้เห็นแล้วว่าไม่มีทางใดทีจะดีไปกว่าการยุติชีวิตสมรสอีกแล้ว
แต่แล้วในเดือนตุลาคม ปี 2004 นั้นเองที่ไซด๊ะห์ได้รับหนังสือแจ้งเตือนว่า บัญชีธนาคารของเธอถูกระงับการใช้งาน  “ไซอิด อัสมียังได้ตัดค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกๆด้วยถึงตอนนี้ก็เป็นเวลาหลายเดือนแล้ว” ไซด๊ะห์กล่าว  และกล่าวต่อว่าเธอยังคงจะต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าทนายอีก และยอมรับว่า “ไม่ง่ายเลยที่ต้องต่อสู้กับ “ดาโต๊ะ”ผู้มีเส้นสายใหญ่โตคนนี้”
ในเรื่องของเส้นสายของไซอิด อัสมี นี้ ไซด๊ะห์ยกตัวอย่างในเรื่องของวันที่ต้องให้การในการในศาลอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ว่าทำได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน หรือ บางกรณีศาลก็ยอมให้ทำได้ในวันเดียวกันนั้นเลย

 “เขายื่นขอยับยั้งบัญชีของลูกสาวของเรา 2 บัญชีซึ่งหนึ่งในนั้นคือบัญชีเพื่อการศึกษา ในวันที่ 27 ตุลาคม 2004 และก็มีการตัดสินให้กระทำได้ในวันเดียวกันนั้นเอง....นอกจากนั้นผู้พิพากษาที่ลงนามเป็นพยานในคำให้การที่เป็นลายลักษณ์อักษรกับคนที่นั่งบัลลังก์ฟังคำให้การยังเป็นคนๆเดียวกันด้วย” ไซดะห์ กล่าว

 ในขณะเดียวกันในกรณีของไซด๊ะที่ร้องเรียนเพื่อจัดการกับบัญชีส่วนตัวของเธอนั้น ลงประทับรับฟ้องเพื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2004 และได้ไปให้การไต่สวนในวันที่ 24 ธันวาคม 2004

 

“ต่อจากนั้นก็ถูกเลื่อนออกไปอีก 5 เดือนต่อมา” เธอกล่าวว่าศาลกล่าวว่าเนื่องจากไซอิด อัสมียังไม่ได้ลงนามในคำให้การเขา จนกระทั่งวันนี้เธอเองก็ยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถได้รับสิทธิในการจัดการบัญชีของเธอคืนมาหรือไม่ เพราะตอนนี้เงินทองเธอก็ร่อยหรอลงทุกทีแล้ว

 


ออฟไลน์ Haytham

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 91
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีศึกษาปากีสถาน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ม.ค. 04, 2008, 10:15 AM »
0
จากhttp://www.midnightuniv.org


"ธิดาแห่งไอซิส" เป็นหนังสืออัตชีวประวัติของนาวัล เอ็ด ซัดดาวี แพทย์หญิงชาวอียิปต์ผู้ซึ่งเกิด เติบโตและใช้เวลาตลอดชีวิตในประเทศอียิปต์ เธอเป็นนักต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของผู้หญิงชาวอียิปต์ ส่งผลให้ในปี ค.ศ. 1992 ชื่อของเธอได้ปรากฏในบัญชีมรณะของกลุ่มหัวรุนแรง ทำให้ต้องอพยพไปอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและเป็นช่วงเวลาที่เธอใช้เขียนงานชิ้นนี้
สตรีชาวมุสลิมมักถูกกล่าวถึงในฐานะเป็นกลุ่มผู้หญิงที่ถูกเอารัดเอาเปรียบทางเพศอยู่เสมอ แต่คำกล่าวนี้ก็จะได้รับการโต้แย้งว่าเป็นการมองจากบุคคลนอกวัฒนธรรมที่ไม่มีความเข้าใจที่แท้จริงต่อสังคมอิสลาม หนังสือเล่มนี้จึงมีความน่าสนใจเพราะผู้เขียนเป็นสตรีชาวมุสลิมซึ่งเปรียบเสมือน "คนใน"

 
วารุณี ภูริสินสิทธิ์ เรื่องราวความเหลื่อมล้ำทางเพศของหญิงและชายในประทศอียิปต์ได้ถูกสะท้อนผ่านทางชีวิตที่ดำเนินไปของผู้เขียนและผู้หญิงที่อยู่รอบตัวเธออย่างเรียบ ๆ ง่าย ๆ ไม่มีคำด่าว่าหรือประชดประชันใด ๆ แต่เรื่องราวเหล่านั้นกลับสร้างความสะเทือนใจต่อผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นการถูกเฉือนคลิตอริสทิ้งในวัยเพียง 6 ขวบด้วยประสงค์ของพระเจ้า หรือความใฝ่ฝันอันยิ่งใหญ่ของเด็กสาวคนแล้วคนเล่าที่ต้องจบลงด้วยการแต่งงานด้วยวัยเพียง 11-12 ปี

ในขณะที่แนวคิดสตรีนิยมในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เริ่มหันหลังให้กับแนวคิดเรื่อง "ความเป็นพี่น้อง" ของผู้หญิงที่ถูกกดขี่เหมือนกันทั้งโลก หนังสือเล่มนี้ ชีวิตของผู้หญิงในดินแดนที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของโลก กลับสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อและการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้หญิงที่คล้ายคลึงกับสังคมอื่น ๆ โดยเฉพาะสังคมจีนและอินเดียอย่างไม่น่าเชื่อ ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อที่ว่าผู้หญิงเกิดมาเพื่อแต่งงาน ผู้หญิงคือสมบัติของครอบครัวผู้ชายเมื่อแต่งงานไปแล้ว

"เด็กผู้ชายคือผู้ดำรงตระกูล แต่เด็กผู้หญิงต้องแต่งงานแล้วก็ออกจากบ้านพ่อไป และลูก ๆ ของนางก็ต้องใช้ชื่อของผู้ชายที่นางแต่งงานด้วย" (หน้า 66) เพราะฉะนั้น "เด็กผู้ชายคนหนึ่งมีค่าเท่ากับผู้หญิงสิบห้าคนเป็นอย่างน้อย" (หน้า 66) และสำหรับผู้ชายส่วนแบ่งของเขาจะเป็นสองเท่าของผู้หญิง

นอกจากนี้การพิสูจน์และการแสดงความยินดีต่อการได้เห็นเลือดจากการฉีกขาดของเหยื่อพรหมจรรย์หลังการส่งตัวเจ้าสาวก็เป็นเรื่องที่หลายวัฒนธรรมให้ความสำคัญคล้าย ๆ กัน ในประเทศไทยแม้จะไม่มีประเพณีพิสูจน์เลือดพรหมจรรย์อย่างจะจะตา แต่การรณรงค์ทาง
สังคมให้ผู้หญิงรักษาพรหมจรรย์กันอย่างออกหน้าออกตาในช่วงวันวาเลนไทน์ที่ผ่านมาก็มีความหมายที่ไม่ต่างกันนัก ประหนึ่งว่าถ้าสูญเสียพรหมจารีไปแล้ว ชีวิตของผู้หญิงก็จะไม่มีคุณค่าใดเหลืออยู่อีกแล้ว ซึ่งแตกต่างจากชีวิตของผู้ชายอย่างสิ้นเชิง

เรื่องประจำเดือนคือราคี ก็ดูจะเป็นความเชื่อที่แพร่หลายในหลายวัฒนธรรม และจากราคีนี้เองทำให้ผู้หญิงถูกกีดกั้นจากการเข้าใกล้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ผู้หญิงอียิปต์ในช่วงมีประจำเดือนจะถูกห้ามไม่ให้ยืนเบื้องพระพักตร์พระเจ้าและไม่ควรกล่าววจนะในอันกุรอาน ดังเช่นผู้หญิงจีนไม่ควรไหว้เจ้าในช่วงนี้เช่นกัน

อีกทั้งโลกของผู้หญิงอียิปต์ส่วนใหญ่ก็ไม่ต่างจากโลกของผู้หญิงในสังคมอื่น ๆ นัก คือ โลกแคบ ๆ ของกิจกรรมภายในบ้าน และข้ออ้างที่เก็บผู้หญิงไว้ในโลกแคบ ๆ นี้ก็ไม่ต่างเช่นกัน คือ เพื่อทำหน้าที่ (ที่ทรงเกียรติ ?) ของเมียและแม่ และเพื่อความปลอดภัยของผู้หญิงเอง เพราะโลกภายนอกล้วนเต็มไปด้วยผู้ชายที่ชั่วร้าย ผู้เขียนจึงได้สรุปถึงชีวิตของเธอซึ่งก็คือชีวิตของผู้หญิงอียิปต์ส่วนใหญ่ว่า

"โลกของพ่อ ของแผ่นดิน ของประเทศชาติ ศาสนา ภาษาและหลักศีลธรรม มันกลายเป็นโลกที่อยู่รอบตัวฉัน โลกที่สร้างขึ้นจากร่างของเพศชายโดยมี ร่างเพศหญิงของฉันอาศัยอยู่" (หน้า 76)

เรื่องราวของผู้หญิงอียิปต์ล้วนดูคล้ายคลึงกับผู้หญิงอีกจำนวนมากในหลายวัฒนธรรม อย่างไรก็ตามมีเรื่องหนึ่งที่มักไม่ค่อยพบในงานเขียนของนักสตรีนิยมตะวันตกมากนัก แต่ผู้เขียนกลับให้ความสำคัญอย่างมากและสามารถทำให้ผู้อ่านน้ำตาซึมอย่างไม่รู้ตัว คือการกล่าวถึงความผูกพันอย่างลึกซึ้งระหว่างแม่กับลูกสาว นักสตรีนิยมตะวันตกบางส่วนจะมองว่าแม่คือผู้ถ่ายทอดหลักของความเชื่อที่กดขี่ผู้หญิง และมักเสนอถึงความขัดแย้งระหว่างแม่และลูกสาวมากกว่าจะเสนอด้านที่เป็นบวกของความสัมพันธ์

แต่สำหรับเธอนาวัล เอ็ล ซัดดาวี แม่เป็นพลังแฝงที่อยู่ภายในตัวเธอ "กลิ่นกายของแม่เป็นส่วนหนึ่งของตัวฉัน ส่วนหนึ่งของร่างกายของวิญญาณ" (หน้า 18) แม่เป็นคนยืนยันให้เธอเรียนต่อในระดับสูง เมื่อพ่อต้องการให้เธอซึ่งเป็นลูกผู้หญิงคนโตออกจากโรงเรียนเพื่อมาช่วยงานบ้านและเลี้ยงน้องซึ่งมีอีกหลายคน แม่เป็นคนยืนยันให้เธอได้เรียนต่อในระดับสูง เมื่อมีคนพยายามจะให้เธอเลิกเรียนโดยอ้างว่าไม่ปลอดภัยเพราะเธอต้องไปใช้ชีวิตห่างจากครอบครัวในเมืองใหญ่ หรือการเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยทำให้ต้องเรียนปะปนกับผู้ชาย แม่เธอจะบอกว่า

"ถ้าคุณโยนแกเข้ากองไฟ แกจะสามารถรอดออกมาได้โดยไม่เป็นอันตรายใด ๆ สักนิดเดียว" (หน้า 194)

และด้วยการยืนยันอย่างหนักแน่นของแม่ตลอดมา ทำให้เธอสามารถเรียนจนจบแพทย์ ชีวิตของเธอคงเป็นเสมือนความใฝ่ฝันของแม่ ความใฝ่ฝันที่ไม่เคยเป็นจริงในชีวิตของแม่แต่มันสามารถถูกถ่ายทอดผ่านทางเธอ แม่จะเรียกเธอว่า "คุณหมอนาวัล" ตั้งแต่วันแรกที่เธอได้เข้าเรียนแพทย์ และในวันที่เธอเรียนจบ "แม่ดูเหมือนดอกไม้ที่กำลังเบ่งบาน เสียงหัวเราะแบบเด็ก ๆ ประกายระยิบในดวงตาสีน้ำผึ้งของแม่หวนคืนมา" (หน้า 189)

ความเข้มแข็งของแม่รวมทั้งความสามารถที่จะปกป้องลูกและมีอำนาจต่อรองกับสามีได้ในระดับหนึ่ง ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะแม่ผู้เขียนเป็นลูกสาวข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีฐานะดี มาจากตระกูลสูง ส่วนบิดาเป็นเพียงลูกชาวนาแต่สามารถเรียนจนจบเป็นข้าราชการครู ด้วยชีวิตที่หลากหลายประสบการณ์ของผู้เขียน การมีเครือญาติที่เป็นทั้งผู้ดีและชาวนา การได้ใช้ชีวิตทั้งในชนบทและเมืองใหญ่ทำให้หนังสือเล่มนี้มีสีสันเพิ่มขึ้น เพราะหนังสือไม่เพียงแต่จะเสนอภาพชีวิตของผู้หญิงมุสลิมซึ่งไม่ค่อยเป็นที่รับรู้มากนัก แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างทางชนชั้นของสังคมอียิปต์ วิถีชีวิตและความเชื่อที่ต่างกันของคนในเมืองและคนในชนบท รวมทั้งสภาพการเมืองและความรู้สึกของผู้คนภายใต้การเป็นอาณานิคมของอังกฤษผ่านทางชีวิตที่ผันแปรไปของผู้เขียน

ดังนั้น ใครที่สนใจเรื่องผู้หญิง สังคมอิสลาม วัฒนธรรมที่หลากหลายของผู้คนในสังคมอื่น ไม่ควรมองข้ามหนังสือที่น่าอ่านเล่มนี้ "ธิดาแห่งไอซิส" แปลเป็นภาษาไทยโดยประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล คบไฟเป็นผู้ดำเนินการจัดพิมพ์


ออฟไลน์ sufriyan

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 526
  • เพศ: ชาย
  • 0000
  • Respect: +16
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีศึกษาปากีสถาน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ม.ค. 07, 2008, 09:26 PM »
0
 salam
ขุดมาต่อกันอีกครับ ติดตามอยู่
 waalaikumussalam

Al Fatoni

  • บุคคลทั่วไป
Re: กรณีศึกษาปากีสถาน
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ม.ค. 07, 2008, 09:57 PM »
0
อัสสลามุ อลัยกุม

             ผมขอสารภาพกับกระทู้นี้ว่า ทุกๆ กระทู้ที่ผมอ่านมานั้น กระทู้นี่แหละที่ทำให้ผมคิดมากที่สุด โดยเฉพาะกรณีศึกษามาเลเซีย มันแสดงถึงความตกต่ำของมุสลิมอย่างเห็นได้ชัดเจนมากๆ ในยุคนี้ มาชาอัลลอฮฺ มันตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับโลกอิสลาม และมุสลิมมากที่สุด พูดง่ายๆ คือ เป็นกระจกอีกบานที่ส่องมายังตัวเรา สุดแต่เราจะมองเห็นสิ่งน่าตำหนิบนตัวเราหรือไม่ หากมองเห็นแล้วแก้ไข อินชาอัลลอฮฺ คุณจะพบกับความสำเร็จในชีวิต หรือหากมองเห็น แต่เฉยๆ ไม่สนใจอินชาอัลลอฮฺ คุณอาจคือผู้ล้มเหลวก็เป็นได้ แต่ที่ร้ายยิ่งกว่านั้นคือ คุณไม่ยอมส่อง แล้วแถมยังโพทนาความชั่วร้ายของตัวเองในคราบแห่งความดีงามคนอย่างคุณ อินชาอัลลอฮฺ รอพบกับความหายนะได้เลยครับ -  (นะอูซูบิลละฮฺ)

วัสสลามุ อลัยกุม

ออฟไลน์ IamCrying

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 376
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีศึกษาปากีสถาน
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ม.ค. 09, 2008, 05:46 PM »
0
น่าสนใจมากครับ สำหรับกรณีศึกษาจาก ประเทศต่างๆ อย่างที่ท่าน ฟาตอนี กล่าวละครับ เหล่านั้นเป็นเสมือนกระจกให้เราหันกลับมามองตัวเองละครับว่า เป็นอย่างไร ข้อกล่าวหา ความเข้าใจที่ต่างศานิกมองมายังเรา นั้นเป็นอย่างไร ก็เข้าใจได้ไม่ยากครับ ดูจากข่าวดังกล่าวก็รู้แล้วว่าเป็น อย่างไรนี่ละครับ คือการเข้าใจของเขาแน่นอนว่าเราปิดกั้นการรับรู้ของเขาไม่ได้ สารต่างๆที่เขาได้รับมาจากไหน? หน้าที่เรา (มุสลิม) คืออะไร เราจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อเหตุการณ์ดังกล่าว เงีบย? ประท้วง? ด่ากลับ? ชี้แจง ?  หรืออื่นๆ?
ติดตามกันต่อไปครับว่าจะเป็นอย่างไร
สำหรับพี่ ๆน้องๆ ที่มีความรู้ทางกฏหมาย นิติศาสตร์อิสลาม อยากให้ข่วยแบ่งปันมาครับ อย่างน้อยคนรู้น้อยอย่างผม จะนำไปตอบคำถามต่อเพื่อนต่างศาสนิกได้ โดยเฉพาะในเรื่องของกฎหมายครอบครัว ว่าด้วยสตรี หรืออื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพราะผใหวังเหลือเกินครับว่าการทำความเข้าใจกันและกันคือวิถีทางอันหนึ่งของความสงบสุข
                                 
Closer than veins : Invite to the Way of thy Lord with wisdom... Qur.16:125

ออฟไลน์ pichi963

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 1
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: กรณีศึกษาปากีสถาน
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ธ.ค. 12, 2012, 04:17 PM »
0
อยากไปศึกษาอเมริกาจัง

 

GoogleTagged