al-azhary السلام عليكم ورحمة الله وبركاته وطيباته
بسم الله الرحمن الرحيم
หลักการปฏิบัติด้วยกับหะดิษฏออีฟ
ท่าน อัศสัยยิด อับดุลลอฮ์ บิน อัศศิดดีก อัลฆุมารีย์ กล่าวว่า
ท่านอัลก๊อนนูญีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือตัฟซีร ฟัตหุลบะยาน และได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนไว้ในหนังสือของเขา คือ นุซุล อัลอับร๊อร บิลอิลมิลมะษูร มินัลอัดอิยะฮ์ วัลอัษการ ว่า
تساهل العلماء و تسامحوا حتى استحبوا العمل فى الفضائل و
التغريب و الترهيب بالحديث الضعيف, ما لم يكن موضوعا و إلى هذا
ذهب الجمهور, و به قال النووى, و اليه نحا السخاوى و غيره, و
لكن الصواب الذى لا محيص عنه أن الأحكام الشرعية متساوية الأقدام,
فلا ينبغى العمل بحديث حتى يصح أو يحسن لذاته أو لغيره, أو انجبر
ضعفه فترقى الى درجة الحسن لذاته أو لغيره
"บรรดานักปราชน์ได้มีการผ่อนปรน จนกระทั่งพวกเขานับว่าเป็นสุนัตกับการปฏิบัติในบรรดาอะมัลคุณงามความดี การส่งเสริมให้ทำความดีและทำให้เกรงกลัวกับสิ่งที่ต้องห้าม ด้วยหะดิษฏออีฟ ตราบใดที่มันไม่เป็นหะดิษเมาฏั๊วะ ซึ่งหลักการนี้ เป็นทัศนะของนักปราชญ์ส่วนมาก ซึ่งเป็นทัศนะที่อิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวไว้ และเป็นแนวทางของท่าน อัลหาฟิซฺ อัสศัคคอวีย์ และท่านอื่น ๆ แต่ที่ถูกต้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นก็คือ บรรดาหุกุ่มต่าง ๆ ของศาสนา(คือในสิ่งที่ฮาล้าลและหะรอม) มีระดับที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น จึงไม่สมควรปฏิบัติด้วยกับหะดิษหนึ่ง จนกระทั้งหะดิษนั้นมีความซอฮิหฺหรือหะซันด้วยตัวของมันเอง หรือเป็นหะดิษหะซันด้วยการมีหะดิษอื่นมาสนับสนุน หรือหะดิษฏออีฟที่ได้รับการสนับสนุนและถูกยกระดับให้เป็นหะดิษหะซันด้วยตัวของมันเองหรือด้วยกับหะดิษอื่น"
ดังกล่าวนี้ คือแนวทางของท่าน อัลหาฟิซฺ อบีบักร อิบนุ อัลอะรอบีย์ อัลมาลิกีย์ ที่ท่านบัดรุดดีน อัซซัรกาชีย์ ได้กล่าวถ่ายทอดทัศนะนี้ไว้ในหนังสือของเขาที่ทำการอธิบายหนังสือของท่าน อัลหะฟิซฺ อิบนุ ศ่อลาห์ และท่านอัลหาฟิซฺ อัศศ๊อคคอวีย์ ได้ถ่ายทอดไว้ในหนังสือ ฟัตหุลมุฆีษและหนังสือ อัลเกาลุลบะดีอฺ
และมันก็เป็นทัศนะคำกล่าวหนึ่งจากหลาย ๆ ทัศนะที่เกี่ยวกับประเด็นนี้ และบทสรุปที่ว่า ห้ามปฏิบัติด้วยกับหะดิษฏออีฟในบรรดาหุกุ่มต่าง ๆ หรืออื่น ๆ จากมันนั้น ย่อมเป็นทัศนะที่ไร้น้ำหนัก และเป็นทัศนะที่แปลกแนวและแหวกมติของปวงปราชน์ ยิ่งไปกว่านั้น ท่านอิบนุ อัลอะรอบีย์เอง ก็ยกเลิกทัศนะดังกล่าวตามที่เจ้าของหนังสือ ตันซีฮ์ อัชชะรีอะฮ์ อัลมัรฟูอะฮ์ ได้กล่าวถ่ายทอดไว้ถึงการหวนกลับของท่านอิบนุ อัลอะรอบีย์ ไปยังทัศนะของนักปราชญ์ส่วนมาก ซึ่งได้ระบุสำนวนได้ว่า
"ท่าน อัลกอฏี อบูบักร อิบนุ อัลอะรอบีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ มะรอกี อัซฺซุลัฟ ของท่านว่า หะดิษของท่านอิบนุอับบาสที่ว่า "เมื่อคนหนึ่งจากพวกท่าน ได้ร่วมสังวาสกับภรรยาหรือทาสหญิงของเขา ก็อย่ามองไปยังอวัยวะเพศของนาง" หากแม้นว่าหะดิษนี้ไม่ได้รับการยืนยันถึงหุกุ่มมักโระฮ์ก็ตาม
و إن لم يثبت بالكراهة فالخبر الضعيف أولى عند العلماء من رأى
القياس
" แต่ทว่า หะดิษฏออีฟนั้น ย่อมดีกว่า ความเห็นในเรื่องการกิยาสตามทัศนะของปวงปราชญ์"
และนี้ก็คือทัศนะของท่าน อิบนุ อัลอะรอบีย์ ที่โน้มเองไปยังทัศนะของนักปราชญ์ส่วนมาก จากการปฏิบัติด้วยกับหะดิษฏออีฟที่เกี่ยวกับการการปฏิบัติคุณงามความดี และด้วยเหตุนี้ หลักการปฏิบัติด้วยกับหะดิษฏออีฟจึงกลายเป็นมติของปวงปราชญ์ ดังนั้น ย่อมไม่เป็นประโยชน์แก่ประการใด ที่ท่านอัลก๊อนนูญีย์ ได้พยายามตักลีดตามท่านอิบนุอะรอบีย์ในสิ่งดังกล่าว และย่อมไร้ความหมายเช่นเดียวกันที่ท่าน อัลบานีย์ ได้ตักลีดตามทัศนะของท่านทั้งสอง
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสืออัลอัรบะอีนว่า
اتفق العلماء على جواز العمل
بالحديث الضعيف فى فضائل الأعمال
"บรรดาปวงปราชญ์ มีความเห็นพร้องกันว่า อนุญาติให้ปฏิบัติหะดิษฏออีฟในเรื่องของคุณงามความดีได้"
ท่านอัลลามะฮ์ อิบรอฮีม อัชชิบรอคีตีย์ ได้กล่าวอธิบายคำพูดของท่านอิมามอันนะวาวีย์ คือ "บรรดาปวงปราชญ์มีความเห็นพร้องกันว่า..." ว่า ในการกล่าวถึงการเห็นพร้องของอุลามาอ์นั้น สมควรพิจารณาก่อน เพราะท่านอิบนุ อัลอะรอบีย์กล่าวว่า "หะดิษฏออีฟนั้น ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้เลย" และอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลอัษการ ของท่านว่า
و ذكر الفقهاء و المحدثون أنه يجوز و يستحب العمل فى الفضائل
و الترغيب و الترهيب بالحديث الضعيف ما لم يكن موضوعا
"บรรดานักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลามและนักปราชญ์หะดิษกล่าวว่า แท้จริง อนุญาตและสุนัตกับการปฏิบัติคุณงามความดี , ส่งเสริมให้ชอบกระทำความดี และเตือนให้เกรงกลัวด้วยกับหะดิษฏออีฟ ตราบใดที่มันไม่เมาฏั๊วะ"
และสำหรับบรรดาหุกุ่มต่าง ๆ เช่นเกี่ยวกับเรื่องหะล้าลและหะรอม หรือเรื่องการค้าขาย ก็ไม่อนุญาติให้นำมาปฏิบัตินอกจากด้วยกับหะดิษที่ซอฮิหฺ หรือหะซัน แต่การปฏิบัติสามารถเกิดขึ้นได้ในแง่ของการเผื่อป้องกันเอาไว้ เช่นเมื่อมีหะดิษฏออีฟรายงานมาเกี่ยวกับหุกุ่มมักโระฮ์ในบางประเด็นของการค้าขายหรือการแต่งงาน เพราะสุนัตทำการหลีกให้พ้นกับสิ่งดังกล่าว แต่ไม่ถึงขั้นวายิบ(จำเป็น) และประเด็นที่ไม่สามารถนำมาปฏิบัติในบรรดาหุกุ่มต่าง ๆ ได้นั้น คือหะดิษที่บรรดานักปราชญ์ไม่ให้การยอมรับ แต่ถ้าหากว่าได้ถูกการตอบรับแล้ว ก็สามารถเจาะจงนำมาเป็นหลักฐานที่สามารถนำมาปฏิบัติในบรรดาหุกุ่มต่าง ๆ ได้ตามที่อิมามอัช-ชาฟิอีย์ได้กล่าวไว้
ท่านโปรดเข้าใจว่า ในหนังสือ นุซุล อัลอับร๊อร นั้นได้ระบุว่า ท่านอัลก๊อนนูญีย์ได้ตักลีดตามทัศนะของท่าน อิบนุ อัลอะรอบีย์ และท่านอัลบานีย์ ก็ตักลีดตามทัศนะของท่านทั้งสอง ซึ่งทัศนะนี้ ถือว่าเป็นทัศนะที่แปลกแนว เพราะผู้วางบทบัญญัติศาสนาเอง ก็ผ่อนปรนในเรื่องคุณงามความดี ดังนั้น ท่านไม่ทราบดอกหรือว่า ได้มีการอนุญาตให้บุคคลหนึ่งทำการนั่งละหมาดสุนัต หากแม้นว่าเขาจะเป็นคนที่มีสุขภาพดีก็ตาม , และอนุญาตให้คนเดินทางทำการละหมาดสุนัตบนหลังสัตว์พาหนะได้ ซึ่งแตกต่างกับละหมาดฟัรดู
การถือศีลอดสุนัตด้วยการเหนียตหลังจากแสงอรุณขึ้นแล้ว ถือว่าใช้ได้ แต่การถือศีลอดฟัรดูจะใช้ไม่ได้ นอกจากด้วยการเหนียตในช่วงของคืน และอนุญาตให้ผู้ทำการถือศีลอดสุนัต ให้ทำการละศีลอดหรือว่าถือศีลอดให้เต็มวันก็ได้ แต่เป็นสิ่งที่ต้องห้ามสำหรับผู้ที่ถือศีลอดฟัรดู , และการเรียบเรียงในการทำฮัจญฺ เช่นเรียบเรียงการขว้างเสาหิน การโกนศรีษะ การตะวาฟ และการเชือดสัตว์นั้น เป็นสุนัต และท่านร่อซูลุลลอฮ์ ซ๊อลลัลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถูกเกี่ยวกับผู้ที่ขัดแย้งการกับเรียบเรียงดังกล่าว ดังนั้น ท่านร่อซูลุเลาะฮ์ ซ๊อลลัลฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า "ท่านจงทำเถิด ไม่เป็นบาปแต่ประการใด"
ท่านอิบนุหะญัร อัลฮัยษะมีย์ อัลมักกีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ฟุตหุลมุบีน อธิบายหนังสือ อัลอัรบะอีนของอิมามอันนะวาวีย์ และได้บ่งบอกถึงการความเห็นสอดคล้องกับปวงปราชน์ ซึ่งท่านอิบนุหะญัรได้กล่าวโต้ตอบผู้คัดค้านที่กล่าวว่า
إن الفضائل إنما تتلقى من الشارع فأثباتها بما ذكر
اختراع عبادة,
و شرع فى الدين بما لم يأذن به الله و وجه رده أن الإجماع لكونه
قطعيا تارة و ظنيا قويا أخرى لا يرد بمثل ذلك لو لم يكن عنه جواب,
فكيف و جوابه واضح إذ ليس ذلك من باب الإختراع و الشرع المذكورين
و إنما هو من باب ابتغاء فضيلة و رجائها بأمارة ضعيفة من غير ترتيب
مفسدة عليه
"บรรดาคุณงามความดีนั้น ต้องได้รับมาจากผู้บัญญัติศาสนา ดังนั้น การยืนยันได้กับหะดิษฏออีฟ เป็นการประดิษฐ์เรื่องอิบาดะฮ์ขึ้นมา และทำการบัญญัติในเรื่องศาสนาที่อัลเลาะฮ์มิได้ทรงอนุญาต" และท่านอิบนุหะญัร ได้โต้ตอบว่า "มติของปวงปราชญ์(เกี่ยวกับเรื่องการปฏิบัติด้วยกับหะดิษฏออีฟ) นี้ บางครั้งเป็นเรื่องที่เด็ดขาดแน่นอนและบางครั้งคิดว่ามีน้ำหนักยิ่ง ที่ไมสามารถจะถูกปฏิเสธด้วยการกล่าวอ้างเฉกเช่นสิ่งดังกล่าว แม้หากว่าไม่มีคำโต้ตอบให้ก็ตาม ดังนั้น จะอย่างไรเล่า ในเมื่อคำตอบจริง ๆ นั้น ย่อมมีความชัดเจนแล้วว่า การปฏิบัติด้วยกับหะดิษฏออีฟ ไม่ใช่เป็นเรื่องของการประดิษฐ์หรือวางบทบัญญัติขึ้นมาเอง แต่แท้จริงแล้ว มันเป็นเรื่องของการแสวงหาและมุ่งหวังในความดีงาม ซึ่งสัญญานที่ฏออีฟโดยไม่มีผลเสียตามมา"
เงื่อนไขในการอนุญาตให้ปฏิบัติด้วยกับหะดิษฏออีฟ1. หะดิษต้องไม่ฏออีฟมากเกินไป ซึ่งหากว่าฏออีฟเป็นอย่างมาก ก็ไม่อนุญาตให้นำมาปฏิบัติ เงื่อนไขนี้ เป็นมติสอดคล้อง ดังที่ท่าน อัลหาฟิซฺ อัลอะลาอีย์ และท่าน ตะกียุดดีน อัสศุบกีย์ ได้กล่าวไว้ ตัวอย่างหะดิษที่ฏออีฟมากๆก็คือ มีนักรายงานหะดิษที่ถูกกล่าวหาว่าโกหก หรือผิดพลาดอย่างน่าเกลียด หรือหลงลืมเป็นอย่างมาก หรือความชั่วของเขาปรากฏให้เห็น และอื่นๆ
2. หะดิษฏออีฟต้องอยู่ภายใต้พื้นฐานโดยรวมจากพื้นฐานต่างๆ ของศาสนา ดังนั้น จะไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้กับหะดิษที่อยู่นอกเหนือสิ่งดังกล่าว เช่นหะดิษนั้นให้ความหมายถึงการประดิษฐ์สิ่งหนึ่งขึ้นมาเป็นหลักการหนึ่งของศาสนา
3. ต้องไม่เชื่อมั่นอย่างร้อยเปอร์เซ็นว่า การปฏิบัติดังกล่าวนั้น ได้รับการยืนยันมาจากท่านนบี(ซ.ล.) เพื่อที่จะไม่เป็นคาดการกับพาดพิงไปยังท่านนบี(ซ.ล.)กับสิ่งที่ท่านไม่ได้กล่าวไว้
สองเงื่อนไขแรกนั้น ท่าน อิซซุดดีน บิน อับดุสลาม ได้กล่าวเอาไว้ และศิษย์ของท่าน คือ ท่าน ตะกียุดดีน อิบนุ ตะกีก อัลอีด ได้กล่าวไว้เช่นกัน และจุดมุ่งหมายด้วยการปฏิบัติหะดิษฏออีฟ ก็คือ "อนุญาตให้ปฏิบัติหะดิษฏออีฟได้ โดยบุคคลหนึ่งได้กระทู้สิ่งที่หะดิษฏออีฟส่งเสริม ด้วยเจตนาที่จะได้รับผลบุญจากการกระทำนั้น และหลีกห่างจากสิ่งที่หะดิษได้บอกเตือนให้ระวัง
ท่านอิบนุหะญัร อัลอัสเกาะลานีย์ กล่าวว่า
و قد اتفقوا على أنه
لا يعمل بالموضوع و إنما يعمل بالضعيف فى فضائل الاعمال
"บรรดาปวงปราชญ์ มีทัศนะพร้องกันว่า แท้จริงจะไม่ถูกนำมาปฏิบัติกับหะดิษฏออีฟ แต่จะถูกนำมาปฏิบัติกับหะดิษฏออีฟเกี่ยวกับเรื่องคุณงามความดี" ดู หนังสือ มิชกาฮ์ อัลมะซอบีหฺ เล่ม 3 หน้า 306
อัล-อัซฮะรีย์ ขอกล่าวว่า
ปัจจุบัน มีกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกว่ากลุ่มวะฮาบีย์ ได้ทำให้ฐานะของ หะดิษฏออีฟ อยู่ในตำแหน่งเดียวกับ หะดิษเมาฏั๊วะ แล้วทำการฮุกุ่มบิดอะฮ์ลุ่มหลงและทุกบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงนั้น อยู่ในไฟนรก กับบรรดาพี่น้องมุสลิมีนที่มีทัศนะในการกระทำความงามความดีด้วยกับหะดิษฏออีฟ?! ซุบหานัลลอฮ์!!!