สิทธิสตรีด้านบัญัติศาสนาในทัศนะของอิสลาม ทั้งหญิงและชาย พวกเขามีสิทธิ และหน้าที่ความรับผิดชอบต่อบทบัญญัติศาสนาโดยเท่าเทียมกัน เช่น
หากผู้ศรัทธาคนใด ไม่ว่าหญิงหรือชาย เมื่อเขาฝ่าฝืนบัญญัติ บทลงโทษของเขาจะได้รับเท่าเทียมกัน
(กุรอ่าน5:38) ?บรรดาผู้ลักขโมยชาย และหญิง??
(กุรอ่าน2:24) ?บรรดาผู้ผิดประเวณีหญิงและชาย??
ตามบัญญัติอิสลาม(เรียกว่า?ชารีอัต?) เมื่อมีข้อขัดแย้งกันเรื่องในเรื่องใดๆ จนต้องมีการเรื่องพยานมายืนยัน ในเรื่องเล็กน้อย จะใช้พยานสองคน ในเรื่องใหญ่ๆจะใช้พยานสี่คน โดยอิสลามถือว่า การใส่ร้ายหญิงที่มิได้ทำผิดประเวณีว่า นางทำผิดประเวณี เป็นข้อกล่าวหาที่ร้ายแรง จะต้องนำพยานมาสี่คน
บทลงโทษว่าด้วยการ?ฆ่าตกตายตามกันไป? หากทายาทของผู้ตายที่เป็นผู้หญิงเพียงคนเดียว ให้อภัยแก่ฆาตรกร การให้อภัยของเธอนั้น เป็นที่ยอมรับ ถึงแม้จะทำไปโดยไม่ปรึกษาทายาทคนอื่นๆเลยก็ตาม เช่นเดียวกับทายาทที่เป็นผู้ชาย
การปฎิบัติศาสนากิจของทั้งผู้ชายและผู้หญิง กระทำโดยเท่าเทียมกัน
เ รื่องการเป็นพยานของผู้หญิงสองคน เท่ากับผู้ชายเพียงคนเดียว ใช้ได้ในบางสถานการณ์ และจะเป็นสถานการณ์ที่ผู้หญิงโดยธรรมชาติมักมีความสงสารมากกว่าผู้ชายอยู่แล ้ว และอาจจะเห็นแก่อารมณ์ของตนเอง ทำให้ขั้นตอนยุติธรรมไม่สามารถดำเนินการต่อได้ เช่น
การตัดมือผู้กระทำความผิดฐานขโมย
การประหารตกตามกันไปแก่ฆาตรกร
การับมรดก และการดำเนินการตามคำสั่งเสียของผู้ตาย
เท่าที่นับดู ก็มีเท่านี้ที่ต้องใช่พยานสตรีมากกว่าชายในการลงโทษ
เรื่องทั่วๆไปที่เกี่ยวกับศาสนา พยานของผู้หญิงหนึ่งคน เทียบเท่ากับของผู้ชายหนึ่งคนโดยไม่มีเงื่อนไข เช่น
การเป็นพยานเห็นเดือนในการกำหนดเดือนอิสลาม
การเป็นพยานการพบปะของสายรายงานวจนะสองคน
ยังมีพยานบางเรื่องอีกเช่นกันที่เฉพาะผู้หญิงเท่านั้นที่สามารถให้การได้ และเมื่อมีคำพยานของชาย-หญิงขัดกัน คำพยานของหญิงจะเป็นที่ยอมรับเหนือกว่าชาย เช่น
การให้นมของตนแก่เด็กคนนั้น คนนี้
การมา-หรือหยุดประจำเดือนของหญิงคนนั้น คนนี้ (ใช้ในช่วงขณะที่รอระหว่างสามีเสียชีวิต หรือหย่าตามกฏหมายอิสลาม) เป็นต้น
สิทธิสตรีเกี่ยวกับการบริหารปกครอง และการเมือง ถ ึงแม้ว่าอิสลามจะไม่อนุญาติให้ผู้หญิงเป็นผู้นำรัฐ แต่สิทธิและหน้าที่ของพวกนาง ในฐานะประชาชนคนหนึ่งก็มิได้สำคัญน้อยไปกว่าบุรุษเลย เราอาจแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ดังนี้
สตรีกับการเลือกผู้นำรัฐ(เลือกตั้ง)
ท ่านนบีมุฮัมมัด มิได้มีฐานะเป็นเพียงผู้นำด้านจิตวิญญาณแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นผู้นำปวงชน และผู้นำรัฐในเวลาเดียวกันด้วย การยอมรับของประชาชนที่มีต่อผู้นำรัฐเป็นสิ่งจำเป็น ถึงแม้ท่านนบีเองไม่ต้องได้รับเลือกจากปวงชน ก็ยังได้ตำแหน่งเป็นผู้นำทางการเมือง การปกครองอยู่ดี แต่เพื่อเป็นการวางแนวทางแก่ขนรุ่นหลัง ท่านได้ปฎิบัติให้ประชาชนดูเป็นตัวอย่าง เรียกว่า ?การให้สัตยาบัน?(บัยอัต) ซึ่งสตรีก็มีสิทธิให้สัตยาบันแก่ผู้นำรัฐ เช่นเดียวบุรุษ
(กุรอ่าน60:12) ?โอ้ นะบีเอ๋ย เมื่อบรรดาหญิงผู้ศรัทธาได้มาหาเจ้าโดยพวกนางเพื่อให้ปฏิญาณแก่เจ้า??
สตรีกับการออกกฎหมาย
ค รั้งหนึ่ง ท่านอุมัร ซึ่งตอนนั้นท่านได้เป็นผู้นำรัฐอิสลามแล้วมีความต้องการที่จะกำหนดสินสอดขั้ นต่ำของเจ้าสาว และหากมีการหย่าเกิดขึ้น ก็ใช้ให้เจ้าผู้หญิงคืนสินสอดให้แก่ผู้ชาย ขณะนั้นเองมีผู้หญิงคนหนึ่งได้ให้ความเห็นว่า อัลลอฮ์เองยังไม่กำหนดสินสอดขั้นต่ำ แล้วท่านเป็นใคร? จะมากำหนดสินสอดขั้นต่ำ พร้อมทั้งยกเอาโองการกุรอ่าน เป็นหลักฐาน
(กุร อ่าน4:4) ?และจงให้แก่บรรดาหญิงซึ่งมะฮัรของนาง ด้วยความเต็มใจ แต่ถ้านางเห็นชอบที่จะให้สิ่งหนึ่งแก่พวกเจ้าจากมะฮัรนั้นแล้ว ก็จงบริโภคสิ่งนั้น?
เมื่อท่านอุมัรได้ยินดังนั้น ท่านกล่าวว่า ?วันนี้อุมัรเป็นฝ่ายผิด ผู้หญิงคนหนึ่งเป็นฝ่ายถูก?
แสดงให้เห็นหลายประการด้วยกัน
๑. ผู้หญิงคนนั้นไม่ใช่คนที่เป็นที่รู้จัก มิเช่นนั้น จะมีการกล่าวชื่อนางกำกับไว้
๒. แสดงถึงระดับการศึกษาของหญิงคนนั้น
๓. แสดงถึงสภาพสังคมการเมืองที่เปิดกว้างพร้อมรับฟังความคิดเห็นของประชาชอย่างแทะจริง
๔. ผู้หญิงมีบทบาทในพลเมืองร่วมอย่างเท่าเทียมกันกับผู้ชาย
สตรีกับการแก้ไขวิกฤติการณ์
ใ นปีฮิจเราะฮ์ศักราชที่7 ท่านนบีมุฮัมมัด พร้อมด้วยสาวกจำนวนหนึ่งมุ่งหน้าไปยังมักกะฮ์ เพื่อแสวงบุญ แต่ชาวมักกะฮ์ซึ่งยังคงยึดครองสถานที่ศักสิทธิ์ดังกล่าวอยู่ ได้ขัดขวางท่านทุกวิถีทาง จนกระทั่งนำมาซึ่งข้อตกลงที่ว่า ?ท่านจพไม่แสวงบุญในปีนี้ แต่จะมาปีหน้าแทน? เรียกว่า ?สนธิสัญญาฮุดัยบียะฮ์?
สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวสร้างความหนักใจแก่บรรดาสาวกเป็นอย่างมาก นอกจากเงื่อนไขที่เอาเปรียบแล้ว การละทิ้งการแสวงบุญในปีนี้ เพื่อมาในปีถัดไป ดูจะเป็นเรื่องที่หนักที่สุด ท่านนบีทาบดีถึงความรู้สึกดังกล่าว แต่การออกคำสั่งให้สาวกทำการ ?โกนผม? และ?เชือดสัตว์พลี? ซึ่งเป็นสัญญาณการสิ้นสุดของการแสวงบุญ ทั้งๆที่ยังไม่ได้แสวงบุญเลย ได้สร้างความหนักใจแก่ท่านไม่น้อย หากท่านออกคำสั่งแล้วคนปฎิบัติตาม นั่นก็เป็นผลดี แต่หากท่านออกคำสั่งแล้ว สาวกดื้อดึง หรือล่าช้า ย่อมไม่ใช่เรื่องดีแม้แต่น้อย ซึ่งสถานการณ์ในตอนนั้น น่าจะออกมาในรูปหลัง
ท่านปรึกษาเรื่องนี้กับภรรยาของท่านคือ ท่านหญิงอุมมุ้ลซัลมา ท่านหญิงได้เสนอทางออกแก่ท่านว่า ?ท่านจงออกไป ทำการโกนผม และเชือดสัตว์พลี โดยไม่ใช้คำพูดสั่ง แต่ใช้ตัวท่านเอง เป็นบบฉบับ? ท่านก็ทำตามที่ท่านหญิงแนะนำ ผลปรากฎว่า บรรดาสาวกของท่านทำตามท่านทันทีโดยไม่มีการรีรอ
?..วิกฤติที่คลี่คลายได้ด้วยผู้หญิงเพียงคนเดียว?..
ครับ ที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น เป็นส่วนหนึ่งจากข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสิทธิ และบทบาทสตรีในโลกอิสลาม จะเห็นได้ชัดครับว่า สตรีในอิสลาม มีบทบาทไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าบุรุษเลยแม้แต่น้อย หากจะเทียบ อาจเทียบได้เช่นกันกับ นักเรียนสองคนในชั้นที่ได้คะแนนรวมเท่ากัน แต่เมื่อแบ่งออกมาเป็นรายวิชาแล้ว ปรากฎว่า ในบางวิชานักเรียนคนแรกได้คะแนนมากกว่า อีกวิชานักเรียนคนที่สองได้คะแนนมากกว่า แต่เมื่อสรุปผลออกมาแล้ว นักเรียนทั้งคู่ได้คะแนนเท่าๆกันนั่นเองครับ
แนวคิดของอิสลามเรื่องสิทธิสตรี วางพื้นฐานอยู่บน?ความเท่าเทียมกัน?(Equality) ไม่ใช่ ?การเลียนแบบพฤติกรรม?(Identicality)
ที่มา : คุณการ์ฟิลด์
http://deen2do.com/sastudent