ผู้เขียน หัวข้อ: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม  (อ่าน 11645 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ok

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 23
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: ม.ค. 13, 2008, 03:08 AM »
0

คุณ elham  บอกว่า  การจ้างอ่านอัลกุรอานนั้นอุลามามีทัศนะที่ขัดแย้งกัน  ขอหลักฐานด้วยนะ ขอรับ

และขอตัรญีฮฺ ด้วย ......  หุหุๆๆๆๆๆ

ออฟไลน์ الأزاهرة

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 139
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: ม.ค. 13, 2008, 03:25 AM »
0

คุณ elham  บอกว่า  การจ้างอ่านอัลกุรอานนั้นอุลามามีทัศนะที่ขัดแย้งกัน  ขอหลักฐานด้วยนะ ขอรับ

และขอตัรญีฮฺ ด้วย ......  หุหุๆๆๆๆๆ

การเอาค่าจ้าง  อุลามาอ์มีทัฯที่ขัดแย้งกัน  อ้างหลักฐานกันไปมา  มันก็ไม่ถนัด  ดังนั้นเมื่อประเด็นนี้คิลาฟกนั้น  พี่น้องมุสลิมจึงเลี่ยงตรงคิลาฟไปกระทำสิ่งที่อิตฟาก(ไม่คิลาฟ) ก็คือ  เป็นการซอดาเกาะฮ์แทน  เท่านี้ก็จบ   ;D
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า "ฟิรอูนกล่าวว่า ข้ามิได้ให้พวกท่านออกความเห็นนอกจากสิ่งที่ฉันมีความเห็นเท่านั้น และข้าจะไม่ชี้นำพวกเจ้านอกจากชี้ลู่ทางอันถูกต้องเท่านั้น"  ฆอฟิร 29  ดังนั้น ฟิรอูนจึงเป็นแบบฉบับผู้ที่ชอบกล่าวและเชื่อว่า "ข้าเท่านั้นที่ถูกและข้าเท่านั้นที่เป็นผู้ชี้ทางนำ"

ออฟไลน์ ok

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 23
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: ม.ค. 13, 2008, 03:50 AM »
0

สรุปก้อ คือ  หาหลักฐานการคิลาฟไม่เจอว่างั้น....

โอเค ไม่เปนไร ค่อยๆ เรียนรู้น้องชาย......

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: ม.ค. 14, 2008, 11:01 AM »
0
 waalaikumussalam   ทุกๆคน รวมทั้งน้องอัล-:ซิดดิก  และน้องอิลฮามคนอื่นๆด้วย

ขอบใจน้องอัล-ซิดดิกป็นอย่างมากที่สามารถให้ความกระจ่างแก้คูณGetได้ระดับหนึ่ง


จริงแล้ว ผมคิดว่าบังหะสันคงจะไม่ทราบทีว่า ผมได้เรียนเชิญแกมาเสวนาในเรนื่องนี้ ซึ่งผมก็คอยมานานแล้วครับ  และเห็นพี่น้องให้ความสนใจกระทู้นี้มากมาย 

แต่ก็อยากสะกิดให้ผู้เข้าร่วมเสวนานั้นอย่าได้แตกไปประเด็นอื่นครับ  เพราะตอนนี้ เรากำลังคุยเรื่อง  การเฝ้ากุโบร์ให้หับพี่น้องมุสลิมของเราไม่เป็นฮารอม   ส่วนเรื่องค่าจ้างหรือการซอดาเกาะในรูปแบบอื่นนั้น  ไม่อยากให้เลยมาถึงเรื่องนี้ก่อนครับ  เพราะเกรงว่าพี่น้องที่เข้ามาหาความรู้จะสับสนและเขวได้     


ตอนนี้เรามาถกแค่  หัวข้อที่ว่า  การเฝ้ากุโบร์นั้นสามารถกระทำได้หรือไม่ อย่างไร  อย่าเพิ่งข้ามประเด็นครับ



ขอทบทวนอีกที  ใหม่อีกรอบครับเพื่อวกมาประเด็นเดิม


    พี้น้องครับ  การเฝ้ากุโบร์นั้น  จะกระทำเมื่อ   มีผู้น้องมุสลิมของเราได้กลับไปหาอัลเลาะห์    โดยที่บรรดาลูกหลานหรือญาติของผู้สูญเสีย นั้นจะเป็นผู้กระทำ  โดยเฉพาะบรรดาผู้ทีมีฐานนะดี:โดยจะมีการทำซุ้มหรือเปาะหรือเต้นข้างๆบริเวณกุบุรหรือศาลาอเนกประสง๕ที่ได้จัดสร้างให้สำหรับที่ละหมาดญานาซะหรือ การกระทำนี้โดยเฉพาะ  แต่กรณีการเฝ้ากุบุร ช่วง 7 วันนนั้น  ส่วนมากจะอยู่นอกบริเวณกุบรุ ทั้งนี้เพราะสะดวกสำหรับผู้ที่ไปมาหาสู้เยี่ยมเยียนหรือนำของมาบริจาคให้กับเจ้าภาพ

การเฝ้ากุบุรนั้น บรรดาลูกของผู้ตายและญาติพี่น้องของเขา รวมทั้งผู้ที่มีความรู้และมีความสามารถอ่านอัลกรุอ่านได้ถูกต้องนั้นจะถูกเชิญมา ร่วมการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรและเหนียตฮีดายะให้กับผู้ตาย ลูกของคนนั้น........ฯลฯ
การเฝ้ากุบูรนั้น  พอจะมีสิ่งที่ชอบให้กระทำดังนี้

 -  มีการอัลกรุอ่านทั้งเล่มแล้ว....................ซึ่งเป็นที่รู้ว่าการอ่านอัลกรุอ่านนั้นเป็นสิ่งประเสริฐใครปฏิเสธสิ่งนี้เขาย่อมตกมุตัด

มีการซิกรุ้ลลอฮ์ ..................................เป็นที่รู้ว่าการซิกรุ้ลลอฮ์นั้นเป็นสิ่งที่พระองค์ใช้  ใครปฏิเสธย่อมตกมุรตัดเช่นกัน

- และก็ขอพรเหนียตให้กับผู้ตาย ให้ปลอดภัยจากเซดซอกุโบร์ในช่วง 7วันแรก
...........เป็นสิ่งที่ท่านนบีส่งเสริมให้กระทำมีทั้งฮาดิสมาสนับสนุนมากมาย....



               แต่  ปัจจุบันนี้    ได้มีทัศนะกลุ่มหนึ่ง(กลุ่มใหม่)เชื่อว่าทัศนะของตนเท่านั้นที่ถูกต้อง  และทำการตัดสินชี้ขาดหุกุ่มบรรดา ผู้ที่กระทำการอ่านอัลกรุอ่านขณะเฝ้ากุโบร์เป็นสิ่งที่ฮารอมและบิดอะที่เลว   และถือว่าเป็นแนวทาง
ที่ลุ่มหลง  ไม่มีแบบฉบับในศาสนาอิสลาม   และได้ทำการโจมตีกล่าวหา  เปรียบเทียบ เย้ยหยัน ผู้กระทำเฝ้ากุบูรว่า เปรียบสเมือน  ลูกหมาเฝ้าพ่อหมาหรือแม่หมาเฝ้า ด้วยการเห่าหอน โดยโหยหวล น่าเวทนายิ่ง    ....อ้างจากคำพูดของผู้รู้วาฮาบีย์ที่อยู่ต่างทัศนะ
มุสลิมมีนที่มีทัศนะต่างกับตนว่าทำบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงนั้น ย่อมไม่มีแบบฉบับมาจากอุลามาอ์สะละฟุศศอลิหฺและอุลามาอ์คอลัฟผู้มีความเชี่ยวชาญปราชเปรื่อง

 
  อนึ่ง  บรรดาปวงปราชน์แห่งโลกอิสลามมีมติเห็นพร้องกันว่า  การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้น ไม่ใช่เป็นสิ่งที่หะรอม  ผู้ที่กระทำก็ไม่ได้เป็นการกระทำบาป  บรรดาอุลามาอ์

   
พี่น้องครับ  บรรดาผู้รู้ทั้งในอดีตและปัจจุบัน  ส่วนมากที่มีใจเป็นธรรมได้กล่าวกันว่า

 การอ่านอัลกุรอ่านในขณะที่เฝ้ากุบูรนั้น  ไม่มีหลักฐานห้าม  ยิ่งไปกว่านั้น การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรเป็นสิ่งที่ถูกส่งเสริมให้กระทำ, ดังนั้น  บรรดาหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์มากมายที่บอกไว้อย่างชัดเจน  ถึงความประเสริฐของการอ่านอัลกุรอาน 

โดยที่บรรดาหลักฐานต่างเหล่านั้น  ได้ระบุความหมายอย่างครอบคลุมหรือแบบกว้างๆ  โดยที่ไม่ได้เจาะจงหรือจำกัดเวลาและสถานที่  นอกจากสถานที่ไม่เหมาะสม เช่น ห้องน้ำ  สถานที่เสี่ยงกับนะยิส  เป็นต้น 
 ดังนั้น การอ่านอัลกุรอาน  ไม่ว่าจะอ่านในบ้าน หรือที่กุบูร  ย่อมถูกผนวกอยู่ในหลักฐานที่บ่งชี้แบบครอบคลุมหรือแบบกว้างๆ 

โดยพิจารณาว่า  การอ่านอัลกุรอานที่บ้าน หรือ ที่กุบูร  ก็คือการอ่านอัลกุรอานเหมือนกัน และสอดคล้องกับหลักฐานที่ส่งเสริมให้อ่านอัลกุรอาน  ยิ่งไปกว่านั้น  ก็ไม่มีหลักฐานห้ามที่จะมาคัดค้านหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบมูลรวมหรือรูปแบบกว้างๆ นี้เลย  ดังนั้น  การอ่านอัลกุรอานในสถานที่หนึ่งสถานที่ใดนั้น  ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน หรือ ที่กุบูร  ก็ย่อมไม่มีผลใดในการห้ามให้อ่านอัลกุรอาน  แถมยังเป็นสุนัตอีกด้วย


ไม่ใช่เอาเเค่สติปัญญาความรู้สึกของตนเอง  พวกกับการเชื่อถือ แบบมัวะตะซีละที่ว่า  ผู้ตายนั้นไม่รับรู้การกระทำใดๆของผู้เป็น จึงไม่เห็นด้วยกับการกระทำใดให้กับมัยยัติที่ล่วงลับไปแล้ว

 ดังนั้นทางออกที่ดีของผู้มีความรู้ผู้ไม่เห็นด้วยก็คือ การยกหลักฐาน ที่ว่าด้วยการห้ามอ่านอัลกุรอานที่กุบูรมาอ้างอิง  เพื่อมาหักล้างหลักฐานที่ครอบคลุมที่ส่งเสริมให้อ่านอัลกุรอาน หรือยกหลักฐานห้ามอ่านอัลกุรอานที่กุบูรมาจำกัดหลักฐานแบบกว้างๆ  ที่ส่งเสริมให้อ่านอัลกุรอาน  หรือให้นิ่งเสีย  ซึ่งหากไม่เป็นเช่นนั้น  เขาย่อมกลายเป็นผู้ที่ทำบิดอะฮ์

 เนื่องจากตัดสินเกี่ยวกับเรื่องของศาสนา  ด้วยใช้สติปัญญาและอารมณ์ของเขาเท่านั้น   ดังนั้น  แนวทางของผู้มีวิชาความรู้นั้น  จะต้องใช้วิธีการหักล้างหลักฐานด้วยหลักฐาน  สำหรับการหักล้างหลักฐาน  ด้วยการอ้างว่าไม่รู้ไม่มีหลักฐานให้กระทำ หรือคาดการเอาว่ามันคงทำไม่ได้นั้น  ย่อมเป็นแนวทางของผู้ที่ไม่ใช่นักวิชาการ


 แต่สำหรับ ในทัศนะของเรานั้น  มีหลักฐานที่มาเจาะจงให้อ่านอัลกุรอานที่กุบูรได้ 

 เนื่องจากได้มีรายงานจากอิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล  ว่า  ท่านได้เคยกล่าวว่า  การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้น เป็นบิดอะฮ์  แต่หลังจากนั้น ท่านอิมามอะหฺมัด  ก็ยกเลิกทัศนะดังกล่าวด้วยตัวท่านเอง   มีอุลามาอ์กลุ่มหนึ่งจากบรรดาสานุศิษย์ของอิมามอะหฺมัดได้รายงานว่า  أن أحمد نهى ضريرا أن يقرأ عند القبر، وقال له : إن القرأءة عند القبر بدعة ، فقال له محمد بن قدامة الجوهرى : يا أبا عبد الله ما تقول فى مبشر الحلبى ؟ قال : ثقة ، قال : فأخبرنى مبشر ، عن عبد الرحمن بن العلاء بن اللجلاج، عن أبيه : أنه أوصى إذا دفن أن يقرأ عنده بفاتحة البقرة وخاتمتها، وقال : سمعت ابن عمر يوصى بذلك ، فقال له أحمد : فارجع وقل للرجل يقرأ
"แท้จริง  ท่านอะหฺมัด ได้ห้ามชายตาบอด ทำการอ่านอัลกุรอานที่กุบูร  โดยที่ท่านอะหฺมัดกล่าวแก่เขาว่า การอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้นเป็นบิดอะฮ์  ดังนั้น มุหัมมัด บิน กุดามะฮ์ อัลเญาฮะรีย์ กล่าวกับท่านอะหฺมัดว่า  โอ้ อบูอับดุลเลาะฮ์ (คือท่านอิมามอะหฺมัด) ท่านจะว่าอย่างไรเกี่ยวกับท่านมุบัชชิร อัลหะละบีย์ ? ท่านอะหฺมัดกล่าวว่า  เขานั้นเชื่อถือได้  มุหัมมัด บิน กุดามะฮ์กล่าวว่า  ท่านมุบัชชิรได้เล่าให้ฉันฟังโดยเอามา   จากท่านอับดุรเราะห์มาน บิน อัลอะลาอ์ บิน อัลลัจลาจญฺ  จากบิดาของเขาว่า  แท้จริง บิดาของเขาได้ทำการสั่งเสียว่า  เมื่อเขาได้ถูกฝังไปแล้ว  ก็ให้ทำการอ่านช่วงแรกของซูเราะฮ์อัลบะเกาะเราะฮ์  และช่วงท้ายของมันที่สุสารของเขา  และบิดาของเขากล่าวว่า  ฉันได้ยินท่านอิบนุอุมัรได้ทำการสั่งเสียเรื่องดังกล่าวไว้  ดังนั้น ท่านอิมามอะหฺมัดจึงกล่าวแก่เขาว่า  ท่านจงกลับไปบอกชาย(ตาบอด)ผู้นั้น  ให้ทำการอ่านอัลกุรอาน(ที่กุบูร)ได้" 
         



หลักฐานที่ยกมานั้น ส่วนใครที่มีหลักฐานก็นำมาเสนอได้ครับ

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: ม.ค. 14, 2008, 11:47 AM »
0
     ที่นี้ เรามาดูคำพูดของผู้รู้ในทัศนะเดียวกับเรา  ด้วยถ้อยคำต่างๆที่ถูกรายงาน   เกี่ยวกับการอนุญาติให้อ่านอัลกุรอานที่กุบูรได้ไม่ว่าในกรณีไหนๆ


ท่านชัยค์ อัลอุษมานีย์ อัช-ชาฟิอีย์กล่าวว่า "บรรดาอุลามาอ์ได้ลงมติเห็นพร้องว่า การอิสติฆฟาร การขอดุอาอ์ การทำทาน การทำฮัจญฺ การปล่อยทาสนั้น เป็นผลประโยชน์แก่มัยยิด และผลบุญจะไปถึงเขา , และการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรนั้น เป็นสุนัต" ดู เราะหฺมะตุลอุมมะฮ์ ฟี อิคติลาฟ อัลอุมมะฮ์ หน้า 92


ดังนั้น   พี่น้องที่อ้างว่าตนยึดตาม ทัศนะของอีม่าอะมัด(รฮ)กไม่ควรปฏิเสธในสิ่งที่ตนตีกลีด

ท่าน อัซฺซ่ะฮ่ะบีย์ ได้กล่าว ประวัติท่าน อบูญะฟัร อัลฮาชิมีย์ อัลหัมบาลีย์ ชัยค์มัซฮับอัลหะนาบิละฮ์ (เสียชีวิตปี 470) ว่า " และเขาได้ถูกฝังเคียงข้างกุบูรของท่านอิมามอะหฺมัด , และบรรดาผู้คนได้ประจำอยู่ที่กุบูรของเขาเป็นเวลานาน จนกระทั้งกล่าวกันว่า อัลกุรอานได้ถูกอ่านจบ ที่กุบูรของเขา ถึง 10000 จบด้วยกัน" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 18 หน้า 547



ท่าน อัซฺซะฮะบีย์ ได้กล่าว ถึงท่าน อัลค่อฏีบ อัลบุฆดาดีย์ ว่า " ท่านอัลคอฏีบ เป็น อิมามที่โดดเด่น เป็นอัลลามะฮ์ เป็นมุฟตี เป็นนักจำหะดิษที่เชี่ยวชาญ เป็นนักหะดิษแห่งสมัยนั้น.....ท่านอิบนุ ค๊อยรูน กล่าวว่า ท่านอัลคอฏีบได้เสียชีวิตในช่วงสาย....ได้มีบรรดานักปราชญ์ฟิกห์และบรรดาผู้คนมากมาย ได้ทำการติดตามส่งญะนาซะฮ์ท่านอัลค่อฏีบ และแบกไปยัง ญาเมี๊ยะอ์ อัลมันซูร โดยที่มีผู้คนกล่าวประกาศก้องว่า นี้คือผู้ที่ปกป้องการโกหกต่อท่านนบี(ซ.ล.) และนี้คือผู้ที่จำหะดิษของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) และได้ถูกอ่านอัลกุรอานหลายจบด้วยกันที่กุบูรของเขา" ดู หนังสือ ซิยัร อะลาม อัลนะบะลาอ์ เล่ม 13 หน้า 584


ท่านอัซฺซะฮะบีย์ ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ ตารีค อัลอิสลาม ว่า " ท่านอัศศิละฟีย์กล่าวว่า ท่านอัลมุตะมิน อัศศาญีย์ได้บอกเล่าแก่ฉัน ในวันศุกร์ที่ 2 หลังจากการเสียชีวิตของ ท่านอบูมันซูร - คือ ท่านมุหัมมัด บิน อะหฺมัด บิน อะลี อัลคอยยาฏ (เสียชีวิตปีที่ 499) - ว่า " ในวันนั้น บรรดาผู้คนได้ทำการอ่านอัลกุรอานจบ ที่กุบูรของเขาถึง 221 จบ กล่าวคือ พวกเขาได้ทำการอ่านอัลกุรอานจนจบซูเราะฮ์ อัลอิลาศ (กุลฮุวัลลอฮ์) เพราะพวกเขาก็จะทำการรวมตัวกัน แล้วทำการขอดุอาอ์ถัดจากทุกๆการอ่านจบเล็กน้อย"

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: ม.ค. 14, 2008, 12:35 PM »
0
ผมขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ผมได้โพสต์ไว้ คือ

อย่างแรกผมไม่ได้บอกว่าสิ่งที่บังนูรุลอิสลามนำเสนอนั้นไม่มีน้ำหนัก เพียงแต่ว่าผมอยากให้บังนูรลอิสลามช่วยกรุณาระบุที่มาของข้อมูลด้วย เพื่อที่จะได้ใช้อ้างอิงต่อไปในอนาคต
อย่างที่สอง หลักฐานที่บังนูรุลอิสลามนำเสนอนั้นมันก็โอเค แต่เป็นเพียงหลักฐานของฝ่ายที่เห็นว่าอนุญาตเท่านั้น ผมจึงขอเสนอให้นำเสนอหลักฐานที่เห็นว่าไม่อนุญาตด้วย แล้วมาวิจารณ์หักล้างกันจนได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า ระว่างทั้งสองทัศนะอันไหนมีน้ำหนักมากกว่ากัน ก็เท่านั้น
'''''''


 ............... salamคุณGETผมว่าคุณกำลังเข้าใจ  ฮัจยีนูรุ้ลอิสลามผิดแล้วครับ    เพราะคุณนูรฯยังไมได้เข้ามาร่วมเลยครับ   ผมคนอยากรู้  เจ้าเดิมครับอิที่คุณบอกว่าจะนำหลักฐานที่ไม่อนุญาติมาเสนอนั้น  ดีมากครับ  ยังงัยก็ฝากบอกบังหะสันด้วยครับ ว่าผมรออยู่นานแล้ว  คักๆๆ


คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: ม.ค. 14, 2008, 01:28 PM »
0


  คุณ Get กล่าวว่า    สิ่งที่ผมนำเสนอนั้นแต่เป็นเพียงหลักฐานของฝ่ายที่เห็นว่าอนุญาตเท่านั้น ผมจึงขอเสนอให้นำเสนอหลักฐานที่เห็นว่าไม่อนุญาตด้วย แล้วมาวิจารณ์หักล้างกันจนได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า ระหว่างทั้งสองทัศนะอันไหนมีน้ำหนักมากกว่ากัน ก็เท่านั้น '''''''



.....แค่นี้ยังไม่พอหรือครับ   ว่าการอ่านอัลกรุอ่านที่กุบุรนั้นสามารถกระทำได้   และ มีการปฏิบัติกันอย่างต่อเนื่องจากถึงปัจจุบัน ไม่ว่า ประเทศซาอุดี้   ที่ทางฝ่ายคุณ   ยอมรับและเชื่อถือในบางเรื่องเช่นการเข้าบวชและออกบวช  ฯลฯ

ที่นั้น  ยังมีการปฏิบัติในเรื่องการอ่านอัลกรุอ่านที่กุโบร์  กันมาตลอด ไม่ว่า  ณ ที่นครมักกะฮ์และนครมะดีนะฮ์ โดยไม่การห้ามและฮุกมในการกระทำว่า    เป็นฮารอม

 ฉนั้นผมจึงแปลกใจว่า ตรงไหนอีกหรือที่ไม่ชัดเจนในเรื่องนี้    ..........การสุนัตให้อาหาร(เป็นทานแก่มัยยิด)นั้น มีการการกระทำมา  ตั้งแต่สมัยของซอฮาบะฮ จวบจนถึงปัจจุบัน และพวกเขาได้ทำการเอาการปฏิบัติดังกล่าว ของปราชญ์ค่อลัฟ จาก ปราชญ์สะลัฟ จนกระทั่งถึงยุคแรก(ยุคซอฮาบะฮ์)

และท่านอิมามอัสศะยูฏีย์    ได้รับทราบจากบรรดาปฏิบัติศาสตร์มากมายของบรรดานักปราชญ์ ซึ่งพวกเขากล่าวว่า "บรรดานักปราชญ์ได้ทำการอาศัยอยู่ที่กุบูรผู้เสียชีวติ 7 วัน เพื่อทำการอ่านอัลกุรอาน ,

ท่านอบู อัลกอซิม บิน อะซากิร ได้นำเสนอรายงานไว้ในหนังสือของท่านที่มีชื่อว่า "ตับยีน กัซบฺ อัลมุฟตะรีย์ ฟีมา นุซิบ่า อิลา อัลอิมาม อบี อัลหะซัน อัลอัชอะรีย์

ท่านอบู อัลฟัตหฺ นัสรุลเลาะฮ์ บิน มุฮัมมัด บิน อัลดุลก่อวีย์ อัลมะซีซีย์ ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ฟี อัลฟะตาวา เล่ม 2 หน้า 234

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวอธิบายว่า "บรรดาอุลามาอ์ถือว่าเป็นสุนัต กับการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรเนื่องสาเหตุของหะดิษนี้ เพราะว่าเมื่อการบรรเทาโทษยังมีหวังจากการตัสบีหฺของกิ่งอินทผาลัม  และ การอ่านอัลกุรอ่านนั้นเป็นสิ่งที่ดีย่อมมีความหวังมากกว่า" ดู ชัรหฺ ซอฮิหฺมุสลิม เล่ม 2 หน้า 204"
 
นอกจากนี้ ท่านอัชชะอฺบีย์ ท่านกล่าวว่า "บรรดาชาวอันซอร ได้ทำการอ่านอัลกุรอาน ที่มัยยิด ด้วยกับซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ " ดู อัลมุซันนัฟ เล่ม 4 หน้า 236


และยังมีท่านค๊อลลาลได้รายงานจากสายรายงานเดียวกัน ด้วยคำว่า
كانت الأنصار إذا مات لهم ميت اختلفوا غلى قبره يقرأون عنده القرأن
"บรรดาชาวอันซอรนั้น เมื่อมีผู้ตายคนหนึ่งของพวกเขาเสียชีวิตลง พวกเขาก็จะทำการสลับกันไปที่กุบูรของผู้นั้น โดยที่พวกเขาจะทำการอ่านอัลกุรอานที่กุบูรของมัยยิดนั้น" ดู หนังสือ อัลอัมรฺ บิลมะอฺรูฟ วันนะฮ์ อะนิลมุงกัร หน้า 126


ดังเป็นที่รู้ว่า บรรดาตาบีอีนนั้นเขาสืบเจตนาถ่ายทอดการกระทำมาจากบรรดาซอฮาบะฮ์

อีกท่าน อามิร บิน ชะรอฮีล อัชชะอฺบีย์นี้ คือเป็น ตาบีอีนชั้นแนวหน้า ผู้มีเกียรติ อีกทั้ง เป็นผู้ได้รับความเชื่อถือเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ท่านนั้นได้พบกับบรรดาซอฮาบะฮ์ระดับอวุโสมากมาย

 และท่านอัลอัจญฺลีย์กล่าวว่า "เขาได้ยินหะดิษจากบรรดาซอฮาบะฮ์ถึง 48 ท่าน"

ดังนั้นคำกล่าวของท่านอัชชะอฺบีย์ที่ว่า "บรรดาชาวอันซอร..." ย่อมตีความได้ว่า พวกเขาคือชนส่วนมากจากบรรดาซอฮาบะฮ์และตาบิอีนอย่างแน่นอน


     ฉนั้นด้วยหลักฐานดังกล่าวแล้ว    ที่ผมยกหลักฐานมาอ้าง  นั้นในข้อความข้างบนนั้น  มีตรงไหนละครับที่มันน้ำหนักน้อยที่คุณว่าไม่น่าเชื่อถือ  อยากให้คุณยกมาและวิจารณ์กันบ้างครับ


.....และ สิ่งที่ผมได้ยกหลักฐานจากบรรดาผู้รู้ทั้งยุคตาบีอีน และสลัฟที่ปราญช์โลกอิสลามยอมรับกัน    แต่ท่านget  ยังไม่Get  อีกหรือครับ  การใช้สติปัญญาอันต่ำต้อยของตนเองมาตัดสินร่วมกับความรู้สึกกับการไม่กินปัญญาของตนเองนั้น  ไม่เป็นที่ยอมรับของนักนิติศาสตร์อิสลามครับ      มันต้องหักล้างกันด้วยหลักฐานที่ชัดเจนเท่านั้น

ออฟไลน์ al-ciddix

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 93
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: ม.ค. 14, 2008, 03:28 PM »
0
 salam''
Hoๆๆบังคนอยากรู้ ขนหลักฐานมาเพียบอย่างนี้ มีใครจะกล้าเข้ามาโต้ละครับอิๆๆๆอย่างดีก็แค่แย็บๆแล้วหายครับ    ตอนที่ผมยังอยู่ปอเนาะชั้นปีที่2 โตะครูผมสอนให้ผมอ่านอัลกรุอ่านโดยท่านเน้นเรื่องนะฮูศะรอฟมาก         พอมีคนตายพวกเราดีใจ  เฮกันลั่น  บางคนไม่มีมีตังค์  ก็คิดว่าวันนี้คงได้ข้าวสารหรือตังค์สัก 20บาทก็ยังดี  มื้อหลังจะได้ซื้อปลากระป๋องหรือไข่ไก่หมวดด้วยมะละกอ   ชีวิตเด็กปอเนาะจน ก็มีความหวังแค่นี้แหละครับ

ผมมาเรียนเพราะความยากจน  หย๊อสั่งนักหนาไว้ ตั้งใจเรียนเพื่ออนาคตตนเองนะ   เพราะทุกคนต้องถูกสอบสวนแน่นอนในวันตาย   
ดังนั้นแม้จะลำบากก็ต้องอดทนครับ  วันไหนมีการทำบุญก็โชคดีครับ  ที่มีพี่น้องสงสารนักศึกษาอย่างเเด็กปอเนาะบ้านๆอย่างเรา ;D 


ผมออกเสียงไม่ถูก โดยเฉพาะซุเราะอัลฟาติหะท่านบอกว่า อ่านโดยไม่มีเสียงยาวสั้นและไม่มีตัจวีดนั้น     เหมือนนกขุนทองพูดนั้นแหละ       อ่านอย่างนี้อย่าหวังอัลเลาะเจ้าจะพอพระทัย  ดีไม่ดีอ่านเพี้ยนๆและความหมายผิด  สิ่งที่เป็นวายิบต้องอ่านตอนละหมาดกลายเป็นไม่เซาะแล้วเราจะได้อะไร

ส่วนเวลามีใครมาเชิญไปกินบุญไม่ว่า  กรณีไหน เช่นว่า   เจ้าภาพจะเชิญ    ไปอ่านกรุอ่านกรอานเหนียตให้กับผู้ตาย   ให้ญาติเขานะโตะคณุผมจะคัดเลือกเป็นพิเศษครับ   ผมอดทุกที  โตะคณุบอกว่า  คนอ่านไม่คล่องนั้น

เพราะนอกจากไม่ได้ผลบุญจากการอ่านที่ไม่ถูกแล้ว ยังมีบาปแถม   อีกด้วย(ในกรณที่อ่านไม่ถูกแต่ยังฝืนอ่าน) เเละยังไม่รู้จะถูกสอบสวนหรือไม่

  ฉนั้น เฉพาะคนที่อ่านถูกต้องเท่านั้นที่

โตะครู  จะคัดเลือกให้เขา   ผมพยายามอยู่ 2 อาทิตย์  โตะครูบอกว่าโอเคดีแล้วแต่ต้องชัดเจนกว่านี้.....

จนวันหนึ่งได้มีโอกาสถามโตะครูว่า   ถ้าอ่านแล้วเขาให้ตังค์เรารับแล้วบาปไหม  โตะครูเขาบอกว่า  ถ้าเขาให้แล้วเอ็งไม่เอานั้น  นั้นแหละเอ็งจะทำลายน้ำใจเขา  แต่ถ้าเอ็ง  หลีกเลี่ยงโดยให้กลับก็ถือว่าดี  และถ้าเขาไม่ให้ก็ไม่ผิดอะไร


เอ  ผมจะนอกเรื่องไหมเนี้ยะ

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: ม.ค. 14, 2008, 05:17 PM »
0
ผมขอทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่ผมได้โพสต์ไว้ คือ

อย่างแรกผมไม่ได้บอกว่าสิ่งที่บังนูรุลอิสลามนำเสนอนั้นไม่มีน้ำหนัก เพียงแต่ว่าผมอยากให้บังนูรลอิสลามช่วยกรุณาระบุที่มาของข้อมูลด้วย เพื่อที่จะได้ใช้อ้างอิงต่อไปในอนาคต
อย่างที่สอง หลักฐานที่บังนูรุลอิสลามนำเสนอนั้นมันก็โอเค แต่เป็นเพียงหลักฐานของฝ่ายที่เห็นว่าอนุญาตเท่านั้น ผมจึงขอเสนอให้นำเสนอหลักฐานที่เห็นว่าไม่อนุญาตด้วย แล้วมาวิจารณ์หักล้างกันจนได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า ระว่างทั้งสองทัศนะอันไหนมีน้ำหนักมากกว่ากัน ก็เท่านั้น
'''''''


 ............... salamคุณGETผมว่าคุณกำลังเข้าใจ  ฮัจยีนูรุ้ลอิสลามผิดแล้วครับ    เพราะคุณนูรฯยังไมได้เข้ามาร่วมเลยครับ   ผมคนอยากรู้  เจ้าเดิมครับอิที่คุณบอกว่าจะนำหลักฐานที่ไม่อนุญาติมาเสนอนั้น  ดีมากครับ  ยังงัยก็ฝากบอกบังหะสันด้วยครับ ว่าผมรออยู่นานแล้ว  คักๆๆ



อืม เขียนผิดคน โทษทีครับ พอดีตอนเขียนเพิ่งอ่านกระดานที่บังนูรุลเขาโพสต์อยู่
ส่วนที่ผมบอกว่า "ผมจะนำหลักฐานที่ไม่อนุญาตมาเสนอนั้น" ผมเข้าใจว่าผมไม่ได้พูดแบบนั้นนะครับ และคิดว่าคงไม่มีความสามารถขนาดนั้นด้วย วัลลอฮุอะอลัม แด๋วผมจะลองไล่กระดานที่ผมโพสต์ดู ว่าผมพูดเช่นนั้นในกระดานไหน

ออฟไลน์ yala

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 50
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: ม.ค. 15, 2008, 06:41 AM »
0
 salam
ผมเห็นว่าถ้าจะยึดตามนี้จะปลอดภัยกว่านะครับ
ปฐมบทของฟิกฮฺ (นิติศาสตร์อิสลาม) 1 : ฟิกฮฺในยุคสมัยของท่านนบี         
เขียนโดย อัสรัน นิยมเดชา     
ยุคสมัยของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม คือช่วงเวลาที่ประเสริฐที่สุด เพราะเป็นช่วงเวลาแห่งการประทาน อัลกุรอาน ซึ่งฟิกฮฺในยุคนี้คือ ฟิกฮุล วะห์ยฺ นั่นคือฟิกฮฺที่มาจากองค์อัลลอฮฺตะอาลาโดยพระองค์จะทรงประทานหุก่มต่างๆ ลงมายังท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ในรูปของโองการอัลกุรอานหรือสุนนะฮฺ แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมก็ทำการเผยแพร่สิ่งนั้นสู่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน
ในยุคนี้ยังไม่มีการจำกัดความหรือบัญญัติคำว่า ฟิกฮฺว่าเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยหุก่มภาคปฏิบัติ ดังที่เข้าใจกันในยุคหลังแต่ฟิกฮฺในยุคนี้ได้ครอบคลุมทุกๆด้านของบทบัญญัติอิสลามไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะกีดะฮฺ (หลักการศรัทธา) หรืออิบาดาต (หลักการปฏิบัติ)ซึ่งเราอาจจะแบ่งฟิกฮฺในยุคนี้ออกเป็นสองระยะด้วยกันคือ

1 - ณ เมืองมักกะฮฺ

คือช่วงเวลาร่วม 13 ปี นับจากที่ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนบีซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวบทบัญญัติอิสลามจะเน้นหนักไปทางเรื่องของหลักการศรัทธาการห้ามการทำชิริก (ตั้งภาคีต่อองค์อัลลอฮฺ)และเรื่องของมารยาทต่างๆ ในอิสลามเสียส่วนใหญ่ แทบจะไม่มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับหลักการปฏิบัติเลย นอกจากการละหมาด ซึ่งในช่วงแรกๆนั้นหมายถึงการละหมาดสองเวลาเช้า-เย็น (จนกระทั่งคืนอิสรออ์ เมียะรอจญ์ ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมขึ้นไปรับบทบัญญัติการละหมาดห้าเวลา ณ องค์อัลลอฮฺตะอาลา) และซะกาตซึ่งในขณะนั้นหมายถึงการเศาะดะเกาะฮฺ ให้ทานที่ไม่ใช่วาญิบ (กระทั่งมีบัญญัติในปีที่สองหลังการฮิจญฺเราะฮฺว่าซะกาตคือการให้ทานที่เป็นวาญิบ) 

2 - ณ เมืองมะดีนะฮฺ

หลังจากที่อัลลอฮฺตะอาลาทรงอนุญาตให้ท่านบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ทำการฮิจญ์เราะฮฺไปยังเมืองมะดีนะฮฺและก่อตั้งรัฐอิสลามขึ้น ก็เริ่มมีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับหลักการปฏิบัติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล หรือที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคม เช่น บทบัญญัติเกี่ยวกับหลักอิบาดาต การญิฮาดการแต่งงานและความสัมพันธ์ในครอบครัว บทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดทางอาญาและบทลงโทษ การซื้อ-ขายและการทำธุรกรรมต่างๆ สิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ปกครองกับผู้ใต้ปกครองรวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และบทบัญญัติอื่นๆ ที่ครอบคลุมทุกๆ ด้านของชีวิต


รูปแบบของการบัญญัติหุก่มในยุคนี้

เราอาจจะสรุปรูปแบบหรือแนวทางการบัญญัติหุก่มในยุคนี้ได้เป็นสองลักษณะ คือ

1 - เกิดเหตุการณ์ ปัญหา หรือคำถามที่ต้องการคำตอบหรือบทบัญญัติทางศาสนา ซึ่งในกรณีเช่นนี้ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจะรอการประทานคำตอบหรือหุก่มจากองค์อัลลอฮฺตะอาลาซึ่งพระองค์จะทรงประทานโองการอัลกุรอานลงมายังท่านเพื่อเป็นการตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับปัญหานั้นๆหรืออาจจะเป็นในรูปของหะดีษแต่ในบางครั้งอาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นโดยไม่มีการประทานหุก่มจากอัลลอฮฺซึ่งในกรณีนี้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็จะอิจญ์ติฮาด(ใช้ความพยายามในการหาหุก่มของปัญหา)ซึ่งหากถูกต้องอัลลอฮฺก็จะทรงเห็นชอบแต่หากการอิจญ์ติฮาดนั้นไม่ถูกต้องก็จะทรงลงโองการบอกถึงสิ่งที่ถูกต้องดังเช่นกรณีของเชลยศึกสงครามบัดร์ ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมตัดสินให้ไถ่ตัวไปได้หลังจากนั้นอัลลอฮฺก็ทรงลงโองการตำหนิการตัดสินใจของท่าน เป็นต้น

ตัวอย่างของการบัญญัติหุก่มประเภทนี้ ก็เช่นเมื่อเศาะหาบะฮฺได้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเกี่ยวกับเลือดประจำเดือน อัลลอฮฺตะอาลาก็ทรงลงโองการตอบคำถามนั้นในสูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮฺ : 222 และเมื่อเศาะหาบะฮฺถามท่านถึงน้ำทะเล ท่านก็ตอบไปว่าน้ำทะเลนั้นสะอาดและสัตว์น้ำที่ตายในทะเลก็เป็นที่อนุมัติให้รับประทานได้ ดังปรากฏในตัวบทหะดีษ(อบูดาวูด 83, อัตติรมิซีย์ 69, อันนะสาอีย์ 332 และ 4350 , อิบนุ มาญะฮฺ 386 และ 3264)  ทั้งนี้ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตอบไปด้วยโองการที่ลงมายังท่าน เป็นต้น

 

2 - บทบัญญัติที่ถูกบัญญัติขึ้นโดยที่ไม่มีคำถาม หรือ เหตุการณ์ใดๆเป็นสาเหตุของการบัญญัติ ทั้งนี้เพราะองค์อัลลอฮฺตะอาลาทรงรู้ถึงความต้องการ และสิ่งที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับการมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ เพราะบทบัญญัติอิสลามนั้นไม่ได้เป็นเพียงคำตอบของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้นแต่ยังเป็นการสร้างสังคมใหม่ขึ้นด้วยกฏเกณฑ์และระเบียบที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคมและการกำหนดหน้าที่ของบ่าวที่พึงมีต่อเอกองค์อัลลอฮฺตะอาลาเพื่อเป็นรากฐานอันมั่นคงของสังคมสืบต่อไป

ตัวอย่างของการบัญญัติหุก่มประเภทนี้ก็เช่น การกำหนดให้มีการชูรอ (ปรึกษาหารือ) หรือการแจกแจงวิธีการจ่ายซะกาต เป็นต้น

ลักษณะเด่นของการบัญญัติหุก่มในยุคนี้

1 – เป็นการบัญญัติแบบทีละขั้น

กล่าวคือ บทบัญญัติทั้งหมดไม่ได้ถูกบัญญัติขึ้นในคราวเดียวแต่เป็นการบัญญัติทีละขั้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากน้อยไปสู่มาก ง่ายไปสู่ยาก ตลอดระยะเวลา 23 ปี ยกตัวอย่างเช่น บทบัญญัติเรื่องการละหมาดซึ่งในขั้นแรกกำหนดให้ละหมาดวันละสองเวลาเช้า-เย็น แล้วจึงเพิ่มเป็นห้าครั้ง หรือ การห้ามดื่มเหล้าก็เช่นกันเป็นไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอนไม่ได้ห้ามเด็ดขาดในคราวเดียว เป็นต้น ซึ่งวิธีการเช่นนี้ทำให้ไม่รู้สึกยากลำบากในการที่จะน้อมรับและปฏิบัติตาม

2 – การปฏิเสธสิ่งที่จะทำให้เกิดความยากลำบาก

ซึ่งลักษณะข้อนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะบทบัญญัติในยุคนี้เท่านั้นแต่ยังครอบคลุมบทบัญญัติอิสลามในทุกยุคทุกสมัย กล่าวคือบทบัญญัติอิสลามนั้นไม่มีสิ่งใดที่ยากเกินความสามารถของมนุษย์และหากว่ามีอุปสรรคใดๆ ที่จะมาทำให้การปฏิบัติตามบทบัญญัติอิสลามนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบากอิสลามก็จะมีทางออกให้ด้วยการผ่อนปรน อนุโลมและอนุญาตให้ปฏิบัติเท่าที่ความสามารถจะมี เช่น ในกรณีที่เกิดการเจ็บป่วย เดินทาง หลงลืม หรือพลาดพลั้งอิสลามก็จะมีบทบัญญัติเฉพาะที่เป็นทางออกของผู้ที่ประสบกับกรณีนั้นๆซึ่งหากเราพิจารณาดูบทบัญญัติอิสลามทั้งหมดจะพบว่ามีน้อยมากและแต่ละอย่างก็ใช้เวลาปฏิบัติไม่มาก เมื่อเทียบกับเวลาที่เรามี จึงไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตเลยแม้แต่น้อย


3 - การแทนที่บทบัญญัติใดบทบัญญัติหนึ่งด้วยบทบัญญัติที่ดีกว่า (นัซคฺ)

กล่าวคือ อัลลอฮฺตะอาลา อาจจะทรงบัญญัติหุก่มหนึ่งขึ้นมาเพื่อใช้ในระยะเวลาหนึ่งโดยที่พระองค์ทรงรู้ว่าเมื่อถึงเวลาอันควรพระองค์จะทรงแทนที่หุก่มนี้ด้วยหุก่มอื่นที่เหมาะกับเวลานั้นมากกว่าซึ่งทั้งหมดนี้พระองค์ทรงรู้ล่วงหน้าแล้วว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดก็เป็นไปด้วยหิกมะฮฺ(วิทยปัญญาและเหตุผล)ของพระองค์เพราะพระองค์ทรงรอบรู้ในทุกๆสิ่ง ตัวอย่างของการนัซคฺ ก็เช่นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับอิดดะฮฺ(การครองตนโดยไม่แต่งงาน)ของหญิงที่สามีตายซึ่งในระยะแรกนั้นอิดดะฮฺของนางคือ 1 ปีเต็ม ตามที่ปรากฏในอัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮฺ : 240 หลังจากนั้นอัลลอฮฺตะอาลาก็ทรงเปลี่ยนให้เป็น 4 เดือน กับ 10 วันดังปรากฏในสูเราะฮฺ อัลบะเกาะเราะฮฺ : 234 เป็นต้น

ไม่มีการคิลาฟ (การขัดแย้งทางทัศนะ) ในยุคนี้

เนื่องจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มีชีวิตอยู่ในยุคนี้และท่านก็เป็นผู้บอกหุก่มที่มาจากองค์อัลลอฮฺตะอาลา เมื่อมีปัญหาใดๆทุกคนก็จะไปหาท่าน กล่าวคือ บทบัญญัติทั้งหมดนั้นล้วนมาจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺ พร้อมคำอธิบายและตอบข้อซักถามของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงไม่มีการขัดแย้งทางทัศนะเกิดขึ้นในยุคนี้

การจดบันทึกในยุคนี้

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ตั้งให้เศาะหาบะฮฺบางท่านเป็นผู้บันทึกโองการอัลกุรอานที่ลงมายังท่าน เช่น ท่านซัยด์ บิน ษาบิต, ท่านอะลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา และท่านอื่นๆในส่วนของหะดีษนั้น ช่วงแรกๆท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ห้ามให้บันทึกเพราะเกรงว่าจะสับสนกับอัลกุรอานแต่ภายหลังท่านก็อนุญาตให้บันทึกไว้ได้ซึ่งหนึ่งในผู้ที่ทำการบันทึกหะดีษของท่านในยุคนี้ ก็เช่น ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อัมร์ บิน อัลอาศ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ

เมื่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เสียชีวิตลง อัลกุรอานได้ถูกบันทึกไว้ทั้งหมดแล้วเพียงแต่อยู่กระจัดกระจายยังไม่ได้รับการรวบรวมเป็นเล่ม แต่กระนั้นเศาะหาบะฮฺหลายๆท่านก็ท่องจำอัลกุรอานขึ้นใจ จนกระทั่งสมัยของท่านอบูบักรฺเราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ที่เริ่มมีการรวบรวมอัลกุรอาน และสมัยท่านอุษมาน บิน อัฟฟาน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ที่ถือว่าเป็นการรวบรวมขั้นสุดท้าย

ในส่วนของสุนนะฮฺ ถึงแม้จะไม่มีการจดบันทึกทั้งหมด แต่บรรดาเศาะหาบะฮฺก็ท่องจำขึ้นใจเช่นกัน ทั้งนี้ แต่ละท่านก็ท่องจำมากน้อยต่างกันไป ที่สำคัญคือ สุนนะฮฺทั้งหมดของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้รับการท่องจำและรายงานต่ออย่างครบถ้วน

ข้อสรุป

จะเห็นได้ว่าฟิกฮฺในยุคของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั้นยังไม่ได้ถูกจำกัดความเช่นที่เราเข้าใจกันทุกวันนี้แต่ฟิกฮฺในยุคนั้นหมายถึงความรู้เกี่ยวกับบทบัญญัติอิสลามในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะด้านอะกีดะฮฺ อิบาดาต หรือ มารยาทต่างๆในอิสลาม และการบัญญัติหุก่มในยุคนั้นก็ยึดเพียงอัลกุรอานและหะดีษเป็นหลักเมื่อเกิดปัญหาหรือข้อสงสัยใดๆ ทุกคนก็จะถามท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมทันที จึงไม่มีข้อขัดแย้งทางทัศนะใดๆ เกิดขึ้น


--------------------------------------------------------------------------------

แหล่งอ้างอิงและศึกษาเพิ่มเติมได้จาก :

1- ตารีค อัตตัชรีอฺ อัลอิสลามีย์ - เขียนโดย เชค มันนาอฺ อัลก็อฏฏอน

2- อัลมัดค็อล ลิ ดิรอซะฮฺ อัชชะรีอะติล อิสลามิยะฮฺ - เขียนโดย ศ.ดร.อับดุลกะรีม ซัยดาน

3- อัลมัดค็อล อิลา อัชชะรีอะฮฺ วัล ฟิกฮฺ อัลอิสลามีย์ - เขียนโดย ศ.ดร.อุมัรฺ อัลอัชก็อรฺ

 
 waalaikumussalam
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ม.ค. 15, 2008, 06:48 AM โดย al-azhary »

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: ม.ค. 15, 2008, 07:41 AM »
0

.....และ สิ่งที่ผมได้ยกหลักฐานจากบรรดาผู้รู้ทั้งยุคตาบีอีน และสลัฟที่ปราญช์โลกอิสลามยอมรับกัน    แต่ท่านget  ยังไม่Get  อีกหรือครับ  การใช้สติปัญญาอันต่ำต้อยของตนเองมาตัดสินร่วมกับความรู้สึกกับการไม่กินปัญญาของตนเองนั้น  ไม่เป็นที่ยอมรับของนักนิติศาสตร์อิสลามครับ      มันต้องหักล้างกันด้วยหลักฐานที่ชัดเจนเท่านั้น

ตอนที่ผมบรรจงเขียนข้อความในกระทู้นี้ ผมคิดว่าสติผมยังอยู่ครบ และเท่าที่ตรวจสอบที่เขียนมาทั้งหมด ผมยังไม่มีความคิดเห็นใดๆเกี่ยวกับการเฝ้ากุโบร นอกจาก การเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการนำเสนอเท่านั้น ถ้าการเสนอแนะดังกล่าวคือ การใช้สติปัญญหาอันต่ำต้อยมาตัดสินร่วมกับความรู้สึกกับการไม่กินปัญญาของตน ผมก็ต้องขอโทษ และต่อไปนี้ คงไม่กล้าที่จะร่วมแสดงความคิดเห็นใดๆอีก เพราะผลที่ตามมามีแต่การถูกเหยียดหยามและดูหมิ่นจาก (ผู้ที่อ้างตนว่าเป็น) ผู้รู้ ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นในเว็บที่ได้ชื่อว่าเว็บอะฮฺลุสสุนนะฮฺแห่งนี้ ผมเสียใจ

Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: ม.ค. 15, 2008, 08:17 AM »
0
และต่อไปนี้ คงไม่กล้าที่จะร่วมแสดงความคิดเห็นใดๆอีก เพราะผลที่ตามมามีแต่การถูกเหยียดหยามและดูหมิ่นจาก (ผู้ที่อ้างตนว่าเป็น) ผู้รู้ ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นในเว็บที่ได้ชื่อว่าเว็บอะฮฺลุสสุนนะฮฺแห่งนี้ ผมเสียใจ

ผมเห็นด้วยกับคุณ GeT เป็นอย่างยิ่งเลยครับ  บัง al-azhary ก็บอกแล้วว่าให้เสวนาเชิงวิชาการ
ซึ่งการเสวนาเชิงวิชาการนั้นคือการเสวนาเพื่อไปสู่ความจริงหรือข้อเท็จจริง  เหตุใดถึงต้องมีการ
เหยียดหยามต่อผู้เสวนา  ท้าทายให้คนอื่นเข้ามาด้วย  ซึ่งการเสวนาเพื่อเอาชนะกันหรือท้าทาย
กันนั้นถือว่าเสวนากันโดยไม่ได้อะไรขึ้นมานอกจากนั้นอาจเป็นบาปเสียด้วยซ้ำไป ฉันว่านำเสนอ
กันเชิงวิชาการดีกว่าครับ  เสวนากันแบบมีมารยาทไม่ต้องกระแนะกระแหนกันซึ่งมันน่าอ่านมาก
กว่าเสียอีก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่คุณ   GeT บอกว่า เว็บนี้ชื่อว่า เว็บอะฮ์ลุสสุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
ทำไมเราถึงไม่มีบุคลิคการเสวนาแบบอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์กันล่ะครับ  ฉันว่ามันหมดยุคแล้ว
น่ะที่มีการเสวนาแบบดูหมิ่นพี่น้องทีร่วมเสวนา  ดังนั้นก็อย่าลืมว่าเว็บนี้คือ "เว็บอะฮ์ลิสซุนนะฮ์"

มะอัฟด้วยหากมีพี่น้องไม่พอใจ

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: ม.ค. 15, 2008, 08:57 AM »
0


อย่างแรกผมไม่ได้บอกว่าสิ่งที่บังนูรุลอิสลามนำเสนอนั้นไม่มีน้ำหนัก เพียงแต่ว่าผมอยากให้บังนูรลอิสลามช่วยกรุณาระบุที่มาของข้อมูลด้วย เพื่อที่จะได้ใช้อ้างอิงต่อไปในอนาคต
อย่างที่สอง หลักฐานที่บังนูรุลอิสลามนำเสนอนั้นมันก็โอเค แต่เป็นเพียงหลักฐานของฝ่ายที่เห็นว่าอนุญาตเท่านั้น ผมจึงขอเสนอให้นำเสนอหลักฐานที่เห็นว่าไม่อนุญาตด้วย แล้วมาวิจารณ์หักล้างกันจนได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า ระว่างทั้งสองทัศนะอันไหนมีน้ำหนักมากกว่ากัน ก็เท่านั้น '''''''


 ตอนที่ผมบรรจงเขียนข้อความในกระทู้นี้ ผมคิดว่าสติผมยังอยู่ครบ และเท่าที่ตรวจสอบที่เขียนมาทั้งหมด ผมยังไม่มีความคิดเห็นใดๆเกี่ยวกับการเฝ้ากุโบร นอกจาก การเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการนำเสนอเท่านั้น ถ้าการเสนอแนะดังกล่าวคือ การใช้สติปัญญหาอันต่ำต้อยมาตัดสินร่วมกับความรู้สึกกับการไม่กินปัญญาของตน ผมก็ต้องขอโทษ และต่อไปนี้ คงไม่กล้าที่จะร่วมแสดงความคิดเห็นใดๆอีก เพราะผลที่ตามมามีแต่การถูกเหยียดหยามและดูหมิ่นจาก (ผู้ที่อ้างตนว่าเป็น) ผู้รู้ ซึ่งผมคิดว่าไม่น่าจะเกิดขึ้นในเว็บที่ได้ชื่อว่าเว็บอะฮฺลุสสุนนะฮฺแห่งนี้ ผมเสียใจ
 
 
 
salam salamครับคุณGet   ก่อนอื่นผมขอมาอัฟต่อคุณด้วยครับและขอรับผิดครับว่า ผมอ่านข้อความที่คุณโพสมาแล้ว อาจจะตีความแล้วสับสนในความเข้าใจ ของผมเอง โดยเฉพาะ  อ้างถึงตัวอักษรเอียง   

ตอนแรก  ผมเข้าใจว่าคุณต้องการจะนำเสนอหลักฐานที่ไม่อนุญาตให้อ่านในกุบุร เสียเอง    เลยกลายเป็นว่า  ผมเข้าใจผิด  ผมยอมรับครับ..........สำหรับคำพูดบางคำที่คุณGetไม่สบายใจผมก็ขออภัยเช่นกัน

เรื่องการออกความเห็นในกระทู้ที่ผมตั้งขึ้นนั้น  ผมไม่กีดกันใครครับ    ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเเสดงออกบนความถูกต้อง ด้วยหลักฐานที่นำมา                         

อีกอย่างผมก็รอบังหะสันมาร่วมเสวนาด้วยถ้อยคำที่ดีต่อกัน  แต่ผมกับบังหะสันนั้นรู้ใจกันครับ  สำหรับ คุณGET นั้นอาจจะเป็นน้องใหม่ของเวปนี้เลย ยังไม่รู้จักบุคคลิกและสไตล์ผมครับ  ก็ค่อยเรียนรู้ไปนะครับ


คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: ม.ค. 15, 2008, 09:03 AM »
0
 salamครับคุณ salam


ผมขอมาอัฟไปยังคุณgetแล้วครับ  ยังงัยความผิดพลาดเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่โต   นะครับ  ยังงัยก็เชิญคุณ salamเข้าร่วมเสวนาด้วยครับ  ด้วยความจริงใจครับ

คนอยากรู้

  • บุคคลทั่วไป
Re: เฝ้ากุโบร์ไม่ฮาราม
« ตอบกลับ #29 เมื่อ: ม.ค. 15, 2008, 09:23 AM »
0
เอาละครับเมือ  มีการเข้าใจกันทุกคนแล้ว   

..
 
..........จากคำพูดของคุณGet  ที่ว่าแต่เป็นเพียงหลักฐานของฝ่ายที่เห็นว่าอนุญาตเท่านั้น ผมจึงขอเสนอให้นำเสนอหลักฐานที่เห็นว่าไม่อนุญาตด้วย แล้วมาวิจารณ์หักล้างกันจนได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า ระว่างทั้งสองทัศนะอันไหนมีน้ำหนักมากกว่ากัน ก็เท่านั้น '''''''

   จริงๆแล้ว สิ่งที่ผมนำเสนอนั้นเป็นหลักฐานที่เห็นว่าการเฝ้ากุโบร์นั้นสามารถกระทำได้โดยไม่เป็นฮารอม  แต่อย่างใด ซึ่งผมยังมีหลักฐานอีกมาก   แต่การนำเสนอฝ่ายเดียวนั้น ดูเหมือนว่า  เป็นการโอ้อวด  ดังนั้นผมจึงรอบังหะสันหรือใครก็ตามที่เห็นว่ามีหลักฐานคัดค้านในการอ้างอิงของผม     

ส่วนในเรื่องที่คุณgetบอกว่าให้นำหลักฐานอีกฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมาอ้าง  พร้อมกับวิจารณ์นั้น   ผมเห็นว่า  บางครั้งท่านผู้อ่านอาจะเห็นว่าเป็นการสร้างเรื่องเอง กำกับและแสดงเองผม ไม่อยากให้ใครมาครหาในประเด็นนี้

แต่ยังงัยๆถ้าไม่มีใครนำหลักฐานมาโต้  เลย  ผมก็จะพยายามนำหลักฐานจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย มาให้ท่านผู้อ่านร่วมกันพิจารณาเท่าที่ผมมีความสามารถในการนำเสนอ

ฉนั้นในส่วนตรงนี้ ผมขอรับปากแล้วกัน   แต่  จะขอดำเนินการในโอการต่อไป แล้วกันนะครับ   ยังงัยก็เพื่อสนองตามคำเสนอของคุณGetแล้วกัน  และชดเชยในความเข้าใจผิดของผมที่ทำให้พี่น้องของผมน้อยเนื้อต่ำใจ

 

GoogleTagged