ท่านคือ มุศเฏาะฟา บิน สะอีด บิน มะหฺมูด อัลค็อน อัชชาฟิอีย์ อัลมัยดานีย์ อัดดิมัชกีย์ สืบเชื้อสายมาจากตระกูลเก่าแก่และมีชื่อเสียงแห่งกรุงดิมัชก์ (ดะมัสกัส - ซีเรีย)
ท่านเกิดปี ฮ.ศ.1341 (นั่นคือท่านเสียชีวิตขณะที่มีอายุร่วม 88 ปี) ศึกษาวิชาความรู้ขั้นต้นที่เมืองของท่าน เมื่อโตขึ้นหน่อยก็ไปศึกษากับเชคหะสัน อัลมัยดานีัย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ
ในปี ฮ.ศ.1369 (ค.ศ.1949) ท่านก็เดินทางไปศึกษา ณ มหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร - ไคโร ซึ่งคะแนนที่ท่านได้รับจากการสอบเข้า ทำให้ท่านได้เข้าศึกษาในชั้นปีที่ 3 คณะชะรีอะฮฺทันที ศึกษาได้ 2 ปีท่านก็จบปริญญาตรีเกียรตินิยม
ระหว่างที่ท่่านศึกษาที่อัลอัซฮัรนั้น ท่านนได้พบและศึกษาความรู้จากอุละมาอ์หลายๆท่าน เช่น ดร.อีซา มันนูน, ดร.อับดุึลลอฮฺ มูซา, ดร.มุศเฏาะฟา อับดุลคอลิก, ดร.อับดุลเฆานีย์ อับดุลคอลิก และท่านอื่นๆ
หลังจากจบการศึกษาท่านกลับไปยังซีเรียเพื่อเป็นอาจารย์สอนโรงเรียนมัธยมในกรุงหะลับ และดิมัชก์ ระหว่างนั้นท่านก็ได้ทำการสอนในคณะชะรีอะฮฺ มหาิวิทยาลัยดิมัชก์ด้วย ตั้งแต่ปี ฮ.ศ.1375-1382 (ค.ศ.1955-1962) จากนั้นท่านก็ได้รับคำเชิญให้ไปสอนที่คณะชะรีอะฮฺ และคณะภาษาอาหรับ มหาวิทยาลัยอิหม่ามมุหัมมัด บิน สุอูด กรุงริยาฎ ซาอุฯ ระหว่างปี ฮ.ศ.1382-1386 (ค.ศ.1962-1966)
เมื่อ ม.อัลอัซฮัร ประกาศรับสมัครผู้ที่จบปริญญาตรี และมีประสบการณ์การสอนในระดับมหาวิทยาลัย 5 ปีขึ้น เพื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกเลย ท่านก็สมัครเข้าเรียน โดยเขียนวิทยานิพนธ์เรื่อง "อะษัรุลอิคติลาฟ ฟิล เกาะวาอิด อัลอุศูลิยะฮฺ ฟิคติลาฟ อัลฟุเกาะฮาอ์" โดยมี ศ.ดร.มุศเฏาะฟา อับดุลคอลิก เป็นอ.ที่ปรึกษา และสำเร็จการศึกษาในปี ฮ.ศ.1391 (ค.ศ.1971) ด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
หลังจากนั้นท่านก็กลับไปสอนที่มหาวิทยาลัยดิมัชก์จนถึง ฮ.ศ1404 (ค.ศ.1983) เมื่อท่านเกษียณ ท่านก็ได้รับคำเชิญให้ไปสอนในคณะชะรีอะฮฺ ม.อิหม่ามมุหัมมัด บิน สุอูด กรุงริยาฎ อีกครั้ง จนถึงปี ฮ.ศ1413 (ค.ศ.1992) โดยได้เป็น อ.ที่ปรึกษาวิทยาพนธ์หลายๆฉบับ และตั้งแต่ปี ฮ.ศ.1414 (ค.ศ.1993) ท่านก็ไปสอนที่บัณฑิตวิทยาลัย ม.อุมมุ ดัรมาน- ซูดาน
งานเขียนบางส่วนของท่าน
أثر الاختلاف في القواعد الأصولية في اختلاف الفقهاء
عبد الله بن عباس: حبر الأمة وترجمان القرآن
دراسة تاريخية للفقه، وأصوله، والاتِّجاهات التي ظهرت فيهما
الحسن بن يسار البصري: الحكيم الواعظ والزَّاهد العالم
الأدلَّة الشَّرعية، وموقف الفقهاء من الاحتجاج بها
أبحاثٌ حول أصول الفقه الإسلامي (تاريخه وتطوره)
الكافي الوافي في أصول الفقه الإسلامي
หนังสือที่เขียนร่วมกับท่านอื่น
(نزهة المتَّقين شرح رياض الصَّالحين من كلام سيِّد المرسلين)، وقد شارك بالتَّأليف: الدكتور مصطفى البغا، و الدكتور محيي الدين مستو، و الأستاذ علي الشربجي، والأستاذ محمد أمين لطفي
(الفقه المنهجي على مذهب الإمام الشافعي)، وقد شارك بالتَّأليف: الدكتور مصطفى البغا، و الأستاذ علي الشربجي
(العقيدة الإسلامية): أركانها- حقائقها- مفسداتها، وقد شارك بالتَّأليف: الدكتور محيي الدين مستو
(الإيضاح في علوم الحديث والاصطلاح)، وقد شارك بالتَّأليف: الدكتور بديع اللحام
หนังสือที่ท่านตะหฺกีก
(المنهل الراوي، في تقريب النواوي)، للإمام الفقيه المحدث أبي زكريا النووي الدمشقي
(تسهيل الحصول على قواعد الأصول)، للعلامة محمد أمين سويد
หนังสือที่ท่านตะหฺกีกร่วมกับท่านอื่น
(حسن الأسوة بما ثبت من الله ورسوله في النسوة)، محمد صديق القَنُّوجي البخاري. بالاشتراك مع الدكتور محيي الدين مستو.
(إرشاد الفحول إلى تحقيق الحق من علم الأصول)، للإمام الشوكاني. بالاشتراك مع الدكتور محيي الدين مستو
(أنوار التنزيل وأسرار التأويل)، للبيضاوي. بالاشتراك مع الدكتور محيي الدين مستو، والدكتور بديع اللحام
(المنهاج القويم في مسائل التَّعليم)، لابن حجر الهيتمي. بالاشتراك مع الدكتور محيي الدين مستو، والأستاذ علي الشربجي