ผู้เขียน หัวข้อ: ชุมชนย่านวัดเกตเชียงใหม่ กับร้านอาหารมุสลิม  (อ่าน 4299 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ abdulkalim bin musa

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 7
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

 salam
 ชุมชนวัดเกตแหล่งรวม อาหารมุสลิม

         ย่านวัดเกต ถนนเจริญราษฎร์เชียงใหม่ เป็นย่านอาศัยของคนต่างเชื้อชาติ-ศาสนาที่เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมานานร่วมร้อยปี  ซึ่งมีวัดเกต เป็นศูนยรวมจิตใจของชาวพุทธ ศาสนาคริสต์มีโบสถ์ คริสจักรที่ 1 สมาคมสิงห์สภาเป็นศูนย์รวมของชาวซิกข์ ที่มาจากแคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย และมัสยิอัต-ตักวา เป็นศูนย์รวมของชาวมุสลิม

      วันนี้ทีมงาน "ฮอมเซาะกิ๋นมุสลิมเชียงใหม่" ขออาสาพาท่านไปชิม เมนูอาหารของพี่น้องมุสลิมย่านนี้

       เริ่มจากหน้ามัสยิด เป็นร้านขายอาหารประเภทเส้น เป็นอาหารประจำถิ่นของคนจีนยูนนาน  ไม่ว่าจะเป็นข้าวซอยเย็น ซึ่งปรุงด้วยเครื่องปรุงหลากหลาย ซึ่งมีส่วนผสมของเครื่องเทศจีนที่ส่งกลิ่นหอม เวลาค้น หรือคีบเข้าปาก นอกจากนั้นยังมีข้าวเร่งเฟินเป็นอาหารอีกอย่างหนึ่งที่อยากให้ท่านมาชิม

     ถัดจากนั้นไปตรงหัวมุมถนน เป็นสภากาแฟ ประจำชุมชน เจ้าของร้านเป็นคนเชื้อสายประทาน แต่เขาเรียกแกว่า  "ไบ๋มีน" (ไบ๋แปลว่า พี่ชาย คนที่มีเชื้อสายปากีสถาน เขาจะเรียก เป็น "ลาลา" ซึ่งแปลว่าพี่ชายเหมือนกัน คนกลุ่มดังกล่าวไม่ชอบให้ใครเรียก"ไบ๋" แต่สำหรับไบ๋มีน ไม่ถือ) ร้านนี้ก้จะขาย โรตีนม โรตีมะตะบะ โรตีกล้วยหอม ชานมจากไร่ชาที่หอมกรุ่นโชยเข้าจมูกได้บรรยกาศแบบมุสลิมจริงๆ

    ตรงกันข้ามของร้านไบ่มีน ก็เป็นร้านของ พี่หน้อย ร้านนี้ จำหน่ายอาหารพื้นเมืองหลายเมนูสำเร็จ ตักถุง ละ 10 บาท มีข้าวเหนียว น้ำพริก ไก่ทอด ข้าวหมกไก่ ข้าวมันไก่ เจ้าของร้านอัธยสัยดีพูด เจ้าทุกคำ

   ผั่งตรงข้ามเป็นร้านข้าวซอย สูตรดั่งเดิม สืบทอดสูตรมาจากต้นตระกูลทางแม่สาย ได้รสชาติข้าวซอย ของจีนยูนนานจริง เจ้าของร้านชื่อ "เจ้เหมอ" หน้าร้านยังมีซาลาเปาร้อนๆ ตำหรับยูนนานขายสนนราคาลูกละ 5 บาท

    เดินมาอีกหน่อยเป็นร้านอาหารมุสลิมที่มีทั้งอาหารตามสั่ง โรตีจิ้มแกง ซึ่งแกงของที่นี้ไม่ว่าจะเป็นแกงเนื้อแกงไก่ ปรุงด้วยเครื่องเทศจากอำเภอแม่สอด ซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องเครื่องแกงมุสลิม เพราะมีกลิ่นหอม บำรุงร่างกายของชายไทยให้แข็งแรง พร้อมกันหนั้นยังมีแกงถั่ว เรียกชื่ออาหารตัวนี้ว่า "ดาล" เป็นที่นิยมทานของคนมุสลิมและไม่ใช่มุสลิม เพราะรสชาตกลมกล่อม จิ้มกับโรตีร้อน พร้อมซดชานม สุดยอดจริง ๆ  ร้านนี้ชื่อ ร้านอามีน เจ้าของร้านบอกว่า ขอให้เขียนเบอรโทรไว้ให้ด้วย เพราะนอกจากขายที่บ้านแล้วยังรับจัดอาหารกล่อง ในราคาย่อมเยาว์ โดยติดต่ได้ที่เบอร์โทร 053-248908

       เดินจากร้านอามีนไปประมาณ 30 เมตร ก็จะมีร้านก๋วยเตี๋ยว ข้าวซอยของป้าไฟ ซึ่งนับรวมอายุของร้านนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ปีแล้ว ด้วยรสชาด ที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะก๋วยเตี๋ยวเนื้อกับนำวุปที่เข้มข้นและข้าวซอยเนื้อ-ไก่ ต้องยอมรับว่าร้านนี้เขาเยี่ยมจริงๆ การันตีด้วยระยะเวลาของการขาย

     เดินจากร้านป้าไพ เข้าไปเส้นถนนบำรุงราษฎร์ ซอย 2 อีกประมาณสัก 30 เมตร เป็นร้านของคนมุสลิมที่ชำนาญในเรื่องของอาหารพื้นเมือง ชื่อร้าน"ยูบีดา" ร้านนี้ นับว่าเป็นร้านที่ผลิตอาหาร ฮาลาล โอท๊อปของย่านนี้ก็ว่าได้  มีทั้ง   ใส้อั่ว  แหนม หนังปอง  น้ำพริกหนุ่ม อาหารพื้นเมืองเหนือทุกชนิด เจ้าของร้านบอกว่า ทุกอย่างที่ทำออกจากร้านนี้ ฮาลาล พี่น้องมุสลิมวางใจได้ เราส่งขายทั่วประเทศ  สนใจสามารถติดต่อได้ที่เอร์โทร 0840423186
 
     นอกจากนี้แล้วย่านนี้ยังมีอาหารวัฒนธรรมอีกหลาก หลาย ของคนจีนยูนนาน ไม่ว่าจะเป็นผักกาดดองสูตรยูนนาย ที่ทานกับข้าวซอย  ขนมปิ้งจือใส้ถั่วดำที่มีรสชาตินิ่มอร่อย ทานกับกาแฟตอนเช้าได้เหมาะนัก รสชาดดียังไงต้องมาเยี่ยมพวกเราที่ย่านนี้

     ด้วยกับความแตกต่างที่ผสมกลมกลืนกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันก่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันของวัฒนธรรม ที่หลากหลายมีมิตรไมตรีจิตเอื้ออาทรต่อกันดุจดังทุกคนเป็นญาติกันและทุกคนที่อาศัยอย่ในแผ่นดินไทยต้องร่วมกันรักษาตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน

                                          นายชุมพล  ศรีสมบัติ  รายงาน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 09, 2008, 10:22 PM โดย al-azhary »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
วะอะลัยกุมุสลามวะเราะห์มะตุลลอฮ์วะบารอกาตุฮ์

มัสยิดตักวา  ก็มีโรงเรียนสอนศาสนาที่ชื่อว่า อัตตักวา  ซึ่งก็ได้รับทุนมาเรียนมหาลัยอัลอัซฮัรกันหลายคนเหมือนกัน 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ IamCrying

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 376
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อะ อยากไปลองชิม มั่งจั่งเลยหิวววววววววววววววววววววววววววว
Closer than veins : Invite to the Way of thy Lord with wisdom... Qur.16:125

ออฟไลน์ abdulkalim bin musa

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 7
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อยากให้ทางผู้จัดระบบแก้ไขหัวข้อเรื่องเป็น "ชุมชนย่านวัดเกตเชียงใหม่ กับร้านอาหารมุสลิม" เพราะมันเป็นคนละเรื่องกัน เรื่องมุสลิมเชียงใหม่มาจากไหนผมขอต่อจากนี้เลยนะครับ
 
ประวัติชาวไทยมุสลิมที่มีเชื้อสายจีนยูนนาน และบังคลาเทศ ปากีสถาน


ในจังหวัดเชียงใหม่



 


            เชียงใหม่เป็นเมืองเก่า มีเรื่องราว ตำนานต่างๆ ที่เล่าสืบลูกสืบหลาน เป็นเรื่องราวที่มีคุณค่า และน่าสนใจยิ่ง  เรื่องราววิถีชีวิตของชาวมุสลิมในจังหวัดเชียงใหม่ก็เป็นอีกหนึ่งที่น่าศึกษา น่าติดตาม ถึงเส้นทางการอพยพเข้ามาอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย


 ประวัติชาวไทยมุสลิมที่มีเชื้อสายจีนยูนนาน และบังคลาเทศ ปากีสถาน


ในจังหวัดเชียงใหม่



 


            เชียงใหม่เป็นเมืองเก่า มีเรื่องราว ตำนานต่างๆ ที่เล่าสืบลูกสืบหลาน เป็นเรื่องราวที่มีคุณค่า และน่าสนใจยิ่ง  เรื่องราววิถีชีวิตของชาวมุสลิมในจังหวัดเชียงใหม่ก็เป็นอีกหนึ่งที่น่าศึกษา น่าติดตาม ถึงเส้นทางการอพยพเข้ามาอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย


 การอพยพของชาวจีนมุสลิมเชื้อสายยูนนาน *

ในจังหวัดเชียงใหม่มีมุสลิมที่มีเชื้อสายจีน ซึ่งส่วนใหญ่อพยพมาจากมณฑลยูนนาน (ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน) นับตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 19 และปัจจุบันได้อาศัย กระจายตามที่ต่างๆ ของอำเภอฝาง อำเภอแม่อาย และอำเภอเมือง  จังหวัดเชียงใหม่มีมัสยิดที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนมุสลิมจีน รวมทั้งหมด 7 มัสยิด ได้แก่

1. มัสยิดอัลเอี๊ยห์ซาน  ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านยาง  ตำบลแม่งอน  อำเภอฝาง

2. มัสยิดอัลอีมาน  ตั้งอยู่ในตัวอำเภอฝาง

3. มัสยิดอัลอักซอ  ตั้งอยู่บนดอยอ่างขางตำบลแม่งอน อำเภอฝาง

4. มัสยิดอัสซะฮาดะฮ์  ตั้งอยู่หัวฝาย  ตำบลโปร่งน้ำร้อน  อำเภอฝาง

5. มัสยิดอัลเราะฮ์มะ  ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าตอน  อำเภอแม่อาย

6. มัสยิดเฮดายาตูลอิสลาม (บ้านฮ่อ)  ตั้งอยู่ย่านศูนย์การค้าไนท์บาซ่า อยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง

7. มัสยิดอัต-ตักวา  ตั้งอยู่ย่านวัดเกต ซึ่งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง  ถนนหน้าวัดเกต ซอย 1  อำเภอเมือง

            ชาวมุสลิมที่มีเชื้อสายชาวยูนนานนั้น ส่วนใหญ่เป็นพวกพ่อค้าที่เดินทางมาค้าขายบริเวณมณฑลยูนนาน เข้าสู่ประเทศพม่า ลาว และเข้าสู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย  คนกลุ่มนี้จะถูกคนพื้นเมืองทางภาคเหนือเรียกว่าเป็นพวก “จีนฮ่อ” ซึ่งมีเอกลักษณ์ทั้งทางด้านภาษา วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มอื่นๆ ที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย (ที่มาของคำว่า “ฮ่อ” นั้นยังคงเป็นปริศนาและมีความซับซ้อนว่ามีที่มาจากที่ใด เพราะเหตุไรชาวยูนนานจึงถูกเรียกว่า “ฮ่อ” ทั้งที่ชาวยูนนานเองก็ไม่ได้เรียกตัวเองว่า “ฮ่อ” ปัจจุบันยังมีนักวิชาการที่สนใจวิชาศึกษาและพยายามค้นหาต้นตอ และถกเถียงถึงที่มาของคำๆ นี้) (เจียแยนจอง, 2537)

            ถึงแม้นว่าผู้อพยพชาวจีนยูนนานที่อาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของไทย จะถูกคนพื้นเมืองเรียกรวมๆ กันว่าเป็นพวก “จีนฮ่อ” แต่ชาวจีนฮ่อก็มีลักษณะที่หลากหลายแบ่งเป็นได้หลายกลุ่ม อพยพมาจากหลายส่วนของมณฑลยูนนาน ดังนั้นจึงมีพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรมที่แตกต่างกันไป จากประวัติการอพยพถิ่นฐานแบ่งได้เป็นกลุ่มๆ ดังนี้

            กลุ่มแรก  กลุ่มพ่อค้าชาวยูนนาน


            เป็นกลุ่มคนที่เดินทางค้าขายในช่วงหน้าหนาวและหน้าแล้งโดยใช้ม้า-ล่อเป็นพาหนะ  จากหลักฐานของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือของไทยในสมัยนั้น ได้กล่าวถึงกองคาราวานของพวกพ่อค้าชาวยูนนานที่เดินทางค้าขายไปมาระหว่างเทือกเขาต่างๆ จาก ยูนนานและจังหวัดในภาคเหนือของไทย (Hellet, 1890 และ Bock, 1884 อ้างใน Suthep Soonthornpasuch, 1977)

            มีบุคคลท่านหนึ่งในกลุ่มนี้ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากกษัตริย์ไทย ทรงแต่งตั้งให้เป็นขุนนาง (ท่านขุนชวงเลียง ลือเกียรติ) เนื่องจากได้สร้างความเจริญและมีส่วนให้ความช่วยเหลือต่อคนส่วนรวม ท่านจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำของชาวมุสลิมในจังหวัดเชียงใหม่และในภาคเหนือในสมัยนั้น

            กลุ่มที่สอง  กลุ่มชาวยูนนานอพยพ

            กลุ่มนี้เป็นผู้อพยพชาวยูนนานที่หลบหนีออกจากประเทศจีนเนื่องจากแรงกดดันทางการเมืองในช่วงศตวรรษที่ 19 ประเทศจีนปกครองโดยราชวงศ์เซ็ง ซึ่งดำเนินนโยบายบีบคั้นและทำการกดขี่ชาวจีนแมนดารินเป็นอย่างมาก จนในปี ค.ศ. 1856 มุสลิมชาวยูนนานทั้งหลายจึงได้รวมตัวกันต่อต้านพื้นที่แถบตะวันตกของมณฑลยูนนานและตั้งเมืองตาลีฟูเป็นเมืองหลวงของยูนนาน แต่ต่อมาภายหลังผู้นำมุสลิมคือสุลต่านชาวยูนนานชื่อ สุลัยมาน ถูกสังหารจึงทำให้ชาวมุสลิมถูกไล่ล่าสังหารอย่างโหดร้าย คนจำนวนนับพันถูกเข่นฆ่า  จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มุสลิมชาวยูนนานเป็นจำนวนมากหลบหนีเข้าสู่ประเทศพม่า เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณลุ่มน้ำสาละวิน

            กลุ่มที่สาม  กลุ่มทหารกู้ชาติจีน


            หลังจากการปฏิวัติประเทศจีนได้ประสบความสำเร็จในปี ค.ศ. 1949 ภายใต้การนำของท่านเหมาเจ๋อตุง ซึ่งถือว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนประสบชัยชนะอย่างเด็ดขาดเหนือพรรคก๊กมินตั๋ง (KMT) หรือพวกจีนคณะชาติ ทำให้ทหารกองพล 93 ของจีนคณะชาติต้องถอยร่นลงมาอยู่ตามแนวชายแดนไทย-พม่า และต่อมาส่วนหนึ่งได้เดินทางไปอยู่ที่ประเทศไต้หวัน อีกส่วนหนึ่งปักหลักอยู่ทางภาคเหนือของไทย ซึ่งรัฐบาลได้จัดสถานที่เป็นศูนย์ผู้อพยพอยู่ประมาณ 50 กว่าศูนย์ทั่วภาคเหนือ

            กลุ่มที่มีบทบาทและเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อการตั้งถิ่นฐานของชาวมุสลิมเชียงใหม่ คือ กลุ่มของท่าน นะปะซาง (พ่อเลี้ยงเลานะ) ได้เข้ามาตั้งแคมป์อยู่บริเวณทุ่งเวสาลี ฝั่งตะวันออกของถนนโชตนา เมื่อพี่น้องมุสลิมมีจำนวนมากขึ้น ทั้งชาวมุสลิมที่มีเชื้อสายปากีสถานและชาวยูนนาน ท่านพ่อเลี้ยง เลานะจึงเป็นผู้นำสำคัญในการก่อสร้างมัสยิดขึ้นที่บริเวณดังกล่าวเรียกว่า “มัสยิดช้างเผือก”

            ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว กระแสคลื่นของผู้อพยพชาวจีนยูนนานยังคงหลั่งไหลมาโดยไม่ขาดสายเป็นระลอกๆ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2430 กลุ่มของท่านเจิงชงหลิ่งได้เดินทางเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของเจ้าอินทนนท์กำลังปกครองเมืองเชียงใหม่ในขณะนั้น  ท่านเจิ้งชงหลิ่งเป็นผู้นำคนสำคัญยิ่งของชาวยูนนานมุสลิมที่ได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมพารในประเทศไทย ท่านได้มีบทบาทในการสร้างหลักปักฐานให้กับชุมชนมุสลิมยูนนานและเป็นแกนนำในการสร้างมัสยิดบ้านฮ่อ อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการสนองคุณแผ่นดินในการสร้างเสริมความเจริญก้าวหน้าให้กับกิจการของทางราชการต่างๆ จนได้รับการแต่งตั้งบรรดาศักดิ์เป็น ขุนชวงเลียง ลือเกียรติ


 


การอพยพของชาวอินเดียเชื้อสายบังคลาเทศ ปากีสถาน ในจังหวัดเชียงใหม่ **


            ชาวอินเดียเชื้อสายบังคลาเทศและปากีสถานในเมืองเชียงใหม่ ส่วนใหญ่อพยพมาจากประเทศบังคลาเทศโดยผ่านทางประเทศพม่า โดยเข้ามาทางอำเภอต่างๆ ที่ติดกับชายแดน ได้แก่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก  อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย  พักอาศัยอยู่ในอำเภอดังกล่าวระยะหนึ่งแล้วค่อยๆ เคลื่อนย้ายเข้ามาบริเวณเมืองเชียงใหม่

            ในอำเภอแม่สอด แม่สาย ซึ่งติดกับชายแดนจะมีชุมชนของชาวบังคลาเทศทำหน้าที่ดูดซับผู้อพยพที่เข้ามาใหม่ซึ่งมีฐานะเป็นคนแปลกหน้าและคนต่างด้าว ซึ่งต้องการความช่วยเหลือและที่พักอาศัยชั่วคราว ระยะเวลาการพักอาศัยในชุมชนชายแดนดังกล่าวจะแตกต่างกันแล้วแต่ผู้อพยพ        แต่ละราย  ถ้าไม่มีญาติพี่น้องหรือคนรู้จักในบริเวณชายแดนหรือจังหวัดที่อยู่ภายใน เขาอาจจะต้องใช้ความพยายามของตัวเองเพื่อที่จะได้ใบอนุญาตข้ามแดนหรือเข้ามาอยู่ได้อย่างถาวร  ผู้อพยพคนหนึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 5-10 ปี  แต่ถ้าเขามีญาติพี่น้องหรือคนรู้จักเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนแล้วในภาคเหนือ ก็อาจใข้เวลาสั้นกว่านั้น

            ส่วนใหญ่ก่อนที่ผู้อพยพชาวบังคลาเทศจะเข้ามาตั้งถิ่นฐานอย่างถาวร ในตอนแรกๆ พวกเขามักจะเข้ามาเยี่ยมชุมชนมุสลิมในเมืองเชียงใหม่เป็นระยะสั้นๆ ไปก่อน โดยอาจจะมาเยี่ยมญาติ

พี่น้องหรือไม่ก็เข้ามารับซะกาต (เงินบังคับบริจาคสำหรับผู้เป็นมุสลิมมีทรัพย์สินอยู่ในเกณฑ์ตามศาสนาบัญญัติ กำหนดในอัตราร้อยละ 2.5) ในระหว่างช่วงเดือนถือศีลอดของชาวมุสลิม อาจจะพักอยู่เป็นเวลา 2-3 วัน หรือเป็นอาทิตย์ก่อนจะกลับไปยังชุมชนของพวกเขา  ในขณะที่มาพักอยู่ชั่วคราวก็สำรวจความเป็นไปได้ที่จะเข้ามาอยู่อย่างถาวร และหากมีความเป็นไปได้แง่ของที่อยู่อาศัยหรืออาชีพก็จะอพยพเข้ามาพร้อมกับครอบครัว และเมื่อเข้ามาอยู่ในชุมชนแล้วก็จะหาบ้านและงานอาชีพโดยความพยายามของตนเอง หรือความช่วยเหลือของญาติพี่น้องและมิตรสหาย


 


          ชุมชนผู้อพยพชาวอินเดียเชื้อสายบังคลาเทศ ปากีสถาน ย่านช้างคลาน เชียงใหม่


            ในบริเวณที่เป็นถิ่นฐานชาวบังคลาเทศ ปากีสถาน มุสลิม ซึ่งห่างจากกำแพงเมืองเก่าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร ในตำบลช้างคลาน มีมัสยิดอัลยาเมี๊ยฮ์ ช้างคลาน เป็นศูนย์รวมจิตใจของมุสลิมย่านนี้ มีประชากรประมาณกว่า 2,000 คน หรือประมาณ 400 ครอบครัว

            ชาวอินเดียเชื้อสายบังคลาเทศกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงใหม่อพยพมาจากประเทศพม่าในปี พ.ศ. 2393 โดยมีท่าน มุฮัมมัด อุสมาน อาลี เมยายี กับภรรยาชาวพม่า พร้อมน้องชายและน้องภรรยาซึ่งนับถือศาสนาพุทธ ในตอนแรกตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ทางทิศใต้ของกำแพงเมือง แต่หลังจากอยู่มาได้ 2-3 ปี ก็พบว่าอยู่ใกล้กับคุ้มเจ้าครองนครมากเกินไป และแวดล้อมด้วยชุมชนของชาวพุทธ ทำให้ไม่สะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจ  ท่านมุฮัมมัดและภรรยาจังได้ย้ายออกไปอยู่ในบริเวณซึ่งเป็นถิ่นฐานของชาวมุสลิมย่านช้างคลานปัจจุบัน โดยปล่อยให้น้องชายและน้องสาวของภรรยาซึ่งนับถือศาสนาพุทธยังคงอยู่ในชุมชนของชาวพุทธต่อไป

            สิทธิในที่ดินซึ่งชาวปากีสถานมุสลิมและครอบครัวเข้าไปตั้งบ้านเรือนได้รับพระราชทานจากเจ้าเมืองเชียงใหม่  ประกอบกับพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของชุมชนที่ดินที่ใช้ในการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์  ในระยะเริ่มแรกของการตั้งถิ่นฐานมีมุสลิมอยู่เพียง 10 กว่าครัวเรือน และจำนวนประชากรไม่ถึง 100 คน


            เมื่อกลุ่มผู้อพยพมุสลิมได้เข้ามาอยู่ในเชียงใหม่ระยะแรก พวกเขามีอาชีพในการเลี้ยงวัวเพื่อขายเนื้อและนมเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันเนื่องจากพื้นที่ที่จะใช้เลี้ยงวัวมีจำกัด และความไม่สะดวกต่างๆ ในบริเวณเมืองเป็นปัญหาในการเลี้ยงวัว ชาวบังคลาเทศมุสลิมจำนวนมากได้หันไปผูกขาดการตั้ง   โรงฆ่าสัตว์และค้าเนื้อวัวในตลาดเมืองเชียงใหม่ ส่วนที่เหลือก็ขายพืชผักผลไม้ตามฤดูกาล และทำการค้าปลีกอื่นๆ สำหรับผู้มีการศึกษาก็จะเข้าทำงานในหน่วยงานราชการและบริษัทห้างร้านในจังหวัดเชียงใหม่


 


ชุมชนมุสลิมมัสยิดอัต-ตักวา ย่านวัดเกต ย่านเก่าแก่ ***

            ในปี พ.ศ. 1971 พญาสามฝั่งแกนได้สร้างวัดเกตและเจดีย์องค์ใหญ่อยู่ท่าฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง มีชาวบ้านอาศัยอยู่รอบๆ วัด และมีทุ่งนากว้างใหญ่คั่นอยู่ระหว่างหมู่บ้านอื่น

            ในยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรืองของการค้าขายทางเรือขึ้นล่องระหว่างเชียงใหม่กับหัวเมืองทางใต้จนถึงกรุงเทพฯ “ท่าน้ำวัดเกต” จึงถือเป็นย่านเศรษฐกิจของการขนส่งทางน้ำที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ (พ.ศ. 2317 – 2464)

            ยุคนี้เองเริ่มมีคนต่างถิ่นต่างเชื้อชาติและศาสนาเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในย่านวัดเกต ได้แก่กลุ่มพ่อค้าชาวจีน ชาวอเมริกา เข้ามาเผยแผ่ศาสนา  ชาวอังกฤษเข้ามาตั้งสำนักงานทำไม้ในภาคเหนือ  ชาวมุสลิมจากปากีสถานและอินเดียและจีนยูนนาน และชาวซิกข์จากแคว้นปัญจาบในอินเดีย

            ในปี พ.ศ. 2464 เมื่อทางรถไฟมาถึงเชียงใหม่ และได้เข้ามามีบทบาทด้านการขนส่งแทนการขนส่งทางน้ำ การค้าขายทางเรือจึงลดบทบาทลงและหายไป  ยุคของ “ท่าน้ำวัดเกต” ศูนย์กลางเศรษฐกิจที่สำคัญของเชียงใหม่จึงสิ้นสุดลง

            มาบัดนี้ย่านวัดเกต เป็นดุจเพชรเม็ดอกที่ส่องประกายสุกใสที่ยังคงปรากฏร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ในรูปวิถีชีวิตที่สงบเรียบง่าย ย่านนี้จึงเป็นย่านการท่องเที่ยวที่ท่านจะได้สัมผัสถึงประเพณี วัฒนธรรม ของกลุ่มคนต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนา ทั้งพุทธ คริสต์ อิสลาม และซิกข์ ที่ผสมกลมกลืนกันอย่างลงตัว


 



 


ชุมชนมุสลิมอัต-ตักวา ****


            ก่อนจะมาเป็นชุมชนมุสลิมอย่างเช่นทุกวันนี้ เคยเป็นที่อยู่อาศัยของคนพื้นเมืองกลุ่มใหญ่ ซึ่งเดิมอาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ของโรงเรียนจิตต์ภักดีปัจจุบัน  ก่อนหน้านั้นมีการอยู่ร่วมกันหลายชาติพันธุ์ ลักษณะเป็นชุมชนแออัด ขาดระเบียบวินัย มีทั้งซ่องโสเภณี ร้านขายเหล้าทั่วชุมชน มีมุสลิมอาศัยปะปนในชุมชนนี้ไม่เกิน 10 ครอบครัว มีทั้งมุสลิมเชื้อสายจีนยูนนาน อินเดียเชื้อสายปากีสถาน บังคลาเทศ  ชาวมุสลิมมีการเกาะกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น มีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์กันในกลุ่มมุสลิมกันเอง คนอินเดียเชื้อสายปากีสถานในย่านนี้เป็นคนที่อยู่ใต้ปกครองของนักล่าอาณานิคมอังกฤษ ติดตามเจ้านายอังกฤษเพื่อมาทำงานกลุ่มหนึ่ง และผู้อพยพกลุ่มหนึ่ง  ความสัมพันธ์ของมุสลิมในย่านนี้ค่อนข้างจะดี มีการไปมาหาสู่กันโดยผ่านทางวิถี ประเพณี พิธีกรรมทางศาสนา  มีครูสอนศาสนาคนอินเดียชื่อ อุสตาสมูลซี ซึ่งมีภรรยาเป็นคนไทย สอนศาสนาตามบ้านของมุสลิมในย่านนี้ แต่ส่วนใหญ่มักจะส่งลูกหลานไปเรียนศาสนาภาคบังคับที่มัสยิดบ้านฮ่อ  ยุคนั้นมัสยิดบ้านฮ่อจะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ศาสนาของคนมุสลิมในเชียงใหม่

            ตระกูลดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาก่อนที่จะมีมัสยิดเกิดขึ้น ก็จะมีตระกูล อนุวงศ์เจริญ  พงค์พฤกษฑล  วีระพันธ์  รุจิพรรณ  รัศมีจันทร์  นานาวิชิต  บุญสวัสดิ์  สุวรรณมาลี  บุษกร  มาลีกุล เป็นต้น


            ในกลุ่มของมุสลิมในย่านนี้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรมุสลิมคนแรกและคนเดียวในภาคเหนือ คือ คุณอารีย์  วีระพันธ์  และยังมีนายทหารไทยมุสลิมคนแรกของเชียงใหม่ คือ ท่าน พ.อ. บรรจง  รัศมีจันทร์  ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของมุสลิมย่านนี้และมุสลิมเชียงใหม่

            ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ชุมชนมุสลิมย่านนี้ยังคงเป็นแหล่งผลิตแพทย์  ทันตแพทย์  นายทหาร  ตำรวจ  วิศวกร  ครู  อาจารย์  ข้าราชการ  นักธุรกิจ  และผู้มีชื่อเสียงออกสู่สังคมไทยตลอดมา

            มุสลิมย่านนี้มีมัสยิดอัต-ตักวาเป็นศูนย์รวมจิตใจ มีประชากรจำนวน 443 คน หรือประมาณ 98 ครอบครัว (ตามทะเบียนสัปบรุษมัสยิด 2548)


 


ความเป็นมาของมัสยิด


            การสร้างมัสยิดในสมัยนั้นเริ่มต้นจาก คุณยง  ฟูอนันต์  (ผู้ก่อตั้ง ห.จ.ก. ฟูอนันต์  ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) ชื่อเดิมคือ “ฮุหยั่งโม๋” ชื่ออาหรับชื่อว่า “อับดุรเราะห์มาน อิสหาก อันชัยนี” อพยพมาจากประเทศจีน หมู่บ้าน “เซียวเหว่ยเกิง” อำเภอหมงหัว มณฑลยูนนาน ได้รวบรวมที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ อาทิเช่น คุณหว่างหมิ่นแซ๋ว  คุณสมพงษ์  อยู่อย่างไท  คุณสุจิต  ตรงเพียรเลิศ  คุณม่าหยู่ฉี่         คุณหย่างเอนเจ๋า  คุณเปรม  รุจิพรรณ  โดยได้ขอซื้อที่ดินจาก คุณแอนด์  เบน  ซึ่งท่านเป็นผู้ที่มีจิตในสูงมาก ได้ขายที่ดินให้ในราคาเดิมทั้งที่การวางมัดจำได้ล่วงเลยมานานแล้ว  โดยได้รับการช่วยเหลือทางด้านการเงินจากสมัครพรรคพวก ทั้งที่อาศัยอยู่บริเวณนี้และจากที่อื่นๆ  ได้เริ่มสร้างกำแพงและอาคารมัสยิดเมื่อปี พ.ศ. 2510 แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 มกราคม

ใน2513  โดยมีเอกอัคราชทูตซาอุดิอารเบียเป็นประธานในพิธี  และตั้งแต่บัดนั้นมัสยิดอัต-ตักวา ก็เป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาวมุสลิมในเมืองเชียงใหม่  มีโรงเรียนสอนศาสนาแห่งแรกในภาคเหนือชื่อโรงเรียนจิตต์ภักดี

            มัสยิดอัต-ตักวา เป็นศูนย์รวมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับศาสนา  เช่น สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเชียงใหม่ และอีกหลายหน่วยงาน เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้ในวิชาการของศาสนาอิสลามในภาคเหนือ


 


นโยบายการบริหาร

            นโยบายการบริหารงานของมัสยิดอัต-ตักวา มีเป้าหมายดังต่อไปนี้

            1.   ส่งเสริมการศึกษาทั้งทางด้านศาสนา   สามัญ  และวิชาชีพแก่ปวงสัปบรุษ

            2.   พัฒนาคุณธรรมทางด้านศาสนาแก่ปวงสัปบรุษ

            3.   พัฒนาคุณภาพชีวิตของปวงสัปบรุษให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น  และสามารถพึ่งพาตนเองได้

            4.   ยกระดับมัสยิดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน  และให้ปวงสัปบรุษมีจิตผูกพันตลอดไป

            5.   ประสานนโยบาย และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐทุกระดับ  เพื่อความเจริญของท้องถิ่น

            6.   ขจัดอบายมุขและสิ่งที่ผิดต่อหลักการสศาสนาอิสลาม

            7.   มัสยิดแสวงหาทุนดำเนินการต่าง ๆ  ด้วยการพึ่งพาตนเองพร้อมทั้งยินดีรับน้ำใจจากบุคคลทั่วไป


 


หลักการบริหารมัสยิดอัต-ตักวา


            คณะกรรมการมัสยิดได้มาโดยการคัดเลือกบุคคลที่มีจิตใจเสียสละตามความเห็นชอบของปวงสัปบรุษ  การคัดเลือกดำเนินการตามขั้นตอนคือ

            - จัดประชุมตามระเบียบการเลือกตั้งกรรมการมัสยิดที่ระบุใน พ.ร.บ. บริหารองค์กรอิสลาม

            - ให้ปวงสัปบรุษเสนอชื่อบุคคลที่ตนเห็นชอบ

            -นำรายชื่อบุคคลที่ถูกเสนอชื่อให้ปวงสัปบรุษรับรอง หากมีการเสนอชื่อ หรือรับรองบุคคลเกิน  12  คน  ให้มีการลงคะแนนจะใช้วิธีเปิดเผยโดยการยกมือ หรือ ทางลับ โดยการกาบัตรลงคะแนนตามหมายเลขบุคคลที่ถูกรับรอง  ไม่น้อยกว่า 9 แต่ไม่เกิน 12 คน

            การแต่งตั้งตำแหน่งในคณะกรรมการมัสยิด  ให้อีหมามเรียกประชุมคณะกรรมการ  เพื่อเสนอแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมกับตำแหน่ง  โดยมติคณะกรรมการ  การออกระเบียบต่าง ๆ จะต้องผ่านมติคณะกรรมการมัสยิดโดยอีหม่ามเป็นผู้บริหารให้เป็นไปตามระเบียบนั้น ๆ


 


การหาทุนของมัสยิด

            การหาทุนดำเนินการด้านต่าง ๆ ของมัสยิดอัต-ตักวา ได้จาก


            -การบริจาค

            -การจัดงานการกุศลประจำปี ปีละ 2  ครั้ง

            -ค่าเช่าบ้านพักอาศัยที่มีผู้วากั๊ฟ(อุทิศให้) กับมัสยิดเพื่อใช้ในกิจการของมัสยิด

            เงินทุนที่ทางมัสยิดได้รับจากรายการดังกล่าวทำให้มัสยิดสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องอาศัยการเรี่ยไร


 


การส่งเสริมการศึกษา

            ทางมัสยิดส่งเสริมการศึกษาทั้งทางศาสนา  สามัญ และวิชาชีพ

ทางด้านศาสนามัสยิดเป็นเจ้าของโรงเรียนจิตต์ภักดี  เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับอิบติดาอียะห์ (เทียบมัธยมต้น) จนถึงระดับซานะวียะห์ (เทียบระดับมัธยมปลาย) โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน  ซึ่งโรงเรียนแห่งนี้เป็นที่เชื่อถือของมุสลิมทั่วไปตั้งแต่ภาคเหนือจดภาคใต้ของประเทศ  นักเรียนที่จบชั้นซานะวียะห์ ของโรงเรียนสามารถเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศได้อาทิเช่น  ในประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศอียิปต์ และในประเทศไทยอาทิเช่น  วิทยาลัยอิสลามยะลา ฯลฯ

            สำหรับวันเสาร์-อาทิตย์ และทุกเย็นเว้นวันศุกร์ ทางมัสยิดก้ได้จัดการเรียนการสอนศาสนาภาคฟัรฎูอีน (ภาคบังคับ) ให้แก่เด็กและเยาวชนในชุมชนโดยมัสยิดรับผิดชอบค่าใช้จ่าย

            สำหรับในภาคค่ำ ทางโรงเรียนก็ได้จัดการสอน คัมภีร์กุรอาน และการปฏิบัติศาสนกิจแก่ปวงสัปบุรุษและมุสลิมใหม่ ที่สนใจที่จะเพิ่มเติม ความรู้ในเรื่องของศาสนา


            ส่วนทางด้านสามัญ ทางโรงเรียน ได้จัดการศึกษานอกโรงเรียน(กศน.)เพิ่ม สำหรับนักเรียนศาสนาให้สามารถเรียนจบจนถึงชั้น ม.6   ทั้งยังเพิ่ม วิชาภาษาจีน ภาษาอังกฤษ และคอมพิวเตอร์  โดยมีครูที่เชี่ยวชายเฉพาะทางทำการสอน

            สำหรับการศึกษาวิชาชีพ  ได้จัดให้  มีการอบรมตัดเย็บเสื้อผ้า  และการอบรมการตัดผมชายเป็นครั้งคราว และยังตั้งทุนให้สำหรับนักเรียนที่เรียนดี ไปเรียนวิชาชีพที่ วิทยาลัยสารพัดช่างตามความถนัด เพื่อเป็นทุนในการประกอบวิชาชีพต่อไป


 


การพัฒนาท้องถิ่น

            ทางมัสยิดประสานงานกับหน่วยงานของรับระดับท้องถิ่น และหน่วยงานต่าง ๆ ของทางราชการและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง  เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ และเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมเช่น  ปัญหาการพนัน  ยาเสพติด การลักขโมย  เป็นต้น


 


การบริการสัปบุรุษ(สมาชิกของมัสยิด)


          มัสยิดมีทรัพย์สินที่นำมาใช้บริการดังต่อไปนี้


            -เครื่องใช้ในการจัดเลี้ยงสัปบุรุษนำไปใช้ได้โดยไมต้องเสียค่าบำรุง

            -สถานที่พร้อมอุปกรณ์  สำหรับ การจัดงานแต่งงาน (วะลีมะห์)  และงานอื่น ๆ โดย อาจมีการบริจาค หรือค่าบำรุงสถานที่ในราคาถูก

            -มีห้องประชุมให้บริการกับสมาชิกในชุมชน องค์กรในชุมชน หรือองค์กรอื่นๆ โดยแจ้งเป็นหนังสือขออนุญาติจากอีหม่ามมัสยิด



 


ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ


          -เงินเดือนครูสอนศาสนา ครูพิเศษสอนภาษา ครูสอนศาสนาภาคบังคับ(ฟัรฎูอีน)

            -เงินเดือน พนักงาน เจ้าหน้าที่ ส่วนต่าง ๆ ของโรงเรียนและมัสยิด

            -ค่าน้ำประปา

            -ค่าไฟฟ้า

            -ค่าอาหารนักเรียนโรงเรียนจิตต์ภักดีทุกวัน วันละ 3 มื้อ และนักเรียนฟัรฎูอีน เฉพาะเสาร์-อาทิตย์

           

องค์กรในชุมชน

            -กลุ่มออมทรัพย์มุสลิมเชียงใหม่ เป็นการรวมตัวของคนในชุมชนและมุสลิมต่างพื้นที่ ร่วมกันตั้งกองทุนเพื่อการให้ยืม ตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2546-ปัจจุบัน มีสมาชิก 130 คน มีเงินหมุนเวียน ณ. ปัจจุบันประมาณ 2 แสนกว่าบาท สมาชิกทั้งหมดมี  130  คน และยังมีกองทุนสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือสมาชิก กรณี ป่วย  คลอดบุตร และเสียชีวิต

            -กลุ่มผู้สูงอายุ มัสยิดอัต-ตักวา

            -กลุ่มยุวมุสลิม มัสยิดอัต-ตักวา

            -กลุ่มสตรีมุสลิมมัสยิดอัต-ตักวา


 



 



 



 


บรรณานุกรม


-หนังสือครบรอบ 80 ปี มัสยิดบ้านฮ่อ,2539*

-สุเทพ  สุนทรเภสัช. ชาติพันธ์: แนวคิดพื้นฐานทางมานษยวิทยาในการศึกษาอัตลักษณ์ กลุ่มชาติพันธ์ กรุงเทพฯ: ส.น.พ. เมืองโบราณ (ลอกข้อความ) **

-แผ่นพับย่านวัดเกต วรวิมล ชัยรัตน์ ชาวบ้านย่านวัดเกต โครงการปฏิบัตการชุมชนเมืองน่าอยู่  สสส***.

-หนังสือความเป็นมาของโรงเรียนจิตต์ภักดี  โดย นายยง  ฟูอนันต์****

-เอื้อเฝื้อสนับสนุนข้อมูลโดย  ผ.ศ. สุชาติ  เศรษฐมาลินี

-ข้อมูลชุมชน ขอขอบคุณ  คุณทวีศักดิ์  พงษ์พฤกษฑล  คุณพิศยา  รัศมีจันทร์ และชาวบ้านที่ให้ข้อมูล








           


 

GoogleTagged