ฟัตวาของท่าน เชค อะฏียะฮฺ ซ็อกรฺ เราะฮิมะหุลลอฮฺ ปราชญ์อวุโสแห่งอัซฮัร
บรรดาผู้นำของซูฟีย์เตาะรีเกาะฮฺบางกลุ่มได้ทำการซิกรุลลอฮฺ ด้วยกับคำว่า “ءاه” การซิกิรด้วยกับคำๆ นี้นั้น หุก่มว่าอย่างไร ??ตอบ แท้จริงแล้วเป้าหมายของตะเศาวุฟนั้น คือการขัดเกลาจิตใจจากการทำให้เรานั้นห่างไกลจากอัลลอฮฺ ตะอาลา ดังนั้น แท้จริงนั่นคือหนึ่งในสื่อที่ถูกบัญญัติวางเอาไว้ และนี่คือ หนทางทางสู่หลักการแห่งอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่พระองค์ได้ทรงวางเอาไว้แก่บรรดาเอาลิยาอฺของพระองค์ และพระองค์ได้ทรงตระเตรียมผลานิสงค์แห่งการตอบแทนทั้งในด้านความปลอดภัยและความผาสุขแก่พวกเขา ดังที่ อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัส เอาไว้ว่า..

“พึงทราบเถิด ! แท้จริง บรรดาคนที่อัลลอฮ์รักนั้น ไม่มีความหวาดกลัวใด ๆ แก่พวกเขาและพวกเขาจะไม่เศร้าโศกเสียใจ” ซูเราะฮฺ ยุนส : 62

“คือบรรดาผู้ศรัทธา และพวกเขามีความยำเกรง” ซูเราะฮฺ ยุนส : 63

“สำหรับพวกเขาจะได้รับ ข่าวดี ในการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้และในโลกหน้า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในลิขิตของอัลลอฮ์ นั่นคือชัยชนะอันยิ่งใหญ่” ซูเราะฮฺ ยุนส : 64
และส่วนหนึ่งจากวิธีการขัดเกลาจิดใจบนหนทางแห่งศาสนา คือ การซิกรุลลอฮฺ และแท้จริงอัลลอฮฺได้ส่งเสริมให้มุสลิมกระทำโดยมีขอบข่ายรูปแบบที่กว้างขวาง ดังที่ อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสว่า...

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย! จงรำลึกถึงอัลลอฮฺโดยการรำลึกอย่างมากมาย” ซูเราะฮฺ อัล-อะหฺซาบ : 41
“และแซ่ซ้องสะดุดีพระองค์ทั้งยามเช้าและยามเย็น” ซูเราะฮฺ อัล-อะหฺซาบ : 42
และพระนามอันไพจิตแห่งอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ดีที่สุดในการซิกรุลลอฮฺ ดังที่อัลลฮฺ ตะอาลา ทรงตรัสว่า..

“
และอัลลอฮ์นั้นมีบรรดาพระนามอันสวยงาม ดังนั้นพวกเจ้าจงเรียกหาพระองค์ด้วยพระนามเหล่านั้นเถิด และจงปล่อยบรรดาผู้ที่ทำให้เฉ ในบรรดาพระนามของพระองค์เถิด พวกเขานั้นจะถูกตอบแทนในสิ่งที่พวกเขากระทำ ” ซูเราะฮฺ อัล-อะอฺรอฟ :180

“จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด “พวกท่านจงเรียกอัลลอฮหรือจงเรียกอัรเราะหมานเถิด อันใดก็ตามที่เจ้าเรียก สำหรับพระองค์นั้นพระนามสวยงามยิ่ง และอย่ายกเสียงดังในเวลาละหมาดของเจ้า และอย่าลดให้ค่อยเช่นกัน แต่จงแสวงหาทางระหว่างนั้น (ปานกลาง)” ซูเราะฮฺ อัล-อิสรออฺ :110
และบรรดานามชื่อต่างๆ ของพระองค์นั้น ถูกกล่าวขึ้นทั้งในอัลกุรอานและในสุนนะฮฺ และแท้จริง คำว่า “ءاه” ไม่ได้มีรายงานมาจากหะดิษที่มีสายรายงานที่เศาะเฮี๊ยะหฺ ว่ามันคือหนึ่งนามชื่อแห่งอัลลอฮฺ ตะอาลา ดังนั้น นักนิติศาสตร์ส่วนมากจึงไม่อนุญาตให้ทำการซิกรุลลอฮฺด้วยกับคำๆ นี้ (คือ คำว่า “ءاه” ) และจากสิ่งที่ถูกรายงานมาจากท่านนบี (ซ.ล.) ว่า
أن النبي صلى الله عليه وسلم زار مريضًا كان يئن وأن أصحابه عليه الصلاة والسلام نهوه عن الأنين ، وأنه قال لهم " دعوه يئن فإنه يذكر اسمًا من أسمائه تعالى "
“แท้จริงท่าน นบี (ซ.ล.) ได้ไปเยี่ยมผู้ป่วยคนหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยคนนั้นได้ร้องครวญคราง และบรรดาเศาะหาบะฮฺ ของท่านรสูล (ซ.ล.) ได้ห้ามผู้ป่วยคนนั้นให้หยุดครวญคราง และแท้จริงท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวแก่บรรดาเศาะหาบะฮฺว่า ท่านทั้งหลายจงปล่อยให้เขาครวญครางไปเถิด เพราะแท้จริงแล้ว เขาได้ทำการำลึกถึงพระนามหนึ่งจากพระนามต่างๆแห่งอัลลอฮฺ ตะอาลา”
แท้จริงสิ่งที่ถูกรายงานมานี้นั้น ไม่ใช่เป็นหะดิษที่เศาะเฮี๊ยะหฺและไม่ใช่หะดิษที่หะซันแต่อย่างใด ดังที่เหล่าบรรดาผู้ที่ทรงความรู้ได้ทำการยืนยันเอาไว้ และบางคนได้กล่าวไว้ตำราอธิบายเพิ่มเติม ว่าแท้จริง คำว่า “ءاه” เป็นพระนามหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ ตะอาลา นั้น สิ่งนี้ไม่มีสายรายงานแต่อย่างใดแท้จริง ปราชญ์แห่งอัซฮัร ท่านเชค الشيخ محمد أبو الفضل الجيزاوي ได้กล่าวในปัญหานี้ว่า แท้จริงคำว่า “ءاه” นั้น ไม่ใช่คำหนึ่งคำใดที่เป็นภาษาอาหรับเลย แต่ทว่ามันคือ ถ้อยคำที่ไม่มีความหมายใดๆ ในตัวของมันเลย ดังนั้น ถ้าหากว่า เราอ่านมันโดยใช้เสียงยาวๆ ซึ่งตามทัศนะของบรรดานักลุเฆาะฮฺ ได้ให้ความหมายถึง “การแสดงออกมาซึ่งความเจ็บปวด” (เช่น อ้าห์!! หรือ โอ้ย!! เป็นต้น ) แท้จริงสิ่งนี้ไม่ใช่พระนามแห่งอัลลอฮฺ ตาอาลา ที่เราจะใช้ทำการซิกิรสักนิดเลย และท่าน เชค الشيخ محمد أبو الفضل الجيزاوي ยังกล่าวต่ออีกว่า ไม่อนุญาตสำหรับพวกเราในการทำอิบาดะฮฺต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ไม่ได้มาถึงจากบทบัญญัติแห่งอิสลามว่าให้ทำได้ และในหะดิษเศาะเฮี๊ยะหฺ ที่รายงานจากท่านญิง อาอิชะฮฺ (ร.ด.) เล่าว่า จากท่าน รสูล (ซ.ล.) กล่าวว่า
من أحدث في أمرنا هذا ما ليس منه فهو رد
"ผู้ใดก็ตามที่อุตริกรรมในกิจการงานของเราโดยไม่มีที่มาจากบทบัญญัติอิสลาม ดังนั้น มันย่อมถูกปฏิเสธ”
ดู
วารสาร مجلة الأزهر เล่มที่ 3 หน้าที่ 499 ปีที่ 1351 ฮ.ศ.