ผู้เขียนกล่าวว่า 1. อับดุร-เราะหมาน บุตร อับดิ้ลกอรี ได้เล่าว่า
خرجت مع عمر بن الخطاب ليلة في رمضان إلى المسجد ، فإذا الناس أوزاع متفرقون ، يصلي الرجل لنفسه ، ويصلي الرجل فيصلي بصلاته الرّهط ، فقال : والله إني لأرى لو جمعت هؤلاء على قارئ واحد لكان أمثل ، ثم عزم ، فجمعهم على أبيّ بن كعب ، قال : ثم خرجت معه ليلة أخرى ، والناس يصلون بصلاة قارئهم ، فقال : عمر ، نعمت البدعة هذه ، والتي ينامون عنها أفضل من التي يقومون - يريد آخر الليل - وكان الناس يقومون أوله "
คืนหนึ่งของเดือนเราะมะฏอน ข้าพเจ้าได้ออกไปมัสญิด พร้อมกับท่านอุมัร บุตร อัลคอฏฏอบ แล้วปรากฏว่า บรรดาผู้คนในขณะนั้นอยู่ใน
สภาพที่กระจัดกระจาย (ไม่ได้ละหมาดร่วมกัน แต่ต่างทำหรือต่างกลุ่มต่างทำ) บ้างก็ละหมาดคนเดียว,บ้างก็ละหมาดแล้วมีกลุ่มคนมาละหมาด
ตามหลัง แล้วท่านอุมัรก็กล่าวว่า
“ขอสาบานด้วยพระนามของอัลลอฮ,ข้าพเจ้าเห็นว่า หากข้าพเจ้ารวมคนเหล่านี้ ให้มาละหมาดตามอิหม่ามคนเดียวคงจะประเสริฐยิ่งกว่า
หลังจากนั้น ท่านได้ตั้งใจที่จะกระทำเช่นนั้น แล้วท่านก็ได้รวบรวมให้พวกเขาละหมาดตาม อุบัย บุตร กะอับ เขา (อับดุรเราะหมาน)ได้กล่าวต่อไปว่า
หลังจากนั้นในอีกคืนหนึ่ง ข้าพเจ้าได้ออกไปพร้อมกับท่านอุมัร โดยที่บรรดาผู้คนกำลังละหมาดร่วมกัน ตามหลังอิหม่ามของพวกเขา, แล้ว
ท่านอุมัรได้กล่าวขึ้นว่า “ นี้ช่างเป็น บิดอะฮ(การริ่เริ่ม)ที่ดีแท้” และบรรดาผู้ที่ละหมาด(ญะมาอะฮ)ในช่วงต้นของกลางคืนแล้วนอนย่อมประเสริฐกว่า
พวกเขานอนหลับแล้วตื่นขึ้นมาละหมาดนี้คนเดียว
- หมายถึงช่วงท้ายของกลางคืน
- โดยที่บรรดาผู้คนได้ละหมาดนี้ในช่วงต้นของกลางคืนนั้นแล้ว
- หะดิษบันทึกโดย อัลบุคอรีและท่านอื่นๆ
.................................................
วิจารณ์
หะดิษข้างต้น ไม่สามารถที่จะเอามาอ้างเป็นหลักฐานได้ว่าในศาสนานั้น มีบิดอะฮฺหะสะนะฮหรือบิดอะฮที่ดี เพราะเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การกระทำของท่านอุมัร บุตร อัลคอฏฏ็อบ ในการรวบรวมผู้คนให้มาละหมาดตะรอเวียะร่วมกัน (ญะมาอะฮ) โดย ให้ตามอิหมามคนเดียวกันนั้น
ไม่ได้เป็นสิ่งที่มีขึ้นมาใหม่ โดยการอุตริของท่านอุมัร เพราะสิ่งนี้ได้มีแบบอย่าง(สุนนะฮฺ) ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ทำเป็นแบบ
อย่างไว้แล้ว ดังหะดิษอบีซัรริน กล่าวว่า
صمنا مع رسول الله صلى الله عليه وسلم رمضان ، فلم يقم بنا شيئاً من الشهر حتى بقي سبع فقام بنا حتى ذهب ثلث الليل ، فلما كانت السادسة لم يقم بنا ، فلما كانت الخامسة قام بنا حتى ذهب شطر الليل ، فقلت : يا رسول الله ! لو نفّلتنا قيام هذه الليلة ، فقال : " إن الرجل إذا صلى مع الإمام حتى ينصرف حسب له قيام ليلة " فلما كانت الرابعة لم يقم ، فلما كانت الثالثة جمع أهله ونساءه والناس ، فقام بنا حتى خشينا أن يفوتنا الفلاح ، قال : قلت : وما الفلاح ؟ قال : السحور ، ثم لم يقم بنا بقية الشهر ) حديث صحيح ، أخرجه أصحاب السنن
"พวกเราได้ถือศีลอดเดือนเราะมะฎอน ร่วมกับท่านร่อซูลุลอฮ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ซึ่งในช่วงต้นๆ(ของเดือน) ท่านไม่ได้นำ
ละหมาดพวกเราเลยสักคืนจากเดือนนั้น จนกระทั้งเหลือเจ็ดคืน แล้วท่านได้นำละหมาดพวกเรา จนกระทั้งผ่านไปหนึ่งในสามของกลางคืน แล้ว
ปรากฏว่าในคืนที่หก (นับจากคืนสุดท้าย) ท่านไม่ได้นำละหมาดพวกเรา แล้วในคืนที่ห้า ท่านได้นำละหมาดพวกเรา จนกระทั้งผ่านไปครึ่งคืน แล้ว
ข้าพเจ้ากล่าวกับท่านรซูลว่า ”โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮ ถ้าพวกเราอาสาจะลุกขึ้นละหมาดในคืนเหล่านี้(คืนที่เหลือ)จะดีไหม แล้วท่านได้กล่าวตอบว่า
“แท้จริงคนใดเมื่อเขาได้ละหมาดพร้อมกับอิหม่ามจนกระทั้งเสร็จ เขาจะได้รับการตอบแทนเท่ากับละหมาดทั้งคืน แล้วในคืนที่สี่ ท่านไม่ได้นำ
ละหมาดพวกเรา แล้วเมื่อเหลืออีกสามคืน ท่านได้ชุมนุมครอบครัวของท่าน บรรดาภรรยาของท่านและบรรดาผู้คน แล้วท่านได้นำละหมาดพวกเรา
จนกระทั้งพวกเราเกรงว่าจะพลาด อัล-ฟัลลาห เขา(อบูซัร)กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้กล่าวว่า “อัล-ฟัลลาหนั้นคือ อะไร ท่านได้ตอบว่า คือ การ
รับประทานสะหูร แล้วคืนที่เหลือในเดือนนั้น ท่านก็ไม่ได้ละหมาดนำพวกเราเลย
- หะดิษเศาะเหียะ รายงานโดยเจ้าของสุนัน
........................
ส่วนที่ท่านไม่ได้ออกมาละหมาดนำเหล่าเศาะหาบะฮนั้น ต่อมาท่านก็บอกเหตุผลแล้วว่า เกรงจะเป็นฟัรดู แต่ท่านก็ส่งเสริมให้สาวกกระทำ
อย่างนี้จะเรียก บิดอะฮได้อย่างไร
ท่านอบูชามะฮฺ (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า
وأما قول عمر رضي الله عنه: "نعمت البدعة هذه"[رواه البخاري في "صحيحه" (2/252)
من حديث
عبد الرحمن بن عبد القاري]؛ فالمراد بذلك البدعة اللغوية لا البدعة الشرعية؛ لأن عمر قال ذلك بمناسبة جمعه الناس على إمام واحد في صلاة التراويح، وصلاة التراويح جماعة قد شرعها الرسول صلى الله عليه وسلم ؛ حيث صلاها بأصحابه ليالي، ثم تخلف عنهم خشية أن تفرض عليهم[انظر: "صحيح البخاري" (2/252)
สำหรับคำพูดของท่านอุมัร ว่า "นี้คือ บิดอะฮที่ดีนั้น หมายถึง บิดอะฮฺในทางภาษา ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา เพราะท่านอุมัรกล่าว
เช่นนั้น เพื่อความเหมะสม โดยให้ผู้คนมาร่วมละหมาดตะรอเวียะภายใต้อิหม่ามคนเดียวกัน โดยที่ละหมาดตะรอเวียะญะมาอะฮนั้น ท่านรซูลุลลอฮฺ
ได้มีบัญญัติมันแล้ว โดยท่านได้ละหมาดกับเหล่าสาวกของท่าน หลายคืน ต่อมาท่านได้ทิ้งพวกเขาให้รอ (โดยไม่ออกมาร่วมละหมาด)เพราะ
เกรงว่า มันจะถูกบัญญัติให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขา
วิจารณ์ผมไม่เห็นมีข้อความใดที่ค้านเรื่องบิดอะฮ์ฮะสะนะฮ์สักนิดเดียว ผมจึงแปลกใจว่าผู้เขียนต้องการเน้นเจาะจงตรงใหนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในการแยกแยะประเด็น โดยผู้เขียนยกหลักฐานเรื่องละหมาดตะรอวิห์และคำกล่าวของท่านอุมัร แล้วจบสรุปประเด็นด้วยคำพูดของท่าน อิมาม อบู ชามะฮ์ ว่า
"สำหรับคำพูดของท่านอุมัร ว่า "นี้คือ
บิดอะฮที่ดีนั้น หมายถึง บิดอะฮฺในทางภาษา 
ไม่ใช่บิดอะฮในทางศาสนา เพราะท่านอุมัรกล่าว
เช่นนั้น เพื่อความเหมะสม โดยให้ผู้คนมาร่วมละหมาดตะรอเวียะภายใต้อิหม่ามคนเดียวกัน โดยที่ละหมาดตะรอเวียะญะมาอะฮนั้น ท่านรซูลุลลอฮฺ
ได้มีบัญญัติมันแล้ว โดยท่านได้ละหมาดกับเหล่าสาวกของท่าน หลายคืน ต่อมาท่านได้ทิ้งพวกเขาให้รอ (โดยไม่ออกมาร่วมละหมาด)เพราะ
เกรงว่า มันจะถูกบัญญัติให้เป็นข้อบังคับแก่พวกเขา"
ผู้เขียนคิดว่า คำกล่าวของท่าน อบู ชามะฮ์ สนับสนุนทัศนะของตน แต่ความจริงนั้นตรงกันข้าม เนื่องจาก ท่านอบูชามะฮ์เอง ทำการแบ่งแยกเป็น เป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ และบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์ หมายถึง บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น คือบิดอะฮ์เชิงภาษา ส่วนบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์คือบิดอะฮ์เชิงศาสนา ดังนั้นด้วยจุดยืนอันนี้
ท่านอบู ชามะฮ์ กล่าวว่า " สิ่งที่กระทำขึ้นมาใหม่นั้น ถูกแบ่งออกเป็น
บิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) และ
บิดอะฮ์ที่น่ารังเกียจ (แล้วท่าน อบู ชามะฮ์ ก็อ้างอิงคำพูดของอิมามชาฟิอีย์ ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น) จากนั้น ท่านอบู ชามะฮ์กล่าวว่า " ฉันขอกล่าวว่า แท้จริง มันก็เป็นอย่างเช่นดังกล่าว เพราะท่านนบี(ซ.ล.) ส่งเสริมให้มีการละหมาดสุนัตในเดือนร่อมะฏอน โดยที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กระทำที่มัสยิด โดยที่ซอฮาบะฮ์บางส่วนได้ทำการละหมาดตามท่านนบีเพียงไม่กี่คืน หลังจากนั้น ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทิ้งการละหมาดดังกล่าวในรูปแบบญะมาอะฮ์ โดยท่านนบี(ซ.ล.)ให้เหตุผลในเรื่องดังกล่าวว่า เกรงจะถูกฟัรดูแก่พวกเขา ดังนั้น เมื่อท่านนบี(ซ.ล.)ได้เสียชีวิต แล้วการปฏิบัติดังกล่าวก็ยุติลง ช่วงหลังจากนั้น บรรดาซอฮาบะฮ์จึงลงมติให้ทำการละหมาด(ตะรอวิหฺ)ในเดือนรอมาฏอนที่มัสยิดแบบญะมาอะฮ์ เพื่อเป็นการฟื้นฟูเอกลักษณ์ที่อัลเลาะฮ์ทรงใช้ และได้ส่งเสริมให้กระทำมัน วัลลอฮุอะลัม
จากที่ได้กล่าวมานี้จึงสามารถสรุปได้ว่า
فالبدع الحسنة :
متفق على جواز فعلها ، والإستحباب لها ، ورجاء الثوب امن حسنت نيته فيها ، وهى كل مبتدع موافق لقواعد الشريعة غير مخالف لشيىء منها ولا يلزم من فعله محذور شرعى .
บรรดาบิดอะฮ์หะสะนะฮ์นั้น บรรดาปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามได้
ลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้ myGreat:และมีความหวังได้ผลบุญ สำหรับผู้ที่มีเจตนาที่ดี
โดยที่บิดอะฮ์นั้น จะต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่และสอดคล้องกับกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ของหลักศาสนา (ชะรีอะฮ์) และจะต้องไม่มีข้อห้ามตามหลักศาสนาหากได้กระทำมัน" (ดู อัลบาอิษ อะลา อินการิลบิดะอ์ วัลหะวาดิษ ของท่าน อบี ชามะฮ์ หน้า 93)
ท่านอบู ชามะฮ์ ได้ให้คำนิยามของ
บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ จากคำพูดของท่านที่ว่า "
บรรดาปวงปราชญ์แห่งโลกอิสลามได้ลงมติเห็นพร้องว่า อนุญาติให้กระทำได้" ซึ่งเขาหมายถึงบุคคลที่คำพูดของเขานั้น เป็นที่ยอมรับในเรื่องการอิจญฺมาอ์ ดังนั้น ผู้ที่ไม่เป็นที่ยอมรับกับคำพูดของเขา ก็ถูกคัดออกไป เช่นคำกล่าวของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ และผู้ที่มีแนวทางเดียวกับเขา เพราะฉะนั้น จึงไม่อนุญาตให้กับผู้ที่คัดค้านทัศนะคำกล่าวนี้ เนื่องจากเป็นการแหวกมติของประชาชาติอิสลาม และการแหวกมติของประชาชาติอิสลามนั้น เป็นสิ่งที่หะรอม
ดังนั้น บิดอะฮ์หะสะนะฮ์นี่เองที่ เขาเรียกว่า บิดอะฮ์เชิงภาษา ซึ่งหมายถึงบิดอะฮ์ที่อยู่บนรากฐานของศาสนาโดยไม่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน , ซุนนะฮ์ , และอิจญ์มาอฺ
และประเด็นที่ท่านอุมัร ได้กล่าวว่า "(ตะรอวิห์) นี้ คือบิดอะฮ์ที่ดี" มิใ่ช่หมายถึงตัวของละหมาดตะรอวิห์ เพราะประเด็นคำว่า "ตะรอวิห์นี้" นั้น ยังรวมไปถึงวิธีการละหมาดตะรอวิห์ที่เิกิดขึ้นไปสมัยของท่านอุมัรด้วย เช่น
มีการละหมาดตอรอวิห์ 20 รอกะอัต , แบ่งแยกในการเป็นอิมามเป็นเอกเทศน์ โดยให้ตะมีมอัดดารีย์ เป็นอิมามนำละหมาดตะรอวิห์ผู้หญิง ส่วนอุบัยนำละหมาดตะรอวิห์บรรดาผู้ชาย ผมอยากถามหน่อยเถอะว่า ท่านนบี เคยทำหรือเปล่า?
ซึ่งคำตอบที่แน่นอนก็คือ "นบีไม่เคยทำ" เนื่องจากท่านอุมัรเป็นผู้ริเริ่มทำมันขึ้นมา และอยากถามว่า การละหมาด 20 รอกะอัต และแบ่งแยกจัดส่วนกันเป็นอิมามนั้น ขัดแย้งกับอัลกุรอาน , ซุนนะฮ์ , อิจญ์มาอฺ หรือไม่? ตอบ ไม่ขัด เพราะท่านนบีไม่ได้บอกเจาะจงกำหนดไว้ตายตัวว่า ละหมาดตะรอวิห์มีกี่รอกะอัต เนื่องจากเป็นการละหมาดสุนัต ทำมากก็ได้มาก มักกะฮฺฺทำ 20 ส่วนมะดีนะฮ์ทำ 36 ก็ไม่มีนักปราชญ์คนใดในอดีตตั้งแต่พันปีมาแล้ว ที่ทำการฮุกุ่มว่าบิดอะฮ์ลุ่มหลงเลย และการแบ่งจัดส่วนการเป็นอิมามละหมาดตะรอวิห์ชายและหญิงนั้น ก็ไม่ได้ขัดกับอัลกุรอานและฮะดิษสักบท
นั่นแหละที่ท่านอุมัรกล่าวว่า
نعمت البدعة هذه
"นี้ เป็นบิดอะฮ์ที่ดี"
หรือจะเรียกว่า ซุนนะฮ์ที่ดี ก็ไม่แปลก แต่ท่านอุมัรเรียก
"บิดอะฮ์ที่ดี" หมายถึงบิดอะฮ์เชิงภาษา ซึ่งเป็นบิดอะฮ์ที่อยู่บนรากฐานของศาสนาโดยไม่ขัดกับอัลกุรอาน , ซุนนะฮ์ , และอิจญ์มาอฺ ส่วนบิดอะฮ์เชิงศาสนาที่หมายถึง การอุตริฮุกุ่มขึ้นมาใหม่โดยมิได้มีรากฐานมาจากศาสนาและยังขัดกับอัลกุรอาน ซุนนะฮ์ , และอิจญ์มาอฺ นั้น ถือว่าเป็นบิดอะฮ์ฏ่อลาละฮ์ (บิดอะฮ์ที่ลุ่มหลง)