...ศตวรรษที่1... ขณะที่ท่านอุมัร บินอับดุลอะซีซขึ้นครองราชย์ในปีฮศ.99 ท่านก็เห็นความจำเป็นในการรวบรวม+บันทึกหะดีษ
ซึ่งในตอนนั้นอุปสรรคต่างๆได้หมดไปแล้วแต่กลับมีปัจจัยต่างๆที่เรียกร้องให้กระทำการนี้ขึ้นมแทน โดยเฉพาะการที่ศอฮาบะฮฺเสียชีวิตมากมาย
การที่บิดอะฮฺแพร่หลาย การที่ความแม่นยำลดน้อยลง...ท่านอุมัรจึงส่งคำสั่งไปยังอุลามาอฺที่อยู่ที่ต่างๆสุดหล้าฟ้าเขียวว่า "จงรวบรวมและบันทึก
หะดีษของท่านรอซู้ล" มีรายงานโดยมุสลิมว่า ท่านอุมัร ได้ส่งสารไปยัง อบูบักรฺ อิบนุ หัซมฺ ว่าให้รวบรวม+บันทึกหะดีษ เช่นเดียวกับที่ท่านได้ส่งสารไปยัง
อุรวะฮฺ บินติ อับดุรเราะฮฺมาน ท่านอุมัรได้สอบถามจากท่านหญิงอุรวะฮฺเป็นเวลาถึง1ปีเต็มๆด้วยกับตัวของท่านเอง ตาบีอีนอีกคนที่สำคัญที่ท่านอุมัร
ส่งสารไปหาก็คือ อิบนุชิฮาบ อัซซุฮฺรียฺ ซึ่งอัซซุฮฺรียฺนีแหละ เป็นคนแรกทีทำการรวบรวม+บันทึกหะดีษในศตวรรษแรก ...ศตวรรษที่2... การบันทึก
ซุนนะฮฺได้แพร่หลายต่อจากยุคของอัซซุฮฺรียฺ+อิบนุหัซมฺ(ศ.1) ได้มีการประพันธ์หนังสือหะดีษมากมายโดย อิบนุญะรีฮฺ . มุอัมมัร . อัลเอาซาอียฺ
และคนอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน แนวทางการรวบรวมในศ.2 ก็คือ 1. ในตอนแรกอุลามาอฺเหล่านี้รวมหะดีษแบบปะปนกับคำพูด+ฟัตวาของชนตาบีอีนด้วย
เช่น หนังสือ มุวัตเตาะอ ของอิมามมาลิก ซึ่งถือเป็นแบบอย่างที่มีชีวิตชีวาของการประพันธ์หะดีษในยุคนั้น 2. หลังจากนั้น อุลามาอฺบางคนก็เริ่มที่
จะแยกหะดีษของท่านนบีออกมาเพียวๆ(ไม่ปนกับคำพูด+ฟัตวาของชนรุ่นตาบีอีน) ทำให้เกิดหนังสือ "อัลมาซานีด" คือหนังสือที่รวมหะดีษที่
สายสืบไปถึงท่านนบีมุฮัมมัดเพียวๆ ปราศจากคำพูด ความคิดเห็น ฟัตวา ของอุลามาอฺ หนังสือมะซานีด อยู่ภายใต้ชื่อ "มุสนัดคนนั้น"
"มุสนัดคนนี้".....คนที่ประพันธ์หนังสือมุสนัดคนแรกคือ อบูดาวุด(ก็จะชื่อว่า"มุสนัดอบูดาวุด") แต่ว่ามุสนัดที่โด่งดังที่สุด กว้างขวางทีสุด
ให้ประโยชน์ที่สุดคือ "มุสนัดอิมามอะฮฺมัด อิบนุ ฮัมบัล" ...ศตวรรษที่3... ในยุคนี้ได้มีการปรากฎขึ้นอย่างมากมายของพวกอิมามหะดีษรุ่นอาวุโส
พวกนักวิจารณ์ติชม พวกเขาได้เอาใจใส่ ให้ความสำคัญ ทุ่มเทเวลาอย่างมากมายขนาดที่สติปัญญาของเราจินตนาการไปไม่ถึง...หลังจากที่
คนหนึ่งจากพวกเขาได้รับเอา+รวบรวมหะดีษจากเชคนั้นๆแล้ว เขาก็เดินทางไปอีกประเทศหนึ่งไม่ว่าจะใกล้หรอไกล เพื่อรับเอาหะดีษจากเชค
ของประเทศนั้นๆต่อ แม้ว่าจะต้องประสบกับการเดินทางอันยากลำบาก ในยุคนี้ หนังสือ"กุตุบุซซิตตะฮฺ"เจิดจรัสมั่กๆ เป็นหนังสือที่บรรดานักฟิกฮฺ
บรรดานักวินิจฉัย บรรดาอุลามาอฺ บรรดานักประพันธ์ ยึดเอาเป็นแบบอย่าง(รองจากอัลกุรอ่าน) ในศตวรรษนี้ การบันทึก+รวบรวมหะดีษเกือบจะ
เสร็จสมบูรณ์แล้ว จากนั้นก็เริ่มยุคแห่งการจัดเรียงลำดับ จัดระเบียบหะดีษ ในศตวรรษต่อไป ...ศตวรรษที่4... ในศ.นี้ ไม่มีริญาลุลหะดีษเพิ่มขึ้นจาก
ยุคที่แล้วเลย ต่างก็ยึดเอาในสิ่งที่คนยุคที่แล้วได้ทำไว้ อิมามหะดีษในยุคนี้ที่โด่งดังก็คือ อัฎฎ็อบรอนียฺ,อิบนุคุซัยมะฮฺ,อบีเอาวานะฮฺ ...
กลางศตวรรษที่4-ต้นศตวรรษที่7... แนวทางของศ.นี้ก็คือ..อุลามาอฺได้ขัดเกลา จัดระเบียบหนังสือของคนรุ่นก่อนๆ และได้รวบรวมสิ่งที่กระจาย
ไปอยู่ในหนังสือหลายๆเล่มมาไว้ในเล่มเดียว -ส่วนใหญ่ คนที่พูดถึงเรือ่งสายรายงานหะดีษในยุคนี้ ก็เป็นพวกลูกหลานของพวกอิมามที่บันทึกหะดีษ
ในศ.ที่แล้วนั่นแหละ -อุลามาอฺที่ดังๆของยุคนี้ก็เช่น อัลฮากิม อันนัยซาบูรีย์, อัลคอฎีบ อัลบัฆดาดียฺ -ในยุคนี้ได้มีการใช้"ศัพท์เฉพา"
(หรืออาจจะแปลว่า"ศัพท์เทคนิค") اصطلاحات ในวิชาหะดีษด้วย -ในตอนต้นของศ.6 ก็ปรากฎฉายาต่างๆที่ใช้นำหน้าชื่ออุลามาอฺ แถมยังเป็น
ที่นิยมกันอย่างแพร่หลายด้วย เช่น ซัยนุดดีน ญะมาลุดดีน มุฮฺยิดดีน มุฮยิดซุนนะฮฺ อะลาอุดดีน ตะกียุดดีน ชัรฟุดดีน...ฯลฯ... ...ศตวรรษที่7-ศตวรรษที่10...
การประพันธ์ในสาขาวิชาความรู้นีได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว โดยอิมามอิบนุศิลาฮฺ หลังจากนั้นก็มีอิมามอีกหลายท่านเจริญรอยตามอิมามอิบนุศิลาฮฺนี้
แต่ว่าพวกท่านเหล่านั้นก็อยู่ในระดับขั้นเป็นผู้อิจติฮาดไม่ใช่ผู้ที่ลอกเลียนแบบอย่างเดียว เช่นอิมามานะวาวีย์ , อิมามอัลอิรอกี , อิมามอิบนุหะญัร
...หลังจากศตวรรษที่10... เป็นยุคแห่งการสงบนิ่งและชะงักงัน...ไม่มีการอิจติฮาด(วินิจฉัย)และไม่มีการประพันธ์อะไรใหม่ๆขึ้นมาเลย
และเป็นเช่นนี้เรื่อยไปจนถึงตอนต้นศ.15 ...ต้นศตวรรษที่ 15... มีการตื่นตัวและระมัดระวังต่อสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ ในยุคใหมนี้ ในยุคนี้มีการเตือน
อุมมะฮฺอิสลามต่ออันตรายที่เป็นผลมาจากการติดต่ออย่างมากมายกับโลกตะวันตก และการปะทะกันอย่างดุเดือดของแนวความคิดต่างๆ
ในยุคนี้ได้มีแผนการลับและแผนการร้ายเกิดขึ้นอย่างมากมาย และเกิดชุบฮาต(ข้อสงสัย)ขึ้นมากมายในซุนนะฮฺ... ดังกล่าวนี้แหละ
ทำให้เกิดการประพันธ์ การค้นคว้า การฟื้นฟู แนวทางการบันทึกซุนนะฮฺ ทำให้เกิดหนังสือขึ้นหลายเล่มเลย
เช่น السنة و مكانتها في التشريع اللاسلامي - قواعد التحديث - فنون الحديث - أصول علم الحديث ... ... ... จบแล้ว ... ... ...
ปล. อันนี้สรุปใจความสำคัญจากมุลัคค็อซอีกทีนึง(คือย่อของย่อ - ดับเบิ้ลย่อ) ก็เลยเหลืออยู่แค่นี้เอง