ผู้เขียน หัวข้อ: การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)  (อ่าน 8607 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

asan

เอาหลักฐานมาว่ากัน อย่าบิดเบือน โดยอ้างว่า ท่านนบีทำเมาลิดให้กับตัวเอง แบบหน้าไม่อาย

al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

เอาหลักฐานมาว่ากัน อย่าบิดเบือน โดยอ้างว่า ท่านนบีทำเมาลิดให้กับตัวเอง แบบหน้าไม่อาย

ตอบ

ผู้ริเริ่มทำเมาลิดโดยฉลองแสดงความยินดีกับวันประสูตของท่านนบีมุหัมมัด(ซ.ล.) คือตัวของท่านนบีมุหัมมัด ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เอง ท่านอิมามมุสลิมได้รายงานจากท่านอบีเกาะตาดะฮ์ว่า

سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال : ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على

"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมาแก่ฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม

หะดิษดังกล่าวนี้บ่งชี้อย่างชัดเจนถึงการอนุญาติให้มีการฉลอง มีความปิติยินดี ชุโกรเนี๊ยะมัต ในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) เพราะเหตุผลในการทำความดี ด้วยการถือศีลอดในวันจันทร์นั้น ท่านนบี(ซ.ล.)ได้กล่าวเหตุผลไว้ว่า "เพราะมันเป็นวันเกิด(เมาลิด)ของฉัน" ดังนั้น จึงถือว่าไร้ความหมายกับผู้ที่กล่าวว่า ชีอะฮ์อัลอิสมาอีลียะฮ์จากพวกฟาฏิมีย์เป็นบุคคลแรกที่ฉลองความปิติยินดี ชุโกรเนี๊ยะมัน ในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) เพราะการเชื่อว่าพวกชีอะฮ์อัลอิสมาอีลียะฮ์เป็นบุคคลแรกที่แสดงความยินดี ชุโกรเนี๊ยะมัตในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ถือว่าเป็นการเฉไฉ และทำไม่รู้ไม่ชี้เกี่ยวกับสัจจะธรรม

หากถูกกล่าวแก่เราว่า ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการถือศีลอด ก็เพราะว่าเป็นวันเกิดของท่าน แต่พวกเราทำการฉลองเมาลิดเพื่อรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยการรวมตัวกัน และมาทำการอ่านประวัติ อ่านอัลกุรอานบางส่วน ซอลาวาต ทำการให้อาหารและเลี้ยงอาหาร โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่เคยกระทำรูปแบบนี้มาก่อน ซึ่งมันเป็นบิดอะฮ์หรือไม่?

เราขอตอบว่า กรณีดังกล่าวนี้ มันอยู่ในเรื่องของ "วิธีการในการเฉลิมฉลองเมาลิดของท่านนบี(ซ.ล.) " หรือแล้วแต่สภาพการของแต่ละพื้นที่ ซึ่งวิธีการในการรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) นั้น เป็นเรื่องวิธีการที่อยู่ในรูปแบบกว้างๆ (มุฏลัก) ที่เป็นประเด็นในเชิงวินิจฉัย (อิจญฺฮาด) ของบรรดานักปราชญ์ ดังนั้น รูปแบบในการทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) ก็ยังคงถูกเปิดให้แก่ประชาชาติอิสลาม ในการวินิจฉัย พิจารณาตามสภาพที่สะดวกของพวกเขา โดยไม่ขัดกับหลักการของศาสนา เพราะฉะนั้น การมีความปีติยินดีเกี่ยวกับวันเกิด(เมาลิด)ของท่านนบี(ซ.ล.) นั้น มีรากฐานจากหลักการของศาสนา แต่วิธีการต่างๆ เหล่านั้น อิสลามได้เปิดกว้างโดยมอบให้อยู่ในเรื่องของการวินิจฉัย

ส่วนหลักการวินิจฉัยนั้น มีประเด็นมากมาย ที่หลักการพื้นฐานของมันได้ระบุเอาไว้ตามหลักของศาสนา แต่วิธีการนั้น ถูกมอบให้กับประชาชาติอิสลามทำการวินิจฉัยได้ อย่างเช่น เรื่องของอัลกุรอาน ซึ่งไม่มีผู้ใดคัดค้านในเรื่องของความดีงามและความประเสริฐของการท่องจำ การเรียน การสอนและเผยแพร่อัลกุรอาน

แต่วิธีการสอน การท่องจำ การเรียน และการเผยแพร่อัลกุรอานนั้น มันมีรูปแบบและวิธีการต่างกันหรือไม่? และอย่างไร?

คำตอบก็คือ ให้ผู้อ่านพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ท่านผู้อ่านจะเห็นและทราบว่า วิธีการสอน การเรียน และการเผยแพร่อัลกุรอานนั้น มีอยู่ในทั้งรูปแบบของ โรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัย มีคณะอัลกุรอาน มีสมาคมสอนอัลกุรอาน มีการแข่งขันอ่านอัลกุรอาน ท่องจำอัลกุรอาน มีการมอบรางวัลให้กับผู้ท่องจำอัลกุรอาน มีประกาศนียบัตรให้กับผู้สำเร็จในหลักสูตรวิชาอัลกุรอาน และมีการสัมมนาเกี่ยวกับการเรียนการสอนและความสำคัญของอัลกุรอาน มีการบันทึกอัลกุรอานในรูปแบบ เทป หรือ ซีดี มีการเผยแพร่อัลกุรอาน ที่อยู่ในรูปแบบของโรงพิมพ์ มีการตีพิมพ์อัลกุรอานที่มีสีสันเน้นคำตัจญวีด มีการทำเล่มที่มีหลากหลายรูปแบบ และบางทีการเผยแพร่อัลกุรอานที่อยู่ในรูปแบบของสมาคมนักกอรีย์ เป็นต้น ดังนั้น รูปแบบต่างๆ เหล่านี้ มีอยู่ในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.)หรือไม่?? ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.พ. 09, 2007, 06:47 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 04:57 AM »
0
al-azhary

ท่านนบี(ซ.ล.)เฉลิมฉลองวันเกิดของท่านด้วยการถือศีลอดในวันจันทร์

ท่านอิมามมุสลิมได้รายงานจากท่านอบีเกาะตาดะฮ์ว่า


سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال : ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على

"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ถูกถามจากการถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม

หะดิษนี้ย่อมอยู่ในความหมายของ "การฉลองแสดงความปีติยินดีด้วยการเกิดหรือวันเกิดของท่านนบี (ซ.ล.)" แม้ว่ารูปแบบจะแตกต่างกันไป แต่ ความหมาย ในการฉลองแสดงความยินดีในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)นั้นยังคงอยู่ ไม่ว่าจะด้วยการถือศีลอด การให้อาหารหรือเลี้ยงอาหาร การรวมตัวกันเพื่อซิกรุลเลาะฮ์และการซอลาวาตต่อท่านนบี(ซ.ล.) หรือการรับฟังบุคลิกและคุณงามความดีของท่านนบี(ซ.ล.)

ส่วนหนึ่งจากความหมายของการฉลองแสดงความยินดีนั้น ก็คือ "การแสดงออกซึ่งการรู้คุณชุโกรต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) และการแสดงออกถึงการให้เกียตริในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) การได้รับความเมตตามีความสุขของทุกๆสิ่งด้วยการเกิดมาของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ได้บ่งชี้อย่างชัดเจนจากพระดำรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า


وما أرسلناك إلا رحمة للعالمين


"และเราไม่ได้ส่งเข้ามา นอกจาก เป็นความเมตตาแก่บรรดาสากลโลก"

คำว่า"สากลโลก"นี้ คือ บรรดามะลาอิกะฮ์ และมนุษย์ ยิน ไม่ว่าจะเป็นมุอฺมินหรือกาเฟร " พวกเขาก็ย่อมได้รับความเมตตาอันนี้ ซึ่งความเมตตานี้ก็คือ ท่านนบี(ซ.ล.)ที่เป็นของขวัญกำนัลแด่บรรดาสรรพสิ่งทั้งหลาย

ดังนั้น จึงเป็นที่ทราบกันดีว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทำการถือศีลอดในวันจันทร์ เนื่องมันเป็นวันเกิดของท่าน โดยการแสดงออกถึงความยินดี ชุโกรรู้คุณ และให้เกียตริต่ออัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) ที่พระองค์ทรงให้ท่านร่อซูล (ซ.ล.)เกิดมา และนี่ก็คือ "เป้าหมายในการเฉลิมฉลองการเกิด (เมาลิด) ของท่านนบี(ซ.ล.)"

ฉะนั้น หะดิษของท่านนบี(ซ.ล.)ให้ทำถือศีลอดในวันจันทร์นั้นไม่ใช่เป็นหลักฐานในการจำกัดเรื่องอิบาดะฮ์ในวันจันทร์ด้วยการถือศีลอดเท่านั้น แต่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้เฉพาะเจาะจงการถือศีลอด เพื่อแสดงออกถึงการดีใจ มีความปีติยินดีในวันเกิดของท่าน โดยที่ท่านนบี (ซ.ล.)เองก็ยังคงทำการละหมาด ถือศีลอด ทำการให้อาหาร ทำการบริจาคทานซอดาเกาะฮ์ ในวันจันทร์ ดังนั้น การที่ในวันจันทร์มีการถือศีลอด มีการให้อาหารหรือเลี้ยงอาหาร มีการรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) มีการซอลาวาตต่อท่านนบี(ซ.ล.) และการสรรเสริญต่อท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยกับความเหมาะสมที่ท่านควรได้รับนั้น มันไม่มีหลักการใดมาห้ามการรวมกันทำสิ่งดีเหล่านี้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง แสดงความยินดี ด้วยกับการเกิด(เมาลิด)ของท่านนบี(ซ.ล.) "
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 05:03 AM »
0
MUSTAKEEM

จึงเป็นที่ทราบกันดีว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทำการถือศีลอดในวันจันทร์ เนื่องมันเป็นวันเกิดของท่าน
ดังนั้นหากคิดถึงท่าน นบี(ศล)หรือคิดจะจัดงานวันเกิดแก่ท่าน ก็จง ถือศิลอดซะ จะได้บุญอีกด้วย ไม่ใช่ว่าหวังๆ ว่าจะได้บุญ
หวังๆว่าจะบาป นะครับ

al-azhary

งั้น ท่านพี่น้องมุสลิมทั้งหลายครับ เราจะมาฉลองและแสดงความยินดีใน(เมาลิด)วันเกิดนบี(ซ.ล.) กันทุกวันจันทร์ ด้วยการถือศีลอดและกระทำความดีกันนะครับ เอาให้ทุกวันจันทร์ไปเลยครับ อย่าทำปีละครั้ง

ชญานนท์

อ้างจาก: al-azhary ที่ 11 กันยายน 49 , 13:06
งั้น ท่านพี่น้องมุสลิมทั้งหลายครับ เราจะมาฉลองและแสดงความยินดีใน(เมาลิด)วันเกิดนบี(ซ.ล.) กันทุกวันจันทร์ ด้วยการถือศีลอดและกระทำความดีกันนะครับ เอาให้ทุกวันจันทร์ไปเลยครับ อย่าทำปีละครั้ง
---
แบบนี้แหละที่เห็นด้วยและควรปฏิบัติตาม อย่างยิ่ง

asan

Al-azhary อ้างว่า

ท่านนบี(ซ.ล.)เฉลิมฉลองวันเกิดของท่านด้วยการถือศีลอดในวันจันทร์

ท่านอิมามมุสลิมได้รายงานจากท่านอบีเกาะตาดะฮ์ว่า

سئل رسول الله صلى الله عليه وسلم عن صوم يوم الإثنين فقال : ذلك يوم ولدت فيه وأنزل على

"ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ถูกถามจากการถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวตอบว่า "ดังกล่าวนั้น (เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด และ(อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน" รายงายโดยท่าน มุสลิม

ตอบ

นี้แหละครับ เขาทำนองที่ เขาเรียกว่า ?เอายาแก้ไอ มากินแก้ปวดท้อง ? ท่านนบี ศอ็ลลัลลัลฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ส่งเสริมให้ถือศีลอดสุนัตในวันจันทร์ และระบุว่า ?วันที่ฉันเกิด และ(อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน วันดังกล่าวนั้น เป็นวันเกิดของท่านและเป็นวันที่อัลกุรอ่านถูกประทานลงมาให้แก่ท่าน จุดเน้นอยู่ที่ส่งเสริมให้ ถือศีลอด ไม่ใช่มาเน้นเรื่องวันเกิด? เพราะข้อความต่อมา คือ فيه وأنزل على (และในวันนั้น อัลกุรอ่าน)ถูกประท่านให้แก่ฉัน แต่ al-azhary พยายามใส่วงเล็บอธิบายว่า ?(เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด? เพื่อให้เขากับ ข้ออ้างที่ว่า ?ท่านนบีเฉลิมฉลองวันเกิดตัวเอง
จึงอยากถามว่า ?แล้ววันที่อัลกุรอ่านประทานลงมา? ทำไมไม่เฉลองด้วย เคยถามมาแล้วแต่ไม่ตอบ

จุดเน้นของหะดิษคือ สุนัตให้ถือศีลอดในวันจันทร์ ไม่ใช่ให้เฉลิมฉลองเมาลิดนบี และไม่ใช่จุดเน้นอยู่ วันเกิดนบี เพราะยังหะดิษบทอื่นที่ส่งเสริมให้ถือศีลอดสุนัตในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เช่น

وعن عائشة رضي الله عنه قالت : ( كان النبي صلى الله عليه وسلم يتحرَّى صوم الاثنين والخميس )

รายงานจากท่านหญิงอาอีฉะฮ (ร.ฏ) กล่าวว่า ? ปรากฏว่าท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กำหนดให้ถือศีลอดวันจันทร์และวันพฤหัส ?

رواه الترمذي (745) والنسائي (2361) وابن ماجه (1739) وصححه الألباني في "صحيح الترغيب" (104


وعن أبي هريرة رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال : ( تُعرض الأعمال يوم الاثنين والخميس ، فأحب أن يعرض عملي وأنا صائم )

และรายงานจากอบีฮุรัยเราะฮ(ร.ฏ)ว่าแท้จริงท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า ?บรรดาการงาน(ของบ่าว) จะถูกนำเสนอ (ไปยังอัลลอฮ) ในวันจันทร์และวัน พฤหัสบดี

และฉันชอบให้การกระทำของฉันถูกเสนอขณะที่ฉันถือศีลอด?

رواه الترمذي (747) وصححه الألباني في "صحيح الترغيب" (1041

จะเห็นได้ว่า เป็นเพียงหะดิษที่ส่งเสริมให้ถือศีลอดสุนัต มันไม่ได้หมายถึง การจัดให้อิบาดธออีกรูปแบบหนึ่งโดยเฉพาะ คือ การเฉลิมฉลองวันเกิดของท่านนบี แต่ประการใด

เราต้องไม่ลืมว่า การอิบาดะฮในศาสนานั้น ผู้ที่กำหนดคือ อัลลอฮและรอซูลของพระองค์  และรูปแบบเมาลิดนบี ที่อ้างถึงความเป็นอิบาดะฮนั้น ใครกำหนดหรือ ? อยากจะถาม al-azhary รูปแบบเมาลิดนบีปัจจุบันที่ตนเองสนับสนุนและบิดเบือนหะดิษข้างต้นมาสนับสนุนนั้น อัลลอฮ สั่งหรือ ท่านนบี สั่งหรือ ณ. วันนี้ al-azhary ยังมองว่า คนอื่น ยังโง่อยู่ จึงอ้างนั้น อ้างนี้ สารพัด

หะดิษที่น้องบ่าวอ้าง คนอื่นเขาไม่เคยพบ เคยเจออย่างนั้นหรือ ? จึงนำมาอ้างว่านบีเป็นคนแรกที่ทำเมาลิด อย่างหน้าตาเฉย

ท่านอิบนุตัยมียะอ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

والعبادات مبناها على الشرع والاتباع لا على الهوى والابتداع ; فإن الإسلام مبني على أصلين : أن لا نعبد إلا الله وحده وأن نعبده بما شرعه على لسان رسوله صلى الله عليه وسلم لا نعبده بالأهواء والبدع . [ ص: 95 ]

"และบรรดาการอิบะดะฮนั้น มันถูกตั้งอยู่บนศาสนบัญญัติ และการปฏิบัติตาม ไม่ใช่ตั้งอยู่บนการตาม อารมณ์และการอุตริกรรมขึ้นใหม่
แท้จริงศาสนาอิสลามนั้น ถูกตั้งอยู่บนรากฐานสองประการ คือ

1.แท้จริง เราจะไม่ทำการเคารพภักดี(อิบาดะฮ)ต่อผู้ใด นอกจากอัลลอฮฺแต่เพียงพระองค์เดียว
2.และแท้จริง เราจะทำการเคารพภักดีต่อพระองค์ ด้วยสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติ โดยผ่านคำพูดท่านร่อซูลของพระองค์เราจะไม่ทำ
การเคารพภักดี(อิบาดะฮ)ต่อพระองค์ ด้วยการตามอารมณ์และ สิ่งที่เป็นบิดอะฮ - มัจญมัวะฟะตาวา เล่ม 23 หน้า 95

เลิกทำตัวดันทุรังเอาชนะเสียทีเถอะครับ น้องบ่าว ถ้าน้องบ่าวมีความอิคลาศเพื่ออัลลอฮ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 05:05 AM »
0
anas

นั่งดูการรุมสกรัมพี่น้องอะลิศซุนนะวัญมาอะฮ์โดนพี่น้องซุนนะวะฮาบีย์มานาน
และรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมเอามากเลยนะพีน้อง

จากการศึกษาข้อมูลทั้งสองฝ่ายก็พอสรุปได้ว่า ..
พี่น้องเราในมัสหับอีหม่ามชาฟีอีหรือกล่มอะลิสซุนนะนั้น ถือว่าอนุญาตให้กระทำเมาลิดได้

โดยอ้าง ถึงการกระทำใดๆที่ไม่ขัดต่อกีตาบุลลออ์และซุนนะท่านนบีแล้วสามารถกระทำได้แม้ว่า ไม่มีในสมัยท่านนบีก็ตามและอ้างว่า บิดอะนั้นมีสองแบบคือฮานะและซัยญีอะ..โดยท่านอีหม่ามชาฟีอีเป็นผู้แบ่ง ซึ่งท่านเอามาจากคำพูดของคอลีฟะอัรรอซีดีน คือ ท่านอุมัร(รด) ที่กล่าวว่า.. การรวมละหมาดเป็นญามอะของนมาชตะรอเวียะนั้น เป็นบิดอะที่ดี

และคำนิยามว่าบิดอะ นั้นคือสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมา และไม่มีในสมัยท่านบี โดยไม่ขัดแย้งกับกับคำสอนศาสนา

ซึ่งท่านอีหม่ามยึดหลักการนี้ในการตัดสินหรือฮุกมเรื่องบิดอะใดๆ โดยแบ่งออกเป็น2ประเภท

หลังจากนั้นบรรดาสานุศิษย์หรือผู้ที่ตักลีดตามท่านอีหม่ามชาฟีอี โดยเฉพาะอันาวีย์..ท่านแบ่งบิดอะออกเป็น5 ประเภท..
ดังนั้น การทำเมาลิด ที่ไม่มีทั้งคำห้ามและคำใช้ในกิตาบุลลออ์และซุนนะบี นั้น

บรรดาผู้รู้ส่วนมากจึงมีมติว่า สามารถกระทำได้ ถ้าเป็นเรื่องความดีไม่ขัดต่อหลักการศาสนา
ในเมาลิดมี การอัลกรอาน การซอลาวัตท่านนบี... การเล่าประวัติท่านนบี..และการทำบุญของพี่น้องมุสลิมที่ยินดีต่อการประสูติของท่านนบี..ในเดือนรอบิอุลเอาวัลนี้..

จะเห็นว่าไม่มีการเลยเทิดไปในทางเสียหายแต่อย่างใดเลย..และไม่มีมัชซียะเลย ถ้ากระทำแต่เพียงมัสยิดหรือในบ้าน..

ส่วนพี่น้องซุนนะวะฮาบีย์นั้น ถือว่าไม่อนุญาตให้กระทำเพราะอ้างว่าสิ่งใดที่ไม่ปรากฏในสมัยท่านนบีสิ่งนั้นคือบิดอะโดยอ้าง...
ฮาดีสฮะซันที่ว่า..ทุกบิดอะคือการหลงผิด.และ..การหลงผิดต้องตกนรก..........

ถ้ามีบิดอะนั้นก็คือบิดอะดุนยาและบิดอะศาสนา ..ซึ่งในเรื่องนี้ไม่มีหลักฐานการแบ่งโดยท่านผู้รู้ในอดีตไม่ว่า ซอฮาบะหรือตาบีอีนหรือยุคสลัฟ.เลย...
แต่แบ่งตามฮุกมอาดัตของพี่น้องซุนนะวะฮาบีย์ ..

และสิ่งใดไม่มีในสมัยท่านนบีนั้น สำหรับพี่น้องซุนนะวะฮาบีย์ถือว่าเป็นการอุตริกรรมที่หลงผิด

ดังนั้น การทำเมาลิดนั้น มัสหับอัชาฟีอีบอกว่ากระทำได้ แต่มัสหับวะฮาบีย์บอกว่า กระทำไม่ได้และเป็นบิดอะ..
จึงเกิดการโต้แย้งขึ้น ระหว่างผู้อยู่ต่างทัศนะ.กัน..แต่ถ้าพี่น้องซุนนะวะฮาบีย์ที่บอกว่ากระทำไม่ได้ในทัศนะของเขาและถือว่าเป็นบิดอะนั้น ผมถือว่านี่คือสิ่งที่น่าสรรเสริญในทัษศฯของพี่น้องซุนนะวะฮาบีย์ และไม่สมควรไปตำหนิหรือโจมตีพี่ยน้องมัสหับชาฟีอีซึ่งอุลามะเขาบอกว่าอนุญาตให้กระทำได้ และคิดว่าเรื่องที่เราขัดแย้งกันนี้..ก็น่ายุติได้ ถ้าพี่น้องต่างทัศนะมองด้วยจิตใจที่เป็นธรรม...อามีน

---------------และบทความที่นำมานี้...คือส่วนหนึ่ง ของการ ใส่ไคล้ต่อพี่น้องที่อยู่ในแนวทางอีหมามชาฟีอีโดยพี่น้องซุนนะวะฮาบีย์ที่ สะสมกันมาหลายศวรรษ หลายๆปี แต่ก็ยังคงเกิดขึ้นทุกวันนี้และคิดว่าจนถึงวันกียามะและก็เป็นคำถามเดิมๆที่ถูกบันทึกเอาไว้

ข้อใส่ไคล้เกี่ยวกับเรื่องเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.)

1. ผู้คัดค้านอ้างว่า..การเฉลิมฉลองเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) เป็นอีด วันตรุษที่ 3 ของอิสลาม
ตอบ การทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) นั้น เราไม่ถือว่าเป็นวันรื่นเริง เหมือนวันอีดอีดิลฟิตร และอีดอีดิลอัฏหา เนื่องจากอีดทั้งสองนั้นมีวันที่เฉพาะเจาะ แต่การทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้มีเวลากำจัดเจาะจง กระทำได้ทุกวันทุกเวลาที่มีโอกาสในการรวมตัวรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) ได้การกล่าวถึงชีวประวัติและแบบอย่างของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) และเกี่ยวกับประเด็นนี้เราได้อธิบายไปแล้วข้างต้น

2. ผู้คัดค้านกล่าวว่า การจัดงานทำเมาลิดมีการปะปนกับระหว่างหญิงและชายและอื่นๆที่ขัดกับหลักการของศาสนา

ตอบ หากมีประเด็นนอกที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักการเช่นมีการประปนระหว่างหญิงชายในทำเมาลิดนบี(ซ.ล.)ที่อยู่ในรูปแบบของการจัดงานนั้น เราต้องช่วยกันตักเตือนและห้ามปราม ซึ่งมันไม่เกี่ยวกับเรื่องเมาลิดและมันไม่ได้มีผลกับหลักการเดิมของการจัดงานรวมตัวเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)

ท่านอิมาม อัลหาฟิซฺ อัลศะยูฏีย์ กล่าวว่า "หากประการต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นในการรวมตัวกันเพื่อจะทำการละหมาดญุมอะฮ์ เป็นต้น แน่นอนว่ามันย่อมเป็นสิ่งที่น่าตำหนิ แต่หากว่ามีสิ่งดังกล่าว ก็ไม่จำเป็นต้องทำการตำหนิหลักการเดิมในการรวมตัวเพื่อทำละหมาดญุมอะฮ์ และบางทีเราก็เห็นบางประการนี้เกิดขึ้นในการค่ำคืนของเดือนรอมาฏอน ในขณะที่มีการรวมตัวกันเพื่อทำละหมาดตะรอวิหฺ ดังนั้น การรวมตัวกันเพื่อทำการละหมาดตะรอวิหฺ ซึ่งเป็นสุนัตและเป็นอิบาดะฮ์ ต้องถูกตำหนิไหม? โดยที่บางครั้งมีสิ่งที่น่าตำหนิเหล่านี้รวมอยู่ด้วย" ดู อัลหาวีย์ ลิลฟาตาวีย์ เล่ม 1 หน้า 226

การเฉลิมฉลองรื่นเริงในวันอีดนั้น หากว่ามีการปะปนหญิงชายกันหรือมีสิ่งที่หะรอมเกิดขึ้น เราอยากถามว่าหลักการเดิมของการรื่นเริงในอีดต้องถูกตำหนิหรือไม่? ดังนั้น สิ่งหะรอมอันน่าตำหนิใดที่เกิดขึ้น เราต้องช่วยกันตักเตือนครับ

3. ผู้คัดค้านกล่าวว่า การเฉลิมฉลองเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) เป็นการเพิ่มเติมในเรื่องของศาสนาหรือทำให้สมบูรณ์กับศาสนา ซึ่งหากเป็นสิ่งที่ดีท่านนบี (ซ.ล.)ต้องกระทำ

ตอบ คำกล่าวอ้างนี้ ฟังไม่ขึ้น เพราะว่านอกเหนือจากบรรดาอุลามาอ์มุสลิมีนที่เฉลิมฉลองในการทำเมาลิดแล้ว บรรดามุสลิมีนทั่วไปก็ไม่ได้เชื่อและคิดว่าทุกสิ่งที่ท่านนบี (ซ.ล.)ไม่เคย กระทำหรือสะลัฟไม่เคยกระทำ เป็นการเพิ่มเติมศาสนา หรือทำให้สมบูรณ์กับศาสนา ซึ่งถ้าหากว่าเป็นอย่างนั้น แล้วเรื่องการวินิจฉัยของบรรดาอุลามาอ์ล่ะครับ พวกท่านจะว่าอย่างไร? ในเมื่อมีประเด็นปัญหาข้อปลีกย่อยในเชิงวินิจฉัยมากมายเป็นพันๆ ที่เกิดขึ้นหลังจากยุคสะลัฟ ซึ่งสิ่งดังกล่าวนั้น เป็นการเพิ่มเติมในเรื่องศาสนาหรือไม่? เป็นการทำให้สมบูรณ์กับศาสนาหรือไม่? หรือว่าประเด็นปัญหาข้อปลีกในเชิงวินิจฉัยดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้น ท่านนบี(ซ.ล.)และซอฮาบะฮ์ได้ทำการละเลย หรือพวกเขาได้ลืม ทำบกพร่อง หรือไม่รู้เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ? ซุบหานัลลอฮ์ นี้ย่อมเป็นการมุสาอย่างชัดเจน

4. ผู้คัดค้านอ้างว่า การทำเมาลิดเป็น บิดอะฮ์ที่พวกชีวอะฮ์อัรรอฟิเฏาะฮ์ ได้กระขึ้น เพราะผู้ริเริ่มกระทำคือ ราชวงศ์ฟาฏิมีย์ พวกนอกศาสนาที่เป็นลูกหลานของอับดุลเลาะฮ์บินสะบาอฺ ตอบ ตามที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า คนแรกที่ทำการเฉลิมฉลองเมาลิด(วันเกิด)ของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ก็คือตัวท่านนบี(ซ.ล.)ผู้เป็นเจ้าของวันเกิดเอง ซึ่งดังกล่าวย่อมไม่มีการขัดแย้งกัน แต่สิ่งที่ขัดแย้งพิพาทการนั้น คือวิธีการหรือแนวทางในการเฉลิมฉลองในการทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) ที่มีวิวัฒนาการเปลี่ยนไปตามแต่ยุคสมัย และการนำการกระทำของชีอะฮ์อิสมาอีลียะฮ์ ของราชวงศ์ฟาฏิมีย์ห้ามในการทำเมาลิดนั้น ย่อมเป็นใช่หลักการและมาตรฐานในการอ้างหลักฐานของศาสนาอิสลามมาหุกุ่มในเรื่องของศาสนา ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับกรณีนี้นั้น เราได้อธิบายไปแล้วข้างต้น

5. ผู้คัดค้านอ้างว่า การทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เป็นการยกยอสรรเสริญท่านนบี (ซ.ล.) เหมือนกับพวกนะซอรอได้ทำการยกย่องท่านนบีอีซา (อ.) ตอบ คำกล่าวเช่นนี้ เป็นการแอบอ้างของผู้ที่อคติและไม่สามารถแยกแยะสิ่งถูกผิดในเรื่องของศาสนา ดังนั้น จึงเป็นที่ทราบดีว่า การเฉลิมฉลองรำลึกด้วยการแสดงความปีติยินดีกับวันเกิดของท่านนบี (ซ.ล.) ด้วยการ ถือศีลอด อ่านอัลกุรอาน การซ่อลาวาต เล่าชีวประวัติของท่านนบี(ซ.ล.) และการเลี้ยงอาหารแก่บรรดามุสลิมีน ไม่ใช่เป็นเอกลักษณ์ของพวกนะซอรอ(คริสต์) ซึ่งมีการทำชิริกด้วยการเอานบีมูซาเป็นภาคหนึ่งของพระเจ้า มีการฉลองเต้นรำ และดื่มสุรา เป็นต้น และการทำเมาลิดของบรรดามุสลิมีนไม่ใช่เป็นเอกลักษณ์เลียนแบบเหมือนกับศาสนาใด แต่มันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบรรดามุสลิมีนในการเฉลิมฉลองยินดีวันเกิดของท่านนบี (ซ.ล.) และที่สำคัญ เราไม่ได้ทำการเฉลิมฉลองเพื่อเลียนแบบนะซอรอแต่อย่างใด

นี่คือการตอบโต้ที่มีมาในอดีต ที่คล้ายๆกัน ดังนั้นพี่น้องที่ไม่เห็นด้วยนั้นก็น่าจะเอาคำคัดค้านนี้มาถามแล้วอ่านคำตอบที่พี่น้องทางฝ่ายเห็นด้วยไว้ในใจ โดยไม่ต้อง โจมตี ผ่านเวปนี้ให้เปลืองกระดานเสวนาเลย อย่างนี่ดีไหมครับ..อ่านมันหลายๆครั้ง เพราะเท่าที่สังเกตุคำถามก็เดิมๆคำตอบก็เดิมๆ ฉนั้นอย่าสร้างฟิตนะให้มากกว่านี้เลยครับ พี่น้องซุนนะวะฮาบีย์ที่น่ารักทั้งหลาย ..ผมขอซอดาเกาะแล้วกัน...
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 05:08 AM »
0
asan

ขอความของคุณ anas

นั่งดูการรุมสกรัมพี่น้องอะลิศซุนนะวัญมาอะฮ์โดนพี่น้องซุนนะวะฮาบีย์มานาน
และรู้สึกว่าไม่เป็นธรรมเอามากเลยนะพีน้อง

ตอบ

อย่าเรียกว่า รุมสะกรัมซิครับ เพราะคนที่เข้ามาในบอร์นี้ เป็นปัญญาชนทั้งนั้น ระดับดอ็กเตอร์ก็มีนะจะบอกให้ ไม่มีนักเลงหัวไม้ที่ใหนเขามารุมสะกรัมหรอกครับ น้องบ่าว al-azhary ก็มีความรู้ เขาก็คือพี่น้องเราคนหนึ่ง สาบานได้ว่า ไม่อะไรมาทำให้เราบาดหมางกัน แม้จะโต้วาทีกันดุเดือดไปบ้างก็ตาม

ส่วนที่คุณอ้างมัซฮับทั้งสี่ เรื่องเมาลิดนั้น ลองคุณ เอาคำพูด ของอิหม่ามทั้งสี่ มาสักประโยคซิ ว่าใครบ้างส่งเสริมเรื่องเมาลิค ถ้าไม่มีก็ไม่ควรอ้าง


al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

ท่านนบี ศอ็ลลัลลัลฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ส่งเสริมให้ถือศีลอดสุนัตในวันจันทร์ และระบุว่า ?วันที่ฉันเกิด และ(อัลกุรอาน)ถูกประทานลงมายังฉัน วันดังกล่าวนั้น เป็นวันเกิดของท่านและเป็นวันที่อัลกุรอ่านถูกประทานลงมาให้แก่ท่าน จุดเน้นอยู่ที่ส่งเสริมให้ ถือศีลอด ไม่ใช่มาเน้นเรื่องวันเกิด? เพราะข้อความต่อมา คือ فيه وأنزل على (และในวันนั้น อัลกุรอ่าน)ถูกประท่านให้แก่ฉัน แต่ al-azhary พยายามใส่วงเล็บอธิบายว่า ?(เพราะเป็น ) วันที่ฉันเกิด? เพื่อให้เขากับ ข้ออ้างที่ว่า ?ท่านนบีเฉลิมฉลองวันเกิดตัวเอง

ตอบ

ทำไมบังอะสันต้องแช่แข็งตัวบทหะดิษของท่านนบี(ซ.ล.) ทั้งที่คำพูดของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ให้ความหมายที่กว้างขวางและสามารถวินิจฉัยได้ตามที่อัลอิสลามได้มอบให้กับบรรดามุสลิม ใช่แล้วครับ ที่ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งเสริมให้ทำการถือศีลอดในวันจัทรน์ ซึ่งหากบังอะสันบอกว่า ท่านนบี(ซ.ล.)เน้นเท่านี้ แต่ทำไมซอฮาบะฮ์ถึงต้องถามถึงสาเหตุการที่ท่านนบี(ซ.ล.)ถือศีลอดในวันจันทร์อีกล่ะครับ?? หรือว่านบี(ซ.ล.)ใช้ให้ถือศีลอดแล้วยังไม่พอ ถึงต้องถามมาอีก เมื่อซอฮาบะฮ์ได้ถามถึงเหตุการถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านนบี(ซ.ล.) ก็ตอบว่า "มันเป็นวันเกิดของฉัน" ซึ่งหะดิษตรงนี้ ชี้ให้เห็นว่า ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ชูโกรเนี๊ยะมัตในวันเกิดของท่าน ที่อัลเลาะฮ์ทรงให้ท่านเกิดมาเพื่อเป็นความเมตตาแก่สากลโลก

บังอะสันต้องเข้าใจก่อนว่า การเฉลิมฉลองนั้นคืออะไร? ส่วนหนึ่งจากความหมายของการเฉลิมฉลอง คือ " การแสดงความดีใจ ปลื้มปีติยินดี ชุโกร ให้ความสำคัญ ในการเกิดมาของท่านนบี (ซ.ล.) " ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ให้ทำการชุโกร และให้ความสำคัญในวันเกิดของท่าน ด้วยการกระทำความดีงาม หนึ่งในนั้นคือการถือศีลอด ดังนั้น เฉลิมฉลองด้วยการแสดงความยินดี และการชูโกรในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยการกระทำความดีนั้น ได้มีอยู่สมัยของท่านนบี(ซ.ล.) แล้ว และท่านนบี(ซ.ล.) เป็นผู้ริเริ่มกระทำมันขึ้นมา

เพราะฉะนั้น จึงเป็นที่ทราบกันดีว่า ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ทำการถือศีลอดในวันจันทร์ เนื่องมันเป็นวันเกิดของท่าน โดยการแสดงออกถึงความยินดี ชุโกรรู้คุณ และให้เกียตริต่ออัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) ที่พระองค์ทรงให้ท่านร่อซูล (ซ.ล.)เกิดมา และนี่ก็คือ "เป้าหมายในการเฉลิมฉลองการเกิด (เมาลิด) ของท่านนบี(ซ.ล.)"

ดังนั้น หะดิษของท่านนบี(ซ.ล.)ให้ทำถือศีลอดในวันจันทร์นั้นไม่ใช่เป็นหลักฐานในการจำกัดเรื่องอิบาดะฮ์ในวันจันทร์ด้วยการถือศีลอดเท่านั้น แต่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้เฉพาะเจาะจงการถือศีลอด เพื่อแสดงออกถึงการดีใจ มีความปีติยินดีในวันเกิดของท่าน โดยที่ท่านนบี (ซ.ล.)เองก็ยังคงทำการละหมาด ถือศีลอด ทำการให้อาหาร ทำการบริจาคทานซอดาเกาะฮ์ ในวันจันทร์ ดังนั้น การที่ในวันจันทร์มีการถือศีลอด มีการให้อาหารหรือเลี้ยงอาหาร มีการรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) มีการซอลาวาตต่อท่านนบี(ซ.ล.) และการสรรเสริญต่อท่านนบี(ซ.ล.)ด้วยกับความเหมาะสมที่ท่านควรได้รับนั้น มันไม่มีหลักการใดมาห้ามการรวมกันทำสิ่งดีเหล่านี้เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง แสดงความยินดี ด้วยกับการเกิด(เมาลิด)ของท่านนบี(ซ.ล.) "


al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

เราต้องไม่ลืมว่า การอิบาดะฮในศาสนานั้น ผู้ที่กำหนดคือ อัลลอฮและรอซูลของพระองค์
และรูปแบบเมาลิดนบี ที่อ้างถึงความเป็นอิบาดะฮนั้น ใครกำหนดหรือ ? อยากจะถาม al-azhary รูปแบบเมาลิดนบีปัจจุบันที่ตนเองสนับสนุนและบิดเบือนหะดิษข้างต้นมาสนับสนุนนั้น อัลลอฮ สั่งหรือ ท่านนบี สั่งหรือ?

ตอบ

กรณีดังกล่าวนี้ มันอยู่ในเรื่องของ "วิธีการในการเฉลิมฉลองเมาลิดของท่านนบี(ซ.ล.) " หรือแล้วแต่สภาพการของแต่ละพื้นที่ ซึ่งวิธีการในการรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) นั้น เป็นเรื่องวิธีการที่อยู่ในรูปแบบกว้างๆ (มุฏลัก) ที่เป็นประเด็นในเชิงวินิจฉัย (อิจญฺฮาด) ของบรรดานักปราชญ์ ดังนั้น รูปแบบในการทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) ก็ยังคงถูกเปิดให้แก่ประชาชาติอิสลาม ในการวินิจฉัย พิจารณาตามสภาพที่สะดวกของพวกเขา โดยไม่ขัดกับหลักการของศาสนา เพราะฉะนั้น การมีความปีติยินดีเกี่ยวกับวันเกิด(เมาลิด)ของท่านนบี(ซ.ล.) นั้น มีรากฐานจากหลักการของศาสนา แต่วิธีการต่างๆ เหล่านั้น อิสลามได้เปิดกว้างโดยมอบให้อยู่ในเรื่องของการวินิจฉัย

ส่วนหลักการวินิจฉัยนั้น มีประเด็นมากมาย ที่หลักการพื้นฐานของมันได้ระบุเอาไว้ตามหลักของศาสนา แต่วิธีการนั้น ถูกมอบให้กับประชาชาติอิสลามทำการวินิจฉัยได้ อย่างเช่น เรื่องของอัลกุรอาน ซึ่งไม่มีผู้ใดคัดค้านในเรื่องของความดีงามและความประเสริฐของการท่องจำ การเรียน การสอนและเผยแพร่อัลกุรอาน
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 05:10 AM »
0
al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

ท่านอิบนุตัยมียะอ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน)กล่าวว่า

والعبادات مبناها على الشرع والاتباع لا على الهوى والابتداع ; فإن الإسلام مبني على أصلين : أن لا نعبد إلا الله وحده وأن نعبده بما شرعه على لسان رسوله صلى الله عليه وسلم لا نعبده بالأهواء والبدع . [ ص: 95 ]

"และบรรดาการอิบะดะฮนั้น มันถูกตั้งอยู่บนศาสนบัญญัติ และการปฏิบัติตาม ไม่ใช่ตั้งอยู่บนการตาม อารมณ์และการอุตริกรรมขึ้นใหม่
แท้จริงศาสนาอิสลามนั้น ถูกตั้งอยู่บนรากฐานสองประการ คือ
1.แท้จริง เราจะไม่ทำการเคารพภักดี(อิบาดะฮ)ต่อผู้ใด นอกจากอัลลอฮฺแต่เพียงพระองค์เดียว
2.และแท้จริง เราจะทำการเคารพภักดีต่อพระองค์ ด้วยสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติ โดยผ่านคำพูดท่านร่อซูลของพระองค์เราจะไม่ทำ
การเคารพภักดี(อิบาดะฮ)ต่อพระองค์ ด้วยการตามอารมณ์และ สิ่งที่เป็นบิดอะฮ - มัจญมัวะฟะตาวา เล่ม 23 หน้า 95


ตอบ

นั่นคือพื้นฐานในการทำอิบาดะฮ์ตามที่ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวไว้นะครับ แต่นั่นไม่ได้ครอบคลุมเรื่องรูปแบบในการทำอิบาดะฮ์ที่อยู่ในความหมายกว้างๆ เช่นการซิกรุลลอฮ์มากๆ การซ่อลาวาตมากๆ การบริจาคทานมากๆ การเลี้ยงอาหารพี่น้องมุสลิมากๆ การอ่านประวัติของท่านนบี การกล่าวถึงคุณงามความดีและจรรยาอันยิ่งใหญ่ของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งประเด็นเหล่านี้ คืออิบาดะฮ์ที่อยู่ในความหมายกว้างๆ ที่บรรดามุสลิมเลือกกระทำได้ โดยมีรูปแบบที่ไม่ขัดกับหลักการของศาสนา และประตูอิจฮาดย่อมไม่ถูกปิดจนถึงวันกิยามะฮ์

กออิดะฮ์หนึ่งที่ผู้คัดค้านเมาลิดชอบนำมาใช้และอธิบายเข้าฝ่ายตน คือ

الأصل في العبادة التوقف أو التحريم

"แรกฐานเดิมในเรื่องอิบาดะฮ์นั้น คือการหยุด หรือห้าม (ปฏิบัติจนกระทั้งมีหลักฐานที่มาบัญญัติ)"
ซึ่งความเข้าใจที่ถูกต้องจากหลักการนี้ คือ

أنه لا يجوز التقرب إلى الله تعالى بعمل ليس له مستند شرعي .

"ไม่อนุญาติให้ทำการสร้างความใกล้ชิด ต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ด้วยการปฏิบัติ ที่ไม่มีหลักฐานที่มาของหลักศาสนา"

แต่การกระทำขึ้นมาใหม่ที่ดีนั้น มีหลักฐานที่มาของหลักศาสนา หากเราทำการตรวจสอบที่มาในหลักวิชาการฟิกห์นั้น คือ

หลักฐานที่มา ตามหลักของศาสนา มี อยู่ 2 ประเภท

1. مستند إجمالى หลักฐานที่มาแบบสรุป คือ

هو: الأحكام الشرعية الأصليَّة المكتَسَبة من أدِلتها الإجمالية

คือ บรรดาหุกุ่มต่างๆของศาสนา ที่เป็นรากฐานที่ถูกนำมาจาก บรรดาหลักฐาน(ของหุกุ่มต่างๆ)แบบสรุป

เช่นอนุญาตให้ทำการส่งเสริม ให้มีวโรกาศต่างๆ ในการกระทำคุณงามความดี ที่ได้รับมาจาก การส่งเสริมการกระทำคุณงามความดี ของท่านร่อซูล(ซ.ล.) ในคืน ลัยละตุลเกาะดัร เนื่องจากเป็นคืนที่อัลกุรอานได้ประทานลงมา การเฉลิมฉลองส่งเสริมให้กระทำคุณงามความดี เนื่องในวโรกาศวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) ด้วยการถือศีลอดในวันจันทร์ การเฉลิมฉลองส่งเสริมให้มีการกระทำคุณงามความดี เนื่องในวโรกาศวันที่ท่านบีมูซา อะลัยฮิสลาม ได้รอดพ้นจากเงื้อมมือของฟิรอูน ด้วยการถือศีลอดในวัน อาชูรออ์ พร้อมกับการที่ท่านนบี(ซ.ล.) ก็ไม่ได้ห้ามให้เราในการเฉลิมฉลองส่งเสริมในการกระทำความดี ด้วยวโรกาศอื่นๆ นอกเสียจากมันเป็นการส่งเสริมในสิ่งที่เป็นภัยพิบัติที่ขัดกับหลักศาสนา และนบี(ซ.ล.)ก็ไม่ได้กล่าวว่า วายิบ ต้องทำการส่งเสริมในการกระทำความดี ด้วยการเฉลิมฉลองวโรกาศดังกล่าว ด้วย

2. مستند تفصيلي หลักฐานที่มาแบบรายละเอียด

هو: الأحكام الشرعية الفرعيَّة المكتسبة من أدلتها التفصيلية

คือ บรรดาหุกุ่มของศาสนาในข้อปลีกย่อยที่ได้รับมาจาก บรรดาหลักฐานที่อยู่ในเชิงรายละเอียดเช่น หุกุ่มของบรรดาอิบาดะฮ์ต่างๆ ที่ศาสนาได้ระบุไว้เป็นการเฉพาะมันแล้ว เช่นการละหมาดห้าเวลา การถือศีลอด ทำฮัจญี ซะกาต การเชือดสัตว์ และอื่นๆ

ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่หลังจากสมัยท่านนบี(ซ.ล.)ที่ดีนั้น จึงไม่คัดค้านขัด (อัลกออิดะฮ์) ที่ผู้คัดค้านเข้าใจเลย แต่ยิ่งไปกว่านั้น มันกลับเข้าไปอยู่ภายใต้หลักการ(อัลกออิดะฮ์) ดังกล่าว ด้วยสาเหตุ 2 ประการ

1. ท่านนบี(ซ.ล.)ส่งเสริมให้ ริเริ่มการกระทำขึ้นมา ก็แนวทางที่ดี ที่สอดคล้องและไม่ขัดกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ริ่เริ่มทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน ผลตอบแทนของมัน ก็มีให้แก่เขา และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยกับมัน จากหลังเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ได้กับเขา) โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลย จากผลการตอบของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ริเริ่ม(อุตริ)ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน จากหลักเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017)

และท่านนบี(ซ.ล.) ก็สั่งห้ามให้ริเริ่มกระทำขึ้นมาใหม่กับสิ่งที่เลว ดังที่ท่านนบี(ซ.ล.)กล่าวว่า

كل بدعة ضلالة "ทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"

หมายถึง ทุกบิดอะฮ์ ที่ขัดกับหลักศาสนานั้น ย่อม ลุ่มหลง และประเด็นของหะดิษเหล่านี้ เราก็ได้อธิบายรายละเอียดไปแล้ว อัลฮัมดุลิลลาห์

2. บิดอะฮ์ที่วางอยู่บนหลักการของหุกุ่มศาสนา หากบิดอะฮ์นั้น อยู่ในหุกุ่มวายิบ ก็ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ที่วายิบ และบิดอะฮ์ที่อยู่ในมาตรฐานของหะรอม ก็เป็นบิดอะฮ์ที่หะรอม

ข้อควรระวัง

ผู้คัดค้านเรื่องเมาลิด โปรดอย่าสับสนระหว่าง การจำกัด คุณลักษณะของอิบาดะฮ์ تحديد الوصف และการจำกัดของขนาดของอิบาดะฮ์ تحديد المقدار ในเรื่องของอิบาดะฮ์ เพราะหลักการศาสนาได้จำกัด คุณลักษณะของอิบาดะฮ์ เช่น การละหมาด คือ เริ่มด้วยการตักบีร และ จบด้วยการให้สลาม ด้วยมีบรรดาลักษณะและรุกุ่นต่างๆ ของการละหมาด แต่หลักการของศาสนาก็ไม่ได้ จำกัด บรรดาอะมัลที่อยู่ในความหมายแบบกว้างๆ ที่อนุญาติให้กระทำได้ เช่น การอ่านอัลกุรอาน การกล่าวสรรญเสริญอัลเลาะฮ์ และการกล่าวซิกรุลเลาะฮ์ เป็นต้น และเฉกเช่นเดียวกัน คือ หลักศาสนา ได้จำกัดบรรดาละหมาดฟัรดู ด้วยบรรดาร่อกะอัตต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว และได้จำกัดเวลาของละหมาดห้าเวลาไว้พร้อมสรรพ และได้กำหนดการละหมาดสุนัตร่อวาติบหลังละหมาดห้าเวลาแล้ว แต่ว่า หลักศาสนา ไม่ได้จำกัด จำนวนหรือขนาดของอิบาดะฮ์ที่เป็นสุนัต ที่สมัครใจกระทำ และไม่ได้กำหนดเวลาเอาไว้

ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ คำว่า อิบาดะฮ์นั้น ก็คือ "การภักดีและการยอมมอบตนต่ออัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) ในการกระทำสิ่งที่เป็นฟัรดู สุนัติ หรือสิ่งที่มุบาห์โดยพร้อมกับมีการเหนียตเจตนาเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) โดยอยู่ภายใต้พื้นฐานและหลักการของศาสนา"

ดังนั้น การอ่านประวัติและเรื่องราวของท่านนบี(ซ.ล.)เกี่ยวกับวันประสูตรและเหตุการณ์อื่นๆของท่านนั้น มันคือการตออัต(ภักดี) ที่ผนวกไว้ซึ่งการตอกย้ำให้บรรดามุสลิมีนทราบเกียรติของท่านนบี(ซ.ล.) โดยปลูกฝังความรักและการให้เกียตริต่อท่านนบี(ซ.ล.)ให้อยู่ในบรรดาหัวใจของมุสลิมีน ไม่ว่าจะด้วยสื่อในรูปแบบใดก็ตามที่เหมาะสมในแต่ละยุคสมัย ดังนั้น หลักการอิสลามไม่ได้ห้ามรูปแบบหรือวิธีการในรูปแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ แต่ละท้องที่ โดยที่รูปแบบดังกล่าวนั้น ต้องไม่ไปค้านหรือขัดกับหุกุ่มของศาสนาหรือตัวบทที่ถูกระบุเอาไว้แล้ว ตามหลักอุซูลุลฟิกห์ที่บรรดานักปราชญ์แห่งโลกอิสลามวางไว้นั้น คือ الوسائل لها حكم المقاصد "บรรดาสื่อ(ในการกระทำ)นั้น สำหรับมันแล้ว คือหุกุ่มของบรรดาเจตนา(ในกระทำ)" ดังนั้น เมื่อการกระทำมีเป้าหมายหรือมีเจตนาที่อยู่ในหลักการของศาสนา ก็ย่อมไม่มีช่วงโหว่ใดๆ ที่จะไปสู่การทำบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลงเหมือนกับที่ผู้คัดค้านชอบโพทนา

ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ เมื่อเราได้ดำเนินอยู่แนวทางดังกล่าวนี้ เราพบว่า الأصل في العبادة التوقف أو التحريم นั้น เช่นการละหมาดซุบหฺ 4 ร่อกะอัต การละหมาดอัสริ 6 ร่อกะอัต การถือศีลอดฟัรดูในเดือนอื่นจากร่อมะฏอน การทำฮัจญฺอื่นจากเดือนทำฮัจญี ที่มาจากเรื่องอิบาดะฮ์หลักๆของศาสนา แต่อิบาดะฮ์ที่อยู่ในประเด็นข้อปลีกย่อยที่มีรากฐานจากหลักการของศาสนานั้น การวินิจฉัย (อิจญฺฮาด) ย่อมเข้ามามีบทบาทอย่างไม่ต้องสงสัย ตัวอย่างเช่น

ท่านอัซซะฮะบีย์ กล่าวไว้ใน หนังสือ ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ว่า

قال عبد الله بن الإمام أحمد بن حنبل : كان أبى يصلى كل يوم ثلاثمائة ركعة ، فلما مرض من تلك الأسواط أضعفته فكان يصلى كل يوم وليلة مئة وخمسين ركعة

"ท่านอับดุลเลาะฮ์ บุตร ท่านอิมามอะหฺมัดบินหัมบัล กล่าวว่า บิดาของฉันเคยละหมาด 300 ร่อกะอัต ทุกวัน แต่เมื่อขณะที่ท่านป่วยจากการถูกโบยดังกล่าว ท่านจึงทำการละหมาดเพียง 150 ร่อกะอัต ในหนึ่งวันและหนึ่งคืน " ดู ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอ์ เล่ม 11 หน้า 212

ท่าน อบู นุอัยม์ ได้รายงานไว้ว่า

وكان لأبى هريرة رضى الله عنه خيط فيه ألف عقدة لا ينام حتى يسبح به

"ท่านอบูหุรอยเราะฮ์(ร.ฏ.) มีเชื่อกด้ายที่มีหนึ่งพันปุ่ม เขาจะไม่นอน จนกระทั้งทำการตัสบีห์ด้วยกับมัน" ดู หนังสือ อัลหุลยะฮ์ เล่ม 1 หน้า 383

ได้รับการยืนยันด้วยบรรดาสายรายงานที่ซอฮิหฺ ว่า " ท่านอิบนุมัสอูด(ร.ฏ.) ได้ทำการเจาะจงในช่วงเย็นของวันพฤหัสบดี เพื่อทำการกล่าวเล่าถึงท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) " รายงานโดย ท่านอิบนุ ชัยบะฮ์ ไว้ในหนังสือ อัลมุซ๊อนนัฟ เล่ม 8 หน้า 565 , ท่านอัลหากิม รายงานไว้ในหนังสือ อัลมุสตัดร๊อก เล่ม 1 หน้า 111 , ท่านอัลฏ๊อบรอนีย์ ได้รายงานไว้ในหนังสือ มั๊วะญัมอัลกะบีร เล่ม 9 หน้า 123 ,

และท่านอิบนุตัยมียะฮ์เอง ก็ไม่ได้ทำการปฏิเสธเรื่องการทำเมาลิดไปเสียทั้งหมด ซึ่งกรณีเมาลิดนี้ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์เป็นกลางโดยมีรายละเอียดและเงื่อนไข

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวว่า

وكدلك مايحدثه بعض الناس إما مضاهاة للنصارى فى ميلاد عيد عيسى عليه السلام وإما محبة
النبى صلى الله عليه وسلم وتعظيما له ، والله قد يثيبهم على هدا المحبة والإجتهاد

?เช่นเดียวกับสิ่งดังกล่าว คือสิ่งที่ส่วนหนึ่งจากบรรดามนุษย์ได้กระทำขึ้นมากกับมัน ซึ่งบางทีมันอาจคล้ายกับพวกนะซอรอ ในการฉลองวันเกิดนบีอีซา อะลัยฮิสลาม และบางทีมันเป็นการแสดงออกซึ่งความรักต่อท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และทำการให้เกียตริแก่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)จะให้ผลบุญตอบแทนกับพวกเขา ต่อความรักและการวินิจฉัยนี้? ดู หนังสืออิกติฏออฺ อัศศิรอฏ อัลมุสตะกีม หน้า 266 ตีพิมพห์ ดารุลหะดิษ

แต่ถ้าหากว่า เราได้นำเอา เมาลิดท่านนบี มาทำเป็นวันอีดนั้น ย่อมไม่ได้ตามทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ เนื่องจากว่า วันอีดในอิสลามมีเพียงแต่วันเท่านั้น คือวันอีด อัฏหา และอีดฟิตร์ ซึ่งท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวต่อไปว่า

لاعلى البدع من اتخاذ مولد رسول اللّه (ص ) عيدا , مع اختلاف الناس في مولده

"ไม่ใช่อยู่บนบิดอะฮ จาก การยึดเอาวันเกิดรซูลุลลอฮ มาเป็นวันอีด โดยที่บรรดาผู้คนมีข้อขัดแย้งกันในวันเกิดของท่านนบี"

ดังนั้น หากเราเอาวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) มาเป็นวัน อีด ย่อมเป็นบิดอะฮ์อย่างไม่ต้องสงสัย แต่หากว่าเราทำการจัดงานหรือทำเป็นเทศกาล อันนี้ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ไม่ได้ทำการปฏิเสธ เพราะท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวย้ำและยอมรับเกี่ยวกับเรื่องเมาลิดว่า

فتعظيم المولد وإتخاه موسما قد يفعله بعض الناس ويكون له فيه أجر عظيم لحسن قصده وتعظيم لرسول الله صلى الله عليه وسلم

?ดังนั้น การให้เกียตริการทำเมาลิดและทำมันเป็นเทศกาลนั้น บางส่วนของมนุษย์ได้กระทำมัน และให้กับบางส่วนเกี่ยวกับเมาลิดนั้น ย่อมมีผลตอบแทนทิ่ยิ่งใหญ่ เพราะมีเจตนาเป้าหมายที่ดีในการทำเมาลิดและเป็นการให้เกียตริแก่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม? ดู หนังสืออิกติฏออฺ อัศศิรอฏ อัลมุสตะกีม หน้า 267 , และมัจญะมั๊วะ ฟะตาวา ของอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 23 หน้า 134

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวเช่นกันว่า

وقد روى فى الملائكة السيارين الدين يتتبعون مجالس الدكر الحديث المعروف فلو أن قوما إجتمعوا بعض الليالى على صلاة تطوع من غير أن يتخدوا دلك عادة راتبة تشبه السنة الراتبة لم يكره ...وكدلك القول فى ليلة المولد وغيرها

?แท้จริงได้ถูกรายงาน กับหะดิษที่รู้กัน เกี่ยวกับบรรดามะลาอิกะฮ์ที่เดินทางตะเวนติดตามบรรดาสถานที่มีการซิกิร ดังนั้น หากว่าชนกลุ่มหนึ่งได้ทำการรรวมตัวกันในบางคืนเพื่อทำละหมาดสุนัต โดยที่ไม่ทำให้มันเป็นปกติประจำ ที่คล้ายกับละหมาดสุนัตประจำ ก็ถือว่าไม่มักโระฮ์...และเช่นเดียวกันนี้ กับทัศนะคำกล่าวเกี่ยวกับคำคืนของเมาลิดและอื่นๆจากมัน? ดู มัจญะมั๊วะ ฟะตาวา ของอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 23 หน้า 132 วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 05:14 AM »
0
MUSTAKEEM

ถามคุณ al-azhary ว่า
ในเมื่อจัดเมาลิดได้ ถ้าผมจะจัดงานวันเกิดให้ลูกชายของผมหรือคนในครอบครัวของผมได้ไม่ครับ
---
ขอบคุณครับ

aswar

ผมสนับสนุนการคุยกันด้วยดีในทุกๆปัญหานะครับ

เรื่องเมาลิดก็เช่นเดียวกัน ไม่มีใครสอนกันให้ทำบิดอะฮ์หรอกครับพี่น้อง พี่น้องเราอีกส่วนเค้าไม่ได้เห็นว่านั่นเป็นบิดอะฮ์เท่านั้นเอง ทำไมเขาถึงไม่เห็นว่ามันเป็นบิดอะฮ์?อันนี้ก็ค่อยๆคุยกันได้ครับ

ดูในอัลกุรอานสิครับ อัลลอฮ์ให้นบีมูซาทำอย่างไรกับฟิรอูน

فقولا له قولا لينا لعله يتذكر أو يخشى

แล้วอัลลอฮ์ให้ท่านรอซูลพูดอย่างไรกับพวกปฏิเสธ

قل هاتوا برهانكم إن كنتم صادقين

ขนาดเรื่องที่มันชัดเจนอยู่แล้วว่าหลง อัลลอฮ์ยังให้โอกาสพวกเขาได้นำเสนอหลักการของพวกเขาเลย แต่นี่เราเป็นพี่น้องกันนะครับ การเสวนาที่นำไปสู่ข้อเท็จจริงนั้นผู้ที่เห็นต่างกันควรเดินไปด้วยกันเรื่อยๆจนถึงจุดสุดท้าย อย่าเพิ่งเร่งด่วนสรุป บางทีการหวงแหนศาสนามันทำให้เราต้องแข็งกร้าว แต่ท่านต้องอย่าลืมว่าพี่น้องของท่านที่มีทรรศนะไม่เหมือนกับท่านเขาก็มีความหวงแหนศาสนาไม่น้อยไปกว่าท่าน การที่เขามีความเห็นไม่เหมือนกับท่านมันไม่ใช่ว่าเขาจะเป็นคนขายศาสนา แลกกับดุนยา หรือมีความเคร่งครัดในหลักการน้อยไปกว่าท่าน

ท่านเห็นบรรดาอุลามาอ์ไหมครับ? เขาพูดอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องเมาลิด ตั้งแต่มีเรื่องเมาลิด(ในลักษณะของการจัดงาน)ขึ้นมาในประชาชาติอิสลาม พวกท่านไม่ได้คัดค้านงานนี้ อีกทั้งยังบอกว่างานดังกล่าวอนุญาติ ท่านเดียวที่คัดค้านว่าเป็นบิดอะฮ์จริงๆจังๆก็คือ อัลลัคมีย์ อัลฟากิฮานีย์ ผมไม่ได้พูดในแง่ว่าฝ่ายไหนถูกฝ่ายไหนผิดหรอกนะครับ ผมพูดในแง่ว่าพี่น้องที่ต่อต้าน และต่อสู้กับเมาลิดมาโดยตลอดนั้นไม่เห็นโจมตีบรรดาอุลามาอ์เหล่านี้เหมือนกับที่โจมตีพี่น้องของท่านเลย ทั้งที่พวกเขาก็พูดเหมือนกัน

ทำไมท่านอิมาม อิบนุหะญัร อัลอัสกอลานีย์จึงไม่ถูกกล่าวหาว่า ?บิดเบือนหะดีษ? ในการที่ท่านอ้างถึงหะดีษการถือบวชวันอาชูรออ์แล้วอิสตินบาฏว่าเมาลิดนั้นเป็นที่อนุญาติ? แต่พอมีพี่น้องยกหะดีษถือบวชวันจันทร์มา(ซึ่งดิลาละฮ์หะดีษนี้ชัดกว่ามาก)ทำไมจึงถูกกล่าวหาว่าบิดเบือนหะดีษดังกล่าวมาสนับสนุนเมาลิด?

ทำไมท่านอิมาม อัซซุยูฏีย์จึงไม่ถูกกล่าวหาว่า ?ปกป้องบิดอะฮ์? หรือ ?แท็กทีม?กับอิมามอิบนุ เดียห์ยะฮ์ หรืออิบนุลหาจ หรือ อิบนุหะญัรอัลฮัยตามีย์ หรืออิบนุหะญัร อัลอัสกอลานีย์ ฯลฯ มา ?ปกป้องบิดอะฮ์? ในการที่ท่านอิมามอัซซุยูฏีย์เขียนหนังสือ حسن المقصد في عمل المولد โดยมีการตอบโต้อัลฟากิฮานีย์ที่บอกว่างานดังกล่าวเป็นบิดอะฮ์ ทำไมไม่มีใครโจมตีท่านว่าปกป้องบิดอะฮ์ ในขณะที่พี่น้องเราโดนโจมตีด้วยถ้อยคำดังกล่าว? ทำไมไม่มีใครบอกว่าท่านเหล่านี้นำเอา ?สิ่งสกปรก? เข้ามาใน ?บ้าน?แห่งอิสลาม เหมือนกับที่เอาสิ่งสกปรกมาใส่ในเวปแห่งนี้? หรือว่าเรามี 2 มาตรฐาน? หรือท่านมีหลักฐานมาพิสูจน์ถึงความแตกต่างของอิคลาสของพี่น้องในที่นี้กับอุลามาอ์สมัยก่อน?


?เมาลิดเป็นบิดอะฮ์เพราะนบีไม่เคยทำสลัฟไม่เคยทำ? หากตรรกะเพียงเท่านี้เพียงพอทำไมผู้ที่ได้ชื่อว่า อะมีรุลมุอ์มีนีนในวิชาหะดีษจึงคิดไม่ได้ หรือคอติมะตุลหุฟฟาซคิดไม่ออก เป็นไปได้ไหมครับที่เราจะมาศึกษาวิธีคิดของพวกท่านด้วยกัน ในบรรยากาศของความเป็นพี่น้อง???

วัสสลาม


al-azhary

อ้างอิงจากคุณ MUSTAKEEM

ในเมื่อจัดเมาลิดได้ ถ้าผมจะจัดงานวันเกิดให้ลูกชายของผมหรือคนในครอบครัวของผมได้ไม่ครับ
ขอบคุณครับ

ตอบ

ท่านการเฉลิมฉลองเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) นั้น องค์ประกอบมีรากฐานจากศาสนาทั้งสิ้น ไม่ค้านกับหลักการของศาสนา (ซึ่งหากมีสิ่งที่ขัดกับหลักการของศาสนาก็ต้องช่วยกันตักเตือนและตัดสิ่งนั้นไป ไม่ใช่ไปตัดพื้ฐานของการเฉลิมฉลองเมาลิด) ต้องไม่ไปทำลายซุนนะฮ์เดิม ต้องมีบรรดานักปราชญ์ผู้เป็นเหมือนทายาทในเชิงวิชการของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ให้การรับรองว่าดีตามหลักการของศาสนา ดังนั้น หากคำถามของคุณมีลักษณะอย่างที่ผมกล่าวมา ก็ทำไปซิครับ


al-azhary

"การที่ท่านอิมามอัซซุยูฏีย์เขียนหนังสือ حسن المقصد في عمل المولد โดยมีการตอบโต้อัลฟากิฮานีย์"

หนังสือเล่มนี้ ได้ถูกตีพิมพ์เป็นเล่มที่เป็นเอกเทศน์ และหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวรวมไว้ในหนังสือ الحاوى للفتاوى ของท่านอิมามอัศศะยูฏีย์ด้วย และหนังสือดังกล่าวที่คุร aswar เอ่ยถึงนั้น พี่น้องบางท่านอาจจะไม่เคยอ่าน แต่เราจะทำการแปลออกมาเป็นภาษาไทยเพื่อให้พี่น้องได้ศึกษากันครับ อินชาอัลเลาะฮ์ โดยใช้ชื่อว่า


حسن المقصد في عمل المولد


"เป้าหมายที่ดี ในการทำเมาลิดนบี"

al-azhary

คุณ aswar กล่าวว่า

แต่ท่านต้องอย่าลืมว่าพี่น้องของท่านที่มีทรรศนะไม่เหมือนกับท่านเขาก็มีความหวงแหนศาสนาไม่น้อยไปกว่าท่าน การที่เขามีความเห็นไม่เหมือนกับท่านมันไม่ใช่ว่าเขาจะเป็นคนขายศาสนา แลกกับดุนยา หรือมีความเคร่งครัดในหลักการน้อยไปกว่าท่าน

อ่านแล้วกินใจมากกว่า นี่แหละครับ ที่คำตักเตือนของคุณมีอิทธิพลสำหรับผม เพราะคำตักเตือนที่บริสุทธิ์ใจนั้นหายากครับ ขออัลเลาะฮ์ทรงตอบท่านนะครับ ยาร๊อบ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 05:21 AM »
0
asan

ข้อความโดย: aswar

เมาลิดเป็นบิดอะฮ์เพราะนบีไม่เคยทำสลัฟไม่เคยทำ? หากตรรกะเพียงเท่านี้เพียงพอทำไมผู้ที่ได้ชื่อว่า อะมีรุลมุอ์มีนีนในวิชาหะดีษจึงคิดไม่ได้ หรือคอติมะตุลหุฟฟาซคิดไม่ออก เป็นไปได้ไหมครับที่เราจะมาศึกษาวิธีคิดของพวกท่านด้วยกัน ในบรรยากาศของความเป็นพี่น้อง???
..........................

ข้อความข้างต้นนี้หรือครับคุณ aswar ที่เป็นหลักฐานการทำเมาลิดนบี ซุบฮานั้ลลอฮ อัลลอฮสอนให้คุณตามท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม หรือสอนให้คุณเชื่อตาม อัสสะญูฏีย์,อิบนุหะญัร กันแน่ นี่ไม่ได้หมายความว่า ผมดูถูกอุลามาอฺ ไม่ยกย่องอุลามาอฺ แต่อุลามาอฺ เขามีหน้าที่ถ่ายทอดความให้แก่เรา แต่ไม่ได้หมายความว่า เขาไม่ผิดพลาด เขามีผิด มีถูก

وقال تميم الداري : اتقوا زلة العالم , فسأله عمر : ما زلة العالم ؟ قال : يزل بالناس فيؤخذ به , فعسى أن يتوب العالم والناس يأخذون بقوله

และตะมีมอัดดารีย์ กล่าวว่า " พึงระวังความผิดพลาดของผู้รู้(อุลามาอฺ) และอุมัร ถามเขาว่า "อะไรคือความผิดพลาด ของผู้รู้ หรือ? เขากล่าวว่า " ผู้คนยังคงยึดเอาคำพูดของเขา บางที ผู้รู้เขาเตาบะฮ โดยที่ผู้คนยังคงยึดคำพูดเขาอยู่
- อะลามุ้ลมุวักกิอีน เล่ม 1 หน้า 133

ชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮ กล่าวว่า

فعلى كل مؤمن أن لا يتكلم فى شىء من الدين الا تبعا لما جاء به الرسول ولا يتقدم بين يديه بل ينظر ما قال فيكون قوله تبعا لقوله وعمله تبعا لأمره

จำเป็นแก่ผู้ศรัทธาทุกคน คือ เขาจะไม่พูดเกี่ยวกับสิ่งใด เกี่ยวกับศาสนา นอกจาก ปฏิบัติตาม สิ่งที่ท่านรอซูลนำมา และอย่าล้ำหน้ารอซูล แต่ทว่า ให้เขาพิจารณา สิ่งที่ท่านรอซูลพูด แล้วให้คำพูดของเขา เป็นไปตามคำพูดของท่านรอซูล และการกระทำของเขา ให้เป็นไปตามคำสั่งของท่านรอซูล - ดู มัจญมัวะอัลฟะตาวา เล่ม 3 หน้า 63

และเกี่ยวกับเมาลิด อิบนุตัยมียะฮได้กล่าวว่า

وكذلك ما يحدثه بعض الناس إما مضاهاة للنصارى في ميلاد عيسى -عليه السلام-، وإما محبة للنبي - صلى الله عليه وسلم- وتعظيماً، والله قد يثيبهم على هذه المحبة والاجتهاد لا على البدع من اتخاذ مولد النبي - صلى الله عليه وسلم- عيداً مع اختلاف الناس في مولده، فإن هذا لم يفعله السلف مع قيام المقتضى له وعدم المانع، ولو كان هذا خيراً محضاً أو راجحاً لكان السلف -رضي الله عنهم- أحق به منا، فإنهم كانوا أشد محبة لرسول الله - صلى الله عليه وسلم- وتعظيماً له منا، وهم على الخير أحرص، وإنما كمال محبته وتعظيمه في متابعته وطاعته واتباع أمره وإحياء سنته باطناً وظاهراً، ونشر ما بعث به، والجهاد على ذلك بالقلب واليد واللسان، فإن هذه هي طريقة السابقين الأولين من المهاجرين والأنصار والذين اتبعوهم بإحسان
اقتضاء الصراط المستقيم (2/619)

เช่นเดียวกับสิ่งดังกล่าว คือสิ่งที่ส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้คนได้อุตริมันขึ้นมาใหม่ ซึ่งบางทีมันอาจคล้ายกับพวกนะซอรอ ในการฉลองวันเกิดนบีอีซา (เยซู)อะลัยฮิสลาม และบางทีมันเป็นการแสดงออกซึ่งความรักต่อท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และทำการให้เกียรติแก่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)จะให้ผลบุญตอบแทนกับพวกเขา ต่อความรักและความอุตสาหะนี้ แต่ไม่ใช่บนการทำบิดอะฮ จากการถือเอาวันเกิดนบี เป็นเทศกาลเฉลิมฉลอง โดยที่บรรดามนุษย์ ก็มีความเห็นแต่งต่างกันเกี่ยวกับวันเกิดของท่านนบี แท้จริงแบบนี้ ไม่มีสะลัพคนใดกระทำมัน ทั้งที่มีจุดมุ่งหมายที่จะกระทำ และไม่ได้มีอุปสรรคใดมาขัดขวาง และถ้าสิ่งนี้ ดีจริง หรือมีน้ำหนัก แน่นอน ชาวสะลัฟ(ขออัลลอฮโปรดประทานความโปรดปราณแก่พวกเขา) สมควรที่จะทำมากกว่าพวกเรา ความจริงพวกเขา รักและให้เกียรติ แก่ท่านรซูลุ้ลลอฮ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ยิ่งกว่าพวกเรา ทั้งที่พวกเขามีความปรารถนาในความดีงามเป็นอย่างยิ่ง และแท้จริง ความรักและการให้เกียรติแก่ท่านรอซูลที่สมบูรณ์แบบ นั้น อยู่ในการปฏิบัติตามและเชื่อฟัง ท่านรอซูล ,ปฏิบัติตามคำสั่งของท่าน และฟื้นฟูสุนนะฮของท่านทั้งในที่ลับและเปิดเผย และเผยแพร่ สิ่งที่ท่านรอซูลได้รับการแต่งตั้งด้วยมัน
, ต่อสู้ดิ้นรน บนสิ่งดังกล่าว ด้วยใจ ด้วยการกระทำและด้วยวาจา แท้จริง นี้คือแนวทางของชนรุ่นก่อน จากบรรดาชาวมุฮาญิรีน และชาวอันศอร และบรรดาผู้เจริญตามพวกเขาด้วยความดีงาม
- อิกติเฎาะอฺ-ศิรอตุ้ลมุสตะกีม เล่ม 2 หน้า 619
.....................
ข้างต้นคือคำพูดของอิหม่ามอิบนุตัยมียะอฮ และข้างล่างที่นายอัลอัซฮารีย์ เอามาแอบอ้างว่าอิบนุตัยมียะฮส่งเสริมเมา

وكدلك مايحدثه بعض الناس إما مضاهاة للنصارى فى ميلاد عيد عيسى عليه السلام وإما محبة
النبى صلى الله عليه وسلم وتعظيما له ، والله قد يثيبهم على هدا المحبة والإجتهاد

?เช่นเดียวกับสิ่งดังกล่าว คือสิ่งที่ส่วนหนึ่งจากบรรดามนุษย์ได้กระทำขึ้นมากกับมัน ซึ่งบางทีมันอาจคล้ายกับพวกนะซอรอ ในการฉลองวันเกิดนบีอีซา อะลัยฮิสลาม และบางทีมันเป็นการแสดงออกซึ่งความรักต่อท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และทำการให้เกียตริแก่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และอัลเลาะฮ์(ซ.บ.)จะให้ผลบุญตอบแทนกับพวกเขา ต่อความรักและการวินิจฉัยนี้? ดู หนังสืออิกติฏออฺ อัศศิรอฏ อัลมุสตะกีม หน้า 266 ตีพิมพห์ ดารุลหะดิษ

.............................
พิจารณากันเองครับ


al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

ข้อความข้างต้นนี้หรือครับคุณ aswar ที่เป็นหลักฐานการทำเมาลิดนบี ซุบฮานั้ลลอฮ อัลลอฮสอนให้คุณตามท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม หรือสอนให้คุณเชื่อตาม อัสสะญูฏีย์,อิบนุหะญัร กันแน่

ตอบ

บังอะสันจะพูดแอบอ้างเหมือนกับว่า การไม่ทำเมาลิดคือแบบฉบับของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์นั้นไม่ได้นะครับ บังอะสันพูดเหมือนกับว่า ท่านนบีห้ามทำเมาลิดรำลึกถึงนบี(ซ.ล.) แล้วอ้างว่าตนเองนี่แหละที่ตามท่านนบี(ซ.ล.) ส่วนผู้ที่ทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ไม่ได้ตามแบบฉบับท่านนบี(ซ.ล.) โดยอ้างว่า ไปตามท่านอิบนุหะญัร ท่านอัสศะยูฏีย์ นั้นย่อมไม่ได้

เพราะฉะนั้น หากว่าท่านนบี(ซ.ล.)ได้ระบุห้ามอย่างชัดเจนในการฉลองการทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) และท่านอิบนุหะญัรและท่านอัศสะยูฏีย์ เป็นต้น กลับมาบอกว่า อนุญาตให้ทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) อันนี้เราตามท่านนบี(ซ.ล.) แต่แน่ๆ

แต่ไม่มีนักปราชญ์หะดิษระดับอะมีรุลมุอฺมีนีนท่านใด เข้าใจอย่างบังอะสันและผู้ที่อยู่ตามแนวทางของบังอะสัน การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กระทำนั้น ไม่ใช่จะชี้ถึงการต้องห้ามเสมอไป นอกจากมีหลักฐานห้ามมากำกับ การที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่ได้กระทำนั้น ไม่ใช่อยู่ในคำว่า "ซุนนะฮ์" ตามความเข้าใจของบรรดานักหะดิษของโลกอิสลาม และการอ้างว่าสะลัฟไม่ได้กระทำรูปแบบดังกล่าวนี้ ก็ไม่ได้ชี้ว่าเป็นสิ่งที่หะรอม เพราะไม่มีสะละฟุศศอลิหฺท่านบอกว่า สิ่งที่ฉันไม่ได้ทำนั้นหะรอม บังอะสันสมควรจะตระหนักตรงนี้ด้วย

เพราะฉะนั้น สิ่งที่ไม่หะรอม แต่กลับมาบัญญัติให้หะรอมนั้น ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ชนิดหนึ่ง


asan

والأعياد والمواسم الدينية التي يُقصد بها التقرب إلى الله ? تعالى- بتعظيمه وتعظيم نبيه - صلى الله عليه وسلم- هي من العبادات، فلا يُشرع منها إلا ما شرعه الله ? تعالى- ورسوله، ولا يتعبد أحد بشيء منها إلا ما جاء عن الله ورسوله، وفيما شرعه الله - تعالى- من تعظيم رسوله - صلى الله عليه وسلم-، ووسائل محبته ما يُغني عن كل وسيلة تُبتدع وتُحدث

และการเฉลิมฉลองและเทศกาลต่างๆที่เกี่ยวกับศาสนา ที่มีเป้าหมายเพื่อให้ใกล้ชิดกับอัลลอฮ ด้วยมัน ด้วยการให้ความสำคัญกับพระองค์และนบีของพระองค์ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มันคือ ส่วนหนึ่งของอิบาดะฮ ดังนั้น ส่วนหนึ่งจากอิบาดะฮนั้น จะไม่ถูกบัญญัติ นอกจากสิ่งที่อัลลอฮ ตะอาลา และรอซูล ของพระองค์ ได้บัญญัติมันไว้เท่านั้น และบุคคลไดจะไม่ทำเคารพภักดี ด้วยสิ่งใดจากมัน นอกสิ่งที่มาจากอัลลอฮและรอซูลของพระองค์เท่านั้น และในสิ่งที่อัลลอฮตะอาลา ทรงบัญญัติมันไว้ คือ การให้ความสำคัญ(ให้เกียรติ)กับรอซูลของพระองค์ ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม และสื่อแห่งความรักรอซูลนั้น คือ สิ่งที่ไม่ต้องอาศัยทุกสื่อที่ถูกอุตริและถูกประดิษฐขึ้นมาใหม่

- مجموع فتاوى ورسائل فضيلة الشيخ محمد صالح العثيمين (6/198-201
-------------------------------------------------

al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

ข้างต้นคือคำพูดของอิหม่ามอิบนุตัยมียะอฮ และข้างล่างที่นายอัลอัซฮารีย์ เอามาแอบอ้างว่าอิบนุตัยมียะฮส่งเสริมเมาลิด

ตอบ

บังอะสันครับ ในกรณีของท่านอิบนุตัยมียะฮ์นั้น ผมไม่ได้กล่าวว่า "ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ส่งเสริมเมาลิด" แต่ผมพูดไว้อย่างรัดกุมและเป็นธรรมแล้วว่า "และท่านอิบนุตัยมียะฮ์เอง ก็ไม่ได้ทำการปฏิเสธเรื่องการทำเมาลิดไปเสียทั้งหมด ซึ่งกรณีเมาลิดนี้ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์เป็นกลางโดยมีรายละเอียดและเงื่อนไข" ดังนั้น บังอะสันสมควรเป็นธรรมในการสัดทอดคำพูดมายังผม และการที่บังอะสันจะวิจารณ์ทัศนะของท่านอิบนุตัยมียะฮ์นั้น ต้องอ้างอิงคำพูดของท่านมาทั้งหมด แต่ไม่ไปเอามาเล่มเดียว แล้วมาตัดสิน อย่างนี้ถือว่าไม่เป็นธรรม เนื่องจากท่านอิบนุตัยมียะฮ์ได้กล่าวไว้ในหนังสือเล่มอื่นด้วยเช่นกัน

และท่านอิบนุตัยมียะฮ์เอง ก็ไม่ได้ทำการปฏิเสธเรื่องการทำเมาลิดไปเสียทั้งหมด ซึ่งกรณีเมาลิดนี้ ท่านอิบนุตัยมียะฮ์เป็นกลางโดยมีรายละเอียดและเงื่อนไข

ดังนั้น หากเราเอาวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) มาเป็นวัน อีด ย่อมเป็นบิดอะฮ์อย่างไม่ต้องสงสัย แต่หากว่าเราทำการจัดงานหรือทำเป็นเทศกาล อันนี้ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ไม่ได้ทำการปฏิเสธ เพราะท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวย้ำและยอมรับเกี่ยวกับเรื่องเมาลิดว่า

فتعظيم المولد وإتخاه موسما قد يفعله بعض الناس ويكون له فيه أجر عظيم لحسن قصده وتعظيم لرسول الله صلى الله عليه وسلم

?ดังนั้น การให้เกียตริการทำเมาลิดและทำมันเป็นเทศกาลนั้น บางส่วนของมนุษย์ได้กระทำมัน และให้กับบางส่วนเกี่ยวกับเมาลิดนั้น ย่อมมีผลตอบแทนทิ่ยิ่งใหญ่ เพราะมีเจตนาเป้าหมายที่ดีในการทำเมาลิดและเป็นการให้เกียตริแก่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม? ดู หนังสืออิกติฏออฺ อัศศิรอฏ อัลมุสตะกีม หน้า 267 , และมัจญะมั๊วะ ฟะตาวา ของอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 23 หน้า 134

ท่านอิบนุตัยมียะฮ์กล่าวเช่นกันว่า

وقد روى فى الملائكة السيارين الدين يتتبعون مجالس الدكر الحديث المعروف فلو أن قوما إجتمعوا بعض الليالى على صلاة تطوع من غير أن يتخدوا دلك عادة راتبة تشبه السنة الراتبة لم يكره ...وكدلك القول فى ليلة المولد وغيرها

?แท้จริงได้ถูกรายงาน กับหะดิษที่รู้กัน เกี่ยวกับบรรดามะลาอิกะฮ์ที่เดินทางตะเวนติดตามบรรดาสถานที่มีการซิกิร ดังนั้น หากว่าชนกลุ่มหนึ่งได้ทำการรรวมตัวกันในบางคืนเพื่อทำละหมาดสุนัต โดยที่ไม่ทำให้มันเป็นปกติประจำ ที่คล้ายกับละหมาดสุนัตประจำ ก็ถือว่าไม่มักโระฮ์...และเช่นเดียวกันนี้ กับทัศนะคำกล่าวเกี่ยวกับคำคืนของเมาลิดและอื่นๆจากมัน? ดู มัจญะมั๊วะ ฟะตาวา ของอิบนุตัยมียะฮ์ เล่ม 23 หน้า 132 วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 05:31 AM »
0
asan

ข้อความโดย: al-azhary

ความจริง "การรวมตัว"(จัดงาน) กันเพื่อทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี (ซ.ล.)ที่ทรงเกียตรินั้น มันไม่ใช่อื่นใดเลย นอกจากแต่ว่ามันเป็นเรื่อง มุบาหฺ مباح อาดัตธรรมดาทั่วไป العادة เท่านั้นเอง และมันก็ไม่ใช่เรื่องของอิบาดะฮ์ العبادات แต่อย่างใด ดังนั้น ผู้ไม่หวังดีเกี่ยวกับ "การรวมตัว" ทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ก็อย่าไปแอบอ้างว่า มันเป็นอิบาดะฮ์ العبادة และไปสร้างความเข้าใจผิดกับผู้อื่นว่า มันเป็นอิบาดะฮ์ที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยทำ และทำการหุกุ่มพี่น้องมุสลิมมีนว่าทำบิดอะฮ์ลุ่มหลง เราหวังว่าท่านผู้อ่านคงแบ่งแยกได้ระหว่าง อาดะฮ์ العادة และ อิบาดะฮ์ العبادة นะครับ

.................
ตอบ

เอ้า..หลุดมารูนี้อีก.... อ้างว่าเป็นอาดะฮได้อย่างไร ในมีประกอบเป็นรูปแบบพิธีกรรมทางศาสนา ชัดเจน ถ้าอาดะฮ มันจะต้องไม่เกี่ยวของกับเรื่องศาสนาซิครับ แต่เมาลิดคือ รูปแบบการประกอบกืจกรรมศาสนาที่ไม่มีในสุนนะฮ

al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

เอ้า..หลุดมารูนี้อีก.... อ้างว่าเป็นอาดะฮได้อย่างไร ในมีประกอบเป็นรูปแบบพิธีกรรมทางศาสนา ชัดเจน ถ้าอาดะฮ มันจะต้องไม่เกี่ยวของกับเรื่องศาสนาซิครับ แต่เมาลิดคือ รูปแบบการประกอบกืจกรรมศาสนาที่ไม่มีในสุนนะฮ

ตอบ

ดังนั้น อาดะฮ์ العادة ที่มุบาห์ المباح นี้ผู้กระทำจะได้รับผลบุญต่อเมื่อผู้กระทำมีเจตนาดีและมีองค์ประกอบที่ดีในการกระทำ เช่นมีการอ่านอัลกุรอาน มีการซาลาวาตท่านนบี (ซ.ล.) มีการซิกรุลเลาะฮ์ มีการฟัชีวประวัติของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.)

เท่าไหร่แล้วที่เรื่องอาดะฮ์กลายเป็นอิบาดะฮ์เพราะมีเจตนาที่ดี และเท่าไหร่แล้วที่เรื่องอิบาดะฮ์กลับกลายเป็นเรื่องที่ไม่ใช่อิบาดะฮ์เพราะมีเจตนาที่ไม่ดี

ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวไว้ว่า

إنما الأعمال بالنيات

"แท้จริง มวลการกระทำทั้งหลาย ด้วยกับการเจตนา" รายงานโดย ท่านบุคอรีย์

อิมามอัสสะยูฏีย์ กล่าวอธิบายไว้ว่า

"...คือการแสดงถึงการรู้คุณชุโกรและมีความปีติยินดีกับผู้ที่เกิดมา โดยที่ศาสนาไม่ได้ใช้ให้ทำการเชือดอะกีเกาะฮ์ในขณะที่มีการตายและอื่นๆ ยิ่งไปกว่านั้น ศาสนากลับห้ามเรื่องคร่ำครวญและแสดงถึงความโศกเศร้า ดังนั้น หลักการต่างๆ ของชาริอะฮ์นั้นก็คือ การปฏิบัติในในเดือนนี้(เดือนร่อบิอุลเอาวัล)โดยการแสดงออกซึ่งความปีติยินดีด้วย(การรำลึกถึง )การเกิดมาของท่าน โดยที่ไม่ใช่แสดงออกถึงความโศกเศร้าด้วยการเสียชีวิตของท่านนบี(ซ.ล.) ด้วยการเสียชีวิตในวันเสียชีวิตของท่าน..."ดู หนังสือ อัลหาวีย์ ลิลฟาตาวา ของอิมามอัสสะยูฏีย์ เล่ม 1 หน้า 226

asan

เท่าไหร่แล้วที่เรื่องอาดะฮ์กลายเป็นอิบาดะฮ์เพราะมีเจตนาที่ดี และเท่าไหร่แล้วที่เรื่องอิบาดะฮ์กลับกลายเป็นเรื่องที่ไม่ใช่อิบาดะฮ์เพราะมีเจตนาที่ไม่ดี

ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวไว้ว่า

إنما الأعمال بالنيات

"แท้จริง มวลการกระทำทั้งหลาย ด้วยกับการเจตนา" รายงานโดย ท่านบุคอรีย์

................
เนียตดี แต่ทำบิดอะฮนั้น ไม่ได้ผลครับผม

แท้จริงได้ปรากฏหะดิษจาก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า

من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد " رواه مسلم

บุคคลใด ประกอบการงานใด ที่ไม่มีกิจการ(ศาสนา) ของเราอยู่บนมัน มันถูกปฏิเสธ" ? รายงานโดย มุสลิม - อัลอักฎียะฮ 3
อิบนุเราะญับกล่าวว่า
هذا الحديث أصل عظيم من أصول الإسلام وهو كالميزان للأعمال في ظاهرها ، كما أن حديث " إنما الأعمال بالنيات " ميزان للأعمال في باطنها ، فكما أن كل عمل لا يُراد به وجه الله تعالى ، فليس لعامله فيه ثواب ، فكذلك كل عمل لا يكون عليه أمر الله ورسوله فهو مردود على عامله ، وكل من أحدث في الدين ما لم يأذن به الله ورسوله ، فليس من الدين في شيء . جامع العلوم والحكم ج 1 ص 176

? หะดิษนี้ (หะดิษ มันอะมิละ......) เป็นรากฐานอันสำคัญ จากบรรดารากฐานแห่งอิสลาม และมันคือ ตราชู สำหรับ(ชั่ง)บรรดาการงาน ที่ปรากฏออกมาภายนอก

และ ดังที่ หะดิษ ที่ว่า?แท้จริง บรรดาการงานนั้น ขึ้นอยู่กับ การเจตนา ? มันเป็นตราชู สำหรับ(ชั่ง)การกระทำภายในจิตใจ ดังเช่น แท้จริง ทุกๆการงาน (อะมั้ลอิบาดะฮ) ที่ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่ออัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้น ก็จะไม่มีการตอบแทนแก่ผู้ที่กระทำ ในการงานนั้น

และในทำนองเดียวกัน ทุกๆการกระทำ ที่ไม่ปรากฏคำสั่งของอัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ มันก็ถูกปฏิเสธ กลับไปหาผู้กระทำมัน และ ทุกคนที่อุตริสิ่งใหม่ขึ้นมาในศาสนา สิ่งซึ่ง อัลลอฮและรอซูล ของพระองค์ไม่อนุญาต ดังนั้น มันก็ไม่ใช่ศาสนาแต่ประการใดเลย - ญามิอุลอุลูม วัล หิกัม เล่ม 1 หน้า 176

al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

แท้จริงได้ปรากฏหะดิษจาก ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า

من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد " رواه مسلم

บุคคลใด ประกอบการงานใด ที่ไม่มีกิจการ(ศาสนา) ของเราอยู่บนมัน มันถูกปฏิเสธ" ? รายงานโดย มุสลิม - อัลอักฎียะฮ 3
อิบนุเราะญับกล่าวว่า
هذا الحديث أصل عظيم من أصول الإسلام وهو كالميزان للأعمال في ظاهرها ، كما أن حديث " إنما الأعمال بالنيات " ميزان للأعمال في باطنها ، فكما أن كل عمل لا يُراد به وجه الله تعالى ، فليس لعامله فيه ثواب ، فكذلك كل عمل لا يكون عليه أمر الله ورسوله فهو مردود على عامله ، وكل من أحدث في الدين ما لم يأذن به الله ورسوله ، فليس من الدين في شيء . جامع العلوم والحكم ج 1 ص 176

? หะดิษนี้ (หะดิษ มันอะมิละ......) เป็นรากฐานอันสำคัญ จากบรรดารากฐานแห่งอิสลาม และมันคือ ตราชู สำหรับ(ชั่ง)บรรดาการงาน ที่ปรากฏออกมาภายนอก

และ ดังที่ หะดิษ ที่ว่า?แท้จริง บรรดาการงานนั้น ขึ้นอยู่กับ การเจตนา ? มันเป็นตราชู สำหรับ(ชั่ง)การกระทำภายในจิตใจ ดังเช่น แท้จริง ทุกๆการงาน (อะมั้ลอิบาดะฮ) ที่ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่ออัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้น ก็จะไม่มีการตอบแทนแก่ผู้ที่กระทำ ในการงานนั้น

และในทำนองเดียวกัน ทุกๆการกระทำ ที่ไม่ปรากฏคำสั่งของอัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ มันก็ถูกปฏิเสธ กลับไปหาผู้กระทำมัน และ ทุกคนที่อุตริสิ่งใหม่ขึ้นมาในศาสนา สิ่งซึ่ง อัลลอฮและรอซูล ของพระองค์ไม่อนุญาต ดังนั้น มันก็ไม่ใช่ศาสนาแต่ประการใดเลย - ญามิอุลอุลูม วัล หิกัม เล่ม 1 หน้า 176

ตอบ

ได้รายงานจาก ท่านหญิง อาอิชะฮ์ (ร.ฏ.) ท่านกล่าวว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)

من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد

หมายความว่า "ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงาน(ศาสนา)ของเรานี้ กับสิ่งที่ไม่มีมาจากมัน(คือจากการงานของเรา)แล้ว สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ" (รายงานโดย บุคอรีย์ หะดิษที่ 2698 และมุสลิม หะดิษที่ 1718)

ในสายรายงานหนึ่งของ มุสลิม กล่าวว่า

من عمل عملا ليس عليه أمرنا فهو رد

ความว่า "ผู้ที่ปฏิบัติ กับการปฏิบัติหนึ่ง ที่การงาน(ศาสนา)ของเรา ไม่ได้อยู่บนมันนั้น สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ" (รายงานโดยมุสลิม หะดิษที่ 1718)

ดังนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้กล่าวว่า

من أحدث فى أمرنا هذا فهو رد

"ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงาน(ศาสนา)ของเรานี้ มันย่อมถูกปฏิเสธ"

และท่านนบี(ซ.ล.)ก็ไม่ได้กล่าวว่า

من عمل عملا فهو رد

"ผู้ใดที่ปฏิบัติ กับการปฏิบัติหนึ่ง มันย่อมถูกปฏิเสธ"

แต่หะดิษดังกล่าวนี้ ถูกวางข้อแม้หรือถูกจำกัดความหมาย ( มุก๊อยยัด ) กับสิ่งที่มีความหมายแบบกว้างๆของหะดิษนี้ ( มุฏลัก) ดังนั้น บรรดาอุลามาอ์ผู้เคร่งครัด จาก อุลามาอ์อุซูลฟิกห์ กล่าวว่า "หากปรากฏว่ามีหะดิษที่อยู่ในความหมายแบบกว้างๆ( มุฏลัก) และในตัวบทหะดิษเดียวกันนี้ ก็มีความหมายที่บ่งถึงการจัดกัดความ( ( มุก๊อยยัด ) ฉะนั้น จึงจำเป็น กับการตีความกับความหมายแบบกว้างๆ นี้ ให้อยู่บนความหมายแบบจำกัดความ ( حمل المطلق على المقيد ) โดยที่ไม่อนุญาติให้ปฏิบัติกับหะดิษด้วยความหมายแบบกว้างๆอันนี้

เมื่อเป็นอย่างเช่นดังกล่าวนี้ ความเข้าใจของหะดิษนี้ก็คือ

من أحدث فى أمرتا هذا ما هو منه فهو مقبول

"ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงานของเรานี้ กับสิ่งที่มีมาจากการงานของเรา สิ่งนั้นย่อมถูกตอบรับ"

من عمل عملا عليه أمرنا فهو مقبول

"ผู้ที่ปฏิบัติ กับการปฏิบัติหนึ่ง โดยที่การงานของเรา(มีรากฐาน)อยู่บนมัน การปฏิบัตินั้นย่อมถูกตอบรับ"

ท่านอิบนุรอญับกล่าว

ميزان للأعمال في باطنها فكما أن كل عمل لا يُراد به وجه الله تعالى ، فليس لعامله فيه ثواب

"มาตรฐานของบรรดาอะมัลนั้น อยู่ภายใน(เจตนา)ของมัน"

อธิบาย

เมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) มีเจตนาดีในการกระทำ เพราะ การแสดงออกซึ่งการรู้คุณชุโกรต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) และการแสดงออกถึงความรักต่อท่านนบี(ซ.ล.)และทำการให้เกียตริในวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.) การได้รับความเมตตามีความสุขของทุกๆสิ่งด้วยการเกิดมาของท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ได้บ่งชี้อย่างชัดเจนจากพระดำรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า

وما أرسلناك إلا رحمة للعالمين

"และเราไม่ได้ส่งเข้ามา นอกจาก เป็นความเมตตาแก่บรรดาสากลโลก"

อัลเลาะฮ์ และร่อซูลลอฮ์ สั่งให้ชุโกรและมีความยินดี ในเนี๊ยะต์มัตที่พระองค์ให้ประทานให้ เราลองมาพิจารณาคำตรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า

قل بفضل الله وبرحمته فبذلك فليفرحوا

"จงกล่าวเกิดมุฮัมมัด ด้วยกับความโปรดปรานของอัลเลาะฮ์และความเมตตาของพระองค์ ดังนั้นพวกเขาจงปีติยินดีเถิด" ยูนุส 58

ดังนั้น วันที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้ประสูตนั้น เป็นวันแห่งความน่าปิติยินดีและเป็นความเมตตาหรือไม่? ทั้งที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)เองก็กล่าวว่า

أنا الرحمة المهداة

"ฉันคือความเมตตาที่ถูกมอบเป็นของขวัญ"

การที่เราได้รำลึกของวันเกิดของท่านนบี(ซ.ล.)นี้ เราได้กระทำสิ่งที่สุนัตหรือว่ากระทำสิ่งที่หะรอม ? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาสถานที่ที่มีการรวมตัวกัน โดยทำให้บรรดามุสลิมมีความรักต่อท่านนบี(ซ.ล.) และทำให้พวกเขามีการรำลึกถึงบรรดาแบบอย่าง จรรยามารยาทที่ยิ่งใหญ่ของท่าน แล้วใครบอกละครับว่า เมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ใช่เจตนาเพื่อแสวงหาความพึงพอพระทัยของอัลเลาะฮ์ตะอาลา

ท่านอิบนุรอญับกล่าวอีกว่า

فكذلك كل عمل لا يكون عليه أمر الله ورسوله فهو مردود على عامله ، وكل من أحدث في الدين ما لم يأذن به الله ورسوله ، فليس من الدين في شيء

"และในทำนองเดียวกัน ทุกๆการกระทำ ที่ไม่ปรากฏคำสั่งของอัลลอฮ และรอซูลของพระองค์ มันก็ถูกปฏิเสธ กลับไปหาผู้กระทำมัน และ ทุกคนที่อุตริสิ่งใหม่ขึ้นมาในศาสนา สิ่งซึ่ง อัลลอฮและรอซูล ของพระองค์ไม่อนุญาต ดังนั้น มันก็ไม่ใช่ศาสนาแต่ประการใดเลย"

อธิบาย

การทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) นั้น เราไม่เคยอ้างว่าเป็นรูปแบบที่อัลเลาะฮ์และรูซูลของพระองค์ทรงใช้ ดังนั้น สิ่งที่ไม่มีบทบัญญัติใช้และบทบัญญัติห้าม หลักการอิสลามเขาเรียกว่า مباح (มุบาห์) ดังนั้น สิ่งที่มุบาห์นี้ หากผู้ใด บัญญัติว่า มันเป็นสิ่งที่หะรอม حرام เขาย่อมบัญญัตหุกุ่มขึ้นมาเอง โดยที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์ไม่ได้บัญญัตหะรอมไว้ ดังนั้น ผู้ที่ทำการกล่าวหะรอมกับสิ่งที่มุบาห์ ย่อมอุตริกรรมโดยการบัญญัติฮุกุ่มขึ้นมาในศาสนา โดยที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลไม่ได้อนุญาตไว้

การมีความปิติยินดี ชูโกรในเนี๊ยอ์มัตที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานให้นั้น เป็นสิ่งที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลได้อนุญาตให้มีขึ้นในศาสนา การบริจาคทาน เลี้ยงอาหารแก่บรรดามุสลิมีน คือสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงบัญญัติใช้และร่อซูลทรงสั่งใช้ การซ่อลาวาตต่อท่านร่อซูลุลเลาะฮ์นั้น อัลเลาะฮ์ทรงบัญญัติใช้และร่อซูลได้ส่งเสริม การอ่านอัลกุรอานเป็นสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงอนุญาติและท่านร่อซูลส่งเสริม แต่เมื่อทั้งหมดทำมาทำในวโรกาสเดียวกัน มันกลับกลายเป็นเรื่องนอกศาสนาไปได้อย่าไร??!!

และประเด็นเหล่านี้นั้นเป้าหมายของมันมีอยู่ในสมัยท่านนบี(ซ.ล.)และสะละฟุศศอลิหฺ แม้ไม่มีรูปแบบ ในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.) และสะละฟุศศอลิหฺก็ตาม แต่

เราขอตอบว่า กรณีดังกล่าวนี้ มันอยู่ในเรื่องของ "วิธีการในการเฉลิมฉลองเมาลิดของท่านนบี(ซ.ล.) " หรือแล้วแต่สภาพการของแต่ละพื้นที่ ซึ่งวิธีการในการรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) นั้น เป็นเรื่องวิธีการที่อยู่ในรูปแบบกว้างๆ (มุฏลัก) ที่เป็นประเด็นในเชิงวินิจฉัย (อิจญฺฮาด) ของบรรดานักปราชญ์ ดังนั้น รูปแบบในการทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) ก็ยังคงถูกเปิดให้แก่ประชาชาติอิสลาม ในการวินิจฉัย พิจารณาตามสภาพที่สะดวกของพวกเขา โดยไม่ขัดกับหลักการของศาสนา เพราะฉะนั้น การมีความปีติยินดีเกี่ยวกับวันเกิด(เมาลิด)ของท่านนบี(ซ.ล.) นั้น มีรากฐานจากหลักการของศาสนา แต่วิธีการต่างๆ เหล่านั้น อิสลามได้เปิดกว้างโดยมอบให้อยู่ในเรื่องของการวินิจฉัย

ส่วนหลักการวินิจฉัยนั้น มีประเด็นมากมาย ที่หลักการพื้นฐานของมันได้ระบุเอาไว้ตามหลักของศาสนา แต่วิธีการนั้น ถูกมอบให้กับประชาชาติอิสลามทำการวินิจฉัยได้ อย่างเช่น เรื่องของอัลกุรอาน ซึ่งไม่มีผู้ใดคัดค้านในเรื่องของความดีงามและความประเสริฐของการท่องจำ การเรียน การสอนและเผยแพร่อัลกุรอาน

แต่วิธีการสอน การท่องจำ การเรียน และการเผยแพร่อัลกุรอานนั้น มันมีรูปแบบและวิธีการต่างกันหรือไม่? และอย่างไร?

คำตอบก็คือ ให้ผู้อ่านพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ท่านผู้อ่านจะเห็นและทราบว่า วิธีการสอน การเรียน และการเผยแพร่อัลกุรอานนั้น มีอยู่ในทั้งรูปแบบของ โรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัย มีคณะอัลกุรอาน มีสมาคมสอนอัลกุรอาน มีการแข่งขันอ่านอัลกุรอาน ท่องจำอัลกุรอาน มีการมอบรางวัลให้กับผู้ท่องจำอัลกุรอาน มีประกาศนียบัตรให้กับผู้สำเร็จในหลักสูตรวิชาอัลกุรอาน และมีการสัมมนาเกี่ยวกับการเรียนการสอนและความสำคัญของอัลกุรอาน มีการบันทึกอัลกุรอานในรูปแบบ เทป หรือ ซีดี มีการเผยแพร่อัลกุรอาน ที่อยู่ในรูปแบบของโรงพิมพ์ มีการตีพิมพ์อัลกุรอานที่มีสีสันเน้นคำตัจญวีด มีการทำเล่มที่มีหลากหลายรูปแบบ และบางทีการเผยแพร่อัลกุรอานที่อยู่ในรูปแบบของสมาคมนักกอรีย์ เป็นต้น ดังนั้น รูปแบบต่างๆ เหล่านี้ มีอยู่ในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.)หรือไม่ อัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์ได้อนุญาตให้กระทำอย่างโดยเจาะจงหรือไม่?? ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 05:51 AM »
0
asan

คำถามที่ 16 เมาลิด
คำถามโดยคุณยะห์ยา
การจัดงานเมาลิดผิดศาสนาหรือไม่ครับขอให้วิทยากรตอบโดยอย่างละเอียด
คำตอบโดย อาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้
ผู้ถามต้องการให้ตอบคำถามนี้อย่างละเอียด แต่ความจริงแล้วเรื่องเมาลิดนี้มีการพูดกันมาเนินนาน ซึ่งมีการนำเสนอหลักฐานและข้อโต้แย้งกันอย่างแพร่หลาย และตราบใดที่ยังมีการกระทำกันอยู่ก็คงต้องพูดกันไม่รู้จักจบ โดยฝ่ายที่ทำก็อ้างว่าเป็นการแสดงความรักต่อท่านนบีแม้จะไม่มีหลักฐานจากนบีหรือศอฮาบะห์ก็ตาม และฝ่ายที่ไม่ทำก็พูดว่า รักนบีต้องตามคำสอนของนบี ไม่ใช่รักนบีแล้วทำบิดอะห์
เรื่องนี้ถ้าเรามีสติ และไม่ใช้อารมณ์เป็นใหญ่ก็คงเจอข้อเท็จจริงได้ไม่ยาก เพราะเรื่องศาสนานั้นต้องมีที่มา ไม่ใช่ใครคิดจะทำอย่างไรก็ได้ เพราะนั่นไม่ใช่อิสลาม และศาสนาก็ไม่ได้อยู่ที่ความนิยมของผู้ใด เรื่องศาสนาต้องมีหลักฐานจากอัลกุรอาน,ฮะดีษ หรือร่องรอยการปฏิบัติจากเหล่าศอฮาบะห์
แต่ ณ.ที่นี้ผมขอชี้แจงอีกมุมหนึ่งที่อาจทำให้ท่านได้เห็นข้อเท็จจริงได้ไม่ยากคือ หลักฐานโดยตรงที่ใช้หรือสนับสนุนให้ทำเมาลิดนั้นไม่มีสักบทเดียว ขอยืนยันว่า หลักฐานโดยตรงไม่มีสักบทเดียว ดังนั้นผู้ที่นิยมกระทำจึงต้องหาหลักฐานอ้างอิงโดยทางอ้อม นั่นคือการนำตัวบทในเรื่องอื่นมาเปรียบเทียบ หรือตีความเอา เช่น หลักฐานเรื่องการถือศีลอดซุนนะห์วันจันทร์ ซึ่งผู้ที่นิยมกระทำเมาลิดได้นำเรื่องนี้ไปชี้ประเด็นว่า ท่านนบีให้ความสำคัญต่อวันจันทร์ซึ่งเป็นวันเกิดของท่าน แต่การนำเรื่องเมาลิดไปเปรียบเทียบกับเรื่องถือศีลอดนั้นเป็นเรื่องที่ไกลจากความเป็นจริงเพราะ


1 ? เงื่อนไขและวิธีการปฏิบัติต่างกัน

2 ? ซุนนะห์ถือศีลอดวันจันทร์นั้นเป็นซุนนะห์รายสัปดาห์ (มีซุนนะห์ทุกวันจันทร์) แต่เราทำเมาลิดรายปีไม่ได้ทำทุกวันจันทร์

3 ? หรือหากท่านทำเมาลิดทุกวันจันทร์จริงก็เป็นการเปรียบเทียบที่ไกลจากตัวบทเหลือเกินเพราะวันจันทร์มีซุนนะห์ให้บวช ไม่ใช่ซุนนะห์ให้ทำเมาลิด บวชกับเมาลิดเป็นการเปรียบเทียบคนละเรื่อง

4 ? ตัวบทหลักฐานเรื่องซุนนะห์ถือศีลอดวันจันทร์นี้เป็นคำสอนของท่านนบี ผ่านคนในยุคแรกมาแล้ว เช่นเหล่าศอฮาบะห์และตาบีอีนและตาบีอิตตาบีอีน แต่บุคคลเหล่านี้เขาไม่ได้เข้าใจเช่นเรา

5 ? พิธีกรรมในการทำเมาลิดเป็นพิธีกรรมประยุกต์ซึ่งคิดสูตรกันเอง จึงทำให้เราเห็นความแตกต่างของพิธีนี้ในแต่ละท้องที่

6 ?ผู้ที่อ้างตนว่าสังกัดมัซฮับชาฟีอีน่าจะตรึกตรองสักนิด เพราะอิหม่ามชาฟีอีไม่ได้ทำเมาลิด และท่านก็ไม่เคยสอนลูกศิษย์ในเรื่องนี้

7 ? เมาลิดกำเนิดในอียิปต์สมัยราชวงศ์ฟาติมีย โดยฝีมือของเหล่าชีอะห์


เรามีวิธีการแสดงความรักต่อท่านนบี ตามที่เหล่าศอฮาบะห์ได้ยึดถือปฏิบัติ นั่นคือการฏออัต หมายถึงการภักดี,น้อมรับและปฏิบัติตาม มิใช่รักนบีด้วยการฟื้นฟูพิธีกรรมของชีอะห์แล้วจะเอาสวรรค์ที่ใคร นอกจากจะไม่ได้สวรรค์แล้ว การถือว่าพิธีกรรมเมาลิดเป็นเรื่องศาสนาจึงเป็นการทึกทักเอาเอง เพราะนบีไม่รู้เรื่อง เหล่าศอฮาบะห์ก็มิได้ปฏิบัติ ฉะนั้นที่ถามว่า เมาลิดผิดศาสนาหรือไม่ ก็ตอบว่าผิดแน่นอน ถือเป็นการแอบอ้าง,ต่อเติมศาสนา ซึ่งถูกเรียกว่าบิดอะห์ หรืออุตริกรรมในศาสนานั่นเอง

ส่วนผู้ที่กล่าวว่า เมาลิดเป็นประเพณี ก็น่าที่จะสืบเสาะสักนิดว่า การทำเมาลิด หรือการจัดเบิรดเดย์ให้แก่นบีนี้เป็นประเพณีของใคร และมีที่มาอย่างไร ซึ่งเราได้พบว่าชาวนะศอรอเขาจัดเมาลิด เฉลิมฉลองวันประสูตให้กับพระเยซูคริส ในวันคริสมาส ทุกวันที่ 25 ธันวาคม ของทุกปี

ฉะนั้นที่อ้างกันว่า เมาลิดประเพณีนี้ ความจริงก็คือประเพณีศาสนาของชาวคริสเตียน ที่ชีอะห์ลอกเลียนแบบมา แล้วผู้ที่หวงแหน,ปกป้องรักษาคือเรา เหล่าผู้ศรัทธากระนั้นหรือ
http://www.moradokislam.org/modules.php?name=FAQ&myfaq=yes&id_cat=6&categories=ทั่วไป#57


MUSTAKEEM

al-azhary
ความจริง "การรวมตัว"(จัดงาน) กันเพื่อทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี (ซ.ล.)ที่ทรงเกียตรินั้น มันไม่ใช่อื่นใดเลย นอกจากแต่ว่ามันเป็นเรื่อง มุบาหฺ مباح อาดัตธรรมดาทั่วไป العادة เท่านั้นเอง
al-azhary
من أحدث فى أمرتا هذا ما هو منه فهو مقبول
ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงานของเรานี้ กับสิ่งที่มีมาจากการงานของเรา สิ่งนั้นย่อมถูกตอบรับ"
............
มันเป็นอาดัตหรือ อีบาดะห์กันแน่
ถ้าอย่างนั้นจัดงานวันเกิดให้ตัวเองก็เป็นอาดัตได้นี่ (อาดัตของยาฮูดี) เพราะท่านนบี(ศล)ไม่ได้ห้ามถูกต้องไม่ครับ

ndv

คำตอบของท่านอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้ที่บังasan นำมาก็น่าจะชัดเจนเพียงพอแล้วนะ คุณ al-azharyและบรรดาผู้นิยมทำเมาลิดทั้งหลาย

Salafy

ถ้าผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ทำเมาลิด และเรื่องบิดอะฮฺ ต่างๆที่ บางคนบอกว่าทำได้ โดยที่ผมยึดหะดีษที่นบีบอกว่า "ทุกบิดอะฮฺนั้นหลงผิด" เพียงเท่านี้ เป็นการเพียงพอรึยังครับ?
(ถามเฉพาะเรื่อง บิดอะฮนะครับ)

วัสลาม

anas

ถามคุณ al-azhary ว่า
ในเมื่อจัดเมาลิดได้ ถ้าผมจะจัดงานวันเกิดให้ลูกชายของผมหรือคนในครอบครัวของผมได้ไม่ครับ
ขอบคุณครับ

ถามคุณมุสตะกีมอีกที่ว่า

ลูกชายคุณเป็นใคร และท่านนบีเป็นใคร ลองคิดดูและพิจรรณารอบคอบนะครับอย่าเอามาเปรียบกันเล่นๆ..ไม่สะนุกหรอกครับ

แค่มีความซาบซึ้งต่อการมาของท่านนบีโดยการรำลึกถึงท่าน เรายังต้องถูกหยิกและแหนบแนมจากพี่น้องซุนนะไม่เว้นวัน นับประสาอะไรเอาบุคลธรรมดาไปเปรียบเทียบกับท่านรอซุ้ลลุ้ลเลาะห์ระวังนะครับ..

anas

คำตอบของท่านอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้ที่บังasan นำมาก็น่าจะชัดเจนเพียงพอแล้วนะ คุณ al-azharyและบรรดาผู้นิยมทำเมาลิดทั้งหลาย

มันก็เพียงพอสำหรับ พี่น้องที่ต่างทัศนะกับเรานะครับ ที่สมควรจะรับไว้

แต่ผมว่าคำตอบของอีหม่ามนาวาวีย์และท่านอีหม่ามสูยูตี น่าเชื่อถือกว่าครับ

anas

มันเป็นอาดัตหรือ อีบาดะห์กันแน่
ถ้าอย่างนั้นจัดงานวันเกิดให้ตัวเองก็เป็นอาดัตได้นี่ (อาดัตของยาฮูดี) เพราะท่านนบี(ศล)ไม่ได้ห้ามถูกต้องไม่ครับ


เป็นมุบาหเท่านั้นครับ ศาสานายินยอม แต่คุฯอย่าเปรียบเทียบกับงานของยุฮุดีกับนัสรอซิครับมันผิดกับแนวทางเรามาก เราเป็นมุสลิมครับ..
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 05:59 AM »
0
asan

อ้างจาก: anas
คำตอบของท่านอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้ที่บังasan นำมาก็น่าจะชัดเจนเพียงพอแล้วนะ คุณ al-azharyและบรรดาผู้นิยมทำเมาลิดทั้งหลาย
มันก็เพียงพอสำหรับ พี่น้องที่ต่างทัศนะกับเรานะครับ ที่สมควรจะรับไว้
แต่ผมว่าคำตอบของอีหม่ามนาวาวีย์และท่านอีหม่ามสูยูตี น่าเชื่อถือกว่าครับ
----
คุณ anas ครับคุณพูดแก้ตัวมากกว่า คุณลองไปถามชาวบ้านดู คุณจะพบว่าเขาถือว่า เป็น อิบาดะฮในศาสนา ที่พวกเขาทำทุกปี

อิบนุ้ลหาจญ อัลมาลิกี(1060-1128/1129ﻫ )กล่าวว่า

ومن جملة ما أحدثوه من البدع مع اعتقادهم أن ذلك من أكبر العبادات وإظهار الشعائر ما يفعلونه في شهر ربيع الأول من المولد
وقداحتوى ذلك على البدع ومحرمات

และประมวล สิ่งที่พวกเขาอุตริขึ้นมาใหม่จากบิดอะฮ พร้อมกับพวกเขาเชื่อว่า ดังกล่าวนั้น เป็นส่วนหนึ่งมาจากอิบาดะฮที่ยิ่งใหญ่ และเป็นการแสดงออกซึ่งสัญลักษณ์ของศาสนา คือ สิ่งที่พวกเขาได้กระทำ ในเดือนเราะบีอุ้ลเอาวัล จากการทำเมาลิด และแท้จริง ดังกล่าวนั้น ประกอบไปด้วยบิดอะฮและสิ่งที่ต้องห้าม - อัลมัดคอ็ล เล่ม 2 หน้า 3

และท่านอิบนุ้ลหาจญ อัลมาลิกี กล่าวต่อไปอีกว่า

وهذه المفاسد مركبة على فعل المولد إذا عمل بالسّماع، فإن خلا منه وعمل طعاماً فقط ونوى به المولد، ودعا إليه الإخوان، وسَلِم من كل ما تقدم ذكره فهو بدعة بنفس نيته فقط، إذ أن ذلك زيادة في الدين، وليس من عمل السلف الماضين...

และนี้คือ สิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดความเสี่อมเสีย ที่ถูกประกอบไปด้วย การทำเมาลิด เมื่อเขาทำ เพื่อชื่อเสียง แล้วถ้าปราศจากมัน(คือไม่หวังชื่อเสียง)และเพียงแต่ทำอาหาร และเนียตทำเมาลิด และเชิญบรรดาญาติพี่น้องมาร่วม และปราศจากทุกสิ่งทีกล่าวมา(เช่นสิ่งต้องห้ามและเพื่อชื่อเสียง) มันก็คือ บิดอะฮ ในตัวของการเนียตเท่านั้น เพราะดังกล่าวนั้น คือ การเพิ่มเติมในศาสนา และไม่ใช่การกระทำของชาวสะลัฟที่ผ่านมา - จากหนังสือที่ระบุแล้ว
คุณ anas บอกว่าตามอิหม่ามนะวาวีย์ ผมอยากถามว่า อิหม่ามนะวาวีย์จัดเมาลิดแบบที่สวนอัมพรหรือเปล่า


asan

คุณ anas กล่าวว่า

เป็นมุบาหเท่านั้นครับ ศาสานายินยอม แต่คุฯอย่าเปรียบเทียบกับงานของยุฮุดีกับนัสรอซิครับมันผิดกับแนวทางเรามาก เราเป็นมุสลิมครับ

...........

ไม่ทราบว่า คุณ anas หลักฐานมาจากใหนที่กล่าวว่า ศาสนารับรอง ในเมื่อสิ่งนี้ยังไม่ปรากฏในสามศตวรรษแรกแห่งนับจากปีฮิจญเราะฮศักราช ถ้าคุณบอกว่า ฉันตามนะวาวีย์ ผมอยากถามอีกว่า ท่านอิหม่ามนะวาวีย์ ได้รับสิทธิ์อะไรจากท่านนบีที่เหนือผู้รู้อื่นๆ จนทำให้คุณปิดตาตามได้ ที่จริงคุณน่าจะพิจารณาอายะฮข้างล่างนี้

لَقَدْ كَانَ لَكُمْ فِي رَسُولِ اللَّهِ أُسْوَةٌ حَسَنَةٌ لِمَنْ كَانَ يَرْجُو اللَّهَ وَالْيَوْمَ الآخِرَ وَذَكَرَ اللَّهَ كَثِيرًا [الأحزاب:21].

33.21] โดยแน่นอน ในร่อซู้ลของอัลลอฮ์มีแบบฉบับอันดีงามสำหรับพวกเจ้าแล้ว สำหรับผู้ที่หวัง (จะพบ) อัลลอฮ์และวันปรโลกและรำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมาก

และคำสอนของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า

((لا تطروني كما أطرت النصارى ابن مريم، فإنما أنا عبد، فقولوا: عبد الله ورسوله)) أخرجه البخاري

พวกท่านอย่ายกย่องสรรเสริญฉัน ดังเช่น พวกนัศรอนีย์ ยกย่องสรรเสริญ (เยซู)บุตรมัรยัม เพราะความจริง ฉันคือ บาวของอัลลอฮ ดังนั้น พวกท่านจงกล่าวว่า" (เป็น)บ่าวของอัลลอฮและรอซูลของพระองค์ - บันทึกโดยบุคอรี


นูรุ้ลอิสลาม

คุณอะสันกล่าวว่า

และคำสอนของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า

((لا تطروني كما أطرت النصارى ابن مريم، فإنما أنا عبد، فقولوا: عبد الله ورسوله)) أخرجه البخاري

พวกท่านอย่ายกย่องสรรเสริญฉัน ดังเช่น พวกนัศรอนีย์ ยกย่องสรรเสริญ (เยซู)บุตรมัรยัม เพราะความจริง ฉันคือ บาวของอัลลอฮ ดังนั้น พวกท่านจงกล่าวว่า" (เป็น)บ่าวของอัลลอฮและรอซูลของพระองค์ - บันทึกโดยบุคอรี

ผมขอกล่าวว่า

การแอบอ้างของผู้ที่อคติและไม่สามารถแยกแยะสิ่งถูกผิดในเรื่องของศาสนา ดังนั้น จึงเป็นที่ทราบดีว่า การเฉลิมฉลองรำลึกด้วยการแสดงความปีติยินดีกับวันเกิดของท่านนบี (ซ.ล.) ด้วยการ ถือศีลอด อ่านอัลกุรอาน การซ่อลาวาต เล่าชีวประวัติของท่านนบี(ซ.ล.) และการเลี้ยงอาหารแก่บรรดามุสลิมีน ไม่ใช่เป็นเอกลักษณ์ของพวกนะซอรอ(คริสต์) ซึ่งมีการทำชิริกด้วยการเอานบีมูซาเป็นภาคหนึ่งของพระเจ้า มีการฉลองเต้นรำ และดื่มสุรา เป็นต้น และการทำเมาลิดของบรรดามุสลิมีนไม่ใช่เป็นเอกลักษณ์เลียนแบบเหมือนกับศาสนาใด แต่มันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบรรดามุสลิมีนในการเฉลิมฉลองยินดีวันเกิดของท่านนบี (ซ.ล.) และที่สำคัญ เราไม่ได้ทำการเฉลิมฉลองเพื่อเลียนแบบนะซอรอแต่อย่างใด

เพราะฉะนั้น ประเด็นนี้คุณอะสันอย่าเอา การสรรญของท่านนบีมุหัมมัดของบรรดามุสลิมีน ไปเทียบกับคริสต์ที่เอานบีอีซาเทียบเทียมและเป็นภาคหนึ่งของพระเจ้า ซึ่งมันคนละเรื่องกันเลย คุณอะสันเข้าใจคำว่า كما "เหมือนกับสิ่งที่นาซอรอได้ยกย่องสรรญเสริญ" ใหมครับ ? และเราก็บอกคุณอะสันไปแล้วว่า "ยกยอสรรญเสริญท่านนบีตามสิทธิ์ที่ท่านนบี(ซ.ล.)ได้รับ" ไม่ใช่สรรญเสริญกันเหมือนคริสต์ที่เลยเถิดจนเทียมพระเจ้าหรือเป็นภาคหนึ่งของพระเจ้า

นูรุ้ลอิสลาม

คุณMUSTAKEEM กล่าวว่า

ความจริง "การรวมตัว"(จัดงาน) กันเพื่อทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี (ซ.ล.)ที่ทรงเกียตรินั้น มันไม่ใช่อื่นใดเลย นอกจากแต่ว่ามันเป็นเรื่อง มุบาหฺ مباح อาดัตธรรมดาทั่วไป العادة เท่านั้นเอง

al-azhary

من أحدث فى أمرتا هذا ما هو منه فهو مقبول
ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงานของเรานี้ กับสิ่งที่มีมาจากการงานของเรา สิ่งนั้นย่อมถูกตอบรับ"
............
มันเป็นอาดัตหรือ อีบาดะห์กันแน่
ถ้าอย่างนั้นจัดงานวันเกิดให้ตัวเองก็เป็นอาดัตได้นี่ (อาดัตของยาฮูดี) เพราะท่านนบี(ศล)ไม่ได้ห้ามถูกต้องไม่ครับ

ผมขอกล่าวว่า

คุณมุสตะกีม ชอบอ่านอะไรแบบไม่ปะติดปะต่อ คว้ามาหน่อยนึงแล้วก็ตั้งคำถาม ทั้งที่อัล-อัซฮะรีย์เขาได้อธิบายครอบคลุมไปแล้วดังนี้
ดังนั้น อาดะฮ์ العادة ที่มุบาห์ المباح นี้ผู้กระทำจะได้รับผลบุญต่อเมื่อผู้กระทำมีเจตนาดีและมีองค์ประกอบที่ดีในการกระทำ เช่นมีการอ่านอัลกุรอาน มีการซาลาวาตท่านนบี (ซ.ล.) มีการซิกรุลเลาะฮ์ มีการฟัชีวประวัติของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.)

เท่าไหร่แล้วที่เรื่องอาดะฮ์กลายเป็นอิบาดะฮ์เพราะมีเจตนาที่ดี และเท่าไหร่แล้วที่เรื่องอิบาดะฮ์กลับกลายเป็นเรื่องที่ไม่ใช่อิบาดะฮ์เพราะมีเจตนาที่ไม่ดี

ท่านนบี(ซ.ล.) กล่าวไว้ว่า

إنما الأعمال بالنيات

"แท้จริง มวลการกระทำทั้งหลาย ด้วยกับการเจตนา" รายงานโดย บุคอรี

เมาลิดถึงท่านนบี(ซ.ล.)นั้น เป็น "ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์" سنة حسنة (แนวทางที่ดี)

ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า

من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء

" ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน ผลตอบแทนของมัน ก็มีให้แก่เขา และผลตอบแทนของผู้ที่ได้ปฏิบัติด้วยกับมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ได้กับเขา) โดยไม่มีสิ่งใดลดลงไปเลย จากผลการตอบของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017) (อ้างคำตอบจาก อัลอัซฮะรีย์)
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 06:05 AM »
0
al-azhary

บังอะสันอ้างอิงคำกล่าวของท่าน อิบนุ อัลหาจญฺว่า

อิบนุ้ลหาจญ อัลมาลิกี(1060-1128/1129ﻫ )กล่าวว่า

ومن جملة ما أحدثوه من البدع مع اعتقادهم أن ذلك من أكبر العبادات وإظهار الشعائر ما يفعلونه في شهر ربيع الأول من المولد
وقداحتوى ذلك على البدع ومحرمات

และประมวล สิ่งที่พวกเขาอุตริขึ้นมาใหม่จากบิดอะฮ พร้อมกับพวกเขาเชื่อว่า ดังกล่าวนั้น เป็นส่วนหนึ่งมาจากอิบาดะฮที่ยิ่งใหญ่ และเป็นการแสดงออกซึ่งสัญลักษณ์ของศาสนา คือ สิ่งที่พวกเขาได้กระทำ ในเดือนเราะบีอุ้ลเอาวัล จากการทำเมาลิด และแท้จริง ดังกล่าวนั้น ประกอบไปด้วยบิดอะฮและสิ่งที่ต้องห้าม - อัลมัดคอ็ล เล่ม 2 หน้า 3

ตอบ

คำกล่าวของท่าน อิบนุ อัลหาจญ์ ก็ดี ทัศนะของ อัลฟากิฮีย์ ก็ดี ซึ่งทั้งสองเป็นนักปราชญ์รุ่นอาวุโส และท่านอิมามอัศศะยูฏีย์ ซึ่งเป็นปราชญ์อาวุโส ก็ได้ทำการโต้ตอบและชี้แจง ทัศนะของท่านอิบนุ อัลหาจญ์และท่านอัลฟากิฮีย์เรียบร้อย และการโต้ตอบของอุลามาอ์รุ่นอาวุโสแห่งโลกอิสลามนั้น ช่างน่าชื่นชม เพราะมีมารยาทในการนำเสนอหลักการจริงๆ
ท่านอิมามอัศศะยูฏีย์ ได้ถ่ายทอดคำพูดทั้งหมดของ ท่านอิบนุ อัลหาจญ์และท่านอัลฟากิฮีย์ ไว้ในหนังสือ حسن المقصد فى عمل المولد ซึ่งถูกผนวกไว้ในหนังสือ อัลหาวีย์ ลิลฟาตาวา ของท่านอิมามอัศศะยูฏีย์ ในเล่ม 1 หน้าที่ 226 ซึ่งอิมามอัสศะยูฏีย์กล่าวว่า

وقد تكلم الإمام ابو عبد الله بن الحاج فى كتابه المدخل على عمل المولد فأتقن الكلام جدا ، وحاصله مدح ما كان فيه من إظهار شعار وشكر ، وذم ما احتوى عليه من محرمات ومنكرات

"แท้จริงท่านอิมาม อบูอับดิลลาฮ์ อิบนุ อัลหาจญ์ ได้กล่าวอธิบายไว้ในหนังสือของเขา ที่ชื่อว่า อัลมัดค๊อล ถึงเรื่องทำเมาลิด ซึ่งเขาได้พูดได้อย่างละเอียดละออเป็นอย่างมาก สรุปคำพูดของเขาก็คือ เขา(อิบนุ อับหาจญ์) ได้สรรเสริญสิ่งที่อยู่ในการทำเมาลิด จากการแสดงถึงเอกลักษณ์และการชุโกร(ต่ออัลเลาะฮ์) และเขาได้ทำการตำหนิสิ่งที่ต้องห้ามและถูกตำหนิที่อยู่ในเมาลิด" หนังสือ อัลหาวีย์ ลิลฟาตาวา ของท่านอิมามอัศศะยูฏีย์ ในเล่ม 1 หน้าที่ 226

จากคำกล่าวของอิมามอัสศะยูฏีย์ ที่ได้ทำการสรุปคำพูดของท่าน อิบนุ อัลหาจญ์นั้น คือ ท่านอิบนุ อัลหาจญ์ไม่มีทัศนะห้ามใน พื้นฐานเดิมในการทำเมาลิด แต่เขาตำหนิถึงองค์ประกอบที่หะรอมที่เกิดขึ้นในการทำเมาลิด ดังนั้น จะเอาคำกล่าวบางตอนของท่านอิบนุ อัลฮาจญ์มากล่าวอ้างทัศนะของบังอะสันที่ยึดอยู่เองแบบเหมารวมย่อมไม่ได้

เราลองมาวิเคราะห์คำพูดของท่าน อิบนุ อัลหาจญ์ กันครับ ซึ่งท่านกล่าวว่า

ومن جملة ما أحدثوه من البدع مع اعتقادهم أن ذلك من أكبر العبادات وإظهار الشعائر ما يفعلونه في شهر ربيع الأول من المولد
وقداحتوى ذلك على البدع ومحرمات

และประมวล สิ่งที่พวกเขาอุตริขึ้นมาใหม่จากบิดอะฮ พร้อมกับพวกเขาเชื่อว่า ดังกล่าวนั้น เป็นส่วนหนึ่งมาจากอิบาดะฮที่ยิ่งใหญ่ และเป็นการแสดงออกซึ่งสัญลักษณ์ของศาสนา คือ สิ่งที่พวกเขาได้กระทำ ในเดือนเราะบีอุ้ลเอาวัล จากการทำเมาลิด โดยลักษณะที่ ดังกล่าวนั้น ได้ประกอบไปด้วยบิดอะฮและสิ่งที่ต้องห้าม - อัลมัดคอ็ล เล่ม 2 หน้า 3

โปรดสังเกตุคำว่า وقد احتوى ซึ่คุณอะสันแปลว่า "และแท้จริง" แต่อักษร و ที่คำว่า قد ตกหลังจากมันนั้น ให้หมายแบบ واو الحال แปลว่า "ในลักษณะที่แท้จริง" ไม่ใช่แปลว่า "และแท้จริง" ดังนั้น คำกล่าวของท่านอิบนุอัลหาจญ์นี้ หมายถึง เมาลิดที่มีบรรดาสิ่งที่หะรอมและน่าตำหนิรวมอยู่ด้วย ย่อมเป็นบิดอะฮ์ ซึ่งหากว่าไม่มีสิ่งที่หะรอมอยู่ด้วย ก็ถือว่าไม่เป็นบิดอะฮ์ตามทัศนะของท่าน อิบนุ อัลหาจญ์ เช่นท่าน อิบนุ อัลหาจญ์ได้ยกตัวอย่างสิ่งที่หะรอมที่ทำให้เมาลิดเป็นบิดอะฮ์นั้น เช่น มีมีการเล่นดนตรี ตีกลอง ฟังเครื่องเล่นดนตรี เป็นต้น" ดู คำกล่าวของท่านอิบนุอัลหาจญ์ ที่อิมามอัศศะยูฏีย์ระบุไว้ใหนหนังสือ อัลหาวีย์ อัลฟะตะวา เล่ม 1 หน้าที่ 226

แต่หลังจากนั้นอีก 5 บรรทัด ท่านอิบนุ อัลหาจญ์กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมัดค๊อล ว่า

فكان يجب أن يزاد فيه من العبادات والخير شكرا للمولى على ما أولانا به من هذه النعم العظيمة وإن كان النبى صلى الله عليه وسلم لم يزد فيه على غيره من الشهور شيئا من العبادات ، وما ذاك الا لرحمته صلى الله عليه وسلم بأمته ورفقه بهم ، لأنه عيه الصلاة والسلام كان يترك العمل خشية أن يفرض على أمته رحمة منه بهم ، لكن أشار عليه السلام الى فضيلة هذا الشهر العظيم بقوله للسائل الذى سأله عن صوم يوم إثنين : ( ذلك يوم ولدت فيه ) فتشريف هذا اليوم متضمن لتشريف هذا الشهر الذى ولد فيه....قد علم أن الأمكنة والأزمنة لا تشرف لذاتها وإنما يحصل لها التشريف بما خصت به من المعانى ، أنظروا الى ما خص الله به هذا الشهرالشريف ويوم الإثنين ، ألا ترى أن الصوم هذا اليوم فيه فضل عظيم لأنه ولد فيه ؟ فعلى هذا ينبغى إذا دخل هذا الشهر الكريم أن يكرم ويعظم ويحترم الإحترام اللائق به اتباعا له صلى الله عليه وسلم فى كونه كان يخص الأوقات الفاضلة بزيادة فعل الخير فيها وكثرة الخيرات

"ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเพิ่มพูนการกระทำบรรดาอิบาดะฮ์และความดีงามในเดือนร่อบิอุลเอาวัล เพื่อชุโกรกตัญญูรู้คุณต่ออัลเลาะฮ์ ในสิ่งที่พระองค์ทรงให้เรามีความดีเลิศจากบรรดาเนี๊ยะมัตอันยิ่งใหญ่นี้ และถึงหากแม้นว่าท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้ทำการเพิ่มอะมัลอิบาดะฮ์มากไปกว่าเดือนอื่นๆก็ตาม โดยที่สิ่งดังกล่าวนั้น ไม่ใช่อื่นใดเลยนอกจาก เป็นความเมตตาเอ็นดูของท่านนบี(ซ.ล.)ที่มีต่อประชาชาติของท่าน เนื่องจากท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งอะมัลหนึ่งนั้น เพราะเกรงว่าจะถูกกำหนดฟัรดูแก่ประชาชาติของท่าน นั่นก็เพราะเป็นความเมตตาเอ็นดูของท่านนบี(ซ.ล.) แต่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้บ่งชี้ ถึงความประเสริฐของเดือนร่อบิอุลเอาวัลที่ยิ่งใหญ่นี้ ด้วยคำตอบกับผู้ที่ถามถึงการถือศีลอดในวันจันทร์ ว่า ( ذلك يوم ولدت فيه ) "ดังกล่าว(เพราะ)เป็นวันที่ฉันเกิด" เพราะฉะนั้น การในวันจันทร์นี้ ย่อมผนวจถึงการให้เดือนอันมีเกียรติที่ท่านนบีประสูติด้วย...เป็นที่ทราบดีว่า บรรดาสถานที่และกาลเวลานั้นไม่ใช่มีเกียรติด้วยตัวของมันเอง แต่ที่ความมีเกียรติได้เกิดขึ้นแก่มันนั้นด้วยเหตุมีบรรดาความหมายนัยยะที่เฉพาะอยู่ ดังนั้น พวกท่านทั้งหลาย โปรดพิจารณาความพิเศษที่อัลเลาะฮ์ทรงเฉพาะไว้ในเดือนร่อบิอุลเอาวัลและวันจันทรเถิด ท่านไม่เห็นดอกหรือว่า การถือศีลอดในวันจันทร์นั้นเป็นความประเสริฐที่ยิ่งใหญ่ อันเนื่องจากท่านนบีได้ประสูติ ดังนั้น เมื่อเราได้ยอมรับตามนี้ ก็เป็นการสมควรที่จะนำเดือนรอบิอุลเอาวัลที่มีเกียรตินี้ เข้าไปอยู่ในการให้เกียรติ ให้ความสำคัญ อย่างเหมาะสมเพื่อที่จะเจริญรอยตามท่านนบี(ซ.ล.) ที่ได้เจาะจงช่วงเวลาต่างๆ ที่ประเสิรฐ ด้วยการเพิ่มการกระทำความดีงามและทำให้มากๆกับคุณงามความดีในช่วงเวลาที่ประเสริฐนั้น " ท่านอิมามอัศสะยูฏีย์ได้ถ่ายทอดคำพูดของท่านอิบน อัลหาจญ์ จากหนังสือ อัลมัดค๊อล ไว้ในหนังสือ อัลหาวีย์ อัลฟะตะวา เล่ม 1 หน้าที่ 227

และท่านอิบนุอัลหาจญ์ได้กล่าวไว้ใน บทย่อยหนึ่งว่า "หากมีคนกล่าวว่า แท้จริงท่านร่อซุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในบรรดาช่วงเวลาที่ประเสริฐ ซึ่งท่านนบีได้ปฏิบัติจากสิ่งที่ทราบกันดีและท่านนบีก็ไม่ได้ปฏิบัติเคร่งครัดในเดือนนี้(ร่อบิอุลเอาวัล) เหมือนกับเดือนอื่นๆ ตอบ สิ่งกล่าวนั้น เพราะเป็นที่ทราบดีจากปกติวิสัยอันมีเกียรติของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ท่านนั้นต้องการจะให้มีความสะดวกแก่ประชาชาติของท่าน โดยเฉพาะสิ่งที่ท่านนบีเจาะจงเป็นพิเศษเอาไว้ ท่านไม่เห็นดอกรู้หรือว่า ท่านนบี(ซ.ล.) ทรงทำให้มะดีนะฮ์เป็นเขตหวงห้ามเหมือนกับท่านนบีอิบรอฮีมได้ทำให้มักกะฮ์เป็นเขตหวงห้าม โดยพร้อมกับสิ่งดังกล่าวนั้น คือ ไม่อนุญาตให้ทำการล่าสัตว์ ตัดต้นไม้ เพื่อให้ความสะดวกและเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติของท่าน......(แล้วท่านอิบนุ อัลหาจญ์กล่าวว่า)

فعلى هذا فتعظيم هذا الشهر الشريف إنما يكون بزيادة الأعمال الزاكيات فيه والصدقات إلى غير ذلك من القربات ، فمن عجز عن ذلك فأقل أحواله أن يجتنب ما يحرم عليه ويكره له لهذا الشهر الشريف

"เมื่อเราได้ดำเนินตามนี้ ดังนั้น การให้เกียรติเดือน(ร่อบิอุลเอาวัล)ที่มีเกียรตินี้ คือการเพิ่มพูนบรรดาอะมัลที่ดีงาม และบรรดาการบริจากทานทั้ง และอื่นๆ อีกจากบรรดาความดีที่สร้งความใกล้ชิด(ต่ออัลเลาะฮ์) ดังนั้น หากผู้ใดที่ไม่สามารถกระทำสิ่งดังกล่าว ก็ให้เขาทำให้น้อยกับบรรดาสภาวะการกระทำต่างๆ ของให้ เขาพ้นจากสิ่งที่ถูกห้ามหรือสิ่งที่น่ารังเกียจ เพื่อให้เกียรติแก่เดือน(ร่อบิอุลเอาวัล)ที่มีเกียรตินี้"


อ้างอิงจากบังอะสัน

และท่านอิบนุ้ลหาจญ อัลมาลิกี กล่าวต่อไปอีกว่า

وهذه المفاسد مركبة على فعل المولد إذا عمل بالسّماع، فإن خلا منه وعمل طعاماً فقط ونوى به المولد، ودعا إليه الإخوان، وسَلِم من كل ما تقدم ذكره فهو بدعة بنفس نيته فقط، إذ أن ذلك زيادة في الدين، وليس من عمل السلف الماضين...

และนี้คือ สิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดความเสี่อมเสีย ที่ถูกประกอบไปด้วย การทำเมาลิด เมื่อเขาทำ เพื่อชื่อเสียง แล้วถ้าปราศจากมัน(คือไม่หวังชื่อเสียง)และเพียงแต่ทำอาหาร และเนียตทำเมาลิด และเชิญบรรดาญาติพี่น้องมาร่วม และปราศจากทุกสิ่งทีกล่าวมา(เช่นสิ่งต้องห้ามและเพื่อชื่อเสียง) มันก็คือ บิดอะฮ ในตัวของการเนียตเท่านั้น เพราะดังกล่าวนั้น คือ การเพิ่มเติมในศาสนา และไม่ใช่การกระทำของชาวสะลัฟที่ผ่านมา - จากหนังสือที่ระบุแล้ว

ตอบ

คำว่า السماع ไม่ใช่แปลว่า "ชื่อเสียง" แต่แปลว่า "การสดับรับฟังเสียงดนตรี" เพราะที่ท่านอิบนุ อัลหาจญ์ได้ทำการตำหนิเมาลิดนั้น เพราะว่ามีสิ่งที่หะรอมรวมอยู่ด้วย ไม่ใช่ตำหนิหลักการของเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งสิ่งที่หะรอมนั้น ท่านอิบนุอัลหาจญ์ ได้ยกตัวอย่างในช่วงแรกๆ ไว้ว่า مما جعلوه ألة للسماع "จากสิ่งที่พวกเขาได้นำมาเป็นเครื่องมือ(เครื่องดนตรี)เพื่อสะดับรับฟัง" ดังนั้นคำว่า คำว่า السماع ไม่ใช่แปลว่า "ชื่อเสียง" แต่แปลว่า "การสดับรับฟังเสียงดนตรี" หวังว่าบังอะสันคงเข้าใจนะครับ

ต่อมาเรามาพิจารณาคำกล่าวของท่านอิบนุ อัลหาจญ์ที่ว่า

فإن خلا منه وعمل طعاماً فقط ونوى به المولد، ودعا إليه الإخوان، وسَلِم من كل ما تقدم ذكره فهو بدعة بنفس نيته فقط

"แล้วถ้าปราศจากมัน(คือสดับรับฟังเสียงดนตรี)และเพียงแต่ทำอาหาร และเนียตทำเมาลิดด้วยมัน(คือการทำอาหาร) และเชิญบรรดาญาติพี่น้องมาร่วม และปราศจากทุกสิ่งทีกล่าวมา(เช่นสิ่งต้องห้ามและฟังเสียงดนตรี) มันก็คือ บิดอะฮ ด้วยตัวของการเหนียตทำอาหารเท่านั้น"

ท่านอิมาม อัศศะยูฏีย์ ได้ตอบไว้ว่า

يحمل على فعل ذلك خير والبدعة منه نية المولد كما أشار إليه بقوله فهو بدعة بنفس نيته فقط ، وبقوله : لم ينقل عن أحد منهم أنه نوى المولد

"ถูกตีความถึงการกระทำสิ่งดังกล่าว(การเลี้ยงอาหาร)เป็นความดีงาม แต่ที่เป็นบิดอะฮ์นั้น คือเหนียตทำเมาลิด เหมือนสิ่งที่ได้บ่งชี้ด้วยคำกล่าวของท่านอิบนุ อัลหาจญ์ว่า "ดังนั้น มันเป็นบิดอะฮ์ด้วยตัวของการเหนียตทำอาหารเท่านั้น"

ท่านอิมามอัศศะยูฏีย์ กล่าวตอบต่อไปว่า

فظاهر هذا الكلام أنه كره أن ينوى به المولد فقط ولم يكره عمل الطعام ودعاء الإخوان إليه

"ดังนั้น ความชัดเจนของคำพูดนี้ ก็คือ ท่านอิบนุ อัลหาจญ์ รังเกียจในการเหนีตทำเมาลิดด้วยการทำอาหารเท่านั้น โดยที่ท่านอิบนุอัลหาจญ์ไม่ได้รังเกียจการทำอหารและเชิญพี่น้องมาร่วมรับประทาน"

وهذا إذا تحقق النظر لا يجتمع مع أول كلامه لأنه حث فيه على زيادة فعل الخير ، وما ذكر معه على وجه الشكر لله تعالى ، إذ أوجد فى هذا الشهر الشريف سيد المرسلين وهذا معنى نية المولد

"เมื่อการพิจารณาได้ทำการวิเคราะห์ คำกล่าวนี้ก็จะไม่สามารถนำร่วมกับคำพูดของท่านอิบนุอัลหาจญ์ในตอนแรกได้ เนื่องจากว่า ท่านอิบนุ อัลหาจญ์นั้น ได้ส่งเสริมในเดือนร่อบิอุลเอาวัลให้เพิ่มพูนการกระทำความดีงาม และพร้อมกับสิ่งที่ท่านอิบนุอัลหาจญ์ได้กล่าวนั้น เพื่อทำการชุโกรกตัญญูรู้คุณต่ออัลเลาะฮ์ ตะอาลา เพราะว่าเจ้านายแห่งบรรดาศาสนทูต(ซ.ล.) ได้ประสูติขึ้นมาในเดือนรอบิอุลเอาวัลที่มีเกียรตินี้ และนี้ก็คือความหมายของการเหนียตทำเมาลิด

จากนั้นอีก 2 บรรทัด ท่านอิมามอัศสะยูฏีย์ได้กล่าวว่า

إذ لا عمل الا بنية ولا نية هنا الا الشكر لله تعالى ولادة هذا النبى الكريم فى هذا الشهر الشريف ، وهذا معنى نية المولد فهى نية مستحسنة بلا شك فتأمل

"เนื่องจากว่า ไม่มีการปฏิบัติ นอกจากด้วยการเหนียต และการเหนียตใน ณ ที่นี้(คือการทำเมาลิด) ไม่ใช่อื่นใดเลย นอกจากการ ชุโกรกตัญญูรู้คุณต่ออัลเลาะฮ์ ตะอาลา กับการประสูติของท่านนบีผู้ทรงเกียรติในเดือนร่อบิอุลเอาวัลที่มีเกียรตินี้ และนี่ก็คือความหมายของการเหนียตทำเมาลิด ซึ่งมันเป็นการเหนียตเจตนาที่นับว่าดีโดยไม่ต้องสงสัยเลย ดังนั้น ท่านโปรดพิจารณา" โปรดดู หนังสือ อัลหาวีย์ ลิลฟาตาวา ของท่านอิมามอัศศะยูฏีย์ ในเล่ม 1 หน้าที่ 227 - 228 วัลลอฮุอะลัม

والسلام

الأزهرى الشافعى
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 06:11 AM »
0
al-azhary

อ้างอิงจาก อ.ฟาริด

ดังนั้นผู้ที่นิยมกระทำจึงต้องหาหลักฐานอ้างอิงโดยทางอ้อม

ตอบ

ความจริงที่อ้างว่าเมาลิดเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง ก็ใช้หลักฐานอ้างอิงโดยทางอ้อมเช่นเดียว และเป็นหลักฐานที่อ่อน

อ.ฟาริดกล่าวว่า

2 - ซุนนะห์ถือศีลอดวันจันทร์นั้นเป็นซุนนะห์รายสัปดาห์ (มีซุนนะห์ทุกวันจันทร์) แต่เราทำเมาลิดรายปีไม่ได้ทำทุกวันจันทร์
3 ? หรือหากท่านทำเมาลิดทุกวันจันทร์จริงก็เป็นการเปรียบเทียบที่ไกลจากตัวบทเหลือเกินเพราะวันจันทร์มีซุนนะห์ให้บวช ไม่ใช่ซุนนะห์ให้ทำเมาลิด บวชกับเมาลิดเป็นการเปรียบเทียบคนละเรื่อง

4 ? ตัวบทหลักฐานเรื่องซุนนะห์ถือศีลอดวันจันทร์นี้เป็นคำสอนของท่านนบี ผ่านคนในยุคแรกมาแล้ว เช่นเหล่าศอฮาบะห์และตาบีอีนและตาบีอิตตาบีอีน แต่บุคคลเหล่านี้เขาไม่ได้เข้าใจเช่นเรา


ตอบ

ท่านอิบนุ อัลหาจญ์ได้ตอบว่า "ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเพิ่มพูนการกระทำบรรดาอิบาดะฮ์และความดีงามในเดือนร่อบิอุลเอาวัล เพื่อชุโกรกตัญญูรู้คุณต่ออัลเลาะฮ์ ในสิ่งที่พระองค์ทรงให้เรามีความดีเลิศจากบรรดาเนี๊ยะมัตอันยิ่งใหญ่นี้ และถึงหากแม้นว่าท่านนบี(ซ.ล.) ไม่ได้ทำการเพิ่มอะมัลอิบาดะฮ์มากไปกว่าเดือนอื่นๆก็ตาม โดยที่สิ่งดังกล่าวนั้น ไม่ใช่อื่นใดเลยนอกจาก เป็นความเมตตาเอ็นดูของท่านนบี(ซ.ล.)ที่มีต่อประชาชาติของท่าน เนื่องจากท่านนบี(ซ.ล.)ได้ละทิ้งอะมัลหนึ่งนั้น เพราะเกรงว่าจะถูกกำหนดฟัรดูแก่ประชาชาติของท่าน นั่นก็เพราะเป็นความเมตตาเอ็นดูของท่านนบี(ซ.ล.) แต่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้บ่งชี้ ถึงความประเสริฐของเดือนร่อบิอุลเอาวัลที่ยิ่งใหญ่นี้ ด้วยคำตอบกับผู้ที่ถามถึงการถือศีลอดในวันจันทร์ ว่า ( ذلك يوم ولدت فيه ) "ดังกล่าว(เพราะ)เป็นวันที่ฉันเกิด" เพราะฉะนั้น การในวันจันทร์นี้ ย่อมผนวจถึงการให้เดือนอันมีเกียรติที่ท่านนบีประสูติด้วย...เป็นที่ทราบดีว่า บรรดาสถานที่และกาลเวลานั้นไม่ใช่มีเกียรติด้วยตัวของมันเอง แต่ที่ความมีเกียรติได้เกิดขึ้นแก่มันนั้นด้วยเหตุมีบรรดาความหมายนัยยะที่เฉพาะอยู่ ดังนั้น พวกท่านทั้งหลาย โปรดพิจารณาความพิเศษที่อัลเลาะฮ์ทรงเฉพาะไว้ในเดือนร่อบิอุลเอาวัลและวันจันทรเถิด ท่านไม่เห็นดอกหรือว่า การถือศีลอดในวันจันทร์นั้นเป็นความประเสริฐที่ยิ่งใหญ่ อันเนื่องจากท่านนบีได้ประสูติ ดังนั้น เมื่อเราได้ยอมรับตามนี้ ก็เป็นการสมควรที่จะนำเดือนรอบิอุลเอาวัลที่มีเกียรตินี้ เข้าไปอยู่ในการให้เกียรติ ให้ความสำคัญ อย่างเหมาะสมเพื่อที่จะเจริญรอยตามท่านนบี(ซ.ล.) ที่ได้เจาะจงช่วงเวลาต่างๆ ที่ประเสิรฐ ด้วยการเพิ่มการกระทำความดีงามและทำให้มากๆกับคุณงามความดีในช่วงเวลาที่ประเสริฐนั้น " ท่านอิมามอัศสะยูฏีย์ได้ถ่ายทอดคำพูดของท่านอิบน อัลหาจญ์ จากหนังสือ อัลมัดค๊อล ไว้ในหนังสือ อัลหาวีย์ อัลฟะตะวา เล่ม 1 หน้าที่ 227

และท่านอิบนุอัลหาจญ์ได้กล่าวไว้ใน บทย่อยหนึ่งว่า "หากมีคนกล่าวว่า แท้จริงท่านร่อซุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในบรรดาช่วงเวลาที่ประเสริฐ ซึ่งท่านนบีได้ปฏิบัติจากสิ่งที่ทราบกันดีและท่านนบีก็ไม่ได้ปฏิบัติเคร่งครัดในเดือนนี้(ร่อบิอุลเอาวัล) เหมือนกับเดือนอื่นๆ ตอบ สิ่งกล่าวนั้น เพราะเป็นที่ทราบดีจากปกติวิสัยอันมีเกียรติของท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า ท่านนั้นต้องการจะให้มีความสะดวกแก่ประชาชาติของท่าน โดยเฉพาะสิ่งที่ท่านนบีเจาะจงเป็นพิเศษเอาไว้ ท่านไม่เห็นดอกรู้หรือว่า ท่านนบี(ซ.ล.) ทรงทำให้มะดีนะฮ์เป็นเขตหวงห้ามเหมือนกับท่านนบีอิบรอฮีมได้ทำให้มักกะฮ์เป็นเขตหวงห้าม โดยพร้อมกับสิ่งดังกล่าวนั้น คือ ไม่อนุญาตให้ทำการล่าสัตว์ ตัดต้นไม้ เพื่อให้ความสะดวกและเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติของท่าน......(แล้วท่านอิบนุ อัลหาจญ์กล่าวว่า)

فعلى هذا فتعظيم هذا الشهر الشريف إنما يكون بزيادة الأعمال الزاكيات فيه والصدقات إلى غير ذلك من القربات ، فمن عجز عن ذلك فأقل أحواله أن يجتنب ما يحرم عليه ويكره له لهذا الشهر الشريف

"เมื่อเราได้ดำเนินตามนี้ ดังนั้น การให้เกียรติเดือน(ร่อบิอุลเอาวัล)ที่มีเกียรตินี้ คือการเพิ่มพูนบรรดาอะมัลที่ดีงาม และบรรดาการบริจากทานทั้ง และอื่นๆ อีกจากบรรดาความดีที่สร้งความใกล้ชิด(ต่ออัลเลาะฮ์) ดังนั้น หากผู้ใดที่ไม่สามารถกระทำสิ่งดังกล่าว ก็ให้เขาทำให้น้อยกับบรรดาสภาวะการกระทำต่างๆ ของให้ เขาพ้นจากสิ่งที่ถูกห้ามหรือสิ่งที่น่ารังเกียจ เพื่อให้เกียรติแก่เดือน(ร่อบิอุลเอาวัล)ที่มีเกียรตินี้" หนังสือ อัลหาวีย์ ลิลฟาตาวา ของท่านอิมามอัศศะยูฏีย์ ในเล่ม 1 หน้าที่ 227 - 228 วัลลอฮุอะลัม

al-azhary

อ.ฟาริดกล่าวว่า

5 ? พิธีกรรมในการทำเมาลิดเป็นพิธีกรรมประยุกต์ซึ่งคิดสูตรกันเอง จึงทำให้เราเห็นความแตกต่างของพิธีนี้ในแต่ละท้องที่

ตอบ

ท่าน อิมาม อัซซัยยิด มุหัมมัด บิน อะละวีย์ อัลมาลิกีย์ อัลหะสะนีย์ (ร.ฮ.) ตอบว่า

การเฉลิมฉลองเมาลิด หมายถึง "การแสดงความยินดี การชูโกรในเนี๊ยะมัตที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานให้ ด้วยการกระทำความดีงาม" นั่นคือความหมายของการเฉลิมฉลองใน ณ ที่นี้ ดังนั้น การเฉลิมฉลอง ด้วยการชุโกรเนี๊ยะมัตที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานอัลกุรอานมาให้นั้น ย่อมมีรูปแบบที่ต่างกันออกไปที่ไม่เคยมีในสมัยท่านนบี(ซ.ล.)มาก่อน โดยที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลุลเลาะฮ์ ไม่ได้สั่งให้กระทำเอาไว้

ส่วนหลักการวินิจฉัยนั้น มีประเด็นมากมาย ที่หลักการพื้นฐานของมันได้ระบุเอาไว้ตามหลักของศาสนา แต่วิธีการนั้น ถูกมอบให้กับประชาชาติอิสลามทำการวินิจฉัยได้ อย่างเช่น เรื่องของอัลกุรอาน ซึ่งไม่มีผู้ใดคัดค้านในเรื่องของความดีงามและความประเสริฐของการท่องจำ การเรียน การสอนและเผยแพร่อัลกุรอาน

แต่วิธีการสอน การท่องจำ การเรียน และการเผยแพร่อัลกุรอานนั้น มันมีรูปแบบและวิธีการต่างกันหรือไม่? และอย่างไร?

คำตอบก็คือ ให้ผู้อ่านพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ท่านผู้อ่านจะเห็นและทราบว่า วิธีการสอน การเรียน และการเผยแพร่อัลกุรอานนั้น มีอยู่ในทั้งรูปแบบของ โรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัย มีคณะอัลกุรอาน มีสมาคมสอนอัลกุรอาน มีการแข่งขันอ่านอัลกุรอาน ท่องจำอัลกุรอาน มีการมอบรางวัลให้กับผู้ท่องจำอัลกุรอาน มีประกาศนียบัตรให้กับผู้สำเร็จในหลักสูตรวิชาอัลกุรอาน และมีการสัมมนาเกี่ยวกับการเรียนการสอนและความสำคัญของอัลกุรอาน มีการบันทึกอัลกุรอานในรูปแบบ เทป หรือ ซีดี มีการเผยแพร่อัลกุรอาน ที่อยู่ในรูปแบบของโรงพิมพ์ มีการตีพิมพ์อัลกุรอานที่มีสีสันเน้นคำตัจญวีด มีการทำเล่มที่มีหลากหลายรูปแบบ และบางทีการเผยแพร่อัลกุรอานที่อยู่ในรูปแบบของสมาคมนักกอรีย์ เป็นต้น ดังนั้น รูปแบบต่างๆ เหล่านี้ มีอยู่ในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.)หรือไม่?? ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาครับ " ดู หนังสือ เฮาล่า อัลอิหฺติฟาล บิซิกรอ อัลเมาลิด อันนะบะวีย์ หน้า 19 - 20

อ. ฟาริด กล่าวว่า

6 ?ผู้ที่อ้างตนว่าสังกัดมัซฮับชาฟีอีน่าจะตรึกตรองสักนิด เพราะอิหม่ามชาฟีอีไม่ได้ทำเมาลิด และท่านก็ไม่เคยสอนลูกศิษย์ในเรื่องนี้

ตอบ

อิมามชาฟิอีย์กล่าวว่า

สิ่งที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่นั้น มี 2 ประเภท

ประเภทที่หนึ่ง สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ ที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ คำพูดที่ถูกรายงานมา และอิจญฺมาอ์ สิ่งนี้ย่อมเป็นบิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง

ประเภทที่สอง สิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่จากคุณงามความดี ที่ไม่ขัดกับอันหนึ่งอันใด(ที่กล่าวมาแล้ว)นี้ และนี้ย่อมเป็นสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่โดยไม่ถูกตำหนิ

ดู หนังสือ มะนากิบ อัช-ชาฟิอีย์ เล่ม1 หน้า 468 - 469

อิมามอัชชาฟิอีย์(ร.ฏ.) กล่าวว่า

كل ما له مستند من الشرع فليس ببدعة فلو لم يعمل به السلف

"ทุกๆสิ่งที่มีสิ่งที่อิงถึงหลักศาสนา มันย่อมไม่เป็นบิดอะฮ์(ที่ลุ่มหลง) ถึงแม้นว่า สะลัฟไม่เคยปฏิบัติด้วยกับมันก็ตาม" ดู หนังสือ อิตกอน อัลซ๊อนอะฮ์ ฟี ตะหฺกีก มะอฺนา บิดอะฮ์ ของท่าน มุหัดดิษ ชัยค์ อัลฆุมารีย์ หน้า 14 ตีพิพม์ มัตตักอัลกอฮิเราะฮ์ ปี ฮ.ศ. 1426 - ค.ศ. 2005

al-azhary

.ฟาริดกล่าวว่า

7 ? เมาลิดกำเนิดในอียิปต์สมัยราชวงศ์ฟาติมีย โดยฝีมือของเหล่าชีอะห์

ตอบ

หลักฐานที่ดีที่สุดสำหรับผู้คัดค้านในการแอบอ้างว่า ผู้ริเริ่มทำเมาลิด คือ ราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ ชีอะฮ์อิสมาอีลียะฮ์ โดยยึดคำพูดของท่าน อัลมุกรีซีย์ (เสียชีวิตปี 845 ฮ.ศ.) ในหนังสือ อัลมะวาอิซฺ วะ อัลเอี๊ยะติบาร บิ ซิกร อัลคุฏ๊อฏ วะ อัลอาษาร ซึ่งเป็นหนังสือที่รู้จักกันนาม อัลคุฏ๊อฏ อัลมุกรีซียะฮ์ของเขา ว่า


وكان للخلفاء الفاطميين في طول السنة اعياد ومواسم وهي :
مواسم راس السنة ، وموسم اول العام ، ويوم عاشوراء ، ومولد النبي صلى الله عليه وسلم ، ومولد علي بن ابي طالب رضي الله عنه ، ومولد الحسن ومولد الحسين عليهما السلام ، ومولد فاطمة الزهراء عليهما السلام ، ومولد الخليفة الحاضر ، وليلة اول رجب ، وليلة نصفه ، وليلة اول شعبان ، وليلة نصفه ، وموسم ليلة رمضان ، وغرة رمضان ، وسماط رمضان ، وليلة الختم ، وموسم عيد الفطر وموسم عيد النحر وعيد الغدير ووكسوة الشتاء ، وكسوة الصيف ، وموسم فتح الخليج ، ويوم النوروز ، ويوم الغطاس ، ويوم الميلاد ، وخميس العدس وايام الركوبات

"ในตลอดทั้งปีนั้น บรรดาคอลิฟะฮ์ ได้มีบรรดาวันอีดและเทศกาลต่างๆ คือ เทศกาลต้นปี , เทศกาลวันแรกของปี , วันอาชูรออ์ , เมาลิดนบี(ซ.ล.) , เมาลิดท่านอาลี(ร.ฏ.) , เมาลิดท่านอัลหะซัน , เมาลิดท่านอัลหุซัยน์ , เมาลิดท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ , เมาลิดคอลิฟะฮ์ปัจจุบัน , คืนแรกของเดือนร่อญับ , คืนนิศฟูร่อญับ , คนแรกของเดือนชะบาน , คืนนิสฟูชะอ์บาน , เทศกาลคืนรอมะฏอน , เทศกาลช่วงแรกของรอมะฏอน , เทศกาลปูโต๊ะเลี้ยงอาหารเดือนรอมะฏอน , คืนสุดท้ายร่อมะฏอน , เทศกาลอีดฟิตร์ , เทศกาลอีดอัฏหา , อีดฆ่อดีร , เทศกาลสวมเสื้อฤดูหนาว , เทศกาลสวมเสื้อฤดูร้อน , เทศกาลพิชิตคราบสมุทรอาหรับ , เทศกาลปีใหม่ของเปอร์เซีย , เทศกาลพิธีฉลองการเสด็จลงมาของเยซู , เทศกาลวันคริสต์มาส , เทศกาลค่อมีสอะดัส , เทศกาลบรรดาวันร่อกูบาต" ดู หนังสือ อัลคุต๊อฏ อัลมุกรีซียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 384

ข้อสังเกตุจากคำกล่าวของท่าน อัลมุกรีซีย์

1. จากคำพูดของท่าน อัลมุกรีซีย์ ไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ราชวงศ์ฟาฏิมีย์ คือบุคคลแรกที่ทำการเฉลิมฉลองเมาลิดท่านนบี(ซ.ล.) และคำกล่าวของท่านอัลมุกรีซีย์นั้น ได้พูดแบบรวมๆ ว่าการเฉลิมฉลองเมาลิดนบี(ซ.ล.)นั้น เป็นส่วนหนึ่งจากเทศกาลต่างๆ ที่บรรดาคอลิฟะฮ์ฟาฏิมีย์ให้การควบคุมดูแล แต่ถ้าหากว่าพวกเขาเป็นบุคคลแรกที่ริเริ่มการทำเมาลิดขึ้นมา แน่นอนว่า ท่านอัลมุกรีซีย์ต้องกล่าวออกมาอย่างชัดเจนและชัดถ้อยชัดคำลงไป อย่างเช่นวันอีดนัสร์ عيد النصر (เทศกาลวันแห่งชัยนะ) ในหัวข้อที่ว่า "ในวันที่ 16 เดือนมุหัรรอม คอลิฟะฮ์ อัลหาฟิซฺ ลิดีนิลลาฮ์ ได้จัดการเกี่ยวกับวันอีดนัสร์ เพราะมันเป็นวันที่เขาได้ออกมาจากที่ทำการและได้ปฏิบัติสิ่งที่ได้ถูกปฏิบัติกันเหมือนกับบรรดาวันเทศกาลต่างๆ " ดู หนังสือ อัลคุต๊อฏ อัลมุกรีซียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 385

2. หลักฐานจากคำกล่าวของท่านอัลมุกรีซีย์นั้น เป็นการเพียงนำเสนอแบบทั่วไปๆ สำหรับวันอีดและเทศกาลต่างๆ ที่บรรดาคอลิฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ให้การดูแล ซึ่งไม่ใช่ระบุว่าพวกเขาเป็นบุคคลแรกที่ริเริ่มทำเมาลิดนบีขึ้นมา และส่วนหนึ่งบรรดาวันอีดและเทศกาลต่างๆ ที่ท่านอัลมุริซีย์ได้ระบุไว้ คือบรรดาวันอีดหรือวันเทศกาลของชาวคริสต์ เช่นวันคริสตร์มาส ซึ่งท่านอัลมุกรีซีย์ ได้กล่าวว่า "มันเป็นวันที่ท่านอีซา บุตร พระนางมัรยัม (อะลัยฮัสลาม)ได้ประสูติ ซึ่งชาวคริสต์เอาคืนของวันดังกล่าวเป็นวันเฉลิมฉลองคริสต์มาสและชาวคริสต์อียิปต์ได้ปฏิบัติเฉลิมฉลองในวันที่ 29 และวันเทศกาลพิธีฉลองการเสด็จลงมาของเยซู ซึ่งเป็นวันเทศกาลของชาวคริสต์อียิปต์ได้ฉลองวันในวันที่ 21 และวัน ค่อมีส อัลอะดัส ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากเทศกาลของชาวคริสต์อียิปต์" ดู หนังสือ อัลคุต๊อฏ อัลมุกรีซียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 391

ดังนั้น บรรดาวันอีดและเทศกาลของชาวคริสต์เหล่านี้ เป็นวันที่ราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ได้อุตริและริเริ่มทำขึ้นมาหรือไม่?? ซึ่งเสมือนกับสิ่งที่ผู้อ้างคำกล่าวของท่านอัลมุกรีซีย์มาอ้างเกี่ยวกับเรื่องเมาลิดนบีด้วยกระนั้นหรือ??

3. หลักฐานจากคำกล่าวของท่านอัลมุกรีซีย์นั้น เป็นการเพียงนำเสนอแบบทั่วไปๆ สำหรับวันอีดและเทศกาลต่างๆ ที่บรรดาคอลิฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ให้การดูแล ซึ่งไม่ใช่ระบุว่าพวกเขาเป็นบุคคลแรกที่ริเริ่มทำเมาลิดนบีขึ้นมา และส่วนหนึ่งบรรดาวันอีดและเทศกาลต่างๆ ที่ท่านอัลมุริซีย์ได้ระบุไว้ คือวันอีดิลฟิตร์ และอีดิลอัฏฮา แล้ววันอีดทั้งสองนี้ ราชวงศ์อัลฟาฏิมียะฮ์เป็นผู้ริเริ่มทำขึ้นมาหรือไม่??

ท่านอัลมุกรีซีย์ ได้กล่าวเกี่ยวกับวัน "อีดอัลฆ่อดีร" ว่า "ท่านพึงทราบเถิดว่า วันอีดฆ่อดีรนั้น ไม่ใช่เป็นวันอีดตามหลักการของศาสนา และไม่มีสะลัฟของประชาชาติอิสลามคนใดได้ปฏิบัติกระทำขึ้น และอีดฆ่อดีรนี้ เป็นที่รู้จักครั้งแรกในอิสลาม ที่อิรัก ในสมัยของ มุอิซฺ อัลเดาละฮ์ อาลี บิน บุวัยฮ์ (แห่งราชวงศ์ บุวัยฮ์ชีอะฮ์เปอร์เซีย) ซึ่งเขาได้ริเริ่มทำมันขึ้นมาในปี 352 ฮ.ศ. ตั้งแต่นั้นพวกชีอะฮ์จึงนำมาทำเป็นวันอีดของพวกเขา...จากนั้น อัลมุอิซฺ (ลิดีนิลและฮ์)(กษัตริย์ราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์) รู้สึกประทับใจต่อสิ่งดังกล่าวจากการกระทำของพวกเขา(ที่อิรัก) และวันอีดฆ่อดีรจึงถูกทำขึ้นมาครั้งแรกในอียิปต์!!" ดู หนังสือ อัลคุต๊อฏ อัลมุกรีซียะฮ์ เล่ม 1 หน้า 222 - 223

วิจารณ์

คำตัวบทที่ท่านอัลมุกรีซีย์ได้ระบุไว้นี้ เราจะสังเกตุได้ว่า ราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ ไม่ได้ริเริ่ม อีดอัลฆ่อดีร ขึ้นมา แต่ราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ฉลองวันอีดฆ่อดีรขึ้นมาโดยสือทอดการอุตริกรรมขึ้นมาของพวกมุวัยฮียูนชีอะฮ์เปอร์เซียที่ครองอิรักอยู่ในสมัยนั้น หากเราได้ศึกษาเบื้องหลังประวัติศาสตร์ระหว่างราชวงศ์(ชีอะฮ์)ฟาฏิมีย์และราชวงศ์บุวัยฮียูน(ชีอะฮ์เปอร์เซีย)นั้น จะทราบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น เพราะฉะนั้นหากว่าราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์เป็นผู้ริเริ่มทำเมาลิดนบีขึ้นมานั้น แน่นอน ราชวงศ์บุวัยฮิยูนก็ต้องทำเมาลิดขึ้นมาด้วยที่อิรัก(แบกแดด) แต่ไม่มีตำราประวัติศาสตร์ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์สักเล่มเดียวที่ระบุว่า ราชวงศ์บุวัยฮียูน(ชีอะฮ์เปอร์เซีย) ได้ทำเมาลิดนบี(ซ.ล.) และในทางตรงกันข้าม เราจะพบว่าการฉลองอีดฆ่อดีร ที่พวกอัลบุวัยฮิยูนได้อุตริขึ้นมานั้น ได้สืบทอดกระทำจากแบกแดดไปยังอียิปต์

แต่ตำราประวัติศาสตร์ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้ระบุได้อย่างชัดเจนว่า ท่านชัยค์ อุมัร อัลมุลลา คือบุคคลแรกที่ทำเมาลิดในรูปแบบเฉลิมฉลองขึ้นและกษัตริย์ มุซ๊อฟฟะรุดดีน ได้ปฏิบัติตาม ดังนั้น จึงไม่เป็นที่สงสัยว่า การถ่ายทอดของท่านอัลมุกรีซีย์นั้น ไม่ได้เป็นหลักฐานระบุว่าราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์เป็นบุคคลแรกที่ริเริ่มการทำเมาลิดขึ้นมาได้เลย

ท่าน อัชเชากานีย์ ได้กล่าวถึงท่าน อัลมุกรีซีย์ ไว้ในหนังสือ อัลบัดร์ อัลฏอเลี๊ยะอฺ ในการกล่าวประวัติของท่านอิบนุค๊อลดูน ว่า

"ท่านอิบนุหะญัร กล่าวว่า เป็นที่แปลกใจว่า มิตรสหายของเรา ที่ชื่อ อัลมุกรีซีย์ ได้ให้เกียรติกับท่านอิบนุค๊อลดูนอย่างเลยเถิด เพราะท่านอิบนุค๊อลดูนมั่นใจว่า สายตระกูลของ บนี อะบัยดุดดีน ที่เป็นคอลิฟะฮ์(ฟาฏิมียะฮ์)ที่อียิปต์(ว่าสืบเชื้อสายจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อะลัยฮัสลาม) และบรรดานักปราชญ์ท่านอื่นมีความเห็นขัดแย้งกับท่านอิบนุค๊อลดูน และท่านอัลมุกรีซีย์ทำการคัดค้านบรรดานักปราชญ์ที่ทำการตำหนิเชื้อสายของพวกเขา(ว่าไม่ใช่สืบเชื้อสายจากท่านหญิงฟาฏิมะฮ์)....และท่านอัลมุกริซีย์ได้โน้มเอียงไปยังพวกฟาฏิมียะฮ์ ดังนั้น ท่านอัลมุกรีซีย์ จึงชอบท่านอิบนุค๊อลดูนเพราะเขาได้ยอมรับถึงสายตระกูลของพวกฟาฏิมียะฮ์..." ดู หนังสือ อัลบัดร์ อัลฏอเลี๊ยะอฺ เล่ม 1 หน้า 337 ของท่านอัชเชากานีย์

วิจารณ์

ท่าน อัศศักคอวีย์ ได้ทำการกล่าวประวัติของอัลมุกรีซีย์ ไว้ในหนังสือ อัฏเฏาอุ อัลลาเมี๊ยะอฺ เกี่ยวกับการวิจารณ์ความไร้น้ำหนักจจากหลักการของท่านอัลมุกรีซีย์ ในการทราบถึงความลึกซึ้งต่างๆ ทางประวัติศาสตร์และไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และพร้อมกับสิ่งดังกล่าวนั้น ท่านอัลมุกรีซีย์ได้ยึดคำบอกเล่าจากผู้ที่ไม่ได้รับความเชื่อถือโดยไม่มีการอ้างอิงถึงเลย แม้กระทั่งเรื่องเชื้อสายของพวกฟาฏิมียะฮ์

4. การถ่ายทอดของท่าน อัลมุกริซีย์ ในการกล่าวถึงเรื่องเมาลิดนบีนั้น ย่อมไร้น้ำหนัก เพราะว่าท่านอัลมุกรีซีย์ไม่ได้อยู่ร่วมสมัยกับราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ เพราะท่านอัลมุกรีซีย์เสียชีวิตเมื่อปี 845 ฮ.ศ. และราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์สิ้นสุดเมื่อปี 567 ฮ.ศ. ซึ่งระยะเวลาห่างช่วงกันประมาณ 300 ปี ซึ่งแตกต่างกับการยืนยันของท่าน อิมามอบู ชามะฮ์ ที่กล่าวว่า ท่านชัยค์ อุมัร อัลมุลลา ได้ริเริ่มทำเมาลิดในรูปแบบปัจจุบันเป็นคนแรก เนื่องจากท่านอิมาม อบู ชามะฮ์ อยู่ในสมัยเดียวกับราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ คือท่าน อบู ชามะฮ์ เสียชีวิตในปีที่ 566 ฮ.ศ ซึ่งท่านอบูชามะฮ์มีชีวิตอยู่ร่วมสมัยเดียวกับราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ หลาย 10 ปีด้วยกัน

5. นักประวัติศาสตร์ผู้ได้รับความเชื่อถือที่อยู่ในยุคสมัยก่อนจากท่านอัลมุกรีซีย์ อย่างเช่น ท่านอบูชามะฮ์ (ผู้อยู่ร่วมสมัยของฟาฏิมียะฮ์) ท่านอิบนุกะษีร และท่านอัซซะฮะบีย์ ไม่ได้กล่าวระบุไว้เลยว่า ราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ คือบุคคลแรกที่ริเริ่มทำเมาลิดนบี(ซ.ล.) ขึ้นมา แต่ในทางตรงกันข้าม พวกเขาได้ยืนยันว่าท่านชัยค์ อุมัร อัลมุลลา ได้ริเริ่มทำขึ้นมา และกษัตริย์ อัลมุซ๊อฟฟัร เจ้าแห่งเมืองอิรบิลได้เจริญรอยตาม เพราะฉะนั้น การถ่ายทอดทางประวัติศาสตร์ของท่านอัลมุกรีซีย์จึงแหวกแนวและขัดกับนักประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือมากกว่า

จากสิ่งที่ผมได้นำเสนอมานี้ สามารถสรุปได้ดังนี้

1. ไม่มีตำราประวัติศาสตร์ดั้งเดิม(อัสลีย์)ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์เล่มใด ระบุอย่างชัดเจนว่า กษัตริย์คนใดของราชวงค์ฟาฏิมีย์ เป็นคนแรกที่ริเริ่มทำเมาลิดอย่างเป็นทางการขึ้นมา ?

2. การยกอ้างการทำเมาลิดอย่างเป็นทางการ ไปยังราชวงศ์ฟาฏิมีย์นั้น ไม่มีข้อยืนยันทางประวัติศาสตร์ที่ซอฮิหฺเลยแม้แต่น้อย ?

3. การยืนยันกล่าวอ้างว่า ราชวงศ์ฟาฏิมีย์เป็นบุคคลแรกในการทำเมาลิดนั้น เป็นการกล่าวอ้างที่แวกแนว เนื่องจากเป็นการกล่าวอ้างที่ขัดกับประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนกว่า และขัดกับสิ่งที่เลื่องลือมากกว่าจากบรรดานักปราชญ์ที่เชื่อถือได้ เช่น ท่านอิบนุกะษีร ท่านอัซซะฮะบีย์ และท่านอบูชามะฮ์ อาจารย์ของอิมามอันนะวาวีย์ เป็นต้น

4. การกล่าวอ้างว่า มุอิซลิดีนิลลาฮ์ กษัตร์ราชวงศ์ฟาฏิมีย์ เป็นคนแรกที่ทำเมาลิดนบีอย่างเป็นทางการนั้น ไม่มีตำราฉบับดั้งเดิม(อัศลีย์) ใด ที่ระบุไว้อย่างนั้น ? แต่มีตำราบางเล่มในยุคหลังได้บันทึกอย่างนั้น โดยที่ไม่สามารถอ้างอิงด้วยสายรายงานทางประวัติศาสตร์ที่ซอฮิหฺมายืนยัน และตำรายุคหลังที่ห่างไกลจากยุคฟาฏิมีย์เป็นพันปี ได้บันทึกประวัติศาสตร์การทำเมาลิดของ มุอิซลิดีนิลและฮ์นั้น ได้ใช้หลักการของการเอาตนเองเข้าไปจิตนาการเหมือนกับอยู่ร่วมกับเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์โดยมีการคาดการณ์ว่าสิ่งนั้นน่าจะเกิดอย่างนั้น อย่างนี้ ย่อมไม่ใช่เป็นหลักการรายงานประวัติศาสตร์ตามทัศนะของอิสลาม แต่เป็นหลักการอธิบายประวัติศาสตร์แบบนักบูรพาคดี

5. เราอย่าถูกหลอกด้วยคำกล่าวที่ว่า ชีอะฮ์ ฟาฏิมียะฮ์ คือบุคคลแรกที่ทำเมาลิดนบี(ซ.ล.)
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 06:15 AM »
0
al-azhary

อ.ฟาริดกล่าวว่า

การถือว่าพิธีกรรมเมาลิดเป็นเรื่องศาสนาจึงเป็นการทึกทักเอาเอง

ตอบ

ความจริงแล้วผู้คัดค้านเมาลิดทึกทักเอาเองและไม่มีความเข้าใจ แท้จริง "การรวมตัว"(จัดงาน) กันเพื่อทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี (ซ.ล.)ที่ทรงเกียตรินั้น มันไม่ใช่อื่นใดเลย นอกจากแต่ว่ามันเป็นเรื่อง มุบาหฺ مباح อาดัตธรรมดาทั่วไป العادة เท่านั้นเอง และมันก็ไม่ใช่เรื่องของอิบาดะฮ์ العبادات แต่อย่างใด ดังนั้น ผู้ไม่หวังดีเกี่ยวกับ "การรวมตัว" ทำเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)นั้น ก็อย่าไปแอบอ้างว่า มันเป็นอิบาดะฮ์ العبادة และไปสร้างความเข้าใจผิดกับผู้อื่นว่า มันเป็นอิบาดะฮ์ที่ท่านนบี(ซ.ล.)ไม่เคยทำ และทำการหุกุ่มพี่น้องมุสลิมมีนว่าทำบิดอะฮ์ลุ่มหลง เราหวังว่าท่านผู้อ่านคงแบ่งแยกได้ระหว่าง อาดะฮ์ العادة และ อิบาดะฮ์ العبادة นะครับ

"การรวมตัว"(จัดงาน) เพื่อรำลึกถึงท่านนบี (ซ.ล.)นั้น เป็นเรื่องอาดะฮ์ (ธรรมดา) แต่ว่ามันเป็นส่วนหนึ่งจากอาดะฮ์ที่ดี ที่รวมไว้ซึ่งผลประโยชน์อันมากมายที่ไปกลับไปสู่บรรดาพี่น้องมุสลิมทั้งหลาย หรือกล่าวอีกสำนวนหนึ่งว่า การรวมตัวคือ สื่อหนึ่งอันยิ่งใหญ่ ที่จะเรียกร้องเชิญชวนบรรดามุสลิมีนไปสู่อัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) มันเป็นโอกาสทองที่ไม่สมควรให้มันพ้นผ่านไป แต่ยิ่งไปกว่านั้น มันเป็นความจำเป็นที่บรรดาผู้รู้สมควรทำให้ประชาชนทั่วไปมีการรำลึกถึงท่านนบี (ซ.ล.) ด้วยกับบรรดาแบบอย่างจรรยามารยาทอันสูงส่ง ประวัติศาสตร์ และการดำเนินชีวิตของท่านนบี (ซ.ล.) ดังนั้น การทำเมาลิดไม่ใช่ความการรวมไว้ซึ่งความชั่วตามที่ผู้คัดค้านเข้าใจเลยครับ

ดังนั้น อาดะฮ์ العادة ที่มุบาห์ المباح นี้ผู้กระทำจะได้รับผลบุญต่อเมื่อผู้กระทำมีเจตนาดีและมีองค์ประกอบที่ดีในการกระทำ เช่นมีการอ่านอัลกุรอาน มีการซาลาวาตท่านนบี (ซ.ล.) มีการซิกรุลเลาะฮ์ มีการฟัชีวประวัติของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.)

ท่านอิมามอัศสะยูฏีย์ ได้กล่าวอธิบายคำพูดของท่าน อิบนุ อัลหาจญ์ว่า

وهذا إذا تحقق النظر لا يجتمع مع أول كلامه لأنه حث فيه على زيادة فعل الخير ، وما ذكر معه على وجه الشكر لله تعالى ، إذ أوجد فى هذا الشهر الشريف سيد المرسلين وهذا معنى نية المولد

"เมื่อการพิจารณาได้ทำการวิเคราะห์ คำกล่าวนี้ก็จะไม่สามารถนำร่วมกับคำพูดของท่านอิบนุอัลหาจญ์ในตอนแรกได้ เนื่องจากว่า ท่านอิบนุ อัลหาจญ์นั้น ได้ส่งเสริมในเดือนร่อบิอุลเอาวัลให้เพิ่มพูนการกระทำความดีงาม และพร้อมกับสิ่งที่ท่านอิบนุอัลหาจญ์ได้กล่าวนั้น เพื่อทำการชุโกรกตัญญูรู้คุณต่ออัลเลาะฮ์ ตะอาลา เพราะว่าเจ้านายแห่งบรรดาศาสนทูต(ซ.ล.) ได้ประสูติขึ้นมาในเดือนรอบิอุลเอาวัลที่มีเกียรตินี้ และนี้ก็คือความหมายของการเหนียตทำเมาลิด

จากนั้นอีก 2 บรรทัด ท่านอิมามอัศสะยูฏีย์ได้กล่าวว่า

إذ لا عمل الا بنية ولا نية هنا الا الشكر لله تعالى ولادة هذا النبى الكريم فى هذا الشهر الشريف ، وهذا معنى نية المولد فهى نية مستحسنة بلا شك فتأمل

"เนื่องจากว่า ไม่มีการปฏิบัติ นอกจากด้วยการเหนียต และการเหนียตใน ณ ที่นี้(คือการทำเมาลิด) ไม่ใช่อื่นใดเลย นอกจากการ ชุโกรกตัญญูรู้คุณต่ออัลเลาะฮ์ ตะอาลา กับการประสูติของท่านนบีผู้ทรงเกียรติในเดือนร่อบิอุลเอาวัลที่มีเกียรตินี้ และนี่ก็คือความหมายของการเหนียตทำเมาลิด ซึ่งมันเป็นการเหนียตเจตนาที่นับว่าดีโดยไม่ต้องสงสัยเลย ดังนั้น ท่านโปรดพิจารณา" โปรดดู หนังสือ อัลหาวีย์ ลิลฟาตาวา ของท่านอิมามอัศศะยูฏีย์ ในเล่ม 1 หน้าที่ 227 - 228 วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การเสวนาเรื่องเมาลิดรำลึกถึงท่านนบี(ซ.ล.)
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ก.พ. 09, 2007, 06:26 AM »
0
asan

ข้อความโดย: al-azhary
คำว่า السماع ไม่ใช่แปลว่า "ชื่อเสียง" แต่แปลว่า "การสดับรับฟังเสียงดนตรี" เพราะที่ท่านอิบนุ อัลหาจญ์ได้ทำการตำหนิเมาลิดนั้น เพราะว่ามีสิ่งที่หะรอมรวมอยู่ด้วย
ตอบ

อย่าเฉครับ คำว่าالسماع หมายถึง ทำเพื่อชื่อเสียง และการทำเพื่อชื่อเสียงนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งจาก สิ่งหะรอม

ออ..เห็นไม่ตอบ ด้วยที่ถามไปว่า "อิหม่ามนะวาวียจัดเมาลิดแบบสวนอัมภร หรือ ต่อ อีกนิด การจัดเมาอย่าใหญ่โต ด้วยงบประมาณมากมาย ทำเพื่อชื่อเสียง หรือ เพื่ออัลลอฮครับ แสดงความเห็นมาด้วย

.....................

ข้อความโดย: al-azhary
การที่ท่านอิมามอัซซุยูฏีย์เขียนหนังสือ حسن المقصد في عمل المولد โดยมีการตอบโต้อัลฟากิฮานีย์"

หนังสือเล่มนี้ ได้ถูกตีพิมพ์เป็นเล่มที่เป็นเอกเทศน์ และหนังสือเล่มนี้ได้กล่าวรวมไว้ในหนังสือ الحاوى للفتاوى ของท่านอิมามอัศศะยูฏีย์ด้วย และหนังสือดังกล่าวที่คุร aswar เอ่ยถึงนั้น พี่น้องบางท่านอาจจะไม่เคยอ่าน แต่เราจะทำการแปลออกมาเป็นภาษาไทยเพื่อให้พี่น้องได้ศึกษากันครับ อินชาอัลเลาะฮ์ โดยใช้ชื่อว่า
حسن المقصد في عمل المولد

"เป้าหมายที่ดี ในการทำเมาลิดนบี


................
เราขอกล่าวว่า

HAPPY BIDAH TO YOU HAPPYBIDAH TO YOU HAPPY BIDAH TO YOU

.............
วางแผงเมื่อไหร่ แจ้ง ให้ทราบด้วยจักขอบพระคุณยิ่ง

al-azhary

อ้างอิงจากบังอะสัน

อย่าเฉครับ คำว่าالسماع หมายถึง ทำเพื่อชื่อเสียง และการทำเพื่อชื่อเสียงนั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งจาก สิ่งหะรอม

ตอบ

ซุบหานัลลอฮ์!! บังอะสันเป็นเอามาก ที่ดันทุรังว่า "คำว่าالسماع หมายถึง ทำเพื่อชื่อเสียง" ทั้งที่จริงแล้วหากหมายถึงชื่อเสียงนั้น ต้องใช้คำว่า " سمعة " ไม่ใช่ السماع และคำว่า السماع นี้ ท่านอิบนุ อัลหาจญ์ได้กล่าวไว้หมด 4 ที่ด้วยกัน คือ

หนึ่ง مما جعلوه ألة للسماع "จากสิ่งที่พวกเขาได้นำมาเป็นเครื่องมือ(เครื่องดนตรี)เพื่อสะดับรับฟัง"

สอง لا شك أن السماع فى غير هذه الليلة "ไม่ต้องสงสัยว่า การสดับรับฟัง(เครื่องดนตรี)ในอื่นจากคืนนี้(คืนเมาลิด)

สาม فألة الطرب والسماع "ดังนั้น เครื่องตีและเครื่องดนตรีฟัง"

สี่ إذا عمل بالسماع "เมื่อเมาลิดถูกขึ้นด้วยการสดับฟัง(เครื่องตรี)"

หรือจะแปลเหมือนบังอะสันว่า "เมื่อเมาลิดถึงทำขึ้นมาด้วยชื่อเสียง"??

anas

คุณหะสันครับ

ผมก็ขอยืนยันเช่นเดียวกับน้อง ซุฟียาน ว่าคำตอบหรือคำวินิจฉัยของท่านอีหม่ามนาวาวีย์และท่านอีหม่ามสูยูตี และบรรดาฯลฯผู้รู้ในยุคนั้น น่าเชื่อถือมากกว่าอาจารย์ฟารีด เฟ็นดี้ และผู้รู้ในทัศนะของคุณหะสันครับ..


....................
คุณ anas ครับคุณพูดแก้ตัวมากกว่า คุณลองไปถามชาวบ้านดู คุณจะพบว่าเขาถือว่า เป็น อิบาดะฮในศาสนา ที่พวกเขาทำทุกปี ..

ตอบ..ชาวบ้านคนเดียวกันหรือปล่าวครับ และทุกคนไหมครับแถวไหนครับที่มีเงินทำทุกปี ที่คุฯหะสันกล่าวหาเขานะครับ ยกหลักฐานมาด้วย และเราขอยืนยันว่า ไม่มีใครบังคับให้พี่น้องคนไหนต้องทำเมาลิดทุกคนและทุกปีครับเพราะไม่มบัญญัติเป็น ฟรัดูและสุนัติ แต่เราบอกว่า ศาสนายินนอมให้กระทำได้...
คุณหะสัน เลิกใส่ร้ายเราเถิดครับ เราไมได้พูดเลยว่า ศาสนารับรองในการกระทำเมาลิด แต่เราเพียงบอกว่า เป็นแค่อนุญาตเท่านั้น..
อิบนุ้ลหาจญ อัลมาลิกี(1060-1128/1129ﻫ )กล่าวว่า


ومن جملة ما أحدثوه من البدع مع اعتقادهم أن ذلك من أكبر العبادات وإظهار الشعائر ما يفعلونه في شهر ربيع الأول من المولد
وقداحتوى ذلك على البدع ومحرمات

และประมวล สิ่งที่พวกเขาอุตริขึ้นมาใหม่จากบิดอะฮ พร้อมกับพวกเขาเชื่อว่า ดังกล่าวนั้น เป็นส่วนหนึ่งมาจากอิบาดะฮที่ยิ่งใหญ่ และเป็นการแสดงออกซึ่งสัญลักษณ์ของศาสนา คือ สิ่งที่พวกเขาได้กระทำ ในเดือนเราะบีอุ้ลเอาวัล จากการทำเมาลิด และแท้จริง ดังกล่าวนั้น ประกอบไปด้วยบิดอะฮและสิ่งที่ต้องห้าม - อัลมัดคอ็ล เล่ม 2 หน้า 3

และท่านอิบนุ้ลหาจญ อัลมาลิกี กล่าวต่อไปอีกว่า

وهذه المفاسد مركبة على فعل المولد إذا عمل بالسّماع، فإن خلا منه وعمل طعاماً فقط ونوى به المولد، ودعا إليه الإخوان، وسَلِم من كل ما تقدم ذكره فهو بدعة بنفس نيته فقط، إذ أن ذلك زيادة في الدين، وليس من عمل السلف الماضين...

และนี้คือ สิ่งที่เป็นเหตุให้เกิดความเสี่อมเสีย ที่ถูกประกอบไปด้วย การทำเมาลิด เมื่อเขาทำ เพื่อชื่อเสียง แล้วถ้าปราศจากมัน(คือไม่หวังชื่อเสียง)และเพียงแต่ทำอาหาร และเนียตทำเมาลิด และเชิญบรรดาญาติพี่น้องมาร่วม และปราศจากทุกสิ่งทีกล่าวมา(เช่นสิ่งต้องห้ามและเพื่อชื่อเสียง) มันก็คือ บิดอะฮ ในตัวของการเนียตเท่านั้น เพราะดังกล่าวนั้น คือ การเพิ่มเติมในศาสนา และไม่ใช่การกระทำของชาวสะลัฟที่ผ่านมา - จากหนังสือที่ระบุแล้ว

ตอบ พี่น้องครับนี่แหละความเห็นของผู้รู้ในวะฮาบีย์ที่มีความเห็นกับผู้ต่างทัศนะ นะครับ

คุณหะสันกล่าวว่า..

คุณ anas บอกว่าตามอิหม่ามนะวาวีย์ ผมอยากถามว่า อิหม่ามนะวาวีย์จัดเมาลิดแบบที่สวนอัมพรหรือเปล่า..

ถามอะไรกันแบบนี้น่าเกลียดจัง...สำหรับเราการจัดเมาลิดที่พูดถึงคือที่บ้านและมัสยิดเท่านั้น...

คุณหะสันครับ

คำสอนของท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ที่ว่า

((لا تطروني كما أطرت النصارى ابن مريم، فإنما أنا عبد، فقولوا: عبد الله ورسوله)) أخرجه البخاري

พวกท่านอย่ายกย่องสรรเสริญฉัน ดังเช่น พวกนัศรอนีย์ ยกย่องสรรเสริญ (เยซู)บุตรมัรยัม เพราะความจริง ฉันคือ บาวของอัลลอฮ ดังนั้น พวกท่านจงกล่าวว่า" (เป็น)บ่าวของอัลลอฮและรอซูลของพระองค์ - บันทึกโดยบุคอรี

ตอบเราก็ไม่เข้าใจว่า ทำไม ทัศนะใหม่ของบังจึงเปรียบเทียบการรำลึกถึงท่านนบีของเรา เช่นเดียวกับ การยกย่องสรรเสริญ เช่นพวกนัศริอนีย์และยะฮูดี
ถ้าเช่นนั้น เราก็อยากให้คุณหะสันนำหลักฐานและขั้นตอนรวมทั้งพิธีกรรมจากพวกนัศรอนีย์และยะฮูดีมาให้เราด้วยครับ..เพราะจะให้พี่น้องที่คล้อยตามทัศนะใหม่ของบังจะได้เข้าใจไปพร้อมๆกัน


อ๋อแล้วอย่าลืม คำตอบให้คุณอัลอัชฮารีย์และคุณนุรุ้ลอิสลามด้วยละ..เห็นถามมาหลายข้อแล้วเมื่อไหร่จะตอบเสียที..
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged