ก็ไม่มีอะไรจะถามแล้วละครับ เรื่อง "บิดอะฮาซานะฮ์" เพราะว่าสรุปผลแล้วครับ ว่าทางคุณมีแต่ทัศนะนักวิชาการ
แต่ไม่มีฮาดีษนบีที่ท่านพูดเอง ที่พอจะนำมาเสนอเปรียบเทียบกับฮาดีษนี้ได้
كل بدعة ضلالة، وكل ضلالة في النار
"ทุกบิดอะฮ เป็นการหลงผิด และทุกการหลงผิดนั้น จะอยู่ในนรก" โดยอันนาสาอี
ก็ยังคงนำเสนอแต่ทัศนะของนักวิชาการที่ผมอ่านจากพวกคุณมาเยอะแล้ว เหมือนเดิม โดยไม่ได้ดูหัวข้อกระทู้เลย
ว่าผมขอทัศนะนักวิชาการ หรือขอฮาดีษจากท่านนบีฯ
ผมว่าคุณพาน้องๆ ไปเรียนภาษาไทยกันใหม่ก็น่าจะดีนะครับ 
วัสสลามมุอลัยกุมว่าเราะมะตุ้ลลอฮ์
การวิเคราะห์เรื่องบิดอะฮ์ตามนัยยะของฮะดิษ
ฮะดิษที่นำมาพิจารณาในเรื่องบิดอะฮ์ ว่าจะแบ่งออกเป็นบิดอะฮ์ซัยยิอะฮ์(ในเชิงศาสนา) และบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (ในเชิงภาษา) นั้น ใช้ตัวบทต่าง ๆ ดังนี้
1. ใช้ฮะดิษที่ว่า
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า
أما بعد: فإن خير الحديث كتاب الله وخير الهدى هدى محمد وشر الأمور محدثاتها وكل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة
ความว่า" จากนั้น แท้จริงถ้อยความที่ดีที่สุด คือกิตาบุลเลาะฮ์ แต่ทางนำที่ดีที่สุด คือทางนำของมุหัมมัด แต่บรรดาการงานที่ชั่วที่สุด คือบรรดาสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่ และทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ และทุกๆ บิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง" ( รายงานโดยมุสลิม หะดิษที่ 867 อิมามอะหฺมัด รายงานไว้ในมุสนัด เล่ม 3 หน้า 310 ท่านอันนะซาอีย์ รายงานไว้ในสุนันของท่าน เล่ม 3 หน้า 188 และท่านอื่นๆ )
หลักจากนั้น ใช้ฮะดิษ ที่รายงานโดย ท่านติรมีซีย์ มาทอนความหมาย ก็คือ
2. ฮะดิษที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ที่ว่า
من ابتدع بدعة ضلالة لا يرضاها الله ولا رسوله كان عليه مثل آثام من عمل بها لا ينقص ذلك من أوزارهم شيئا
ความว่า" ผู้ใดที่อุตริทำบิดอะฮ์อันลุ่มหลง ที่อัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์ไม่พอใจ แน่นอน เขาย่อมได้รับบาปเหมือนกับผู้ที่ได้ปฏิบัติมัน โดยที่บาปของพวกเขาดังกล่าวจะไม่ทำให้สิ่งใดลงน้อยลง จากบรรดาบาปของพวกเขา" อิมาม อัตติรมีซีย์ กล่าวว่า หะดิษนี้ หะซัน ( ดู อัล-อาริเฏาะฮ์ เล่ม 10 หน้า 148)
3. ฮะดิษที่ว่า وكل بدعة ضلالة "ทุกบิดอะฮ์นั้นลุ่ม" มิใช่หมายความว่าบิดอะฮ์ทั้งหมด แต่หมายถึงส่วนมาก เพราะตรงกับนัยยะของอัลกุรอานที่ว่า
คำตรัสของอัลเลาะฮ์ ที่ว่า
( تدمر كل شيء )
" มันเป็นลมที่จะทำลายทุกๆสิ่ง(แต่ไม่ทั้งหมด)"
4. หะดิษที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) ได้ที่กล่าวว่า كل محدثة بدعة وكل بدعة ضلالة "ทุกสิ่งที่ถูกทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ และทุกบิดอะฮ์นั้น ลุ่มหลง"
นักปราชญ์ฮะดิษได้ทอนความหมาย ด้วยกับฮะดิษนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า
من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء
" ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน เขาจะได้รับผลบุญและได้รับผลบุญของผู้ที่ได้ปฏิบัติตามหลังจากเขาได้(เสียชีวิตไปแล้ว) โดยไม่มีสิ่งบกพร่องลงเลย จากผลบุญของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่1017)
5. บรรดาซอฮาบะฮ์ ก็เข้าใจว่า บิดอะฮ์ที่ดีนั้น ก็มี โดยคำกล่าวยืนยันของท่าน อุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ความว่า
ท่านอุมัรกล่าวไว้ว่า
نعمت البدعة هذه
"เป็นบิดอะฮ์ที่ดี คือ(ตะรอวิหฺ)นี้" (รายงานโดยบุคอรีย์)
ดังนั้นบิดอะฮ์ที่ดีนี้ ก็คือบิดอะฮ์หะสะนะฮ์(บิดอะฮ์ที่ดี) ซึ่งบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็คือบิดอะฮ์ในเชิงภาษา หรือเราจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ซุนนะฮ์หะสะนะฮ์ ก็ไม่แปลกอะไร
ดังกล่าวนี้ คือหลักฐานอัลฮะดิษที่มาทอนความหมาย (หรือคัดง้าง) ที่นักปราชญ์ฮะดิษได้จากใจจากบรรดาตัวของของหลักฐาน ไม่ใช่นักฮะดิษเข้าใจมาจากตัวเอง แต่เข้าใจมาจากหลักฐานต่าง ๆ เหล่านี้ ดังนั้นการกล่าวว่ามันเป็นเพียงแค่ทัศนะของนักปราชญ์ฮะดิษเอง ถือว่าเข้าใจผิดอย่างสิ้นเชิงเนื่องจากพวกเขาได้เอาตัวบทฮะดิษบทอื่นมาอธิบาย