งั้นมาต่อกันเลยดีกว่าน๊ะค๊ะ...คอมฯ ว่างล่ะ และในจดหมายเหตุประถมวงศ์สกุลบุนนาค ยังกล่าวอีกว่า พระยาเพ็ชรพิชัย มีภริยา 2 คน ภริยาคนใหญ่ คือ คุณหญิงแฉ่ง ธิดาเจ้าพระยารัตนาธิเบศ ที่สมุหพระกลาโหม
มีบุตรชายด้วยกัน 2 คน ชื่อ
"เชน" กับชื่อ
"เสน" กับธิดาอีกหนึ่งคนชื่อ
"แก้ว" ภรรยาคนที่สอง ชื่อว่า
"นก" ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินหลังจากที่เปลี่ยนมารับนับถือพุทธศาสนาแล้ว หลังจากนั้นจึงมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสายตระกูล เฉก อะห์หมัด
โดยแตกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มแรก ได้แก่สายตระกูลของบุตรชายคนโตของพระยาเพ็ชรพิสัย ชื่อ "ท่านเชน" ซึ่งยังคงรับนับถือศาสนาอิสลามอยู่เหมือนเดิม ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง พระยาจุฬาราชมนตรี
ลำดับที่ 4 ในแผ่นดินของพระที่นั่งสุริยามรินทร์
กลุ่มที่สอง คือสายตระกูลของบุตรชายคนที่สอง ชื่อว่า "ท่านเสน" ซึ่งเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาตามบิดา และเป็นต้นตระกูลของขุนนางสายตระกูลบุนนาค ในสมัยรัตนโกสินทร์
(หนังสือขุนนางกรมท่าขวา โดย ดร.จุฬิศพงศ์ จุฬารัตน์)
* รุ่งโรจน์ก่อนล่มสลาย ในรัชสมัยของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นยุคที่กรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก สมัยนั้นทุกแห่งทั่งพระนครสะอาดและสวยงาม ประชาชนมีกินมีใช้จับจ่ายอย่างเหลือเฟือ
มีแต่เทศกาลต่างๆ ไม่เคยว่างเว้น ราวกับเป็นงานเลี้ยงที่ไม่มีวันเลิกรา กรุงศรีอยุธยาในยามนั้นไม่เคยหลับ ตามถนนหนทาง แม่น้ำลำคลอง คลาคล่ำไปด้วยผู้ที่แต่กายอย่างสวยงาม
ออกเดินจับจ่ายซื้อข้างของกันตามตลาดอย่างสนุกสนาน มีมหรสพการแสดงอย่างมากมาย อาทิ ละคร วรรณคดี โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เฟื่องฟูเป็นอันมาก ( ในยุคปัจจุบันน่าจะเรียกว่า รุ่งเรืองแบบบูรณาการ )
สมเด็จเจ้าพระยาบรมหาประยูรวงศ์ ( ดิศ บุนนาค ) หรือสมเด็จองค์ชายใหญ่
สมเด็จเจ้าพระยามหาพิชายญาติ ( ทัต บุนนาค ) หรือสมเด็จองค์น้อย
สมเด็จพระยามหาศรีสุริยาวงศ์ ( ช่วง บุนนาค )
เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดีรับราชการต่อมาอีกหลายรัชกาลจนอายุ 87 ปี ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวปราสาททองทรงพระราชดำริเห็นว่าท่านชราภาพลงมากแล้ว
จึงโปรดเกล้าฯให้พ้นตำแหน่งสมุหนายก และเลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาบวรราชนายก จางวางกรมมหาดไทย หรือตำแหน่งที่ปรึกษาการปกครองแผ่นดิน และเลื่อนพระยาวรเชฐภักดี(ชื่น)
บุตรชายเป็นเจ้าพระยาอภัยราชาที่สมุหนายกอัครเสนาบดีฝ่ายเหนือแทนบิดา นอกจากนี้เจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดียังกราบบัลคมทูลฝากธิดาคือท่านชี ไปเป็นพระสนม
ก่อนที่ท่านจะถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ.2174 สิริรวมอายุได้ 88 ปี ศพของท่านฝังอยู่ที่ป่าช้าแขกเจ้าเซ็น บ้านท้ายคู จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หลังจากเจ้าพระยาเฉกอะหมัดรัตนาธิบดีถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว ลูกหลานของท่านก็ยังเข้ารับราชการสืบต่อมา และมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยตลอดมา
ทุกยุคทุกสมัยจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาเกือบ 400 ปี บุตรหลานของท่านได้สืบสกุลออกเป็นตระกูลใหญ่ ที่มีชื่อเสียงทั้งที่นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาพุทธ อาทิ บุนนาค บุรานนท์
จาติกรัตน์ ศุภนิมิตร ฉัตรกุล สวัสดิ์-ชูโต แสง-ชูโต ณ บางช้าง ศรีเพ็ญ ภาณุวงศ์ อหะหมัดจุฬา อากาหยี่ จุฬารัตน์ ช่วงรัศมี สุวกูล เป็นต้น
...มีต่อค่ะ...แต่ขอพักนิ้วแป๊บนึงค่ะ