ปรัชญาของความพอเพียง
ปัจจุบันปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกำลังได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง หน่อยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้พยายามร่วมมือกันชี้แจงให้คนในสังคมรับรู้ถึงปรัชญาข้อนี้ว่า สามารถแก้ไขปัญหาสังคมในด้านเศรษฐกิจและการเป็นอยู่ของประชาชนได้อย่างไร..ซึ่งหากทุกคนมีความเข้าใจและปฏิบัติตามปรัชญาข้อนี้แล้วก็จะมีส่วนช่วยพลักดันให้ชีวิตความเป็นอยู่นั้น ดีขึ้นและยังส่งผลให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอีกด้วย อย่างไรก็ตามประชาชนส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจหลากหลายและไม่ชัดเจนถึงความหมายและและหลักแนวคิดที่แท้จริงของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดังนั้นสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำหนั้งสือ "เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร" ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะอธิบายความหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งกรอบแนวคิดของหลักปรัชญาฯ ที่มุ่งเน้นความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา อันมีคุณลักษณะสำคัญ คือ สามารถประยุกต์ใช้ได้ในทุกระดับตลอดจนได้อธิบายคำนิยามของความเพียงพอที่ประกอบด้วย ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ภายใต้เงื่อนไขของการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมที่ต้องอาศัยความรู้และเงื่อนไขคุณธรรม ซึ่งพอที่จะทำให้เราเข้าใจความหมายของเศรษฐกิจได้โดยสรุปได้ดังนี้
-
ความพอเพียง คือ รู้จักพอประมาณ พออยู่ พอมี พอใช้ ประหยัด และไม่เบียดเบือนผู้อื่น
-
ความมีเหตุผล คือ ตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เดความพอเพียงต้องใช้เหตุผลและพิจารณาด้วยความรอบคอบ
-
ความมีภูมิคุ้มกันที่ดี คือ เตรียมใจให้พร้อมกับผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
-
การมีความรู้ คือ นำความรู้มาใช้ในการวางแผนและดำเนินชีวิต
-
การมีคุณธรรม คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต สามัคคี และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
เราจะเห็นได้ว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเริ่มต้นที่ตนเองและยังส่งผลเกื้อหนุนต่อกันในบั้นปลาย เพราะฉะนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นย่อมเป็นปัญร่วมกันและต้องร่วมมือร่วมใจระหว่างกันและกันในการแก้ปัญหา การแก้ไขปัญหาจึงต้องเริ่มที่ต้นตอนั่นคือ กิเลส ความอยากมีอยากได้ที่เกินความพอดีของคน ซึ่งบ่อยครั้งที่มันหันกลับมาทำลายตัวเองและสังคม
ท่านนบีมูมัดมัด (ซ.ล.) ได้เคยบอกกับพวกเราให้รับรู้ถึงสัณชาติญาณดิบของคนว่า
"มาตรแม้นว่ามนุษย์คนหนึ่งนั้นได้รับครอบครอบสองหุบเขาที่เต็มไปด้วยทรัพย์สิน แน่นอนที่สุดเขาย่อมจะแสวงหุบเขาที่สาม และไม่มีส่งใดจะบรรจุดเติมเต็มท้องของมนุษย์ได้นอกจากดินเท่านั้น (เป็นการเปรียบเทียงทำนาองว่า ความตายคือสิ่งเดียวที่สามารถหยุดยั้งกิเลสและความต้องการของมนุษย์ได้)" (รายงานโดยบุคอรี ฮะดิษที่ 6072 และมุสลิม ฮะดิษที่ 2390)
จากคำกล่าวของท่านนบี (ซ.ล.) ชี้ให้เห็นว่า ความที่เป็นมนุษย์คนหนึ่งก็ย่อมที่จะมีความยากความต้องการโดยไม่มีที่สิ้นสุดตราบใดที่เขายังคงหายใจ การแก้ไขจึงเริ่มกันจากตรงนี้
นับตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา อิสลามได้พยายามสอนทางออกให้กับมวลมนุษย์ในการดำเนินชีวิตโดยเริ่มจาก้อนเนื้อที่เราเรียกมันว่าหัวใจ พยายามปลูกจิตสำนึกให้เข้าถึงแก่นแท้แห่งชีวิต ซึ่งมีนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) เป็นแบบอย่างจากหลักการเหล่านั้น
ในเรื่องของความเพียงพอ เมื่อเราศึกษาคำสอนและการปฏิบัติตัวของศาสดา เราจะเห็นได้ว่านบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) เป็นถึงองค์ศาสดาผุ้ยิ่งใหญ่พระองค์ท่านน่าจะใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเยี่ยมจอมราชัน และน่าจะทิ้งทรัพย์สมบัติและมรดกกองโตไว้ให้ภรรยาและลูกหลานของท่าน หลังจากที่ท่านได้จากไป แต่หน้าประวัติศาสตร์กลับบันทึกให้เราทราบว่าท่านพอใจที่จะนอนบนเสื่อหยาบ ๆ ท่านหิวไม่ต่างไปจากคนจนหิว ท่านยอมอดเพื่อให้คนที่หิวมากกว่าได้อิ่ม ท่านรับประทานอาหารเหมือนคนอื่นรับประทาน ท่านรีดนมแพะ ท่านเย็บท่านปะรองเท้าและเสื้อผ้า ท่านไม่เคยฟุ้งเฟ้อ ท่านสมถะ และท่านยังดูแลครอบครัวได้เป็นอย่างดี ในวันที่ท่านเสียชีวิต ท่านได้ทิ้งอาหารให้ภรรยาของท่านเพียงไม่กี่ชิ้นและผ้าไม่กี่ผืน ท่านไม่เคยให้อำนาจบารมีของความเป็นผู้นำทั้งที่มีผู้ตามท่านนับแสน ๆ คนเพื่อหาประโยชน์เข้ากระเป๋าเหมือนที่ผู้หลักผู้ใหญ่บ้านเราเขาทำกันอยู่ และแม้นว่าท่านต้องการภูเขาอุฮุดทั้งลูกก็พร้อมที่จะกลายเป็นทองในชั่วพริบตา ท่านจึงเป็นแบบฉบับของความพอเพียงอย่างเต็มตัว
แบบอย่างหนึ่งที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจจากแนวทางแห่งท่านนบีที่ใช้เป็นหลักปฏิบัติในเรื่องความพอเพียงก็คือ الزهد (อัซซุฮด์) ความสันโดษและปล่อยวางไม่ยึดติดกับสภาวะรอบข้าง รู้จักเสียสละ สมถะ พอเพียง ความหมายเหล่านี้ล้วนเข้าอยู่ภายใต้คำว่า الزهد (อัซซุฮด์) ทั้งสิ้น
ในขณะที่มีซอฮาบะฮ์ท่านหนึ่งถามท่านนบีว่าจะทำอย่างไรให้พระเจ้าและคนรอบข้างรัก ท่านตอบว่า
"ท่านจงอยู่อย่างสมถะบนโลกใบนี้แล้วอัลเลาะฮ์จะรักท่าน และจงปล่อยวางในสิ่งที่มนุษย์ครอบครอง (รู้จักพอไม่คิดแย่งชิงแข่งขันอันก่อให้เกิดโลภและริษยา) มนุษย์จะต่างพากันรักท่าน" รายงานโดย อิบนุมาญะห์ ฮะดิษที่ 4102
ในขณะที่ท่านศาสดาได้สอนแนวทางให้กับเหล่าสาวกตัวท่านเองก็ยังคงเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต คำขอพรของท่านต่อพระผู้อภิบาลหลาย ๆ บทที่สะท้อนให้เห็นถึงภาพลักษณ์ ของความ الزهد (อัซซุฮด์) ของท่านนบี ท่านเคยขอพรว่า
اَللَّهُمَّ إجْعَلِ الدُّنْيَا فِى أَيْدِيْنَا وَلاَ تَجْعَلْهَا فِى قُلُوْبِنَا
"โอ้ผู้ทรงอภิบาลได้โปรดทำให้โลกนี้นั้นอยู่แค่ในมือของเรา และโปรดอย่าทำให้มันต้องผนึกในใจของเราเลย"
ทุกท่านครับ
ความสุขที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในสังคมตามหลักปรัชญาแห่งความพอเพียงจึงไม่ได้อยู่ที่ว่า เราสามารถทำให้คนมีกำลังทรัพย์มากขึ้น อยู่ดี กินดีขึ้น เพราะนั่นไม่ได้เป็นหลักประกันว่ามีความพอเพียงและตั้งมั่นอยู่ในความพอดี แต่มันอยู่ที่ว่าทำอย่างไงให้มือของคนในสังคมยังคงแสวงหาปัจจัยยังชีพเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตตัวเองและชีวิตคนที่เราต้องรับผิดชอบดูแลไม่แบมือขอใคร รู้จักเสียสละแบ่งปันให้กับคนที่เขาอ่อนแอกว่า ไม่ยึดติดและหวงแหน และพร้อมที่จะหวงแหน และพร้อมที่จะแบกรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา นี่ต่างหาก คือปรัชญาของคำว่า "พอเพียง"
อ้างอิงจาก : สารไคโร 50