asan ข้อความโดย: aswar
บอกไปหลายครั้งแล้วและก็ย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า บรรดามุหัดดิษีนบอกว่าหุกมหะดีษนั้นเป็นซอนนีย์ไม่ใช่กอฏอีย์ที่จะฟันธงได้ ไม่มีอุลามาอ์คนไหนเขาพูดเช่นนั้นหรอกครับ แม้แต่ผู้ที่อยู่ทรรศเดียวกับบังอะสัน มีแต่เขาจะบอกว่าเป็นซอนมัรญัวห์ เพราะเขาทราบกันดีหมดว่าหุกมหะดีษสำหรับมุหัดดิษีนเป็นเพียงการตัดสินภายนอก ว่ารายงานดังกล่าวตรงกับเงื่อนไขที่เป็นเงื่อนไขของหะดีษศอเฮียฮ์ หะซัน ฎออีฟมิใช่เป็นการฟันธงว่านี่คือคำพูดท่านรอซูล มิเช่นนั้นจะแบ่งเป็นศอเฮียฮ์ หะซัน ฎออีฟทำไม ผมขอเรียนถามท่านว่า การฟันธงว่าหะดีษศอเฮียฮ์ กับการฟันธงว่าหะดีษหะซันนั้นต่างกันอย่างไร ในเมื่อการฟันธงนั้นก็คือการพูดที่ว่า "คำพูดนี้เป็นของท่านรอซูล 100%"แล้วศอเฮียฮ์นั้นมากกว่าร้อยเปอร์เซนต์ดังกล่าวกระนั้นหรือ? หรือหะซันนั้นน้อยกว่าร้อยเปอร์เซนต์ดังกล่าว? หรือบังอะสันจะบอกว่ามันเป็นเรื่องของ "ความเป็นไปได้" คือศอเฮียฮ์มีความเป็นไปได้ที่แข็งแรงกว่าหะซันที่จะเป็นคำของท่านรอซูล ซึ่งหากยังมีความมากน้อยของความเป็นไปได้อยู่นั้นเราจะไม่เรียกว่า "ฟันธง"
...........................
ตอบ
หลักฐานจากอัลกุรอ่าน เรียกว่า ดาลีลุลกอฏอีย์ คือหลักฐานเด็ดขาด
หลักฐานจากอัลหะดิษ เรียกว่า ดาลีลุลซอ็นนัย์ คือหลักฐานอนุมาน คือ การให้น้ำหนักไปในทางมั่นใจ
เมื่อหะดิษนั้น ผ่านการกลั่นกลอง สายรายงาน แคณสมบัติผู้รายงาน จึงจัดไว้ให้เป็นหมาดหมู่ คือ
1. เศาะเฮียะ หมายถึงอยู่ในระดับที่ถูกต้อง
2. หะซัน หมายถึงอยู่ในระดับที่ดี
3. เฏาะอีฟ หมายถึง อยู่ในระดับที่อ่อนหลักฐาน
หลักฐานซอ็นนีย์ ที่อยู่ในระดับ เศาะเฮียะ และหะซัน คุณ aswar บอกว่ายังฟันธงไม่ได้ ผมอยากจะถามว่า "แล้วหะดิษเฏาะอีฟ" จะเหลืออะไรล่ะครับ
ถ้าคุณศึกษาแบบใช้ปัญญาพิจารณา คุณลองถามตัวเองหน่อยเป็นไรว่า " ขนาดตอนรายงาน ก็ไม่กล้าที่จะกล่าวว่า "ท่านนบีพูด แล้วคุณนำมันมาปฏิบัติได้อย่างไร เช่นคำพูดของอิหม่ามนะวาวีย์ ดังที่เคยอ้างมาแล้ว
อิหม่ามนะวาวีย์ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า
قال العلماء ينبغى لمن أراد رواية حديث أو ذكره أن ينظر فان كان صحيحا أو حسنا قال رسول الله صلى الله عليه وسلم كذا أو فعله أو نحو ذلك من صيغ الجزم وان كان ضعيفا فلا يقل قال أو فعل أو أمر أو نهى وشبه ذلك من صيغ الجزم بل يقول روى عنه كذا أو جاء عنه كذا أو يروى أو يذكر أو يحكى أو يقال أوبلغنا وما أشبهه والله سبحانه أعلم
บรรดานักวิชาการ ได้กล่าวว่า สมควรให้ผู้ที่ต้องการรายงานหะดิษ หรือ ระบุหะดิษ ให้เขาพิจารณา แล้วถ้าหากมันเป็นหะดิษเศาะเฮียะ หรือเป็น หะดิษฮะซัน (ก็ให้กล่าว) ว่า ท่านรซูลุลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวอย่างนั้น อย่างนี้ หรือ ทำอย่างนั้นอย่างนี้ หรือในทำนองนั้น ด้วยถ้อยคำที่หนักแน่น และถ้าหากว่ามันเป็นหะดิษเฎาะอีฟ ก็อย่ากล่าวว่า ?ท่านรอซูลกล่าวว่า หรือได้ทำ หรือ ได้สั่งว่า หรือได้ห้ามว่า เป็นต้น ด้วยถ้อยคำที่หนักแน่น แต่ให้กล่าวว่า ?ได้มีรายงานจากท่านรอซูล อย่างนั้น อย่างนี้ หรือ มาจากท่านรอซูล อย่างนั้น อย่างนี้ หรือ ได้มีรายงาน หรือ ได้มีการระบุว่า หรือได้มีการเล่าว่า หรือ มีผู้กล่าวว่า หรือ ได้มีรายงานถึงมายังเรา เป็นต้น ? วัลลอฮุซุบฮานะฮู อะอฺลัม
- เศาะเฮียะมุสลิม เล่ม 1 หน้า 71
ท่านอัลบานีย์จึงกล่าวว่า
قال رسول الله صلى الله عليه وسلم: "اتقوا الحديث عني إلا ما علمتم" فإذا نهي عن رواية الحديث الضعيف فبالأحرى العمل به،
ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะยฮิวะสัลลัม ดกล่าวว่า "พวกท่านพึงระวังหะดิษที่รายงานจากฉัน เว้นแต่สิ่งที่พวกท่านรู้" แล้ว เมื่อท่านได้ห้ามรายงานหะดิษเฏาะอีฟ การนำมัน(หะดิษเฎาะอีฟ)มาปฏิบัติ ย่อม(ไม่สมควร)ยิ่งไปกว่านั้นอีก
- สิฟะติเศาะลาตินนบี ฯ หน้า 7
คุณอ้างญุมฮูร แล้วคุณคิดว่า คนส่วนมากการันตีได้ทุกเรื่องหรือ ผมอยากถามว่า คนชั่ว กับคนดี ใครมากกว่ากัน
asan ข้อความโดย: aswar
หากบังถามหาการตัดสินแบบฟันธงนั้นผมกลัวว่าดังกล่าวจะเป็นทรรศนะที่แหวกแนว เพราะไม่มีใครบอกว่าการหุกมหะดีษใดๆนั้นคือการฟันธงไม่มีทางเป็นอย่างอื่นได้ ไม่มีใครพูดแบบนี้แล้วบังอะสันยึดถือทรรศนะตัวเองเป็นศาสนา โดยไร้ซึ่งหลักฐาน และไม่มีอุลามาอ์คนไหนเห็นด้วยหรือเปล่า? ซึ่งแบบนี้ไม่ธรรมดา และจะนิ่งเฉยไม่ได้
หากมีอะไรที่ท่านไม่ชอบผมขอมะอัฟด้วยครับ
....................
ตอบ
การที่ผมยึดถิอ หะดิษเศาะเฮียะ และหะดิษหะซัน โดยไม่เอาหะดิษเฏาะอีฟมาปฏิบัติ แล้วคุณบอกว่า ผมถือทัศนะที่แหวกแนว อันนี้ผมยินดีที่จะแหวกแนวและยิ้มรับ"ด้วยความภูมิใจครับ
بسم الله،والحمد لله،والصلاة والسلام على رسول الله،وبعد:-
ذهب بعض العلماء إلى جواز إيراد الأحاديث الضعيفة في الوعظ والإرشاد مما يعرف بفضائل الأعمال، حتى تصور كثيرون أن هذا الرأي متفق عليه عند علماء الحديث.
ولا شك أن هذا التصور خطأ كبير، فقد ذهب عدد كبير من المحققين إلى أن الحديث الضعيف لا يعمل به لا في الفضائل ولا في غيرها، وهذا مذهب البخاري، ورجحه الشيخ الألباني في عصرنا
นักวิชาการบางส่วน อนุญาตให้รายงานบรรดาหะดิษเฏาะอีฟ ในเรื่องที่เกียวกับการตักเตือน และการแนะนำให้ทำความดี จากสิ่งที่ถูกให้คำจำกัดความว่า "ฟะฎออิลุ้ลอะอม้าล" (คุณค่าของอะมั้ล) จนกระทั้ง คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ทัศนะนี้ เป็นมติเอกฉันท์ ของนักวิชาการหะดิษ และไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความเข้าใจอันนี้ ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง ความจริง นักวิชาการที่ได้รับการรับรองจำนวนมาก มีทัศนะว่า "แท้จริงหะดิษเฎาะอีฟ ไม่ให้นำมันมาปฏิบัติ ไม่ว่าในเรื่องคุณค่าอะมั้ล และในเรื่องอื่นจากมันก็ไม่ให้นำมาปฏิบัติ และนี้คือ ทัศนะของอิหม่ามบุคอรี และเช็คอัลบานีย์ ในสมัยของเรา ได้ให้น้ำหนักทัศนะนี้
http://www.qaradawi.net/site/topics/article.aspx?cu_no=2&item_no=3759&version=1&template_id=230&parent_id=17..............
เพราะฉะนั้น ไม่ทราบว่า อิหม่ามบุคอรีแหวกแนวหรือเปล่า คุณ aswar คงจะให้คำตอบได้
..........
และอยากจะขอเรียน ทุกท่าน รวมทั้ง คุณ azwas ว่า การโต้ตอบกันในหลายเรื่องในอินเตอร์เน็ตนั้น แม้พวกท่านจะกล่าวหาผมอยางไร ผมขอยืนยันว่า ผมไม่ได้ใส่ใจ และอภัยเสมอขอยืนยันได้ ถ้าเจอกันกันเราก็คือพี่น้องกัน
asan เพิ่มเติม
อัลกอสิมีย์ กล่าวว่า
، والظاهر أن مذهب البخاري ذلك -أي : عدم جواز رواية الضعيف في الفضائل- ، يدل على ذلك شرطه في صحيحه "
และที่ปรากฏชัดเจน แท้จริงทัศนะของอิหม่ามบุคอรี เป็นอย่างดังกล่าวนั้น กล่าวคือ ไม่อนุญาตให้รายงานหะดิษเฏาะอีฟ ในเรื่องคุณค่าของอะมั้ล - แสดงให้เห็นว่า นั้นคือ เงื่อนไขของท่าน ในเศาะเฮียะของท่าน
- เกาะวาอิดุตตะห์ดีษ หน้า 113