بسم الله الرحمن الرحيم
ท่านอิมามบุคอรี ได้รายงานด้วยสายสืบของท่านไปยัง ท่านอับดิลลาฮ์ อิบนุ อุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า
قال النبي صلى الله عليه وسلم يوم الأحزاب لا يصلين أحد العصر إلا في بني قريظة فأدرك بعضهم العصر في الطريق فقال بعضهم لا نصلي حتى نأتيها وقال بعضهم بل نصلي لم يرد منا ذلك فذكر ذلك للنبي صلى الله عليه وسلم فلم يعنف واحدا منهم
"ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวในวันสงครามอะห์ซาบว่า คนหนึ่งคนใดจะไม่ละหมาดอัสริ นอกจากที่บนีกุร๊อยเซาะฮ์ ดังนั้นส่วนหนึ่งได้ทำการละหมาดอัสริในระหว่างทาง แต่ซอฮาบะฮ์บางส่วนกล่าวว่า เราจะไม่ละหมาดจนกระทั่งถึงบนีกุร๊อยเซาะฮ์ และบางส่วนกล่าวว่า แต่เราจะทำการละหมาดเพราะท่านร่อซูลุลลอฮ์มิได้มีเป้าหมายดังกล่าวสำหรับเรา เรื่องราวดังกล่าวจึงถูกเรียนแก่ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม โดยที่ท่านไม่ได้ตำหนิคนใดจากพวกเขาเลย" รายงานโดยมุสลิม
ท่านอิมามมุสลิม ได้รายงานด้วยสายสืบของท่านไปยัง ท่านอับดิลลาฮ์ อิบนุ อุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา ว่า
نادى فينا رسول الله صلى الله عليه وسلم يوم انصرف عن الأحزاب أن لا يصلين أحد الظهر إلا في بني قريظة فتخوف ناس فوت الوقت فصلوا دون بني قريظة وقال آخرون لا نصلي إلا حيث أمرنا رسول الله صلى الله عليه وسلم وإن فاتنا الوقت قال فما عنف واحدا من الفريقين
"ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ป่าวประกาศในหมู่พวกเรา ในวันที่กลับจากสงครามอัลอะห์ซาบ ว่า คนหนึ่งคนใดจะไม่ทำการละหมาดซุฮ์ริ นอกจากที่บนีกุร๊อยเซาะฮ์ ดังนั้นบรรดาซอฮาบะฮ์(บางส่วน)เกรงว่าจะไม่ทันเวลา พวกเขาจึงทำละหมาดสถานที่อื่นจากบนีกุร๊อยเซาะฮ์ และซอฮาบะฮ์คนอื่น ๆ กล่าวว่า เราจะไม่ละหมาดนอกจากสถานที่ที่ท่านร่อซูลุลอฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งใช้เรา หากแม้นว่าเราจะไม่ทันเวลาก็ตาม ท่านอับดุลเลาะฮ์ อิบนุ อุมัร กล่าวว่า ดังนั้นท่านร่อซูลุลลอฮ์ ไม่ได้ทำการตำหนิคนหนึ่งคนใดจากทั้งสองกลุ่มเลย" รายงานโดยมุสลิม (3317)
เราจะพบว่า สายรายงานนี้มีความแตกต่างกัน ท่านบุคอรีย์รายงานเกี่ยวกับเรื่องละหมาดอัสริ ส่วนท่านมุสลิมรายงานเกี่ยวกับละหมาดซุฮ์ริ
ท่านอัลหาฟิซ อิบนุ หะญัร กล่าวว่า "อุลามาอ์บางส่วนได้รวมระหว่างสองรายงานนี้ โดยตีความว่า ก่อนท่านนบีได้ออกคำสั่งนั้นซอฮาบะฮ์บางส่วนได้ละหมาดซุฮ์ริแล้ว และอีกบางส่วนยังไม่ได้ละหมาด ดังนั้นจึงถูกออกคำสั่งแก่ผู้ที่ยังไม่ได้ละหมาดว่า คนใดอยากทำการละหมาดซุฮ์ริ(จนกระทั่งถึงบนีกุร๊อยเซาะฮ์) และสั่งผู้ที่ละหมาดซุฮริแล้วว่า คนใดอย่าทำละหมาดอัสรินอกจากที่นบีกุร๊อยเซาะฮ์" ฟัตหุลบารีย์
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ อธิบายว่า "การขัดแย้งของบรรดาซอฮาบะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุม เกี่ยวกับการรีบละหมาดช่วงจวนใกล้หมดเวลาและทำการล่าช้า(จนกระทั่งละหมาดนอกเวลา)นั้น สาเหตุก็คือ หลักฐานทางศาสนาได้คัดค้านกันเองตามทัศนะของพวกเขา กล่าวคือ การละหมาดนั้นถูกใช้ให้ละหมาดในเวลา พร้อมกันนั้น ความเข้าใจจากคำพูดของท่านบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า "คนหนึ่งคนใดจะไม่ทำการละหมาดซุฮ์ริ นอกจากที่บนีกุร๊อยเซาะฮ์" หมายถึงการรีบเดินทางและอย่าสนใจสิ่งใดนอกจากการเดินทาง ไม่ใช่ให้เลื่อนเวลาละหมาด ดังนั้นซอฮาบะฮ์บางส่วนได้ยึดความเข้าใจโดยพิจารณาถึงความหมาย(คือนบีสั่งให้รีบเดินทาง) ไม่ใช่เชิงถ้อยคำ (คือให้ไปละหมาดที่บนีกุร๊อยเซาะฮ์) ฉะนั้นพวกเขาจึงทำการละหมาดขณะที่เกรงว่าเวลาจะหมด ส่วนซอฮาบะฮ์คนอื่น ๆ ได้ยึดความหมายแบบผิวเผินคำตรง (คือนบีให้ไปละหมาดที่บนีกุร๊อยเซาะฮ์) พวกเขาจึงเลื่อนเวลาละหมาด โดยท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่ได้ตำหนิติเตือนคนหนึ่งคนใดจากทั้งสองกลุ่มเลย เพราะพวกเขาเหล่านั้นคือนักมุจญ์ฮิด(ผู้มีคุณสมบัติในการวินิจฉัยได้)" ชัรห์ ซอฮิห์มุสลิม
ดังนั้น การที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้ประกาศแก่บรรดาซอฮาบะฮ์ของท่าน ว่า "พวกท่านทั้งหลาย พึงทราบเถิดว่า บุคคลใดจากพวกท่านจะไม่ทำการละหมาดอัสริ นอกจาก ณ ที่หมู่บ้านนบีกุรอยเซฺาะฮ์ บรรดาซอฮาบะฮ์ทั้งหมด จึงมุ่งหน้าไปยังหมู่บ้านบนีกุรอยเซฺาะฮ์ เพื่อสนองคำสั่งของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) แต่มีซอฮาบะฮ์กลุ่มหนึ่งเดินทางล่าช้าตามหมายกำหนดการณ์ที่ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.)ได้กำหนดไว้ จึงมีการปรึกษากันขึ้นในหมู่พวกเขา ว่า จะทำการละหมาดอัสริระหว่างทางเพื่อพวกเขาจะได้ทำการละหมาดอัสริในเวลาได้ หรือว่าจะทำการล่าช้าในการละหมาด แม้นว่าจะไม่ได้ละหมาดในเวลาของอัสริก็ตามเพื่อไม่ขัดต่อคำสั่งของท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) พวกเขาจึงได้ปรึกษากัน ซอฮาบะฮ์บางกลุ่มทำการละหมาดอัสริระหว่างทาง และอีกกลุ่มหนึ่งทำการละหมาดที่บนีกุรอยเซฺาะฮ์ เมื่อพวกเขาเดินทางถึงหมู่บ้านนบีกุรอยเซฺาะฮ์ ท่านนบี(ซ.ล.) จึงรับทราบและไม่ได้ตำหนิกรณีข้อขัดแย้งดังกล่าวของซอฮาบะฮ์ที่ไม่ได้มีความรุนแรงใดๆ เลย ไม่ว่าจะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งก็ตาม เนื่องจากมันเป็นเพียงแค่การขัดแย้งในเชิงการวินิจฉัยอันเป็นที่อนุมัติตามหลักศาสนา ซึ่งการขัดแย้งดังกล่าว ต่างก็มีเป้าหมายเดียวกัน นั่นก็คือ เพื่อสร้างความใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮ์(ซ.บ.) นั่นคือยุคสมัยแรกที่เข้าใจถึงคำบัญชาใช้ของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) และร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) พวกเขาได้ดำเนินบนวิถีทางนี้ แต่สำหรับวันนี้ บรรดามุสลิมีนส่วนมากต่างบริโภค ดื่มด่ำ
ปัญหาความขัดแย้งในด้านประเด็นการวินิจฉัย พวกเขาได้ทำให้มันเป็นปัจจัยหลัก อันเนื่องจากความเห็นแก่ตัว ทำให้เป็นปัจจัยที่มากระเทาะหลักวินิจฉัยต่างๆ ของมัซฮับ เพื่ออวดอ้างความรู้ของตนเองทั้งที่พวกเขายังไปไม่ถึงอีกฟากฝั่งหนึ่งเลย
والله تعالى أعلى وأعلم