ผู้เขียน หัวข้อ: อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม  (อ่าน 11450 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
« เมื่อ: มี.ค. 10, 2008, 12:31 AM »
0



อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มี.ค. 10, 2008, 12:41 AM »
0

จริยะ  ในภาษาอาหรับตรงกับคำว่า   الأخلاق ( อัล-อัคลาค )  ซึ่งในรูปศัพท์แล้ว  คำว่า “ อัคลาก” เป็น พหูพจน์ของ الخلق ( อัล-คุลุก )  หมายถึง สัญชาติญาณ ความเคยชิน ธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์  สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นประจำ   


คำว่า “ คุลุก” มีปรากฏอยู่ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานอยู่ 2 ที่
หนึ่งในนั้นคือดังในบท อัล-กอลัม ดำรัสที่ว่า "และแท้จริงเจ้านั้น อยู่บนคุณธรรมอันยิ่งใหญ่"  ( 68/4 )       


เป็นการกล่าวในลักษณะสรรเสริญ ชมเชย ในฐานะเป็นบรรทัดฐานพฤติกรรม   

คุณธรรมหรือจริยธรรมในที่นี้มาจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงประทานผ่านเทวทูตแห่งพระองค์ แก่หัวใจของท่านศาสดามุฮัมหมัด  ซล. เพื่อบัญชาให้ท่านยึดถือเป็นคุณธรรมประจำตัวท่านและเป็นแบบฉบับอันดีงามแก่ผู้ติดตามท่านในภายหลัง             

นั่นคือหมายถึงเมื่อพระองค์ทรงประทานอัลกุรอานเป็นบทบัญญัติแห่งพระองค์แก่ท่านศาสดาแล้ว  ท่านศาสดามีหน้าที่โดยสมบูรณ์ในการปฏิบัติตามสิ่งที่พระองค์ทรงบอกกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ ซึ่งแน่นอนว่าพฤติกรรมทั้งหมดของท่านล้วนเป็นอรรถาธิบายที่ลึกซึ้ง ละเอียดลออแก่พระคัมภีร์   

จึงสรุปได้ว่า คำว่า “คุลุก” ในความหมายนี้ หมายถึง ธรรมชาติประจำตัวมนุษย์ ความเคยชิน สัญชาติญาณ ที่อัลลอฮ  ทรงกำหนดไว้เป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์นั่นเอง         

                                                                                                                                                                                                                                                                                                         
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มี.ค. 10, 2008, 12:51 AM โดย قطوف من أزاهير النور »
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มี.ค. 10, 2008, 12:44 AM »
0

กระทู้นี้จะนำเสนอเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรมในอิสลามนะคะ โดยคัดมาจากรายงานของเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งมีความยาวโขอยู่บวกกับการค้นคว้าและอ้างอิงพอสมควร แต่จะพยายามคัดมาลงโดยให้อ่านง่ายเป็นหลัก อินชาอัลลอฮฺ

ขอพระเจ้าตอบแทนความดีงามของผู้รวบรวม และขอให้พวกเราศึกษาและตักตวงคุณธรรมเหล่านี้ไปใช้ในชีวิตด้วยเถิด
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มี.ค. 10, 2008, 11:27 PM »
0
ความหมายสากล


จริยศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของชีวิตที่มีจริยธรรม สนับสนุนให้รู้จักจุดมุ่งหมายของชีวิตชี้แจงถึงกฏเกณฑ์การตัดสินและมาตรวัดระดับจริยธรรม เป็นศาสตร์ที่อธิบายถึงความหมายของความดีและความชั่ว ดีคืออะไร ไม่ดีคืออะไร แบบอย่างอันสูงส่งที่มนุษย์พึงยึดถือปฏิบัติตามคืออะไร     
           
จริยศาสตร์(Ethics) หมายถึงสาขาหนี่งของปรัชญาที่ว่าด้วยการแสวงหาความดีสูงสุดของชีวิตมนุษย์ การแสวงหากฎเกณฑ์ในการตัดสินความประพฤติของมนุษย์ว่าอย่างไรถูก ไม่ถูก ดี ไม่ดี ควร ไม่ควร จะพิจารณาของคุณค่าทางศีลธรรม (ราชบัณฑิตยสถาน,2540:34)   

สำหรับคำนิยามเฉพาะของจริยศาสตร์อิสลามก็คือ ศาสตร์ที่ประมวลไว้ด้วยเรื่องของคำพูด การกระทำ ที่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนมูลฐาน กฎเกณฑ์ กติกามารยาท ที่สอดคล้องและสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับคัมภีร์ของอัลลอฮ และแนวทางการปฏิบัติของท่านศาสดามุฮัมหมัด  จริยธรรมจึงไม่ได้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของศาสนาแต่เป็นแก่นแท้ เป็นจิตวิญญาณของอิสลาม
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มี.ค. 10, 2008, 11:45 PM »
0

พฤติกรรมตามธรรมชาติของมนุษย์
   

พฤติกรรม คือ การกระทำตามเจตจำนงค์ เพื่อให้เกิดผลดังที่ตั้งเจตนาไว้ การกระทำที่เป็นผลจากเจตจำนงค์ จากความคิด ความตั้งใจของผู้กระทำเท่านั้นที่เรียกว่าพฤติกรรม และเป็นการกระทำที่แบ่งแยกระหว่างมนุษย์กับสัตว์  เพราะสัตว์มีเพียงการกระทำที่มาจากสัญชาติญาณเท่านั้น

เมื่อมนุษย์เป็นผลจากการผสมผสานระหว่างดินและวิญญาณ จึงเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่พร้อมประพฤติในด้านดีและด้านไม่ดีอย่างเท่าเทียม หากแต่มนุษย์ทุกคนถูกสร้างมาพร้อมกับการมีสิทธิ์เลือกอย่างเสรีระหว่างสิ่งดีและสิ่งไม่ดี  ดังปรากฏในพระคัมภีร์  ว่า               

พระองค์ทรงดลใจชีวิตให้รู้ทางดีและทางชั่ว ( อัชชัมซฺ 91/ 8 )

และเรา( อัลลอฮ )ได้ชี้แนะทางแห่งความดีและความชั่วให้แก่เขาแล้ว  (อัลบะลัด 90 /10 )
   
พลังธรรมชาติที่ฝังอยู่ในมนุษย์ทุกคน คือ พลังแห่งสติปัญญา พลังแห่งความคิด ใครที่ใช้สติปัญญาในการขัดเกลาตนเอง ทำให้ตนบริสุทธิ์จากสิ่งไม่ดีทั้งหลาย นั่นย่อมแสดงถึงชัยชนะ ส่วนใครที่ดับพลังสติปัญญานี้ ย่อมพบกับความผิดหวังและขาดทุน                                             
แน่นอน ผู้ที่ขัดเกลาชีวิต ย่อมได้รับความสำเร็จ และแน่นอนผู้หมกมุ่นในการชั่ว ย่อมล้มเหลว  ( อัชชัมซฺ 91/ 9-10 )       
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ คะลัคคะลุย

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 670
  • เรื่อยไป
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
Re: อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มี.ค. 11, 2008, 12:51 PM »
0
ญะซากุมุลลอฮุค็อรร๊อนคร๊าบ  ติดตาม ๆ อ่าน
اللهم صل علي سيدنا محمد وعلي آل محمد وصحبه وسلم

nujjaba

  • บุคคลทั่วไป
Re: อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มี.ค. 11, 2008, 05:31 PM »
0
แวะมาให้กำลังใจ และติดตามอ่าน   loveit:  กระทู้ดีๆ

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มี.ค. 24, 2008, 11:37 PM »
0

ความสำคัญของจริยศาสตร์อิสลามต่อชีวิตมนุษย์


ไม่ว่าสังคมชนชั้นใด หากสมาชิกในสังคมไม่มีความสัมพันธ์อย่างยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรม  ความสงบสุข ความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจซึ่งกันในสังคมย่อมไม่อาจมีได้     

ความอยู่รอดของสังคม่จำเป็นที่จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานจริยธรรมอย่างน้อย 2 ประการ นั่นคือ ความแน่วแน่มั่นคง และ การเป็นที่ยอมรับไว้วางใจ   จริยธรรมที่สูงส่งจึงถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกสังคมจะขาดเสียไม่ได้ จริยธรรมเป็นเสมือนแกนกลางที่ประสานหรือสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เมื่อใดที่จริยธรรมดับสูญ เมื่อนั้นสมาชิกในสังคม จะแตกแยก  ขาดความรัก สมัครสมานสามัคคีและขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน                                                                                         
เมื่อตามหลักเกณฑ์สากลจริยศาสตร์มีความสำคัญถึงเพียงนี้  สำหรับทัศนะอิสลามแล้ว จริยศาสตร์มีความสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งกว่า  ดังจะเห็นได้จากการที่อิสลามกำหนดการตอบแทนและการลงโทษสำหรับมนุษย์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ดังในดำรัสที่ว่า                                                          
และแท้จริง เราได้ทำลายประชาชาติจากศตวรรษก่อนจากพวกท่านไปแล้ว เมื่อพวกเขาเป็นผู้อธรรม    ( ยูนุส 10 / 13 )

และพระเจ้าของเจ้าไม่ทรงทำลายหมู่บ้านใดโดยอยุติธรรม โดยที่ประชากรของหมู่บ้านนั้นเป็นผู้ฟื้นฟูทำความดี  ( ฮู๊ด 11 / 117)


อิสลามให้ความสำคัญกับจริยธรรมอย่างมาก เพราะถือว่า  จริยธรรมเป็นเรื่องที่จำเป็นและสำคัญยิ่งต่อความสงบยั่งยืนของสังคม พฤติกรรมของมนุษย์เชื่อมโยงผูกติดกับอุปนิสัยภายในเสมอ เสมือนดั่งความสำพันธ์ของ กิ่งก้านสาขาของต้นไม้ที่มีต่อรากไม้ซึ่งซ่อนตัวอยู่ใต้ผืนดิน พฤติกรรมอันดีงามก็เป็นผลจากการมีจริยธรรมงดงาม กิ่งก้านจะงดงามแข็งแรง รากแก้วก็ต้องงดงามและแข็งแกร่งด้วยเช่นเดียวกัน    และเมืองที่ดีนั้น (มีดินดี) ผลิตผลของมันจะงอกออกมาด้วยอนุมัติแห่งพระเจ้า    และเมืองที่ไม่ดีนั้น  ผลิตผลของมันจะไม่ออก นอกจากในสภาพแกร็น  ( อัลอะรอฟ 7 / 58 )               


ดังนั้น แผนการปฏิรูปบุคคลและ สังคม จึงต้องปลูกฝัง  บ่มเพาะที่จิตใจเป็นอันดับแรก อิสลามจึงมุ่งเน้นที่การขัดเกลาจิตใจเพื่อขจัดความสกปรกขุ่นมัว อันเป็นจุดกำเนิดของพฤติกรรมที่ไม่ดีงามทั้งหลาย       

แท้จริง อัลลอฮ จะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด เว้นแต่พวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง( อัรเราะดฺ 13 / 11 )


อิสลามตระหนักดีว่า หากกฎเกณฑ์จริยธรรมทางสังคมถูกละเลยเพิกเฉยไปแล้ว แน่นอนที่สุดว่า การหลอกลวงหักหลัง การคดโกงบิดพลิ้ว การโกหก การหลั่งเลือด การละเมิดในสิ่งต้องห้ามและในสิทธิต่างๆย่อมเกิดขึ้น มนุษยธรรมจะมีเพียงแต่ชื่อ เมื่อนั้นสังคมจะกลายเป็นขุมเพลิงที่มนุษย์ไม่อาจต้านทานความร้อนระอุ และทนรักษาชีวิตในขุมเพลิงนั้นได้ เพราะโดยธรรมชาติความเป็นมนุษย์แล้ว มนุษย์ย่อมต้องอาศัยพึ่งพาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และโดยธรรมชาติความเป็นมนุษย์อีกเช่นกันที่มนุษย์มักต้องการอำนาจ ปรารถนาที่จะครอบครอง เห็นแก่ตัวและต้องการแก้แค้น    และเมื่อเขาให้หลังไปแล้ว เขาก็เพียรพยายาม เพื่อก่อความเสียหายในแผ่นดินนั้น และทำลายพืชผล และเผ่าพันธุ์ และอัลลอฮนั้น ไม่ทรงชอบการก่อความเสียหาย ( อัลบะเกาะเราะฮ 2 / 205 )
   

และนี่เองคือเหตุผลที่อิสลามต้องให้ความสำคัญต่อจริยธรรมด้วยการวางรากฐานตลอดจนกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งกลายเป็นสิ่งจำเป็นต่อผู้เป็นมุสลิมทุกคนที่จะต้องยึดถือและดำเนินตาม จริยศาสตร์อิสลามจึงหาใช่เป็นเพียงกฎเกณฑ์ที่ถูกวางไว้เท่านั้น แต่ถือเป็นบัญชาจากพระเจ้าที่ประมวลไว้ด้วยคำสั่งใช้ คำสั่งห้าม สิ่งที่อนุมัติ และสิ่งที่พึงระวัง จากพระองค์ ดังนั้น ใครที่เชื่อฟังพระองค์ก็จะได้รับการตอบแทน และใครที่ฝ่าฝืนพระองค์ก็จะได้รับการลงโทษ                                                                                                                                                                       
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มี.ค. 24, 2008, 11:41 PM »
0

จริยธรรมกับการศรัทธา

หากมองในด้านหลักศรัทธาแล้ว จริยธรรมนับว่ามีความสำคัญอย่างมาก  เพราะอิสลามได้โยงความสำคัญระหว่างการศรัทธาและการมีจริยธรรมไว้อย่างแน่นแฟ้น ดังปรากฏในวจนะศาสดา เมื่อท่านถูกถามว่า ผู้ศรัทธาใดที่ถือว่าเป็นผู้มีศรัทธาสูงสุด ?  ท่านตอบว่า “ คือผู้มีจริยธรรมดีงามที่สุด ”   

หาใช่คุณธรรมไม่ การที่พวกเจ้าผินหน้าของพวกเจ้าไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก แต่ทว่าคุณธรรมนั้น คือผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ และวันปรโลก  และศรัทธาต่อมลาอิกะฮฺ ( เทวทูต ) ต่อบรรดาคัมภีร์ และต่อนบีทั้งหลาย    ( อัลบะเกาะเราะฮ 2 / 177 )
يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ قطوف من أزاهير النور

  • ดุนยา..มาเพื่อไป
  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1582
  • อยากเป็นเด็กดีของอัลลอฮฺ
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
    • แวะไปเม้นหน่อยน่า ^^
Re: อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: เม.ย. 25, 2008, 10:55 PM »
0
สำนึกจริยธรรม


การสำนึกถึงความจำเป็นของจริยธรรมถือเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของระบอบจริยธรรมอิสลาม อิสลามจึงถือหลัก “ เอียฮซาน” หรือ การทำดี เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการประพฤติตน  ซึ่งความดีที่อิสลามหมายถึง ก็คือ การเคารพภักดีต่ออัลลอฮเสมือนกับว่าเราเห็นพระองค์ แม้นว่าความเป็นจริงเราไม่อาจเห็นพระองค์ในโลกนี้ได้  แต่เราต้องสำนึกอยู่เสมอว่า พระองค์ทรงเห็น ทรงได้ยินเราอยู่ตลอดเวลา                               

ท่านศาสดา มุฮัมหมัด  ถูกถามว่า ความดีคืออะไร? ท่านตอบว่า
“ คือการที่ท่านเคารพภักดีต่ออัลลอฮ ประหนึ่งว่าท่านเห็นพระองค์ แม้นว่าท่านจะไม่เห็นพระองค์ แต่แท้จริงแล้วพระองค์ทรงเห็นท่าน”                              (บันทึกโดย อิหม่ามมุสลิม)

พระคัมภีร์ได้ระบุยืนยันถึงการตรวจสอบ สอดส่องดูแลของพระองค์ ว่า        
และพระองค์ทรงอยู่ร่วมกับพวกท่านทั้งหลาย ไม่ว่าท่านทั้งหลายจะอยู่ ณ ที่ใด และอัลลอฮทรงเห็นสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ (อัลฮะดี๊ด 57 / 4)     

แท้จริง อัลลอฮนั้น ไม่สิ่งใดในพื้นดินและฟากฟ้าที่จะปิดบังพระองค์ได้ (อาละอิมรอน 3 / 5)



يَا بُنَيَّ إِنْ قَدَرْتَ أَنْ تُصْبِحَ وَتُمْسِيَ لَيْسَ فِي قَلْبِكَ غِشٌّ لِأَحَدٍ فَافْعَلْ
 ثُمَّ قَالَ لِي يَا بُنَيَّ وَذَلِكَ مِنْ سُنَّتِي وَمَنْ أَحْيَا سُنَّتِي فَقَدْ أَحَبَّنِي وَمَنْ أَحَبَّنِي كَانَ مَعِي فِي الْجَنَّةِ

"โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทำเถิด
หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน
ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาได้อยู่กับฉันในสวรรค์"
(บันทึกโดย อัตติรมีซี)

ออฟไลน์ musalmarn

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 796
  • เพศ: ชาย
  • สักวัน... ฉันจะขี่ม้า
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
    • ชมรมศาสนศึกษา แผนกอิสลาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
Re: อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: เม.ย. 26, 2008, 08:09 PM »
0
ตามติดจากกระทู้ เสวนาร้านน้ำชาฯ




 myGreat:

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ธ.ค. 16, 2012, 06:02 PM »
0
ขุดค่ะ...

^_________^

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ fezoff

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 53
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด
Re: อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ธ.ค. 21, 2012, 11:44 PM »
0
รอๆๆ อยู่ ขอบคุณ ครับ

 

GoogleTagged