ประะวัติโดยสังเขปของ ชัยคฺดาวุด อัลฟะฏอนีย์- ชัยคฺดาวุด อัลฟะฏอนีย์ มีชื่อเต็มว่า หะยีวันดาวุด บินวันอับดุลลอฮฺ บินวันอิดริส อัลยาวีย์ อัลฟะฏอนีย์อัลมลายูวีย์
- เกิดวันที่ 1 มุฮัรรอม ปี ฮ.ศ. 1184 ซึ่งตรงกับวันที่ 7 พฤษภาคม คศ.1769 หรือพ.ศ.2312 ณ บ้านปาเร็ต คลองกรือเซะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
- มีบิดาชื่อวันอับดุลลอฮฺ บินวันอิดริส มารดาชื่อวันฟาฏิมะฮฺ
- ท่านสิ้นชีพวันที่22 เดือนรอญับ ปีฮ.ศฺ 1263 ซึ่งตรงกับวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ.1847 หรือพ.ศ.2390
- รวมอายุ 78 ปี
การศึกษา แรกเริ่มท่านศึกษาหาความรู้ด้านอิสลามศึกษากับพ่อและลุงของท่านคือชัยคฺศอฟียุดดีนเป็นเวลา 5 ปีที่ปัตตานี หลังจากนั้น เมื่อท่าน
อายุ 16ปี ท่านเดินทางไปศึกษาต่อ ณ อาเจะห์ ประเทศอินโดนีเซียเป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นเมื่อท่านอายุครบ 18 ปีท่านเดินทางไปศึกษาต่อ
ณ เมืองมักกะฮฺ เป็นเวลา 30 ปี และเดินไปศึกษาต่ออีก 5 ปี ณ เมืองมะดีนะฮฺ ประเทศซาอุดิอารเบีย
บทบาทด้านวิชาการและสังคม ในขณะที่ท่านอยู่มักกะฮ ประเทศซาอุดิอารเบีย 30 ปีระหว่างเรียนหนังสือท่านได้ใช้ความรู้ความสามารถของท่าน สอนหนังสือในมัสยิด
อัลหะรอม รวมทั้งแต่งและแปลตำราต่างๆมากมายเกือบ 100 เล่มมีทั้งภาษามลายูอักษรยาวีและอาหรับ ตำราที่ได้รับการยอมรับและยังเป็นตำราที่
สอนอยู่ในสถาบันปอเนาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้และประเทศอาเซี่ยน เช่น
1. หนังสือKifayatulmuhtaj
2. Idhahullubab
3. Ghayatultaghrib
4. Nahjulraghib
5. Bulughulmuram
6. Ghayatulmuram
7. Addaruthamin
8. Khasfulghimmah
9. Jamulfawaid
10. Kanzulminan
11. Minhajabidin
12. Maniyatulmusoli
13. Hidayatulmutaallim
14. Agdatuljawahir
15. Wardulzawahir
16. Fathulminan
17. Muzakaratulikhwan
18. Jawahirussuniah
19.Sulamubtadi
20. Furuulmasail
21. Albahjatulussuniah
22. Albahjatulwardiah
23. Albahjatulmardhiah
24. Bughyatuttullab
25. Dhiyatulmurid
26. Asoid wazabaih
27. Irshadulathfal
28. Ishrunnusifatillahiah
29. Siratunnabi Yusuf
30. Hikaturrijalassolihin min Baniisrail
31. Bashairrilikhwan
32. Bab Nikah
33. Risalatussail
34. Jihayatuttuktub
35. Alkurbat ilallah
36. Risalah tataalak Bikalimatuliman
37. Bidayatulhidayah
38. Tambihulghafilin
39. Bayanulahkam
40. Tuhfaturaghibin
การสอนหนังสือของท่านก็จะมีนักเรียนนักศึกษาจากประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปินส์ กัมพูชา นักศึกษาเหล่านั้น
ส่วนหนึ่งกลับประเทศของตนได้มาเปิดสถาบันการศึกษา เป็นผู้นำชุมชน และใช้ความรู้ความสามารถอบรม สั่งสอนชุมชนของตนต่อๆ กันมา
จวบจนปัจจุบัน
ไม่เพียงแต่ท่านมีผลงานทางวิชาการเท่านั้นแต่ด้วยความเป็นคนที่มีภาวะผู้นำสูงในช่วงทำพิธีฮัจญ์นั้นท่านยังอุทิศเวลาของท่านบริการ
ดูแลผู้ที่ไปทำฮัจญ์จากประเทศไทยและอาเซียน
นี่คือประวัติและบทบาทของท่านโดยสังเขปซึ่งสอดคล้องกับวจนะของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ที่ได้กล่าวถึงความประเสริฐของบรรดาอุลามะอฺ
ว่าเปรียบเสมือนผู้รับมรดกของบรรดานบี (ศาสดาทั้งหลาย) หรือได้กล่าวเปรียบเทียบฐานะภาพของอุลามะอฺ ที่สูงส่งกว่า นักพรต นักบำเพ็ญตน
ปลีกวิเวก อุปมาดั่งดวงจันทร์วันเพ็ญที่ทอแสงเจิดจ้าโดดเด่นกว่าดวงดาวทั้งหลาย
และสอดคล้องกับคำกล่าวของ คอลีฟะห์ (คาหลิบ) ท่านที่ ๔ แห่งอิสลามคือ ท่านอาลี บินอบีฎอลิบ (รอฏิยัลลอฮุอันฮฺ) ได้ถูกตั้งคำถาม
จากสหายคนหนึ่งว่า "ใครคือผู้ที่ดีที่สุดในงานสร้างของพระผู้เป็นเจ้าภายหลังท่านศาสดา" ท่านอาลีได้ตอบว่า "นักปราชญ์ หรือผู้รู้ทางศาสนา
เมื่อเขาเที่ยงธรรม"
วันนี้สังคมมุสลิมในจังหวัดชายแดนใต้และอาเซียนเป็นหนี้บุญคุณท่านดังนั้นการรำลึกถึงวันเกิดและชีวประวัติของชัยคฺดาวุด
(ถึงแม้หลายคนอาจจะไม่รู้) น่าจะทำให้มุสลิมใต้รู้สึกปลาบปลื้มปิติยินดีและภูมิใจในตัวท่านที่เป็นคนปัตตานีและชายแดนใต้ การรำลึกถึงการมา
ของปราชญ์ของอาเซียนที่มาพร้อมกับรูปแบบการนำเสนอหลักธรรม คำสอน และแบบฉบับอันดีงามในการดำเนินชีวิตตามพระบัญชาของอัลลอฮเจ้า
มา เป็นบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิตของมุสลิมใต้และอาเซียนเป็นสิ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์ยิ่ง
ที่สำคัญสำหรับนักวิจัยทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยควรนำชีวประวัติและผลงานของท่านโดยเฉพาะตำราเก่าๆของท่านซึ่งจะเกิดคุณูประการ
ต่อชนรุ่นหลังต่อไปในอนาคต