« เมื่อ: เม.ย. 01, 2012, 11:25 PM »
+1
ข้าพเจ้าได้ยินคนบางกลุ่มกล่าวว่า แท้จริงการเรียกว่า “المدينة المنورة” (อัล-มะดีนะฮฺ อัล-มุเนาวะเราะฮฺ) นั้น ถือว่าเป็นบิดอะฮฺ(อุตริกรรม) เพราะไม่มีหลักฐานจากรสูล(ซ.ล.) แต่ที่ถูกต้องนั้นให้เรียกว่า “المدينة النبوية” (อัล-มะดีนะฮฺ อัล-นะบะวียะฮฺ) คำพูดเช่นนี้ ถือว่าถูกต้องหรือไม่ ?? ตอบโดย เชคด็อกเตอร์ มะหฺมูด อะหฺมัด อัซ-ซัยนฺเชคด็อกเตอร์ มะหฺมูด อะหฺมัด อัซ-ซัยนฺ ปราชญ์อัล-อัซฮัร แห่งซีเรีย
ตอบ ..
การเรียกชื่อสิ่งต่างๆ นั้น ไม่ใช่เรื่องของอิบาดะฮฺที่จะต้องนำเอาหลักฐานมายืนยัน แต่การเรียกชื่อนั้น มันเป็นเรื่องของประเพณีทั่วไป (العادات) ดังนั้น หลักการของประเพณีทั่วไปหรืออาดาตทั่วไปนั้น ถือว่าเป็นสิ่งที่อนุญาตทั้งหมด จนกว่าจะพบว่ามีหลักฐานมาห้ามในสิ่งนั้น ซึ่งต่างกับเรื่องอิบาดะฮฺที่จะต้องมีหลักฐานมายืนยัน ถ้าหากว่าไม่มีหลักฐานมายืนยัน ก็ไม่สามารถปฏิบัติได้
ด้วยเหตุนี้ คำว่า “المنورة” (อัล-มุเนาวะเราะฮฺ) หมายถึง “ถูกจรัสแสง” ซึ่งเป็นคำที่มาอธิบายคุณลักษณะของเมืองที่ท่านรสูล(ซ.ล.)อาศัยอยู่ โดยยึดหลักฐานจากที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้อธิบายคุณลักษณะของท่านนบี(ซ.ล.) ว่า แท้จริงนบี(ซ.ล.) คือ ..
سراج منير
“ดวงประทีปที่จรัสแสง”
คำว่า “المنير” (สิ่งที่ส่องแสงสว่าง ,ผู้ที่ให้แสงสว่าง) ทำหน้าที่เป็นฟาอิล ตามหลักการภาษาอาหรับ ดังนั้น ทุกๆ เมือง ทุกๆ สถานที่ที่ท่านนบี(ซ.ล.) ได้นำศาสนาเข้าไปเผยแผ่ นั้นคือ สถานที่ที่ได้รับทางนำหรือสถานที่ที่ได้รับแสงสว่าง ซึ่งถือว่าไม่แปลกอะไร ถ้าเราจะเรียกเมืองอิสลามต่างๆ ว่า “เมืองที่ได้รับแสงสว่าง” หรือทางภาษาอาหรับเรียกว่า “المنار” (อัล-มุนาร)
ดังนั้น คำว่า “المدينة المنورة” (อัล-มะดีนะฮฺ อัล-มุเนาวะเราะฮฺ) หมายถึง เมืองที่ถูกทำให้มีแสงสว่างหรือเมืองที่ได้รับแสงสว่างที่ยิ่งใหญ่กว่าเมืองอื่นๆ และนี่ก็เป็นคำกริยาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประโยคนี้ ซึ่งก็คือ คำกริยาที่ว่า “نور” (เนา-วะ-รอ) ซึ่งเป็นคำที่ให้ความหมายว่า “ทำให้ส่องแสง ,ทำให้เพิ่มขึ้น ,ทำให้มากขึ้น” และอิสมุลมัฟอูลหรือนามกรรมของคำกริยาข้างต้น นี้คือ “منور”(มุเนาวัร) หมายถึง “ถูกทำให้มีแสงสว่าง ,ถูกทำให้เฉิดฉาย ,ถูกทำให้เจิดจรัส ,ถูกทำให้เพิ่มมากขึ้น” เมื่อคำกริยานี้มาผนวกเข้ากับคำว่า “المدينة” ก็จะได้คำที่สมบูรณ์ว่า “المدينة المنورة” ซึ่งหมายถึง เมืองที่ได้รับแสงสว่างอย่างมากมาย ,เมืองที่ถูกจรัสแสงอย่างยิ่งใหญ่ และนี่คือ นามชื่อที่ถือว่าเหมาะสมกับสภาพของเมืองมะดีนะฮฺ เนื่องจากเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยรัศมีของท่านรสูล(ซ.ล.) เสมือนกับที่ท่านอะนัส บิน มะลิก ได้กล่าวว่า ..
لماكان اليوم الذي دخل فيه رسول الله صلى الله عليه و سلم المدينة أضاء منها كل شيء فلما كان اليوم الذي مات فيه أظلم منها كل شيء
“ในวันที่ท่านรสูล(ซ.ล.) ได้เดินทางเข้าไปยังเมืองมะดีนะฮฺ ทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่างในเมืองมะดีนะฮฺล้วนเต็มไปด้วยความสว่างสไว แต่เมื่อถึงวันที่ท่านรสูล(ซ.ล.) เสียชีวิต ทุกๆ สิ่ง ทุกๆ อย่างในเมืองมะดีนะฮฺล้วนเต็มไปด้วยความมืดมน” (บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ เล่มที่ 5 หน้าที่ 588)
ส่วนการใช้คำว่า “المدينة النبوية” (อัล-มะดีนะฮฺ อัล-นะบะวียะฮฺ) นั้น ไม่ได้ถูกกล่าวขึ้นในสมัยนบี(ซ.ล.) ไม่ได้ถูกกล่าวขึ้นในยุคสะลัฟุศศอลิหฺ ดังนั้น ถ้าหากว่าทั้งสองชื่อนี้ได้ถูกเรียกมาแล้วในสมัยก่อน ก็ถือว่าอนุญาตให้เรียกได้ แต่ถ้าหากว่าชื่อใดชื่อหนึ่งเคยถูกเรียกมาแล้ว เราก็ไม่ควรไปปฏิเสธอีกชื่อหนึ่งที่ไม่เคยถูกเรียกมาก่อน เพราะว่าชื่อทั้งสองนี้นั้น ไม่ได้มีอะไรที่ขัดแย้งกันเลย
ที่มา http://www.dralzain.com/Fatwa.aspx?SectionID=3&RefID=649
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เม.ย. 02, 2012, 09:53 AM โดย Muftee »
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //