al-azhary
คุณอานัสครับ กรณีทัศนะของท่าน อิบนุ อัลหาจญ์ นั้น ท่านไม่ได้ปฏิเสธพื้นฐานการทำเมาลิดท่านนบี(ซ.ล.) แต่ท่านปฏิเสธกรณีที่มีสิ่งหะรอมเข้ามาประกอบในการทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.)เท่านั้นเอง ดังที่ผมได้นำเสนอรายละเอียดจากคำพูดและทัศนะของท่านอิบนุอัลหาจญ์ไปแล้วนะครับ
การที่ผู้คัดค้านเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.) โดยอ้างอิงคำพูดบางตอนหรือคำพูดแบบตัดตอนโดยปิดบังอีกบางส่วนจากคำพูดของท่านอิบนุอัลหาจญ์นั้น ถือว่าผู้คัดค้านไม่เป็นธรรมและไม่มีอะมานะฮ์ในการอ้างอิงทัศนะของปวงปราชญ์นะครับ
ส่วนกรณีที่มีคำถามว่า ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้ทำเมาลิดแบบสวนอัมพรหรือไม่นั้น จริงๆ แล้วเราก็ไม่ต้องตอบก็ได้ หากผู้ถามเข้าใจสิ่งที่เราได้สนทนานำเสนอไปแล้ว การทำเมาลิดรำลึกท่านนบี(ซ.ล.)นั้น แก่นแท้หรือเจตนาในการกระทำย่อมมีอยู่ในการทำเมาลิด แต่รู้แบบอาจจะแตกต่างกันไป ซึ่งกรณีนี้ผมได้ตอบไปแล้ว ดังนี้
ท่าน อิมาม อัซซัยยิด มุหัมมัด บิน อะละวีย์ อัลมาลิกีย์ อัลหะสะนีย์ (ร.ฮ.) ตอบว่า
การเฉลิมฉลองเมาลิด หมายถึง "การแสดงความยินดี การชูโกรในเนี๊ยะมัตที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานให้ ด้วยการกระทำความดีงาม" นั่นคือความหมายของการเฉลิมฉลองใน ณ ที่นี้ ดังนั้น การเฉลิมฉลอง ด้วยการชุโกรเนี๊ยะมัตที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานอัลกุรอานมาให้นั้น ย่อมมีรูปแบบที่ต่างกันออกไปที่ไม่เคยมีในสมัยท่านนบี(ซ.ล.)มาก่อน โดยที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลุลเลาะฮ์ ไม่ได้สั่งให้กระทำเอาไว้
ส่วนหลักการวินิจฉัยนั้น มีประเด็นมากมาย ที่หลักการพื้นฐานของมันได้ระบุเอาไว้ตามหลักของศาสนา แต่วิธีการนั้น ถูกมอบให้กับประชาชาติอิสลามทำการวินิจฉัยได้ อย่างเช่น เรื่องของอัลกุรอาน ซึ่งไม่มีผู้ใดคัดค้านในเรื่องของความดีงามและความประเสริฐของการท่องจำ การเรียน การสอนและเผยแพร่อัลกุรอาน
แต่วิธีการสอน การท่องจำ การเรียน และการเผยแพร่อัลกุรอานนั้น มันมีรูปแบบและวิธีการต่างกันหรือไม่? และอย่างไร?
คำตอบก็คือ ให้ผู้อ่านพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ท่านผู้อ่านจะเห็นและทราบว่า วิธีการสอน การเรียน และการเผยแพร่อัลกุรอานนั้น มีอยู่ในทั้งรูปแบบของ โรงเรียน หรือ มหาวิทยาลัย มีคณะอัลกุรอาน มีสมาคมสอนอัลกุรอาน มีการแข่งขันอ่านอัลกุรอาน ท่องจำอัลกุรอาน มีการมอบรางวัลให้กับผู้ท่องจำอัลกุรอาน มีประกาศนียบัตรให้กับผู้สำเร็จในหลักสูตรวิชาอัลกุรอาน และมีการสัมมนาเกี่ยวกับการเรียนการสอนและความสำคัญของอัลกุรอาน มีการบันทึกอัลกุรอานในรูปแบบ เทป หรือ ซีดี มีการเผยแพร่อัลกุรอาน ที่อยู่ในรูปแบบของโรงพิมพ์ มีการตีพิมพ์อัลกุรอานที่มีสีสันเน้นคำตัจญวีด มีการทำเล่มที่มีหลากหลายรูปแบบ และบางทีการเผยแพร่อัลกุรอานที่อยู่ในรูปแบบของสมาคมนักกอรีย์ เป็นต้น ดังนั้น รูปแบบต่างๆ เหล่านี้ มีอยู่ในสมัยของท่านนบี(ซ.ล.)หรือไม่?? ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาครับ " ดู หนังสือ เฮาล่า อัลอิหฺติฟาล บิซิกรอ อัลเมาลิด อันนะบะวีย์ หน้า 19 - 20 วัลลอฮุอะลัม
anas
อัสลามมูอ่ลัยกุ้มฯคุณอัลอัชฮารีย์..(บัณฑิดจากอัซฮัร..)
ครับ..เราเข้าใจเช่นเดียวกันครับ..แต่ผู้คัดค้านหาว่าเราลอกเลียนแบบการกระทำแลลนัสรอนีย์และยะฮุดี ตามความเข้าใจของผู้รู้บางคนที่สอนเขานี้ซิครับ..เขาเลยยึดตามคำสอนนั้น แล้วมาสร้างฟิตนะและความแตกแยกในที่สุด..คุณออัชฮารีย์มีความเห็นเช่นใดบ้างในเรื่องนี้ครับ..ที่จะแนะนำ..ให้พี่น้องของเราได้รู้เขารู้เรานะครับ...ขอหน่อยๆๆๆ
al-azhary
คุณอานัสครับ
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته
หลักการเปรียบเทียบ(กิยาส)นั้น ฝ่ายค้านมักจะให้การปฏิเสธ แต่ก็แปลก ซึ่งหากว่าการเปรียบเทียบ(กิยาส)นั้น เห็นชอบด้วยความคิดของพวกเขา ก็มักจะนำมาใช้เพื่อโจมตีแนวทางอื่น คือการกิยาส(เปรียบเทียบ)ในการกระทำความดีนั้น พวกเขาต่อต้านครับ แต่หากเอาไปกิยาส(เปรียบเทียบ) กับแนวทางที่ชั่ว อย่างเช่นแนวทางของพวกนะซอรอและยาฮูดีย์นั้น พวกเขาจะนำหลักการกิยาส(เปรียบเทียบ)มาใช้ เพื่อโจมตีและสร้างฟิตนะฮ์กับพี่น้องมุสลิมีน หรือว่าการกิยาส(เปรียบเทียบ) ไม่สามารถสามารถนำมาใช่กับแนวทางอื่น นอกจากแนวทางของพวกเขาเท่านั้น ที่สามารถนำมาใช้ได้ในยามที่ตนเองต้องการ??!! ซึ่งมันน่าคิดอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ วัลลอฮุอะลัม
والسلام